ภาวะเศรษฐกิจสหภาพยุโรป กรกฎาคม 2551

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday August 13, 2008 17:36 —กระทรวงการคลัง

ภาพรวมเศรษฐกิจ  ( กรกฎาคม 2551 )
ดัชนีผลผลิตภาคออุตสาหกรรม : เดือนพฤษภาคมลดลงแรงเหลลือ 111.9 จจุด ขณะที่ความเชื่อมั่นทางธุรกิจเดือนมิถุนายนชะลอลงแรงต่อ
ดัชนีชี้วัดผลผลิตภาคอุตสาหกรรม (Industrial Production Index: IPI) ที่ปรับตามฤดูกาลแล้วประจำเดือนพฤษภาคมของกลุ่ม EU15 ชะลอตัวลงแรงเหลือ 111.9 จุดลดลง 2.1 จุด หรือลดลงร้อยละ 1.9 หลังจากที่ดัชนีกระเตื้องขึ้นเหนือความคาดหมายเมื่อเดือนที่แล้ว สะท้อนถึงภาวะการผลิตในภาคอุตสาหกรรมของกลุ่มประเทศยูโรเริ่มชะลอลงสอดคล้องกับแนวโน้มการชะลอตัวของเศรษฐกิจพื้นที่ยูโรตามภาวะการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกและปัญหาภาคการเงินที่นำมาสู่การตึงตัวของสินเชื่อในระบบ โดยดัชนีการผลิตชะลอตัวในทุกขั้นของการผลิต โดยสินค้าบริโภคชนิดคงทน สินค้าหมวดพลังงาน และสินค้าทุนชะลอตัวลงมากที่สุดร้อยละ 3.3, 2.7 และ 2.4 ตามลำดับ ขณะที่สินค้าขั้นกลางและสินค้าบริโภคชนิดไม่คงทนชะลอตัวลงร้อยละ 1.4 และ 1.2 ตามลำดับ
ขณะที่ดัชนีชี้วัดทางด้านอุปสงค์ของกลุ่มม EU15 ในเดือนมิถุนายนชะลอลงแรงเช่นกันหลังจากที่กระเตื้องขึ้นเหนือความคาดหมายในเดือนก่อนหน้า โดยก่อนหน้านี้ดัชนีความเชื่อมั่นอ่อนตัวลงต่อเนื่องตลอด 11 เดือนที่ผ่านมา เนื่องจากความกังวลถึงผลกระทบจากปัญหาในภาคการเงินและการชะลอตัวของสินเชื่อที่มีต่อความเชื่อมั่นในแนวโน้มภาวะเศรษฐกิจ โดยดัชนีผลสำรวจความเชื่อมั่นทางธุรกิจ (Economic Sentiment Index: ESI) ประจำเดือนมิถุนายนลดลงสู่ระดับ 94.9 จุด ลดลง 2.5 จุดจากเดือนที่แล้ว และนับเป็นเดือนที่สี่ติดต่อกันที่ดัชนีอยู่ในระดับต่ำกว่า 100 จุด หลังจากที่ดัชนีขึ้นไปสูงสุดที่ระดับ 111.6 จุดเมื่อเดือนพฤษภาคมปีที่แล้ว
อัตราเงินเฟ้อ : เดือนมิถุนายนขึ้นแตะระดับร้อยละ 4.0 ทำสถิติสูงสุดต่อไไป
ดัชนีราคาผู้บริโภค (Harmoonised Indexx of Consummer Prices: HICP) ของพพื้นที่ยุโรป (Eurro Area: 15 ประเทศ) ปรระจำเดือนมิถุนายนยังคงเร่งตัวขึ้นต่อเนื่องจากเดือนที่แล้วโดยขึ้นไปแตะระดับร้อยละ 4.00 หลังจากที่เร่งตัวสู่ระดับรร้อยละ 3.7 ในเดือนที่แล้วว ถือเป็นอัตรราเงินเฟ้อที่สูงที่สุดในรอบ 16 ปีและนับเป็นนเดือนที่แปดตติดต่อกันที่อัตัตราเงินเฟ้ออยู่เหนือระดับร้อยละ 3.0 โดยปัจจัยที่ทำให้อัตราเงินเฟ้อในเดือนนี้เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วยังคงมีสาเหตุหลักมาจากการปรับตัวสูงขึ้นของราคาพลังงานและสินค้าโภคภัณฑ์ โดยหมวดที่มีราคาปรับตัวสูงขึ้นมากในเดือนนี้มาจากหมวดคมนาคม (7.1%) หมวดอาหาร (6.4%) และหมวดที่อยู่อาศัย (6.1%) ขณะที่หมวดที่มีระดับราคาเพิ่มขึ้นต่ำเมื่อเทียบกับปีที่แล้วได้แก่ หมวดสื่อสาร (-1.6%) หมวดสันธนาการและบันแทิง (0.1%) และเครื่องนุ่งห่ม (0.7%)
ประเทศที่มีอัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ Slovenia Belgium Luxembourg และ Cyprus ที่มีอัตราเงินเฟ้อร้อยละ 6.8, 5.8, 5.3 แลละ 5.2 ตามลำดับ ขณะที่ประเทศ Netherlands Germany และ Portugal มีอัตราเงินเฟ้อต่ำสุดร้อยละ 2.3, 3.4 และ 3.4 ตามลำดับ
สำหรับดัชนีราคาผู้บริโภคขของประเทศยยูโร 27 ประเททศ (EU 27) ก็เร่งตัวขึ้นเป็นร้อยละ 4.3 จากร้อยละ 4.0 ในเดือนที่แล้ว โดยประเทศที่มีอัตราเงินเฟ้อสูงสุดในกลุ่มยูโร ได้แก่ Latvia Bulgaria และ Lithuania ที่มีอัตราเงินเฟ้อสูงงถึงร้อยละ 17.5, 14.7 และ 12.7 ตามลำดับ
อัตราการว่างงาน : เดือนมิถุนายนเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 7.3 เป็นเดือนที่สอง
ณ สิ้นเดือนมิถุนายน Euro area 15 ประเทศมียอดผู้ว่างงานที่ปรับตามฤดูกาลแล้วรวมกันทั้งสิ้น 11.352 ล้านคน คิดเป็นอัตราการว่างงานร้อยละ 7.3 ของจำนวนแรงงานทั้งหมด นับเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกันที่อัตราการว่างงานอยู่ในระดับดังกล่าว หลังจากที่ก่อนหน้านี้มีอัตราการว่างงานอยู่ในระดับต่ำสุดที่ระดับร้อยละ 7.2 ติดต่อกันมา 5 เดือน โดยยอดผู้ว่างงานในเดดือนี้เพิ่มขึ้นน 5.8 หมื่นคนจากเดือนที่แล้ว และอยู่ในระดับใกล้เคียงกับยอดผู้ว่างงานในเดือนเดียวกันของปีที่แล้วที่อยู่ที่ระดับ 11.356 ล้านคน หรือคิดเป็นอัตราการว่างงานร้อยละ 7.4
ขณะที่ยอดผู้ว่างงานของ EU 27 ประเทศ ณ เดือนมิถุนายน มีจำนวนทั้งสิ้น 16.322 ล้านคน คิดเป็นอัตราการว่างงานร้อยละ 6.8 นับเป็นเดือนที่สามที่อยู่ในอัตราดังกล่าวหลังจากที่ลงไปต่ำสุดร้อยละ 6.7 เมื่อเดือนมีนาคม
อัตราดอกเบี้ยและอัตราแลกเปลี่ยน
อัตราดอกเบี้ย : ECB ปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเป็นร้อยละ 4.25
เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม คณะกรรมการธนาคารกลางสหภาพยุโรป มีมติเพิ่มอัตราดอกเบี้ย Refiinancing Operations (MRO) ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยนโยบายขออง ECB ขึ้นรร้อยละ 0.25 เป็นร้อยละ 4.25 หลังจากที่คงอัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ระดับร้อยละ 4.0 มานาน 13 เดือนติดต่อกัน ซึ่งเป็นไปตามที่ตลาดคาดการณ์ไว้เนื่องจากก่อนหน้านี้นาย Jean-Claude Trichet ผู้ว่าการธนาคารกลาง ECB ได้ออกมาส่งสัญญาณที่ค่อนข้างชัดเจนว่าอาจปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเดือนกรกฎาคม ทั้งนี้ ECB ได้ให้เหตุผลถึงการตัดสินใจปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยว่าเพพื่อป้องกันผลกระทบของอัตราเงินเฟ้อที่จะนำไปสู่การขอปรับค่าแรงและราคาสินค้าตามมาอีก (second-round effects) รวมถึงเพื่อลดความเสี่ยงที่มีเพิ่มขึ้นจากการที่อัตราเงินเฟ้อจะสูงขึ้นต่อไปในระยะปานกลาง โดยอัตราเงินเฟ้อนับจากฤดูใบไม้ร่วงเป็นต้นมาได้เพิ่มขึ้นมากและยาวนานกว่าที่คาดการณ์ไว้แต่แรก ขณะที่อัตราการเพิ่มของปริมาณเงินและสินเชื่อในระบบยังคงสูงอยู่และสินเชื่อสถาบันการเงินยังไม่ได้ชะลอลงแม้ว่าตลาดการเงินนจะอยู่ในสภาพที่ตึงตัวก็ตตาม อย่างไรกก็ดี แม้แนวโนน้มเศรษฐกิจจจะชะลอลงในนช่วงกลางปีหหลังจากที่ขยายตัวได้ดีในไตรมาสแรกก็ตาม แต่พื้นฐานทางเศรษฐกิจของยุโรปยังคงมีความมั่นคง และเนื่องจากเป้าหมายหลักของ ECB คือการรักษาเสถียรภาพด้านราคาในระยะปานกลาง ดังนั้น ECB จึงตัดสินใจปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยขึ้นป้องกันมิให้แรงกดดันจากเงินเฟ้อนำไปสู่การเพิ่มของอัตราเงินเฟ้อในระยะปานกลางและระยะยาวต่อไป โดยการประชุมครั้งต่อไปจะมีขึ้นในวันที่ 7 สิงหาคม
ทั้งนี้ ณ สิ้นเดือนมิถุนายน สภาพคล่องในระบบเศรษฐกิจของ Euro Area ยังคงอยู่ในระดับค่อนข้างสูง โดยยอดคงค้างของปริมาณเงินตามความหมายกว้าง หรือ M3 ขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 9.022 ล้านล้านยูโร เพิ่มขึ้น 33.0 พันล้านยูโรจากเดือนที่แล้ว และคิดเป็นอัตราการขยายตัวร้อยละ 9.5 จากปีที่แล้ว (ลดลงจากเดือนพฤษภาคมที่ขยายตัวร้อยยละ 10.0) ขณะที่ยอดคงค้างสินเชื่อที่สถาบันการเงิน (MFI) ให้กู้กับภาคเอกชน (loan to private sector) มียอดคงค้าง ณ สิ้นเดือนมิถุนายนอยู่ที่ระดับ 10.660 ล้านล้านยูโร เพิ่มขึ้นจากเดือนนก่อนหน้า 66.0 พันล้านยูโร โดยคิดเป็นอัตราการขยายตัวจากปีที่แล้วร้อยละ 9.8 (ลดลงจากเดือนพฤษภาคมที่ขยายตัวร้อยละ 10.5)
สำหรับค่าเฉลี่ยของอัตราดอกเบี้ยในตลาดเงิน (Monney market interest rates) ในเดือนกรกฎาคมอยู่ในระดับใกล้เคียงกับเดือนก่อนหน้าเกือบทุกอายุหลังจากที่อัตราดอกเบี้ยขยับสูงขึ้นมากในเดือนที่แล้วอันเป็นผลมาจากการที่ตลาดค่อนข้างมั่นใจว่า ECB จะประกาศปรับอัตราดอกเบี้ยในต้นเดือนกรกฎาคม โดยในเดือนนี้อัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมระหว่างธนาคารประเภทข้ามคืน (overnight) หรือ Eonia เพิ่มขึ้น 18 basis points ขณะที่อัตราดอกเบี้ยที่มีระยะยาวกว่าจะมีค่าเฉลี่ยใกล้เคียงกับเดือนที่แล้วเกือบทั้งหมด
อัตราแลกเปลี่ยน : ยูโรแข็งค่าเล็กน้อยเมื่อเทียบกับดอลลาร์ สรอ. และ ปอนด์ แต่แข็งค่ากับ เยน
ค่าเงินยูโรเมื่อแทียบกับเงินดอลลาร์ สรอ. ในเดือนกรรกฎาคมมีการเคลื่อนไหวที่ค่อนข้างผันผวนนโดยในสัปดาห์แรกเงินยูโโรอ่อนตัวลงหหลังจากที่แข็งค่าขึ้นต่อเนื่นืองในช่วงท้ายของเดือนกก่อนโดยอ่อนค่าลงสู่ระดับปิด 1.5651 ดอลลาร์ สรอ./ยูโร โดยมีสาเหตุมาจากแนวโน้มภาวะเศรษฐกิจของพื้นนที่ยูโรที่เริ่มมมีสัญญาณการชะลอตัวโดยลำดับโดยเฉพาะเมื่อดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของเยอรมันนออกมาต่ำกว่าที่ตลาดคาดซึ่งนับเป็นเดือนที่สามติดต่อกันที่ดัชนีลดลง จากนั้นเงินยูโรก็กลับแข็งค่าอีกครั้งในสัปดาห์ที่สองโดยขึ้นไปปิดสูงสุดของเดือนที่ระดับ 1.5990 ดอลลาร์ สรอ./ยูโร อันเป็นผลจากการอ่อนตัวลงของเงินดอลลาร์ สรอ. ที่ได้รับผลกกระทบจากการที่ราคาน้ำมันพุ่งทำสถิตติสูงสุดใหม่อีกครั้งเหนือระดับ 147 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรล จากความตึงเครียดในตะวันออกกลางและการหยุดงานประท้วงของพนักงานบริษัทน้ำมันในบราซิล ปัญหาฐานะทางการเงินที่อ่อนแอลงของ Fannie Mae และ Freddie Mac รวมถึงตลาดขาดความเชื่อมั่นในแผนการเข้าช่ววยเหลือสถาบันสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยทั้งสองแห่งที่รัฐบาลสหรัฐฯ ประกาศศจะให้การสนับบสนุน จึงส่งผลต่อการเทขายดอลลาร์ สรอ. และหันมมาถือครองยูโรจนทำให้ค่าเงินยูโรขึ้นไปทำระดับสูงสุด 1.6038 ดอลลาร์ สรอ./ยูโร อย่างไรก็ดี เงินยูโรเริ่มกลับมาทยอยอ่อนตัวลงต่อเนื่องในตลอดช่วงครึ่งหลังของเดือนเมื่อราคาน้ำมันโลกชะลอตัวลงโดยลำดับ พร้อมกับการประกาศผลประกอบการของสถาบันการเงินของสหรัฐฯ บางรายที่ออกมาดีกว่าที่ตลาดความคาดหมายจึงเป็นปัจจัยสำคัญในการหนุนให้ดอลลาร์สรอ.กลับมาฟื้นตัวได้ และเงินยูโรปิดตลาดวันสุดท้ายของเดือนที่ระดับ 1.5611 ดอลลาร์ สรอ./ยูโร ส่งผลให้โดยรวมแล้วค่าเฉลี่ยของอัตราแลกเปลี่ยนเงินยูโรในเดือนนี้แข็งค่าขึ้นจากค่าเฉลี่ยของเดือนก่อนหน้าร้อยละ 1.4 และแข็งค่าร้อยละ 15.0 ในช่ววง 12 เดือนที่ผ่านมา
เงินยูโรเมื่อเทียบกับเงินปอนด์ในช่วงครึ่งแรกของเดือนเคลื่อนไหวผันผวนระหว่าง 0.79 - 0.80 ปอนด์/ยูโร โดยเงินยูโรได้รับผลดีจากการปรับอัตราดอกเบี้ยในช่วงต้นเดือน ขณะที่เงินปอนด์กลับถูกกดดันจากการที่ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมประจำเดือนพฤษภาคมที่ออกมาต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์ค่อนข้างมากแม้ว่าดัชนีผลผลิตของเยอรมันจะออกมาต่ำก็ตาม และนับจากกลางสัปดาห์ที่สองเงินยูโรกลับเริ่มทยอยอ่อนค่าลงตลอดจนกระทั่งปิดตลาดวันสุดท้ายของเดือนที่ระดับ 0.78895 / ส่งผลให้ค่าเฉลี่ยของอัตราแลกเปลี่ยนเงินยูโรในเดือนอยู่ในระดับใกล้เคียงกับเดือนที่แล้วโดยแข็งค่าขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 0.2 แต่ยูโรยังแข็งค่าถึงร้อยละ 17.6 ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา
เงินยูโรเมื่อเทียบกับเงินเยนในเดือนนี้แข็งค่าขึ้นต่อเนื่องจากเดือนที่แล้ว โดยเงินยูโรมีระดับปิดวันแรกของเดือนที่ระดับ 166.57 เยน/ยูโร จากนั้นก็ขึ้นมาเคลื่อนไหวในระดับ 167-169 เยน/ยูโร ก่อนที่จะอ่อนนตัวลงกระทันนหันแตะระดับปิดต่ำสุดของเดือนที่ 165.66 เยน/ยูโร ในช่วงกลางเดือน หลังจากนั้นเงินยูโรก็สามารถกลับขึ้นมายืนเหนือระดับ 169 เยน/ยูโร ได้อีกครั้งจนกระทั่งปิดตตลาดวันสุดท้ายของเดือนที่ระดับ 169.02 เยน/ยูโร ส่งผลให้ค่าเฉลี่ยของเงินยูโรในเดือนนี้แข็งค่าขึ้นจากเดือนที่แล้วอีกร้อยละ 1.3 อย่างไรก็ดี หากเปรียบเทียบกับรอบ 12 เดือนที่ผ่านมาแล้ว เงินยูโรแข็งค่าขึ้นเพียงร้อยละ 1.0 เท่านั้น
ขณะที่เงินยูโรเมื่อเทียบกับเงินบาทในเดือนนี้ยังคงแข็งค่าขึ้นต่อจากสองเดือนที่แล้ว โดยเงินยูโรปิดตลาดวันแรกของเดือนที่ระดับ 52.83 บาท/ยูโร และแข็งค่าขึ้นจนมีระดับปิดสูงสุดของเดือนที่ระดับ 53.536 บาท/ยูโร ก่อนที่อ่อนค่าลงเล็กน้อยในช่วงท้ายของเดือนและปิดตลาดวันสุดท้ายของเดือนที่ระดับ 52.328 บาท/ยูโร ส่งผลให้ค่าเฉลี่ยของอัตราแลกเปลี่ยนเงินยูโรเมื่อเทียบกับเงินบาทในเดือนนี้แข็งค่าขึ้นอีกร้อยละ 2.3 นับเป็นเดือนที่เจ็ดติดต่อกันที่เงินยูโรแข็งค่าเมื่อเทียบกับบาท แลละในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมาเงินยูโรแข็งค่าเมื่อเทียบกับเงินบาทร้อยละ 26.2 ทั้งนี้ สาเหตุการอ่อนตัวของเงินบาทยังคงมีสาเหตุหลักมาจากปัญหาเสถียรภาพทางการเมืองในประเทศทำให้นักลงทุนทยอยนำเงินออกต่อเนื่อง ประกอบกับในช่วงที่ผ่านมาเงินดอลลาร์ สรอ. เริ่มแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินบาท
ดุลบัญชีชีเดินสะพัดและดุลการชชำระเงิน
เดือนพฤษภาคม: Euro Area ขาดดุลลบัญชีเดินสสะพัด 7.3 พพันล้านยูโร
ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม Euro area มีฐานะดุลบัญชีเดินสะพัดที่ปรับตามฤดูกาลแล้ว (seaasonally adjuusted currennt account bbalance) ขาดดุล 7.3 พันล้านยูโร (หรืออเท่ากับขาดดุล 21.4 พันล้านยูโร กรณีเป็นข้อมูลที่ยังไม่ได้ปรับตามฤดูกาล) โดย Euuro area มีการเกินดุลการค้า (gooods trade) 33.3 พันล้านยูโร แต่เกินดุลบริการ(serrvices) 2.7 พันล้านยูโร นอกจากนี้ ยังขาดดุลรายได้ (income) และดุลเงินโอน (current transfer) จำนวน 0.8 และ 5.9 พันล้านยูโร ตามลำดับ จึงส่งผลให้โดยรวมแล้วในเดือนนี้ Euro area จึงมียอดขาดดุลบัญชชีเดินสะพัดดังกล่าว
อย่างไรก็ดี หากพิจารณาฐานะดุลบัญชีเดินสะพัดสะสมในรอบ 12 เดือนสิ้นสุดเดือนพฤษภาคม พบว่า Euro area มีฐานะขาดดุลบัญชีเดินสะพัดสะสมเป็นจำนวน 55.8 พันล้านยูโร ต่างจากเดือนนพฤษภาคมมของปีที่แล้วที่มีฐานะดุลบัญชีเดินสะพัดสะสมเกินดุลเป็นจำนวนน 13.0 พันล้านยูโร ซึ่งการที่ยอดดุลบัญชีเดินสะพัดสะสมกลับมาขาดดุลมาจากการเกินดุลการค้าลดลงแม้ว่าจะเกินดุลบริการเพิ่มขึ้นก็ตาม ขณะเดียวกันก็มีการขาดดุลเงินโอนเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วเป็นจำนวนมาก จึงส่งผลให้ดุลบัญชีเดินสะพัดสะสมมีฐานะขาดดุลดังกล่าว
ทางด้านดุลบัญชีเงินทุนเคลื่อนย้าย (financial account) ที่ยังไม่ปรับตามฤดูกาล (non-seasonal adjusted) ประจำเดือนพฤษภาคม พบว่า Euro area มีฐานะบัญชีเงินทุนไหลเข้าสุทธิ 44.2 พันล้านยูโร (เทียบกับเดือนที่แล้วที่มีฐานะเงินทุนไหลเข้าสุทธิถึง 18.2 พันล้านยูโร) แยกเป็น 1) เงินลงทุนทางตรง (ddirect investmment) มียอดไหลออกสุทธิ 10.4 พันลล้านยูโร 2) เงินลงทุนในหลักทรัพย์ (porrtfolio investtment) มียอดไหลเข้าสุทธธิ 23.0 พันล้านยูโร 3) อนุนุพันธ์ทางการเงิน มีฐานะไหลออกสุทธิ 29.7 พันล้านยูโร และ 4) เงินลงทุนประเภทอื่น (otherr investmentt) มีฐานะไหลเข้าสุทธิถึง 58.6 พันล้านยูโร เนื่องจากในเดือนนี้สถาบันการเงิน (MFIs) มีฐานะเป็นผู้ให้กู้ยืมสุทธิ 33.5 พันล้านยูโร
ทั้งนี้ ในรอบ 12 เดือนสิ้นสุดเดือนพฤษภาคม Euro area มีฐานะดุลบัญชีเงินทุนเคลื่อนย้าย (financial account) ไหลเข้าสุทธิ 89.8 พันนล้านยูโร (ใกล้เคียงกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้วที่มีฐานะไหลเข้าสุทธิ 98.3 พันล้านยูโร) ซึ่งการที่ในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมา Euro areaa มีฐานะดุลบบัญชีเงินทุนเคลื่อนย้ายสะสมมเกินดุลลดลงงจากปีที่แล้วเนื่องจากในปีปี
นี้มีการขาดดุลเงินลงทุนทางตรงเพิ่มขึ้น ขณะที่ยอดสะสมเงินลงทุนในหลักทรัพย์ (portfolio investment) ไหลเข้าสุทธิก็ลดลงค่อนข้างมาก รวมถึงมีการลงทุนในอนุพันธ์ทางการเงินสุทธิไหลออกเพิ่มขึ้นด้วย อย่างไรก็ดี เนื่องจากมีการเกินดุลเงินลงทุนประเภททอื่นจำนวนมากเข้ามาชดเชยจึงทำให้ฐานะโดยรวมแล้วยังคงมียอดสะสมเงินทุนไหลเข้าสุททธิ
ประเด็นข่าวสำคัญ ๆ ในรอบเดือนที่ผ่านมา
- ECB ปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยขึ้นร้อยละ 0.25 เป็นร้อยละ 4.25 เพื่อป้องกันผลกระทบของอัตราเงินเฟ้อที่จะนำไปสู่แรงกดดันในการขอปรับเพิ่มค่าแรงและราคาสินค้าตามมา (3 กรกฎาคม 2008)
- ประธานาธิบดี Nicolas Sarkozy เรียกร้องให้มีมาตรการเพิ่มความรับผิดชอบในการดำเนินนโยบายการเงินของ European Central Bank (ECB) ให้มากขึ้น เช่น การเปิดเผยรายการประชุมของคณะกรรมการกำหนดอัตราดอกเบี้ย (governing council's minutes) ทุกครั้ง รวมถึงการให้มีเลขาธิการถาวร (permanent secretariat) ของคณะกรรมการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของยู
โร (euro group) เพื่อทำหน้าที่ประสานนโยบายและติดต่ออย่างใกล้ชิดกับ ECB เป็นต้น ซึ่งประเด็นเปิดเผยรายงานการประชุมถือเป็นประเด็นที่ละเอียดอ่อนที่จะบั่นทอนความมีอิสระในการกำหนดนโยบายได้เนื่องจากคณะกรรมการกำหนดอัตราดอกเบี้ยนอกจากจะมีผู้บริหาร ECB แล้ว ยังมีผู้ว่า
การธนาคารกลางของประเทศสมาชิกอีก 15 ชาติเป็นผู้แทนด้วย (20 กรกฎาคม 2008)
- นายกรัฐมนตรี Angela Merkel เตือนว่าเศรษฐกิจของเยอรมันคงไม่สามารถหลีกเลี่ยงภาวะชะลอตัวจากผลกระทบภาวะเศรษฐกิจโลกและการเพิ่มขึ้นของเงินเฟ้อ และชี้ว่ายุคของอัตราการว่างงานที่ลดต่ำลงในช่วงที่ผ่านมาในประเทศหลัก ๆ ของพื้นที่ยูโรกำลังจะสิ้นสุดลง โดยรัฐบาลคาดการว่าเศรษฐกิจในปีนี้จะขยายตัวร้อยละ 1.7 และจะชะลอลงเหลือเพียงร้อยละ 1.2 ในปี 2009 (23 กรกฎาคม 2008)
- ประมาณการเบื้องต้นของอัตราเงินเฟ้อ (flash estimated inflation) ประจำเดือนกรกฎาคมของ Euro area พุ่งทำสถิติสูงสุดใหม่ที่ร้อยละ 4.1 สูงสุดเป็นประวัติการณ์นับจากการรวมเป็น Euro area เมื่อปี 1999 โดยสูงกว่าอัตราเงินเฟ้อเป้าหมาย (inflation target) ร้อยละ 2.0 กว่าเท่าตัวโดยปัจจัยสำคัญมาจากการเพิ่มของราคาน้ำมันและสินค้าโภคภัณฑ์เป็นหลัก (31 กรกฎาคม 2008)
ที่มา : Macroeconomic Analysis Group : Fiscal Policy Office
Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ