เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2551 กระทรวงการคลัง สำนักงาน ก.พ.ร. กระทรวงพาณิชย์ และธนาคารโลก ประจำประเทศไทย ได้ร่วมกันเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเพื่อรับฟังการนำเสนอผลงานวิจัยของธนาคารโลกเรื่องการจัดอันดับความยากง่ายในการประกอบธุรกิจ ประจำปี 2552 (Doing Business 2009) ณ อาคารสถาบันวิทยบริการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ธนาคารโลกได้รายงานผลการจัดอันดับความยากง่ายในการประกอบธุรกิจ ประจำปี 2552 โดยให้ประเทศไทยจัดอยู่ในกลุ่มประเทศที่สะดวกในการประกอบธุรกิจลำดับที่ 13 ดีขึ้น 6 ลำดับ โดยเลื่อนขึ้นจากลำดับที่ 19 ในการจัดอันดับฯ ประจำปี 2551 จากทั้งหมดจำนวน 181 ประเทศและเขตเศรษฐกิจต่างๆ โดยหากพิจารณาในเฉพาะภูมิภาคเอเชีย สิงคโปร์อยู่ในลำดับที่ 1 เป็นปีที่ 3 ติดต่อกัน เขตปกครองพิเศษฮ่องกงอยู่ในลำดับที่ 4 ญี่ปุ่นอยู่ในลำดับที่ 12 มาเลเซียอยู่ในลำดับที่ 20 สาธารณรัฐประชาชนจีนอยู่ในลำดับที่ 83 เวียดนามอยู่ในลำดับที่ 92 โดยภูมิภาคเอเชียตะวันออกยังจัดเป็นภูมิภาคที่มีความก้าวหน้ามากที่สุดภูมิภาคหนึ่งในการปฏิรูปกฎระเบียบละขั้นตอนของราชการเพื่อเอื้ออำนวยต่อการทำธุรกิจ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการเสริมสร้างศักยภาพในการแข่งขันให้แก่ผู้ประกอบกิจการ สำหรับประเทศที่ได้รับยกย่องให้เป็นประเทศที่มีกฎระเบียบและขั้นตอนที่เอื้อต่อการทำธุรกิจมากที่สุด 5 ประเทศแรก ได้แก่ สิงคโปร์ นิวซีแลนด์ สหรัฐอเมริกา เขตปกครองพิเศษฮ่องกง และเดนมาร์ก
สำหรับประเทศไทยได้รับการจัดอันดับดีขึ้น เนื่องจากธนาคารโลกได้พิจารณามาตรการที่ประเทศไทยดำเนินการในระหว่างเดือนกรกฎาคม 2550- มิถุนายน 2551 ซึ่งส่วนใหญ่เป็นมาตรการที่ดำเนินการโดยกระทรวงการคลัง ได้แก่ การลดค่าธรรมเนียมและเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการสามารถยื่นเอกสารชำระภาษีทางอินเตอร์เน็ตได้ (E-Revenue) การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลให้แก่วิสาหกิจชุมชนที่มีรายได้ในการดำเนินงาน 1.2 ล้านบาทหรือน้อยกว่า การแก้ไขพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์เพื่อเพิ่มพูนและปกป้องสิทธิของผู้ถือหุ้นรายย่อย (ทำให้การเอื้ออำนวยต่อการทำธุรกิจด้านการคุ้มครองผู้ลงทุนของไทย ได้รับการจัดอันดับเป็นที่ 11 ของโลก) การลดค่าโอนกรรมสิทธิ์อสังหาริมทรัพย์และลดอัตราภาษีธุรกิจบางประเภท ซึ่งทำให้ค่าใช้จ่ายในการโอนอสังหาริมทรัพย์ลดลง (ทำให้การเอื้ออำนวยต่อการทำธุรกิจด้านการจดทะเบียนทรัพย์สินของไทยได้รับการจัดอันดับเป็นที่ 5 ของโลก) ตลอดจนการผ่านพิธีการสินค้านำเข้า และส่งออกด้วย
ระบบศุลกากรอิเลคโทรนิกส์ (E-Customs) ซึ่งทำให้ช่วยลดจำนวนเอกสารที่ต้องยื่นเพื่อนำสินค้าเข้า และส่งออก (และทำให้การเอื้ออำนวยต่อการทำธุรกิจด้านการค้าระหว่างประเทศของไทยได้รับการจัดอันดับเป็นที่ 10 ของโลก)
ธนาคารโลกได้กำหนดดัชนี 10 ด้าน ในการพิจารณาการจัดอันดับฯ ประจำปี 2552 ได้แก่
การเริ่มต้นธุรกิจ การขออนุญาตก่อสร้าง การจ้างงานและเลิกจ้าง การจดทะเบียนทรัพย์สิน การได้รับสินเชื่อ การคุ้มครองผู้ลงทุน การชำระภาษี การค้าระหว่างประเทศ การบังคับให้เป็นไปตามข้อตกลง และการปิดกิจการ โดยใช้วิธีการสำรวจ/สัมภาษณ์ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ที่ดำเนินธุรกิจในเมืองหลวงเป็นหลัก และสัมภาษณ์สำนักงานกฎหมาย เครดิตบูโร และหน่วยงานภาครัฐ เพื่อเป็นข้อมูลประกอบ รวมทั้งส่งผู้แทนสังเกตการณ์ในการปฏิบัติงาน ณ จุดบริการต่างๆ เช่น กรมศุลกากร กรมสรรพากร เป็นต้น โดยมีกรอบเวลาที่เก็บข้อมูลระหว่างเดือนกรกฎาคม 2550 — มิถุนายน 2551 ทั้งนี้ จะเน้นการปฏิรูปกฎระเบียบ ขั้นตอนในการยื่นเอกสาร และจำนวนวันที่ใช้ในการติดต่อราชการเท่านั้น โดยเน้นความพึงพอใจของผู้ใช้บริการเป็นหลัก
สำหรับการประชุมครั้งนี้ เป็นการประชุมผ่านระบบ Teleconference ระหว่างผู้แทนธนาคารโลกและ International Finance Corporation : IFC กรุงวอชิงตัน ดีซี ร่วมกับผู้แทนประเทศจีน อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม และไทย โดยผู้แทนธนาคารโลกและ IFC รายงานผลงานวิจัยการจัดอันดับฯ และได้เปิดโอกาสให้ผู้แทนแต่ละประเทศซักถามข้อสงสัยในงานวิจัยที่นำเสนอ ซึ่งการจัดทำงานวิจัยของธนาคารโลกนี้ เป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อทั้งนักลงทุน/ผู้ประกอบกิจการในประเทศ นักลงทุนต่างชาติที่เข้ามาลงทุนในประเทศ และนักลงทุนของไทยที่สนใจประกอบธุรกิจในต่างประเทศ ซึ่งสามารถใช้ข้อมูลการจัดอันดับฯ ของธนาคารโลกประกอบการพิจารณาลงทุน
นอกจากนี้ ธนาคารโลกเห็นว่า ประเด็นปัญหาสถานการณ์การเมืองในปัจจุบัน ไม่ได้ส่งผลต่อการพิจารณาการจัดอันดับฯ เนื่องจาก เป็นสถานการณ์ชั่วคราว จึงไม่น่ามีผลกระทบ แต่การปรับปรุงกฎระเบียบต่างๆ การลดขั้นตอนการยื่นเอกสาร และลดจำนวนวันในการติดต่อราชการของไทยถือเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญที่นักลงทุนจะใช้พิจารณาประกอบการตัดสินใจในการเข้ามาลงทุนในประเทศมากกว่า
สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง สำนักนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
โทร. 0-2273-9020 ต่อ 3620 โทรสาร. 0-2273-9059
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 69/2551 15 กันยายน 51--
ธนาคารโลกได้รายงานผลการจัดอันดับความยากง่ายในการประกอบธุรกิจ ประจำปี 2552 โดยให้ประเทศไทยจัดอยู่ในกลุ่มประเทศที่สะดวกในการประกอบธุรกิจลำดับที่ 13 ดีขึ้น 6 ลำดับ โดยเลื่อนขึ้นจากลำดับที่ 19 ในการจัดอันดับฯ ประจำปี 2551 จากทั้งหมดจำนวน 181 ประเทศและเขตเศรษฐกิจต่างๆ โดยหากพิจารณาในเฉพาะภูมิภาคเอเชีย สิงคโปร์อยู่ในลำดับที่ 1 เป็นปีที่ 3 ติดต่อกัน เขตปกครองพิเศษฮ่องกงอยู่ในลำดับที่ 4 ญี่ปุ่นอยู่ในลำดับที่ 12 มาเลเซียอยู่ในลำดับที่ 20 สาธารณรัฐประชาชนจีนอยู่ในลำดับที่ 83 เวียดนามอยู่ในลำดับที่ 92 โดยภูมิภาคเอเชียตะวันออกยังจัดเป็นภูมิภาคที่มีความก้าวหน้ามากที่สุดภูมิภาคหนึ่งในการปฏิรูปกฎระเบียบละขั้นตอนของราชการเพื่อเอื้ออำนวยต่อการทำธุรกิจ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการเสริมสร้างศักยภาพในการแข่งขันให้แก่ผู้ประกอบกิจการ สำหรับประเทศที่ได้รับยกย่องให้เป็นประเทศที่มีกฎระเบียบและขั้นตอนที่เอื้อต่อการทำธุรกิจมากที่สุด 5 ประเทศแรก ได้แก่ สิงคโปร์ นิวซีแลนด์ สหรัฐอเมริกา เขตปกครองพิเศษฮ่องกง และเดนมาร์ก
สำหรับประเทศไทยได้รับการจัดอันดับดีขึ้น เนื่องจากธนาคารโลกได้พิจารณามาตรการที่ประเทศไทยดำเนินการในระหว่างเดือนกรกฎาคม 2550- มิถุนายน 2551 ซึ่งส่วนใหญ่เป็นมาตรการที่ดำเนินการโดยกระทรวงการคลัง ได้แก่ การลดค่าธรรมเนียมและเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการสามารถยื่นเอกสารชำระภาษีทางอินเตอร์เน็ตได้ (E-Revenue) การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลให้แก่วิสาหกิจชุมชนที่มีรายได้ในการดำเนินงาน 1.2 ล้านบาทหรือน้อยกว่า การแก้ไขพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์เพื่อเพิ่มพูนและปกป้องสิทธิของผู้ถือหุ้นรายย่อย (ทำให้การเอื้ออำนวยต่อการทำธุรกิจด้านการคุ้มครองผู้ลงทุนของไทย ได้รับการจัดอันดับเป็นที่ 11 ของโลก) การลดค่าโอนกรรมสิทธิ์อสังหาริมทรัพย์และลดอัตราภาษีธุรกิจบางประเภท ซึ่งทำให้ค่าใช้จ่ายในการโอนอสังหาริมทรัพย์ลดลง (ทำให้การเอื้ออำนวยต่อการทำธุรกิจด้านการจดทะเบียนทรัพย์สินของไทยได้รับการจัดอันดับเป็นที่ 5 ของโลก) ตลอดจนการผ่านพิธีการสินค้านำเข้า และส่งออกด้วย
ระบบศุลกากรอิเลคโทรนิกส์ (E-Customs) ซึ่งทำให้ช่วยลดจำนวนเอกสารที่ต้องยื่นเพื่อนำสินค้าเข้า และส่งออก (และทำให้การเอื้ออำนวยต่อการทำธุรกิจด้านการค้าระหว่างประเทศของไทยได้รับการจัดอันดับเป็นที่ 10 ของโลก)
ธนาคารโลกได้กำหนดดัชนี 10 ด้าน ในการพิจารณาการจัดอันดับฯ ประจำปี 2552 ได้แก่
การเริ่มต้นธุรกิจ การขออนุญาตก่อสร้าง การจ้างงานและเลิกจ้าง การจดทะเบียนทรัพย์สิน การได้รับสินเชื่อ การคุ้มครองผู้ลงทุน การชำระภาษี การค้าระหว่างประเทศ การบังคับให้เป็นไปตามข้อตกลง และการปิดกิจการ โดยใช้วิธีการสำรวจ/สัมภาษณ์ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ที่ดำเนินธุรกิจในเมืองหลวงเป็นหลัก และสัมภาษณ์สำนักงานกฎหมาย เครดิตบูโร และหน่วยงานภาครัฐ เพื่อเป็นข้อมูลประกอบ รวมทั้งส่งผู้แทนสังเกตการณ์ในการปฏิบัติงาน ณ จุดบริการต่างๆ เช่น กรมศุลกากร กรมสรรพากร เป็นต้น โดยมีกรอบเวลาที่เก็บข้อมูลระหว่างเดือนกรกฎาคม 2550 — มิถุนายน 2551 ทั้งนี้ จะเน้นการปฏิรูปกฎระเบียบ ขั้นตอนในการยื่นเอกสาร และจำนวนวันที่ใช้ในการติดต่อราชการเท่านั้น โดยเน้นความพึงพอใจของผู้ใช้บริการเป็นหลัก
สำหรับการประชุมครั้งนี้ เป็นการประชุมผ่านระบบ Teleconference ระหว่างผู้แทนธนาคารโลกและ International Finance Corporation : IFC กรุงวอชิงตัน ดีซี ร่วมกับผู้แทนประเทศจีน อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม และไทย โดยผู้แทนธนาคารโลกและ IFC รายงานผลงานวิจัยการจัดอันดับฯ และได้เปิดโอกาสให้ผู้แทนแต่ละประเทศซักถามข้อสงสัยในงานวิจัยที่นำเสนอ ซึ่งการจัดทำงานวิจัยของธนาคารโลกนี้ เป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อทั้งนักลงทุน/ผู้ประกอบกิจการในประเทศ นักลงทุนต่างชาติที่เข้ามาลงทุนในประเทศ และนักลงทุนของไทยที่สนใจประกอบธุรกิจในต่างประเทศ ซึ่งสามารถใช้ข้อมูลการจัดอันดับฯ ของธนาคารโลกประกอบการพิจารณาลงทุน
นอกจากนี้ ธนาคารโลกเห็นว่า ประเด็นปัญหาสถานการณ์การเมืองในปัจจุบัน ไม่ได้ส่งผลต่อการพิจารณาการจัดอันดับฯ เนื่องจาก เป็นสถานการณ์ชั่วคราว จึงไม่น่ามีผลกระทบ แต่การปรับปรุงกฎระเบียบต่างๆ การลดขั้นตอนการยื่นเอกสาร และลดจำนวนวันในการติดต่อราชการของไทยถือเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญที่นักลงทุนจะใช้พิจารณาประกอบการตัดสินใจในการเข้ามาลงทุนในประเทศมากกว่า
สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง สำนักนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
โทร. 0-2273-9020 ต่อ 3620 โทรสาร. 0-2273-9059
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 69/2551 15 กันยายน 51--