รายงานภาวะเศรษฐกิจรายวันประจำวันที่ 15 สิงหาคม 2551

ข่าวเศรษฐกิจ Friday August 15, 2008 12:19 —กระทรวงการคลัง

Macro Morning Focus ประจำวันที่ 15 ส.ค. 2551 
SUMMARY:
- ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนก.ค. 51 อยู่ที่ระดับ 71.8 ปรับตัวดีขึ้นรอบ 4 เดือน
- เศรษฐกิจไทยน่าจะยังขยายตัวดีในปี 51 ที่ร้อยละ 5.3-5.8 ต่อปี
- เศรษฐกิจยุโรปหดตัวตามกระแสโลก
HIGHLIGHT:
1. ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนก.ค. 51 อยู่ที่ระดับ 71.8 ปรับตัวดีขึ้นรอบ 4 เดือน
- มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยกาสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือนก.ค. เท่ากับ 71.8 สูงขึ้นจากเดือนมิ.ย. ที่อยู่ที่ 70.8 โดยได้รับปัจจัยบวกจากมาตรการของภาครัฐ 6 มาตรการ 6 เดือน ประกอบกับราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนหน้าประมาณ 4.7 บาทต่อลิตร จากระดับราคาเฉลี่ย 42.64 บาทต่อลิตร มาอยู่ที่ 37.94 บาทต่อลิตร ณ สิ้นเดือน มิ.ย.51
- สศค. วิเคราะห์ว่า การที่ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้านั้น สะท้อนถึงผู้บริโภคมีความเชื่อมั่นในระบบเศรษฐกิจมากขึ้น จากการที่ภาครัฐได้ออกมาตรการช่วยเหลือประชาชนอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะมาตรการ 6 มาตรการ 6 เดือน ประกอบราคาน้ำมันที่เริ่มปรับตัวลดลงบ้างแล้ว ทั้งนี้ สศค.คาดว่า เศรษฐกิจไทยในปี 51 จะขยายตัวที่ร้อยละ 5.0-6.0 ต่อปี
2. เศรษฐกิจไทยน่าจะยังขยายตัวดีในปี 51 ที่ร้อยละ 5.3-5.8 ต่อปี
- ฝ่ายวิจัยธนาคารกรุงเทพประเมินเศรษฐกิจไทยครึ่งแรกขยายตัวร้อยละ 5.3-5.8 ต่อปี แม้จะเผชิญภาวะน้ำมันแพงทำให้เงินเฟ้อมากขึ้น และ 6 มาตรการ 6 เดือน น่าจะมีผลให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปลดลงร้อยละ 3.0 ต่อปี จึงคาดว่าอัตราเงินเฟ้อในปี 51 น่าจะอยู่ที่ประมาณร้อยละ 6.8-7.2 ต่อปี และเศรษฐกิจปี 51 น่าจะขยายตัวเฉลี่ยที่ร้อยละ 4.5-5.5 ต่อปี นอกจากนี้ ยังวิเคราะห์ว่าภาคการส่งออกน่าจะขยายตัวได้ที่ร้อยละ 24.7 ต่อปี ภาคการบริโภคขยายตัวร้อยละ 7.0 ต่อปี เป็นผลจากรายได้เกษตรกรที่เพิ่มขึ้น และอัตราการใช้กำลังผลิตของอุตสาหกรรมโดยเฉลี่ยประมาณร้อยละ 74.5
- สศค. วิเคราะห์ว่า เศรษฐกิจไทยโดยรวมในปี 51 น่าจะยังขยายตัวได้ดีที่ร้อยละ 5.0-6.0 ต่อปี ผลจากการขยายตัวเร่งขึ้นของอุปสงค์ภายนอกและอุปสงค์ภายในประเทศ ประกอบกับมาตรการช่วยเหลือจากภาครัฐเพื่อเพิ่มรายได้และลดค่าครองชีพให้แก่ประชาชนที่มีรายได้น้อย ทำให้การบริโภคภาคเอกชนที่แท้จริงขยายตัวที่ร้อยละ 3.0-4.0 ต่อปี เร่งขึ้นจากร้อยละ 1.4 ในปีที่แล้ว ด้านอุปสงค์ภายนอกประเทศคือการส่งออกในรูปดอลล่าร์สหรัฐฯ น่าจะขยายตัวดีขึ้นที่ร้อยละ 19.3-21.3 ต่อปี ผลจากการกระจายตลาดส่งออกไปยังตลาดใหม่ช่วยลดผลกระทบของการชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ EU และญี่ปุ่น
3. เศรษฐกิจยุโรปหดตัวตามกระแสโลก
- สำนักข่าวบลูมเบิร์ก สำรวจความเห็นนักเศรษฐศาสตร์ 40 ราย โดยเฉลี่ยคาดว่า GDP ของกลุ่ม 15 ประเทศที่ใช้เงินยูโร (ยูโรโซน) จะหดตัวลงร้อยละ 0.2 ในช่วงไตรมาส 2 ปีนี้ หลังจากขยายตัวในช่วงไตรมาสแรกที่ร้อยละ 0.7 เป็นการหดตัวครั้งแรกนับจากเริ่มใช้เงินยูโรร่วมกันเมื่อปี 2542 ในส่วนสำนักงานสถิติรัฐบาลกลางเยอรมนีรายงานว่า GDP ชองประเทศหดตัวลงร้อยละ 0.5 ในไตรมาสที่ 2 ถือเป็นการหดตัวครั้งใหญ่ที่สุดในรอบ 5 ปี
- ด้านสถาบันวิจัยเศรษฐกิจ IMF ในมิวนิก เยอรมนีออกรายงานผลสำรวจเศรษฐกิจโลกรายไตรมาส ระบุว่า ดัชนีวัดอุณหภูมิเศรษฐกิจในยุโรปลดลงจาก 76.3ในไตรมาส 2 มาอยู่ที่ระดับ 61.9 ในไตรมาสที่ 3 ต่ำสุดนับจากปี 2536 ส่วนดัชนีประเมินสภาพเศรษฐกิจปัจจุบันลดเหลือ 84.1 จา ก 100.9
- สศค. วิเคราะห์ว่า การขยายตัวของเศรษฐกิจในกลุ่มประเทศ ยูโรโซน มีสัญญาณบ่งชี้ว่าจะเริ่มชะลอตัวลงในไตรมาสที่ 2 เนื่องจากสภาพความซบเซาของเศรษฐกิจโลก ,ปัญหาเงินเฟ้อสูงที่ส่งผ่านจากราคาน้ำมันดิบไปสู่ต้นทุนการผลิตของภาคอุตสาหกรรมต่างๆ รวมถึง การหดตัวของภาคบริการ ทำให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมอาจเข้าสู่ภาวะหดตัวได้ในที่สุด ทั้งนี้ สศค.คาดว่าการขยายตัวทางเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศ ยูโรโซนในปี 51 จะอยู่ที่ร้อยละ 2.0 ต่อปี
ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office
Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ