สรุปเศรษฐกิจญี่ปุ่นรอบสัปดาห์ระหว่าง 7 - 11 กรกฎาคม 2551

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday July 15, 2008 11:57 —กระทรวงการคลัง

สรุปเศรษฐกิจญี่ปุ่นประจำสัปดาห์ (7-11 ก.ค. 51)
1. สรุปผลการหารือเรื่องการลดปริมาณ Carbon Emission จากผลการประชุมผู้นำ G8 ในช่วงต้นสัปดาห์
1.1 ญี่ปุ่นในฐานะเจ้าภาพจัดการประชุมผู้นำ G8 ที่ผ่านมาได้เสนอให้สมาชิก G8 ร่วมรับผิดชอบ (Share) เพื่อลดปริมาณ Green House Gas Emission ลงครึ่งหนึ่ง ในระยะยาวในปี 2550 โดยสมาชิก UN Framework Convention on Climate Change ซึ่งรวม อินเดีย จีน และประเทศที่ปล่อย Green House Gas Emission รายใหญ่อื่นๆ จะหารือแนวทางในรายละเอียดเพื่อให้บรรลุข้อตกลงดังกล่าวภายหลัง
1.2 ที่ประชุมตกลงให้สมาชิก G8 ตั้งเป้าหมายระยะกลางเพื่อลด Green House Gas Emission เพื่อเตรียมการรองรับFramework ใหม่ (Post Kyoto Protocol) ซึ่งจะมีผลตั้งแต่ปี 2013 (2556) -2025 (2568)
1.3 สหรัฐฯ ในฐานะผู้ปล่อย Green House Gas Emission รายใหญ่ที่สุดของโลก ในช่วงแรกได้ให้การผูกพันที่จะเริ่มตั้งเป้าหมายการลด Green House Gas Emission ภายหลัง Post Kyoto Protocol Framework สิ้นสุดลงกล่าวคือในปี 2026 โดยได้ตอบสนองต่อข้อเสนอของญี่ปุ่นที่ต้องการตั้งเป้าการลดในระยะยาวว่าเป็นเป้าหมายที่ Desirable โดยไม่ Commit และเห็นว่าจีน และอินเดีย จะต้อง Commit ที่จะลดด้วย
2. จำนวนเงินให้กู้ทั่วโลกลดลงร้อยละ 40 แต่ของญี่ปุ่นยังเพิ่มขึ้นร้อยละ 50
จากผลการสำรวจของบริษัท Deal Logic ประเทศอังกฤษ ระหว่างเดือนมกราคมถึงเดือนมิถุนายน 2551 พบว่าปริมาณเงินให้กู้ทั่วโลกมีจำนวนเท่ากับ 1.51 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 42 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนหน้าเนื่องจากผลกระทบจากปัญหา Subprime สถาบันการเงินสหรัฐฯและยุโรปได้ออกมาตราการคุมเข้มการปล่อยเงินกู้ที่มีความเสี่ยงสูง แต่เนื่องจากสถาบันการเงินญี่ปุ่นนั้นไม่ได้รับผลกระทบจากปัญหา Subprime รุนแรงเหมือนสถาบันการเงินในสหรัฐฯ และยุโรป ทำให้ปริมาณเงินให้กู้ของประเทศญี่ปุ่นนั้นเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 56 เป็นอันดับ 2 ของโลกแต่ยังคงเป็นรองจากสหรัฐฯ รายละเอียดตามตาราง
ประเทศ จำนวนเงินให้กู้ เทียบกับช่วงเดียวกัน
ช่วง ม.ค.-มิ.ย.51 ปี 50 (ร้อยละ)
(พันล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ)
1. U.S.A 548.9 -53
2. Japan 137.5 56
3. Australia 99.8 96
4. England 90.1 -58
5. France 83.2 -25
6. Canada 79.4 -17
7. Holland 56.0 61
8. Russia 36.2 -37
9. Spain 34.5 -57
10. Germany 31.2 -80
3. สมาพันธ์ภาคธุรกิจญี่ปุ่น (Keidanren) เสนอเพิ่มอัตราภาษีบริโภคเป็นร้อยละ 10 ภายในปี 2554
สมาพันธ์ภาคธุรกิจญี่ปุ่น (Keidanren) ได้เสนอการปรับปรุงระบบภาษีโดยมีอัตราภาษีบริโภคเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 10 ภายในปี 2554 ขณะที่ให้มีการปรับลดอัตราภาษีสำหรับผู้ที่มีภาระทางด้านครอบครัวและบุตร แต่ยังไม่ได้มีการกำหนดรายละเอียดและกำหนดเวลาเริ่มในการเพิ่มอัตราภาษีบริโภค
เมื่อปี 2550 Keidanren เคยเสนอการปรับอัตราภาษีบริโภคขึ้นเป็นร้อยละ 10 ภายในปี 2558 อย่างไรก็ตาม เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดดุลงบประมาณและปัญหาการขาดสภาพคล่องของกองทุนเงินบำนาญของรัฐบาลในปี 2552 Keidanren
จึงได้เสนอให้เพิ่มภาษีบริโภคให้เร็วขึ้น และเสนอนโยบายลดภาษีพิเศษสำหรับผู้ที่มีรายได้ต่ำ ผู้ที่มีภาระครอบครัวและบุตร ที่ได้รับผลกระทบจากสภาวะเศรษฐกิจซบเซาในปัจจุบัน และจะมีการเพิ่มอัตราภาษีสำหรับผู้ที่มีรายได้สูงกว่าเพื่อสร้างความสมดุลและลดช่องว่างระหว่างผู้ที่มีรายได้สูงและต่ำ ส่วนอัตราภาษีรายได้นิติบุคคลซึ่งปัจจุบันมีอัตราร้อยละ 40 นั้นเสนอให้ลดลงให้อยู่ในระดับใกล้เคียงกับอัตรามาตรฐานสากล โดยมีจุดมุ่งหมายในการเพิ่มสภาพคล่องทางเศรษฐกิจและเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจญี่ปุ่นในตลาดโลกมากขึ้น
สำนักงานที่ปรึกษาเศรษฐกิจและการคลัง ณ กรุงโตเกียว
11 กรกฎาคม 2551
ที่มา: สำนักงานที่ปรึกษาเศรษฐกิจและการคลัง www.fpo.go.th

แท็ก ญี่ปุ่น   gas  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ