วิกฤติการเงินสหรัฐฯ กดดันให้ธนาคาร HBOS ต้องถูกซื้อกิจการโดยย Lloyds TSB
เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2008 Lloyds TSB ธนาคารใหญญ่อันดับ 5 ของอังกฤษประกาศซื้อกิจการ (acquisition) ธนาคาร Halifax Bank of Scotland (HBOS) ธนาคารใหญญ่อันดับ 4 เป็นวงเงิน 12.2 พันล้านปอนด์ ในราคาหุ้นละ 2322 เพนซ์ โดย Lloyds TSB จะชำระค่าซื้อกิจการด้ววยการแลกหุ้นของ Lloyds TSB ให้กับผู้ถือหุ้นของ HBOS ในอัตรา 1 หุ้นของ HBOS ต่อ 0.83 หุ้นของ Lloyds TSB ซึ่งจะส่งผลให้ผู้ถือหุ้นเดิมใน Lloyds TSB ถืออหุ้นร้อยละ 56 ขณะที่หุ้นอีกร้อยละ 44 จะเป็นผู้ถือหุ้นที่มาจากผู้ถือหุ้นเดิมของ HBOS
สาเหตุทีที่ HBOS ถูกกดดันจนต้องขายกิจการ
วิกฤติการในสหรัฐฯ นับตั้งแต่กรณีการเข้าควบคุมกิจกการ Fannie Mae และ Freddie Mac ซึ่งเป็นสถาบันสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยขนาดใหญ่ของสหรัฐฯ โดยทางการของสหรัฐฯ เมื่อช่วงต้นเดือนกันยายน การประสบปัญหาฐานะการดำเนินงานของ Lehman Brothers วาณิชธนกิจชั้นนำของสหรัฐฯ ซึ่งไม่สามารถถหาผู้ร่วมทุนรายใหม่ได้จนต้องยื่นเข้ากระบวนการล้มละลาย การขายกิจการของ Merrill Lynch วาณิชธนกิจชั้นนำอีกแห่งหนึ่งอย่างกระทันหันให้กับ Bank of America รวมถึงล่าสุดการเข้าพยุงกิจารของกลุ่ม AIG ซึ่งเป็นบริษัทประกันขนาดใหญ่ที่สุดของโลกโดยธนาคารกลางสหรัฐฯ เปิดวงเงินสินเชื่อให้เป็นจำนวน 85 พันล้านดอลลาร์ สรอ.เป็นต้น จนกระทั่งธนาคารกลางสหรัฐฯ ธนาคารกลางสหภาพยุโรป และ Bank of England ต้องเข้ามาแทรกแซงด้วยการอัดฉีดสภาพคล่องเข้าระบบเพื่อคลายความตึงตัวของสภาพคล่องในระบบสถาบันการเงิน ล้วนเป็นผลมาจากวิกฤติในตลาดการเงินที่บรรดาสถาบันการเงินต่างหลีกเลี่ยงที่จะให้สินเชื่อระหว่างกันเนื่องจากขาดความเชื่อมั่นในสถานะของสถาบันการเงินด้วยกัน สภาพดังกล่าวส่งผลให้สถาบันการเงินที่จำเป็นต้องพึ่งพาเงินกู้ยืมจากตลาดการเงินเป็นหลักมีความเสี่ยงที่จะได้รับผลกระทบมากที่สุด ธนาคาร HBOS ก็อยู่ในข่ายได้รับผลกระทบค่อนข้างมากจากการที่ตลาดเงินกู้ยืม (wholesale funding) แทบจะปิดตายเนื่องจาก HBOS มีโครงสร้างทางด้านเงินทุนเป็นเงินฝากจากประชาชนเพียงร้อยละ 55 ขณะที่อีก ร้อยละ 45 มาจากการกู้ยืมจากตลาด ขณะที่ทางด้านสินทรัพย์ก็เป็นการให้สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยโดย HBOS ถือเป็นผู้ให้สินเชื่อที่อยู่อาศัย (mortgage lender) ที่ใหญ่ที่สุดของประเทศในนาม Halifax
สภาพการณ์ดังกล่าวมีความคล้ายคลึงกับกรณีธนาคาร Northern Rock ที่ทางการได้โอนกิจการเข้าเป็นของรัฐ(nationalised) ไปแล้วก่อนหน้านี้ กล่าวคือ มีโครงสร้างทางการเงินที่ต้องพึ่งพาเงินกู้ยืมจากตลาดในสัดส่วนที่สูงเพื่อนำมาปล่อยสินเชื่อซึ่งส่วนใหญ่เป็นสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยซึ่งขณะนี้นีราคาที่อยู่อาศัยอยู่ในช่วงขาลง โดยนักลงทุนเองก็เล็งเห็นถึงจุดอ่อนดังกล่าวสะท้อนจากค่าประกันความเสี่ยงหนี้ (credit default swaps) ของ HBOS ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นขณะที่ราคาหุ้นของ HBOS ตกลงแรง ขณะที่ Financial Services Authority (FSA) ในฐานะหน่วยงานกำกับสถาบันการเงินก็มีความกังวลถึงสถานะของ HBOS ในท่ามกลางภาวะตลาดเงินตึงตัวทำให้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืมระหว่างธนาคารปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น จึงพยายามติดต่อสถาบันการเงินแห่งอื่นเพื่อหาทางแก้ไขสถานการณ์ของ HBOS เพื่อป้องกันประวัติศาสตร์ซ้ำรอยกับกรณีประชาชนแห่งไปถอนเงินจากธนาคาร Northern Rock เมื่อปีที่แล้ว มีเพียงธนาคาร Lloyds TSB ที่สนใจซื้อกิจการ HBOS โดยไม่มีเงื่อนไขให้ทางการต้องสนับสนุนด้วยการค้ำประกันแต่อย่างใด ซึ่ง FSA แสดงความยินดีต่อการรวมกิจการโดยเห็นว่าจะเป็นการช่วยเสริมสร้างเสถียรภาพให้กับตลาดการเงินและช่วยฟื้นความเชื่อมั่นให้กับลูกค้าและนักลงทุนที่มีต่อระบบการเงินของประเทศ
สถานะขของ Lloyds TSB ภายหลังการซื้อกิจการ
การซื้อกิจการ HBOS เข้ามาจจะทำให้ Lloyds TSB กลายเป็นธนาคารขนาดใหญ่ 3 ในแง่ของสินทรัพย์โดยจะมีขนาดของสินทรัพย์ประมาณ 1,048 พันล้านปอนด์ รองจาก HSBC และ Barclays โดยคาดว่าจะมีการเลิกจ้างพนักงานประมาณ 40,000 คนจากจำนวนพนักงานทั้งสิ้นที่มีอยู่ภายหลังการรวมกิจการจำนวน 145,000 คน มีสาขารวม 3,000 สาขา และจะทำให้มีฐานลูกค้ารวม 23 ล้านคน มีฐานะเป็นสถาบันการเงินที่ให้สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยรายใหญ่ที่สุดโดยมีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 28
ที่มา : Macroeconomic Analysis Group : Fiscal Policy Office
Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th