ภาวะเศรษฐกิจสหราชอาณาจักร กันยายน 2551

ข่าวเศรษฐกิจ Monday October 6, 2008 16:12 —กระทรวงการคลัง

ภาพรวมเศรษฐกิจ   ( กันยายน 2551 ) 
ดัชนีชี้วัดการผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนกรกฎาคมหดตัวลงอีก 0.5 จุด
ดัชนีชี้วัดการผลิตภาคอุตสาหกรรม (Industrial Production Index: IPI) ในเดือนกรกฎาคมยังปรับตัวลดลงอีก 0.5 จุดจากเดือนที่แล้วมาอยู่ที่ระดับ 99.3 และหากพิจารณาจากค่าเฉลี่ยของดัชนีช่วง 3 เดือนน (พฤษภาคม-กรกฎาคม) พบว่าลดลงจากค่าเฉลี่ยของช่วง 3 เดือนก่อนหน้า (กุมภาพันธ์-เมษายน) ถึงร้อยละ 1.1 โดยดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมลดลงในทุกหมวด ไม่ว่าจะเป็นการผลิตสินค้าอุตสาหกรรม (Manufacturing) ซึ่งมีน้ำหนักร้อยละ 79 ลดลงร้อยละ 1.1 จากช่วง 3 เดือนก่อนนหน้า ขณะที่ดัชนีผลผลิตภาคเหมืองแร่ทรัพพยากรธรรมชาติ และน้ำมัน ซึ่งมีน้ำหนักร้อยละ 12 ลดลงร้อยละ 0.6 ส่วนดัชนีผลผผลิตด้านพลังงานไฟฟฟ้า น้ำ และ ก๊าซ ซึ่งมีน้ำหหนักร้อยละ 9 ก็ลดลงร้อยละ1.3
ทั้งนี้ หากพิจารณาดัชนีการผลิตตามระดับขั้นของผลลผลิตพบว่าค่าเฉลี่ย 3 เดือนของดัชนีผลผลิตสินค้าขั้นกลางและพลังงาน(Intermediate goods and energy) ซึ่งมีน้ำหนักร้อยละ 48 ลดลงจากรอบ 3 เดือนก่อนหน้าร้อยละ 0.8 ดัชนีผลผลลิตสินค้าเพื่อกการบริโภคที่ไม่คงทน (Consumer non-durable) ซึ่งมีน้ำหนักร้อยละ 27 ลดลงแรงร้อยละ 1.4 สินค้าเพื่อการบริโภคที่คงทน (Consummer durable) ซึ่งมีน้ำหนักร้อยละ 3.6 ลดลงร้อยละ 2.5 ขณะที่สินค้าทุน (Capital goods) ซึ่งมีน้ำหนักร้อยละ 21 ก็ลดลงร้อยละ 1.0 จากรอบ 3 เดือนก่อนหน้า และโดยดัชนีผลผผลิตภาคอุตสาหกรรมที่ยังชะลอตัวลงอีกในเดือนนี้สอดคล้องกับภาวะการชะลอตัวของเศรษฐกิจโดยรวมในไตรมาสที่ 2 ที่เศรษฐกิจไม่ขยายตัวจากไตรมาสแรก
อัตราเงินเฟ้อ : CPI เดือนสิงหาคมยังพุ่งไม่หยุดทำสถิติแตะระดับร้อยละ 4.7
ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ในเดือนสิงหาคมยังคงเร่งตัวขึ้นแรงต่อเนื่องหลังจากทำสถิติพุ่งสู่ระดับร้อยละ 4.4 เมื่อเดือนที่แล้ว โดยในเดือนนี้เงินเฟ้อทำสถิติสูงสุดใหม่อีกครั้งที่ระดับร้อยละ 4.7 โดยสาเหตุหลักที่ทำให้อัตราเงินเฟ้อในเดือนนี้เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีที่แล้วยังคงมาจากการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่ใช่แอลกอฮอล์ที่เร่งตัวขึ้นจากปีที่แล้วสู่ระดับร้อยละ 13.0 เทียบกับร้อยละ 12.3 ในเดือนที่แล้ว หมวดค่าใช้จ่ายประจำในครัวเรือน ค่าสาธารณูปโภคน้ำประปา แก๊สและไฟฟ้าที่เร่งตัวขึ้นเป็นร้อยละ 10.1 เทียบกับร้อยละ 7.8 ในเดือนที่แล้ว และหมวดค่าขนส่งที่แม้จะชะลอตัวลงเหลือร้อยละ 7.3 เทียบกับร้อยละ 8.0 ในเดือนที่แล้วแต่ก็ยังถือว่าเพิ่มในอัตราที่สูงสำหรับหมวดสินค้าที่มีระดับราคาลดลงเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ได้แก่ หมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้าที่มีระดับราคาลดลงร้อยละ 6.7 เท่ากับเดือนที่แล้ว หมวดสื่อสารที่ลดลงถึงร้อยละ 3.0 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 0.7 ในเดือนที่แล้ว และหมวดสันธนาการและวัฒนธรรมที่ลดลงร้อยละ 0.2 จากปีที่แล้ว
ทางด้านดัชนี (Retail Price Index: RPI) ในเดือนนี้ชะลอลงจากเดือนก่อนเล็กน้อยแต่ก็ยังถือว่าเพิ่มขึ้นในอัตราที่สูงโดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.8 ในเดือนนี้เทียบกับร้อยละ 5.0 ในเดือนที่แล้วโดยปัจจัยที่ส่งผลต่อการเร่งตัวขึ้นของเงินเฟ้อในเดือนนี้ยังคงมาจากรายจ่ายหมวดอาหารและภัตตาคารที่ยังคงเร่งตัวขึ้นต่อไปเป็นร้อยละ 10.3 เทียบกับร้อยละ 9.8 ในเดือนที่แล้ว ขณะที่ราคาสินค้าในหมวดอื่น ๆ จะใกล้เคียงหรือต่ำกว่าเดือนที่แล้วเล็กน้อย เช่น ราคาสินค้าหมวดที่อยู่อาศัยและรายจ่ายในครัวเรือนเพิ่มในอัตราที่ชะลอลงโดยเพิ่มร้อยละ 4.3 เทียบกับร้อยละ 4.5 ในเดือนที่แล้วเนื่องจากค่าใช้จ่ายในครัวเรือนหมวดไฟฟ้าและน้ำมันที่เร่งตัวขึ้นแรงถึงร้อยละ 24.6 จากร้อยละ 17.2 ในเดือนก่อน แม้รายจ่ายในส่วนที่เกี่ยวกับค่าเช่าและค่าผ่อนชำระสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยยจะชะลอตัวลงก็ตาม ขณะที่หมวดการเดินทางและพักผ่อนลดลงเหลือร้อยละ 4.0 จากร้อยละ 5.1 ในเดือนที่แล้ว
อัตราการว่างงาน : เดือนกรกฎาคมทะยานสู่ระดับร้อยละ 5.5
ในรอบ 3 เดือนสิ้นสุดเดือนกรกฎาคม (พฤษภาคม-กรกฎาคม) จำนวนผู้มีงานทำ (employment level) มีจำนวน 29.538 ล้านคน ลดลง 16,000 คนจากรอบไตรมาสก่อนหน้า(กุมภาพันธ์-เมษายน) แต่ยังคงเพิ่มขึ้น 330,000 คนจากรอบไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว โดยคิดเป็นอัตราการจ้างงานของผู้อยู่ในวัยทำงานเท่ากับร้อยละ 74.7 ของผู้ที่อยู่ในวัยทำงานทั้งหมด (working age employment rate) โดยอัตราผู้มีงานทำในไตรมาสนี้ลดลงจากไตรมาสก่อนหน้า 0.2 จุด
ทางด้านจำนวนผู้ว่างงานและอัตราการว่างงานในรอบสามเดือนสิ้นเดือนกรกฎาคม มียอดผู้ว่างงานเฉลี่ย 1.724 ล้านคน เพิ่มขึ้น 81,000 คนจากรอบไตรมาสก่อนหน้า และเพิ่มขึ้น 72,000 คนจากไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว ส่งผลให้อัตราการว่างงานเฉลี่ยในรอบไตรมาสนี้เพิ่มขึ้นสู่ระดับ ร้อยละ 5.5 เทียบกับร้อยละ 5.3 ในไตรมาสก่อนหน้า
สำหรับดัชนีชี้วัดรายได้เฉลี่ยของแรงงานไม่รวมเงินโบนัส (GB average earnings index: AEI) ในรอบไตรมาสสิ้นสุดเดือนกรกฎาคมเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.7 จากปีที่แล้ว (ไม่เปลี่ยนแปลงจากรอบไตรมาสก่อนหน้า) ขณะที่ดัชนีที่รวมรายได้จากโบนัสเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.5 จากปีที่แล้ว (เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 จากรอบไตรมาสก่อนหน้า)
อัตราดอกเบี้ยและอัตราแลกเปลี่ยน
อัตราดอกเบี้ย : Bank of England คงอัตราดอกเบี้ยที่ร้อยละ 5.0 เป็นเดือนที่ 6
เมื่อวันที่ 4 กันยายน คณะกรรมการนโยบายการเงิน (MPC) ของธนาคารกลางอังกฤษ มีมติ 8:1 ให้คงอัตราดอกเบี้ย Base rate ไว้ที่ร้อยละ 5.0 โดยกรรมการรายหนึ่งเห็นควรให้ลดอัตราดอกเบี้ยลงถึงร้อยละ 0.50 นับเป็นเดือนที่ 6 ที่ MPC มีมติให้คงอัตราดอกเบี้ยไว้ โดย
คณะกรรมการได้ให้เหตุผลของการคงอัตราดอกเบี้ยว่าแม้ความเสี่ยงของการชะลอตัวทางเศรษฐกิจและความต้องการภายในประเทศจะมีความชัดเจนขึ้นเป็นลำดับหลังจากที่เศรษฐกิจไตรมาสที่สองออกมาแทบไม่ขยายตัวและเชื่อว่าอัตราเงินเฟ้อน่าจะกลับเข้าสู่ระดดับเป้าหมายภภายใน 2 ปีก็ตาม แต่
ความเสี่ยงต่อการที่อัตราเงินแฟ้อจะเร่งตัวขึ้นจนนำไปสู่การเพิ่มขึ้นของอัตราเงินเฟ้อเกินกว่าระดับเป้าหมายในระยะปานกลางก็ยังมีอยู่โดยเฉพาะเงินเฟ้อจากราคาสินค้านำเข้าเนื่องจากเงินปอนด์อ่อนค่าลงและการอ่อนค่าของเงินปอนด์อาจจะทำให้อุปสงค์มีมากขึ้นเนื่องจากการส่งออก ซึ่งหากคณะกรรมการตัดสินใจลดอัตราดอกเบี้ยในท่ามกลางความเสี่ยงที่ก้ำกึ่งกันระหว่างภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวกับการเร่งตัวของอัตราเงินเฟ้อในระยะปานนกลางก็อาจจะทำให้ถูกมองว่าไม่ได้ให้น้ำหนักกับการควบคุมอัตราเงินเฟ้อให้เป็นไปตามเป้าหมาย ดังนั้น คณะกรรมการเห็นควรให้คงอัตราดอกเบี้ยไว้ตามเดิม โดยการประชุมครั้งต่อไปที่จะมีขึ้นวันที่ 9 กันยายน 2008
ในเดือนสิงหาคมอัตราดอกเบี้ยเงินกู้เพื่อที่อยู่อาศัยชนิดลอยตัว (flexible rate) ยังคงอยู่ในระดับใกล้เคียงกับเดือนกรกฎาคมและมิถุนายนโดยอยู่ที่ระดับร้อยละ 6.93 ขณะที่อัตราดอกเบี้ยเงินกู้เพื่อที่อยู่อาศัยชนิดที่อิงอัตราดอกเบี้ยพื้นฐาน (base rate tracker mortgage) ในเดือนสิงหาคมอยู่ที่ร้อยละ 6.20 ลดลงจากเดือนที่แล้ว 6 basis points อย่างไรก็ดี ส่วนต่างระหว่าง tracker mortgage rate กับbase rate ยังคงสูงอยู่ที่ระดับ 120 basis points จากปีที่แล้วที่มีส่วนต่างเพียง 60-80 basis points เนื่องจากความเสี่ยงของสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยอัตราดอกเบี้ยคงที่ระยะสั้นยังคงมีความเสี่ยงสูง
สำหรับโครงสร้างอัตราผลตอบแทนเฉลี่ย (average yield curve)) ประจำเดือนกันยายนพบว่าอัตราผลตอบแทนปรับลดลงจากเดือนที่แล้วทุกอายุต่อเนื่องจากเดือนที่แล้วซึ่งเป็นผลมาจากวิกฤตตลาดเงินส่งผลให้สถาบันการเงินต่างหลีกเลี่ยงที่จะให้กู้ระหว่างกันเพื่อลดความเสี่ยงและหันมาถือเงินสดและมีการลงทุนในพันธบัตรแทนทำให้อัตราผลตตอบแทนพันธบัตรปรับลดลงทุกอายุ โดยอัตราผลตอบแทนระยะสั้นต่ำกว่า 1 ปีปรับตัวลดลงระหว่าง 12-33 basis points ขณะที่อัตราผลตอบแทนระยะยาว 5-20 ปี ปรับลดลงระหว่าง 8-21 basis points
อัตราแลกเปลี่ยน : ปอนด์อ่อนค่าลงกับทุกสกุลต่อเนื่องจากเดือนที่แล้ว
เงินปอนด์เมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ สรออ. ในเดือนนี้อ่อนค่าลงค่อนข้างแรงต่อเนื่องจากเดือนที่แล้วเมื่อดอลลาร์ สรอ. ได้รับผลดีจากการที่นักลงทุนทยอยโยกเงินออกจากภูมิภาคเอเชียและตลาดแกิดใหม่เข้าสู่ตลาดพันธนบัตรสหรัฐฯ เพื่อความปลออดภัย (safe haven) แม้จะเกิดวิกฤติสถาบันการเงินขึ้นในสหหรัฐฯ ไม่ว่าจะเป็นกรณี Lehman Brothers ที่ประสบความล้มเหหลวในการหาผู้ร่วมทุนรายใหม่และประกาศเข้าสู่กระบวนการขอคุ้มครองเพื่อการฟื้นฟูหรือกรณีของ Merrill Lynch ที่ประสบปัญหาเช่นกันจนถูก Bank of America เข้าครอบครองกิจการด้วยวงเงิน 50 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ขณะเดียวกันปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจของอังกฤษเองก็อ่อนแอโดยตัวเลขการอนุมัติสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยในเดือนกรกฎาคมของอังกฤษออกมาต่ำที่สุดเป็นประวัติการณ์ซึ่งตอกย้ำภาวะซบเซาของภาคอสังหาริมทรัพย์และภาวะเศรษฐกิจโดยรวม แม้ว่า Bank of England จะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ตามเดิมก็ตามส่งผลให้เงินปอนด์อ่อนลงกับทุกสกุล โดยอัตราปิดตลาดของเงินปอนด์ต่ำสุดของเดือนที่ระดับ 1.7507 $/ปอนด์ อย่างไรก็ดี เงินปปอนด์เริ่มฟื้นตัวขึ้นโดยลำดับนับจากช่วงกลางเดือนนเมื่อปรากฎว่าวิกฤติระบบบสถาบันการเงินขของสหรัฐฯ ยังลามไปถึง AIG บริษัทประกันยักษ์ใหหญ่ของโลกจนทางการสหหรัฐฯ ต้องเข้าไปโอบอุ้มมเนื่องจากเกกรงผลกระทบบที่จะลามไปสู่สถาบันการรเงินอื่น รวมถถึงการประกาศมาตรการที่จะรับซื้อหนี้เสียออกจากระบบสถาบันการเงินของกระทรวงการคลังสหรัฐฯ เป็นวงเงินถึง 700 พันล้านดอลลลาร์ สรอ.ได้ส่งผลดีต่อเงินดอลลาร์ สรอ. เพียงช่วงสั้นๆ จากนั้นกลับกลายเป็นแรงกดดันต่อเงินดอลลาร์ สรอ. เมื่อตลาดวิเคราะห์ว่าจะส่งผลต่อยอดหนี้ของสหรัฐฯ ให้สูงขึ้นขณะเดียวกันที่ไม่มั่นใจว่ามาตรการนี้จะแก้ไขปัญหาได้เบ็ดเสร็จ ส่งผลให้เงินปอนด์กลับขึ้นมายืนเหนือระดับ 1.80 $/ปอนด์ ได้อีกครั้งและขึ้นมามีระดับปิดสูงงสุดของเดือนนที่ระดับ 1.855 $/ปอนด์ แต่ในช่วงสัปดาห์สุดท้ายของเดือนเงินปอนด์กลับถูกกดดันอีกครั้งรัฐบาลตัดสินใจสั่งยึดกิจการธนาคาร Bradford & Bingley เข้าเป็นของรัฐ ขณะที่ตัวเลขยอดการปล่อยสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยรายใหม่ ประจำเดือนสิงหาคมออกมาตต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ ประกอบกับผลการทบทวนนตัวเลข GDP ประจำไตรมาส 2 พบว่าเศรษฐกิจเริ่มหยุดนิ่งจึงส่งผลกดดันเงินปอนด์ โดยปอนด์ปิดตลาดวันสุดท้ายของเดือนที่ระดับ 1.7821 $/ปอนด์ ส่งผลให้ค่าเฉลี่ยเงินปอนด์ในเดือนนี้อ่อนค่าลงจากเดือนที่แล้วมากถึงร้อยละ 4.8 และอ่อนค่าลงร้อยละ 10.9 ในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมา
เงินปอนด์เมื่อเทียบกับยูโรในเดือนนี้มีทิศทางที่แข็งค่าขึ้นโดยหลังจากอ่อนค่าลงในช่วง 2-3 วันแรกต่อเนื่องจากเดือนที่แล้วและลงไปปิดอ่อนสุดที่ระดับ 1.2286 ยูโร/ปอนด์ แล้วเงินปอนด์ก็เริ่มฟื้นตัวขึ้นหลังจากที่ European Commission ประกาศลดประมาณการอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจในพื้นที่ยูโรลงจากที่เคยประมาณการไว้เมื่อเดือนเมษายนจึงเป็นปัจจัยสำคัญในการกดดันค่าเงินยูโรและทำให้เงินปอนด์สามารถกลับขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 1.27 ยูโร/ปอนด์ ได้ในช่วงสั้นๆ ก่อนที่เงินปอนด์จะอ่อนค่าลงอีกครั้งในช่วงหลังของเดือนจากปัญหาวิกฤตสถาบันการเงินของอังกฤษกระนั้นก็ดีในช่วงสิ้นเดือนเงินปอนด์กลับได้รับแรงหนุนจากกข่าวปัญหาสถาบันการเงินในยุโรปทำให้เงินปอนด์กระเตื้องขึ้นและปิดตลาดวันสุดท้ายของเดือนที่ระดับต่ำสุด 1.2684 ยูโร/ปอนด์ โดยค่าเฉลี่ยเงินปอนด์ในนเดือนนี้อ่อนตตัวลงเล็กน้อยยร้อยละ 0.7 จากเดือนที่แล้ว แต่ในช่ววง 12 เดือนที่ผ่านมา เงินปอนด์ยังอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินยูโรร้อยละ 13.7
เมื่อเทียบกับเงินบาทแล้ว เงินปอนด์ในเดือนนี้ยังคงอ่อนค่าลงต่อเนื่องจากเดือนที่แล้วแม้จะมีการเคลื่อนไหวผันผวนก็ตาม โดยเงินปอนด์ปิดตลาดวันแรกของเดือนที่ระดับ 61.6809 Baht/ปอนด์ จากนั้นเงินปอนด์ก็อ่อนค่าลงตลอดสัปดาห์แรกลงมาปิดแตะระดับับ 60.80 Baht/ปอนด์
ก่อนที่เงินปอนด์จะเริ่มกลับมาฟื้นตัวสลับอ่อนตัวในช่วงกลางเดือนโดยเงินปอนด์ฟื้นตัวแข็งค่าขึ้นสูงสุดของเดือนที่ระดับ 62.9134 Baht/ปอนด์ แต่จากนั้นเงินปอนด์กลับตกลงแรงอีกครั้งจากปัญหาวิกฤตสถาบันการเงินภายในประเทศและการประกาศตัวเลข GDP ที่ทบทวนล่าสุดยืนยันว่าเศรษฐกิจในไตรมาส 2 ไม่ขยายตัวจากไตรมาสแรก โดยเงินปอนด์ปิดตลาดวันสุดท้ายของเดือนเป็นระดับต่ำสุดของเดือนที่ระดับ 60.3063 Baht/ ปอนด์ ส่งผลให้ค่าเฉลี่ยของเงินปอนด์ในเดือนนี้อ่อนค่าลงเป็นเดือนที่ 2 อีกร้อยละ 3.6 และเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่แล้วเงินปอนด์อ่อนค่าเมื่อเทียบเงินบาทร้อยละ 4.9
ดุลงบประมาณ: เดือนสิงหาคม รัฐบาลขาดดุลถึง 10.4 พันล้านปอนด์
ณ สิ้นเดือนสิงหาคมซึ่งเป็นเดือนห้าของปีงบประมาณปัจจุบัน (2008/09) รัฐบาลขาดดุลงบรายจ่ายประจำจำนวน 7.82 พันล้านปอนด์ (เทียบกับที่ขาดดุล 6.2 พันล้านปอนด์ในเดือนสิงหาคมของปีที่แล้ว) และเมื่อรวมกับในเดือนนี้รัฐบาลมีการลงทุนสุทธิจำนวน 2.55 พันล้านปอนด์ จึงทำให้ฐานะดุลงบประมาณโดยรวมในเดือนนี้มียอดขาดดุลสุทธิเป็นจำนวนทั้งสิ้น 10.37 พันล้านปอนด์ (ขาดดุลเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 30.4 จากปีที่แล้ว) โดยในส่วนของรัฐบาลกลาง (central government account) สามารถจัดเก็บรายได้ในเดือนนี้จำนวน 37.9 พันล้านปอนด์ ขณะที่งบรายจ่ายประจำและงบลงทุนของรัฐบาลกลางมียอดรวม 47.6 พันล้านปอนด์ และเมื่อรวมกับรายจ่ายค่าเสื่อมราคา 0.5 พันล้านปอนด์ ส่งผลให้รัฐบาลกลางมีฐานะขาดดุลงบบประมาณเป็นจำนวนถึง 9.7 พันล้านปอนด์ (เทียบกับปีที่แล้วที่ขาดดุลเพียง 6.9 พันล้านปอนด์)
ทั้งนี้ ในช่วง 5 เดือนแรกของปีงบประมาณ รัฐบาลมียอดขาดดุลงบประมาณสะสมเป็นจำนวน 28.2 พันล้านปอนด์ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้วถึงร้อยละ 70.9 อนึ่ง ในการแถลงงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2008/09 เมื่อเดือนมีนาคม รัฐบาลประมาณการว่าในปีงบประมาณปัจจุบันจะขาดดุลเป็นจำนวน 43 พันล้านปอนด์
Debt/GDP : เดือนสิงหาคมอยู่ที่ร้อยละ 43.3 หลังรวมหนี้ Northern Rock
ณ สิ้นเดือนสิงหาคม ยอดคงค้างหนี้สาธธารณะอยู่ที่ระดับ 632.7 พันล้านปอนด์ หรือเท่ากับร้อยละ 43.3 ของ GDP (เทียบกับร้อยละ 43.1 ในเดือนที่แล้ว) เนื่องจากในเดือนนี้รัฐบาลมีการขาดดุลงบประมาณสูงถึง 10.37 พันล้านปอนด์ โดยในเดือนนี้ถือเป็นเดือนแรกที่มีการนำภาระหนี้ของ Bank of England และธนาคาร Northern Rock (ตั้งแต่ตุลาคม 2007) เข้ามารวมอยู่ในหนี้สาธารณะทำให้ยอดคงค้างหนนี้เพิ่มขึ้นดังกล่าว ขณะเดียวกันก็ส่งผลให้สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ในปัจจุบันอยู่ในระดับเกินร้อยละ 40 สูงกว่าเพดานหนี้สาธารณะภายใต้ sustainable investment rule ทั้งนี้ ในงบประมาณปี 2008/09 กระทรวงการคลังประมาณการว่ายอดหนี้สาธารณะจะอยู่ที่ระดับ 581 พันล้านปอนด์ หรือเท่ากับร้อยละ 38.5 ขออง GDP เมื่อสิ้นปีงบประมาณในเดือนมีนาคม 2009
ดุลบัญชีเดินสะพัดและดุลการชำระเงิน
ดุลการค้าและบริการ: เดือนกรกฎาคมอังกฤษขาดดุล 4.6 พันล้านปอนด์
เดือนกรกฎาคม อังกฤษมียอดส่งออกสินค้าและบริการรวม 34.3 พันล้านปอนด์ แต่มีการนำเข้ารวม 38.9 พันล้านปอนด์ ส่งผลให้มียอดขาดดุลการค้าและบริการรวม 4.6 พันล้านปอนด์ (ขาดดุลใกล้เคียงกับเดือนเดียวกันของปีที่แล้ว) โดยเป็นการขาดดุลการค้าสินค้าจำนวน 7.7 พันล้านปอนด์ แต่มีการเกินดุลการค้าบริการจำนนวน 3.1 พันลล้านปอนด์ สำหรับฐานะดุลการค้าและบริการสะสมในช่วง 7 เดือนแรกของปีพบว่าอังกฤษมียอดขาดดุลการค้าและบริการรวม 32.2 พันล้านปอนด์ (ขาดดุลเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ18.0) แยกเป็นการขาดดุลการค้า 54.0 พันล้านปอนด์ แต่เกินดุลบริการ 21.8 พันล้านปอนด์
ทั้งนี้ ในเดือนนี้อังกฤษมียอดขาดดุลการค้าสินค้ากับประเทศในกลุ่ม EU (27 ประเทศ) จำนวน 2.9 พันล้านปอนด์ ขาดดุลลดลงจากเดือนเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 14.3 และขาดดุลกับประเทศนอกกลุ่ม EU จำนวน 4.7 พันล้านปอนด์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.2 จากเดือน
เดียวกันของปีที่แล้ว ส่วนหนึ่งน่าจะเป็นผลกระทบจากการที่ค่าเงินยูโรแข็งค่าขึ้นมากในรอบปีที่ผ่านมาเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ สรอ.
สำหรับการค้ากับประเทศไทยในเดือนกรกฎาคม อังกฤษมียอดส่งออกสินค้าไปยังประเทศไทยจำนวน 70 ล้านปอนด์ แต่มีการนำเข้าจำนวน 184 ล้านปอนด์ ทำให้ขาดดุลการค้ากับประเทศไทยจำนวน 114 ล้านปอนด์ ขาดดุลลดลงจากเดือนเดียวกันของปีที่แล้วถึง ร้อยละ8.0 และส่งผลให้ยอดขาดดดุลการค้าสะสมกับประเททศไทยในช่วง 7 เดือนแรกของปีมีจำนวนรวม 912 ล้านปอนด์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.3 ซึ่งโดยเฉลี่ยแล้วอังกฤษขาดดุลการค้ากับประเทศไทยเฉลี่ยเดือนละ 130 ล้านปอนด์
ประเด็นข่าวสำคัญ ๆ ในรอบเดือนที่ผ่านมา
- กระทรวงการคลังประกาศมาตรการยกเว้นค่าธรรมเนียมการโอนอสังหาริมทรัพย์เพื่อที่อยู่อาศัย (stamp duty land tax) ที่จัดเก็บในอัตราร้อยละ 1.0 ของมูลค่าอสังหาริมทรัพย์ สำหรับการซื้ออสังหาริมทรัพย์ที่มีมูลค่าเท่ากับหรือน้อยกว่า 175,000 ปอนด์ โดยมีผลบังคับใช้สำหรับการโอนระหว่างวันที่ 3 กันยายน 2008 - 3 กันยายน 2009 โดยคาดว่ารัฐบาลจะสูญเสียรายได้ประมาณ 615 ล้านปอนด์ ซึ่งถือเป็นหนึ่งในมาตรการเพื่อช่วยเหลือผู้ซื้อบ้านหลังแรกและประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาระรายจ่ายด้านดอกเบี้ยสำหรับที่อยู่อาศัยที่เพิ่มสูงขึ้นวงเงิน 1,000 ล้านปอนด์ (5 กันยายน 2008)
- ผลสำรวจราคาที่อยู่อาศัยของ Halifax ประจำเดือนสิงหาคมพบว่าราคาที่อยู่อาศัยทั่วประเทศลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 1.8 และลดลงร้อยละ 10.9 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่แล้ว ถือเป็นอัตราการลดลงที่สูงที่สุดนับจากเป็นเดือนเมษายนที่ราคาที่อยู่อาศัยเริ่มมีอัตราลดลง
(10 กันยายน 2008)
- ECB และ Bank of England ต่างอัดฉีดสภาพคล่องเข้าสู่ตลาดเงินหลังบริษัทหลักทรัพย์ Lehman Brothers ประกาศขอเข้าสู่กระบวนการล้มละลาย ขณะที่บริษัทหลักทรัพย์ Merrill Lynch ถูกซื้อกิจการอย่างกระทันหันโดย Bank of America โดย ECB จัดสรรสภาพคล่องเป็นจำนวน 30 พันล้านยูโร ขณะที่ Bank of England สำรองเงินให้สถาบันการเงินประมูลกู้ยืมเป็นจำนวน 5 พันล้านปอนด์ เพื่อป้องกันความปั่นป่วนในตลาดเงินเนื่องจากสถาบันการเงินหลายแห่งมีการให้กู้ยืมกับ Lehman Brothers ที่ขณะนี้ทรัพย์สินถูกพิทักษ์ไว้หลังเข้าสู่กระบวนการล้มละลาย โดยในหลายประเทศ เช่น ญี่ปุ่น อังกฤษ และเยอรมัน ได้ออกคำสั่งให้สาขาของ Lehman Brothers ห้ามเคลื่อนย้ายทรัพย์สินออกนอกประเทศ (15 กันยายน 2008)
- ราคาหุ้นของ HBOS ปรับตัวลดลงแรงถึงร้อยละ 22 โดยตลาดกังวลถึงสถานะของธนาคารว่าอาจจะได้รับผลกระทบเป็นรายต่อไปเนื่องจากโครงสร้างการระดมเงินทุนมาจากการกู้ยืมในตลาดเงินตลาดทุน (wholesale market) เกือบร้อยละ 45 ซึ่งเกรงว่าจะได้รับผลกระทบจากความสามารถในการระดมเงินในตลาดหลังจากเกิดวิกฤติ Lehman Brothers ทำให้บรรดาสถาบันการเงินต่างถือเงินสดและเลี่ยงที่จะให้กู้ยืมระหว่างกัน (17 กันยายน 2008)
- Bank of England ขยายมาตรการเพื่อเพิ่มสภาพคล่อง (Special Liquidity Scheme) ที่ยอมให้สถาบันการเงินนำตราสารทางการเงินที่มีอสังหาริมทรัพย์หนุนหลัง (mortgage-backed securities) มาแลกพันธบัตรรัฐบาล (UK Treasury Bills) จาก Bank of England ได้เป็นการชั่วคราวไม่เกิน 3 ปี วงเงินรวม 50 พันล้านปอนด์ ซึ่งจะสิ้นระยะเวลาที่สถาบันการเงินนำตราสารมาขอแลกในวันที่ 21 ตุลาคมนี้ ออกไปอีกจนถึงวันที่ 30 มกราคม 2009 เพื่อรองรับความผันผวนในตลาดเงินที่กำลังเกิดขึ้น (17 กันยายน 2008)
- FSA ออกประกาศห้ามทำธุรกรรม short-sell (ขายหุ้นโดยที่ไม่ได้เป็นเจ้าของหุ้น) ในหุ้นสถาบันการเงินเป็นเวลา 4 เดือนนับจากวันที่ 19 กันยายน 2008 เพื่อลดแรงเก็งกำไรหลังจากที่ก่อนหน้านี้ราคาหุ้น HBOS ตกลงแรงโดยเชื่อว่าส่วนหนึ่งเป็นผลจากการที่นักลงทุนทำ short-selling นับเป็นครั้งที่สองในรอบปีนี้ที่ FSA ออกกฎเพื่อจำกัดการทำธุรกรรม short-sell โดยเมื่อเดือนมิถุนายน FSA ออกกฎให้ผู้ที่ทำธุรกรรม short-sell ในหุ้นของกิจการที่กำลังอยู่ระหว่างการเพิ่มทุนจำหน่ายให้กับผู้ถือหุ้นเดิม (rights issues) โดยธุรกรรม short-sell นั้นมีมูลค่าเกินกว่า 0.25% ของมูลค่าหุ้นรวมในตลาดหลักทรัพย์ (market capitalisation) ของกิจการนั้น จะต้องเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับสถานะสุทธิของธุรกรรมดังกล่าวให้ FSA (19 กันยายน 2008)
- นายกรัฐมนตรี Gordon Brown กล่าวว่าจะหาทางควบคุมระบบการให้เงินรางวัลจูงใจ (bonus system) ของสถาบันการเงินซึ่งถือเป็นแรงผลักดันสำคัญในการดำเนินงานอย่างขาดความรับผิดชอบของบรรดาสถาบันการเงินจนนำมาซึ่งวิกฤติในระบบการเงินปัจจุบัน ขณะที่ FSA ก็
ได้ออกมารับลูกโดยกล่าวว่ากำลังพิจารณาจัดทำหลักเกณฑ์บังคับให้สถาบันการเงินต้องเพิ่มเงินกองทุนหาก FSA พิจารณาแล้วเห็นว่าสถาบันการเงินนั้น ๆ มีโครงสร้างการให้เงินโบนัสที่กระตุ้นพนักงานให้ดำเนินการอย่างกล้าเสี่ยงจนเกินไป (22 กันยายน 2008)
- นาย Alistair Darling รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังกล่าวต่อที่ประชุมใหญ่พรรคแรงงานว่าได้มอบหมายให้ Lord Turner ประธาน FSA คนใหม่ให้ศึกษาทบทวนระบบการกำกับดูแลสถาบันการเงินทั้งระบบเพิ่มเติมจากแนวทางการปรับปรุงที่ได้ดำเนินการเกือบเสร็จสิ้นแล้วก่อนหน้านี้ ซึ่งสอดคล้องกับข้อเรียกร้องของนาย Ed Balls รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการซึ่งเป็นอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังสมัยนาย Gordon Brown เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังที่เรียกร้องให้มีการกำกับดูแลที่เข้มงวดขึ้นในบางสาขาของภาคการเงิน (23 กันยายน 2008)
- กระทรวงการคลังตัดสินใจยึดกิจการธนาคาร Bradford & Bingley ซึ่งเป็นธนาคารใหญ่อันดับ 8 เข้าเป็นของรัฐ หลังธนาคารประสบปัญหาการหาการกู้ยืมเงินจากตลาดการเงิน รวมทั้งแนวโน้มราคาที่อยู่อาศัยลดลงทำให้หนี้เสียสูงขึ้น โดยกระทรวงการคลังจะโอนขายธุรกิจด้านรับฝากเงินและธุรกิจสาขาให้กับธนาคาร Abbey National ส่วนที่เหลือโดยเฉพาะสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยจะถูกโอนเข้าเป็นของรัฐเช่นเดียวกันธนาคาร Northern Rock นอกจากนี้ รัฐบาลยังค้ำประกันเงินฝากทั้งจำนวนในส่วนที่โอนไปให้ Abbey เพื่อป้องกันวิกฤตคนแห่ถอนเงิน (29 กันยายน 2008)
ที่มา : Macroeconomic Analysis Group : Fiscal Policy Office
Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ