ภาพรวมเศรษฐกิจ ( สิงหาคม 2551 )
การขยายตัวทางแศรษฐกิจ : GDP ไตรมาสที่ 2 ขยายตัวร้อยละ 1.4
เศรษฐกิจของสหภาพยุโรป 15 ประเทศ (Euro area) ประจำไตรรมาสที 2 หดตัวลงร้อยละ 0.2 จากไตรมาสแรกแต่ขยายตัวร้อยละ 1.4 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้วโดยปัจจัยสำคัญที่มีส่วนต่อการหดตัวของเศรษฐกิจในไตรมาสนี้เทียบกับไตรมาสก่อนหน้ามาจากการหดตัวลงเกือบทุกส่วนไม่ว่าจะเป็นการบริโภคเอกชน (household consumption) การลงทุน (investments) และการส่งออก (exports) มีเพียงการใช้จ่ายภาครัฐ (government consumption) เท่านั้นที่เพิ่มขึ้นโดยแยกได้ ดังนั้น
- การบริโภคภาคเอกชน (Household consumptiion) หดตัวลงร้อยละ 0.2 จากไตรมาสที่แล้ว แต่ขยายตัวร้อยละ 0.4 จากไตรมาสเดียวกันขอองปีที่แล้ว (มีสัดส่วนร้อยลละ 56.9 ของ GDP)
- การใช้จ่ายภาครัฐ (Government coonsumption) ขยายตัวร้อยละ 0.5 จากไตรมาสที่แล้วและขยายตัวร้อยละ 1.7 จากปีที่แล้ว (มีสัดส่วนร้อยละ 20.4 ขของ GDP)
- การลงทุน (Gross fixed capital forrmation) หดตัวลงร้อยละ 1.2 จากไตรมาสที่แล้วแต่ขยายตัวร้อยละ 2.4 จากปีที่แล้ว (มีสัดส่วนร้อยละ 21.2 ของ GDP)
- การส่งออก (Exports) หดตัวลงร้อยละ 0.4 จากไตรมาสที่แล้ว แต่ขยายตัวร้อยละ 3.6 จากปีที่แล้ว (มีสัดส่วนร้อยละ 41 ของ GDP) เช่นเดียววกับการนำเข้าที่หดตัวลงร้อยละ 0.4 จากไตรมาสที่แล้วเช่นกัน แต่ขยายตัวร้อยลละ 3.4 จากปีที่แล้ว
หากพิจารณาการขยายตัวของเศรษฐกิจทางด้านอุปทานหรือการผลิต (Gross value added) แล้ว การหดตัวของเศรษฐกิจเป็นนผลมาจากการหดตัวลงของภาคการผลิตอุตสาหกรรม ก่อสร้างและการค้าเป็นหลัก ขณะที่ภาคการบริการด้านการเงิน อสังหาริมทรัพย์ และการให้บริการสาธารณะ ยังคงมีการขยายตัวต่อเนื่องจากไตรมาสที่แล้ว ดังนี้
- ภาคการเกษตร หดตัวลงร้อยละ 0.1 จากไตรมาสที่แล้ว แต่ยังขยายตัวร้อยละ 1.0 จากไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว (มีสัดส่วนร้อยละ 1.8 ของ GDP)
- ภาคอุตสาหกรรม เหมืองแร่ และพลังงานหดตัวลงร้อยละ 0.8 จากไตรมาสที่แล้ว แต่ขยายตัวร้อยละ 1.0 จากปีที่แล้ว (มีสัดส่วนร้อยละ 20.2 ของ GDP)
- ภาคการก่อสร้าง หดตัวลงร้อยละ 2.2 จากไตรมาสที่แล้ว แต่ขยายตัวร้อยละ 1.2 จากปีที่แล้ว (มีสัดส่วนร้อยละ 6.4 ของ GDP)
- ภาคการค้า การบริการ ขนส่งและสื่อสารหดตัวลงร้อยละ 0.4 จากไตรมาสที่แล้ว แต่ขยายตัวร้อยละ 1.0 จากปีที่แล้ว (มีสัดส่วนร้อยละ 20.9 ของ GDP)
- ภาคบริการทางการเงินอสังหาริมทรัพย์ การให้เช่าสินทรัพย์ ยังคง ขยายตัวดีต่อเนืองร้อยละ 0.7 จากไตรมาสที่แล้ว และขยายตัวถึงร้อยละ 2.5 จากปีที่แล้ว (มีสัดส่วนร้อยละ 27.9 ของ GDP)
- ภาคการบริการสาธารณะ การศึกษา สุขภาพ และบริการอื่นก็ขยายตัว ดีขึ้นเช่นกันโดยขยายตัวร้อยละ 0.6 จากไตรมาสที่แล้ว และขยายตัวร้อยละ 1.5 จากปีที่แล้ว (มีสัดส่วนร้อยละ 22.8 ของ GDP)
ทั้งนี้ ในปี 2007 เศรษฐกิจของ Euro area 15 ประเทศขยายตัวในอัตราร้อยละ 2.7 โดยในปี 2008 ECB ประมาณการว่าเศรษฐกิจของ Euro area จะขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงเหลือร้อยละ 1.7 แต่ล่าสุด OECD ได้ปรับลดประมาณการเศรษฐกิจปี 2008 เหลือเพียงร้อยละ 1.3 เท่านั้น
ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรม : เดือนมิถุนายนทรงตัวที่ระดับ 111.8 จุด ขณะที่ความเชื่อมั่นทางธุรกิจเดือนกรกฎาคมยังลงลึกต่อเนื่อง
ดัชนีชี้วัดผลผลิตภาคอุตสาหกรรม (Industrial Production Index: IPI) ที่ปรับตามฤดูกาลแล้วประจำเดือนมิถุนายนของกลุ่ม EU 15 ทรงตัวในระดับเดียวกับเดือนก่อนหน้าโดยอยู่ที่ระดับ 111.8 เพิ่มขึ้น 0.1 จุด จากเดือนที่แล้วหลังจากีดัชนีลดลงแรงในเดือนที่แล้วซึ่งสอดคล้องกับแนวโน้มการชะลอตัวของเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศพื้นที่ยูโร ทั้งนี้ดัชนีการผลิตยังคงชะลอตัวลงในเกือบทุกขั้นของการผลิต โดยสินค้าบริโภคชนิดคงทน สินค้าขั้นกลาง และสินค้าหมวดพลังงาน ชะลอตัวลงมากที่สุดร้อยละ 5.3, 1.1 และ 0.8 ตามลำดับ ขณะที่สินค้าทุนขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงเหลือร้อยละ 1.4
ขณะที่ดัชนีชี้วัดทางด้านอุปปสงค์ของกลุ่มม EU15 ในเดือนกรกฎาคมยังคงลดลงลึกต่อเนื่องโดยลดลงต่ำกว่าระดับ 90 จุดเป็นครั้งแรกสะท้อน ถึงความเชื่อมั่นของหุ้นยูโรที่แย่ลงต่อเนื่องอันเป็นนผลมาจากคววามกังวลถึงผลกระทบจากกปัญหาการชะลอตัวของงเศรษฐกิจโลก และแรงกดดันทางด้านเงินเฟ้อ โดยดัชนีผลสำรวจความเชื่อมั่นทางธุรกิจ (Economic Sentiment Index: ESI) ประจำเดือนกรกฎาคมลดลงสู่ระดับ 89.5 จุด ลดลงถึง 5.3 จุดจากเดือนที่แล้ว และนับเป็นเดือนที่ห้าติดต่อกันที่ดัชนีอยู่ในระดับต่ำกว่า 100 จุด หลังจากที่ดัชนีขึ้นไปสูงสุดระดับ 111.6 จุดเมื่อเดือนพฤษภาคมปีที่แล้ว
อัตราเงินเฟ้อ : เดือนกรกฎาคมยังทรงตัวในระดับสูงที่ร้อยละ 4.0 เป็นเดือนที่สอง
ดัชนีราคาผู้บริโภค (Harmonised Index of Consumer Prices: HICP) ของพื้นที่ยุโรป (Euro Area: 15 ประเทศ) ประจำเดือนกรกฎาคมยังทรงตัวในระดับสูงร้อยละ 4.0 เท่ากับเดือนที่แล้วถือเป็นนอัตราเงินเฟ้อที่สูงที่สุดในนรอบ 16 ปีแลละนับเป็นเดือนที่สิบเอ็ดติดต่อกันที่อัตราเงินเฟ้ออยู่เหนือระดับเงินแฟ้อเป้าหมายร้อยละ 2.0 โดยปัจจัยที่ทำให้อัตราเงินเฟ้อในแดือนนี้เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วยังคงมาจากการปรับตัวสูงขึ้นของราคาพลังงานและสินค้าโภคภัณฑ์ ส่งผลให้หมวดสินค้าที่มีราคาปปรับตัวสูงขึ้นมากในเดือนนี้มาจากหมวดคมนาคม (7.2%) หมวดอาหาร(6.7%) และหมวดที่อยู่อาศัย (6.7%) ขณะที่หมวดที่มีระดับราคาเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ได้แก่ เครื่องนุ่งห่ม (-0.24%) หมวดสื่อสาร (-0.20%) และหมวดยานพาหนะ (-0.19% โดยในเดือนนี้ประเทศทที่มีอัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ Slovenia Belgium Luxembourg และ Malta ที่มีอัตราแงินเฟ้อร้อยละ 6.9, 5.9, 5.8 และ 5.6 ตามลำดับ ขณะที่ประเทศ Netherlands Portugal และ Germany มีอัตราเงินเฟ้อต่ำสุดร้อยละ 3.0, 3.1 และ 3.5 ตามลำดดับ
สำหรับดัชนีราคาผู้บริโภคของประเทศยูโร 27 ประเททศ (EU 27) มีการเร่งตัวขี้นเป็นร้อยละ 4.4 จากร้อยละ 4.3 ในเดือนที่แล้ว โดยประเทศที่มีอัตราเงินเฟ้อสูงสุดในกลุ่มยูโร ได้แก่ Latvia Bulgaria และ Lithuania ที่มีอัตราเงินเฟ้อสูงถึงร้อยยละ 16.5, 14.4 และ 12.4 ตามลำดับ
อัตราการว่างงาน : เดือนกรกฎาคอยู่ที่ระดับร้อยละ 7.3 เป็นเดือนที่สี่
ในเดือนกรกฎาคม Euro area 15 ประแทศมียอดผู้ว่างงานที่ปรับบตามฤดูกาลแล้วรวมกันทั้งสิ้น 11.372 ล้านคน (เพิ่มขึ้น 25,000 คนจาก เดือนที่แล้ว) คิดเป็นอัตราการรว่างงานร้อยละ 7.3 ของจำนวนแรงงานทั้งหมด นับเป็นเดือนที่ 4 ติดตต่อกันที่อัตราการว่างงานอยุ่ในระดับดังกล่าว หลังจากที่ในนช่วงไตรมาสแรกของปีอัตราการว่างงงานอยู่ที่ในระดับต่ำสุดที่ร้อยละ 7.2 และเมื่อเทียบกับปีที่แล้วปรากฎว่าจำนวนผู้ว่างงาน เพิ่มขึ้นเป็นจำนวน 59,000 คคน
ขณะที่ยอดผู้ว่างงานของ EU 27 ประเทศ ณ เดือนกรกฎาคม มีจำนวนทั้งสิ้น 16.292 ล้าน คน คิดเป็นอัตราการว่างงานร้อยละ 6.8 นับเป็นเดือนที่เจ็ดติดต่อกันที่อัตราการรว่างงานอยู่ในระดับต่ำสุด ดังกล่าว
อัตราดอกเบี้ยและอัตราแลกเปลี่ยน
อัตราดอกเบี้ย : ECB คงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ร้อยละ 4.25
เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม คณะกรรมการธนาคารกลางสหหภาพยุโรป มีมติคงอัตราดอกเบี้ย Refinancing Operations (MRO) ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของ ECB ไว้ที่ร้อยละ 4.25 หลังจากที่ขึ้นอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0.25 เมื่อเดือนที่แล้ว โดย ECB ได้ให้เหตุผลถึงการตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยในครั้งนี้ว่าเนื่องจากข้อมูลที่ออกมาล่าสุดสนับสนุนการตัดดสินใจเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเมื่อเดือนที่แล้ว โดยความเสี่ยงจากอัตราเงินเฟ้อยังคงมีอยู่และอาจจจะนำไปสู่การเพิ่มขึ้นของอัตราเงินเฟ้อในระยะปานกลางได้ประกอบกับอัตราการเพิ่มของปริมาณเงินและสินเชื่อในระบบยังไม่มีทีท่าว่าจะชะลอลงอย่าง มีนัยสำคัญ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องหลีกเลี่ยงความเสี่ยงในวงกว้างต่อการขอปรับค่าแรงและราคาสินค้าตามมาอีก (second-round effects) แม้ข้อมูลล่าสุดอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจ ในไตรมาสที่สองจะออกมาต่ำหลังจากขยายตัวเร็วในไตรมาสแรกก็เป็นไปตามที่ ECB คาดการณ์ไว้ และเนื่องจากเป้าหมายหลักของ ECB คือการรักษาเสถียรภาพด้านราคาในระยะปานกลาง ดังนั้น ECB จึงตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยไว้ โดยการประชุมครั้งต่อไปจะมีขึ้นในวันที่ 4 กันยายน
ทั้งนี้ ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม สภาพคล่องในระบบเศรษฐกิจของ Euro Area แม้จะยังคง เพิ่มขึ้นแต่ยังคงเพิ่มในอัตราการที่ชะลอลงต่อเนื่อง โดยยอดคงค้างของปริมาณเงินตามความหมายกว้างหรืออ M3 ขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 9.102 ล้านล้านยูโร เพิ่มขึ้น 79.0 พันล้านยูโรจากเดือนที่แล้ว และคิดเป็นอัตราการขยายตัวร้อยละ 9.3 จากปีที่แล้ว (ลดลงจากเดือนมิถุนายนที่ขยายตัวร้อยละ 9.5) ขณะที่ยอดคงค้างสินเชื่อที่สถาบันการเงิน(MFI) ให้กู้กับภาคเอกชชน (loan to private sector) มียอดคงค้าง ณ สิ้นเดือนกรกฎาคมอยู่ที่ระดับ 10.724 ล้านล้านยูโร เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า 64.0 พันล้านยูโร โดยคิดเป็นอัตราการขยายตัวจากปีที่แล้วร้อยละ 9.4 (ลดลงจากเดือนมิถุนายน ขยายตัวร้อยละ 9.8)
สำหรับค่าเฉลี่ยของอัตราดอกเบี้ยในตลาดเงิน (Money market interest rates) ในเดือนสิงหาคมโดยรวมแล้วอยู่ในระดับใกล้เคียงกับเดือนก่อนหน้าสำหรับเงินกู้อายุไม่เกิน 1 ปี แต่สำหรับผลตอบบแทนอายุเกิน 1 ปีมีอัตราผลตอบแทนลดลงระหว่าง 30-40 basis points ขณะที่อัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมระหว่างธนนาคารประเภทข้ามคืน (overnight) หรือ Eonia เพิ่มขึ้น 11 basis points
อัตราแลกเปลี่ยน : ยูโร อ่อนค่าลงแรงเมื่อเทียบกับ $ และ เยน
ค่าเงินยูโรเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ สรอ.ในเดือนสิงหาคมมีทิศทางอ่อนค่าลงค่อนข้างมากและชัดเจนโดยปัจจัยหลักมาจากการที่ราคาน้ำมันและสินค้าโภคภัณฑ์ลดลงจึงส่งผลดีต่อค่าเงินดอลลาร์ สรอ.รวมถึงแนวโน้มการชะลอตัวของเศรษฐกิจยุโรปมีความชัดเจนขึ้นโดยลำดับทำให้ ตลาดเชื่อว่าอัตราดอกเบี้ยของยุโรปน่าจะมีโอกาสลดลงในอนาคต ถือเป็นปัจจัยเร่งให้นักลงทุนหันไปถือเงินดอลลาร์ สรอ. แทนเนื่องจากนักลงทุนบางส่วนมองว่าข่าวร้ายเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจของสหรัฐฯ น่าจะใกล้สิ้นสุดลงและอาจจะเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญ แม้ว่าภาคการเงินของสหรัฐฯ จะยังคงได้รับผลกกระทบจากวิกกฤตเมื่อมีข่าวว่าสถาบันการเงิน ขนาดใหญ่ 3 แห่งอาจมีผลประกอบการขาดทุน เพิ่มขึ้นรวมถึงสถานการณ์ความตึงเครียด ระหว่างรัสเซียและจอร์เจียก็ตาม โดยเงินดอลลาร์ สรอ. มีระดับปิดตลาดวันแรกของเดือนที่ระดับ 1.5574 $/ยูโร จากนั้นเงินยูโรก็อ่อนค่าลงโดยลำดับ เกือบตลอดทั้งเดือน โดยที่เงินยูโรมีระดับปิดต่ำที่สุดของเดือนที่ระดับ 1.4598 $/ยูโร ก่อนที่จะปิดตลาดวันสุดท้ายของเดือนที่ระดับ 1.4735 $/ยูโร ส่งผลให้โดยรวมแล้วค่าเฉลี่ยของอัตราแลกเปลี่นเงินยูโรในเดือนนี้อ่อนค่าลงจากค่าเฉลี่ยของเดือนก่อนหน้าถึงร้อยละ 5.0 แต่ก็ยังแข็งค่าร้อยละ 9.9 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว
เงินยูโรเมื่อเทียบกับเงินปอนด์ในช่วงสัปดาห์แรกของเดือนมีทิศททางที่อ่อนค่าลงโดยมีระดับ ปิดต่ำสุดของเดือนที่ระดับ 0.78165 ปอนด์/ยูโร อันเป็นผลมาจากการที่เงินยูโรตกลงแรงเมื่อเทียบกับดอลลาร์ สรอ. หลังราคาน้ำมันโลกร่วงลงต่ำกว่า 120 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรล อย่างไรก็ดี เงินยูโรกลับแข็งค่าขึ้น หลังจากนั้นเมื่อข้อมูลล่าสุดยืนยันแนวโน้มภาวะเศรษษฐกิจของอังกฤษออกมาอ่อนแอกว่าที่คาด เมื่อผลการทบทวนการเติบโตทางเศรษฐกิจไตรมาสที่ 2 พบว่าเศรษฐกิจไม่มีการขยายตัวจากไตรมาสก่อนหน้า หลังจากที่ก่อนหน้านี้ในการประมาณ การครั้งแรกประเมินว่าเศรษฐกิจขยายตัวร้อยละ 0.2 นอกจากนี้ในช่วงท้ายของเดือนเงินปอนด์อ่อน ค่าลงหนักเมื่อนักกวิเคราะห์เชื่อว่าภาวะเศรรษฐกิจน่าจะแย่ลงอีก โดยเงินยูโรปิดดตลาดวันสุดท้ายของเดือนที่ระดับ 0.8050 ปอนด์/ยูโร อย่างไรก็ดี ค่าเฉลี่ยของอัตราแลกเปลี่ยนเงินยูโรในเดือนนี้อยู่ในระดับเกือบเท่ากับเดือนที่แล้ว แต่เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยของเดือนเดียวกันเมื่อปีที่แล้วเงินยูโรยังแข็งค่าอยู่ร้อยละ 17.0
เงินยูโรเมื่อเทียบกับเงินเยนในเดือนนี้อ่อนค่าลง โดยเงินยูโรมีระดับปิดวันแรกของเดือนที่ ระดับ 167.44 เยน/ ยูโร จากนั้นก็แข็งค่าขึ้นในช่วงสั้น ๆ ที่ระดับ 169.16 เยน/ ยูโร แต่หลังจากนั้นเงินยูโรก็อ่อนตัวลงโดยตลอดและปิดตลาดวันสุดท้ายของเดือนที่ระดับ 160.22 เยน/ยูโร ส่งผลให้ค่าเฉลี่ยของเงินยูโรในเดือนนี้ อ่อนค่าลงจากเดือนที่แล้วร้อยละ 2.9 อย่างไรก็ดี หากเปรียบเทียบกับรอบ 12 เดือนที่ผ่านมาเงินยูโรยังแข็งค่าเมื่อเทียบกับเงินเยนร้ออยละ 2.9
หลังจากที่เงินยูโรแข็งค่าเมื่อเทียบกับเงินบาทมาตลอดในช่วง 7 เดือนที่ผ่านมมา ในเดือนนี้เงินยูโรเริ่มอ่อนค่าลงเป็นครั้งแรกโดยหลังจาก ปิดตลาดวันแรกของเดือนที่ระดับ 52.224 ฿/ ยูโร แล้วเงินยูโรก็อ่อนค่าลงโดยต่อเนื่องโดยมีระดับ ปิดต่ำสุดของเดือนที่ระดับ 49.81 ฿/ ยูโร ซึ่งเป็นครั้งแรกในรอบ 3 เดือนที่เงินยูโรลงมาแตะระดับ ต่ำกว่า 50 ฿/ ยูโร โดยเงินยูโรมีอัตราปิดตลาดวันสุดท้ายของเดือนนี้ที่ระดับ 50.453 ฿/ยูโร ส่งผลให้ค่าเฉลี่ยของอัตราแลกเปลี่ยนเงินยูโรเมื่อเทียบ กับเงินบาทในเดือนนี้อ่อนค่าลงถึงร้อยละ 4.0 นับเป็นเดือนแรกที่ยูโรอ่อนค่ากับเงินบาทหลังจากที่แข็งค่ามาตลอดในรอบเจ็ดเดือนที่ผ่านมา ทั้งนี้ ในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมาเงินยูโรยังแข็งค่าเมื่อเทียบกับเงินบาท อยู่ร้อยละ 17.0
ดุลบัญชีชีเดินสะพัดและดุลการชชำระเงิน
เดือนมิถุนายน: Euro Area ขาดดุลบัญชีเดินสะพัด 8.2 พันล้านยูโร
ณ สิ้นเดือนมิถุนายน Euro area มีฐานะดุลบัญชีเดินสะพัดที่ปรับตามฤดูกาลแล้ว (seasonally adjusted current account balance) ขาดดุล 8.2 พันล้านยูโร (หรือเท่ากับขาดดุล 1.0 พันล้านยูโร กรณีเป็นข้อมูลที่ยังไม่ได้ปรับตามฤดูกาล) โดย Euro area มีการขาดดุลการค้า (goods trade) 2.0 พันล้านยูโร แต่เกินดุลบริการ (services) 1.5 พันล้านยูโร ขณะเดียวกันก็ยังขาดดุลรายได้ (incoome) และดุลเงินโอน (current transfer) จำนวน 1.2 และ 6.5 พันล้านยูโร ตามลำดับ จึงส่งผลให้โดยรวมแล้วในเดือนนี้ Euro area จึงมียอดขาดดุลบัญญชีเดินสะพัดดังกล่าว
อย่างไรก็ดี หากพิจารณาฐานะดุลบัญชีแดินสะพัดสะสมในรอบ 12 เดือนสิ้นสุดเดือนมิถุนนายน พบว่า Euro area มีฐานะขาดดุลบัญชีเดินสะพัดสะสมเป็นจำนวน 19.6 พันล้านยูโร ต่างจาก เดือนมิถุนายนของปีที่แล้วที่มีฐานะดุลบัญญชีเดินสะพัดสสะสมเกินดุลเป็นจำนวน 19.0 พันล้านนยูโร ซึ่งการที่ยอดดุลบัญชีเดินสะพัดสะสมมีการขาดดุลเป็นผลมาจากการเกินดุลการค้าที่ลดลลง รวมถึงมีการขาดดุลเงินโอนเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วถึง 14.8 พันล้านยูโร แม้ว่าจะมีการเกินดุลบริการสะสมมากขึ้นก็ตาม
ทางด้านดุลบัญชีเงินทุนเคลื่อนย้าย (financial account) ที่ยังไม่ปปรับตามฤดูกาล (non- seasonal adjusted) ประจำเดือนมิถุนายนพบว่า Euro area มีฐานะบัญชีเงินทุนไหลเข้าสุทธิ 15.7 พันล้านยูโร (เทียบกับเดือนที่แล้วที่มีฐานะเงินทุนไหลเข้าสุทธิถึง 45.3 พันล้านยูโร) แยกเป็น 1) เงินลงทุนทางตรง (direct investment) มียอดไหลออกสุทธิ 22.0 พันล้านยูโร 2) เงินลงทุนในหลักทรัพพย์ (portfolio investment) มียอดไหลเข้าสุทธิมากถึง 54.2 พันล้านยูโร 3) อนุพันธ์ทางการเงิน มีฐานะไหลเข้าสุทธิ 4.8 พันล้านยูโร และ 4) เงินลงทุนประเภททอื่น (other investment) มีฐานะไหลออกสุทธิ 21.7 พันล้านยูโร เนื่องจากในเดือนนี้สถาบันการเงิน (MFIs) มีฐานะเป็นผู้ให้กู้ยืมสุทธิ 20.4 พันล้านยูโร
ทั้งนี้ ในรอบ 12 เดือนสิ้นสุดเดือนมิถุนายน Euro area มีฐานะดุลบัญชีเงินทุนเคลื่อนย้าย (financial account) ไหลเข้าสุทธิ 115.4 พันล้านยูโร เพิ่มจากปีแล้วที่มีมีฐานะไหลเข้าสุทธิ 83.6 พันล้าน ยูโร) ซึ่งการที่ในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมา Euro area มีฐานะดุลบัญชีเงินทุนเคลื่อนย้ายสะสมเกินดุล เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วแม้จะมีการขาดดุลเงินลงทุน ทางตรงเพิ่มขึ้น รวมถึงมีเงินลงทุนในหลักทรัพย์ (portfolio investment) สะสมลดลง แต่เนื่องจากสถาบันการเงินมีฐานะเป็นผู้กู้ยืมสุทธิมากถึง 204.7 พันล้านยูโร จึงทำให้ฐานะโดยรวมมียอดสะสมเงินทุนไหลเข้าสุทธิแพิ่มขึ้น
ประเด็นข่าวสำคัญ ๆ ในรอบเดือนที่ผ่านมา
- GDP ไตรมาสที่ 2 ของเยอรมันหดตัวลงร้อยละ 1.0 ซึ่งชะลอตัวลึกกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ไว้ โดยก่อนหน้านี้นายกรัฐมนตรี Angela Merkel ได้ออกมาให้สัมภาษณ์ว่าเศรษฐกิจของเยอรมัน คงไม่สามารถหลีกเลี่ยงจากภาวะชะลอตัวอันเป็นผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจโลกและการเพิ่มขึ้น ของเงินเฟ้อไปได้ โดยรัฐบาลคาดว่าเศรษฐกิจในปีนี้จะเติบโตเหลือร้อยละ 1.7 เทียบกับปีที่แล้วเติบโตร้อยละ 2.5 (6 สิงหาคม 2008)
- ECB คงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ร้อยละ 4.25 หลังจากที่ปรับเพิ่มขึ้นเดือนที่แล้ว (8 สิงหาคม 2008)
- ฝรั่งเศสขาดดุลการค้าเดือนมิถุนายนถึง 5.64 พันล้านยูโร จากที่ขาดดุล 4.7 พันล้านยูโรเมื่อเดือนแล้ว ซึ่งการขาดดุลในเดือนนี้ สูงกว่าที่คาดการ และส่งผลให้ยอดขาดดุลการค้าในช่วงครึ่งแรกของปีพุ่งสู่ระดับ 24.4 พันล้านยูโรเทียบกับระยะเดียวกันของปีที่แล้วที่ขาดดุลเพียง 15.8 พันล้านยูโร การขาดดุล เพิ่มขึ้นเป็นผลมาจากมูลค่าการนำเข้าพลังงานที่เพิ่มขึ้น แม้ว่าจะมีการส่งออกสินค้าเกษตรและยอดจำหน่ายเครื่องบิน Airbus ที่เพิ่มก็ตาม ขณะที่มีการคาดการว่า GDP ไตรมาสที่ 2 จะขยายตัวเพียงร้อยละ 0-0.2 เท่านั้น (8 สิงหาคม 2008)
- ประมาณการเบื้องต้นของอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (flash estimated GDP) ประจำไตรมาสที่ 2 ของ Euro area 15 ประเทศ พบว่าเศรษฐกิจขยายตัวติดลบร้อยละ 0.2 จากไตรมาสแรกที่ขยายตัวได้ดีถึงร้อยละ 0.7 แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2 ของปีที่แล้ว (quarter on quarter) เศรษฐกิจขยายตัวเพียงร้อยละ 1.4 เทียบกับร้อยละ 2.1 ในไตรมาสแรก ขณะที่เศรษฐกิจของสหภาพยุโรป 27 ประเทศ (EU27) ก็มีอัตราการขยายตัวติดลบเช่นกันโดยติดลบร้อยละ 0.1 โดยเศรษฐกิจของประเทศเยอรมัน ฝรั่งเศส และอิตาลี มีการหดตัวลงร้อยละ 0.5, 0.3 และ 0.3 ตามลำดับ ขณะที่เศรษฐกิจของสเปนมีอัตราการขยายตัวเหลือเพียงร้อยละ 0.1 (14 สิงหาคม 2008)
ที่มา : Macroeconomic Analysis Group : Fiscal Policy Office
Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th