นางพรรณี สถาวโรดม ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ได้แถลงข่าวรายงานภาวะเศรษฐกิจการคลังประจำเดือนสิงหาคม 2551 ว่า เศรษฐกิจไทยมีการขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงจากจากการชะลอตัวของการใช้จ่ายภายในประเทศและการใช้จ่ายจากต่างประเทศ ในขณะที่เสถียรภาพเศรษฐกิจปรับตัวดีขึ้น อันเนื่องมาจากอัตราเงินเฟ้อที่ปรับตัวลดลงจากราคาน้ำมันที่ลดลงและผลของ 6 มาตรการ 6 เดือน ฝ่าวิกฤตเพื่อคนไทยทุกคน โดยมีรายละเอียดสรุปได้ดังนี้
1. การบริโภคภาคเอกชนในเดือนสิงหาคม 2551 ขยายตัวได้ต่อเนื่อง แต่เริ่มมีแนวโน้มขยายตัวชะลอลง โดยเครื่องชี้การบริโภคจากภาษีมูลค่าเพิ่ม (ณ ราคาคงที่) ขยายตัวชะลอลงมาอยู่ที่ร้อยละ 9.5 ต่อปี ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 23.3 ต่อปี ในขณะที่ปริมาณการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคขยายตัวลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 14.8 ต่อปี ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 40.7 ต่อปี สำหรับเครื่องชี้การบริโภคสินค้าคงทนจากยอดจำหน่ายรถจักรยานยนต์ขยายตัวที่ร้อยละ 4.6 ต่อปี หลังจากที่ขยายตัวในระดับสูงในเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 16.3 ต่อปี สะท้อนการใช้จ่ายของประชาชนในเขตภูมิภาคที่ชะลอลง เช่นเดียวกันกับปริมาณจำหน่ายรถยนต์นั่งที่ขยายตัวชะลอตัวที่ร้อยละ 20.3 ต่อปีในเดือนสิงหาคมจากที่ขยายตัวร้อยละ 27.5 ต่อปี ในเดือนก่อน สำหรับเครื่องชี้แนวโน้มการบริโภคในอนาคตอันได้แก่ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคต่อภาวะเศรษฐกิจโดยรวมในเดือนสิงหาคมปรับตัวลดลงอยู่ที่ระดับ 70.5 จุด จากระดับ 71.8 จุดในเดือนก่อนหน้า โดยมีปัจจัยจากความวุ่นวายทางการเมืองที่เกิดขึ้นในช่วงปลายเดือนสิงหาคม 2551 กระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภค
2. การลงทุนภาคเอกชนในเดือนสิงหาคม 2551 ปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนหน้าอย่างชัดเจน โดยเครื่องชี้การลงทุนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักรจากปริมาณการนำเข้าสินค้าทุนชะลอตัวลงมากขยายตัวเพียงร้อยละ 1.8 ต่อปี จากที่ขยายตัวร้อยละ 28.4 ต่อปี ในเดือนก่อนหน้า ในขณะที่เครื่องชี้การลงทุนจากปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ในเดือนสิงหาคมหดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 ติดต่อกันที่ร้อยละ -25.7 ต่อปี โดยเป็นการหดตัวของรถบรรทุกและรถปิคอัพเป็นหลัก สำหรับเครื่องชี้การลงทุนภาคเอกชนด้านการก่อสร้างมีการขยายตัวลดลงเช่นกัน โดยภาษีธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ขยายตัวร้อยละ 7.8 ต่อปีในเดือนสิงหาคม 2551 หลังจากที่ขยายตัวในระดับสูงต่อเนื่องในช่วง 4 เดือนที่ผ่านมา (เดือนเมษายน — กรกฎาคม 2551) อันเป็นผลจากมาตรการลดหย่อนภาษีอสังหาริมทรัพย์เพื่อสนับสนุนธุรกรรมในภาคอสังหาริมทรัพย์
3. เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจด้านการคลังในเดือนสิงหาคม 2551 พบว่ารายได้จัดเก็บของรัฐบาลสุทธิอยู่ที่ 181.4 พันล้านบาท โดยรายได้ภาษีจาก 3 กรมจัดเก็บภาษีเท่ากับ 181.0 พันล้านบาท หดตัวร้อยละ -14.9 ต่อปี เนื่องจากภาษีฐานรายได้หดตัวร้อยละ -21.8 ต่อปี ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 8.6 ต่อปี จากผลของวันยื่นชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลรอบครึ่งปีบัญชีตกอยู่ในวันที่ 1 กันยายน 2551 ขณะที่ภาษีฐานการบริโภค (ภาษีมูลค่าเพิ่ม) ขยายตัวร้อยละ 13.7 ต่อปี ชะลอตัวจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 33.3 ต่อปี เนื่องจากภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บจากมูลค่าการนำเข้าที่ขยายตัวชะลอลงจากเดือนก่อนหน้า และระดับราคาที่ปรับตัวลดลงในเดือนสิงหาคม สำหรับรายจ่ายงบประมาณในเดือนสิงหาคม 2551 สามารถเบิกจ่ายได้รวมทั้งสิ้น 124.6 พันล้านบาท ขยายตัวในระดับต่ำที่ร้อยละ 1.5 ต่อปี โดยรายจ่ายประจำสามารถเบิกจ่ายได้จำนวน 107.8 พันล้านบาท ขยายตัวที่ร้อยละ 6.4 ต่อปี ในขณะที่รายจ่ายลงทุนสามารถเบิกจ่ายได้จำนวน 12.6 พันล้านบาท หดตัวที่ร้อยละ -27.0 ต่อปี เนื่องจากได้มีการเร่งเบิกจ่ายรายจ่ายลงทุนให้แก่ส่วนราชการ และโอนให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ในระดับสูงไปแล้วในช่วงที่ผ่านมา ทั้งนี้ รายจ่ายงบประมาณประจำปีงบประมาณ 2551 ในช่วง 11 เดือนแรก (ตุลาคม 2550 — สิงหาคม 2551) ขยายตัวร้อยละ 4.7ต่อปี โดยสามารถเบิกจ่ายไปได้แล้ว 1,389.0 พันล้านบาท และคิดเป็นร้อยละ 83.7 ของกรอบวงเงินงบประมาณประจำปีงบประมาณ 2551 (1,660 พันล้านบาท)
4. มูลค่าการส่งออกในเดือนสิงหาคม 2551 เท่ากับ 15.9 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐ ขยายตัวที่ร้อยละ 14.9 ต่อปี ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าขยายตัวในระดับสูงร้อยละ 43.9 ต่อปี โดยเป็นการขยายตัวของราคาสินค้าส่งออกที่ขยายตัวร้อยละ 15.6 ต่อปี ในขณะที่ปริมาณการส่งออกหดตัวที่ร้อยละ -0.6 ต่อปี ซึ่งปริมาณการส่งออกที่หดตัวมาจากสินค้าเครื่องอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้าเป็นหลัก ในขณะที่สินค้าส่งออกประเภทยานยนต์และอุตสาหกรรมการเกษตรยังขยายตัวได้ดี สำหรับการนำเข้าในเดือนสิงหาคม 2551 เท่ากับ 16.7 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐ ขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 26.9 ต่อปี แต่ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 55.1 ต่อปี โดยเป็นการขยายตัวด้านราคาสินค้านำเข้าที่ร้อยละ 16.6 ต่อปี ในขณะที่ปริมาณสินค้านำเข้าชะลอตัวลงที่ร้อยละ 8.8 ต่อปี ซึ่งการนำเข้าที่ชะลอตัวมาจากสินค้านำเข้าประเภทสินค้าทุนและเครื่องจักรเป็นหลัก ทั้งนี้ มูลค่าการนำเข้าที่สูงกว่ามูลค่าการส่งออกนั้น ทำให้ดุลการค้าในเดือนสิงหาคมขาดดุลที่ -0.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
5. สำหรับเครื่องชี้ในด้านอุปทานในเดือนสิงหาคม 2551 พบว่า ผลผลิตภาคการเกษตรยังขยายตัวได้ดี ในขณะที่ภาคอุตสาหกรรมขยายตัวชะลอลงจากเดือนก่อนหน้า โดยเครื่องชี้ภาคการเกษตรยังคงขยายตัวได้ดี โดยดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรเดือนสิงหาคมยังคงขยายตัวในระดับสูงที่ร้อยละ 10.9 ต่อปี จากการเพิ่มขึ้นของผลผลิตสินค้าเกษตรสำคัญเช่น ข้าวนาปี ข้าวนาปรัง มันสำปะหลัง ในขณะที่ผลผลิตยางพาราและปาล์มน้ำมันปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนหน้า สำหรับเครื่องชี้เศรษฐกิจภาคอุตสาหกรรมพบว่า ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (เบื้องต้น) ในเดือนสิงหาคมขยายตัวที่ร้อยละ 4.5 ต่อปี ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 10.2 ต่อปี โดยอุตสาหกรรมสำคัญที่มีการชะลอตัวลง ได้แก่ อุตสาหกรรมยานยนต์ และอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ เป็นต้น
6. เสถียรภาพเศรษฐกิจยังอยู่ในเกณฑ์ดี โดยในด้านเสถียรภาพภายนอกนั้น ทุนสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนสิงหาคม 2551 อยู่ที่ 101.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งอยู่ในระดับสูงกว่าหนี้ต่างประเทศระยะสั้นกว่า 3.9 เท่า ในขณะที่เสถียรภาพภายในประเทศปรับตัวดีขึ้นจากความเสี่ยงจากอัตราเงินเฟ้อที่ลดลง โดยอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนสิงหาคม อยู่ที่ร้อยละ 6.4 ต่อปี ปรับตัวลดลงจากร้อยละ 9.2 ต่อปี ในเดือนก่อนหน้าเนื่องจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวลดลง และผลของ 6 มาตรการ 6 เดือน ฝ่าวิกฤตเพื่อคนไทยทุกคนที่เริ่มดำเนินการตั้งแต่ช่วงปลายเดือนกรกฎาคม นอกจากนี้ อัตราการว่างงานในเดือนกรกฎาคม 2551 อยู่ในระดับต่ำที่ร้อยละ 1.3 ของกำลังแรงงานรวม สำหรับสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ณ เดือนกรกฎาคม 2551 อยู่ที่ร้อยละ 35.4 ซึ่งยังคงต่ำกว่ากรอบความยั่งยืนทางการคลังที่ตั้งไว้ไม่เกินร้อยละ 50.0 ค่อนข้างมาก
--ข่าวสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ฉบับที่ 25/2551 25 กันยายน 2551--
1. การบริโภคภาคเอกชนในเดือนสิงหาคม 2551 ขยายตัวได้ต่อเนื่อง แต่เริ่มมีแนวโน้มขยายตัวชะลอลง โดยเครื่องชี้การบริโภคจากภาษีมูลค่าเพิ่ม (ณ ราคาคงที่) ขยายตัวชะลอลงมาอยู่ที่ร้อยละ 9.5 ต่อปี ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 23.3 ต่อปี ในขณะที่ปริมาณการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคขยายตัวลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 14.8 ต่อปี ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 40.7 ต่อปี สำหรับเครื่องชี้การบริโภคสินค้าคงทนจากยอดจำหน่ายรถจักรยานยนต์ขยายตัวที่ร้อยละ 4.6 ต่อปี หลังจากที่ขยายตัวในระดับสูงในเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 16.3 ต่อปี สะท้อนการใช้จ่ายของประชาชนในเขตภูมิภาคที่ชะลอลง เช่นเดียวกันกับปริมาณจำหน่ายรถยนต์นั่งที่ขยายตัวชะลอตัวที่ร้อยละ 20.3 ต่อปีในเดือนสิงหาคมจากที่ขยายตัวร้อยละ 27.5 ต่อปี ในเดือนก่อน สำหรับเครื่องชี้แนวโน้มการบริโภคในอนาคตอันได้แก่ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคต่อภาวะเศรษฐกิจโดยรวมในเดือนสิงหาคมปรับตัวลดลงอยู่ที่ระดับ 70.5 จุด จากระดับ 71.8 จุดในเดือนก่อนหน้า โดยมีปัจจัยจากความวุ่นวายทางการเมืองที่เกิดขึ้นในช่วงปลายเดือนสิงหาคม 2551 กระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภค
2. การลงทุนภาคเอกชนในเดือนสิงหาคม 2551 ปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนหน้าอย่างชัดเจน โดยเครื่องชี้การลงทุนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักรจากปริมาณการนำเข้าสินค้าทุนชะลอตัวลงมากขยายตัวเพียงร้อยละ 1.8 ต่อปี จากที่ขยายตัวร้อยละ 28.4 ต่อปี ในเดือนก่อนหน้า ในขณะที่เครื่องชี้การลงทุนจากปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ในเดือนสิงหาคมหดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 ติดต่อกันที่ร้อยละ -25.7 ต่อปี โดยเป็นการหดตัวของรถบรรทุกและรถปิคอัพเป็นหลัก สำหรับเครื่องชี้การลงทุนภาคเอกชนด้านการก่อสร้างมีการขยายตัวลดลงเช่นกัน โดยภาษีธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ขยายตัวร้อยละ 7.8 ต่อปีในเดือนสิงหาคม 2551 หลังจากที่ขยายตัวในระดับสูงต่อเนื่องในช่วง 4 เดือนที่ผ่านมา (เดือนเมษายน — กรกฎาคม 2551) อันเป็นผลจากมาตรการลดหย่อนภาษีอสังหาริมทรัพย์เพื่อสนับสนุนธุรกรรมในภาคอสังหาริมทรัพย์
3. เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจด้านการคลังในเดือนสิงหาคม 2551 พบว่ารายได้จัดเก็บของรัฐบาลสุทธิอยู่ที่ 181.4 พันล้านบาท โดยรายได้ภาษีจาก 3 กรมจัดเก็บภาษีเท่ากับ 181.0 พันล้านบาท หดตัวร้อยละ -14.9 ต่อปี เนื่องจากภาษีฐานรายได้หดตัวร้อยละ -21.8 ต่อปี ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 8.6 ต่อปี จากผลของวันยื่นชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลรอบครึ่งปีบัญชีตกอยู่ในวันที่ 1 กันยายน 2551 ขณะที่ภาษีฐานการบริโภค (ภาษีมูลค่าเพิ่ม) ขยายตัวร้อยละ 13.7 ต่อปี ชะลอตัวจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 33.3 ต่อปี เนื่องจากภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บจากมูลค่าการนำเข้าที่ขยายตัวชะลอลงจากเดือนก่อนหน้า และระดับราคาที่ปรับตัวลดลงในเดือนสิงหาคม สำหรับรายจ่ายงบประมาณในเดือนสิงหาคม 2551 สามารถเบิกจ่ายได้รวมทั้งสิ้น 124.6 พันล้านบาท ขยายตัวในระดับต่ำที่ร้อยละ 1.5 ต่อปี โดยรายจ่ายประจำสามารถเบิกจ่ายได้จำนวน 107.8 พันล้านบาท ขยายตัวที่ร้อยละ 6.4 ต่อปี ในขณะที่รายจ่ายลงทุนสามารถเบิกจ่ายได้จำนวน 12.6 พันล้านบาท หดตัวที่ร้อยละ -27.0 ต่อปี เนื่องจากได้มีการเร่งเบิกจ่ายรายจ่ายลงทุนให้แก่ส่วนราชการ และโอนให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ในระดับสูงไปแล้วในช่วงที่ผ่านมา ทั้งนี้ รายจ่ายงบประมาณประจำปีงบประมาณ 2551 ในช่วง 11 เดือนแรก (ตุลาคม 2550 — สิงหาคม 2551) ขยายตัวร้อยละ 4.7ต่อปี โดยสามารถเบิกจ่ายไปได้แล้ว 1,389.0 พันล้านบาท และคิดเป็นร้อยละ 83.7 ของกรอบวงเงินงบประมาณประจำปีงบประมาณ 2551 (1,660 พันล้านบาท)
4. มูลค่าการส่งออกในเดือนสิงหาคม 2551 เท่ากับ 15.9 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐ ขยายตัวที่ร้อยละ 14.9 ต่อปี ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าขยายตัวในระดับสูงร้อยละ 43.9 ต่อปี โดยเป็นการขยายตัวของราคาสินค้าส่งออกที่ขยายตัวร้อยละ 15.6 ต่อปี ในขณะที่ปริมาณการส่งออกหดตัวที่ร้อยละ -0.6 ต่อปี ซึ่งปริมาณการส่งออกที่หดตัวมาจากสินค้าเครื่องอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้าเป็นหลัก ในขณะที่สินค้าส่งออกประเภทยานยนต์และอุตสาหกรรมการเกษตรยังขยายตัวได้ดี สำหรับการนำเข้าในเดือนสิงหาคม 2551 เท่ากับ 16.7 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐ ขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 26.9 ต่อปี แต่ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 55.1 ต่อปี โดยเป็นการขยายตัวด้านราคาสินค้านำเข้าที่ร้อยละ 16.6 ต่อปี ในขณะที่ปริมาณสินค้านำเข้าชะลอตัวลงที่ร้อยละ 8.8 ต่อปี ซึ่งการนำเข้าที่ชะลอตัวมาจากสินค้านำเข้าประเภทสินค้าทุนและเครื่องจักรเป็นหลัก ทั้งนี้ มูลค่าการนำเข้าที่สูงกว่ามูลค่าการส่งออกนั้น ทำให้ดุลการค้าในเดือนสิงหาคมขาดดุลที่ -0.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
5. สำหรับเครื่องชี้ในด้านอุปทานในเดือนสิงหาคม 2551 พบว่า ผลผลิตภาคการเกษตรยังขยายตัวได้ดี ในขณะที่ภาคอุตสาหกรรมขยายตัวชะลอลงจากเดือนก่อนหน้า โดยเครื่องชี้ภาคการเกษตรยังคงขยายตัวได้ดี โดยดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรเดือนสิงหาคมยังคงขยายตัวในระดับสูงที่ร้อยละ 10.9 ต่อปี จากการเพิ่มขึ้นของผลผลิตสินค้าเกษตรสำคัญเช่น ข้าวนาปี ข้าวนาปรัง มันสำปะหลัง ในขณะที่ผลผลิตยางพาราและปาล์มน้ำมันปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนหน้า สำหรับเครื่องชี้เศรษฐกิจภาคอุตสาหกรรมพบว่า ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (เบื้องต้น) ในเดือนสิงหาคมขยายตัวที่ร้อยละ 4.5 ต่อปี ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 10.2 ต่อปี โดยอุตสาหกรรมสำคัญที่มีการชะลอตัวลง ได้แก่ อุตสาหกรรมยานยนต์ และอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ เป็นต้น
6. เสถียรภาพเศรษฐกิจยังอยู่ในเกณฑ์ดี โดยในด้านเสถียรภาพภายนอกนั้น ทุนสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนสิงหาคม 2551 อยู่ที่ 101.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งอยู่ในระดับสูงกว่าหนี้ต่างประเทศระยะสั้นกว่า 3.9 เท่า ในขณะที่เสถียรภาพภายในประเทศปรับตัวดีขึ้นจากความเสี่ยงจากอัตราเงินเฟ้อที่ลดลง โดยอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนสิงหาคม อยู่ที่ร้อยละ 6.4 ต่อปี ปรับตัวลดลงจากร้อยละ 9.2 ต่อปี ในเดือนก่อนหน้าเนื่องจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวลดลง และผลของ 6 มาตรการ 6 เดือน ฝ่าวิกฤตเพื่อคนไทยทุกคนที่เริ่มดำเนินการตั้งแต่ช่วงปลายเดือนกรกฎาคม นอกจากนี้ อัตราการว่างงานในเดือนกรกฎาคม 2551 อยู่ในระดับต่ำที่ร้อยละ 1.3 ของกำลังแรงงานรวม สำหรับสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ณ เดือนกรกฎาคม 2551 อยู่ที่ร้อยละ 35.4 ซึ่งยังคงต่ำกว่ากรอบความยั่งยืนทางการคลังที่ตั้งไว้ไม่เกินร้อยละ 50.0 ค่อนข้างมาก
--ข่าวสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ฉบับที่ 25/2551 25 กันยายน 2551--