บทสรุปผู้บริหาร: บทวิเคราะห์เรื่อง การเมืองยุ่งท่องเที่ยวแย่จริงหรือ ?

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday September 30, 2008 15:00 —กระทรวงการคลัง

บทสรุปผู้บริหาร
- จากเหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมือง โดยเฉพาะเมื่อวันที่ 2 กันยายน 2551 ที่ประเทศไทยได้ประกาศใช้พระราชกำหนดบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน (พ.ร.ก.) ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร ส่งผลทางจิตวิทยาของนักท่องเที่ยวด้านความเชื่อมั่น ทำให้มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้ามาลดลงในช่วงดังกล่าวทันทีประมาณร้อยละ 20 -30
- สศค. ได้ทำการประเมินผลกระทบต่อเศรษฐกิจมหภาค โดยใช้แบบจำลองเศรษฐกิจมหภาค พบว่าหากไม่เกิดเหตุการณ์ความไม่สงบ ในกรณีฐานจะทำให้มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้าประเทศ 15.8 ล้านคน คิดเป็นอัตราการขยายตัวร้อยละ 9.4 ต่อปี ซึ่งจะนำรายได้เข้าสู่ประเทศประมาณ ประมาณ 669 พันล้านบาท ขณะที่หากเหตุการณ์จบลงเร็วในกรณีไม่ยืดเยื้อจะทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ หายไปจากกรณีฐาน - 0.7 ล้านคน สูญเสียรายได้ไป -30.5 พันล้านบาท ซึ่งจะทำให้ดุลบัญชีเดินสะพัดลดลงคิดเป็นร้อยละ -0.09 ต่อ GDP ขณะที่ในกรณียืดเยื้อ จะทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ หายไปจากกรณีฐาน —1.6 ล้านคนสูญเสียรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติ -72.9 พันล้านบาท ซึ่งจะทำให้ดุลบัญชีเดินสะพัดลดลงคิดเป็นร้อยละ -0.22 ต่อ GDP
นับตั้งแต่เหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมืองเริ่มรุนแรงขึ้นเมื่อปลายเดือนสิงหาคม 2551 ที่ผ่านมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวันที่ 2 กันยายน 2551 ประเทศไทยได้ประกาศใช้พระราชกำหนดบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน (พ.ร.ก.) ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร ส่งผลให้ประเทศต่างๆออกหนังสือเตือนนักท่องเที่ยว (Travel warning) ในการเดินทางเข้าสู่ประเทศไทยและประกาศให้หลีกเลี่ยงสถานที่ชุมนุมในไทยรวม 23 ประเทศ เป็นผลให้ไทยสูญเสียความเชื่อมั่นจากนักท่องเที่ยว และส่งผลให้มีนักท่องเที่ยวต่างชาติลดลงทันทีประมาณร้อยละ 20-30 สำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) จึงได้ศึกษาถึงผลกระทบของความไม่สงบดังกล่าวต่อภาคการท่องเที่ยวไทย โดยทำการการสรุปสถานการณ์ที่เกิดขึ้น และได้ทำการประเมินโดยใช้แบบจำลองเศรษฐกิจมหภาควิเคราะห์ถึงผลกระทบจากเหตุการณ์ดังกล่าวต่อเศรษฐกิจไทย ดังมีรายละเอียดดังนี้
1. ความสำคัญของการท่องเที่ยวต่างชาติต่อเศรษฐกิจไทย
ช่วงระหว่างปี 2549 — 2550 เศรษฐกิจไทยประสบภาวการณ์ชะลอตัวของการใช้จ่ายภายในประเทศ ในขณะที่ได้รับแรงขับเคลื่อนจากภาคการส่งออกที่สามารถขยายตัวได้ดี ขณะที่ภาคการท่องเที่ยวต่างชาติถือเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจ โดยในปี 2550 รายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติตามระบบการคำนวณของ ททท. (TAT basis) อยู่ที่ 547 พันล้านบาท ขยายตัวที่ร้อยละ 13.6 ต่อปี ถือเป็นสัดส่วนกว่าร้อยละ 50 ของการส่งออกบริการ (Export of service) ของประเทศไทย และคิดเป็นสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 6.0 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ขณะที่สศม.คาดว่าในปี 2551 จะสามารถนำรายได้เข้าสู่ประเทศได้ประมาณ 669 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 16.3 ต่อปี ด้วยจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ 15.8 ล้านคน คิดเป็นอัตราการขยายตัวร้อยละ 9.4 ต่อปี
จากข้อมูลล่าสุดในช่วงครึ่งปีแรกปี 2551 ตามระบบดุลการชำระเงิน BOP Basis พบว่าภาคการท่องเที่ยวต่างชาติ นำรายได้เข้าสู่ประเทศแล้ว 320 พันล้านบาท ขยายตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ร้อยละ 17.3 ต่อปี ช่วยสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจไทยใน 2 ด้าน ดังนี้ฃ
- ด้านอุปทาน
ภาคการท่องเที่ยวมีความเชื่อมโยงการผลิตสาขาคมนาคมขนส่ง และสาขาโรงแรมและภัตตาคาร ซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 10.2 และ 3.7 ของ GDP ตามลำดับ โดยมีอัตราการเติบโตร้อยละ 5.1 และ 6.7 ต่อปี ในช่วงครึ่งปีแรก และเป็นส่วนสนับสนุนสำคัญที่ทำให้เศรษฐกิจไทยในครึ่งปีแรกขยายตัวได้ถึงร้อยละ 5.7 ต่อปี
- ด้านอุปสงค์
ภาคการท่องเที่ยวจากต่างประเทศหรือการส่งออกบริการ เป็นองค์ประกอบสำคัญใน GDP คือมีสัดส่วนร้อยละ 6.5 ใน GDP โดยมีอัตราการเติบโตถึงร้อยละ 11.5 ต่อปี ในครึ่งปีแรกปี 2551 สอดคล้องกับจำนวนนักท่องเที่ยวจากต่างชาติที่เข้ามามากเป็นประวัติการณ์ถึง 7.9 ล้านคน หรือขยายตัวร้อยละ 14.0 ต่อปี ส่วนหนึ่งน่าจะเป็นความนิยมจากการที่กรุงเทพมหานครซึ่งเป็นเมืองหลวงของประเทศได้รับเลือกให้เป็นเมืองท่องเที่ยวที่ดีที่สุดในโลกในปี 2551จากการสำรวจความเป็นผู้อ่านเกี่ยวกับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวประจำปี 2551 ของนิตยสาร Travel and Leisure หลังจากที่ในปีที่ผ่านมาได้รับการโหวตให้กรุงเทพฯเป็นเมืองน่าท่องเที่ยวอันดับ 3 ของโลก และเป็นอันดับ 1 ในเอเชีย
2 . สรุปสถานการณ์ความไม่สงบในกรุงเทพมหานคร
วันที่ 26 สิงหาคม 2551 เกิดเหตุการณ์ความไม่สงบในกรุงเทพมหานคร โดยกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย(พธม.) เข้ายึดครองสถานีโทรทัศน์ NBT สถานที่ราชการ และทำเนียบรัฐบาล จากนั้นในวันที่ 29 สิงหาคม 2551 ตำรวจบุกสลายการชุมนุมกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย(พธม.) ต่อเนื่องด้วยการประกาศใช้พระราชกำหนดบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน (พ.ร.ก.) ในวันที่ 2 กันยายน 2551 ส่งผลให้จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางมาลงที่สนามบินสุวรรณภูมิ ลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยบจม.ท่าอากาศไทยได้รายงานถึงสถานการณ์ช่วงวันที่ 1-3 กันยายน 2551 ว่าจำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาลงที่สนามบิสุวรรณภูมิว่ามีการเดินทางลดลงเฉลี่ยวันละร้อยละ 20-30 ส่งผลให้ประเทศไทยสูญเสียรายได้จากนักท่องเที่ยวที่ลดลงไปถึงวันละ 300-450 ล้านบาท ต่อวัน โดยคำนวณจากวันพักเฉลี่ยที่ 10 วัน มีค่าใช้จ่ายต่อคนต่อวันที่วันละประมาณ 4,000 บาท
ทั้งนี้ ประเทศต่างๆได้ออกหนังสือเตือนนักท่องเที่ยว (Travel warning) ที่จะเดินทางเข้ามาประเทศไทยทั้งหมด 14 ประเทศ ได้แก่ ญี่ปุ่น (สัดส่วน 8.6%) เกาหลี (สัดส่วน7.4%) อังกฤษ (สัดส่วน 5.2%) ออสเตรเลีย (สัดส่วน 4.4%) แคนาดา (สัดส่วน 1.0%) สิงคโปร์ (สัดส่วน 5.5%) นิวซีแลนด์ (สัดส่วน 0.6%) จีน (สัดส่วน 6.9%) ไต้หวัน (สัดส่วน 3.0%) เดนมาร์ก (สัดส่วน 0.9%) สวิตเซอร์แลนด์ (สัดส่วน 1.1%) ฝรั่งเศส (สัดส่วน 2.4%) เบลเยียม (สัดส่วน 0.5%) นอร์เวย์ (สัดส่วน 0.8%) โดยมีอีก 9 ประเทศที่มีการประกาศให้หลีกเลี่ยงสถานที่ชุมนุมในไทย ได้แก่ เยอรมัน(สัดส่วน 3.7%) ฮ่องกง (สัดส่วน 3.1%) อิตาลี (สัดส่วน 1.1%) ไซปรัส (สัดส่วน 0.03%) มอลตา (สัดส่วน 0.01%) รัสเซีย (สัดส่วน 2.0%) สวีเดน (สัดส่วน 2.3%) สเปน (สัดส่วน 0.6%) และสหรัฐอเมริกา(สัดส่วน 4.3%) รวมทั้ง 23 ประเทศ มีสัดส่วนทั้งสิ้น 65.5% ของจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่มาเที่ยวไทยในปี 2550
3. ผลกระทบต่อการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวต่างชาติ
สศค.ทำการวิเคราะห์ผลกระทบจากความไม่สงบทางการเมือง โดยเฉพาะจากการประกาศใช้พระราชกำหนดบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน (พ.ร.ก.) ในเขตพื้นพี่กรุงเทพมหานคร ณ วันที่ 2 กันยายน 2551 ต่อการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวต่างชาติ ในช่วง 4 เดือนที่เหลือของปี 2551 (กันยายน — ธันวาคม 2551) ในด้านผลกระทบต่อจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติและผลกระทบต่อรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติโดยแบ่งออกเป็น 3 กรณี ได้แก่ กรณีฐาน กรณีไม่ยืดเยื้อ และกรณียืดเยื้อ ดังนี้
3.1 กรณีฐาน
ในช่วง 4 เดือนสุดท้ายของปี สศค. คาดการณ์ว่า จะมีนักท่องเที่ยวจากต่างชาติเดินทางเข้าประเทศไทย 5.3 ล้านคน คิดเป็นอัตราการขยายตัวร้อยละ 3.6 ต่อปี เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน(ก.ย. - ธ.ค. 50 ) ซึ่งในช่วง 2-3 เดือน สุดท้ายถือเป็นช่วงฤดูท่องเที่ยวของไทย รวมทั้งปี 2551 จะมีนักท่องเที่ยวทั้งสิ้น 15.8 ล้านคน คิดเป็นอัตราการขยายตัวร้อยละ 9.4 ต่อปี เทียบกับปีก่อนที่มีนักท่องเที่ยวทั้งสิ้น 14.5 ล้านคน คิดเป็นอัตราการขยายตัวร้อยละ 4.6 ต่อปี และคาดว่าจะมีรายได้เป็นเงินบาทเข้าประเทศทั้งสิ้น 669 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 16.3 ต่อปี จากปีก่อน
ตารางที่ 1 จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ มกราคม-ธันวาคม 2551 (หน่วย: ล้านคน)
ปี 2551 ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. รวม
นักท่องเที่ยว 1.5 1.5 1.4 1.3 1.2 1.2 1.3 1.3 1.1 1.2 1.4 1.6 15.8
%yoy 10.3 15.7 13.9 14.9 18.7 11.7 9.3 7.1 3.8 2.5 2.5 5.1 9.4
หมายเหตุ: เป็นตัวเลขจริงถึงเดือน ก.ค.51 หลังจากนั้นเป็นคาดการณ์
ตารางที่ 2 รายได้จากการท่องเที่ยวต่างชาติ มกราคม-ธันวาคม 2551 (หน่วย: พันล้านบาท)
ปี 2551 ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. รวม
รายได้ 63.5 65.1 61.6 45.5 42.4 41.6 52.3 53.9 45.1 56.5 66.0 75.4 668.9
%yoy 14.2 19.8 17.9 16.9 21.2 14.1 20.3 17.8 14.2 12.7 12.8 15.7 16.3
หมายเหตุ: เป็นตัวเลขจริงถึงเดือน ก.ค.51 หลังจากนั้นเป็นคาดการณ์
3.2 กรณีไม่ยืดเยื้อ
ในกรณีนี้ สศค. สมมติว่า เดือน ก.ย. ถึง ต.ค. จะมีนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศที่ยกเลิกการเดินทางมาเที่ยวประเทศไทยเดือนละประมาณ 30% ของกรณีปกติ ต่อมาสถานการณ์ปรับตัวดีขึ้นทำให้เดือน พ.ย. มีการยกเลิกการเดินทางมาเที่ยวประเทศไทยประมาณ 20% ของกรณีปกติ และหากสถานการณ์คลี่คลายเกือบเต็มที่ในเดือน ธ.ค. มีนักท่องเที่ยวยกเลิกการเดินทางมาเที่ยวประเทศไทยเพียงเล็กน้อยประมาณ 10% ของกรณีปกติ
ผลกระทบทางจำนวน: ส่งผลให้ในช่วง 4 เดือนสุดท้ายปี 2551 จะมีนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศเข้ามา 4.6 ล้านคน น้อยจากกรณีฐาน -0.7 ล้านคน รวมทั้งปี 2551 จะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติทั้งสิ้น 15.1 ล้านคน คิดเป็นอัตราการขยายตัวร้อยละ 4.6 ต่อปี เทียบกับปีก่อนที่มีนักท่องเที่ยวทั้งสิ้น 14.5 ล้านคน คิดเป็นอัตราการขยายตัวที่ร้อยละ 4.7 ต่อปี
ตารางที่ 3 กรณีไม่ยืดเยื้อกับผลกระทบด้านจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ กันยายน-ธันวาคม 2551 (หน่วย: ล้านคน)
ปี 2551 ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. รวม
กรณีฐาน
นักท่องเที่ยว 1.5 1.5 1.4 1.3 1.2 1.2 1.3 1.3 1.1 1.2 1.4 1.6 15.8
%yoy 10.3 15.7 13.9 14.9 18.7 11.7 9.3 7.1 3.8 2.5 2.5 5.1 9.4
กรณีไม่ยืดเยื้อ
นักท่องเที่ยว 1.5 1.5 1.4 1.3 1.2 1.2 1.3 1.3 0.8 0.8 1.4 1.6 15.1
%yoy 10.3 15.7 13.9 14.9 18.7 11.7 9.3 7.1 -27.3 -28.3 2.5 5.1 4.6
ผลต่าง (ล้านคน) 0.0 -0.3 -0.4 0.0 0.0 -0.7
หมายเหตุ: เป็นตัวเลขจริงถึงเดือน ก.ค.51 หลังจากนั้นเป็นคาดการณ์
ผลกระทบทางด้านรายได้: โดยคาดว่าผลกระทบจากการเมืองจะส่งผลให้รายได้ในช่วง 4 เดือนสุดท้ายปี 2551 ลดลงประมาณ -30,500 ล้านบาท รวมทั้งปี 2551 จะนำรายได้เข้าสู่ประเทศทั้งสิ้น 638.4 พันล้านบาท คิดเป็นอัตราการขยายตัวร้อยละ 11.0 ต่อปี
ตารางที่ 4 กรณีไม่ยืดเยื้อกับผลกระทบด้านรายได้จากการท่องเที่ยวต่างชาติ กันยายน-ธันวาคม 2551 (หน่วย: พันล้านบาท)
ปี 2551 ม.ค. ก.พ. มี.ค เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. รวม
กรณีฐาน
รายได้ 63.5 65.1 61.6 45.5 42.4 41.6 52.3 53.9 45.1 56.5 66.0 75.4 669.0
%yoy 14.2 19.8 17.9 16.9 21.2 14.1 20.3 17.8 14.2 12.7 12.8 15.7 16.3
กรณีไม่ยืดเยื้อ
รายได้ 63.5 65.1 61.6 45.5 42.4 41.6 52.3 53.9 31.6 39.6 66.0 75.4 638.4
%yoy 14.2 19.8 17.9 16.9 21.2 14.1 20.3 17.8 -20.0 -21.1 12.8 15.7 11.0
ผลต่าง 0.0 -13.5 -16.9 0.0 0.0 -30.5
หมายเหตุ: เป็นตัวเลขจริงถึงเดือน ก.ค.51 หลังจากนั้นเป็นคาดการณ์
3.3 กรณีไม่ยืดเยื้อ
ในกรณีนี้ สศค.สมมติว่า ตั้งแต่เดือน ก.ย.จนถึง ธ.ค. จะมีนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศที่ยกเลิกการเดินทางมาเที่ยวประเทศไทยเดือนละประมาณ 30% ของกรณีปกติ
ผลกระทบทางจำนวน: ส่งผลให้ในช่วง 4 เดือนสุดท้ายปี 2551 จะมีนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศเข้ามา 3.7 ล้านคน น้อยกว่ากรณีฐาน -1.6 ล้านคน รวมทั้งปี 2551 จะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติทั้งสิ้น 14.2 ล้านคน คิดเป็นอัตราการขยายตัวร้อยละ -1.6 ต่อปี เทียบกับปีก่อนที่มีนักท่องเที่ยวทั้งสิ้น 14.5 ล้านคน คิดเป็นอัตราการขยายตัวร้อยละ 4.7 ต่อปี
ตารางที่ 5 กรณียืดเยื้อกับผลกระทบด้านจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ กันยายน-ธันวาคม 2551 (หน่วย: ล้านคน)
ปี 2551 ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. รวม
กรณีฐาน
นักท่องเที่ยว 1.5 1.5 1.4 1.3 1.2 1.2 1.3 1.3 1.1 1.2 1.4 1.6 15.8
%yoy 10.3 15.7 13.9 14.9 18.7 11.7 9.3 7.1 3.8 2.5 2.5 5.1 9.4
กรณียืดเยื้อ
นักท่องเที่ยว 1.5 1.5 1.4 1.3 1.2 1.2 1.3 1.3 0.8 0.8 1.0 1.1 14.2
%yoy 10.3 15.7 13.9 14.9 18.7 11.7 9.3 7.1 -27.3 -28.3 -28.2 -26.4 -1.6
ผลต่าง 0.0 -0.3 -0.4 -0.4 -0.5 -1.6
หมายเหตุ: เป็นตัวเลขจริงถึงเดือน ก.ค.51 หลังจากนั้นเป็นคาดการณ์
ผลกระทบทางด้านรายได้: โดยคาดว่าผลกระทบจากการเมืองจะส่งผลให้รายได้ในช่วง 4 เดือนสุดท้ายปี 2551 ลดลงประมาณ -72,900 ล้านบาท รวมทั้งปี 2551 จะนำรายได้เข้าสู่ประเทศทั้งสิ้น 596.0 พันล้านบาท คิดเป็นอัตราการขยายตัวร้อยละ 3.6 ต่อปี
ตารางที่ 6 กรณียืดเยื้อกับผลกระทบด้านรายได้จากการท่องเที่ยวต่างชาติ กันยายน-ธันวาคม 2551 (หน่วย: พันล้านบาท)
ปี 2551 ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. รวม
กรณีฐาน
รายได้ 63.5 65.1 61.6 45.5 42.4 41.6 52.3 53.9 45.1 56.5 66.0 75.4 668.9
%yoy 14.2 19.8 17.9 16.9 21.2 14.1 20.3 17.8 14.2 12.7 12.8 15.7 16.3
กรณียืดเยื้อ
รายได้ 63.5 65.1 61.6 45.5 42.4 41.6 52.3 53.9 31.6 39.6 46.1 52.7 596.0
%yoy 14.2 19.8 17.9 16.9 21.2 14.1 20.3 17.8 -20.0 -21.1 -21.1 -19.0 3.6
ผลต่าง 0.0 -13.5 -16.9 -19.9 -22.7 -72.9
หมายเหตุ: เป็นตัวเลขจริงถึงเดือน ก.ค.51 หลังจากนั้นเป็นคาดการณ์
4. ประเมินผลกระทบต่อเศรษฐกิจมหภาค โดยใช้แบบจำลองเศรษฐกิจมหภาค
ปี 2550 ปี 2551
กรณีฐาน ผลกระทบกรณีไม่ยืดเยื้อ ผลกระทบกรณียืดเยื้อ
(แย่ ก.ย. + ต.ค. (แย่ ก.ย. + ต.ค.
ดีขึ้น พ.ย. + ธ.ค.) + พ.ย. + ธ.ค.)
อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจ (%yoy) 4.8 5.6 -0.2 -0.4
รายได้จากการท่องเที่ยว (ล้าน $) 16,669 21,512 -865 -2,113
%yoy 24.4 29.1 -5.2 -12.7
ดุลบริการ (ล้าน $) 5,921 8,460 -865 -2,113
ดุลบัญชีเดินสะพัด (ล้าน $) 15,765 4,462 -865 -2,113
% ของ GDP 6.4 1.6 -0.09 -0.22
หมายเหตุ: กรณีฐานมิใช่กรณีที่ สศค. ใช้แถลงข่าวประมาณการเศรษฐกิจปี 2551
สศค. ได้ทำการประเมินผลกระทบต่อเศรษฐกิจมหภาค โดยใช้แบบจำลองเศรษฐกิจมหภาค พบว่าหากไม่เกิดเหตุการณ์ความไม่สงบ ในกรณีฐานจะทำให้มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้าประเทศ 15.8 ล้านคน คิดเป็นอัตราการขยายตัวร้อยละ 9.4 ต่อปี ซึ่งจะนำรายได้เข้าสู่ประเทศประมาณ ประมาณ 669 พันล้านบาท หรือ 16,669 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่หากเหตุการณ์จบลงเร็วในกรณีไม่ยืดเยื้อจะทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ หายไปจากกรณีฐาน - 0.7 ล้านคน สูญเสียรายได้ไป -30.5 พันล้านบาท หรือ -865 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งจะทำให้ดุลบัญชีเดินสะพัดลดลงคิดเป็นร้อยละ -0.09 ต่อ GDP ขณะที่ในกรณียืดเยื้อ จะทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ หายไปจากกรณีฐาน —1.6 ล้านคนสูญเสียรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติ -72.9 พันล้านบาท หรือ -2,113 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งจะทำให้ดุลบัญชีเดินสะพัดลดลงคิดเป็นร้อยละ -0.22 ต่อ GDP
ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office
Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ