นายสมชัย สัจจพงษ์ ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการคลัง สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง ได้เปิดเผยถึงผลการจัดเก็บรายได้รัฐบาลประจำเดือนสิงหาคม 2551 ซึ่งจัดเก็บได้ 181,405 ล้านบาท ต่ำกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ 19,794 ล้านบาท แต่อย่างไรก็ดี ในช่วง 11 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2551 (ตุลาคม 2550 — สิงหาคม 2551) การจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลมีจำนวน 1,423,354 ล้านบาท ยังคงสูงกว่าประมาณการ 22,757 ล้านบาท สรุปได้ ดังนี้
1. เดือนสิงหาคม 2551 รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ 181,405 ล้านบาท ต่ำกว่า เป้าหมายที่ตั้งไว้ 19,794 ล้านบาท หรือร้อยละ 9.8 (ต่ำกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 13.2) สาเหตุสำคัญมาจากภาษีเงินได้นิติบุคคลจัดเก็บได้ต่ำกว่าเป้าหมาย 13,085 ล้านบาท เนื่องจากเดือนนี้เป็นเดือนสุดท้ายของการยื่นชำระภาษีจากกำไรสุทธิของนิติบุคคลรอบครึ่งปีบัญชี 2551 (ภงด.51) แต่วันสุดท้ายของการยื่นชำระภาษีดังกล่าวตรงกับวันอาทิตย์ จึงได้มีการยืดระยะเวลาการยื่นชำระมาเป็นวันจันทร์ที่ 1 กันยายน 2551 ทำให้รายได้จากภาษีดังกล่าวส่วนหนึ่งจะเหลื่อมไปอยู่ในเดือนกันยายน รวมทั้งการชำระภาษีเงินได้ปิโตรเลียมก็มีรายได้ส่วนหนึ่งเหลื่อมไปในเดือนกันยายน 2551 เช่นกัน ทำให้ภาษีเงินได้ปิโตรเลียมต่ำกว่าเป้าหมาย 3,469 ล้านบาท
นอกจากนี้การจัดเก็บภาษีน้ำมัน ซึ่งได้รับผลกระทบจากการลดอัตราภาษีน้ำมัน แก๊สโซฮอล์ และดีเซล (ตาม 6 มาตรการ 6 เดือน ฝ่าวิกฤติเพื่อคนไทย) ซึ่งมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2551 ทำให้การจัดเก็บภาษีน้ำมันต่ำกว่าเป้าหมาย 5,159 ล้านบาท
อย่างไรก็ดี การจัดเก็บอากรขาเข้า ภาษีเบียร์ รวมทั้งการนำส่งรายได้ของส่วนราชการอื่นและรัฐวิสาหกิจสูงกว่าประมาณการที่ตั้งไว้
2. ในช่วง 11 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2551 (ตุลาคม 2550 — สิงหาคม 2551)
รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ 1,423,354 ล้านบาท สูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ 22,757ล้านบาท หรือร้อยละ 1.6 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 6.3) ซึ่งเป็นผลจากการจัดเก็บภาษีของกรมสรรพากรจากภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษีมูลค่าเพิ่ม และกรมศุลกากรจากอากรขาเข้า ที่สูงกว่าประมาณการเป็นสาเหตุหลัก
ผลการจัดเก็บรายได้ตามหน่วยงานจัดเก็บสรุปได้ ดังนี้
2.1 กรมสรรพากร จัดเก็บได้รวม 1,136,936 ล้านบาท สูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ 29,668 ล้านบาท หรือร้อยละ 2.7 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 8.2)
ภาษีที่เก็บได้สูงกว่าเป้าหมาที่สำคัญ ได้แก่
- ภาษีเงินได้นิติบุคคลจัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ 29,085 ล้านบาท หรือร้อยละ 8.1 เป็นผลจากการชำระภาษีจากกำไรสุทธิรอบสิ้นปีบัญชี 2550 ที่สูงกว่าประมาณการ และการส่งค่าบริการและจำหน่ายกำไรไปต่างประเทศที่เพิ่มขึ้นในระดับสูง เนื่องจากได้รับประโยชน์เพิ่มขึ้นจากค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น
- ภาษีมูลค่าเพิ่มจัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ 20,614 ล้านบาท หรือร้อยละ 4.7 จากภาษีมูลค่าเพิ่มจากการนำเข้าที่เพิ่มขึ้นมาก การบริโภคที่ขยายตัวและราคาสินค้าที่ปรับตัวสูงขึ้น
ส่วนภาษีธุรกิจเฉพาะ และภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจัดเก็บได้ต่ำกว่า เป้าหมาย ซึ่งเป็นผลจากการดำเนินนโยบายทางด้านภาษีของรัฐบาลเพื่อฟื้นฟูและกระตุ้นเศรษฐกิจ เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2551 ประกอบกับการลดลงของอัตราดอกเบี้ย รวมทั้งการลดอัตราภาษีธุรกิจเฉพาะสำหรับรายรับจากธุรกรรมบางประเภทของสถาบันการเงินเป็นสาเหตุสำคัญ
2.2 กรมสรรพสามิต จัดเก็บได้รวม 260,161 ล้านบาท ต่ำกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ 8,701 ล้านบาท หรือร้อยละ 3.2 (ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 2.0 แต่ถ้าหักรายได้จากภาษีกิจการโทรคมนาคมของปีที่แล้วออก จะสูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 1,819 ล้านบาท หรือร้อยละ 0.7) โดยภาษีที่จัดเก็บได้ต่ำกว่าประมาณการที่สำคัญ ได้แก่ ภาษีน้ำมัน ภาษียาสูบ และภาษีเบียร์ ซึ่งภาษีน้ำมันเป็นผลจากการใช้น้ำมันลดลงเนื่องจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้น ประกอบกับผลกระทบจาก การลดอัตราภาษีน้ำมัน (ตาม 6 มาตรการ 6 เดือนฝ่าวิกฤติเพื่อคนไทย) อย่างไรก็ดี ภาษีสรรพสามิตรถยนต์ และภาษีสุรา จัดเก็บได้สูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้
2.3 กรมศุลกากร จัดเก็บได้รวม 90,751 ล้านบาท สูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ 10,171 ล้านบาท หรือร้อยละ 12.6 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 9.9) โดยอากรขาเข้าซึ่งเป็นรายได้หลักจัดเก็บได้สูงกว่าเป้าหมาย 9,494 ล้านบาท หรือร้อยละ 12.0 เนื่องจากมูลค่านำเข้า ทั้งในรูปดอลลาร์สหรัฐ และรูปเงินบาทขยายตัวอย่างต่อเนื่องและสูงกว่าที่ประมาณการไว้ โดยในช่วง 10 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2551 (ตุลาคม 2550 — กรกฎาคม 2551) มูลค่านำเข้าในรูปดอลล่าร์สหรัฐอเมริกา และเงินบาทสูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วถึงร้อยละ 30.5 และ 20.2 ตามลำดับ
2.4 รัฐวิสาหกิจ นำส่งรายได้รวม 91,607 ล้านบาท ต่ำกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ 1,088 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 1.2 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 7.6) สาเหตุสำคัญมาจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิต และบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) นำส่งรายได้ต่ำกว่าประมาณการ
2.5 หน่วยงานอื่น นำส่งรายได้รวม 79,891 ล้านบาท ต่ำกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ 1,460 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 1.8 (ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 1.4)
3. คาดการณ์รายได้รัฐบาลปีงบประมาณ 2551
จากผลการจัดเก็บรายได้ในช่วง 11 เดือนแรกที่สูงกว่าเป้าหมาย 22,757 ล้านบาท และจากแนวโน้มการจัดเก็บรายได้ในเดือนกันยายน 2551 ซึ่งเป็นเดือนสุดท้ายของปีงบประมาณ 2551 คาดว่าจะจัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการที่ตั้งไว้ แม้จะได้รับผลกระทบจากนโยบายของรัฐบาล แต่จะได้รับรายได้จากภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษีเงินได้ปิโตรเลียมที่เหลื่อมมาจากเดือนสิงหาคม 2551 รวมทั้งบริษัท ปตท.ฯ ที่จะนำส่งรายได้ก่อนกำหนด ทำให้เชื่อมั่นว่าการจัดเก็บรายได้รัฐบาลในปีงบประมาณ 2551 นี้ จะสูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ในเอกสารงบประมาณ (1.495 ล้านล้านบาท) ประมาณร้อยละ 2.0 — 2.5
สำนักนโยบายการคลัง สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง โทร 02 273 9020 ต่อ 3728 และ 3545
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 65/2551 8 กันยายน 51--
1. เดือนสิงหาคม 2551 รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ 181,405 ล้านบาท ต่ำกว่า เป้าหมายที่ตั้งไว้ 19,794 ล้านบาท หรือร้อยละ 9.8 (ต่ำกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 13.2) สาเหตุสำคัญมาจากภาษีเงินได้นิติบุคคลจัดเก็บได้ต่ำกว่าเป้าหมาย 13,085 ล้านบาท เนื่องจากเดือนนี้เป็นเดือนสุดท้ายของการยื่นชำระภาษีจากกำไรสุทธิของนิติบุคคลรอบครึ่งปีบัญชี 2551 (ภงด.51) แต่วันสุดท้ายของการยื่นชำระภาษีดังกล่าวตรงกับวันอาทิตย์ จึงได้มีการยืดระยะเวลาการยื่นชำระมาเป็นวันจันทร์ที่ 1 กันยายน 2551 ทำให้รายได้จากภาษีดังกล่าวส่วนหนึ่งจะเหลื่อมไปอยู่ในเดือนกันยายน รวมทั้งการชำระภาษีเงินได้ปิโตรเลียมก็มีรายได้ส่วนหนึ่งเหลื่อมไปในเดือนกันยายน 2551 เช่นกัน ทำให้ภาษีเงินได้ปิโตรเลียมต่ำกว่าเป้าหมาย 3,469 ล้านบาท
นอกจากนี้การจัดเก็บภาษีน้ำมัน ซึ่งได้รับผลกระทบจากการลดอัตราภาษีน้ำมัน แก๊สโซฮอล์ และดีเซล (ตาม 6 มาตรการ 6 เดือน ฝ่าวิกฤติเพื่อคนไทย) ซึ่งมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2551 ทำให้การจัดเก็บภาษีน้ำมันต่ำกว่าเป้าหมาย 5,159 ล้านบาท
อย่างไรก็ดี การจัดเก็บอากรขาเข้า ภาษีเบียร์ รวมทั้งการนำส่งรายได้ของส่วนราชการอื่นและรัฐวิสาหกิจสูงกว่าประมาณการที่ตั้งไว้
2. ในช่วง 11 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2551 (ตุลาคม 2550 — สิงหาคม 2551)
รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ 1,423,354 ล้านบาท สูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ 22,757ล้านบาท หรือร้อยละ 1.6 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 6.3) ซึ่งเป็นผลจากการจัดเก็บภาษีของกรมสรรพากรจากภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษีมูลค่าเพิ่ม และกรมศุลกากรจากอากรขาเข้า ที่สูงกว่าประมาณการเป็นสาเหตุหลัก
ผลการจัดเก็บรายได้ตามหน่วยงานจัดเก็บสรุปได้ ดังนี้
2.1 กรมสรรพากร จัดเก็บได้รวม 1,136,936 ล้านบาท สูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ 29,668 ล้านบาท หรือร้อยละ 2.7 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 8.2)
ภาษีที่เก็บได้สูงกว่าเป้าหมาที่สำคัญ ได้แก่
- ภาษีเงินได้นิติบุคคลจัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ 29,085 ล้านบาท หรือร้อยละ 8.1 เป็นผลจากการชำระภาษีจากกำไรสุทธิรอบสิ้นปีบัญชี 2550 ที่สูงกว่าประมาณการ และการส่งค่าบริการและจำหน่ายกำไรไปต่างประเทศที่เพิ่มขึ้นในระดับสูง เนื่องจากได้รับประโยชน์เพิ่มขึ้นจากค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น
- ภาษีมูลค่าเพิ่มจัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ 20,614 ล้านบาท หรือร้อยละ 4.7 จากภาษีมูลค่าเพิ่มจากการนำเข้าที่เพิ่มขึ้นมาก การบริโภคที่ขยายตัวและราคาสินค้าที่ปรับตัวสูงขึ้น
ส่วนภาษีธุรกิจเฉพาะ และภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจัดเก็บได้ต่ำกว่า เป้าหมาย ซึ่งเป็นผลจากการดำเนินนโยบายทางด้านภาษีของรัฐบาลเพื่อฟื้นฟูและกระตุ้นเศรษฐกิจ เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2551 ประกอบกับการลดลงของอัตราดอกเบี้ย รวมทั้งการลดอัตราภาษีธุรกิจเฉพาะสำหรับรายรับจากธุรกรรมบางประเภทของสถาบันการเงินเป็นสาเหตุสำคัญ
2.2 กรมสรรพสามิต จัดเก็บได้รวม 260,161 ล้านบาท ต่ำกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ 8,701 ล้านบาท หรือร้อยละ 3.2 (ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 2.0 แต่ถ้าหักรายได้จากภาษีกิจการโทรคมนาคมของปีที่แล้วออก จะสูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 1,819 ล้านบาท หรือร้อยละ 0.7) โดยภาษีที่จัดเก็บได้ต่ำกว่าประมาณการที่สำคัญ ได้แก่ ภาษีน้ำมัน ภาษียาสูบ และภาษีเบียร์ ซึ่งภาษีน้ำมันเป็นผลจากการใช้น้ำมันลดลงเนื่องจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้น ประกอบกับผลกระทบจาก การลดอัตราภาษีน้ำมัน (ตาม 6 มาตรการ 6 เดือนฝ่าวิกฤติเพื่อคนไทย) อย่างไรก็ดี ภาษีสรรพสามิตรถยนต์ และภาษีสุรา จัดเก็บได้สูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้
2.3 กรมศุลกากร จัดเก็บได้รวม 90,751 ล้านบาท สูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ 10,171 ล้านบาท หรือร้อยละ 12.6 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 9.9) โดยอากรขาเข้าซึ่งเป็นรายได้หลักจัดเก็บได้สูงกว่าเป้าหมาย 9,494 ล้านบาท หรือร้อยละ 12.0 เนื่องจากมูลค่านำเข้า ทั้งในรูปดอลลาร์สหรัฐ และรูปเงินบาทขยายตัวอย่างต่อเนื่องและสูงกว่าที่ประมาณการไว้ โดยในช่วง 10 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2551 (ตุลาคม 2550 — กรกฎาคม 2551) มูลค่านำเข้าในรูปดอลล่าร์สหรัฐอเมริกา และเงินบาทสูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วถึงร้อยละ 30.5 และ 20.2 ตามลำดับ
2.4 รัฐวิสาหกิจ นำส่งรายได้รวม 91,607 ล้านบาท ต่ำกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ 1,088 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 1.2 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 7.6) สาเหตุสำคัญมาจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิต และบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) นำส่งรายได้ต่ำกว่าประมาณการ
2.5 หน่วยงานอื่น นำส่งรายได้รวม 79,891 ล้านบาท ต่ำกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ 1,460 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 1.8 (ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 1.4)
3. คาดการณ์รายได้รัฐบาลปีงบประมาณ 2551
จากผลการจัดเก็บรายได้ในช่วง 11 เดือนแรกที่สูงกว่าเป้าหมาย 22,757 ล้านบาท และจากแนวโน้มการจัดเก็บรายได้ในเดือนกันยายน 2551 ซึ่งเป็นเดือนสุดท้ายของปีงบประมาณ 2551 คาดว่าจะจัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการที่ตั้งไว้ แม้จะได้รับผลกระทบจากนโยบายของรัฐบาล แต่จะได้รับรายได้จากภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษีเงินได้ปิโตรเลียมที่เหลื่อมมาจากเดือนสิงหาคม 2551 รวมทั้งบริษัท ปตท.ฯ ที่จะนำส่งรายได้ก่อนกำหนด ทำให้เชื่อมั่นว่าการจัดเก็บรายได้รัฐบาลในปีงบประมาณ 2551 นี้ จะสูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ในเอกสารงบประมาณ (1.495 ล้านล้านบาท) ประมาณร้อยละ 2.0 — 2.5
สำนักนโยบายการคลัง สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง โทร 02 273 9020 ต่อ 3728 และ 3545
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 65/2551 8 กันยายน 51--