ภาวะเศรษฐกิจสหราชอาณาจักร มิถุนายน 2551

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday July 8, 2008 15:03 —กระทรวงการคลัง

ภาพรวมเศรษฐกิจ  ( มิถุนายน 2551)
ดัชนีชี้วัดการผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนเมษายนกระเตื้องขึ้น 0.2 จุด
ดัชนีชี้วัดการผลิตภาคอุตสสาหกรรม (Industrial Production Indeex: IPI) ในเดดือนเมษษายนอยู่ที่ระดับ 99.4 เพิ่มมขึ้นจาก 0.2 จุดจากเดือนที่แล้ว ซึ่งหากพิจารณาจากค่าเฉลี่ยของดัชนีช่วง3 เดือน (กุมภาพันธ์-เมษายน) ค่าเฉลี่ยของดัชนีจะลดลงจากช่วง 3 เดือนก่อนหน้า (พฤศจิกายน-มกราคม) 0.1 จุด โดยดัชนีการผลิตสินค้าอุตสาหกรรม (Manufacturing) ซึ่งมีน้ำหนักร้อยละ 79 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 จากช่วง 3 เดือนก่อนหน้า ขณะที่ดัชนีผลผลิตภาคเหมืองแร่ ทรัพยากร ธรรมชาติ และน้ำมัน ซึ่งมีน้ำหนักร้อยละ 12 ลดลงต่อเนื่องอีกร้อยละ 3.2 ส่วนดัชนีผลผลิตด้านพลังงานไฟฟ้า น้ำ และ ก๊าซ ซึ่งมีน้ำหหนักร้อยละ 9 ลดลงร้อยลละ 0.4
ทั้งนี้ หากพิจารณาดัชนีการผลิตตามระดับขั้นของผลผลิตพบว่าค่าเฉลี่ย 3 เดือนของดัชนีผลผลิตสินค้าขั้นกลางและพลังงาน (Intermediate goods and energy) ซึ่งงมีน้ำหนักร้อยละ 48 ในดัชนี IPI ลดลงงจากรอบ 3 เดือนต่อเนื่องอีกร้อยละ 0.6 ดัชนีผลผผลิตสินค้าเพื่อการบริโภคที่ไม่คงททน (Consumer non-durable) ซึ่งมีน้ำหนักร้อยละ 27 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 สินนค้าเพื่อการบริโภคที่คงทน (Consumer durable) ซึ่งมีน้ำหนักร้อยละ 3.6 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 ขณะที่สินค้าทุน (Capital goods) ซึ่งมีน้ำหนักร้อยละ 21 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 จากรอบ 3 เดือนก่อนหน้า ซึ่งแม้ในเดือนนี้ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมจะกระเตื้องเล็กน้อยแต่ทิศทางโดยรวมยังคงชะลอตัวลงสอดคล้อง
อัตราแงินเฟ้อ : CPI เดือนพฤษภาคมพุ่งสู่ระดับร้อยละ 3.3 สูงสุดนับจากปี 1997
ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ในเดือนพฤษภาคมยังคงเร่งตัวขึ้นแรงต่อเนื่องจากเดือนก่อนขึ้นมาสู่ระดับร้อยละ 3.3 จากร้อยละ 3.0 ในเดือนเมษายน นับเป็นอัตราเงินเฟ้อที่สูงที่สุดนับจาก Bank of England ได้รับมอบหมายให้ดำเนินนโยบายการเงินได้อย่างอิสระเมื่อปี 1997 โดยสาเหตุหลักที่ทำให้อัตราเงินเฟ้อในเดือนนี้เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีที่แล้วมาจากการเพิ่มขึ้นของค่าใช้จ่ายหมวดอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่ใช่แอลกอฮอลล์ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.8 จากกปีที่แล้ว หมวดค่าขนส่งที่เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 6.2 และหมวดค่าใช้จ่ายประจำในครัวเรือน ค่าสาธารณูปโภคน้ำประปา แก๊สและไฟฟ้า ที่เพิ่มร้อยละ 6.3 เทียบกับร้อยละ 5.4 ในเดือนที่แล้ว สำหรับหมวดสินค้าที่มีระดับราคาลดลงเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ได้แก่ หมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้าที่มีระดับราคาลดลงร้อยละ 6.3 เท่ากับเดือนที่แล้ว หมวดสื่อสารลดลงร้อยละ 2.4 และหมวดสันธนาการและวัฒนธรรมลดลงร้อยละ 0.8
ทางด้านดัชนี RPI ในเดือนนี้เร่งตัวขึ้นจากเดือนก่อนเล็กน้อยร้อยยละ 0.1 มาอยู่ที่ระดับร้อยละ 4.3 เนื่องจากรายจ่ายหมวดอาหารและภัตตาคารที่ยังเร่งตัวขึ้นอีกสู่ระดับร้อยละ 6.8 โดยสินค้าจำพวกกเนื้อสัตว์ น้ำมันพืช และผักผลไม้เพิ่มขึ้นเกือบทุกรายการ และค่าใช้จ่ายเพื่อที่อยู่อาศัยและรายจ่ายในครัวเรือนที่ชะลอจากเดือนก่อนเล็กน้อยแต่ยังเพิ่มในระดับสูงร้อยละ 4.8 เนื่องจากรายจ่ายยดอกเบี้ยเงินกู้เพื่อที่อยู่อาศัยในเดือนนี้ชะลอลงเหลือร้อยละ 4.8 จากร้อยละ 8.0 ในเดือนที่แล้ว ขณะที่ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับสาธารณูปโภคไฟฟ้าและน้ำมันเพิ่มขึ้นในอัตราเร่ง ขณะที่ค่าเช่าก็ยังเพิ่มขึ้นในระดับสูงร้อยละ 3.8 ขณะที่รายจ่ายเกี่ยวกับยานพาหนะยังคงเร่งตัวขึ้นโดยเพิ่มเป็นร้อยละ 4.9
อัตราการว่างงาน : เดือนเมษายนเริ่มปรับสูงขึ้นเป็นร้อยละ 5.3
ในรอบ 3 เดือนสิ้นสุดเดือนเมษายนปรากฎว่าจำนวนผู้มีงานทำ (employment level) เริ่มเพิ่มขึ้นในอัตราที่ชะลอลงโดยจำนวนผู้มีงานทำในรอบไตรมาสสิ้นสุดเดือนเมษายน (กุมภาพันธ์-เมษายน) มีจำนวน 29.554 ล้านคน เพิ่มขึ้น 76,000 คนจากรอบไตรมาสก่อน (พฤศจิกายน-มกราคม) และเพิ่มขึ้น 446,000 คนจากรอบไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว โดยคิดเป็นอัตราการจ้างงานของผู้อยู่ในวัยทำงานเท่ากับร้อยละ 74.9 ของผู้ที่อยู่ในวัยทำงานทั้งหมด (working age employment rate) เท่ากับไตรมาสก่อนหน้าทางด้านจำนวนผู้ว่างงานและอัตราการว่างงานในรอบสามเดือนนี้ต่างก็เพิ่มขึ้น โดย ณ สิ้นเดือนเมษายน มียอดผู้ว่างงานทั้งสิ้น 1.643 ล้านคน เพิ่มขึ้นน 38,000 คนจากรอบไตรมาสก่อนหน้า แต่ลดลง 34,000 คน จากไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว ส่งผลให้อัตราการว่างงานในรอบไตรมาสนี้อยู่ปรับสูงขึ้นสู่ระดับร้อยละ 5.3 เทียบกับร้อยละ 5.2 ในไตรมาสก่อนหน้า แต่ลดลง 0.2 จุดจากรอบไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว
สำหรับดัชนีชี้วัดรายได้เฉลี่ยของแรงงานไม่รวมเงินโบนัส (GB average earnings index: AEI) ในรอบไตรมาสสิ้นสุดเดือนเมษายนเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.9 จากปีที่แล้ว (เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 จากรอบไตรมาสก่อนหน้า) ขณะที่ดัชนีที่รวมรายได้จากโบนัสเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.8 จากปีที่แล้ว (ชะลอลงร้อยละ 0.2 จากรอบไตรมาสก่อนหน้า)
อัตราดอกเบี้ยและอัตราแลกเปลี่ยน
อัตราดอกเบี้ย : Bank of England คงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ร้อยละ 5.0
เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน คณะกรรมการนโยบายการเงิน (MPC) ของธนาคารกลางอังกฤษ มีมติ 8:1 ให้คงอัตราดอกเบี้ย Base rate ไว้ที่ร้อยละ 5.0 โดยรายหนึ่งเห็นควรให้ลดอัตราดอกกเบี้ยลงซึ่งเป็นจุดยืนเดิมใในการประชุมเมื่อเดือนก่อน ทั้งนี้ ธนาคารได้ให้เหตุผลในการคงอัตราดอกเบี้ยว่าขณะนี้ความเสี่ยงจากอัตราเงินนเฟ้อในระยะปานกลางเริ่มมีสูงขึ้น แม้ว่าความเสี่ยงจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจจะยังมีอยู่ก็ตาม ซึ่งหากอัตราเงินเฟ้อจะกลับเข้าสู่ระดับเป้าหมายร้อยละ 2.0 ก็ต่อเมื่อระดับกิจกรรมทางเศรษฐกิจมีการชะลอตัวลงในระดับที่มากพอเพื่อลดแรงกดดันจากความเพียงพอของการผลิตและการเพิ่มขึ้นของค่าจ้างแรงงาน ขณะที่กรรมการที่เห็นควรให้ลดอัตราดอกเบี้ยมองว่าความเสี่ยงจากอัตราเงินเฟ้อที่จะเร่งตัวขึ้นในระยะปานกลางจากการที่เงินเฟ้อในช่วงที่ผ่านมาเร่งตัวขึ้นนั้นยังไม่มีความชัดเจนเนื่องจากการชะลอตัวของสินเชื่อ รวมถึงการที่อัตราดอกเบี้ยที่ปรับสูงขึ้นในตลาดการเงินจากการที่ความเสี่ยงมีมากขึ้นจะส่งผลต่อการชะลอตัวลงของความต้องการโดยรวมในระยะต่อไปซึ่งจะทำให้อัตราเงินเฟ้อชะลอตัวลงในระยะปานกลางอยู่แล้ว อย่างไรก็ดี คณะกรรมการเห็นควรให้คงอัตราดอกเบี้ยไว้ตามเดิม โดยการประชุมครั้งต่อไปที่จะมีขึ้นวันที่ 10 กรกฎาคม 2008
ในเดือนพฤษภาคมอัตราดอกเบี้ยเงินกู้เพื่อที่อยู่อาศัยชนิดลอยตัว (flexible rate)) ปรับลดลงเฉลี่ย 28 basis points ตามการปรับลดลงของอัตราดอกเบี้ยนโยบายของ BoE ขณะที่อัตราดอกเบี้ยเงินกู้เพื่อที่อยู่อาศัยชนิดคงที่ (fixed rate) ในเดือนเมษายนอยู่ที่ระดับร้อยละ 6.92 เพิ่มขึ้นจากเดือนมมีนาคม 36 basis points และเพิ่มขึ้น 106 basis points จากปีที่แล้ว
สำหรับโครงสร้างอัตราผลตอบแทนเฉลี่ย (average yield curve) ประจำเดือนมิถุนายนพบว่าอัตราผลตอบแทนปรับเพิ่มขึ้นจากเดือนที่แล้วทุกอายุ โดยเฉพาะอัตราผลตอบแทนระยะสั้น 3 เดือนถึง 1 ปีที่ปรับสูงขึ้นกว่าเดือนที่แล้วระหว่าง 17-47 basis pooints ขณะที่อัตราผลตอบแทนระยะยาวก็ปรับเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนระหว่าง 18-55 basis points โดยโครงสร้างอัตราดอกเบี้ยมีลักษณะเดียวกับเมื่อปีที่แล้ว กล่าวคือ โครงสร้างดอกเบี้ยระยะสั้นไม่เกิน 1 ปีมีลักษณะเป็น positive yield curve แต่มีระดับอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำกว่าอันเป็นผลจากการลดอัตราดอกเบี้ยของ Bank of England ในช่วงที่ผ่านมา สำหรับอัตราผลตอบแทนระยะยาวมีลักษณะเป็น downward sloping
อัตราแลกเปลี่ยน : เงินปอนด์เมื่อเทียบกับยูโร และ $ อยู่ในระดับใกล้เคียงกับเดือนก่อน
เงินปอนด์เมื่อแทียบกับเงินดอลลาร์ สรอ.ในเดือนมิถุนายนเคลื่อนไหวในกรอบระหว่าง 1.94-1.98 $/ปอนด์ เช่นเดียวกับเดือนนก่อนหน้า โดดยหลังจากปิดตลาดวันแรรกของเดือนทที่ระดับ 1.9637$/เงินดดอลลาร์ สรอ. ก็เริ่มผันผวนเมื่อประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ อออกมาให้ความเห็นว่าต้องการเห็นดอลลลาร์ สรอ.แข็งค่าเพื่อลดแรงกดดันจากเงินเฟ้อที่มาจากราคาสินค้านำเข้าส่งผลให้เงินดอลลาร์ สรอ.แข็งค่าขึ้นแต่เมื่อมีการประกาศตัวแลขอัตราการรว่างงานของสหรัฐฯ ที่ออกมาสูงถึงร้อยละ 5.5 สูงที่สุดในรอบ 22 ปี กดดันค่าเงินดอลลลาร์ สรอ.ให้อ่อนตัวลง อย่างไรก็ดี ในช่วงสัปดาห์ที่สองเงินดอลลาร์ สรอ.เริ่มกลับฟื้นค่าขึ้นเมื่อโอกาสที่ Fed อาจปรับดอกเบี้ยมีมากขึ้นหลังจากตัวยอดค้าปลีกขยายตัวดีและอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐฯ เร่งตัวขึ้นถึงร้อยละ 4.2 ส่งผลให้เงินดอลลลาร์ สรอ.แข็งค่าสูงสุดของเดือนที่ระดับ 1.9446$/ปอนด์ จากนั้นเงินปอนด์ทยอยแข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงที่เหลือของเดือนทั้งจากปัจจัยในเรื่องของตัวเลขยอดค้าปลีกของอังกฤษที่ออกมาดีเกินคาด อัตราเงินเฟ้อเดือนพฤษภาคมที่เร่งตัวขึ้นเป็นร้อยละ 3.3 โดยเฉพาะในช่วงปลายเดือนเมื่อธนาคารกลางสหหรัฐฯ ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ร้อยละ 2.0 เท่าเดิม ประกอบกับการที่ราคาน้ำมันดิบทำสถิติใหม่สูงสุดที่ระดับ 142 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบารร์เรล ถือเป็นปัจจัยกระตุ้นให้มีการเทขายเงินดอลลาร์ สรอ.จนอ่อนตัวลงกับเงินสกุลหลักเกือบทุกสกุล และส่งผลให้เงินปอนด์กลับขึ้นไปยืนเหนือระดับ 1.99 $/ปอนด์ อีกครั้งนับจากเดือนเมษายนที่ผ่านมา โดยเงินปอนด์เมื่อเทียบกับดอลลาร์ สรอ. ปิดตลาดวันสุดท้ายของเดือนที่ระดับ 1.9901 $/ปอนด์ ส่งผลให้ค่าเฉลี่ยเงินปอนด์ในเดือนนี้ใกล้เคียงกับเดือนที่แล้วโดยแข็งค่าเล็กน้อยเพียงร้อยละ 0.1 แต่เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา เงินปอนด์อ่อนค่าลงเล็กน้อยร้อยละ 1.0
ค่าเฉลี่ยของเงินปอนด์ในเดือนนี้ค่อนข้างมีเสถียรภาพเมื่อเทียบกับเงินยูโร โดยหลังจากที่เงินปอนด์อ่อนตัวลงในสัปดาห์แรกโดยมีระดับปิดต่ำสุดของเดือนที่ระดับ 1.2519 ยูโร/ปอนด์ เมื่อผู้ว่าการธนาคารกลางยุโรปส่งสัญญาณว่าอาจปรับขึ้นดอกเบี้ยในการประชุมเดือนกรกฎาคม จากนั้นเงินปอนด์เริ่มฟื้นตัวขึ้นโดยลำดับเมื่อดัชนีราคาผู้ผลิตและราคาสินค้านำเข้าปรับเพิ่มสูงขึ้นเหนือความคาดหมายประกอบกับการที่ไอร์แลนด์ลงประชามติไม่รับ Lisbon treaty ได้ส่งผลลบต่อค่าเงินยยูโร รวมถึงการที่ตัวเลขอัตราเงินเฟ้อของอังกฤษเร่งตัวขึ้นเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งให้เงินปอนด์แข็งค่าขึ้นและปิดตลาดสูงสุดของเดือนที่ระดับ 1.2726 ยูโร/ปอนด์ โดยเงินปอนด์ปิดตลาดวันสุดท้ายของเดือนที่ระดับ 1.2632 ยูโร/ปอนด์ โดยค่าเฉลี่ยเงินปอนด์ในเดือนนี้ไม่เปลี่ยนแปลงจากค่าเฉลี่ยของเดือนที่แล้ว แต่ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านค่าแฉลี่ยรายเดือนของเงินปอนด์อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินยูโรร้อยละ 14.7
เมื่อเทียบกับเงินบาทแล้ว เงินปอนด์ในเดือนนี้แข็งค่าขึ้นมากต่อแนื่องจากเดือนก่อน โดยเงินปอนด์ปิดดตลาดวันแรกกของเดือนที่ระดับ 64.0048 Baht/ปอนด์ จากนั้นเงินปอนด์ก็แข็งค่าขึ้นโดยตลอดจนเหนือระดับ 65 และ 66 บาทในสัปดาห์ที่สองและสัปดาห์ที่สามตามลำดับ โดยสาเหตุหลักมาจากการที่เงินทุนไหลยังคงไหลออกจากประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง โดยเงินปอนด์มีระดับปิดสูงสุดของเดือนที่ระดับ 66.7726 Baht/ปอนด์ ซึ่งเป็นระดับที่แข็งที่สุดในรอบบ 17 แดือน เงินปอนด์ปิดตลาดวันสุดท้ายขอองเดือนที่ระดับ 66.539 Baht/ปอนด์ ส่งผลให้ค่าเฉลี่ยของเงินปอนด์ในเดือนนี้โดยรวมแข็งค่ากับเงินบาทถึงร้อยละ 3.6 และแข็งค่าร้อยละ 1.5 ในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมา
ดุลงบปประมาณ: แดือนพฤษภภาคม รัฐบาลขาดดุลพุ่งงเป็น 11.0 พันล้านปออนด์
ณ สิ้นเดือนพฤษภาคมซึ่งเปป็นเดือนสองงของปีงบประมาณปัจจุบันน (2008/09) รัฐบาลมีฐานะงบประมาณรายจ่ายประจำขาดดุลจำนวน 9.06 พันล้านปอนด์ (เทียบกับที่ขาดดุล 7.56 พันล้านปอนด์ในเดือนพฤษภาคมของปีที่แล้ว) และเมื่อรวมกับในเดือนนี้รัฐบาลมีการลงทุนสุทธิจำนนวน 1.90 พันนล้านปอนด์ ทำให้ฐานะดุลงบประมาณ
ณ โดยรวมในเดือนนี้มียอดขาดดุลสุทธิแป็นจำนนวน 10.96 พันล้านปอนด์ (เพิ่มขึ้นร้อยละ 28.6 จากเดือนเดียวกันของปีที่แล้ว) โดยในส่วนของรัฐบาลกลาง (central governnment accouunt) สามารถจัดเก็บรายได้ในเดือนนี้จำนวน 36.6 พันล้านปอนด์ ขณะที่งบรายจ่ายประจำและงบลงทุนของรัฐบาลกลางมีจำนวน 47.8 พันล้านปอนดด์ และเมื่อรวมกับรายจ่ายค่าเสื่อมราคา 0.5 พันล้านปอนด์ ส่งผลให้รัฐบาลกลางมีฐานะขาดดุลงบประมาณเป็นจำนวน 11.6 พันล้านปอนด์ (เทียบกับที่ขาดดุล 11.1 พันล้านปอนด์ในเดือนเดียวกันของปีที่แล้ว)
ทั้งนี้ ในคราวแถลงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2008/09 เมื่อเดือนมีนาคม รัฐบาลประมาณการว่าในปีงบประมาณปัจจุบันจะขาดดุลเป็นจำนวน 43 พันล้านปอนด์
Debt/GDP : เดือนพฤษภาคมเร่งตัวขึ้นเป็นร้อยละ 37.2
ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม ยอดคงค้างหนี้สาธารณะมียอดรวมเพิ่มขึ้นเป็น 539.2 พันล้านปอนด์ หรือเท่ากับร้อยละ 37.2 ขออง GDP (เทียบกับร้อยละ 36.5 ในเดือนที่แล้ว) เนื่องจากในเดือนนี้รัฐบาลมีการขาดดุลงบประมาณสูงถึงเกือบ 11.0 พันล้านปอนด์ โดยในงบประมาณปี 2008/09 กระทรวงการคลังประมาณการว่ายอดหนี้สาธารณะจะอยู่ที่ระดับ 581 พันล้านปอนด์ หรือเท่ากับร้อยละ 38.5 ของ GDP เมื่อสิ้นปีงบประมาณในเดือนมีนาคม 2009
ดุลบัญชีเดินสะพัดและดุลการชำระเงิน
ดุลการค้าและบริการ: เดือนเมษายนอังกฤษขาดดุล 4.3 พันล้านปอนด์
เดือนเมษายน อังกฤษมียอดส่งออกสินค้าและบริการรวม 32.8 พันล้านปอนด์ แต่มีการนำเข้ารวม 37.1 พันล้านปอนด์ ส่งผลให้มียอดขาดดุลการค้าและบริการรวม 4.3 พันล้านปอนด์ (ขาดดุลเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 33.1) โดยเป็นนการขาดุลการค้าสินค้าจำนวน 7.6 พันล้านปอนด์ แต่มีการเกินดุลการค้าบริการจำนววน 3.3 พันล้านปอนด์ สำหรับฐานะดุลการค้าและบริการสะสมในช่วง 4 เดือนแรกของปีพบว่าอังกฤษมียอดขาดดุลการค้าและบริการรวม 17.2 พันล้านปอนด์ (เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 10.2) แยกเป็นการขาดดุลการค้า 30.3 พันล้านปอนด์ แต่เกินดุลบริการ 13.1 พันล้านปอนด์
ทั้งนี้ ในเดือนนี้นีอังกฤษมียอดขาดดุลการค้าสินค้ากับประเทศในกลุ่ม EU (27 ประเทศ) จำนวน 3.4 พันล้านปอนด์ ใกล้เคียงกับเดือนเดียวกันของปีที่แล้ว และขาดดุลกับประเทศนอกกลุ่ม EU จำนวน 4.2 พันล้านปอนด์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 35.8 จากเดือนเดียวกันของปีทีแล้ว
สำหรับการค้ากับประเทศไทยในเดือนเมษายน อังกฤษมียอดส่งออกสินค้าไปยังประเทศไทยจำนวน 63 ล้านปอนด์ แต่มีการนำเข้าจำนวน 193 ล้านปอนด์ ทำให้ขาดดุลการค้ากับประเทศไทยเพิ่มเป็น 130 ล้านปอนด์ ขาดดุลเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 13.9 ส่งผลให้ยอดขาดดุลการค้าสะสมกับประเทศไทยในช่วง 4 เดือนแรกของปีมีจำนวนรวม 494 ล้านปอนด์ หรือขาดดุลการค้ากับประเทศไทยเฉลี่ยเดือนละ 124 ล้านปอนด์
ประเด็นข่าวสำคัญ ๆ ในรอบเดือนที่ผ่านมา
- Bradford & Bingley ธนาคารขนาดใหญ่อันดับ 10 ของอังกฤษที่เน้นการปล่อยสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์โดยเฉพาะประเภท Buy-to-let ประกาศว่าผลประกอบการในช่วง 4 เดือนแรกของปีมีกำไรลดลงจากปีที่แล้วถึงเกือบร้อยละ 50 อันเป็นผลมาจากยอดผิดนัดชำระหนี้ (arrears) พุ่งสูงขึ้นถึงร้อยละ 36 จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ส่งผลธนาคารต้องตัดสินใจลดราคาหุ้นเพิ่มทุน (rights issue) จาก 82 เพนซ์ต่อหุ้นเหลือเพียง 55 เพนซ์ต่อหุ้น แม้จะได้ผูกพันไปแล้วก็ตาม การตัดสินใจปรับราคาหุ้นดังกล่าวส่งผลให้ราคาหุ้นในตลาดร่วงลงอย่างรุนแรงถึงร้อยละ 24 ภายในวันเดียว (3 มิถุนายน 2008)
- IATA เตือนว่าราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้นจะส่งผลให้ผู้ประกอบการสายการบินมีผลประกอบการขาดทุนในปีนี้ โดยในรอบ 6 เดือนที่ผ่านมามีสายการบินปิดตัวเองไป 24 รายแล้วโดยรายล่าสุด คือสายการบิน Silverjet พร้อมกันนี้ยังตำหนิ UK Civil Aviation Authority (CAA) ที่ยอมให้ BAA ที่บริหารสนามบิน Heathrow, Gatwick และ Stansted ขึ้นค่าธรรมเนียมถึงร้อยละ 50 ในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา และยังเห็นชอบให้เพิ่มอีกร้อยละ 86 ในอีก 5 ปีข้างหน้า ซึ่งการปรับเพิ่มค่าธรรมเนียมแพงเช่นนี้คงมีเพียงแต่ประเทศที่ยอมให้มีการผูกขาดเท่านั้น ขณะที่คุณภาพการให้บริการที่ได้รับจากสนามบินเหล่านี้กลับตรงกันข้าม (3 มิถุนายน 2008)
- European Commission สอบสวนกรณีที่รัฐบาลอังกฤษให้ความช่วยเหลือธนาคาร Northern Rock หลังจากที่ตัดสินใจโอนกิจการเข้าเป็นของรัฐ (nationalization) ในประเด็นที่ว่าจะให้ธนาคารสามารถดำเนินการต่อไปได้แม้จะมีเงินกองทุนขั้นต่ำตามที่กำหนด (minimum capital requirements) ว่าจะเข้าข่ายการให้การอุดหนุนและส่งผลให้เกิดการบิดเบือนในความสามารถ
ในการแข่งขันภายใต้ EC Treaty ที่ว่าด้วยเรื่อง State aid หรือไม่ โดยให้รัฐบาลอังกฤษส่งข้อมูลเพื่อประกอบการพิจารณาภายใน 1 เดือน (4 มิถุนายน 2008)
- ผลสำรวจราคาที่อยู่อาศัยของ Halifax ประจำเดือนพฤษภาคมพบว่าราคาที่อยู่อาศัยของสหราชอาณาจักรลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 2.4 และลดลงร้อยละ 3.8 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่แล้ว (5 มิถุนายน 2008)
- FSA วางหลักเกณฑ์ให้ผู้ที่ทำธุรกรรม short-sell ในหุ้นของกิจการที่กำลังอยู่ระหว่างการเพิ่มทุนจำหน่ายให้กับผู้ถือหุ้นเดิม (rights issues) โดยธุรกรรมนั้นมีมูลค่าเกินกว่า 0.25% ของมูลค่าหุ้นรวมในตลาดหลักทรัพย์ (market capitalisation) ของกิจการนั้น จะต้องเปิดเผยข้อมูล เกี่ยวกับสถานะสุทธิของธุรกรรมให้ทราบ เพื่อป้องกันการเทขายหุ้นเก็งกำไรจนทำให้ราคาหุ้นในตลาดต่ำกว่าราคาจองซื้อเพิ่มทุน (13 มิถุนายน 2008)
- ผู้ว่าการ Bank of England ทำหน้งสือชี้แจงสาเหตุที่เงินเฟ้อในเดือนพฤษภาคมพุ่งสู่ร้อยละ 3.3 ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ว่ามีสาเหตุมาจากการเพิ่มขึ้นของราคาพลังงาน สินค้าโภคภัณฑ์ และสินค้านำเข้า และเชื่อว่าอัตราเงินเฟ้อจะเพิ่มขึ้นอีกในช่วงหลังของปีโดยจะเกินระดับร้อยละ 4.0 แต่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็นการชั่วคราวเนื่องจากไม่ใช่เป็นกรณีที่เงินเฟ้อเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องปกติ (17 มิถุนายน 2008)
- Office for National Statistics ทบทวนอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของ GDP ประจำไตรมาสแรกของปีนี้เหลือร้อยละ 0.3 จากไตรมาสก่อนหน้า จากเดิมที่เคยที่ประกาศว่าขยายตัวร้อยละ 0.4 โดยภาคบริการมีการปรับลดลงมากที่สุด (27 มิถุนายน 2008)
ที่มา : Macroeconomic Analysis Group : Fiscal Policy Office
Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ