สภาคองเกรสผ่านร่างกฎหมายสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจฉุกเฉินและมาตรการอัดฉีดสภาพคล่องให้กับระบบการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ
สภาคองเกรสผ่านร่างกฎหมายสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจฉุกเฉินสภาคองเกรสลงมติอนุมัติร่างกฎหมายสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ฉุกเฉิน(Emergency Economic Stabilization Act of 2008) ฉบับแก้ไข ด้วยคะแนนเสียง 263 ต่อ 171เสียง โดยมีเสียงสนับสนุนจากผู้แทนพรรครีพับบลิกัน 91 เสียงและผู้แทนพรรคเดโมแครตรวม 712 เสียง หลังจากที่มีมติคว่าร่างกฎหมายฉบับเดิมเมื่อวันที่ 29 กันยายน 2551 ที่ผ่านมา
ร่างกฎหมายฉบับใหม่ที่กล่าว ได้มีการเพิ่มเติมมาตรการลดหย่อนภาษีมูลค่ารวมกว่า 149,000 ล้านเหรียญ สรอ. และการเพิ่มวงเงินคุ้มครองเงินฝากจากเดิม 100,000เหรียญ สรอ. ให้เป็น 250,000 เหรียญ สรอ. เป็นการชั่วคราว โดยมีเป้าหมายหลักเพื่อหลีกเลี่ยงการแห่ถอนเงินจ่านวนมากโดยผู้ฝากเงินที่ขาดความมั่นใจในเสถียรภาพของระบบการเงินการธนาคารสหรัฐฯ ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่าครั้งใหญ่ หรือที่เรียกว่า Great Depression ได้ อย่างไรก็ตาม หลักการส่าคัญของร่างกฎหมายสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจฉุกเฉิน ยังคงเป็นการมอบอ่านาจให้กับกระทรวงการคลังสหรัฐฯ ในการระดมเงินทุนเพื่อซื้อสินทรัพย์ที่เกี่ยวข้องกับสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ที่ก่าลังประปัญหาจากสถาบันต่างๆ เพื่อให้ระบบ เศรษฐกิจและระบบการเงินกลับเข้าสู่กลไกตามปกติ
ทั้งนี้ ประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุช ได้ลงนามในกฎหมายส่งเสริมเสถียรภาพทางเศรษฐกิจฉุกเฉินในบ่ายของวันเดียวกัน พร้อมกล่าวว่า รัฐบาลสหรัฐฯ จะด่าเนินการตามกฎหมายฉบับนี้อย่างระมัดระวัง โดยมีเป้าหมายเพื่อผ่อนคลายวิกฤติสินเชื่อและวิกฤติการเงิน รวมทั้งป้องกันไม่ให้ปัญหาที่เกิดขึ้นในภาคการเงินลุกลามไปยังภาคธุรกิจอื่น ๆ ด้วย อย่างไรก็ตาม ประธานาธิบดี จอร์จดับเบิลยู บุช ยอมรับว่าอาจต้องใช้เวลาระยะหนึ่งก่อนที่แผนฟื้นฟูเศรษฐกิจดังกล่าวจะเห็นผลในทางบวกต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวม
อย่างไรก็ตาม ยังคงมีการกล่าวเตือนอย่างต่อเนื่องจากทางการสหรัฐฯ ถึงวิกฤติการเงินที่รุนแรงขึ้น ทั้งภาคธนาคาร ผู้ประกอบธุรกิจ สถานศึกษา และองค์กรของรัฐ ต่างมีความเห็นว่า การกู้ยืมเงินในปัจจุบันเป็นไปได้ยากขึ้น นอกจากนี้ ผู้ว่าการรัฐแคลิฟอร์เนีย (นายอาร์โนล์ด ชวาร์เซเนกเกอร์) ได้แจ้งต่อรัฐมนตรีคลังสหรัฐฯ (นายเฮนรี่ พอลสัน) ว่ามลรัฐแคลิฟอร์เนียอาจมีความจ่าเป็นต้องกู้เงินฉุกเฉินกว่า 7,000 ล้านเหรียญ สรอ. จากการขาดสภาพคล่องของค่าใช้จ่ายในการด่าเนินงาน และไม่สามารถกู้ยืมสินเชื่อระยะสั้นซึ่งเป็นแหล่งเงินทุนหลักตามปกติได้
เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2551 ธนาคารกลางสหรัฐฯ ได้ประกาศจ่ายดอกเบี้ยให้กับเงินส่ารองตามกฎหมาย (Required Reserve) และเงินส่ารองส่วนเกิน (Excess Reserve) เพื่อเป็นการอัดฉีดสภาพคล่องให้กับสถาบันการเงิน และเพื่อเป็นเครื่องมือตรึงอัตราดอกเบี้ย นโยบาย (Federal Fund Rate) ของธนาคารกลางสหรัฐฯ ให้เป็นไปตามเป้าหมายตั้งไว้ โดยให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2551 ภายใต้กฎหมายสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจฉุกเฉิน (Emergency Economic Stabilization Act of 2008)
ธนาคารกลางสหรัฐฯ จะจ่ายดอกเบี้ยให้กับเงินส่ารองตามกฎหมายที่อัตราต่ากว่าอัตราเป้าหมายของดอกเบี้ยนโยบาย (Targeted Federal Fund Rate) ร้อยละ 0.1 โดยการจ่ายดอกเบี้ยให้กับเงินส่ารองตามกฎหมายนั้น จะเป็นการลดต้นทุนค่าเสียโอกาสของธนาคารและสถาบันการเงินในการฝากเงินส่ารองตามกฎหมายกับธนาคารกลางสหรัฐฯ และจะเป็นการส่งเสริมประสิทธิภาพของภาคธนาคารอีกทางหนึ่งด้วย ในส่วนของเงินส่ารองส่วนเกินนั้นธนาคารกลางสหรัฐฯ จะจ่ายดอกเบี้ยต่ากว่าระดับเป้าหมายของอัตราดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 0.75 ซึ่งการจ่ายดอกเบี้ยให้กับเงินส่ารองนั้น นับเป็นการก่าหนดขอบเขตขั้นต่าของดอกเบี้ยนโยบาย และเปิดโอกาสให้ธนาคารกลางสหรัฐฯ สามารถอัดฉีดเม็ดเงินเพื่อเพิ่มสภาพคล่องและสร้างเสถียรภาพให้แก่ระบบการเงิน โดยมีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมการจ้างงานและเสถียรภาพทางราคา
นอกจากนี้ ธนาคารกลางสหรัฐฯ จะเปิดประมูลกู้ยืมสินเชื่อภายใต้โครงการเปิดประมูลวงเงินกู้ที่มีกำหนดระยะเวลา (Term Auction Facility: TAF)เพิ่มขึ้นเป็นจำนวน 300,000 ล้านเหรียญ สรอ. ในเดือนตุลาคมและอีก 300,000 ล้านเหรียญ สรอ. ในเดือนพฤศจิกายน ซึ่งจะส่งผลให้สินเชื่อภายใต้โครงการดังกล่าวมีมูลค่ารวมกว่า 900,000 ล้านเหรียญ สรอ.
มาตรการเพื่อส่งเสริมสภาพคล่องในตลาดการเงินสหรัฐฯ ทั้งสองมาตรการข้างต้นจะช่วยผ่อนคลายแรงกดดันในระบบการเงิน และส่งเสริมความสามารถในการกู้ยืมของทั้งภาคธุรกิจและครัวเรือน โดยธนาคารกลางสหรัฐฯ จะดำเนินมาตรการเพื่อเสริมสภาพคล่องให้กับระบบการเงินอย่างต่อเนื่อง
ที่มา : Macroeconomic Analysis Group : Fiscal Policy Office
Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th