สรุปเศรษฐกิจญี่ปุ่นรอบสัปดาห์ระหว่าง 16 - 20 มิถุนายน 2551

ข่าวเศรษฐกิจ Monday June 23, 2008 11:39 —กระทรวงการคลัง

สรุปเศรษฐกิจญี่ปุ่นรอบสัปดาห์ (16-20 มิ.ย. 51) 
Cabinet Office ได้แถลงภาพรวมเศรษฐกิจญี่ปุ่นปัจจุบัน เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2551 ที่ผ่านมาว่า ผลกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ และราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ ได้ส่งผลกระทบในเชิงลบต่อเศรษฐกิจญี่ปุ่นชัดเจนขึ้นจากดัชนีเศรษฐกิจล่าสุด ตัวเลขการส่งออกและผลผลิตภาคอุตสาหกรรมลดลง ผลกำไรและการลงทุนของบริษัทเอกชนญี่ปุ่นลดลง
ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา มีความเคลื่อนไหวทางเศรษฐกิจที่น่าสนใจ ดังนี้
1. ภาพรวมเศรษฐกิจญี่ปุ่นปัจจุบัน
Cabinet Office ได้แถลงภาพรวมเศรษฐกิจญี่ปุ่นปัจจุบัน เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2551 ที่ผ่านมาว่าผลกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ และราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ ได้ส่งผลกระทบในเชิงลบต่อเศรษฐกิจญี่ปุ่นชัดเจนขึ้นจากดัชนีเศรษฐกิจล่าสุด ตัวเลขการส่งออกและผลผลิตภาคอุตสาหกรรมลดลง ผลกำไรและการลงทุนของบริษัทเอกชนญี่ปุ่นลดลง การบริโภคภาคเอกชนค่อนข้างคงที่ ตลาดอัตราแลกเปลี่ยนและตลาดหลักทรัพย์มีความผันผวน ซึ่งคาดว่าแนวโน้มเศรษฐกิจญี่ปุ่นยังคงมีแนวโน้มไม่สดใสต่อไปจนถึงสิ้นปี รายละเอียดสรุปได้ดังนี้
1. GDP ไตรมาสแรกปี 51 สำนักงานคณะรัฐมนตรี (Cabinet Office) ประกาศตัวแรกเบื้องต้นผลผลิตมวลรวม
ภายในประเทศ ณ ราคาคงที่ปรับ (Real GDP) ประจำไตรมาสที่แรก ในปี 2551 ว่ามีการเจริญเติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 1 เมื่อเทียบกับไตรมาสในปีก่อนหน้า โดยลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 4 ของปี 50
1.1 ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรม (Industrial Production) กระทรวงเศรษฐกิจการค้าและอุตสาหกรรมเปิดเผยว่าดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรม (Industrial Output) ของเดือนเม.ย.51 อยู่ที่ระดับ 106.2 (ฐานปี 2543=100) โดยลดลงร้อยละ 0.3 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า เป็นการลดลงติดต่อกันมาสองเดือนแล้วเป็นผลจากเศรษฐกิจสหรัฐฯ ชะลอตัว
1.2 การใช้จ่ายภาคครัวเรือนในญี่ปุ่น (Household Spending) กระทรวงมหาดไทยและการสื่อสาร (Ministry of Internal Affairs and Communications) ได้เปิดเผยว่าการใช้จ่ายภาคครัวเรือน เดือน เม.ย.51 ลดลงร้อยละ 2.7 เทียบกับระยะเดียวกันปีก่อนหน้า เป็นการลดลงติดต่อกันเป็นเวลา 2 เดือน นอกจากนี้ ยอดขายในซุปเปอร์มาเก็ตประจำเดือนพ.ค.51 ลดลงร้อยละ 2.7 นอกจากนี้ ตัวเลขการเป็นเจ้าของทรัพย์สินครัวเรือน (Household Asset) ลดลงร้อยละ 2.7 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า
1.3 การลงทุนของภาคเอกชน (Capital Spending) กระทรวงการคลังเปิดเผยว่าผลกำไรบรรดาบริษัทญี่ปุ่นลดลงร้อยละ 17.5 เป็นการลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 23 ไตรมาส และการใช้จ่ายภาคเอกชน (Capital Spending) เพื่อลงทุนในสินทรัพย์ของบริษัทญี่ปุ่นในไตรมาส 1 (ระหว่างเดือน ม.ค.- มี.ค.51) ลดลงร้อยละ 4.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนหน้า เนื่องจากจำนวนการลงทุนของธุรกิจเช่าซื้อ และธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ลดลง
1.4 อัตราการว่างงาน (Jobless) เดือน เม.ย. 51 อยู่ที่ร้อยละ 4.0 เพิ่มขึ้นจากเดือน มี.ค.51 อยู่ที่ระดับร้อยละ 3.8
1.5 ดัชนีราคาผู้บริโภค (Core Consumer Price) กระทรวงมหาดไทยและการสื่อสาร ได้เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคประจำเดือนยกเว้นอาหารสด (CPI, ปี 2548=100) ประจำเดือนมีนาคม 2551 เป็นระดับ 100.8 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนหน้าเป็นการเพิ่มขึ้นติดต่อกัน 6 เดือน ตามการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันและราคาสินค้าโภคภัณฑ์
1.6 อุปสงค์ภาครัฐ (Government Demand) ประกอบด้วย การลงทุนภาครัฐ (Public Investment) และการบริโภคภาครัฐ (Government Consuption) ณ ไตรมาสที่ 1 ปี 51 ลดลงร้อยละ 0.4 เทียบกับระยะเดียวกันปีก่อนหน้า
1.7 ดุลบัญชีเดินสะพัด (Current Account Balance) กระทรวงการคลังเปิดเผยว่ายอดการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดในเดือน เม.ย.51 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อนหน้าแล้วลดลงร้อยละ 29.6 จำนวน 1,380.9 พันล้านเยนดุลบัญชีเดินสะพัดของญี่ปุ่นได้เกินดุลมาตลอด (ประมาณร้อยละ 4.7 ของ GDP ญี่ปุ่น) แต่มีแนวโน้มการเกินดุลลดลงจากการเกินดุลการค้าลดลง เป็นผลจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯและค่าเงินเยนที่แข็งขึ้น อย่างไรก็ตาม รายได้จากเงินปันผลและดอกเบี้ยในการลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศยังเพิ่มขึ้นตามปกติ จึงทำให้ภาพรวมดุลบัญชีเดินสะพัดยังเกินดุล ซึ่งรายได้ส่วนนี้มากกว่ารายได้จากการส่งออกมาเป็นเวลาหลายปีแล้วดุลการค้าและบริการ (Good and Service Balance) ตัวเลขดุลการค้าประจำเดือนเม.ย.51 ที่ผ่านพิธีการศุลกากรมียอดการเกินดุลการค้าและบริการทั้งสิ้น 199.4 พันล้านเยน ลดลงร้อยละ 60.3 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนหน้า
แบ่งเป็นยอดเกินดุลการค้า 634.7 พันล้านเยน ลดลงร้อยละ 38.4 ในขณะที่มียอดขาดดุลบริการจำนวน 435.3 พันล้านเยนดุลบัญชีทุนและการเงิน (Capital and Financial Account Balance) การลงทุนต่างประเทศทั้ง FDI และการลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศ ในเดือน เม.ย.51 ลดลง จำนวน 384.4 และ 9,986.6 พันล้านเยน ตามลำดับ รวมทั้งการลงทุนด้านอื่นๆ ก็ลดลง ส่งผลให้ดุลบัญชีทุนและการเงินขาดดุล 2,479.2 พันล้านเยน เนื่องจากวิกฤต Subprime ที่ทำให้เยน Carry Trade ในญี่ปุ่นลดลง
1.8 เงินทุนสำรองระหว่างประเทศ (International Reserve) กระทรวงการคลังญี่ปุ่นได้เปิดเผยเงินทุนสำรองระหว่างประเทศของญี่ปุ่น ณ สิ้นเดือน พ.ค. 51 มีจำนวน 997 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลง 6.9 พันล้านเยนจากจำนวนเดือนเม.ย. 51
2. สถาบันการเงินมองหาโอกาสทางธุรกิจ ภายหลังจากการปรับปรุงกฎหมายการเงินใหม่
ธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินอื่นๆ รวมทั้งตลาดหลักทรัพย์กำลังติดตามโอกาสทางธุรกิจการเงินใหม่ที่เกิดจากการปรับปรุงกฎหมายตราสารทางการเงินและตลาดตราสารทางการเงินของญี่ปุ่นที่ชื่อว่า Financial Instruments and Exchange Law ซึ่งได้ปรับปรุงมาตั้งแต่ปี 2539 (The Big Bang Reform) ซึ่งการปรับปรุงกฎหมายดังกล่าวจะช่วยส่งเสริมการบริหารการเงินแบบมืออาชีพ เสริมสร้างขีดความสามารถทางการแข่งขันในตลาดการเงินและตลาดทุนโตเกียวให้เพิ่มมากขึ้น ภายใต้กฎหมายที่ปรับปรุงใหม่จะเพิ่มโอกาสให้แก่นักลงทุนสามารถบริหารสินทรัพย์ทางการเงินได้หลากหลายมากขึ้น โดยขยายขอบข่ายการลงทุนและการระดมทุนมากขึ้น ธนาคารพาณิชย์และบริษัทหลักทรัพย์จะได้รับโอกาสในการเริ่มธุรกิจชนิดใหม่ เช่นการซื้อขายตราสารทางการเงินในตลาดได้อย่างอิสระมากขึ้น
สรุปการปรับปรุงกฎหมาย Financial Instruments and Exchange Law ใหม่
- มิ.ย. 51
อนุญาตให้บริษัทจัดการทรัพย์สิน (Asset Management Companies) สามารถลงทุนในพันธบัตรของ Exchange Trade Funds และ Real Estate Investment Trusts
- ธ.ค. 51
อนุญาตให้บริษัทจัดการทรัพย์สินลงทุนใน ETFs ที่ลงทุนใน precious metals, commodity futures, Islamic finance, direct trading of emission credit by banks, insurers
Establishment of markets exclusively for professional investors
เนื่องจากปัจจุบัน ETFs สามารถลงทุนในตลาดหุ้นเท่านั้นการอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ทำธุรกิจการค้า Carbon Credit ได้โดยตรง จากเดิมที่ไม่อนุญาต แต่ให้บริษัทในเครือเช่นบริษัทหลักทรัพย์ Trust Bank ทำได้
- มิ.ย. 52
จะอนุญาตให้พนักงานสถาบันการเงินทำงานให้แก่สถาบันการเงินที่อยู่ในกลุ่มธุรกิจการเงิน (Financial Group) เดียวกันได้พร้อมๆ กัน ซึ่งเดิมไม่อนุญาต
- ธ.ค.52
ให้ตลาดหลักทรัพย์โตเกียวตั้งคณะทำงานศึกษาการจัดตั้ง Carbon Market Exchange ภายในสิ้นปี
ที่มา : Nikkei
ที่มา: สำนักงานที่ปรึกษาเศรษฐกิจและการคลัง www.fpo.go.th

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ