นางพรรณี สถาวโรดม ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ได้แถลงข่าว เกี่ยวกับงานสัมมนาวิชาการเวทีสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (FPO Forum) ภายใต้โครงการขยายบทบาทสำนักงานเศรษฐกิจการคลังสู่ภูมิภาค ณ จังหวัดนครราชสีมา ในวันศุกร์ที่ 22 สิงหาคม 2551 โดยได้กล่าวปาฐกถาพิเศษเรื่อง “แนวโน้มเศรษฐกิจไทยครึ่งหลังปี 2551” ดังนี้
เศรษฐกิจไทยในครึ่งแรกของปี 2551 คาดว่าจะขยายตัวได้ดีที่ร้อยละ 5.9 ต่อปี โดยตัวเลข GDP ของไตรมาส 2 ปี 2551 จะประกาศโดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติในวันจันทร์ที่ 25 สิงหาคม 2551 อย่างไรก็ตาม อัตราเงินเฟ้อในช่วงครึ่งแรกของปีที่เร่งขึ้นถึงร้อยละ 6.3 ต่อปี ยังคงเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญต่อเศรษฐกิจไทย
สำหรับการเติบโตของเศรษฐกิจไทยในครึ่งปีหลังนั้น สศค. คาดว่าจะชะลอจากครึ่งปีแรกที่คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 5.9 ต่อปี มาอยู่ที่ประมาณร้อยละ 5.3 ต่อปี ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อในครึ่งปีหลังอยู่ที่ประมาณร้อยละ 7.5 ต่อปี ปรับลดลงจากที่เคยคาดการณ์ไว้เดิมเมื่อเดือนมิถุนายน 2551 เนื่องจากรัฐบาลได้ออกมาตรการ 6 มาตรการ 6 เดือน ฝ่าวิกฤตเพื่อคนไทยทุกคน ประกอบกับราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ลดลงในช่วงที่ผ่านมาจะช่วยชะลอภาวะเงินเฟ้อได้บ้าง ทั้งนี้ การขยายตัวของเศรษฐกิจได้อานิสงส์จากการกระจายการส่งออกไปยังตลาดเกิดใหม่ที่มีอัตรา การขยายตัวทางเศรษฐกิจสูง อาทิเช่น จีน อินเดีย ตะวันออกกลาง ยุโรปตะวันออก และแอฟริกา รวมถึงประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งช่วยลดผลกระทบทางลบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ สหภาพยุโรป และญี่ปุ่นได้พอสมควร นอกจากนี้ การที่เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น เนื่องจากราคาสินค้าเกษตรเพิ่มสูงขึ้นทำให้การบริโภคภายในประเทศในช่วงครึ่งปีหลังชะลอลงไม่มากนัก ในขณะเดียวกัน การดำเนินมาตรการต่างๆ ของรัฐบาลได้ช่วยลดผลกระทบจากภาวะเงินเฟ้อที่เพิ่มมากขึ้น เช่น มาตรการลดภาษีเพื่อคืนเงินกลับกระเป๋าประชาชน มาตรการเงินทุนฐานราก มาตรการขึ้นค่าจ้างเงินเดือน มาตรการประกันราคาข้าว รวมถึงมาตรการ 6 มาตรการ 6 เดือน ฝ่าวิกฤตเพื่อคนไทยทุกคน นอกจากนี้ การที่ภาครัฐเน้นการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ (Mega Project) เช่น รถไฟฟ้า รถไฟฟ้ารางคู่ และระบบชลประทานจะช่วยสนับสนุนการลงทุนในประเทศมากขึ้น ในขณะที่เศรษฐกิจไทยก็ยังเผชิญกับปัจจัยเสี่ยงต่างๆ เช่น ราคาน้ำมันดิบในนตลาดโลกที่มีความผันผวนมากกในปัจจุบัน ปัญหาการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกที่เกิดจากปัญหา Sub-prime ในสหรัฐฯ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการส่งออกของไทย และปัญหาการเมืองซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและนักลงทุนทั้งไทยและต่างชาติ
ในการสัมมนาหัวข้อ “เจาะลึกเศรษฐกิจโลกและผลกระทบต่อเศรษฐกิจจังหวัด” ดร.นงนุช ตันติสันติวงศ์ หัวหน้าฝ่ายแบบจำลองเศรษฐกิจไทย สำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กล่าวว่าปัจจัยเสี่ยงสำคัญต่อเศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจจังหวัดนครราชสีมาในปัจจุบัน ได้แก่ การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าสำคัญของไทย โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น อย่างไรก็ดี การกระจายตลาดส่งออกไปประเทศเกิดใหม่จะช่วยลดผลกระทบของปัจจัยเสี่ยงดังกล่าว นอกจากนี้ ราคาน้ำมัน และราคาสินค้าเกษตรที่มีความผันผวนในปัจจุบัน เป็นทั้งปัจจัยเสี่ยงและปัจจัยสนับสนุนต่อเศรษฐกิจไทย กล่าวคือ การหันมาใช้พลังงานทางเลือกและก๊าซธรรมชาติเป็นการสร้างโอกาสให้เกษตรกรไทย ประกอบกับมูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรที่สูงขึ้นตามราคาในตลาดโลก ทำให้มูลค่าการส่งออกยังคงขยายตัวดีอยู่ อย่างไรก็ดี การนำเข้าสินค้าในหมวดเชื้อเพลิงและหมวดวัตถุดิบมี การขยายตัวสูงขึ้นตามราคาในตลาดโลกส่งผลให้ดุลการค้าขาดดุลเล็กน้อย โดยในปัจจุบันดัชนีราคาสินค้านำเข้าปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นในอัตราที่เร่งกว่าดัชนีราคาสินค้าส่งออก ทำให้อัตราการค้าลดลง แต่ค่าเงินบาทที่มีทิศทางอ่อนค่าลงอาจช่วยให้ดุลการค้าปรับตัวดีขึ้นในช่วงที่เหลือของปี ทั้งนี้ ภาวะเงินเฟ้อและความเชื่อมั่นที่ลดลงอาจส่งผลกระทบต่อการบริโภคและการลงทุนของไทย โดยเสนอแนะว่าภาครัฐควรส่งเสริมการกระจายตลาดส่งออก การใช้พลังงานทดแทนอย่างมีประสิทธิภาพ การให้ความรู้แก่ผู้ผลิตและเกษตรกร รวมถึงส่งเสริมงานวิจัยพัฒนาพันธุ์พืชและเทคโนโลยีการเพาะปลูกเพื่อตอบสนองความต้องการสินค้าเกษตรในตลาดโลกที่เพิ่มสูงขึ้น
ในการสัมมนานี้ นายกำธร อารีกิจเสรี ที่ปรึกษาคณะกรรมการบริหาร หอการค้าจังหวัดนครราชสีมา กล่าวถึงเศรษฐกิจจังหวัดนครราชสีมาว่าถูกขับเคลื่อนโดย 3 สาขาหลัก ได้แก่ อุตสาหกรรม เกษตรกรรม และการค้าการบริการ โดยปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ภาคธุรกิจควรให้
ความสนใจ ได้แก่ การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก และความผันผวนที่เพิ่มขึ้นของค่าเงินบาท
ราคาน้ำมัน และราคาสินค้าเกษตร ทั้งนี้ หากมีความร่วมมือระหว่างรัฐบาล ส่วนท้องถิ่น และ ภาคธุรกิจต่างๆ จะช่วยลดผลกระทบจากปัจจัยเสี่ยงดังกล่าว และสร้างโอกาสให้ภาคธุรกิจอุตสาหกรรมและเกษตรกรรมในจังหวัดในภาวะเศรษฐกิจที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน ในขณะที่ นายปริญญา สิริสารการ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ฝ่ายต่างประเทศ กล่าวเสริมถึงปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญอื่นๆ เช่น ภัยธรรมชาติ และปัญหาโรคระบาด ซึ่งจะส่งผลกระทบผลผลิตทางการเกษตรของไทย และจังหวัดนครราชสีมา อย่างไรก็ตาม จากการที่จังหวัดมีจุดแข็งทางด้านภาคเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมการเกษตร รัฐจึงควรส่งเสริมการพัฒนาภาคเกษตรของจังหวัดให้มีการผลิตที่มีประสิทธิผลมากขึ้น และมีผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าเพิ่ม เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันของผู้ผลิตและผู้ส่งออกในภาวะที่มีการแข่งขันสูงในตลาดโลก พร้อมทั้งเสนอให้ภาครัฐส่งเสริมการกระจายรายได้ให้มีความเป็นธรรมมากขึ้น เพื่อลดปัญหาความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและนักลงทุนที่ปรับตัวลดลงในภาวะเงินเฟ้อที่สูงขึ้น
--ข่าวสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ฉบับที่ 23/2551 22 สิงหาคม 2551--
เศรษฐกิจไทยในครึ่งแรกของปี 2551 คาดว่าจะขยายตัวได้ดีที่ร้อยละ 5.9 ต่อปี โดยตัวเลข GDP ของไตรมาส 2 ปี 2551 จะประกาศโดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติในวันจันทร์ที่ 25 สิงหาคม 2551 อย่างไรก็ตาม อัตราเงินเฟ้อในช่วงครึ่งแรกของปีที่เร่งขึ้นถึงร้อยละ 6.3 ต่อปี ยังคงเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญต่อเศรษฐกิจไทย
สำหรับการเติบโตของเศรษฐกิจไทยในครึ่งปีหลังนั้น สศค. คาดว่าจะชะลอจากครึ่งปีแรกที่คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 5.9 ต่อปี มาอยู่ที่ประมาณร้อยละ 5.3 ต่อปี ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อในครึ่งปีหลังอยู่ที่ประมาณร้อยละ 7.5 ต่อปี ปรับลดลงจากที่เคยคาดการณ์ไว้เดิมเมื่อเดือนมิถุนายน 2551 เนื่องจากรัฐบาลได้ออกมาตรการ 6 มาตรการ 6 เดือน ฝ่าวิกฤตเพื่อคนไทยทุกคน ประกอบกับราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ลดลงในช่วงที่ผ่านมาจะช่วยชะลอภาวะเงินเฟ้อได้บ้าง ทั้งนี้ การขยายตัวของเศรษฐกิจได้อานิสงส์จากการกระจายการส่งออกไปยังตลาดเกิดใหม่ที่มีอัตรา การขยายตัวทางเศรษฐกิจสูง อาทิเช่น จีน อินเดีย ตะวันออกกลาง ยุโรปตะวันออก และแอฟริกา รวมถึงประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งช่วยลดผลกระทบทางลบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ สหภาพยุโรป และญี่ปุ่นได้พอสมควร นอกจากนี้ การที่เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น เนื่องจากราคาสินค้าเกษตรเพิ่มสูงขึ้นทำให้การบริโภคภายในประเทศในช่วงครึ่งปีหลังชะลอลงไม่มากนัก ในขณะเดียวกัน การดำเนินมาตรการต่างๆ ของรัฐบาลได้ช่วยลดผลกระทบจากภาวะเงินเฟ้อที่เพิ่มมากขึ้น เช่น มาตรการลดภาษีเพื่อคืนเงินกลับกระเป๋าประชาชน มาตรการเงินทุนฐานราก มาตรการขึ้นค่าจ้างเงินเดือน มาตรการประกันราคาข้าว รวมถึงมาตรการ 6 มาตรการ 6 เดือน ฝ่าวิกฤตเพื่อคนไทยทุกคน นอกจากนี้ การที่ภาครัฐเน้นการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ (Mega Project) เช่น รถไฟฟ้า รถไฟฟ้ารางคู่ และระบบชลประทานจะช่วยสนับสนุนการลงทุนในประเทศมากขึ้น ในขณะที่เศรษฐกิจไทยก็ยังเผชิญกับปัจจัยเสี่ยงต่างๆ เช่น ราคาน้ำมันดิบในนตลาดโลกที่มีความผันผวนมากกในปัจจุบัน ปัญหาการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกที่เกิดจากปัญหา Sub-prime ในสหรัฐฯ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการส่งออกของไทย และปัญหาการเมืองซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและนักลงทุนทั้งไทยและต่างชาติ
ในการสัมมนาหัวข้อ “เจาะลึกเศรษฐกิจโลกและผลกระทบต่อเศรษฐกิจจังหวัด” ดร.นงนุช ตันติสันติวงศ์ หัวหน้าฝ่ายแบบจำลองเศรษฐกิจไทย สำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กล่าวว่าปัจจัยเสี่ยงสำคัญต่อเศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจจังหวัดนครราชสีมาในปัจจุบัน ได้แก่ การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าสำคัญของไทย โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น อย่างไรก็ดี การกระจายตลาดส่งออกไปประเทศเกิดใหม่จะช่วยลดผลกระทบของปัจจัยเสี่ยงดังกล่าว นอกจากนี้ ราคาน้ำมัน และราคาสินค้าเกษตรที่มีความผันผวนในปัจจุบัน เป็นทั้งปัจจัยเสี่ยงและปัจจัยสนับสนุนต่อเศรษฐกิจไทย กล่าวคือ การหันมาใช้พลังงานทางเลือกและก๊าซธรรมชาติเป็นการสร้างโอกาสให้เกษตรกรไทย ประกอบกับมูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรที่สูงขึ้นตามราคาในตลาดโลก ทำให้มูลค่าการส่งออกยังคงขยายตัวดีอยู่ อย่างไรก็ดี การนำเข้าสินค้าในหมวดเชื้อเพลิงและหมวดวัตถุดิบมี การขยายตัวสูงขึ้นตามราคาในตลาดโลกส่งผลให้ดุลการค้าขาดดุลเล็กน้อย โดยในปัจจุบันดัชนีราคาสินค้านำเข้าปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นในอัตราที่เร่งกว่าดัชนีราคาสินค้าส่งออก ทำให้อัตราการค้าลดลง แต่ค่าเงินบาทที่มีทิศทางอ่อนค่าลงอาจช่วยให้ดุลการค้าปรับตัวดีขึ้นในช่วงที่เหลือของปี ทั้งนี้ ภาวะเงินเฟ้อและความเชื่อมั่นที่ลดลงอาจส่งผลกระทบต่อการบริโภคและการลงทุนของไทย โดยเสนอแนะว่าภาครัฐควรส่งเสริมการกระจายตลาดส่งออก การใช้พลังงานทดแทนอย่างมีประสิทธิภาพ การให้ความรู้แก่ผู้ผลิตและเกษตรกร รวมถึงส่งเสริมงานวิจัยพัฒนาพันธุ์พืชและเทคโนโลยีการเพาะปลูกเพื่อตอบสนองความต้องการสินค้าเกษตรในตลาดโลกที่เพิ่มสูงขึ้น
ในการสัมมนานี้ นายกำธร อารีกิจเสรี ที่ปรึกษาคณะกรรมการบริหาร หอการค้าจังหวัดนครราชสีมา กล่าวถึงเศรษฐกิจจังหวัดนครราชสีมาว่าถูกขับเคลื่อนโดย 3 สาขาหลัก ได้แก่ อุตสาหกรรม เกษตรกรรม และการค้าการบริการ โดยปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ภาคธุรกิจควรให้
ความสนใจ ได้แก่ การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก และความผันผวนที่เพิ่มขึ้นของค่าเงินบาท
ราคาน้ำมัน และราคาสินค้าเกษตร ทั้งนี้ หากมีความร่วมมือระหว่างรัฐบาล ส่วนท้องถิ่น และ ภาคธุรกิจต่างๆ จะช่วยลดผลกระทบจากปัจจัยเสี่ยงดังกล่าว และสร้างโอกาสให้ภาคธุรกิจอุตสาหกรรมและเกษตรกรรมในจังหวัดในภาวะเศรษฐกิจที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน ในขณะที่ นายปริญญา สิริสารการ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ฝ่ายต่างประเทศ กล่าวเสริมถึงปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญอื่นๆ เช่น ภัยธรรมชาติ และปัญหาโรคระบาด ซึ่งจะส่งผลกระทบผลผลิตทางการเกษตรของไทย และจังหวัดนครราชสีมา อย่างไรก็ตาม จากการที่จังหวัดมีจุดแข็งทางด้านภาคเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมการเกษตร รัฐจึงควรส่งเสริมการพัฒนาภาคเกษตรของจังหวัดให้มีการผลิตที่มีประสิทธิผลมากขึ้น และมีผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าเพิ่ม เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันของผู้ผลิตและผู้ส่งออกในภาวะที่มีการแข่งขันสูงในตลาดโลก พร้อมทั้งเสนอให้ภาครัฐส่งเสริมการกระจายรายได้ให้มีความเป็นธรรมมากขึ้น เพื่อลดปัญหาความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและนักลงทุนที่ปรับตัวลดลงในภาวะเงินเฟ้อที่สูงขึ้น
--ข่าวสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ฉบับที่ 23/2551 22 สิงหาคม 2551--