รายงานภาวะเศรษฐกิจรายวันประจำวันที่ 2 ตุลาคม 2551

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday October 2, 2008 10:16 —กระทรวงการคลัง

Macro Morning Focus ประจำวันที่ 2 ต.ค. 2551 
SUMMARY:
- น้ำท่วม-ราคาสินค้าดันเงินเฟ้อ ก.ย. เพิ่มร้อยละ 6.0 ต่อปี
- “ดัชนีทันกัน” ติดลบครั้งแรกรอบ 5 ปี
- เศรษฐกิจโลกชะลอมากกว่าที่คาดการณ์
HIGHLIGHT:
1. น้ำท่วม-ราคาสินค้าดันเงินเฟ้อ ก.ย. เพิ่มร้อยละ 6.0 ต่อปี
- ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคหรือเงินเฟ้อเดือน ก.ย. เท่ากับ 124.5 เทียบกับเดือน ส.ค. ที่ผ่านมาเพิ่มขึ้น ร้อยละ 0.2 แต่หากเทียบกับเดือน ก.ย. ปีที่ผ่านมาสูงขึ้นร้อยละ 6.0 ต่อปี โดยมีสาเหตุมาจากปัจจัยราคาน้ำมันเชื้อเพลิงยังทรงตัวระดับสูงที่ร้อยละ 19.4 ต่อปีและปัจจัยดัชนีหมวดอาหารและเครื่องดื่มที่สูงขึ้นร้อยละ 15.7 ต่อปี สำหรับปัจจัยที่ผลักดันให้เงินเฟ้อเดือน ก.ย.เทียบ ส.ค. สูงขึ้นร้อยละ 0.2 นั้น เนื่องจากราคาอาหารสดประเภทผักและผลไม้ที่ปรับตัวสูงขึ้น จากภาวะน้ำท่วมประกอบกับช่วงปลายฤดูกาล แม้ว่าราคาน้ำมันขายปลีกเฉลี่ยภายในประเทศจะปรับตัวลดลงตามภาวะตลาดโลก แต่สินค้ากลุ่มผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับการทำความสะอาดรวมถึงของใช้ส่วนบุคคลประเภทสบู่ ยาสีฟัน แชมพูปรับสูงขึ้น
- สศค. วิเคราะห์ว่า ภาวะเงินเฟ้อมีแนวโน้มชะลอลง และเมื่อพิจารณาอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (Core inflation) พบว่ามีทิศทางขยายตัวชะลอลงเช่นกัน โดยชะลอลงจากเดือน ส.ค. ที่ร้อยละ 3.7 ต่อปี มาอยู่ที่ร้อยละ 2.6 ต่อปีในเดือน ก.ย. แสดงให้เห็นว่าแรงกดดันเงินเฟ้อทางด้านอุปทาน (Cost Push) จากราคาน้ำมันมีแนวโน้มชะลอลงแม้ว่าอัตราเงินเฟอ้ ยังคงมีปจั จัยเสี่ยงจากความผันผวนของค่าเงินบาทและราคาน้ำมันดังนั้น นโยบายการเงินสามารถผ่อนคลายได้
2. “ดัชนีทันกัน” ติดลบครั้งแรกรอบ 5 ปี
- ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) รายงานว่าดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจในหมู่ผู้ประอบการอุตสาหกรรมญี่ปุ่น (ทันกัน) ร่วงลงมาอยู่ในแดนลบเป็นครั้งแรกในรอบ 5 ปี ท่ามกลางความซบเซาอย่างรุนแรงของเศรษฐกิจแดนปลาดิบ ทั้งนี้ ญี่ปุ่นเริ่มหวาดวิตกว่าเศรษฐกิจจะเข้าสู่ภาวะถดถอย หลังเข้าสู่ภาวะหดตัวในช่วงไตรมาสสองของปีนี้ นอกจากนี้ยังถูกกระหน่ำด้วยวิกฤติการเงินโลก ที่มีสาเหตุมาจากปัญหาที่เกิดกับภาคธนาคารของสหรัฐฯ นอกจากนี้ ตัวเลขการว่างงานที่เพิ่มขึ้นมากของญี่ปุ่น รวมถึงตัวเลขการใช้จ่ายของครัวเรือนที่ดิ่งลงอย่างหนัก ทำให้ผู้ประกอบการรายใหญ่ใน
ญี่ปุ่นพากันคาดว่าตัวเลขความเชื่มมั่นทางธุรกิจจะร่วงไปอยู่ที่ติดลบในเดือน ธ.ค.
- สศค. วิเคราะห์ว่า ปัญหาวิกฤติทางการเงินในสหรัฐฯ ที่เริ่มรุนแรงขึ้น ส่งผลให้ความเชื่อมั่นของนักลงทุนและผู้บริโภคทั่วโลกลดลง และจะส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของประเทศที่มีการติดต่อค้าขายกับสหรัฐฯ เช่น สหภาพยูโรป และญี่ปุ่น มากเป็นพิเศษ เนื่องจากคาดว่าเศรษฐกิจของประเทศดังกล่าวมีแนวโน้ม ที่จะชะลอตัวลงตามการชะลอตัวลงของเศรษฐกิจสหรัฐฯ อย่างไรก็ตาม การอนุมัติแผน 7 แสนล้าน น่าจะทำให้ความเชื่อมั่นทั่วโลกปรับตัวดีขึ้น
3. เศรษฐกิจโลกชะลอมากกว่าที่คาดการณ์
- ประธานคณะรัฐมนตรีคลังของสหรัฐยุโรป (อียู) คาดการณ์ว่า เศรษฐกิจในกลุ่มอียูในปี 52 ชะลอลงร้อยละ 1.0 ชะลอลงจากการคาดการณ์ครั้งที่แล้วเมื่อเดือนเม.ย.51 ที่ร้อยละ 1.5 โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศผู้นำเศรษฐกิจของกลุ่ม เช่น เยอรมัน ฝรั่งเศส และอิตาลี เนื่องจากปัญหาซับไพร์ม ขณะที่ธนาคารญี่ปุ่นได้อัดฉีดเงินกู้เข้าระบบเป็นครั้งที่ 11 อีก 7,500 ล้านดอลลาร็สหรัฐ(ราว 2.55 แสนล้านบาท) เนื่องจากคาดว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวลงมากของเศรษฐกิจสหรัฐและยุโรป โดยล่าสุดดัชนีความเชื่อมั่นภาคธุรกิจญี่ปุ่นเดือนก.ย.51ลดลงระดับ 3.0 ซึ่งเป็นการติดลบครั้งแรกในรอบ 5 ปี
- สศค. วิเคราะห์ว่า เศรษฐกิจโลกในปี 51และ 52 จะขยายตัวในอัตราที่ชะลงจากปี 50 อย่างมากเนื่องจากปัญหาวิกฤติการเงินของสหรัฐที่ยังคงส่งผลกระทบอย่างต่อเนื่องและลุกลามไปยังภูมิภาคอื่นๆ โดยเฉพาะสหภาพยุโรป (อียู) และญี่ปุ่น ทำให้คาดว่าในปี 51 เศรษฐกิจสหภาพยุโรป (อียู) และญี่ปุ่นขยายตัวที่ร้อยละ 1.5 และ 0.9 ในขณะที่ปี 52 คาดว่าเศรษฐกิจสหภาพยุโรป (อียู) และญี่ปุ่นขยายตัวที่ร้อยละ 1.2 และ 0.8ตามลำดับ
ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office
Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ