มาตรการของกระทรวงการคลังสหรัฐฯ ในการเข้าพยุงกิจการบริษัทแฟนนี เม และบริษัทเฟรดดี แมค ที่ประกาศเมื่อวันที่ 7 กันยายน 2551 เนื่องจากเงินทุนของสถาบันการเงินทั้งสองแห่งไม่เพียงพอส่าหรับการกู้วิกฤติตลาดอสังหาริมทรัพย์ในปัจจุบัน ดังนี้
นาย เฮนรี่ พอลสัน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังสหรัฐฯ ได้แถลงอย่างเป็นทางการ ถึงการตัดสินใจของรัฐบาลสหรัฐฯ ในการน่าบริษัทแฟนนี เม และเฟรดดี แมค เข้าสู่แผนพิทักษ์กิจการ (Conservatorship) ตามบทบัญญัติที่ 11 (Chapter 11) ในกฎหมายล้มละลายของสหรัฐฯ ที่ระบุว่า สถาบันการเงินทั้งสองแห่งสามารถเข้าสู่แผนพิทักษ์กิจการ หากมีเงินทุนต่าจนเข้าขั้นวิกฤติ โดยผู้พิทักษ์กิจการมีอ่านาจเบ็ดเสร็จในการปฏิรูปบริษัท แต่ไม่มีอ่านาจในการปิดกิจการ ซึ่งการด่าเนินการดังกล่าว มีเป้าหมายหลักเพื่อป้องกันผลกระทบของปัญหาหนี้เสียจากการปล่อยสินเชื่อบ้านที่พุ่งสูงขึ้น ซึ่งก่าลังส่งผลในเชิงลบต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในวงกว้างและรุนแรงมากขึ้น ทั้งนี้ นาย จอร์จ ดับเบิลยู บุช ประธานาธิบดีสหรัฐฯและนายเบนเบอร์นันเก้ ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ ได้ออกมากล่าวสนับสนุนการด่าเนินการของกระทรวงการคลังสหรัฐฯ เช่นกัน
ตราสารหนี้ (Debt) และตราสารหนี้หนุนโดยสินเชื่อที่อยู่อาศัย (Mortgage-Backed Securities) ของบริษัทแฟนนี เม และบริษัทเฟรดดี แมค ซึ่งถือครองโดยธนาคารกลางและนักลงทุนทั่วโลก และมีมูลค่ารวมกว่า 5 ล้านล้านเหรียญ สรอ. นั้น นับเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงที่เป็นระบบ (Systematic risk) ในตลาดการเงินทั่วโลก กระทรวงการคลังสหรัฐฯ จึงตัดสินใจดำเนินการอัดฉีดเงินทุนแก่สถาบันการเงินทั้งสองแห่งผ่านทางการซื้อหุ้นบุริมสิทธิที่ไม่ด้อยสิทธิ์ (Senior Preferred Stock) เพื่อสร้างเสถียรภาพในตลาดการเงิน ด้วยการเพิ่มความมั่นใจให้กับทั้งผู้ถือหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ์(Senior Debt) ผู้ถือหุ้นกู้ด้อยสิทธิ์ (Subordinated Debt) และผู้ถือหลักทรัพย์ที่มีสินเชื่อที่อยู่อาศัยหนุนหลัง (Mortgage-Backed Securities) ซึ่งนายพอลสัน เห็นว่า วิธีดังกล่าวเป็นแนวทางแก้ปัญหาที่มีประสิทธิภาพสูงสุด ทั้งในการขจัดความเสี่ยงที่เป็นระบบ และการปกป้องผู้เสียภาษีของสหรัฐฯ ในเวลาเดียวกัน
นายพอลสันกล่าวอีกว่า แผนการอัดฉีดเงินทุนที่มีมูลค่ารวมกว่า 2 แสนล้านเหรียญ สรอ. ในครั้งนี้ จะช่วยให้สถาบันการเงินทั้งสองแห่งมีปริมาณเงินทุนมากพอที่จะให้บริการผู้ต้องการซื้อบ้านในสหรัฐฯ ซึ่งการดำเนินการข้างต้น ส่งผลให้กระทรวงการคลังสหรัฐฯ ถือครองหุ้นบุริมสิทธิที่ไม่ด้อยสิทธิ์ (Senior Preferred Stock) ของสถาบันการเงินแต่ละแห่งเป็นมูลค่า 1 พันล้านเหรียญ สรอ. ในทันที และถือครองใบสำคัญแสดงสิทธิ (Warrant) ในการซื้อหุ้นสามัญ (Common Stock) ที่จะส่งผลให้ทางการสหรัฐฯ ถือครองสถาบันการเงินทั้งสองแห่งกว่าร้อยละ 79.9 โดยมีข้อกำหนดดังนี้ (1) สถาบันการเงินทั้งสองแห่งจะต้องจ่ายดอกเบี้ยที่อัตราร้อยละ 10 โดยให้จ่ายดอกเบี้ยทุก 3 เดือน (2) หุ้นบุริมสิทธิ์ของรัฐบาลสหรัฐฯจะต้องได้รับเงินปันผลที่อัตราร้อยละ 10 ในกรณีที่จ่ายเงินปันผลเป็นเงินสด หากสถาบันการเงินไม่ได้จ่ายเงินปันผลในรูปของเงินสด จะต้องปรับเพิ่มอัตราการจ่ายเงินปันผลให้อยู่ที่ร้อยละ 12 (3) สถาบันการเงินแต่ละแห่งสามารถเพิ่มวงเงินได้รวมมูลค่าไม่เกิน 1 แสนล้านเหรียญ สรอ. และ (4) สถาบันการเงินแต่ละแห่งจะต้องถือครองสินเชื่อบ้านและหลักทรัพย์ที่มีสินเชื่อที่อยู่อาศัยหนุนหลังไม่เกิน 850 พันล้านเหรียญ สรอ. ภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2552 และปรับลดลงที่อัตราร้อยละ 10 ต่อปี ในปีต่อ ๆ ไป จนอยู่ที่ระดับ 250 พันล้านเหรียญ สรอ.
นอกจากนี้ ภายใต้กฎหมายว่าด้วยการเคหะและฟื้นฟูเศรษฐกิจ ปี 2551 (Housing and Economic Recovery Act of 2008) รัฐสภาสหรัฐฯ อนุมัติให้กระทรวงการคลังดำเนินการซื้อหลักทรัพย์ที่มีสินเชื่อที่อยู่อาศัยหนุนหลังซึ่งออกโดย บริษัท แฟนนีเม และบริษัทเฟรดดี แมค เป็นมูลค่ารวม 5 พันล้านเหรียญ สรอ. ภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2551 ซึ่งนอกจากจะเป็นการสร้างความแข็งแกร่งให้ตลาดที่อยู่อาศัยของสหรัฐฯ และช่วยเหลือผู้ซื้อบ้านโดยลดแรงกดดันอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อบ้านแล้ว ยังเป็นการสร้างเสถียรภาพของตลาดการเงินไปในขณะเดียวกัน
ทั้งนี้ ภายใต้แผนพิทักษ์กิจการ (Conservatorship) สำนักสินเชื่อบ้านแห่งชาติ(Federal Housing Finance Agency: FHFA) จะเข้าไปบริหารจัดการสถาบันการเงินทั้ง 2 แห่งจนกว่ารัฐบาลจะจัดทำมาตรการระยะยาว นอกจากนี้ กระทรวงการคลังสหรัฐฯ ได้ประกาศแต่งตั้ง
นายเฮอร์เบิร์ท แอลลิสัน อดีตผู้บริหารของบริษัทเมอร์ริล ลินช์ ให้ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการบริหารบริษัทแฟนนี เม แทนนายแดเนียล มัดด์ และประกาศแต่งตั้งนายเดวิด มอฟเฟตอดีตผู้บริหารของบริษัท ยูเอส แบน คอร์ป ให้ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการบริหารบริษัทเฟรดดี แมค แทนนายริชาร์ด ไซรอน
การดำเนินการข้างต้นได้คลายความกังวลให้กับนักลงทุนทั่วโลก เห็นได้จากดัชนีหุ้นเอเชียและยุโรปดีดตัวสูงขึ้น โดยเฉพาะประเทศในทวีปเอเชียเช่น จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ ซึ่งเป็นผู้ถือตราสารหนี้รายใหญ่ของบริษัทแฟนนี เม และบริษัทเฟรดดี แมค
ที่มา : Macroeconomic Analysis Group : Fiscal Policy Office
Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th