สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) คาดว่า เศรษฐกิจไทยในปี 2551 จะขยายตัวดีขึ้นกว่าปีก่อน
ที่ขยายตัวร้อยละ 4.8 ต่อปี มาอยู่ที่ร้อยละ 5.1 ต่อปี แต่ลดลงจากการประมาณการครั้งก่อนในเดือนมิถุนายน 2551
ที่ร้อยละ 5.6 ต่อปี เนื่องจากการใช้จ่ายภายในประเทศฟื้นตัวช้ากว่าที่คาดการณ์ไว้เดิม ในขณะที่การส่งออก ซึ่งแม้ว่า
จะยังขยายตัวในระดับสูงและช่วยประคับประคองเศรษฐกิจไทยโดยรวมให้ขยายตัวได้ดีกว่าปีก่อน แต่ก็มีแนวโน้มขยายตัว
ในอัตราที่ลดลงกว่าที่คาดการณ์เดิมตามความเสี่ยงของการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกที่เพิ่มขึ้น ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจ
ในประเทศมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นจากที่คาดการณ์เดิม จากอัตราเงินเฟ้อในปี 2551 ที่คาดว่าจะลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 6.3
ต่อปี จากเดิมที่คาดการณ์ไว้ที่ร้อยละ 7.2 ต่อปีส่วนเสถียรภาพเศรษฐกิจนอกประเทศยังอยู่ในเกณฑ์ดีจากดุลบัญชีเดินสะพัด
ในปี 2551 ที่คาดว่ายังคงเกินดุลที่ร้อยละ 0.4 ของ GDP สำหรับเศรษฐกิจไทยในปี 2552 คาดว่าจะขยายตัวที่ร้อยละ
4.0 -5.0 ต่อปี โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการใช้จ่ายในประเทศที่น่าจะปรับตัวดีขึ้นจากฐานที่ต่ำในปีนี้ แต่การส่งออก
ในปีหน้าคาดว่าจะขยายตัวลดลงตามการชะลอตัวต่อเนื่องของเศรษฐกิจโลก ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2552 คาด
ว่าจะลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 3.0-4.0 ต่อปี ตามราคาน้ำมันที่ปรับตัวลดลงจากฐานที่สูงในปี 2551 ส่วนดุลบัญชีเดินสะพัดใน
ปี 2552 คาดว่าจะเกินดุลร้อยละ 1.0-2.0 ของ GDP โดยมีรายละเอียดสรุปได้ดังนี้
1. เศรษฐกิจไทยในปี 2551
1.1 ด้านการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
เศรษฐกิจไทยในปี 2551 คาดว่าจะขยายตัวได้ร้อยละ 5.1 ต่อปี ลดลงจากที่ประมาณการไว้เดิมที่ร้อยละ
5.6 ต่อปี โดยคาดว่า การบริโภคภาคเอกชนและการลงทุนภาคเอกชนในปี 2551 จะขยายตัวที่ร้อยละ 2.8 และ 5.0
ต่อปี ตามลำดับ ซึ่งเป็นการฟื้นตัวช้ากว่าที่คาดการณ์ไว้เดิมที่ร้อยละ 3.5 และ 8.5 ต่อปี เนื่องจากปัญหาเงินเฟ้อที่สูงขึ้น
และความไม่มั่นใจในสถานการณ์ทางการเมืองในช่วงที่ผ่านมาได้ส่งผลให้ผู้บริโภคและนักลงทุนชะลอการจับจ่ายใช้สอยและ
ชะลอการตัดสินใจลงทุน สำหรับปริมาณการส่งออกสินค้าและบริการในปี 2551 คาดว่าจะยังคงขยายตัวได้ในระดับสูงที่
ร้อยละ 7.8 ต่อปี แต่ขยายตัวลดลงเล็กน้อยจากที่ประมาณการเดิมที่ร้อยละ 8.0 ต่อปี เนื่องจากการชะลอตัวกว่าที่คาด
การณ์ของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าและบริการด้านการท่องเที่ยวที่ได้รับผลกระทบจากการประท้วงและการประกาศพระราช
กำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินในเดือนกันยายนที่ผ่านมา ในขณะที่ปริมาณการนำเข้าสินค้าและบริการคาด
ว่าจะขยายตัวร้อยละ 9.6 ต่อปี ลดลงเล็กน้อยจากที่เคยคาดการณ์ไว้ที่ร้อยละ 9.7 ต่อปี ตามอุปสงค์ภายในประเทศที่
ฟื้นตัวช้ากว่าเดิม
1.2 ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจ
เสถียรภาพเศรษฐกิจภายในประเทศมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น จากอัตราเงินเฟ้อทั่วไปที่คาดว่าจะปรับตัวลดลง
มาอยู่ที่ร้อยละ 6.3 ต่อปี จากที่คาดการณ์เดิมที่ร้อยละ 7.2 ต่อปี เนื่องจากมาตรการ 6 เดือน 6 มาตรการและราคา
น้ำมันที่ลดลงกว่าสมมติฐานเดิม ในขณะที่เสถียรภาพภายนอกประเทศยังอยู่ในเกณฑ์ดีโดยดุลบัญชีเดินสะพัดคาดว่ายังคง
เกินดุลที่ 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ เกินดุลร้อยละ 0.4 ของ GDP แม้ว่าจะเป็นการเกินดุลที่ลดลงจากที่เคยคาด
การณ์ไว้ที่ร้อยละ 1.4 ของ GDP เนื่องจากการขาดดุลการค้าอันเป็นผลมาจากมูลค่าสินค้านำเข้าที่ขยายตัวในอัตรา
เร่งถึงร้อยละ 29.8 ต่อปี ซึ่งสูงกว่ามูลค่าสินค้าส่งออกที่ขยายตัวร้อยละ 20 ต่อปี ในขณะที่ดุลบริการคาดว่าจะเกินดุล
ได้น้อยลง เนื่องจากรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติที่จะลดลงในช่วงฤดูกาลท่องเที่ยวในไตรมาสสุดท้ายของปี ซึ่งเป็น
ผลจากการประกาศภาวะฉุกเฉินในช่วงที่ผ่านมา
2. เศรษฐกิจไทยในปี 2552
2.1 ด้านการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
เศรษฐกิจไทยในปี 2552 คาดว่าจะขยายตัวที่ร้อยละ 4.0-5.0 ต่อปี โดยอุปสงค์ภายในประเทศมีแนวโน้ม
ปรับตัวดีขึ้นจากฐานที่ต่ำในปี 2551 ทั้งนี้ การบริโภคภาคเอกชนในปี 2552 คาดว่าจะขยายตัวที่ร้อยละ 3.0-4.0 ต่อปี
เนื่องจากรายได้ที่แท้จริงของภาคประชาชนมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นตามอัตราเงินเฟ้อที่น่าจะชะลอลงจากปี 2551 ในด้าน
การลงทุนภาคเอกชนในปี 2552 คาดว่าจะปรับตัวดีขึ้นจากปี 2551 มาอยู่ที่ร้อยละ 7.0-8.0 ต่อปี เนื่องจากการลงทุน
ที่ขยายตัวต่ำมากเป็นเวลาหลายปีประกอบกับอัตราการใช้กำลังการผลิตที่อยู่ในระดับสูงใกล้เต็มกำลังการผลิตมายาวนาน
จะมีโอกาสผลักดันให้มีการลงทุนใหม่เกิดขึ้น นอกจากนั้น การเร่งเบิกจ่ายงบประมาณของรัฐบาลภายใต้กรอบนโยบาย
การคลังที่ขาดดุลเพิ่มขึ้นที่ร้อยละ 2.5 ของ GDP ในปีงบประมาณ 2552 จะช่วยสนับสนุนให้อุปสงค์ภายในประเทศฟื้นตัว
ขึ้น โดยคาดว่าการบริโภคภาครัฐและการลงทุนภาครัฐในปี 2552 จะขยายตัวที่ร้อยละ 7.0-8.0 และ 8.0-9.0 ต่อปี
ตามลำดับ อนึ่ง การเร่งการใช้จ่ายของภาครัฐให้เป็นรูปธรรม โดยเฉพาะในโครงการลงทุนขนาดใหญ่ จะเป็นปัจจัย
หลักสำคัญที่ช่วยดึงให้การลงทุนภาคเอกชนปรับตัวดีขึ้นตามไปด้วย (Crowding-in Effect) ซึ่งจะเป็นแรงส่งสำคัญที่
ทำให้เศรษฐกิจไทยมีโอกาสขยายตัวได้ในกรณีสูงของช่วงคาดการณ์ อย่างไรก็ตาม ปริมาณการส่งออกสินค้าและบริการ
ในปี 2552 คาดว่าจะขยายตัวน้อยลงจากปี 2551 มาอยู่ที่ร้อยละ 6.5-7.5 ต่อปี เนื่องจากเศรษฐกิจโลกมีแนวโน้ม
เผชิญความเสี่ยงจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ และปัญหาสินเชื่อด้อยคุณภาพมากขึ้น สำหรับปริมาณการนำเข้า
สินค้าและบริการคาดว่าจะชะลอลงมาอยู่ที่ร้อยละ 6.5-7.5 ต่อปี ตามการชะลอตัวของเศรษฐกิจในภาพรวม
2.2 ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจ
เสถียรภาพเศรษฐกิจในปี 2552 ยังน่าจะอยู่ในเกณฑ์ดี โดยดุลบัญชีเดินสะพัดในปี 2552 คาดว่าจะยังคง
เกินดุลที่ร้อยละ 1.0-2.0 ของ GDP เนื่องจากการเกินดุลการค้าตามราคาสินค้านำเข้าที่คาดว่าจะลดลงมากกว่าราคา
สินค้าส่งออก (Better term of trade) ทำให้มูลค่าการนำเข้าสินค้าขยายตัวชะลอลงมาอยู่ที่ร้อยละ 9.0-11.0
ต่อปี เทียบกับมูลค่าส่งออกสินค้าที่น่าจะขยายตัวอยู่ในช่วงร้อยละ 11.0-13.0 ต่อปี ประกอบกับดุลบริการคาดว่าจะ
กลับมาเกินดุลมากขึ้นจากรายได้การท่องเที่ยวที่น่าจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติได้ในปี 2552 นอกจากนั้น อัตราเงินเฟ้อทั่วไป
ในปี 2552 คาดว่าจะชะลอตัวลงมาอยู่ที่ร้อยละ 3.0-4.0 ต่อปี เนื่องจากแนวโน้มราคาน้ำมันดิบที่คาดว่าจะขยายตัว
ในอัตราชะลอลงจากปี 2551
ตารางสรุปสมมติฐานและผลการประมาณการเศรษฐกิจปี 2551 และ 2552 (ณ เดือนกันยายน)
2550 2551 2551 2552
(ณ มิ.ย.51) (ณ ก.ย.51) (ณ ก.ย.51)
สมมติฐานหลัก เดิม เดิม ใหม่
สมมติฐานภายนอก
1) อัตราการขยายตัวเฉลี่ย 14 ประเทศคู่ค้าหลัก (ร้อยละต่อปี) 5.2 4.5 3.9 3.0-3.5
2) ราคาน้ำมันดิบดูไบ (ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อบาร์เรล) 67.8 116.0 103.7 95.0-105.0
สมมติฐานด้านนโยบาย
3) อัตราแลกเปลี่ยน (บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ) 34.6 32.8 33.2 33.0-35.0
4) อัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทย ณ สิ้นปี (ร้อยละต่อปี) 3.25 4.25 3.75 3.5-4.0
5) รายจ่ายภาคสาธารณะตามปีงบประมาณ (ล้านล้านบาท) 2.14 2.26 2.19 2.37-2.42
ผลการประมาณการ
1) อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (ร้อยละต่อปี) 4.8 5.6 5.1 4.0-5.0
2) อัตราการขยายตัวของการบริโภครวม (ร้อยละต่อปี) 2.7 4.1 2.5 3.5-4.5
- การบริโภคภาคเอกชน ( ณ ราคาคงที่) (ร้อยละต่อปี) 1.4 3.5 2.8 3.0-4.0
- การบริโภคภาครัฐ (ณ ราคาคงที่) (ร้อยละต่อปี) 10.8 7.8 1.3 7.0-8.0
3) อัตราการขยายตัวของการลงทุนรวม (ร้อยละต่อปี) 1.4 8.3 4.3 7.3-8.3
- การลงทุนภาคเอกชน ( ณ ราคาคงที่) (ร้อยละต่อปี) 0.5 8.5 5.0 7.0-8.0
- การลงทุนภาครัฐ (ณ ราคาคงที่) (ร้อยละต่อปี) 4.0 7.4 2.3 8.0-9.0
4) อัตราการขยายตัวปริมาณส่งออกสินค้าและบริการ (ร้อยละต่อปี) 7.1 8.0 7.8 6.5-7.5
5) อัตราการขยายตัวปริมาณนำเข้าสินค้าและบริการ (ร้อยละต่อปี) 3.5 9.7 9.6 6.5-7.5
6) ดุลการค้า (พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) 12.0 1.7 -0.9 1.0-3.0
- สินค้าส่งออกในรูปดอลลาร์สหรัฐฯ (ร้อยละต่อปี) 18.1 20.3 20.0 11.0-13.0
- สินค้านำเข้าในรูปดอลลาร์สหรัฐฯ (ร้อยละต่อปี) 9.6 30.0 29.8 9.0-11.0
7) ดุลบัญชีเดินสะพัด (พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) 14.9 4.0 1.0 4.0-6.0
ร้อยละของ GDP 6.1 1.4 0.4 1.0-2.0
8) อัตราเงินเฟ้อทั่วไป (ร้อยละต่อปี) 2.3 7.2 6.3 3.0-4.0
อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (ร้อยละต่อปี) 1.1 2.7 2.2 1.0-2.0
--ข่าวสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ฉบับที่ 26/2551 25 กันยายน 2551--
ที่ขยายตัวร้อยละ 4.8 ต่อปี มาอยู่ที่ร้อยละ 5.1 ต่อปี แต่ลดลงจากการประมาณการครั้งก่อนในเดือนมิถุนายน 2551
ที่ร้อยละ 5.6 ต่อปี เนื่องจากการใช้จ่ายภายในประเทศฟื้นตัวช้ากว่าที่คาดการณ์ไว้เดิม ในขณะที่การส่งออก ซึ่งแม้ว่า
จะยังขยายตัวในระดับสูงและช่วยประคับประคองเศรษฐกิจไทยโดยรวมให้ขยายตัวได้ดีกว่าปีก่อน แต่ก็มีแนวโน้มขยายตัว
ในอัตราที่ลดลงกว่าที่คาดการณ์เดิมตามความเสี่ยงของการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกที่เพิ่มขึ้น ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจ
ในประเทศมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นจากที่คาดการณ์เดิม จากอัตราเงินเฟ้อในปี 2551 ที่คาดว่าจะลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 6.3
ต่อปี จากเดิมที่คาดการณ์ไว้ที่ร้อยละ 7.2 ต่อปีส่วนเสถียรภาพเศรษฐกิจนอกประเทศยังอยู่ในเกณฑ์ดีจากดุลบัญชีเดินสะพัด
ในปี 2551 ที่คาดว่ายังคงเกินดุลที่ร้อยละ 0.4 ของ GDP สำหรับเศรษฐกิจไทยในปี 2552 คาดว่าจะขยายตัวที่ร้อยละ
4.0 -5.0 ต่อปี โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการใช้จ่ายในประเทศที่น่าจะปรับตัวดีขึ้นจากฐานที่ต่ำในปีนี้ แต่การส่งออก
ในปีหน้าคาดว่าจะขยายตัวลดลงตามการชะลอตัวต่อเนื่องของเศรษฐกิจโลก ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2552 คาด
ว่าจะลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 3.0-4.0 ต่อปี ตามราคาน้ำมันที่ปรับตัวลดลงจากฐานที่สูงในปี 2551 ส่วนดุลบัญชีเดินสะพัดใน
ปี 2552 คาดว่าจะเกินดุลร้อยละ 1.0-2.0 ของ GDP โดยมีรายละเอียดสรุปได้ดังนี้
1. เศรษฐกิจไทยในปี 2551
1.1 ด้านการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
เศรษฐกิจไทยในปี 2551 คาดว่าจะขยายตัวได้ร้อยละ 5.1 ต่อปี ลดลงจากที่ประมาณการไว้เดิมที่ร้อยละ
5.6 ต่อปี โดยคาดว่า การบริโภคภาคเอกชนและการลงทุนภาคเอกชนในปี 2551 จะขยายตัวที่ร้อยละ 2.8 และ 5.0
ต่อปี ตามลำดับ ซึ่งเป็นการฟื้นตัวช้ากว่าที่คาดการณ์ไว้เดิมที่ร้อยละ 3.5 และ 8.5 ต่อปี เนื่องจากปัญหาเงินเฟ้อที่สูงขึ้น
และความไม่มั่นใจในสถานการณ์ทางการเมืองในช่วงที่ผ่านมาได้ส่งผลให้ผู้บริโภคและนักลงทุนชะลอการจับจ่ายใช้สอยและ
ชะลอการตัดสินใจลงทุน สำหรับปริมาณการส่งออกสินค้าและบริการในปี 2551 คาดว่าจะยังคงขยายตัวได้ในระดับสูงที่
ร้อยละ 7.8 ต่อปี แต่ขยายตัวลดลงเล็กน้อยจากที่ประมาณการเดิมที่ร้อยละ 8.0 ต่อปี เนื่องจากการชะลอตัวกว่าที่คาด
การณ์ของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าและบริการด้านการท่องเที่ยวที่ได้รับผลกระทบจากการประท้วงและการประกาศพระราช
กำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินในเดือนกันยายนที่ผ่านมา ในขณะที่ปริมาณการนำเข้าสินค้าและบริการคาด
ว่าจะขยายตัวร้อยละ 9.6 ต่อปี ลดลงเล็กน้อยจากที่เคยคาดการณ์ไว้ที่ร้อยละ 9.7 ต่อปี ตามอุปสงค์ภายในประเทศที่
ฟื้นตัวช้ากว่าเดิม
1.2 ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจ
เสถียรภาพเศรษฐกิจภายในประเทศมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น จากอัตราเงินเฟ้อทั่วไปที่คาดว่าจะปรับตัวลดลง
มาอยู่ที่ร้อยละ 6.3 ต่อปี จากที่คาดการณ์เดิมที่ร้อยละ 7.2 ต่อปี เนื่องจากมาตรการ 6 เดือน 6 มาตรการและราคา
น้ำมันที่ลดลงกว่าสมมติฐานเดิม ในขณะที่เสถียรภาพภายนอกประเทศยังอยู่ในเกณฑ์ดีโดยดุลบัญชีเดินสะพัดคาดว่ายังคง
เกินดุลที่ 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ เกินดุลร้อยละ 0.4 ของ GDP แม้ว่าจะเป็นการเกินดุลที่ลดลงจากที่เคยคาด
การณ์ไว้ที่ร้อยละ 1.4 ของ GDP เนื่องจากการขาดดุลการค้าอันเป็นผลมาจากมูลค่าสินค้านำเข้าที่ขยายตัวในอัตรา
เร่งถึงร้อยละ 29.8 ต่อปี ซึ่งสูงกว่ามูลค่าสินค้าส่งออกที่ขยายตัวร้อยละ 20 ต่อปี ในขณะที่ดุลบริการคาดว่าจะเกินดุล
ได้น้อยลง เนื่องจากรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติที่จะลดลงในช่วงฤดูกาลท่องเที่ยวในไตรมาสสุดท้ายของปี ซึ่งเป็น
ผลจากการประกาศภาวะฉุกเฉินในช่วงที่ผ่านมา
2. เศรษฐกิจไทยในปี 2552
2.1 ด้านการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
เศรษฐกิจไทยในปี 2552 คาดว่าจะขยายตัวที่ร้อยละ 4.0-5.0 ต่อปี โดยอุปสงค์ภายในประเทศมีแนวโน้ม
ปรับตัวดีขึ้นจากฐานที่ต่ำในปี 2551 ทั้งนี้ การบริโภคภาคเอกชนในปี 2552 คาดว่าจะขยายตัวที่ร้อยละ 3.0-4.0 ต่อปี
เนื่องจากรายได้ที่แท้จริงของภาคประชาชนมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นตามอัตราเงินเฟ้อที่น่าจะชะลอลงจากปี 2551 ในด้าน
การลงทุนภาคเอกชนในปี 2552 คาดว่าจะปรับตัวดีขึ้นจากปี 2551 มาอยู่ที่ร้อยละ 7.0-8.0 ต่อปี เนื่องจากการลงทุน
ที่ขยายตัวต่ำมากเป็นเวลาหลายปีประกอบกับอัตราการใช้กำลังการผลิตที่อยู่ในระดับสูงใกล้เต็มกำลังการผลิตมายาวนาน
จะมีโอกาสผลักดันให้มีการลงทุนใหม่เกิดขึ้น นอกจากนั้น การเร่งเบิกจ่ายงบประมาณของรัฐบาลภายใต้กรอบนโยบาย
การคลังที่ขาดดุลเพิ่มขึ้นที่ร้อยละ 2.5 ของ GDP ในปีงบประมาณ 2552 จะช่วยสนับสนุนให้อุปสงค์ภายในประเทศฟื้นตัว
ขึ้น โดยคาดว่าการบริโภคภาครัฐและการลงทุนภาครัฐในปี 2552 จะขยายตัวที่ร้อยละ 7.0-8.0 และ 8.0-9.0 ต่อปี
ตามลำดับ อนึ่ง การเร่งการใช้จ่ายของภาครัฐให้เป็นรูปธรรม โดยเฉพาะในโครงการลงทุนขนาดใหญ่ จะเป็นปัจจัย
หลักสำคัญที่ช่วยดึงให้การลงทุนภาคเอกชนปรับตัวดีขึ้นตามไปด้วย (Crowding-in Effect) ซึ่งจะเป็นแรงส่งสำคัญที่
ทำให้เศรษฐกิจไทยมีโอกาสขยายตัวได้ในกรณีสูงของช่วงคาดการณ์ อย่างไรก็ตาม ปริมาณการส่งออกสินค้าและบริการ
ในปี 2552 คาดว่าจะขยายตัวน้อยลงจากปี 2551 มาอยู่ที่ร้อยละ 6.5-7.5 ต่อปี เนื่องจากเศรษฐกิจโลกมีแนวโน้ม
เผชิญความเสี่ยงจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ และปัญหาสินเชื่อด้อยคุณภาพมากขึ้น สำหรับปริมาณการนำเข้า
สินค้าและบริการคาดว่าจะชะลอลงมาอยู่ที่ร้อยละ 6.5-7.5 ต่อปี ตามการชะลอตัวของเศรษฐกิจในภาพรวม
2.2 ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจ
เสถียรภาพเศรษฐกิจในปี 2552 ยังน่าจะอยู่ในเกณฑ์ดี โดยดุลบัญชีเดินสะพัดในปี 2552 คาดว่าจะยังคง
เกินดุลที่ร้อยละ 1.0-2.0 ของ GDP เนื่องจากการเกินดุลการค้าตามราคาสินค้านำเข้าที่คาดว่าจะลดลงมากกว่าราคา
สินค้าส่งออก (Better term of trade) ทำให้มูลค่าการนำเข้าสินค้าขยายตัวชะลอลงมาอยู่ที่ร้อยละ 9.0-11.0
ต่อปี เทียบกับมูลค่าส่งออกสินค้าที่น่าจะขยายตัวอยู่ในช่วงร้อยละ 11.0-13.0 ต่อปี ประกอบกับดุลบริการคาดว่าจะ
กลับมาเกินดุลมากขึ้นจากรายได้การท่องเที่ยวที่น่าจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติได้ในปี 2552 นอกจากนั้น อัตราเงินเฟ้อทั่วไป
ในปี 2552 คาดว่าจะชะลอตัวลงมาอยู่ที่ร้อยละ 3.0-4.0 ต่อปี เนื่องจากแนวโน้มราคาน้ำมันดิบที่คาดว่าจะขยายตัว
ในอัตราชะลอลงจากปี 2551
ตารางสรุปสมมติฐานและผลการประมาณการเศรษฐกิจปี 2551 และ 2552 (ณ เดือนกันยายน)
2550 2551 2551 2552
(ณ มิ.ย.51) (ณ ก.ย.51) (ณ ก.ย.51)
สมมติฐานหลัก เดิม เดิม ใหม่
สมมติฐานภายนอก
1) อัตราการขยายตัวเฉลี่ย 14 ประเทศคู่ค้าหลัก (ร้อยละต่อปี) 5.2 4.5 3.9 3.0-3.5
2) ราคาน้ำมันดิบดูไบ (ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อบาร์เรล) 67.8 116.0 103.7 95.0-105.0
สมมติฐานด้านนโยบาย
3) อัตราแลกเปลี่ยน (บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ) 34.6 32.8 33.2 33.0-35.0
4) อัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทย ณ สิ้นปี (ร้อยละต่อปี) 3.25 4.25 3.75 3.5-4.0
5) รายจ่ายภาคสาธารณะตามปีงบประมาณ (ล้านล้านบาท) 2.14 2.26 2.19 2.37-2.42
ผลการประมาณการ
1) อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (ร้อยละต่อปี) 4.8 5.6 5.1 4.0-5.0
2) อัตราการขยายตัวของการบริโภครวม (ร้อยละต่อปี) 2.7 4.1 2.5 3.5-4.5
- การบริโภคภาคเอกชน ( ณ ราคาคงที่) (ร้อยละต่อปี) 1.4 3.5 2.8 3.0-4.0
- การบริโภคภาครัฐ (ณ ราคาคงที่) (ร้อยละต่อปี) 10.8 7.8 1.3 7.0-8.0
3) อัตราการขยายตัวของการลงทุนรวม (ร้อยละต่อปี) 1.4 8.3 4.3 7.3-8.3
- การลงทุนภาคเอกชน ( ณ ราคาคงที่) (ร้อยละต่อปี) 0.5 8.5 5.0 7.0-8.0
- การลงทุนภาครัฐ (ณ ราคาคงที่) (ร้อยละต่อปี) 4.0 7.4 2.3 8.0-9.0
4) อัตราการขยายตัวปริมาณส่งออกสินค้าและบริการ (ร้อยละต่อปี) 7.1 8.0 7.8 6.5-7.5
5) อัตราการขยายตัวปริมาณนำเข้าสินค้าและบริการ (ร้อยละต่อปี) 3.5 9.7 9.6 6.5-7.5
6) ดุลการค้า (พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) 12.0 1.7 -0.9 1.0-3.0
- สินค้าส่งออกในรูปดอลลาร์สหรัฐฯ (ร้อยละต่อปี) 18.1 20.3 20.0 11.0-13.0
- สินค้านำเข้าในรูปดอลลาร์สหรัฐฯ (ร้อยละต่อปี) 9.6 30.0 29.8 9.0-11.0
7) ดุลบัญชีเดินสะพัด (พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) 14.9 4.0 1.0 4.0-6.0
ร้อยละของ GDP 6.1 1.4 0.4 1.0-2.0
8) อัตราเงินเฟ้อทั่วไป (ร้อยละต่อปี) 2.3 7.2 6.3 3.0-4.0
อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (ร้อยละต่อปี) 1.1 2.7 2.2 1.0-2.0
--ข่าวสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ฉบับที่ 26/2551 25 กันยายน 2551--