ภาวะเศรษฐกิจสหภาพยุโรป กันยายน 2551

ข่าวเศรษฐกิจ Monday October 6, 2008 13:53 —กระทรวงการคลัง

ภาพรวมเศรษฐกิจ   ( กันยายน 2551 ) 
ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรม : เดือนกรกฎาคมอยู่ที่ระดับ 110.9 จุด ขณะที่ความเชื่อมั่นทางธุรกิจเดือนกรกฎาคมยังลงลึกต่อเนื่อง
ดัชนีชี้วัดผลผลิตภาคอุตสาหกรรม (Industrial Production Index: IPI) ที่ปรับตามฤดูกาลแล้วประจำเดือนกรกฎาคมของกลุ่ม EU15 ปรับตัวลดลงสู่ระดับ 110.9 จุด ลดลงอีก 0.4 จุดจากเดือนที่แล้ว หรือลดลงร้อยละ 1.7 จากเดือนเดียวกันของปีที่แล้ว โดยดัชนีมีการปรับลดลงค่อนข้างมากในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมาหลังจากที่ดัชนีอยู่ในระดับสูงสุด 113.7 จุดเมื่อเดือนเมษายน ซึ่งสอดคล้องกับแนวโน้มการชะลอตัวทางเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศพื้นที่ยูโร โดยในเดือนนี้ดัชนีการผลิตชะลอตัวลงในทุกขั้นของการผลิต ไม่ว่าจะเป็นสินค้าบริโภคชนิดคงทน สินค้าขั้นกลางสินค้าบริโภคชนิดไม่คงทน สินค้าทุนและสินค้าหมวดพลังงาน ที่ชะลอตัวลงร้อยละ 5.7, 2.3, 1.5, 1.1 และ 0.3 ตามลำดับ
ขณะที่ดัชนีชี้วัดทางด้านอุปสงค์ของกลุ่ม EU15 ในเดือนสิงหาคมยังคงลดลงลึกต่อเนื่องโดยลดลงต่ำกว่าระดับ 90 จุดเป็นเดือนที่สอง สะท้อนถึงความเชื่อมั่นของพื้นที่ยูโรที่แย่ลงต่อเนื่องอันเป็นผลมาจากความกังวลถึงผลกระทบจากปัญหาการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก และแรงกดดันทางด้านเงินเฟ้อ โดยดัชนีผลสำรวจความเชื่อมั่นทางธุรกิจ (Economic Sentiment Index: ESI) ประจำเดือนสิงหาคมลดลงสู่ระดับ 88.8 จุด ลดลง 0.7 จุดหลังจากเดือนที่แล้วดัชนีลดลงถึง 5.3 จุด และนับเป็นเดือนที่หกติดต่อกันที่ดัชนีอยู่ในระดับต่ำกว่า 100 จุด หลังจากที่ดัชนีขึ้นไปสูงสุดที่ระดับ 111.6 จุดเมื่อเดือนพฤษภาคมปีที่แล้ว
อัตราเงินเฟ้อ : เดือนสิงหาคมเริ่มชะลอลงเหลือร้อยละ 3.8
ดัชัชนีราคาผู้บรริโภค (Harmonised Index of Consumer Prices: HICP) ของพื้นที่ยุโรป (Euro Area: 15 ประเทศ) ประจำเดือนสิงหาคมเริ่มชะลอตัวลงหลังจากที่ขึ้นไปทำสถิติสูงสุดที่ร้อยละ 4.0 ติดตต่อกันสองเดือน โดยในเดือนนี้อัตราเงินเฟ้อลดลงเหลือร้อยละ 3.8 แม้จะชะลอลงแต่ก็ถือเป็นอัตราเงินเฟ้อที่สูงกว่าระดับเงินเฟ้อเป้าหมายร้อยละ 2.0 เป็นเดือนที่สิบสองติดต่อกันแล้ว โดยปัจจัยที่ทำให้อัตราเงินเฟ้อในเดือนนี้เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วมาจากหมวดที่อยยู่อาศัย (6.3%) หมวดคมนาคม (6.3%) และหมวดอาหาร (6.2%) ขณะที่หมวดที่มีระดับราคาเพิ่มขึ้นต่ำเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ได้แก่ หมวดสื่อสาร (-2.5%) เครื่องนุ่งห่ม (0.4%) และหมวดสันธนาการและวัฒนธรรม (0.5%) โดยในเดือนนี้ประเทศที่มีอัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ Slovenia Malta Belgium Cyprus และ Spain ที่มีอัตราแงินเฟ้อร้อยละ 6.0, 5.4, 5.4, 5.1 และ 4.9 ตามลำดับ ขณะที่ประเทศ Netherlands Portugal และ Ireland มีอัตราเงินเฟ้อต่ำสุดร้อยละ 3.0, 3.1 และ 3.2 ตามลำดับ
สำหรับดัชนีราคาผู้บริโภคขของประเทศยูโร 27 ประเททศ (EU 27) ก็ชะลอลงเหหลือร้อยละ 4.2 หลังจากที่ขึ้นนไปสูงสุดที่ระดับร้อยละ 4.4 เมื่อเดือนที่แล้ว โดยประเทศที่มีอัตราเงินเฟ้อสสูงสุดในกลุ่มยูโร ได้แก่ Latvia Lithuania และ Bulgaria ที่มีอัตราเงินเฟ้อสูงถึงร้อยละ 15.6, 12.2 และ 11.8 ตามลำดับ
อัตราการว่างงาน : เดือนสิงหาคมเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 7.5 เป็นเดือนแรก
ในเดือนสิงหาคคม Euro area 15 ประเทศมียอดผู้ว่างงานที่ปรับตามฤดูกาลแล้วรวมกันทั้งสิ้น 11.596 ล้านคน (เพิ่มขึ้น 90,000 คนจากเดือนที่แล้ว) คิดเป็นอัตราการว่างงานร้อยละ 7.5 ของจำนวนแรงงานทั้งหมด ถือเป็นเดือนแรกที่อัตราการว่างงานเพิ่มขึ้นแตะระดับดังกล่าวหลังจากที่อัตราการว่างงานอยู่ในระดับต่ำสุดร้อยละ 7.2 เมื่อเดือนมีนาคมและเมษายน ก่อนที่จะทยอยเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 7.3 และ 7.4 ในช่วง 3 เดือนก่อนหน้า และเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่แล้วปรากฎว่าจำนวนผู้ว่างงานเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนถึง 272,000 คน
ขณะที่ยอดผู้ว่างงานของ EU 27 ประเททศ ณ เดือนสิงหาคม มีจำนวนทั้งสิ้น 16.572 ล้านคน คิดเป็นอัตราการว่างงานร้อยละ 6.9 นับเป็นเดือนที่สี่ติดต่อกันที่อัตราการว่างงานอยู่ในระดับดังกล่าว
อัตราดอกเบี้ยและอัตราแลกเปลี่ยน
อัตราดอกเบี้ย : ECB คงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ร้อยละ 4.25
เมื่อวันที่ 4 กันยายน คณะกรรมการธนาคารกลางสหภาพยุโรป มีมติคงอัตราดอกเบี้ย Refinancing Operations (MRO) ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของ ECB ไว้ที่ร้อยละ 4.25 เป็นเดือนที่สอง หลังจากที่ได้ขึ้นอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0.25 เมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา โดย ECB ได้ให้เหตุผลถึงการตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยในครั้งนี้ว่าเนื่องจากข้อมูลที่ออกมาล่าสุดพบว่าอัตราเงินเฟ้อจะยังคงอยู่ในระดับที่สูงกว่าอัตราเงินเฟ้อเป้าหมายอีกนานก่อนที่จะปรับลดลงทำให้ความเสี่ยงที่จะนำไปสู่การปรับเพิ่มของค่าแรงและราคาสินค้า (second-round effects) ในระยะปานกลางยังมีอยู่ แม้ว่าปริมาณเงินและสินเชื่อในระบบการเงินจะเริ่มมีทิศทางที่อ่อนชะลอลงแต่ก็ยังอยู่ในระดับที่สูงที่อาจจะก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการสนับสนุนการเพิ่มขึ้นของเงินเฟ้อได้ แม้ว่าในแง่ของเศรษฐกิจจะมีการชะลอลงอย่างชัดเจนในช่วงกลางปีแต่ก็เป็นผลจากการปรับตัวหลังจากที่เศรษฐกิจขยายตัวดีเกินคาดในไตรมาสแรก และเนื่องจากเป้าหมายหลักของ ECB คือการรักษาเสถียรภาพด้านราคาในระยะปานกลาง ดังนั้น ECB จึงตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยไว้ โดยการประชุมครั้งต่อไปจะมีขึ้นในวันที่ 9 ตุลาคม
ทั้งนี้ ณ สิ้นเดือนสิงหาคม สภาพคล่องในระบบเศรษฐกิจของ Euro Area ยังคงมีอัตราการเพิ่มที่ชะลอลงต่อเนื่อง โดยยอดคงค้างของปริมาณเงินตามความหมายกว้าง หรือ M3 ขึ้นมมาอยู่ที่ระดับ 9.149 ล้านล้านยูโร เพิ่มขึ้น 48.0 พันล้านยูโรจากเดือนที่แล้ว และคิดเป็นอัตราการเพิ่มร้อยละ 8.8 จากปีที่แล้ว (ชะลอลงจากเดือนกรกฎาคมที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.3) ขณะที่ยอดคงค้างสินเชื่อที่สถาบันการเงิน (MFI) ให้กู้กับภาคเอกชน (loan to private sector) มียอดคงค้าง ณ สิ้นเดือนสิงหาคมอยู่ที่ระดับ 10.721 ล้านล้านยูโร ลดลงจากเดือนก่อนหน้า 11.0 พันล้านยูโร โดยคิดเป็นอัตราการขยายตัวจากปีที่แล้วร้อยละ 8.8 (ลดลงจากเดือนกรกฎาคมที่ขยายตัวร้อยละ 9.4)
สำหรับค่าเฉลี่ยของอัตราดอกเบี้ยในตลาดเงิน (Money market interest rates) ในเดือนกันยายนโดยรวมแล้วใกล้เคียงกับเดือนก่อนหน้าทุกอายุ มีเพียงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ระยะ 1 เดือนเท่านั้นที่เพิ่มขึ้นมาที่สุดแต่ก็เพียง 17 basis points เท่านั้น อย่างไรก็ดี เมื่อเทียบกับปีที่แล้วอัตราดอกเบี้ยในตลาดเงินอายุไม่เกิน 1 ปีสูงกว่าปีที่แล้วทุกประเภทสอดคล้องกับการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยของ ECB ในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา
อัตราแลกเปลี่ยน : อ่อนค่าลงต่อเนื่องจากเดือนที่แล้วเมื่อเทียบกับ $ และ เยน
ค่าเงินยูโรเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ สรอ. ในเดือนกันยายนอ่อนค่าลงต่อเนื่องจากเดือนก่อน โดยปัจจัยหลักยังคงมาจากแนวโน้มภาวะเศรษฐกิจของสหภาพยุโรปและอังกฤษที่ยังเปราะบางและเสี่ยงต่อการเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย ประกอบกับวิกฤตการเงินที่แพร่กระจายไปทั่วโลกทำให้นักลงทุนทยอยถอนการลงทุนในตลาดต่างๆ และหันมาลงทุนในตลาดพันธบัตรสหรัฐฯ แทนในฐานะที่เป็น safe haven จึงส่งผลให้เงินดอลลาร์ สรอ. ยังคงแข็งค่าขึ้นต่อเนื่องจากเดือนก่อน โดยเงินดอลลาร์ สรอ. มีระดับปิดตตลาดวันแรกของเดือนที่ระดับ 1.4621 $/ยูโร จากนั้นเงินยูโรก็อ่อนค่าลงโดยลำดับจนลงมามีอัตราปิดตลาดที่ต่ำที่สุดของเดือนที่ระดับ 1.3934 $/ยูโร ก่อนที่เงินยูโรจะเริ่มกระเตื้องขึ้นในช่วงหลังของเดือนเมื่อปรากฎว่าวิกฤติระบบสถาบันการเงินของสหรัฐฯ ลามไปถึง AIG กลุ่มบริษัทประกันยักษ์ใหญ่ของโลกจนทางการสหรัฐฯ ต้องเข้าไปโอบอุ้มเนื่องจากเกรงผลกระทบที่จะลามไปสู่สถาบันการเงินอื่น รวมถึงการประกาศมาตรการที่จะรับซื้อหนี้เสียออกจากระบบสถาบันการเงินของกระทรวงการคลังสหรัฐฯ เป็นวงเงินถึง 700 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ที่ยังหาข้อสรุปไม่ได้เนื่องจากความขัดแย้งระหว่างฝ่ายบริหารและสภาคองเกรส โดยเงินยูโรกระเตื้องขึ้นมาและปิดตลาดวันสุดท้ายของเดือนที่ระดับ 1.4303 สรอ./ยูโร ส่งผลให้โดยรวมแล้วค่าเฉลี่ยของอัตราแลกเปลี่ยนเงินยูโรเมื่อเทียบกับดอลลาร์ สรอ.ในเดือนนี้อ่อนค่าลงจากค่าเฉลี่ยของเดือนก่อนหน้าอีกร้อยละ 4.0 หลังจากที่อ่อนค่าลงไปแล้วถึงร้อยละ 5.0 ในเดือนก่อน อย่างไรก็ดี เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยของเดือนเดียวกันปีที่แล้วเงินยูโรยังแข็งอยู่ร้อยละ 3.4
เงินยูโรเมื่อเทียบกับเงินปอนด์ในช่วงสัปดาห์แรกของเดือนยังคงแข็งค่าขึ้นต่อเนื่องจากปลายเดือนที่แล้วโดยเงินยูโรขขึ้นไปมีระดับบปิดที่แข็งค่าที่สุดของเดือนที่ระดับ 0.8133 ปอนด์/ยูโร จากนั้นเงินปอนด์ก็เริ่มฟื้นตัวขึ้นหลังจากที่ European Commissiion ประกาศลลดประมาณกการอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจในพื้นที่ยูโรลงจากที่เคยประมาณการไว้เดิมเมื่อเดือนเมษายนจึงเริ่มกดดันให้ค่าเงินยูโรอ่อนค่าลง ประกอบกับปัญหาวิกฤตการเงินโลกเริ่มกระทบกับสถาบันการเงินในยุโรปเป็นระลอกโดยเฉพาะกรณีที่รัฐบาลของกลุ่มประเทศ Benelux โดยเฉพาะเบลเยี่ยมที่ต้องอัดฉีดเงินเพิ่มทุนให้กับธนาคาร Fortis รวมถึงการที่กระทรวงการคลังไอร์แลนด์ต้องประกาศค้ำประกันเงินฝากในสถาบันการเงินรวม 6 แห่ง ล้วนเป็นแรงกดดันต่อเงินยูโรจนส่งผลให้เงินยูโรลงมาเคลื่อนไหวต่ำกว่ารระดับ 0.80 ปอนด์/ยูโร ได้อีกครั้งนับจากสัปดาห์สุดท้ายของเดือนก่อน โดยเงินยูโรปิดตลาดวันสุดท้ายของเดือนที่ระดับ 0.7903 ปอนด์/ยูโร อย่างไรก็ดี แม้จะอ่อนค่าลงในช่วง 3 สัปดาห์ท้ายของเดือนแต่ค่าเฉลี่ยของอัตราแลกเปลี่ยนเงินยูโรในเดือนนี้ยังคงแข็งค่าขึ้นจากเดือนที่แล้วเล็กน้อยร้อยละ 0.8 และเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยของเดือนเดียวกันเมื่อปีที่แล้วเงินยูโรยังแข็งค่าอยู่ร้อยละ 16.0
เงินยูโรเมื่อเทียบกับเงินเยนในเดือนนี้อ่อนค่าลงค่อนข้างแรง โดยเงินยูโรมีระดับปิดวันแรกของเดือนที่ระดับบ 157.72 เยน/ยูโร จากนั้นก็อ่อนค่าต่อเนื่องจนถึงกลางเดือนโดยมีระดับปิดที่อ่อนค่าต่ำสุดของเดือนที่ระดับ 148.07 เยน/ยูโร ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับจากเดือนสิงหาคม 2006 เป็นต้นมา หลังจากนั้นเงินยูโรเริ่มฟื้นตัวขึ้นในสัปดาห์ที่สามและสี่ของเดือนโดยขึ้นมามีระดับปิดที่สูงที่สุดของเดือนที่ระดับ 155.91 เยน/ยูโร ก่อนที่จะอ่อนตัวลงแรงอีกครั้งและปิดตลาดวันสุดท้ายของเดือนที่ระดับ 150.47 เยน/ยูโร เมื่อมีข่าวเกี่ยวกับปัญหาสถาบันการเงินของยุโรปกำลังได้รับผลกระทบจากวิกฤต โดยค่าเฉลี่ยของเงินยูโรในเดือนนี้อ่อนค่าลงจากเดือนที่แล้วถึงร้อยละ 6.4 อย่างไรก็ดี หากเปรียบเทียบกับรอบ 12 เดือนที่ผ่านมาเงินยูโรยังอ่อนค่าเมื่อเทียบกับเงินเยนร้อยละ 4.1
หลังจากที่เงินยูโรอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินบาทในเดือนที่แล้วซึ่งเป็นเดือนแรกที่อ่อนค่าลงหลังจากที่แข็งค่าเมื่อเทียบกับเงินบาทมาตลอดในช่วง 7 เดือนก่อนหน้านั้น ในเดือนนี้เงินยูโรยังคงอ่อนค่าเมื่อเทียบกับเงินบาทต่อเนื่องจากเดือนที่แล้ว โดยหลังจากปิดตลาดวันแรกของเดือนที่ระดับ 50.15 ฿/ยูโร เงินยูโรก็อ่อนค่าลงตลอดในช่วง 2 สัปดาห์แรกโดยมีระดับปิดที่อ่อนค่าที่สุดของเดือนที่ระดับ 48.449 ฿/ยูโร ซึ่งเป็นระดับที่อ่อนค่าที่สุดนับจากเดือนมีนาคมเป็นต้นมา จากนั้นเงินยูโรก็เริ่มกระเตื้องขึ้นในทิศทางเดียวกับการแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์ สรอ. และขึ้นมาแข็งค่าสุดที่ระดับ 49.953 ฿/ยูโร ก่อนที่จะอ่อนค่าลงในสัปดาห์สุดท้ายของเดือนและมีอัตราปิดตลาดวันสุดท้ายของเดือนที่ระดับ 48.473 ฿/ยูโร ส่งผลให้ค่าเฉลี่ยของเงินยูโรเมื่อเทียบกับเงินบาทในเดือนนี้อ่อนค่าลงอีกร้อยละ 2.8 นับเป็นเดือนที่สองที่ยูโรอ่อนค่ากับเงินบาท ทั้งนี้ในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมาเงินยูโรยังแข็งค่าเมื่อเทียบกับเงินบาทอยู่ร้อยละ 10.5
ดุลบัญชีชีเดินสะพัดและดุลการชชำระเงิน
เดือนกรกฎาคม: Euro Area ขาดดุลบัญชีเดินสะพัดเพียง 1.7 พันล้านนยูโร
ณ สิ้นเดือนกรรกฎาคม Euroo area มีฐานนะดุลบัญชีเดดินสะพัดที่ปรรับตามฤดูกาลแล้ว (seasonally adjusted current account balance) ขาดดุลเล็กน้อย 1.7 พันล้านยูโร (หรือเท่ากับขาดดุล 1.1 พันล้านยูโร กรณีเป็นข้อมูลที่ยังไม่ได้ปรับตามฤดูกาล) โดย Euro area มีการขาดดุลการค้า (goods trade) 1.6 พันล้านยูโร แต่เกินดุลบริการ(services) 4.4 พันล้านยูโร ขณะที่ดุลรายได้
(incoome) มีการเกินดุล 2.3 พันล้านยูโร แต่ขาดดุลเงินโอน (current transfer) มากถึง 6.8 พันล้านยูโรจึงส่งผลให้ โดยรวมแล้วในเดือนนี้ Euro area มียอดขาดดุลบัญชีเดินสะพัดเล็กน้อยดังกล่าว
อย่างไรก็ดี หากพิจารณาฐานะดุลบัญชีเดินสะพัดสะสมในรอบ 12 เดือนสิ้นสุดเดือนกรกฎาคม พบว่า Euro area มีฐานะขาดดุลบัญชีเดินสะพัดสะสมเป็นจำนวนถึง 23.9 พันล้านยูโร ต่างจากเดือนกรกฎาคมของปีที่แล้วที่มีฐานะดดุลบัญชีเดินสสะพัดสะสมเกกินดุลเป็นจำนนวน 27.4 พพันล้านยูโร ซึ่งการที่ยอดดุลบัญญชีเดินสะพัดสะสมมีการขาดดุลเป็นผลลมาจากการเกินดุลการค้าที่ลดลง รวมถึงดุลรายได้และดุลเงินโอนก็มีการขาดดุลเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว แม้ว่าจะมีการเกินดุลบริการสะสมมากขึ้นก็ตาม
ทางด้านดุลบัญชีเงินทุนเคลื่อนย้าย (financial account) ที่ยังไม่ปรับตามฤดูกาล (non-seasonal adjusted) ประจำเดือนกรกฎาคม พบว่า Euro area มีฐานะบัญชีเงินทุนไหลออกสุทธิ 4.5 พันล้านยูโร (เทียบกับเดือนที่แล้วที่มีฐานะเงินทุนไหลเข้าสุทธิถึง 12.7 พันล้านยูโร) แยกเป็น 1) เงินลงทุนทางตรง (direct investment) มียอดไหลออกสุทธิ 14.5 พันล้านยูโร 2) เงินลงทุนในหลักทรัพย์ (portfolio investment) มียอดไหลออกสุทธิมากถึง 4.6 พันล้านยูโร 3) อนุพันธ์ทางการเงิน มีฐานะไหลเข้าสุทธิ 2.2 พันล้านยูโร และ 4) เงินลงทุนประเภทอื่น (other investment) มีฐานะไหลเข้าสุทธิ 14.1 พันล้านยูโร
ทั้งนี้ ในรอบ 12 เดือนสิ้นสุดเดือนกรกฎาคม Euro area มีฐานะดุลบัญชีเงินทุนเคลื่อนย้าย (financial account) ไหลเข้าสุทธิ 59.8 พันล้านยูโร (ลดลงจากปีที่แล้วที่มีฐานะไหลเข้าสุทธิ 128.0 พันล้านยูโร) ซึ่งการที่ในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมา Euro area มีฐานะดุลบัญชีเงินทุนเคลื่อนย้ายสะสมเกินดุลดลงจากปีที่แล้ว เนื่องจากมีการขาดดุลเงินลงทุนทางตรงเพิ่มขึ้นขณะที่การเกินดุลเงินลงทุนในหลักทรัพย์ (portfolio investment) สะสมมียอดเกินดุลลดลง แม้ว่าจะดุลการกู้ยืมจะเกินดุลเพิ่มขึ้นจากการที่สถาบันการเงินมีฐานะเป็นผู้กู้ยืมเงินสุทธิมากถึง 199.8 พันล้านยูโรก็ตตาม
ประเด็นข่าวสำคัญ ๆ ในรอบเดือนที่ผ่านมา
- OECD ทบทวนประมาณการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (GDP) ปี 2008 ของพื้นที่ยูโร 15 ประเทศ (Euro Area) ว่าจะขยายตัวเพียงร้อยละ 1.3 จากเดิมที่เคยประมาณการไว้เดิมว่าจะขยายตัวร้อยละ 1.7 ขณะเดียวกัน ก็ได้ปรับลดประมาณการขยายตัวทางเศรษฐกิจของสหราชอาณาจักรเหลือเพียงร้อยละ 1.2 จากเดิมที่ประมาณการว่าจะขยายตัวในอัตราร้อยละ 1.8 (2 กันยายน 2008)
- European Commission ปรับลดประมาณการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (GDP) ปี 2008 ของพื้นที่ยูโร 15 ประเทศ (Euro Area) เหลือเพียงร้อยละ 1.3 จากเดิมที่เคยประมาณการไว้เดิมเมื่อเดือนเมษายนว่าจะขยายตัวร้อยละ 1.7 โดยเชื่อว่าเศรษฐกิจของเยอรมัน อังกฤษ และสเปน เข้าสู่ภาวะตกต่ำ (recession) เนื่องจากการประมาณการเบื้องต้นพบว่าเศรษฐกิจของเยอรมันในไตรมาสที่ 3 หดตัวลงจากไตรมาสที่ 2 อีกร้อยละ 0.2 หลังจากที่หดตัวไปแล้วร้อยละ 0.5 ในไตรมาสที่ 2 ขณะที่เศรษฐกิจของอังกฤษและสเปนมีแนวโน้มหดตัวลงในไตรมาสที่ 3 และ ไตรมาสที่ 4 ของปีนี้ สำหรับอัตราเงินเฟ้อของพื้นที่ยูโรคาดว่าเฉลี่ยทั้งปีจะอยู่ที่ร้อยละ 3.6 (10 กันยายน 2008)
- เศรษฐกิจของประเทศ Ireland เข้าสู่ภาวะถดถอย (recession) หลังจากที่ GDP ไตรมาสที่ 2 ออกมาติดลบร้อยละ 0.8 จากไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว และติดลบร้อยละ 0.5 เมื่อเทียบกับไตรมาสแรก นับเป็นไตรมาสที่สองติดต่อกันที่ GDP ติดลบหลังจากที่ไตรมาสแรก GDP ติดลบร้อยละ 0.3 ซึ่งในทางเทคนิคแล้วการที่เศรษฐกิจขยายตัวติดลบติดต่อกัน 2 ไตรมาสถือว่าเข้าขั้นเศรษฐกิจถดถอย โดย Ireland เป็นประเทศแรกในกลุ่ม Euro area 15 ประเทศ ที่เศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะถดถอยและเป็นการสิ้นสุดยุคทองทางเศรษฐกิจของประเทศหลังจากที่เศรษฐกิจเติบโตได้ดีตลอด 25 ปีที่ผ่านมา อนึ่งก่อนหน้านี้ EC ได้ปรับประมาณการเบื้องต้นของอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ(flash estimated GDP) ประจำไตรมาสที่ 2 ของ Euro area 15 ประเทศ พบว่าเศรษฐกิจขยายตัวติดลบร้อยละ 0.2 จากไตรมาสแรกที่ขยายตัวได้ดีถึงร้อยละ 0.7 (25 กันยายน 2008)
- รัฐบาลกลุ่ม Benelux ได้แก่ เบลเยี่ยม เนเธอร์แลนด์ และลักเซมเบอร์ก อัดฉีดเงินเพิ่มทุน 11.2 พันล้านยูโร หรือเท่ากับร้อยละ 49 ของทุนจดทะเบียนของธนาคาร Fortis ที่เป็นธนาคารใหญ่ที่สุดและเป็นกิจการที่มีการจ้างงานมากที่สุดของประเทศเบลเยี่ยม เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนที่กำลังวิตกถึงฐานะของธนาคารหลังมีข่าวว่าธนาคารกำลังประสบปัญหาสภาพคล่องและฐานะเงินกองทุนและกำลังถูกทาบทามซื้อกิจการโดยธนาคาร BNP Paribas ของฝรั่งเศศ และธนาคาร ING ของเนเธอร์แลนด์ ทั้งนี้ Fortis ถือเป็นธนาคารขนาดใหญ่ 20 อันดับแรกของยุโรปและเริ่มประสบปัญหาหลังจากใช้เงินจำนวนมากเข้าไปซื้อกิจการบางส่วนจากธนาคาร ABN Amro เมื่อปีที่แล้วก่อนที่ปัญหาในภาคการเงินจะประทุขึ้น (29 กันยายน 2008)
- ภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวของฝรั่งเศสกำลังส่งผลกระทบต่อความพยายามควบคุมฐานะการขาดดุลงบประมาณต่อ GDP โดยคาดว่าในปีและปีหน้าอัตราส่วนดังกล่าวจะอยู่ที่ระดับร้อยละ 2.7 หลังมีการประมาณการว่าเศรษฐกิจจะเติบโตเพียงร้อยละ 1.0 ในปี 2008 และ 2009 แต่นักเศรษฐศาสตร์คาดการว่าการขาดดุลน่าจะสูงเกินร้อยละ 3.0 ของ GDP ซึ่งเป็นเพดานขั้นสูงตามเกณฑ์ของ EU และตั้งข้อสังเกตถึงความสามารถของฝรั่งเศสที่จะลดการขาดดุลให้กลับมาอยู่ในฐานะสมดุลได้ภายในปี 2012 หลังจากที่นายกรัฐมนตรี Sarkozy ได้ออกมาประกาศว่าจะไม่เพิ่มภาษีภายใต้ภาวะปัจจุบัน และพร้อมจะแทรกแซงเพื่อรักษาเสถียรภาพของระบบการเงินด้วยการค้ำประกันเงินฝากของทุกสถาบันการเงินหากมีความจำเป็น (25 กันยายน 2008)
- กระทรวงการคลังไอร์แลนด์ประกาศค้ำประกันเงินฝากทุกประเภท พันธบัตร ตราสารหนี้ที่มีบุริมสิทธิ์ (senior debt) และหุ้นกู้ด้อยสิทธิที่มีกำหนดเวลาแปลงสภาพ (dated subordinated debt) ใน 6 สถาบันการเงิน ได้แก่ Allied Irish Bank, Bank of Ireland, Anglo Irish Bank, Irish Life and Permanent, Irish Nationwide Building Society และ Educational Building Society โดยมีผลทันทีและการค้ำประกันจะสิ้นสุดลงในวันที่ 28 กันยายน 2010 การประกาศดังกล่าวก็เพื่อป้องกันผลกระทบจากวิกฤตการเงินโลกที่จะมีต่อระบบธนาคารของไอร์แลนด์ (30 กันยายน 2008)
- ประมาณการเบื้องต้นของอัตราเงินเฟ้อ (flash estimated inflation) ประจำเดือนกันยายนของ Euro area คาดว่าจะลดลงเหลือร้อยละ 3.6 ลดลงจากเดือนที่แล้วที่อยู่ที่ระดับร้อยละ 3.8 หลังจากที่เงินเฟ้อทำสถิติสูงสุดร้อยละ 4.0 นับจากการรวมตัวเป็น Euro area เมื่อปี 1999 อย่างไรก็ดี อัตราเงินเฟ้อยังคงสูงกว่าอัตราเงินเฟ้อเป้าหมาย (inflation target) ที่ร้อยละ 2.0 อยู่มากพอสมควร (30กันยายน 2008)
ที่มา : Macroeconomic Analysis Group : Fiscal Policy Office
Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ