รายงานภาวะเศรษฐกิจรายสัปดาห์ 21-25 กรกฎาคม 2551

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday July 30, 2008 12:26 —กระทรวงการคลัง

Economic Indicators: This Week
ปริมาณจำหน่ายรถจักรยานยนต์เดือน มิ.ย. 51 ขยายตัวที่ร้อยละ 7.1 ต่อปี สูงกว่าที่คาดว่าจะขยายตัวที่ร้อยละ 1.0 ต่อปี เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 1.6 ต่อปี เนื่องจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงอย่างต่อเนื่องเป็นเป็นสาเหตุสำคัญที่กระตุ้นให้ประชาชนหันมานิยมรถจักรยานยนต์แบบครอบครัวเครื่องยนต์หัวฉีดที่ประหยัดน้ำมันสูงกว่า ประกอบกับรายได้เกษตรกรที่ปรับตัวดีขึ้นตามราคาสินค้าเกษตรในตลาดโลก ส่งผลบวกต่อกำลังซื้อของผู้บริโภคในระดับฐานรากซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายหลักในตลาดรถจักรยานยนต์
มูลค่าการส่งออกรวมในรูปดอลลาร์สหรัฐเดือน มิ.ย. 51 ขยายตัวร้อยละ 27.4 ต่อปี เร่งจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 21.4 ต่อปี ด้วยมูลค่าถึง 16.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ สูงสุดในประวัติศาสตร์ เป็นผลจากการขยายตัวของการส่งออกสินค้าเร่งขึ้นในเกือบทุกหมวด ทั้งนี้การส่งออกสินค้าเกษตรกรรมขยายตัวเร่งขึ้นจากร้อยละ 52.8 ต่อปี เป็นร้อยละ 62.7 ต่อปี โดยเป็นผลจากการส่งออกข้าวในปริมาณเพิ่มขึ้นประกอบกับราคาข้าวที่สูงขึ้นในตลาดโลก ทำให้มูลค่าการส่งออกข้าวขยายตัวในอัตราเร่งที่ร้อยละ 201.9 ต่อปี จากร้อยละ 128.4 ต่อปีในเดือนก่อนหน้า ส่วนสินค้าอุตสาหกรรมส่งออกที่ขยายตัวเร่งขึ้น เป็นผลจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าในกลุ่มเอเชียแปซิฟิก ทั้งนี้ การขยายตัวของการส่งออกสินค้า เป็นผลจากการขยายตัวด้านปริมาณร้อยละ 11.5 ต่อปี และราคาร้อยละ 14.3 ต่อปี
มูลค่าการนำเข้าสินค้ารวมในรูปดอลลาร์สหรัฐฯ เดือน มิ.ย. 51 ขยายตัวร้อยละ 30.7 ต่อปี เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 15.7 ต่อปี ผลจากการนำเข้าที่ขยายตัวเร่งขึ้นในทุกหมวดสินค้าหลังจากที่เคยชะลอลงในเดือนก่อนหน้า โดยเฉพาะในหมวดสินค้าเชื้อเพลิงที่ขยายตัวเร่งขึ้นจากร้อยละ 4.7 ในเดือนพ.ค. 51 เป็นร้อยละ 66.4 ต่อปี ผลจากมูลค่าการนำเข้าน้ำมันดิบที่เพิ่มขึ้นตามราคาน้ำมันดิบโลก และการนำเข้าก๊าซธรรมชาติปิโตรเลียม ในหมวดสินค้าทุนมีการขยายตัวของมูลค่าร้อยละ 15.0 ต่อปี แต่หากหักรายการเครื่องบิน เรือ รถไฟ จะขยายตัวร้อยละ 20.8 ต่อปี สินค้าวัตถุดิบนำเข้าขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 27.6 ต่อปี บ่งชี้ว่าการส่งออกในระยะต่อไปไม่น่าจะชะลอตัวลงมาก ส่วนสินค้าอุปโภคบริโภคที่มีการนำเข้าขยายตัวเร่งขึ้น ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน และเครื่องใช้เบ็ดเตล็ด ทั้งนี้ การขยายตัวของการนำเข้าสินค้า เป็นผลจากการขยายตัวด้านปริมาณร้อยละ 9.4 ต่อปี และราคาร้อยละ 19.4 ต่อปี
สินเชื่อรวมของธนาคารพาณิชย์เดือน มิ.ย. 2551 ขยายตัวในอัตราร้อยละ 12.5 สินเชื่อรวมของธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศ จำนวน 18 แห่ง ณ เดือน มิ.ย. 2551 ขยายตัวสูงต่อเนื่องจากต้นปี 2551 โดยขยายตัวในอัตราร้อยละ 12.5 สูงกว่าเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 10.7 โดยสินเชื่อคงค้างอยู่ที่ระดับ 5,622.3 พันล้านบาท สูงขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 5,519.6 พันล้านบาท หรือคิดเป็นการขยายตัวที่ร้อยละ 1.9 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน
จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศไทยในเดือนมิ.ย.51 มีจำนวน 1.15 ล้านคน ขยายตัวในอัตราที่ชะลงจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 17.8 ต่อปี เป็นร้อยละ 11.7 ต่อปี ส่งผลทำให้ Q2/51 ขยายตัวร้อยละ 14.9 ต่อปี สูงกว่า Q1/51 ที่ขยายตัวร้อยละ 13.3 ต่อปี ส่วนหนึ่งจากฐานที่ต่ำจากปีก่อน ที่เกิดปัญหาหมอกควันทางภาคเหนือในข่วงปลายเดือนมี.ค.50 โดยอัตราการขยายตัวดีในช่วงต้นปีมากจากกลุ่มประเทศ ยุโรป อเมริกา โอเชียเนีย อาเซียน และเอเชียใต้ ขณะที่กลุ่มตะวันออกกลางมีการขยายตัวที่หดตัวลงตั้งแต่ช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 2550 เนื่องจากปัญหาภายในประเทศและการส่งเสริมให้มีการท่องเที่ยวภายในภูมิภาคกันเองมากขึ้น
Economic Indicators: Next Week
อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือน ก.ค. 51 คาดว่าจะขยายตัวที่ร้อยละ 9.5 ต่อปี เพิ่มขึ้นจากเดือนมิ.ย. ที่ร้อยละ 8.9 ต่อปี เนื่องมาจากราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกยังคงสูงขึ้น บวกกับค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลงมาเล็กน้อย ส่งผลให้ราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศปรับราคาขึ้นตาม อีกทั้งราคาอาหารสดบางรายการยังคงเพิ่มขึ้น ส่วนมาตรการ ปรับลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันแก๊สโซฮอล์และดีเซลที่เริ่มมีผลแล้ว จะส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อในเดือน ส.ค. ต่ำกว่าที่คาดไว้เดิม
ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือน มิ.ย. 51 คาดว่าจะขยายตัวที่ร้อยละ 9.2 ต่อปี เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 8.1 ต่อปี โดยมีอุตสาหกรรมที่ผลิตสินค้าเพื่อส่งออก เช่น อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์ ปิโตรเคมี พลาสติก และอาหาร ที่ยังขยายตัวได้ดีเป็นตัวขับเคลื่อนหลัก ทั้งนี้ แม้ว่าการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกโดยเฉพาะเศรษฐกิจสหรัฐฯ และสหภาพยุโรปที่ปรับตัวชะลอลง แต่ความต้องการจากประเทศเอเชียแปซิฟิกยังคงดีอยู่ บวกกับอัตราแลกเปลี่ยนที่อ่อนค่าลง ทำให้คาดว่าการผลิตสินค้าเพื่อส่งออกอาจจะขยายตัวเร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้า สอดคล้องกับมูลค่าส่งออกที่ทำสถิติสูงสุด
ยอดขายปูนซีเมนต์ เดือน มิ.ย. 51 คาดว่าจะขยายตัวที่ร้อยละ 2.0 ต่อปี ชะลอลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 3.5 ต่อปี เนื่องจากความกังวลของผู้ประกอบการทั้งจากราคาน้ำมัน และราคาวัสดุก่อสร้างที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงอย่างต่อเนื่องมีส่วนผลักดันให้ผู้ประกอบการเร่งสำรองปูนซีเมนต์เพื่อบรรเทาภาระต้นทุนที่อาจสูงขึ้นในอนาคต นอกจากนั้น มาตรการที่ให้การสนับสนุนและช่วยเหลือภาครัฐโดยให้สิทธิลดหย่อนภาษีธุรกิจเฉพาะที่จะสิ้นสุดลงในเดือน มี.ค. 52 ส่งผลให้ยอดจำหน่ายปูนซีเมนต์เดือน มิ.ย. ยังคงขยายตัวได้
ค่าเงินสกลุ คู่ค้าหลักของไทยเทียบกับดอลลาร์สหรฐั ในสัปดาห์ที่ผ่านมาส่วนใหญ่อ่อนค่าลง ยกเว้นค่าเงินรูเปียอินโดนีเซีย เปโซฟิลิปปินส์ และ วอน เกาหลีที่แข็งขึ้น
ค่าเงินของประเทศคู่ค้าหลักของไทยส่วนใหญ่อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐเนื่องจากตัวเลขเศรษฐกิจในเดือน มิ.ย. ฟื้นตัวขึ้นอย่างชัดเจน ทั้งคำสั่งซื้อสินค้าคงทนที่ขยายตัวร้อยละ 0.8 ยอดขายบ้านสร้างใหม่ที่สูงกว่าตลาดคาด และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ฟื้นตัวขึ้นจากจุดต่ำสุด ในรอบ 28 ปี ประกอบกับราคาน้ำมันที่ลดต่ำสุดในรอบ 7 สัปดาห์ ขณะที่มาตรการฟื้นฟูภาคอสังหาริมทรัพย์ของรัฐบาลกำลังจะประกาศใช้ ทำให้นักลงทุนเริ่มมีความเชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจสหรัฐอาจจไม่ตกต่ำมากดังคาด
ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นนักธุรกิจในเยอรมัน ฝรั่งเศส และอิตาลีปรับตัวลดลงมากในเดือน มิ.ย. ส่วนตัวเลขเงินเฟ้อพื้นฐานของญี่ปุ่นในเดือนเดียวกันปรับตัวสูงสุดในรอบ 10 ปี สอดคล้องกับตัวเลขดัชนีความเชื่อมั่นนักธุรกิจของญี่ปุ่น (Tankan) ตกต่ำอย่างต่อเนื่อง ทำให้ตลาดคาดว่าธนาคารกลางของยุโรป (ECB) และญี่ปุ่น (BOI) จะยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับเดิมจนถึงสิ้นปี ในขณะที่ความเป็นไปได้ที่ธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) จะปรับขึ้นดอกเบี้ยจากระดับปัจจุบันที่ร้อยละ 2 มีมากขึ้นหาก GDP ไตรมาส 2 ยังคงขยายตัวได้ดีและเงินเฟ้อยังคงเป็นความเสี่ยง ซึ่งทิศทางดอกเบี้ยที่แตกต่างกันนี้เป็นปัจจัยบวกต่อค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ
ด้านค่าเงินรูเปียห์อินโดนีเซีย เปโซฟิลิปปินส์ และวอนเกาหลี แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐเนื่องจากราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวลดลงต่อเนื่อง ซึ่งช่วยลดแรงกดดันต่อเศรษฐกิจสหรัฐเนื่องจากราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวลดลงต่อเนื่อง ขณะเดียวกันอัตราเงินเฟ้อในประเทศทั้งสามที่อยู่ในระดับสุงทำให้ธนาคารกลางส่งสัญยาณว่าอาจปรับขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่อง หลักงจากที่ฟิลิปปินส์ที่ได้รับปรับดอกเบี้ยถึงร้อยละ 0.5 ในสัปดาห์ก่อนหน้า ซึ่งปัจจัยดังกล่าวส่งผลบวกต่อค่าเงินทั้งสามประเทศเช่นกัน
ค่าเงินบาทเทียบกับค่าเงินของคู่ค้าหลักส่วนใหญ่อ่อนตัวลงจากสัปดาห์ก่อนยกเว้นค่าเงินเยน ยูโร และดอลลาร์สิงคโปร์
สาเหตุที่ค่าเงินบาทเมื่อเทียบกับคู่ค้าส่วนใหญ่อ่อนค่าลงเนื่องจากมีความต้องการเงินดอลลาร์สหรัฐในระดับต่อความเชื่อมันของนักลงทุนต่างชาติ จึงยังคงลดระดับการลงทุนในไทยอย่างต่อเนื่อง ทำให้ค่าเงินบาทเทียบกับดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงและทำให้ค่าเงินบาทอ่อนค่าลงมากเมื่อเทียบกับค่าเงินเอเชียที่แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ อย่างไรก็ตาม การที่ค่าเงินสกุลหลัก เช่น ค่าเงินเยน ยูโร และ ดอลลาร์สิงคโปร์อ่อนค่าลงมากเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ค่าเงินบาทเมือเทียบกับทั้งสามสกุลจึงแข็งค่าขึ้น
ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) เมื่อเทียบกับคู่ค้าหลัก 11 สกุลเงิน (ดอลลาร์สหรัฐยูโร เยน หยวน ดอลลาร์ฮ่องกง ดอลลาร์ไต้หวัน วอนเกาหลี ดอลลาร์สิงคโปร์ รูเปียห์อินโดนีเซีย ริงกิตมาเลเซีย และเปโซฟิลิปปินส์) ณ วันที่ 25 ก.ค. 51 แข็งค่าขึ้นจากค่าเฉลี่ยปี 49 ร้อยละ 3.75 และแข็งค่าขึ้นจากสัปดาห์ที่แล้วที่อยู่ที่ร้อยละ 3.87
เงินบาทแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับวอนเกาหลี (ร้อยละ 19.0) ดอลลาร์ฮ่องกง (ร้อยละ 13.9) ดอลลาร์สหรัฐ (ร้อยละ 13.5) รูเปียห์อินโดนีเซีย (ร้อยละ 12.9) และริงกิตมาเลเซีย (ร้อยละ 1.0) แต่อ่อนค่าเมือเทียบกับเปโซฟิลิปปินส์ (ร้อยละ 2.5) ดอลลาร์สิงคโปร์ (ร้อยละ 2.7) หยวน (ร้อยละ 2.8) และยูโร (ร้อยละ 9.2)
Foreign Exchange and Reserves
ในสัปดาห์ก่อน ทุนสำรองระหว่างประเทศรวม Gross Reserve และ Forward Obligation ณ วันที่ 18 ก.ค. 51 ลดลงสุทธิจากสัปดาห์ก่อนหน้าจำนวน -1.05 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ มาอยู่ที่ระดับ 122.61 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ แต่เป็นการลดลงของ Forward Obligation จำนวน -1.66 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ สาเหตุส่วนหนึ่งที่ทำให้ทุนสำรองระหว่างประเทศรวมลดลง คาดว่ามาจากการที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เข้าบริหารค่าเงินบาทเพื่อให้มีเสถียรภาพในสภาะที่นักลงทุนต่างชาติถอนเงินลงทุนจากประเทศโดยเฉพาะในตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งเมื่อพิจารณาจากมุลค่าการซื้อขายสุทธิต่อเนื่องที่ประมาณ -0.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ อย่างไรก็ตามการแข็งค่ามีการขายสุทธิต่อเนื่องที่ประมาณ -0.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ อย่างไรก็ตามการแข็งค่าขึ้นของค่าเงินบาทในสัปดาห์ดังกล่าวนี้ สะท้อนว่า ผลจากการเข้าแทรกแซงของทางการมีมากกว่าความต้องขายเงินบาทของนักลงทุนต่างชาติ จึงทำให้ค่าเงินบาทในสัปดาห์ที่ผ่านมาแข็งค่าขึ้นจากสัปดาห์ก่อนหน้า (วันที่ 11 ก.ค.51) -0.29 บาท จาก 33.65 ต่อดอลลาร์สหรัฐ เป็น 33.36 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ณ วันที่ 18 ก.ค.51หรือแข็งค่าขึ้นคิดเป็นร้อยละ 0.86
Major Trading Partners’ Economies: This Week
เลข Existing Home sales ของสหรัฐ เดือนมิ.ย.51 หดตัวร้อยละ -15.5 ต่อปี ซึ่งต่ำที่สุดในรอบ 10 ปี ผลมาจากการปล่อยสินเชื่อลดลงและต้นทุนการกู้ยืมที่สูงขึ้นโดยมียอดขายบ้านเดี่ยวหดตัวลงร้อยละ -14.8 ต่อปี ในขณะที่ยอดขายคอนโดมิเนียมหดตัวลงร้อยละ -19.7 ต่อปี ทั้งนี้ ราคาที่อยู่อาศัยโดยเฉลี่ยทั่วประเทศซึ่งคำนวณโดย National Association of Realtors ลดลงร้อยละ -6.8 ต่อปี ในขณะที่ราคาเฉลี่ยาบ้านเดี่ยวและคอนโดมิเนียมหดตัวร้อยละ -7.7 ต่อปี และร้อยละ -1.0 ต่อปี ตามลำดับ
อัตราเงินเฟ้อมาเลเซียในเดือน มิ.ย.51 อยู่ที่ร้อยละ 7.7 ต่อปี เพิ่มจากร้อยละ 3.8 ต่อปีในเดือนก่อนหน้า ส่วนหนึ่งมาจากราคาสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่มีแอดกอฮอล์ซึ่งมีสัดส่วนในดัชนีราคาผู้บริโภคของมาเลเซียสูงถึงร้อยละ 31.4 ปรับตัวสูงขึ้นตามราคาอาหารและธัญพืชในตลาดโลก และส่วนหนึ่งเป็นผลจากการยกเลิกมาตรการอุดหนุนราคาน้ำมันของรัฐที่ทำให้ค่าขนส่งซึ่งมีสัดส่วนในดัชนีราคาผู้บริโภคที่ร้อยละ 15.9 มีการปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นในอัตราเร่งตามราคาน้ำมันดิบโลกที่สูงขึ้น
ดุลการค้าญี่ปุ่นในเดือน มิ.ย.51 เกินดุลที่ 38.6 พันล้านเยน ซึ่งลดลงติดต่อกันมาเป็นเวลา 4 เดือนแล้ว การเกินดุลที่ลดลงในเดือน มิ.ย.51 เป็นผลจากการหดตัวของการส่งออกร้อยละ -1.7 ต่อปี จากที่ขยายตัวร้อยละ 3.7 ต่อปีในเดือนพ.ค.51 เป็นการหดตัวของการส่งออกครั้งแรกนับตั้งแต่เดือน พ.ย.46 โดยเป็นผลจากการส่งออกไปยังสหรัฐที่ลดลงร้อยละ -15.4 ต่อปี ซึ่งเป็นการลดลงที่มากที่สุดในรอบเกือบ 5 ปี ในขณะเดียวกันก็มีการส่งออกไปยังยุโรปลดลงที่ร้อยละ 11.2 ต่อปี ส่วนตลาดเอเชียมีความตองการสินค้าจากญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นในอัตราที่ชะลอลง โดยอยู่ที่ร้อยละ 1.5 ต่อปีซึ่งต่ำที่สุดในรอบ 2 ปี ในขณะที่การนำเข้ามาการขยายตัวเร่งขึ้นร้อยละ 16.2 ต่อปี เมื่อเทียบกับการขยายตัวในเดือน พ.ค.51 ที่ร้อยละ 4.4 ต่อปี ผลจากราคาน้ำมันดิบนำเข้าที่เพิ่มสูงขึ้นตามราคาในตลาดโลก
ดุลการค้าฮ่องกงในเดือน มิ.ย. 51 ขาดดุลที่ 24.0 พันล้านเหรียญดอลลาร์ฮ่องกง เป็นผลมากจากการส่งออกที่หดตัวร้อยละ -0.6 ต่อปี จากที่ขยายตัวร้อยละ 10.3 ต่อปีในเดือน พ.ค. 51 ถือเป็นการหดตัวครั้งแรกในรอบ 2 ปี โดยการส่งออกไปยังจีนซึ่งถือเป็นตลาดหลัก หดตัวลงร้อยละ -6.2 ต่อปี และการส่งออกไปยังสหรัฐฯ และญี่ปุ่น หดตัวร้อยละ -0.1 ต่อปี และร้อยละ -6.2 ต่อปี และการส่งออกไปยังสหรัฐฯ และญี่ปุ่น หดตัวร้อยละ -0.1 ต่อปี และร้อยละ -5.5 ต่อปี ตามลำดับ การส่งออกไปยังตลาดยุโรปส่วนใหญ่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้น ยกเว้นการส่งออกไปยังสหราชอาณาจักรที่หดตัวร้อยละ -0.6 ต่อปี ในขณะเดียวกันการนำเข้าสินค้าขยายตัวชะลอลงที่ร้อยละ 1.3 ต่อปี จากเดือนก่อนหน้านี้ขยายตัวร้อยละ 15.4 ต่อปี โดยมีการนำเข้าจากจีนลดลงร้อยละ -2.7 ต่อปี การนำเข้าจากสิงคโปร์ลดลงร้อยละ -8.8 ต่อปี และจากไต้หวันลดงลงร้อยละ -8.4 ต่อปี อย่างไรก็ตามการนำเข้าจากญี่ปุ่นและสหรัฐฯ ยังขยายตัวที่ร้อยละ 6.0 ต่อปี และร้อยละ 8.0 ต่อปี ตามลำดับ
มูลค่าการนำเข้าของฟิลิปปินส์ในเดือน พ.ค.51 ขยายตัวร้อยละ 11.3 ต่อปี ชะลดลงจากร้อยละ 11.8 ต่อปี ในเดือนก่อนหน้า ทำให้ดุลการค้าขาดดุลที่ -559 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้านี้ที่ขาดดุล -531 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ โดยมีการนำเข้าสินค้าจากสหรัฐฯ หดตัวลงที่ร้อยละ -6.4 ต่อปี และนำเข้าจากสิงคโปร์ขยายตัวชะลดลงที่ร้อยละ 1.8 ต่อปี เนื่องจากมีการนำเข้าสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ลดลงที่ร้อยละ -14.4 ต่อปีอย่างไรก็ตาม มูลค่าการนำเข้ายังคงมีอัตราการขยายตัวที่สูงเป็นผลจากการนำเข้าจากญีปุ่นและซาอุดิอาระเบียที่ยังคงขยายตัวที่สูงเป็นผลจากการนำเข้าจากญี่ปุ่นและซาอุดิอาระเบียบที่ยังคงขยายตัวสูที่ร้อยละ 15.3 ต่อปี และร้อยละ 74.4 ต่อปี ตามลำดับ ผลจากราคาน้ำมันดิบที่เพิ่มสูงขึ้นในตลาดโลก ทำให้มีการนำเข้าสินแร่และเชื้อเพลิงขยายตัวที่ร้อยละ 50.0 ต่อปี ประกอบกับมูลค่าการนำเข้าสินค้าประเภทธัญพืชและอาหารจากประเทศไทยและเวียดนามที่ขยายตัวถึงร้อยละ 156.7 ต่อปี โดยการนำเข้าจากไทยและเวียดนามมีการขยายตัวที่ร้อยละ 54.8 ต่อปี และร้อยละ 164.2 ต่อปี ตามลำดับ
Major Trading Partners’ Economies: Next Week
GDP สหรัฐไตรมาสที่ 2 ปี 51 คาดว่าจะขยายตัวที่ร้อยละ 2.6 ต่อปี เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้านี้ที่ขยายตัวร้อยละ 2.5 ต่อปี จากการขับเคลื่อนของบริโภคภาคเอกชนที่ได้รับอานิสงส์จากมาตรการคืนภาษีให้ประชาชน สะท้อนให้เห็นจากตัวเลขยอดค้าปลีกในเดือน พ.ค. ที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก อย่างไรก็ตามเศรษฐกิจสหรัฐโดยรวมยังคงเผชิญปัจจัยลบจากตลาดที่อยู่อาศัยที่ยังอ่อนแอตลาดสินเชื่อที่ตึงตัว ประกอบกับภาวะเงินเฟ้อที่สูงขึ้นมาก
ตัวเลข Non farm payroll เดือนมิ.ย.51 คาดว่าจะลดลง -68,000 ตำแหน่ง เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ลดลง-62,000 ตำแหน่ง จากตัวเลขคำขอรับสวัสดิการรายสัปดาห์ที่สิ้นสุดวันที่ 12 ก.ค. 51 มีจำนวน 366,000 คน เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อหน้าที่ 348,000 คน โดยสาเหตุมากจากการปิดโรงงานผลิตรถยนต์
ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง www.fpo.go.th

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ