ภาพรวมเศรษฐกิจ ( กรกฎาคม 2551)
GDP ไตรมาสที่สอง ขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงต่อเนื่องเหลือร้อยละ 0.2
ประมาณการเบื้องต้น (Preliminary estimate) ของผลผลิตมวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของประจำไตรมาสที่สองของปี 2008 มีอัตราการขยายตัวที่ชะลอลงเหลือร้อยละ 0.2 จากไตรมาสก่อนหน้า (ไตรมาสที่แล้วที่ขยายตัวร้อยละ 0.4) และขยายตัวร้อยละ 1.6 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว (ไตรมาสที่แล้วขยายตัวร้อยละ 2.3) ซึ่งการที่เศรษฐกิจในไไตรมาสนี้ชะลอตัวลงจากไตรมาสที่แล้วเป็นผลมาจากการชะลอตัวในภาคการผลิตและภาคการก่อสร้างเป็นหลัก ขณะที่ภาคบริการยังคงขยายตัวในอัตราที่ใกล้เคียงกับไตรมาสก่อนหน้าและเป็นภาคสำคัญที่ยังเกื้อหนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจในไตรมาสนี้
- ภาคคบริการขยายตัวร้อยละ 0.4 ใกล้เคียงกับไตรมาสแรก (ไตรมาสแรกขยายตัวร้อยละ 0.3) โดยภาคที่มีอัตราการขยายตัวแข็งแกร่งมาจากธุรกิจบริการในภาคการคมนาคมขนส่ง สื่อสาร และการเก็บรักษาสินค้า ที่ขยายตัวถึงร้อยละ 2.2 (ไตรมาสก่อนหน้าขยายตัวเพียงร้อยละ 0.7) ขณะที่ธุรกิจบริการในภาคค้าส่ง โรงแรม และภัตตาคาร และธุรกิจบริการในภาคบริการธุรกิจและการเงิน ขยายตัวชะลอลงเหลือร้อยละ 0.2 (เร่งตัวขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 0.3) และร้อยละ 0.1 (เทียบกับร้อยละ 0.2 ในไตรมาสก่อนหน้า) ตามลำดับ โดยเฉพาะธุรกิจค้าปลีกชะลอตัวลงแรงที่สุด ขณะที่ธุรกิจบริการที่เกี่ยวเนื่องกับสถาบันการเงินก็มีส่วนอย่างมากต่อการชะลอตัวลงของเศรษฐกิจในไตรมาสนี้ ขณะที่บริการของภาครัฐและบริการอื่นมีการขยายตัวไม่เปลี่ยนแปลงจากไตรมาสแล้วคือร้อยละ 0.4 (ภาคบริการมีสัดส่วนต่อ GDP ร้อยละ 74)
- ภาคอุตสาหกรรมและการผลิตหดตัวลงร้ออละ 0.5 จากไตรมาสก่อนหน้า (ไตรมาสก่อนหน้าหดตัวลงร้อยยละ 0.2) เนื่องจากมีการหดตัวลงในทุกสาขาการผลิต โดยการผลิตภาคสาธารณูปโภคไม่ว่าจะเป็นไฟฟฟ้า แก๊ส และประปา มีการหดตัวลงแรงถึงร้อยละ 1.5 (ไตรมาสที่แล้วหดตัวร้อยละ 1.3) ขณะที่การผลิตสินค้าอุตสาหกรรมในไตรมาสนี้หดตัวลงร้อยละ 0.4 (เทียบกับที่ขยายตัวไตรมาสที่แล้วร้อยละ 0.4) ขณะที่การผลิตภาคเหมืองแร่และพลังงานหดตัวลงร้อยละ 0.9 (ไตรมาสที่แล้วหดตัวร้อยละ 4.7) (ภาคอุตสาหกรรมและการผลิตมีสัดส่วนต่อ GDP ร้อยละ 19)
- ภาคการก่อสร้างในไตรมาสนี้หดตัวร้อยละ 0.7 ซึ่งเป็นครั้งแรกที่ภาคการก่อสร้างหดตัวลงนับจากไตรมาสสุดท้ายของปี 2005 (ไตรมาสที่แล้วขยายตัวร้อยละ 0.4) (ภาคการก่อสร้างมีสัดส่วนต่อ GDP ประมาณร้อยละ 6)
- ภาคการเกษตรในไตรมาสนี้ไม่มีการขยายตัว (ไตรมาสที่แล้วขยายตัวร้อยละ 0.6 (ภาคการเกษตรมีสัดส่วนต่อ GDP ประมาณร้อยละ 1)
อนึ่ง ในคราวแถลงงบประมาณต่อรัฐสภาเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา กระทรวงการคลังประมาณการว่าเศรษฐกิจในปี 2008 จะขยายตัวระหว่างร้อยละ 2.75-3.25 ขณะที่ IMF และ European Commission ประมาณการว่าเศรษฐกิจอังกฤษจะขยายตัวเพียงร้อยละ 1.6 และ 1.7 ตามลำดับ ส่วนสถาบันวิจัยเอกชนประมาณการล่าสุดว่าเศรษฐกิจในปีนี้จะขยายตัวเพียงร้อยละ 1.5 และเหลือร้อยละ 1.4 ในปี 2009
ดัชนีชชี้วัดการผลิตตภาคอุตสาหหกรรมเดือนพฤษภาคมหดตัวลงแรงถึง 0.5 จุด
ดัชนีชี้วัดการผลิตภาคอุตสาหกรรม (Industrial Production Index: IPI) ในเดือนพฤษภาคมหดตัวลงแรงถึง 0.8 จุดจากเดือนที่แล้วมาอยู่ที่ระดับ 98.5 ซึ่งหากพิจารณาจากค่าเฉลี่ยของดัชนีช่วง 3 เดือน (มีนาคม-พฤษภาคม) พบว่าลดลงจากค่าเฉลี่ยของช่วง 3 เดือนก่อนหน้า (ธันวาคม-กุมภาพันธ์) 0.5 จุด โดยดัชนีการผลิตสินคค้าอุตสาหกรรรม (Manufacturing) ซึ่งมีน้ำหนักร้อยละ 79 ลดลงร้อยละ 0.2 จากช่วง 3 เดือนก่อนหน้า ขณะที่ดัชนีผลผลิตภาคเหมืองแร่ ทรัพยากร ธรรมชาติ และน้ำมัน ซึ่งมีน้ำหนักร้อยละ 12 ลดลงต่อเนนื่องอีกร้อยละ 1.6 ส่วนดัชนีผลผลิตด้านพลังงานไฟฟ้า นํ้นำ และ ก๊าซ ซึ่งมีน้ำหนักร้อยละ 9 ลดลลงถึงร้อยละ 22.0
ทั้งนี้ หากพิจารณาดัชนีการผลิตตามระดับขั้นของผลผลิตพบว่าค่าเฉลี่ย 3 เดือนของดัชนีผลผลิตสินค้าขั้นกลางและพลังงาน (Intermediate goods and energy) ซึ่งมีน้ำหนักร้อยละ 48 ในดัชนี IPI ลดลงงจากรอบ 3 เดือนโดยลดดลงแรงถึงร้อยละ 0.9 ดัชนีนีผลผลิตสินค้าเพื่อการบริโภคที่ไม่คคงทน (Consuumer non-durable) ซึ่งมีน้ำหนักร้อยลละ 27 ลดลงรร้อยละ 0.3 เป็นครั้งแรกในรอบ 7 เดือนน สินค้าเพื่อการบริโภคที่คงทน (Consumer durable) ซึ่งมีน้ำหหนักร้อยละ 3.6 ลดลงร้อยละ 2.1 ขณะที่สินค้าทุน (Capital goods) ซึ่งมีน้ำหนักร้อยละ 21 เป็นเพียงกลุ่มเดียวที่เพิ่มขึ้นแต่เพิ่มในอัตราที่ชะลอลงเหลือร้อยละ 0.3 จากรอบ 3 เดือนก่อนหน้า โดยดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมในเดือนนี้ลดลงแรงเหนือความคาดหมายเริ่มสะท้อนถึงผลกระทบจากการชะลอตัววของเศรษฐกิจโดย รวมหลังจากที่ภาคอสังหาริมทรัพย์ได้รับผลกระทบเป็นกลุ่มแรกจากปัญหาสภาวะการชะลอตัวของสินเชื่อและการเร่งตัวขึ้นของอัตราเงินเฟ้อที่ส่งผลต่อการชะลอลงของความต้องการโดยรวมภายในประเทศ
อัตราเงินเฟ้อ : CPI เดือนมิถุนายนยังพุ่งแตะร้อยละ 3.8 สูงสุดนับจากปี 1997
ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ในเดือนมิถุนายนยังคงเร่งตัวขึ้นแรงต่อเนื่องจากเดือนก่อนจากระดับร้อยละ 3.3 พุ่งขึ้นสู่ระดับร้อยละ 3.8 นับเป็นอัตราเงินเฟ้อที่สูงที่สุดเป็นสถิติต่อไปนับจาก Bank of England ได้รับมอบหมายให้ดำเนินนโยบายการเงินได้อย่างอิสระเมื่อปี 1997 โดยสาเหตุหลักที่ทำให้อัตราเงินเฟ้อในเดือนนี้เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีที่แล้วมาจากการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่ใช่แอลกอฮอล์ที่เร่งตัวขึ้นจากปีที่แล้วเป็นร้อยละ 9.5 เทียบกับร้อยละ 7.8 ในเดือนที่แล้ว หมวดค่าขนส่งที่เร่งตัวขึ้นเช่นกันเป็นร้อยละ 7.3 เทียบกับร้อยละ 6.2 ในเดือนที่แล้ว และหมมวดค่าใช้จ่ายยประจำในครรัวเรือน ค่าสาธารณูปโภคคน้ำประปา แก๊สและไฟฟ้า ที่เร่งตัวขึ้นเป็นร้อยละ 7.0 เทียบกับร้อยละ 6.3 ในเดือนที่แล้ว สำหรับหมวดสินคค้าที่มีระดับราคาลดลงเมื่ออเทียบกับปีทที่แล้ว ได้แก่ หมวดดเครื่องนุ่งห่มมและรองเท้าที่มีระดับราคาลดลงต่อเนื่องจากรร้อยละ 6.3 ในเดือนนที่แล้วเป็นรร้อยละ 7.0 หมวดสื่อสาร
ลดลลงร้อยละ 1.33 และหมวดสสันธนาการแลละวัฒนนธรรมไม่เปลลี่ยนแปลงจากกปีที่แล้ว
ทางด้านดัชนี (Retail Price Index: RPI) ในเดือนนี้ก็เร่งตัวขึ้นจากเดือนก่อนเช่นกันโดยเพิ่มจากร้อยละ 4.3 เป็นร้อยละ 4.6 ในเดือนนี้ โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อการเร่งตัวขึ้นของเงินเฟ้อในเดือนนี้ยังคงมาจากรายจ่ายหมวดอาหารและภัตตาคารที่ยังคงเร่งตัวขึ้นอีกเป็นร้อยละ 8.0 โดยอาหารสดจำพวกเนื้อสัตว์ น้ำมันพืช และผักผลไม้เพิ่มขึ้นเกือบทุกรายการ หมวดการเดินทางและพักผ่อนเร่งตัวขึ้นเป็นร้อยละ 4.6 ขณะที่ค่าใช้จ่ายหมวดที่อยู่อาศัยและรายจ่ายในครัวเรือนแม้จะชะลอลงแต่ก็ถือว่ายังเพิ่มในอัตราสูงร้อยละ 4.5 เนื่องจากรายจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้เพื่อที่อยู่อาศัยในเดือนนี้มีอัตราการเพิ่มที่ชะลอลงเหลือเพียงร้อยละ 0.8 ขณะที่ค่าใช้จ่ายในครัวเรือนหมวดไฟฟ้าและน้ำมันยังคงเร่งตัวขึ้นแรงถึงร้อยละ 14.9
อัตราการว่างงาน : เดือนพฤษภาคมอยู่ที่ระดับร้อยละ 5.2
ในรอบ 3 เดือนสิ้นสุดเดือนพฤษภาคม (มีนาคม-พฤษภาคม) จำนวนผู้มีงานทำ (employment level) มีจำนวน 29.587 ล้านคน เพิ่มขึ้น 61,000 คนจากรอบไตรมาสก่อนหน้า (ธันวาคม-กุมภาพันธ์) และเพิ่มขึ้น 413,000 คนจากรอบไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว โดยคิดเป็นอัตราการจ้างงานของผู้อยู่ในวัยทำงานเท่ากับร้อยละ 74.9 ของผู้ที่อยู่ในวัยทำงานทั้งหมด (working age employment rate) ไม่เปลี่ยนแปลงจากไตรมาสก่อนหน้า
ทางด้านจำนวนผู้ว่างงานและอัตราการว่างงานในรอบสามเดือนสิ้นเดือนพฤษภาคม มียอดผู้ว่างงานเฉลี่ย 1.619 ล้านคน เพิ่มขึ้น 12,000 คนจากรอบไตรมาสก่อนหน้า แต่ลดลง 47,000 คน จากไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว ส่งผลให้อัตราการว่างงานเฉลี่ยในรอบไตรมาสนี้อยู่ที่ระดับร้อยละ 5.2 เท่ากับรอบไตรมาสก่อนหน้า แต่ลดลง 0.2 จุดจากรอบไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว
สำหรับดัชนีชี้วัดรายได้เฉลี่ยของแรงงานไม่รวมเงินโบนัส (GB average earnings index: AEI) ในรอบไตรมาสสิ้นสุดเดือนพฤษภาคมเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.8 จากปีที่แล้ว (ลดลงร้อยละ 0.1 จากรอบไตรมาสก่อนหน้า) ขณะที่ดัชนีที่รวมรายได้จากโบนัสเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.8 จากปีที่แล้ว (ลดลงร้อยละ 0.1 จากรอบไตรมาสก่อนหน้า)
อัตราดอกเบี้ยและอัตราแลกเปลี่ยน
อัตราดอกเบี้ย : Bank of England คงอัตราดอกเบี้ยที่ร้อยละ 5.0 เป็นเดือนที่ 4
เมื่อวันที่ 10 กรกฏาคม คณะกรรมการนโยบายการแงิน (MPC) ของธนาคารกกลางอังกฤษ มีมติ 7:22 ให้คงอัตราดอกเบี้ย Baase rate ไว้ที่ร้อยละ 5.0 โดยกรรมการรายหนึ่งเห็นควรให้ลดอัตราดอกเบี้ยลง ขณะที่อีกรายเสนอให้ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนับเป็นเดือนที่ 4 ที่ MPC มีมติคงอัตราดอกเบี้ย อย่างไรก็ดีการตัดสินใจในครั้งนี้ค่อนข้างยากเนื่องจากในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมาพบว่าความเสี่ยงจากอัตราเงินเฟ้อในระยะปานกลางเริ่มมีมากขึ้นอีกหลังจากที่อัตราเงินเฟ้อขึ้นแตะระดับร้อยละ 3.8 ขณะเดียวกันทำให้คณะกรรมการเกรงว่าจะส่งผลให้อัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับสูงกว่าเป้าหมายยาวนานขึ้นอีกหากไม่ขึ้นอัตราดอกแบี้ย ขณะเดียวกัน ความแสี่ยงจากการที่เศรษฐกิจจะชะลอลงลึกติดต่อกันหลายไตรมาสก็ยังมีอยู่ไม่ว่าจะเป็นการชะลอการใช้จ่าย การตึงตัวของภาวะสินเชื่อ การที่ราคาที่อยู่อาศัยลดลงไปแล้วร้อยละ 8 จากจุดสูงสุดเมื่อเดือนตุลาคมปีที่แล้ว ซึ่งแนวโน้มการชะลอตัวของเศรษฐกิจจะช่วยให้อัตราเงินเฟ้อลดลงในระยะต่อไปป การปรับเพิ่มอัตราดอกแบี้ยจะยิ่งส่งผลให้เศรษฐกิจซึมลึกยาวขึ้น ซึ่งอัตราดอกเบี้ยในขณะนี้ก็สะท้อนถึงจุดยืนของธนาคารอยู่แล้วว่ายังคงให้ความสำคัญกับอัตราเงินเฟ้อ ดังนั้น คณะกรรมการเห็นคววให้คงอัตราดอกเบี้ยไว้ตามเดิม โดยการประชุมคครั้งต่อไปที่จะมีขึ้นวันที่ 7 สิงหาคม 2008
ในเดือนมิถุนายนอัตราดอกเบี้ยเงินกู้เพื่อที่อยู่อาศัยชนิดลอยตัว (flexible rate) ปรับลดลงเล็กน้อย 3 basis points โดยมีทิศทางที่สอดคล้องกับการชะลอลงของอัตราดอกเบี้ยพื้นฐานของธนาคารกลาง ขณะที่อัตราดอกเบี้ยเงินกู้เพื่อที่อยู่อาศัยชนิดที่อิงอัตราดอกเบี้ยพื้นฐาน (base rate tracker mortgage) ในเดือนมิถุนายนอยู่ที่ร้อยละ 6.31 เพิ่มขึ้นจากเดือนที่แล้ว 14 basis points โดยเป็นที่น่าสังเกตว่าในช่วงหลังส่วนต่างระหว่าง tracker mortgage rate กับ base rate มีส่วนต่างเพิ่มขึ้นเป็น 131 basis points จากปีที่แล้วที่มีส่วนต่างเพียง 60-80 basis points
สำหรับโครงสรร้างอัตราผลตตอบแทนเฉลี่ย (average yield curve)) ประจำเดือนมิถุนายนพบว่าอัตราผลตอบแทนปรับเพิ่มขึ้นจากเดือนที่แล้วทุกอายุ โดยเฉพาะอัตราผลตออบแทนระยะสั้น 3 เดือนถึง 1 ปีที่ปรับสูงขึ้นกว่าเดือนที่แล้วระหว่าง 17-47 basis points ขณะที่อัตราผลตอบแทนระยะยาวก็ปรับเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนระหว่าง 18-55 basis points โดยโครงสร้างอัตราดอกเบี้ยมีลักษณะเดียวกับเมื่อปีที่แล้ว กล่าวคือ โครงสร้างดอกเบี้ยระยะสั้นไม่เกิน 1 ปีมีลักษณะเป็น positive yield curve แต่มีระดับอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำกว่าอันเป็นผลจากการลดอัตราดอกเบี้ยของ Bank of England ในช่วงที่ผ่านมา สำหรับอัตราผลตอบแทนระยะยาวมีลักษณะเป็น downward sloping
อัตราแลกเปลี่ยน : แข็งค่ากับ $ และสสกุลอื่น แต่ออ่อนค่ากับ
เงินปอนด์เมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ สรอ.ในเดือนกรกฎาคมเคลื่อนไหวค่อนข้างผันผวนแต่ก็ยังมีทิศทางที่แข็งค่าขึ้นเล็กน้อยจากเดือนที่แล้ว โดยหลังจากปิดตลาดวันแรกของเดือนที่ระดับ 1.9914 ดอลลาร์สรอ./ปอนด์ เงินดอลลารร์ สรอ.เงินปอนด์ก็อ่อนตัวลงมาสู่ระดับปิดต่ำสุดของเดือนที่ระดับ 1.9695 ดอลลาร์สรอ./ปอนด์ เนื่องจากเงินปอนด์ได้รับผลกระทบจากดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมประจำเดือนพฤษภาคมที่ออกมาต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์ค่อนข้างมากจึงกดดันค่าเงินปอนด์ให้อ่อนค่าลง ขณะเดียวกันเงินดอลลาร์ สรอ.ก็ได้รับผลดีจากการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังกลุ่ม G-8 รวมถึงการที่ราคาน้ำมันอ่อนตัวลงบ้าง อย่างไรก็ดี เงินปอนด์กลับฟื้นตัวขึ้นในช่วงสัปดาห์ที่สองเมื่อเงินดอลลาร์ สรอ. ถูกกดดันจากปัญหาวิกฤตด้านฐานะการเงินของสถาบันสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยภายใต้การสนับสนุนของรัฐบาล 2 แห่ง คือ Fannie Mae และ Freddie Mac ที่อาจจะต้องเพิ่มเงินกองทุนหลังจากได้รับผลกระทบจากภาวะชะลอตัวของภาคอสังหาริมทรัพย์ในสหรัฐฯ แม้เงินปอนด์จะถูกกดดันจากตัวเลขราคาที่อยู่อาศัยลดลงมากในเดือนมิถุนายน รวมถึงงการที่ BoE ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยยสะท้อนแนวโน้มภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอลงก็ตาม ความกังวลต่อสุขภาพของระบบการเงินสหรัฐฯ ได้ส่งผลดีต่อค่าเงินปอนด์จนสามารถกลับขึ้นไปแข็งค่าเหนือระดับ 2.0 ดอลลาร์สรอ./ปอนด์ ได้อีกครั้งในช่วงกลางเดือนโดยมีระดับปิดสูงสุดของเดือนที่ระดับ 2.0069 ดอลลาร์สรอ./ปอนด์ หลังจากนั้นเงินปอนด์เริ่มอ่อนตัวลงต่อเนื่องเมื่อเงินดอลลาร์ สรอ. ได้รับแรงหนุนจากการที่ราคาน้ำมันในตลาดโลกปรับลดลงเร็วและต่อเนื่องหลังจากขึ้นไปทำสถิติสสูงสุดที่ 147 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรล รวมถึงการที่สถาบันการเงินของสหรฐัฯ บางแห่งมีผลประกอบการดีกว่าที่ตลาดคาดการทำให้ตลาดมีความเชื่อมั่นต่อเงินดดอลลาร์ สรอ. มากขึ้น โดยเงินปอนด์เมื่อเทียบกับดอลลาร์ สรอ. ปิดตลาดวันสุดท้ายของเดือนอ่อนตัวลงสู่ระดับ 1.9810 ดอลลาร์สรอ./ปอนด์ ส่งผลให้ค่าเฉลี่ยเงินปอนด์ในเดือนนี้แข็งค่าขึ้นจากเดือนที่แล้วร้อยละ 1.1 แต่เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยเมื่อ 12 เดือนที่แล้ว เงินปอนด์กลับอ่อนค่าลงร้อยละ 2.3
ค่าเฉลี่ยของเงินปอนด์ในเดือนนี้เคลื่อนไไหวในกรอบ 1.25 - 1.27 ยูโร/ปอนด์ โดยในสัปดาห์แรกเงินปอนด์มีทิศทางที่อ่อนค่าลงหลังจากแข็งค่าต่อเนื่องในช่วงปลายเดือนที่แล้วโดยอ่อนค่าลงมาสู่ระดับปิดต่ำสุดของเดือนที่ระดับ 1.2519 ยูโร/ปอนด์ หลังจากมีการประกาศดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมประจำเดือนพฤษภาคมออกมาต่ำกว่าที่คาด จากนั้นเงินปอนด์เริ่มฟื้นตัวขึ้นในสัปดาห์ที่สองโดยขึ้นไปทำระดับปิดสูงสุดของเดือนที่ระดับ 1.2726 ยูโร/ปอนด์ จากนั้นเงินปอนด์ก็เคลื่อนไหวใกล้เคียงระดับ 1.27 ยูโร/ปอนด์ จนกระทั่งปิดตลาดวันสุดท้ายของเดือนที่ระดับ 1.2696 ยูโร/ปอนด์ โดยค่าเฉลี่ยเงินปอนด์ในเดือนนี้ไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนที่แล้ว แต่ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมาเงินปอนด์อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินยูโรร้อยละ14.9
เมื่อเทียบกับเงินบาทแล้ว เงินปอนด์ในเดือนนี้ยังคงแข็งค่าต่อเนื่องจากเดือนก่อน โดยเงินปอนด์ปิดดตลาดวันแรกของเดือนที่ระดับ 66.692 Baht/ปอนด์ จากนั้นเงินปอนด์ก็อ่อนค่าลงเล็กนน้อยโดยมีระดับปิดต่ำสุดขของเดือนที่ 65.5597 Baht/ปอนด์ จากนั้นเงงินปอนด์ก็กลลับมาแข็งค่าขึ้นตามแนวโน้มเดิมโดยขึ้นมาปิดสูงสุดของเดือนที่ระดับ 67.1140 Baht/ปอนด์ และอ่อนตัวลงในช่วงท้ายของเดือน โดยเงินปอนด์มีระดับปิดตลาดวันสุดท้ายของเดือนที่ระดับ 66.3437 Baht/ปอนด์ ส่งผลให้ค่าเฉลี่ยของเงินปอนด์ในเดือนนี้โดยรวมแข็งค่ากับเงินบาทอีกร้อยละ 2.0 และแข็งค่าร้อยละ 7.2 ในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมา
ดุลงบประมาณ: เดือนมิถุนายน รัฐบาลขาดดุล 9.2 พันล้านปอนด์
ณ สิ้นเดือนมิถุนายนซึ่งเป็นเดือนสามของปีงบประมาณปัจจุบัน (2008/09) รัฐบาลมีฐานะงบประมาณรายจ่ายประจำขาดดุลจำนวน 7.62 พันล้านปอนด์ (เทียบกับที่ขาดดุลเพียง 5.33 พันล้านปอนด์ในเดือนมิถุนายนของปีที่แล้ว) และเมื่อรวมกับในเดือนนี้รัฐบาลมีการลงทุนสุทธิจำนวน 1.54 พันล้านปอนด์ จึงทำให้ฐานะดุลงบประมาณโดยรวมในเดือนนี้มียอดขาดดุลสุทธิเป็นจำนวน 9.16 พันล้านปอนด์ (เพิ่มขึ้นร้อยละ 45.5 จากเดือนเดียวกันของปีที่แล้ว) โดยในส่วนของรัฐบาลกลาง (central government account) สามารถจัดเก็บรายได้ในเดือนนี้จำนวน 37.7 พันล้านปอนด์ ขณะที่งบรายจ่ายประจำและงบลงทุนของรัฐบาลกลางมียอดรวม 43.8 พันล้านปปอนด์ และเมื่อรวมกับรายจ่ายค่าเสื่อมราคา 0.5 พันล้านปอนด์ ส่งผลให้รัฐบาลกลางมีฐานะขาดดุลงบประมาณเป็นจำนนวน 8.8 พันล้านปอนด์ (เทียบกับที่ขาดดุลเพียง 6.4 พันล้านปอนด์ในเดือนเดียวกันของปีที่แล้ว)
ทั้งนี้ ในช่วง 3 เดือนแรกของปีงบประมาณ รัฐบาลมียอดขาดดุลงบประมาณสะสมเป็นจำนวน 24.4 พันล้านปอนนด์ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้วถึงร้อยละ 66 โดยในการแถลงงบปประมาณรายจ่ายประจำปี 2008/09 เมื่อเดือนมีนาคม รัฐบาลประมาณการว่าในปีงบประมาณปัจจุบันจะขาดดุลเป็นจำนวน 43 พันล้านปอนด์
Debt/GDP : เดือนมิถุนายนเร่งตัวขึ้นสู่ระดับร้อยละ 38.3
ณ สิ้นเดือนมิถุนายน ยอดคงค้างหนี้สาธารณะอยู่ที่ระดับ 555.3 พันล้านปอนนด์ หรือเท่ากกับร้อยละ 38.3 ของ GDP (เทียบกับรร้อยละ 37.3 ในเดือนที่แล้ว) เนื่องจากในเดือนนี้รัฐบาลมียอดขาดดุลงบปรระมาณ 9.2 พันล้านปอนด์ ประกอบกับในเดือนนี้รัฐบาลมียอดหนี้ค้างชำระและการปรับเพิ่มรายจ่ายดอกเบี้ยพันธบัตรรวมกว่า 6.2 พันล้านปอนด์ จึงส่งผลให้ยอดคงค้างหนี้เพิ่มขึ้นจากเดือนที่แล้วมากถึง 16.2 พันล้านปอนด์ โดยในงบประมาณปี 2008/09 กระทรวงการคลังประมาณการว่ายอดหนี้สาธารณะจะอยู่ที่ระดับ 581 พันล้านปอนด์ หรือเท่ากับร้อยละ 38.5 ของ GDP เมื่อสิ้นปีงบประมาณในเดือนมีนาคม 2009
ดุลบัญชีเดินสะพัดและดุลการชำระเงิน
ดุลการค้าและบริการ: เดือนพฤษภาคมอังกฤษขาดดุล 4.2 พันล้านปอนด์
เดือนพฤษภาคม อังกฤษมียอดส่งออกสินค้าและบริการรวม 33.0 พันล้านปอนด์ แต่มีการนำเข้ารวม 37.3 พันล้านปอนด์ ส่งผลให้มียอดขาดดุลการค้าและบริการรวม 4.2 พันล้านปอนด์ (ขาดดุลเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 16.4) โดยเป็นการขาดดุลการค้าสินค้าจำนวน 7.5 พันล้านปอนด์ แต่มีการเกินดุลการค้าบริการจำนวน 3.2 พันล้านปอนด์ สำหรับฐานะดุลการค้าและบริการสะสมในช่วง 5 เดือนแรกของปีพบว่าอังกฤษมียอดขาดดุลการค้าและบริการรวม 21.2 พันล้านปอนด์ (เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 11.0) แยกเป็นการขาดดุลการค้า 37.7 พันล้านปอนด์ แต่เกินดุลบริการ 16.5 พันล้านปอนด์
ทั้งนี้ ในเดือนนี้อังกฤษมียอดขาดดุลการค้าสินค้ากับประเทศในกลุ่ม EU (27 ประเทศ) จำนวนน 3.5 พันล้านปอนด์ เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันขอองปีที่แล้วร้อยละ3.8 และขาดดุลกับประเทศนอกกลุ่ม EU จำนวน 4.0 พันล้านปอนนด์ เพิ่มขึ้นร้อยละ13.6 จากเดือนเดียวกันของปีที่แล้ว
สำหรับการค้ากับประเทศไทยในเดือนพฤษภาคม อังกฤษมียอดส่งออกสินค้าไปยังประเทศไทยจำนนวน 60 ล้านปปอนด์ แต่มีการนำเข้าพุ่งสูงขึ้นเป็นจำนวนถึง 226 ล้านปอนด์ ทำให้ขาดดุลการค้ากับประเทศไทยเพิ่มเป็น 166 ล้านปอนนด์ หรือขาดดุลเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีที่แล้วถึงร้อยละ 38.3 และสส่งผลให้ยอดขขาดดุลกการค้าสะสมกกับประเทศไทยในช่วง 5 แดือนแรกของปีมีจำนววนรวม 665 ลล้านปอนด์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 53.9 ซึ่งโดยเฉลี่ยแล้วอังกฤษขาดดุลการค้ากับประเทศไทยเฉลี่ยเดือนละ 133 ล้านปอนด์
ประเด็นข่าวสำคัญ ๆ ในรอบเดือนที่ผ่านมา
- ผลสำรวจราคาที่อยู่อาศัยของ Halifax ประจำเดือนมิถุนายนพบว่าราคาที่อยู่อาศัยทั่วประเทศลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 2.0 และลดลงร้อยละ 6.1 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่แล้ว (10 กรกฎาคม 2008)
- ธนาคาร Santander ของสเปนยื่นข้อเสนอซื้อกิจการธนาคาร Alliance & Leicester ซึ่งเป็นธนาคารลำดับที่ 9 ของอังกฤษ เป็นจำนวน 1.33 พันล้านปอนด์ โดยเสนอแลกหุ้นของ Santander กับหุ้นของ Alliance & Leicester ในอัตรา 1:3 หุ้น ปัจจุบัน Santander เป็นผู้ถือ หุ้นใหญ่ในธนาคาร Abbey National ซึ่งเป็นธนาคารลำดับที่ 7 อยู่แล้ว คาดว่าหากสำเร็จจะมีการควบกิจการ Alliance & Leicester และ Abbey National เข้าด้วยกัน (14 กรกฏาคม 2008)
- มีรายงานว่ากระทรวงการคลังอาจทบทวนเกณฑ์ความยั่งยืนทางการคลัง (fiscal rules) ที่ปัจจุบันกำหนดอัตราส่วนภาระหนี้ต่อ GDP ไว้ไม่เกินร้อยละ 40 เนื่องจากขณะนี้รัฐบาลมียอดหนี้ต่อ GDP สูงถึงร้อยละ 38.3 และมีแนวโน้มว่าอาจจะเกินร้อยละ 40 ได้ในอนาคตท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวที่จะส่งผลต่อรายได้จากภาษี (18 กรกฎาคม 2008)
- กระทรวงการคลังอาจยกเลิกข้อเสนอในการจัดเก็บภาษีกำไรอื่นในต่างประเทศที่ไม่ใช่กำไรจากการดำเนินงานปกิต (passive income) ของบริษัทข้ามชาติ หลังจากถูกคัดค้านอย่างหนักโดยสมาพันธ์นายจ้าง (CBI) ว่าการจัดเก็บภาษีดังกล่าวจะส่งผลให้ธุรกิจย้ายออกจากประเทศอังกฤษไปยังประเทศอื่น เช่น ไอร์แลนด์ เป็นต้น เนื่องจากจะสามารถประหยัดภาษีเงินได้นิติบุคคลได้มากกว่า (20 กรกฎาคม 2008)
- FSA พร้อมตำรวจกรุงลอนดอนได้เข้าตรวจค้นจับกุมพนักงานของสถาบันการเงินต่าง ๆ ที่มีความเกี่ยวพันกับการทำธุรกรรมซื้อขายหลักทรัพย์โดยล่วงรู้ข้อมูลภายใน (insider dealing) รวม 8 คน โดยเชื่อว่าน่าจะประกอบไปด้วย UBS และ JPMorgan Cazenove ทั้งนี้ ยังไม่เป็นที่เปิดเผยรานละเอียดของการจับกุมว่าจะเกี่ยวพันกับกรณีที่ FSA ฟ้องนาย Malcolm Calvert ที่เป็นหุ้นส่วนของ Cazenove เมื่อสัปดาห์ก่อนฐานใช้ข้อมูลภายในซื้อหุ้นในกิจการที่เป็นเป้าหมายที่จะถูกซื้อกิจการ (takeover) ในระหว่างปี 2003-2005 (29 กรกฎาคม 2008)
ที่มา : Macroeconomic Analysis Group : Fiscal Policy Office
Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th