ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดประจำเดือนกรกฎาคม 2551 และในช่วง 10 เดือนแรกปีงบประมาณ 2551
(ตุลาคม 2550 — กรกฎาคม 2551)
นายสมชัย สัจจพงษ์ ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการคลังในฐานะโฆษกกระทรวงการคลังได้แถลงฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบ
กระแสเงินสด ในเดือนกรกฎาคม 2551 รัฐบาลขาดดุลเงินสดเป็นจำนวนทั้งสิ้น 67,502 ล้านบาท ส่งผลให้การขาดดุลเงินสดของรัฐบาลใน
ช่วง 10 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2551 ขาดดุลทั้งสิ้น 173,307 ล้านบาท ต่ำกว่าการขาดดุลในช่วงเดียวกันปีที่แล้ว ร้อยละ 28.0
โดยเป็นการขาดดุลเงินงบประมาณ 118,767 ล้านบาท และการขาดดุลเงินนอกงบประมาณ 54,540 ล้านบาท ทั้งนี้ การขาดดุลดังกล่าว
เป็นไปตามเป้าหมายการดำเนินนโยบายการคลังแบบขาดดุลของรัฐบาล ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการกระตุ้นเศรษฐกิจให้เติบโตในระดับร้อยละ
5.0 — 6.0 ในปี 2551 โดยมีรายละเอียด ดังนี้
1. ฐานะการคลังเดือนกรกฎาคม 2551
1.1 รัฐบาลมีรายได้นำส่งคลัง 101,288 ล้านบาท สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้ว 16,306 ล้านบาท หรือร้อยละ 19.2 ทั้งนี้
นอกจากรัฐบาลจะจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม อากรขาเข้า และภาษีเงินได้นิติบุคคลได้เพิ่มขึ้นแล้ว ในปีที่ผ่านมาได้มีการจัดสรรภาษีมูลค่าเพิ่มตาม
พรบ. กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนานให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น งวดที่ 4 ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.)
ในขณะที่ปีนี้จะจัดสรรในเดือนสิงหาคม 2551
1.2 การเบิกจ่ายเงินงบประมาณของรัฐบาลมีจำนวนทั้งสิ้น 138,812 ล้านบาท ต่ำกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้ว 7,743 ล้านบาท
หรือคิดเป็นร้อยละ 5.3 เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมาได้มีการเร่งการเบิกจ่ายงบประมาณอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของงบเงิน
อุดหนุนให้แก่ อปท. และกองทุนและเงินทุนหมุนเวียนต่าง ๆ
ตารางที่ 1 การเบิกจ่ายเงินงบประมาณในเดือนกรกฎาคม 2551
หน่วย: ล้านบาท
เดือนกรกฎาคม เปรียบเทียบ
2551 2550 จำนวน ร้อยละ
1. รายจ่ายปีปัจจุบัน 134,497 142,783 -8,286 -5.8
1.1 รายจ่ายประจำ 115,870 119,439 -3,569 -3
1.2 รายจ่ายลงทุน 18,627 23,344 -4,717 -20.2
2. รายจ่ายจากงบประมาณปีก่อน 4,315 3,772 543 14.4
3. รายจ่ายรวม (1+2) 138,812 146,555 -7,743 -5.3
ที่มา: กรมบัญชีกลาง
1.3 จากรายได้นำส่งคลังและการเบิกจ่ายเงินงบประมาณของรัฐบาลข้างต้น
ส่งผลให้ดุลเงินงบประมาณในเดือนกรกฎาคม 2551 ขาดดุล 37,524 ล้านบาท เมื่อรวมกับดุลเงินนอกงบประมาณที่ขาดดุล
29,978 ล้านบาท ซึ่งเป็นผลจากการไถ่ถอนตั๋วเงินคลัง ทำให้ดุลเงินสดขาดดุลจำนวน 67,502 ล้านบาท ทั้งนี้ ในเดือนนี้รัฐบาลได้กู้เงิน
ด้วยการออกพันธบัตรจำนวน 5,809 ล้านบาท เพื่อชดเชยการขาดดุลดังกล่าว (ตารางที่ 2)
ตารางที่ 2 ฐานะการคลังตามระบบกระแสเงินสดเดือนกรกฎาคม 2551
หน่วย: ล้านบาท
เดือนกรกฎาคม เปรียบเทียบ
2551 2550 จำนวน ร้อยละ
1. รายได้ 101,288 84,982 16,306 19.2
2. รายจ่าย 138,812 146,555 -7,743 -5.3
3. ดุลเงินงบประมาณ -37,524 -61,573 24,049 -39.1
4. ดุลเงินนอกงบประมาณ -29,978 10,416 -40,394 -387.8
5. ดุลเงินสดก่อนกู้ (3+4) -67,502 -51,157 -16,345 32
6. เงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุล 5,809 - - -
7. ดุลเงินสดหลังกู้ (5+6) -61,693 -51,157 -10,536 20.6
ที่มา: กรมบัญชีกลาง และสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
2. ฐานะการคลังในช่วง 10 เดือนแรกปีงบประมาณ 2551 (ตุลาคม 2550 — กรกฎาคม 2551)
2.1 รายได้นำส่งคลัง รัฐบาลมีรายได้นำส่งคลังทั้งสิ้น 1,240,128 ล้านบาท สูงกว่า ช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 85,073 ล้านบาท
หรือร้อยละ 7.4 ทั้งนี้ ภาษีที่จัดเก็บได้เพิ่มขึ้นในอัตราที่สูงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนที่สำคัญ ได้แก่ ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่ม
และอากรขาเข้า เป็นต้น
2.2 รายจ่ายรัฐบาล การเบิกจ่ายเงินงบประมาณของรัฐบาลมีจำนวนทั้งสิ้น 1,358,895 ล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว
57,595 ล้านบาท หรือร้อยละ 4.4 โดยแบ่งออกเป็นรายจ่ายจากงบประมาณปีปัจจุบัน 1,268,554 ล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ
5.0 คิดเป็นอัตรา
การเบิกจ่ายร้อยละ 76.4 ของวงเงินงบประมาณ (1,660,000 ล้านบาท) ต่ำกว่าปีที่แล้วเล็กน้อย ซึ่งมีอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ
77.1 ของวงเงินงบประมาณ (1,566,200 ล้านบาท) และรายจ่ายจากงบประมาณปีก่อน 90,341 ล้านบาท ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ
3.2 (ตารางที่ 3)
ตารางที่ 3 การเบิกจ่ายเงินงบประมาณในช่วง 10 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2551
หน่วย: ล้านบาท
10 เดือนแรก เปรียบเทียบ
ปีงบประมาณ 2551 ปีงบประมาณ 2550 จำนวน ร้อยละ
1. รายจ่ายปีปัจจุบัน 1,268,554 1,207,996 60,558 5
1.1 รายจ่ายประจำ 1,031,920 990,629 41,291 4.2
1.2 รายจ่ายลงทุน 236,634 217,367 19,267 8.9
2. รายจ่ายจากงบประมาณปีก่อน 90,341 93,304 -2,963 -3.2
3. รายจ่ายรวม (1+2) 1,358,895 1,301,300 57,595 4.4
ที่มา: กรมบัญชีกลาง
2.3 ดุลการคลังรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสด รัฐบาลขาดดุลเงินงบประมาณ 118,767 ล้านบาท และเมื่อรวมกับดุลเงิน
นอกงบประมาณที่ขาดดุลจำนวน 54,540 ล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผลจากการไถ่ถอนตั๋วเงินคลังสุทธิ ทำให้รัฐบาลขาดดุลเงินสดทั้งสิ้น
173,307 ล้านบาท ทั้งนี้ รัฐบาลชดเชยการขาดดุลดังกล่าวโดยการออกพันธบัตรและตั๋วสัญญาใช้เงินรวม 157,700 ล้านบาท (ตารางที่ 4)
ตารางที่ 4 ฐานะการคลังตามระบบกระแสเงินสดในช่วง 10 เดือนแรกปีงบประมาณ 2551
หน่วย: ล้านบาท
10 เดือนแรก เปรียบเทียบ
ปีงบประมาณ 2551 ปีงบประมาณ 2550 จำนวน ร้อยละ
1. รายได้ 1,240,128 1,155,055 85,073 7.4
2. รายจ่าย 1,358,895 1,301,300 57,595 4.4
3. ดุลเงินงบประมาณ -118,767 -146,245 27,478 -18.8
4. ดุลเงินนอกงบประมาณ -54,540 -94,615 40,075 -42.4
5. ดุลเงินสดก่อนกู้ (3+4) -173,307 -240,860 67,553 -28
6. เงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุล 157,700 143,660 14,040 9.8
7. ดุลเงินสดหลังกู้ (5+6) -15,607 -97,200 81,593 -83.9
ที่มา: กรมบัญชีกลาง และสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
สำนักนโยบายการคลัง สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
โทร 0 2273 9021 ต่อ 3558 หรือ 3555
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 63/2551 15 สิงหาคม 51--
(ตุลาคม 2550 — กรกฎาคม 2551)
นายสมชัย สัจจพงษ์ ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการคลังในฐานะโฆษกกระทรวงการคลังได้แถลงฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบ
กระแสเงินสด ในเดือนกรกฎาคม 2551 รัฐบาลขาดดุลเงินสดเป็นจำนวนทั้งสิ้น 67,502 ล้านบาท ส่งผลให้การขาดดุลเงินสดของรัฐบาลใน
ช่วง 10 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2551 ขาดดุลทั้งสิ้น 173,307 ล้านบาท ต่ำกว่าการขาดดุลในช่วงเดียวกันปีที่แล้ว ร้อยละ 28.0
โดยเป็นการขาดดุลเงินงบประมาณ 118,767 ล้านบาท และการขาดดุลเงินนอกงบประมาณ 54,540 ล้านบาท ทั้งนี้ การขาดดุลดังกล่าว
เป็นไปตามเป้าหมายการดำเนินนโยบายการคลังแบบขาดดุลของรัฐบาล ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการกระตุ้นเศรษฐกิจให้เติบโตในระดับร้อยละ
5.0 — 6.0 ในปี 2551 โดยมีรายละเอียด ดังนี้
1. ฐานะการคลังเดือนกรกฎาคม 2551
1.1 รัฐบาลมีรายได้นำส่งคลัง 101,288 ล้านบาท สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้ว 16,306 ล้านบาท หรือร้อยละ 19.2 ทั้งนี้
นอกจากรัฐบาลจะจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม อากรขาเข้า และภาษีเงินได้นิติบุคคลได้เพิ่มขึ้นแล้ว ในปีที่ผ่านมาได้มีการจัดสรรภาษีมูลค่าเพิ่มตาม
พรบ. กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนานให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น งวดที่ 4 ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.)
ในขณะที่ปีนี้จะจัดสรรในเดือนสิงหาคม 2551
1.2 การเบิกจ่ายเงินงบประมาณของรัฐบาลมีจำนวนทั้งสิ้น 138,812 ล้านบาท ต่ำกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้ว 7,743 ล้านบาท
หรือคิดเป็นร้อยละ 5.3 เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมาได้มีการเร่งการเบิกจ่ายงบประมาณอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของงบเงิน
อุดหนุนให้แก่ อปท. และกองทุนและเงินทุนหมุนเวียนต่าง ๆ
ตารางที่ 1 การเบิกจ่ายเงินงบประมาณในเดือนกรกฎาคม 2551
หน่วย: ล้านบาท
เดือนกรกฎาคม เปรียบเทียบ
2551 2550 จำนวน ร้อยละ
1. รายจ่ายปีปัจจุบัน 134,497 142,783 -8,286 -5.8
1.1 รายจ่ายประจำ 115,870 119,439 -3,569 -3
1.2 รายจ่ายลงทุน 18,627 23,344 -4,717 -20.2
2. รายจ่ายจากงบประมาณปีก่อน 4,315 3,772 543 14.4
3. รายจ่ายรวม (1+2) 138,812 146,555 -7,743 -5.3
ที่มา: กรมบัญชีกลาง
1.3 จากรายได้นำส่งคลังและการเบิกจ่ายเงินงบประมาณของรัฐบาลข้างต้น
ส่งผลให้ดุลเงินงบประมาณในเดือนกรกฎาคม 2551 ขาดดุล 37,524 ล้านบาท เมื่อรวมกับดุลเงินนอกงบประมาณที่ขาดดุล
29,978 ล้านบาท ซึ่งเป็นผลจากการไถ่ถอนตั๋วเงินคลัง ทำให้ดุลเงินสดขาดดุลจำนวน 67,502 ล้านบาท ทั้งนี้ ในเดือนนี้รัฐบาลได้กู้เงิน
ด้วยการออกพันธบัตรจำนวน 5,809 ล้านบาท เพื่อชดเชยการขาดดุลดังกล่าว (ตารางที่ 2)
ตารางที่ 2 ฐานะการคลังตามระบบกระแสเงินสดเดือนกรกฎาคม 2551
หน่วย: ล้านบาท
เดือนกรกฎาคม เปรียบเทียบ
2551 2550 จำนวน ร้อยละ
1. รายได้ 101,288 84,982 16,306 19.2
2. รายจ่าย 138,812 146,555 -7,743 -5.3
3. ดุลเงินงบประมาณ -37,524 -61,573 24,049 -39.1
4. ดุลเงินนอกงบประมาณ -29,978 10,416 -40,394 -387.8
5. ดุลเงินสดก่อนกู้ (3+4) -67,502 -51,157 -16,345 32
6. เงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุล 5,809 - - -
7. ดุลเงินสดหลังกู้ (5+6) -61,693 -51,157 -10,536 20.6
ที่มา: กรมบัญชีกลาง และสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
2. ฐานะการคลังในช่วง 10 เดือนแรกปีงบประมาณ 2551 (ตุลาคม 2550 — กรกฎาคม 2551)
2.1 รายได้นำส่งคลัง รัฐบาลมีรายได้นำส่งคลังทั้งสิ้น 1,240,128 ล้านบาท สูงกว่า ช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 85,073 ล้านบาท
หรือร้อยละ 7.4 ทั้งนี้ ภาษีที่จัดเก็บได้เพิ่มขึ้นในอัตราที่สูงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนที่สำคัญ ได้แก่ ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่ม
และอากรขาเข้า เป็นต้น
2.2 รายจ่ายรัฐบาล การเบิกจ่ายเงินงบประมาณของรัฐบาลมีจำนวนทั้งสิ้น 1,358,895 ล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว
57,595 ล้านบาท หรือร้อยละ 4.4 โดยแบ่งออกเป็นรายจ่ายจากงบประมาณปีปัจจุบัน 1,268,554 ล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ
5.0 คิดเป็นอัตรา
การเบิกจ่ายร้อยละ 76.4 ของวงเงินงบประมาณ (1,660,000 ล้านบาท) ต่ำกว่าปีที่แล้วเล็กน้อย ซึ่งมีอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ
77.1 ของวงเงินงบประมาณ (1,566,200 ล้านบาท) และรายจ่ายจากงบประมาณปีก่อน 90,341 ล้านบาท ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ
3.2 (ตารางที่ 3)
ตารางที่ 3 การเบิกจ่ายเงินงบประมาณในช่วง 10 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2551
หน่วย: ล้านบาท
10 เดือนแรก เปรียบเทียบ
ปีงบประมาณ 2551 ปีงบประมาณ 2550 จำนวน ร้อยละ
1. รายจ่ายปีปัจจุบัน 1,268,554 1,207,996 60,558 5
1.1 รายจ่ายประจำ 1,031,920 990,629 41,291 4.2
1.2 รายจ่ายลงทุน 236,634 217,367 19,267 8.9
2. รายจ่ายจากงบประมาณปีก่อน 90,341 93,304 -2,963 -3.2
3. รายจ่ายรวม (1+2) 1,358,895 1,301,300 57,595 4.4
ที่มา: กรมบัญชีกลาง
2.3 ดุลการคลังรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสด รัฐบาลขาดดุลเงินงบประมาณ 118,767 ล้านบาท และเมื่อรวมกับดุลเงิน
นอกงบประมาณที่ขาดดุลจำนวน 54,540 ล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผลจากการไถ่ถอนตั๋วเงินคลังสุทธิ ทำให้รัฐบาลขาดดุลเงินสดทั้งสิ้น
173,307 ล้านบาท ทั้งนี้ รัฐบาลชดเชยการขาดดุลดังกล่าวโดยการออกพันธบัตรและตั๋วสัญญาใช้เงินรวม 157,700 ล้านบาท (ตารางที่ 4)
ตารางที่ 4 ฐานะการคลังตามระบบกระแสเงินสดในช่วง 10 เดือนแรกปีงบประมาณ 2551
หน่วย: ล้านบาท
10 เดือนแรก เปรียบเทียบ
ปีงบประมาณ 2551 ปีงบประมาณ 2550 จำนวน ร้อยละ
1. รายได้ 1,240,128 1,155,055 85,073 7.4
2. รายจ่าย 1,358,895 1,301,300 57,595 4.4
3. ดุลเงินงบประมาณ -118,767 -146,245 27,478 -18.8
4. ดุลเงินนอกงบประมาณ -54,540 -94,615 40,075 -42.4
5. ดุลเงินสดก่อนกู้ (3+4) -173,307 -240,860 67,553 -28
6. เงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุล 157,700 143,660 14,040 9.8
7. ดุลเงินสดหลังกู้ (5+6) -15,607 -97,200 81,593 -83.9
ที่มา: กรมบัญชีกลาง และสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
สำนักนโยบายการคลัง สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
โทร 0 2273 9021 ต่อ 3558 หรือ 3555
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 63/2551 15 สิงหาคม 51--