รายงานสถานการณ์ด้านการคลัง ประจำเดือนกันยายน 2551

ข่าวเศรษฐกิจ Monday November 10, 2008 14:31 —กระทรวงการคลัง

*** สถานการณ์ด้านรายได้ ***

เดือนกันยายน 2551 รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ 126,232 ล้านบาท สูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ 31,830ล้านบาท หรือร้อยละ 33.7 (สูงกว่าเดือนเดียวกัน ปีที่แล้วร้อยละ 20.3)สาเหตุสำคัญเนื่องมาจากการยื่นชำระภาษี เงินได้นิติบุคคลจากกำไรสุทธิและภาษีเงินได้ปิโตรเลียมรอบครึ่งปีบัญชี 2551 ที่เหลื่อมมาจากเดือนสิงหาคม 2551 ส่งผลให้การจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษีเงินได้ปิโตรเลียมในเดือนนี้สูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ 33,568 และ 5,960 ล้านบาท ตามลำดับ นอกจากนี้ภาษีมูลค่าเพิ่มและอากรขาเข้ายังจัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการอย่างต่อเนื่องส่วนการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาภาษีธุรกิจเฉพาะ และภาษีน้ำมันต่ำกว่าประมาณการ เนื่องจากได้รับผลกระทบจากมาตรการภาษีเพื่อกระตุ้นและฟื้นฟูเศรษฐกิจ

ปีงบประมาณ 2551 (ตุลาคม 2550 - กันยายน 2551)

รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ 1,547,220 ล้านบาท สูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ 52,220 ล้านบาท หรือร้อยละ 3.5 และสูงกว่าปีงบประมาณที่แล้วจำนวน 102,758 ล้านบาท หรือร้อยละ 7.1 และหากปีงบประมาณที่แล้วไม่รวมรายได้พิเศษจำนวน 48,848 ล้านบาท (จากการยุบเลิกทุนรักษาระดับอัตราแลกเปลี่ยน 36,951 ล้านบาท และส่วนเกินจากการจำหน่ายพันธบัตร 11,897 ล้านบาท)จะสูงกว่าปีที่แล้ว ร้อยละ 10.9 ทั้งนี้การจัดเก็บรายได้ที่สูงกว่าประมาณการดังกล่าวเป็นผลจากการเก็บภาษีของกรมสรรพากร และกรมศุลกากร ตลอดจนการนำส่งรายได้ของรัฐวิสาหกิจที่สูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้เป็นสำคัญ ผลการจัดเก็บรายได้ตามหน่วยงานจัดเก็บสรุปได้ดังนี้

กรมสรรพากร จัดเก็บได้รวม 1,276,080 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 67,280 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 5.6 (สูงกว่าปีที่แล้วร้อยละ 14.0) โดยภาษีจัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการที่สำคัญ ได้แก่ ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีเงินได้ ปิโตรเลียม

  • ภาษีเงินได้นิติบุคคล จัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ 62,750 ล้านบาท หรือร้อยละ 15.8 (สูงกว่าปีที่แล้วร้อยละ 19.8) เนื่องจาก
ผลประกอบการของนิติบุคคลโดยรวมในปี 2550 และครึ่งแรกของปี 2551 ที่เป็นฐานในการชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลขยายตัวในอัตราที่สูง
  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม จัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ 22,439 ล้านบาท หรือร้อยละ 4.7 (สูงกว่าปีที่แล้วร้อยละ 15.9) โดยภาษีมูลค่าเพิ่ม
จากการนำเข้าขยายตัวสูงถึงร้อยละ 25.1 เนื่องจากมูลค่าการนำเข้าทั้งในรูปเงินดอลลาร์สรอ. และเงินบาท (ในช่วง 11 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2551) ขยายตัวสูงถึงร้อยละ 30.0 และ 20.8 ตามลำดับ รวมทั้งการบริโภคภายในประเทศยังมีการขยายตัว ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลจากราคาสินค้าที่ปรับตัวสูงขึ้นตามการขยายตัวของอัตราเงินเฟ้อ
  • ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม จัดเก็บได้สูงกว่าปีที่แล้วร้อยละ 12.6 เนื่องจากราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นในช่วงปีงบประมาณ 2550 — 2551
อย่างไรก็ดี ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีธุรกิจเฉพาะจัดเก็บได้ต่ำกว่าประมาณการซึ่งสาเหตุหลักเป็นเพราะได้รับผลกระทบจากมาตรการภาษีเพื่อกระตุ้นและฟื้นฟูเศรษฐกิจ(มติคณะรัฐมนตรี 4 มีนาคม 2551)

กรมสรรพสามิต จัดเก็บได้รวม 278,303 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 14,497 ล้านบาท หรือร้อยละ 5.0 (ต่ำกว่าปีที่แล้วร้อยละ 3.1 แต่ถ้าหักรายได้จากภาษีกิจการโทรคมนาคมของปีที่แล้วออกจะต่ำกว่าปีที่แล้วเพียงร้อยละ 0.7) ภาษีที่จัดเก็บ

  • ภาษีน้ำมัน จัดเก็บได้ต่ำกว่าประมาณการ 12,210 ล้านบาท หรือร้อยละ 15.4 ซึ่งเป็นผลจากการลดอัตราภาษีน้ำมันแก๊สโซฮอล์และ
ดีเซล (6 มาตรการ 6 เดือน ฝ่าวิกฤติเพื่อคนไทยทุกคน) เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนเป็นสาเหตุหลัก
  • ภาษียาสูบ จัดเก็บได้ต่ำกว่าประมาณการ 3,580 ล้านบาท หรือร้อยละ 7.9 เนื่องจากในปีงบประมาณ 2550 มีการชำระภาษีไว้สูง
ซึ่งเป็นผลจากมีข่าวการปรับขึ้นอัตราภาษียาสูบ
  • ภาษีเบียร์ จัดเก็บได้ต่ำกว่าประมาณการ 1,887 ล้านบาท หรือร้อยละ 3.4 เนื่องจากการบริโภคขยายตัวต่ำกว่าที่คาดไว้ส่วนภาษีสรรพสามิตรถยนต์ ถึงแม้ว่าในปีนี้ที่ใช้เชื้อเพลิงประเภทเอทานอลเป็นส่วนผสมกับน้ำมันเชื้อเพลิงไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 (E 20) ลดลงร้อยละ 5 (มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2551) และทำให้ภาษีสรรพสามิตรถยนต์หายไปส่วนหนึ่ง แต่การจัดเก็บภาษีสรรพสามิตรถยนต์โดยรวมยังสูงกว่า
ประมาณการที่ตั้งไว้ร้อยละ 1.4 และสูงกว่าปีที่แล้วร้อยละ 3.5

กรมศุลกากร จัดเก็บได้รวม 99,602 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 11,802 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 13.4 (สูงกว่าปีที่แล้วร้อยละ 9.9) เป็นผลจากอากรขาเข้าจัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ 10,944 ล้านบาท หรือร้อยละ 12.7 เนื่องมาจากการขยายตัวของมูลค่าการนำเข้าในอัตราที่สูงถึงร้อยละ 30.0 ในรูปเงินดอลลาร์ สรอ. และร้อยละ 20.8 ในรูปเงินบาท (ข้อมูล 11 เดือน : ต.ค. 50 — ส.ค. 51) ซึ่งสูงกว่าประมาณการที่ตั้งไว้ว่ามูลค่าการนำเข้าในรูปดอลลาร์ สรอ.และเงินบาทจะขยายตัวร้อยละ 9.0 และ 7.0 ตามลำดับ

  • รัฐวิสาหกิจ นำส่งรายได้รวม 101,430 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 2,780 ล้านบาท หรือร้อยละ 2.8
(สูงกว่าปีที่แล้วร้อยละ 17.8) เนื่องจากบริษัทปตท. จำกัด (มหาชน) ได้นำส่งรายได้ก่อนกำหนดประมาณ 8,800 ล้านบาท (กำหนดส่งเดือนตุลาคม 2551) โดยรัฐวิสาหกิจที่นำส่งรายได้สูงสุด ได้แก่บริษัท ปตท.ฯ สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล การไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ และเป็นต้น
  • หน่วยงานอื่น นำส่งรายได้รวม 84,230 ใกล้เคียงกับประมาณการตามเอกสารงบประมาณ (ต่ำกว่าประมาณการเพียง 247
ล้านบาท) แต่ต่ำกว่าปีที่แล้ว 36,393 ล้านบาทส่วนกรมธนารักษ์จัดเก็บรายได้สูงกว่าประมาณการ 1,332 ล้านบาท เนื่องจากได้รับรายได้จากค่าเช่าอสังหาริมทรัพย์ ในส่วนของค่าเช่าท่อก๊าซและที่ดินจากบริษัท ปตทฯ

ในปีนี้ได้มีการจัดสรรรายได้จากภาษีมูลค่าเพิ่มให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตาม พรบ. กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรวมทั้งสิ้น 66,450 ล้านบาท สูงกว่า

**สรุป**

การจัดเก็บรายได้รัฐบาลสุทธิในปีงบประมาณ 2551 บรรลุผลเกินเป้าหมายที่ตั้งไว้ โดยจัดเก็บได้สุทธิ 1,547,220 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 52,220 ล้านบาท หรือร้อยละ 3.5โดยมีปัจจัยที่สำคัญ คือ ประการแรก การขยายตัวของภาวะเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องจากปีที่แล้ว

*** สถานการณ์ด้านรายจ่าย ***

  • ปีงบประมาณ 2551 รัฐบาลอนุมัติวงเงินงบประมาณรายจ่ายจำนวน 1,660,000 ล้านบาท สูงกว่าปีงบประมาณ 2550 (1,566,200 ล้านบาท) ร้อยละ 6.0 โดยแบ่งเป็นรายจ่ายประจำ 1,209,546.8 ล้านบาทเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.5 เมื่อเทียบกับปีก่อน รายจ่ายลงทุน 404,677.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.0 เมื่อเทียบกับปีก่อน และรายจ่ายชำระคืนต้นเงินกู้ 45,775.9 ล้านบาท ซึ่งได้ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 124 ตอนที่ 60 ก เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2550
  • คณะรัฐมนตรีมีมติลงวันที่ 18 กันยายน 2550 เห็นชอบการกำหนดเป้าหมายการเบิกจ่ายงบประมาณจากเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2551 ที่อัตราร้อยละ 94.0 และกำหนดเป้าหมายการเบิกจ่ายงบลงทุนไว้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 74.0 ของวงเงินงบประมาณรายจ่ายลงทุนของแต่ละส่วนราชการ
เดือนกันยายน 2551
  • การเบิกจ่ายจากงบประมาณประจำปีงบประมาณ 2551 จำนวน 143,501 ล้านบาท เป็นการเบิกจ่ายรัฐบาลได้เบิกจ่ายเงินจากงบประมาณประจำปีงบประมาณ 2551 จำนวน 143,501 ล้านบาท ต่ำกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้ว 733 ล้านบาท หรือร้อยละ 0.5 งบประจำ จำนวน 125,248 ล้านบาท และงบลงทุนและมีการเบิกจ่ายเงินกันไว้เบิกเหลื่อมปี 6,355 ล้านบาท จำนวน 18,253 ล้านบาททำให้มียอดรวมการเบิกจ่ายทั้งสิ้น 149,856 ล้านบาท - การเบิกจ่ายเงินกันไว้เบิกเหลื่อมปีมีจำนวน 6,355 ล้านบาท
ปีงบประมาณ 2551 (ตุลาคม 2550 — กันยายน 2551)

ปีงบประมาณ 2551 รัฐบาลได้เบิกจ่ายเงินแล้วจำนวน 1,532,479 ล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 61,640 ล้านบาท หรือร้อยละ 4.2 ทั้งนี้ มีการเบิกจ่ายเงินกันไว้เบิกเหลื่อมปี 100,926 ล้านบาท ทำให้มียอดรวมการเบิกจ่ายทั้งสิ้น 1,633,405 ล้านบาท

  • การเบิกจ่ายจากงบประมาณประจำปีงบประมาณ 2551 จำนวน 1,532,479 ล้านบาท คิดเป็นอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 92.3 ของวงเงินงบประมาณ 1,660,000 ล้านบาท ประกอบด้วย การเบิกจ่ายงบประจำ จำนวน 1,264,990 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 95.9 ของงบประมาณรายจ่ายประจำ(1,319,724 ล้านบาท) งบลงทุน จำนวน 267,489 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 78.6 ของงบประมาณรายจ่ายลงทุน (340,276 ล้านบาท)
  • การเบิกจ่ายงบกลาง มีจำนวน 215,249 ล้านบาทคิดเป็นร้อยละ 96.1 ของงบประมาณงบกลาง(223,982 ล้านบาท)
  • การเบิกจ่ายเงินกันไว้เบิกเหลื่อมปี มีจำนวน 100,926 ล้านบาท
  • สำหรับการเบิกจ่ายงบประมาณรายกระทรวงนั้นกระทรวงที่มีการเบิกจ่ายสูงที่สุด 3 อันดับแรก คือกองทุนและเงินทุนหมุนเวียน มีการเบิกจ่ายจำนวน 124,829 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 100 หน่วยงานอิสระตามรัฐธรรมนูญ 19,386 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 100 และกระทรวงแรงงาน 26,022 ล้านบาทคิดเป็นร้อยละ 99.2
  • ในขณะที่กระทรวงที่มีการเบิกจ่ายต่ำสุด 3 อันดับสุดท้าย คือ กระทรวงพลังงาน 1,519 ล้านบาทคิดเป็นร้อยละ 61.4 กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มีการเบิกจ่าย 2,399 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 61.8 และกระทรวงวัฒนธรรมมีการเบิกจ่าย จำนวน 3,272 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 74.6
การเบิกจ่ายเงินกู้ต่างประเทศ

ผลการเบิกจ่าย

  • เดือนกันยายน 2551 มีการเบิกจ่ายเงินกู้ต่างประเทศ ประมาณ 433.3 ล้านบาทเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันปีที่แล้วเพิ่มขึ้น 396.3 ล้านบาท หรือร้อยละ 1,074.3
  • ปีงบประมาณ 2551 (ต.ค. 2550 - ก.ย. 2551) มีการเบิกจ่ายเงินกู้ต่างประเทศ 1,424.4 ล้านบาท เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่แล้วเพิ่มขึ้น 333.2 ล้านบาท หรือร้อยละ 30.5
การเบิกจ่ายของกองทุนนอกงบประมาณตามระบบ สศค.
- เดือนกันยายน 2551

การเบิกจ่ายเงินของกองทุนนอกงบประมาณ

1. เดือนกันยายน 2551 มีการเบิกจ่ายรวม 8,525.5 ต่ำกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 7.3 ล้านบาท ต่ำกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้ว 673.2 ซึ่งเป็นผลจากการลดลงของรายจ่าย ล้านบาท หรือร้อยละ 7.3 ประกอบด้วยรายจ่ายดำเนินการของกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ดำเนินงาน 4,142.0 ล้านบาท ต่ำกว่าเดือนเดียวกันในปีงบประมาณ 2551 ปีที่แล้ว 1,631.1 ล้านบาท หรือร้อยละ 28.3 ในขณะที่(ตุลาคม 2550 - กันยายน 2551) มีการให้กู้สุทธิ 4,383.5 ล้านบาท สูงกว่าเดือนการเบิกจ่ายเงินของกองทุนฯ สูงกว่า เดียวกันปีที่แล้ว 957.9 ล้านบาท หรือร้อยละ 28.0 ช่วงเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 10.4 เนื่องจาก

2. ในช่วงปีงบประมาณ 2551 มีการเบิกจ่ายรวมเป็นการให้กู้สุทธิของกองทุนให้กู้ยืมเพื่อ 143,945.5 ล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วการศึกษา 13,529.5 ล้านบาท หรือร้อยละ 10.4 ประกอบด้วย

(1) รายจ่ายดำเนินงาน 114,904.4 ล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วจำนวน 72.3 ล้านบาท หรือร้อยละ 0.1 โดยมีกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง มีรายจ่ายเพิ่มขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่เป็นรายจ่ายค้างชำระการชดเชยก๊าซ LPG ที่ผ่านมา ในขณะที่กองทุนอื่นๆ มีรายจ่ายลดลง

(2) สำหรับรายจ่ายเงินให้กู้ยืมสุทธิ 29,041.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 13,457.2 ล้านบาท หรือร้อยละ 86.4 โดยเป็นผลมาจากการให้กู้ยืมที่เพิ่มสูงขึ้นของกองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา

สรุปการเบิกจ่ายของกองทุนนอกงบประมาณตามระบบ สศค. ในช่วง 12 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2551

(ตุลาคม 2550 - กันยายน 2551) หน่วย : ล้านบาท

        รายการ                             กันยายน                       12 เดือนแรกของปีงบประมาณ
                                  2551*     2550   อัตราเพิ่ม          2551**        2550    อัตราเพิ่ม
การเบิกจ่ายของกองทุนนอกงบประมาณ    8,525.5  9,198.7     -7.3         143,945.5   130,416.0      10.4
1. รายจ่ายดำเนินงาน               4,142.0  5,773.1    -28.3         114,904.4   114,832.2       0.1
2. รายจ่ายเงินให้กู้ยืมสุทธิ            4,383.5  3,425.7     28.0          29,041.0    15,583.8      86.4
ที่มา : กองทุนประกันสังคม กองทุนเงินทดแทน กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง กองทุนสงเคราะห์เกษตรกร กองทุนรวม เพื่อช่วยเหลือ เกษตรกร
กองทุนสิ่งแวดล้อม สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง สำนักงานกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (ซึ่งประกอบด้วย
กองทุนเงินกู้ยืมการศึกษาที่ผูกติดกับรายได้ในอนาคต กองทุนเงินให้เปล่า กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ) กองทุนพัฒนาชนบท
สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน กองทุนเพื่อโครงการอาหารกลางวันในโรงเรียนประถมศึกษา กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง
หมายเหตุ : * ตัวเลขประมาณการ โดยสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
** เดือนตุลาคม 50 - กรกฏาคม 2551 เป็นตัวเลขจริง สิงหาคม - กันยายน 2551 เป็นตัวเลขคาดการณ์

*** ฐานะการคลัง***

ดุลการคลังของรัฐบาลตามระบบ สศค.1 ตลอดปีงบประมาณ พ.ศ.2551

ตลอดปีงบประมาณ 2551รัฐบาลมีรายได้ทั้งสิ้น 1,622,315 ล้านบาท และมีรายจ่ายทั้งสิ้น 1,656,763 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 17.2 และ 17.6 ของ GDP2 ตามลำดับ

  • ด้านรายได้ รัฐบาลมีรายได้ทั้งสิ้น 1,622,315 ล้านบาทเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีที่แล้วร้อยละ 11.1โดยประกอบด้วยรายได้ในงบประมาณ (ก่อนจัดสรรภาษีมูลค่าเพิ่มให้ อปท.) 1,620,672 ล้านบาท และเงินช่วยเหลือจาก ตปท. 1,643 ล้านบาท
  • ด้านรายจ่าย รัฐบาลมีรายจ่ายทั้งสิ้น 1,656,763 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีที่แล้วร้อยละ 5.3 ประกอบด้วยรายจ่าย
จากงบประมาณปีปัจจุบันและปีก่อน (ไม่รวมรายจ่ายชำระคืนต้นเงินกู้) 1,655,120 ล้านบาท รายจ่ายเงินช่วยเหลือจากตปท. 1,643 ล้านบาท

ดุลเงินงบประมาณ ตลอดปีงบประมาณ 2551 ขาดดุลทั้งสิ้น 34,448 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 0.4 ของ GDP

  • ดุลเงินงบประมาณ ตลอดปีงบประมาณ 2551 ขาดดุลทั้งสิ้น 34,448 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 0.4 ของ GDP ในขณะที่ปีที่แล้วขาดดุล 112,710 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 1.3 ของ GDP
ดุลบัญชีเงินนอกงบประมาณตลอดปีงบประมาณ 2551 เกินดุล 105,225 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 1.1 ของ GDP

บัญชีนอกงบประมาณ ประกอบด้วยเงินฝากนอกงบประมาณ และกองทุนนอกงบประมาณ มีรายได้รวมทั้งสิ้น 378,775 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วร้อยละ 6.7 และรายจ่ายรวมเงินให้กู้หักชำระคืนสุทธิจำนวน 273,550 ล้านบาท ทำให้ดุลบัญชีเงินนอกงบประมาณเกินดุลทั้งสิ้น 105,225 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 1.1 ของ GDP

ดุลการคลังของรัฐบาลตลอดปีงบประมาณ 2551 เกินดุลทั้งสิ้น 69,352 ล้านบาทคิดเป็นร้อยละ 0.7 ของ GDP

ดุลงบประมาณขาดดุล ในขณะที่ดุลบัญชีเงินนอกงบประมาณเกินดุล เมื่อหักรายจ่ายจากเงินกู้ต่างประเทศแล้ว ทำให้ดุลการคลังของรัฐบาลตลอดปีงบประมาณ 2551 เกินดุล 69,352 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 0.7 ของ GDP เมื่อเทียบกับปีที่แล้วซึ่งขาดดุล 1,357 ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 0.02 ของ GDP)

ดุลการคลังตามระบบกระแสเงินสด3 ตลอดปีงบประมาณ พ.ศ. 2551

ตลอดปีงบประมาณ 2551 ดุลการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดขาดดุล 83,742 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 0.9 ของ GDP

ตลอดปีงบประมาณ 2551 รัฐบาลมีรายได้นำส่งคลัง1,549,605 ล้านบาท และมีการเบิกจ่ายงบประมาณจากงบประมาณปีปัจจุบันและปีก่อนรวม 1,633,347 ล้านบาทส่งผลให้ดุลเงินงบประมาณขาดดุลจำนวน 83,742 ล้านบาทเมื่อรวมกับดุลเงินนอกงบประมาณที่เกินดุลจำนวน 4,996 ล้านบาท ทำให้ดุลเงินสดขาดดุลทั้งสิ้น 78,746 ล้านบาทในขณะที่ปีที่แล้วขาดดุล 158,688 ล้านบาท

*** สถานการณ์ด้านหนี้สาธารณะ ***

หนี้สาธารณะ ณ สิ้นเดือนสิงหาคม 2551
  • หนี้สาธารณะคงค้าง เท่ากับ 3,339.5 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 35.5 ของ GDP เพิ่มขึ้นจากเดือนที่แล้ว จำนวน 4.8 พันล้านบาท โดยเป็นหนี้คงค้างที่เป็นภาระงบประมาณต่อ GDP เท่ากับร้อยละ 22.4 และแยกเป็นหนี้ในประเทศร้อยละ 88.7 ส่วนที่เหลือร้อยละ 11.3 เป็นหนี้ต่างประเทศ
  • หนี้คงค้างที่เพิ่มขึ้น เป็นผลจากหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง หนี้ของรัฐวิสาหกิจ และหนี้ของหน่วยงานภาครัฐอื่นเพิ่มขึ้น 5.9 4.7 และ0.3 พันล้านบาท ตามลำดับในขณะที่หนี้กองทุนฟื้นฟูฯ ลดลง 6.1 พันล้านบาท
  • หนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรงเพิ่มขึ้น 5.9 พันล้านบาท เมื่อเทียบกับเดือนที่แล้วโดยหนี้ในประเทศเพิ่มขึ้น 5.6 พันล้านบาท ซึ่งมีสาเหตุหลักมาจากการออกตั๋วเงินคลังสุทธิ 16.0 พันล้านบาท และการไถ่ถอนพันธบัตรสุทธิ 8.9 พันล้านบาทและการชำระคืนพันธบัตร 15.5 พันล้านบาท ในขณะที่หนี้ต่างประเทศเพิ่มขึ้น 0.3 พันล้านบาท
  • หนี้กองทุนฟื้นฟูฯ ลดลง 6.1 พันล้านบาทจากการซื้อคืนพันธบัตรกองทุนฯ
  • หนี้ของรัฐวิสาหกิจเพิ่มขึ้น 4.7 พันล้านบาท เมื่อเทียบกับเดือนก่อน เนื่องจากมีการชำระคืนเงินกู้น้อยกว่าการเบิกจ่ายเงินกู้ โดย

รัฐวิสาหกิจที่มีการชำระคืนเงินกู้สุทธิสูงสุด ได้แก่ ธสน. และบริษัทบริหารสินทรัพย์สุขุมวิทฯ จำนวนแห่งละ 3.3 พันล้านบาทในขณะที่ บริษัท บางจาก

ปิโตรเลียมฯ และ ธอส. เบิกจ่ายเงินกู้สุทธิ 6.6 และ 2.0 พันล้านบาท ตามลำดับ

*** กรอบความยั่งยืนทางการคลัง ***

กระทรวงการคลังได้กำหนดกรอบความยั่งยืนทางการคลัง เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินนโยบายทางการคลังที่สอดคล้องกับสถานะเศรษฐกิจการเงินและการคลังของประเทศที่เปลี่ยนแปลง ดังนี้ (50-15-0-25)

  • ยอดหนี้สาธารณะคงค้างต่อ GDP ไม่เกินร้อยละ 50
  • ภาระหนี้ต่องบประมาณไม่เกินร้อยละ 15
  • การจัดทำงบประมาณสมดุล
  • สัดส่วนงบลงทุนต่องบประมาณรายจ่ายไม่ต่ำกว่าร้อยละ 25
สมมติฐานสำคัญในการกำหนดกรอบความยั่งยืนทางการคลัง

อัตราขยายตัวของเศรษฐกิจไทย สมมติฐานอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจไทย (Real GDP Growth Rate) ในปี 2551 และ ระหว่างปี 2553 - 2555 ยังคงเท่ากับไตรมาสที่แล้ว โดยอยู่ที่ร้อยละ 5.6, 5.4, 5.6 และ 5.6 ตามลำดับ และในปี 2552 มีอัตราการร้อยละ 5.5 อัตราเงินเฟ้อ มีการปรับปรุงให้สอดคล้องกับสภาวะปัจจุบัน โดยปรับอัตราเงินเฟ้อในปีงบประมาณ 2551 และ 2552 เป็นร้อยละ 6.4 และ5.3 (เดิมร้อยละ 7.2 และ 3.5) ตามลำดับ สำหรับอัตราเงินเฟ้อระหว่างปีงบประมาณ 2553 — 2555 คงเดิมที่ร้อยละ 3.0, 3.1 และ 3.1 ตามลำดับ

ประมาณการรายได้ ประมาณการโดยใช้ Revenue Buoyancy โดยระหว่างปีงบประมาณ 2553 -2555 ใช้ค่า Revenue Buoyancy เท่ากับ 1.0 สำหรับปีงบประมาณ 2551 และ 2552 เป็นข้อมูลประมาณการรายได้ตามเอกสารงบประมาณ

ผลการวิเคราะห์ความยั่งยืนทางการคลังปีงบประมาณ 2551 -2555

ยอดหนี้สาธารณะคงค้างต่อ GDP (CY)ไม่เกินร้อยละ 50

ในปีงบประมาณ 2551 ยอดหนี้สาธารณะคงค้างต่อ GDP จะอยู่ที่ระดับร้อยละ 36.29 โดยสัดส่วนหนี้สาธารณะคงค้างต่อ GDP จะเพิ่มสูงขึ้นในปีงบประมาณ 2552 มาอยู่ที่ระดับร้อยละ 39.26 จากนั้นจะมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง ระหว่างปีงบประมาณ 2553-2555 โดยคาดว่าจะมีสัดส่วนอยู่ที่ร้อยละ 37.69 ในปีงบประมาณ 2555

ภาระหนี้ต่องบประมาณไม่เกินร้อยละ 15

ในปีงบประมาณ 2551 สัดส่วนภาระหนี้ต่องบประมาณเท่ากับร้อยละ 10.44 และเพิ่มสูงขึ้นเป็นร้อยละ 10.78 ในปีงบประมาณ 2552 จากนั้นจะลดลงอย่างต่อเนื่อง จนถึงระดับร้อยละ 7.80 ในปีงบประมาณ 2555

การจัดทำงบประมาณสมดุล

ไม่สามารถจัดทำงบประมาณสมดุลระหว่างปีงบประมาณ 2551 — 2555 รัฐบาลได้มีการจัดทำงบประมาณแบบขาดดุลตั้งแต่ปีงบประมาณ 2550 เนื่องจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจที่มีผลต่อการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาล รวมทั้งการตั้งงบประมาณเพื่อชำระภาระงบประมาณค้างจ่าย อันเนื่องมาจากการดำเนินนโยบายในปีที่ผ่านๆ มา และในปีงบประมาณ 2551 และ 2552 ได้มีการจัดทำงบประมาณขาดดุล เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของ ประเทศที่อยู่ในช่วงขาลง ทั้งนี้ จากสภาวการณ์ในปัจจุบันคาดว่าจะมีการจัดทำงบประมาณแบบขาดดุลอย่างต่อเนื่องในปีงบประมาณ 2553-2555 โดยมี เป้าหมายที่จะจัดทำงบประมาณสมดุลในปีงบประมาณ 2557

สัดส่วนงบลงทุนต่องบประมาณไม่ต่ำกว่าร้อยละ 25

สัดส่วนงบลงทุนต่องบประมาณ ระหว่างปีงบประมาณ 2550 — 2552 อยู่ที่ระดับร้อยละ 24, 24.2 และ 22.2 ตามลำดับ โดยมีเป้าหมายที่จะรักษาสัดส่วนงบลงทุนต่องบประมาณได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 25 ระหว่างปีงบประมาณ 2553-2555 เพื่อการพัฒนาและการขยายตัวของเศรษฐกิจที่ยั่งยืน

*** ความคืบหน้ามาตรการสำคัญของรัฐบาล ***

มาตรการเดิม
1. โครงการธนาคารประชาชน

ผลการดำเนินการ ณ สิ้นเดือนกันยายน 2551 สมาชิกยื่นกู้ มีจำนวน 17,622,183 รายจำนวนสมาชิกที่ได้รับสินเชื่อ 1,621,787 รายเป็นเงิน 40,400.1 ล้านบาท

หนี้ค้างชำระเกิน 6 เดือน มีจำนวน 80,700 ราย เป็นเงิน 1,309.5 ล้านบาท จากจำนวนสินเชื่อคงเหลือ 328,834 ราย เป็นเงินทั้งหมด 6,477.3 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 20.2 ของยอดสินเชื่อได้เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม 2549 เกือบ 2 เท่า

โครงการธนาคารประชาชนเริ่มดำเนินการเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2545 เพื่อช่วยเหลือประชาชนที่ขาดโอกาสในการเข้าถึงแหล่งเงิน ส่งเสริมให้เกิดการออมทรัพย์อย่างเป็นระบบในหมู่สมาชิกและพัฒนาอาชีพ ตลอดจนส่งเสริมให้สมาชิกมีพัฒนาการด้านคุณภาพชีวิตการทำงานให้มีระสิทธิภาพเพิ่มขึ้น

ยอด NPL คิดเป็น % ต่อสินเชื่อคงเหลือ

          ราย          จำนวนเงิน      NPL/สินเชื่อ

(ล้านบาท) (ร้อยละ)

ม.ค.49   58,378         868.2          12.48
ธ.ค.49   78,857       1,240.6          17.35
ม.ค.50   80,341       1,263.9          17.95
ธ.ค.50   76,394       1,227.6          18.21
มี.ค.51   76,226       1,220.9          18.71
มิ.ย.51   79,402       1,274.0          19.73
ส.ค.51   80,873       1,307.7          20.34
ก.ย.51   80,700       1,309.5          20.22

ธนาคารออมสินได้มีมาตรการแก้ไขปัญหาหนี้ คือ

1. ธนาคารออมสินสาขาออกบริการรับฝากเงินนอกสถานที่ ตามวัน เวลา และสถานที่ ที่กำหนด

2. ธนาคารได้เพิ่มหน่วยให้บริการเพื่อให้ลูกหนี้สามารถชำระหนี้ได้ด้วยความสะดวกอย่างทั่วถึง

3. จำนวนหนี้ค้างชำระไม่เกิน 3 เดือนธนาคารเร่งออกติดตามอย่างต่อเนื่อง ทั้งทางโทรศัพท์ หนังสือเตือนให้ชำระหนี้ และการเข้าพบ ลูกหนี้ด้วยตนเอง เป็นต้น

4. จำนวนหนี้ค้างชำระตั้งแต่ 3 เดือนขึ้นไป ธนาคารออมสินภาค / เขต / สาขา และพนักงาน จากฝ่ายสินเชื่อนโยบายรัฐจะร่วมธนาคารออมสินได้มีมาตรการแก้ไขปัญหาหนี้ คือ

1. ธนาคารออมสินสาขาออกบริการรับฝากเงินนอกสถานที่ ตามวัน เวลา และสถานที่ ที่กำหนด

2. ธนาคารได้เพิ่มหน่วยให้บริการเพื่อให้ลูกหนี้สามารถชำระหนี้ได้ด้วยความสะดวกอย่างทั่วถึง

3. จำนวนหนี้ค้างชำระไม่เกิน 3 เดือนธนาคารเร่งออกติดตามอย่างต่อเนื่อง ทั้งทางโทรศัพท์ หนังสือเตือนให้ชำระหนี้ และการเข้าพบลูกหนี้ด้วยตนเอง เป็นต้น

4. จำนวนหนี้ค้างชำระตั้งแต่ 3 เดือนขึ้นไป ธนาคารออมสินภาค / เขต / สาขา และพนักงาน จากฝ่ายสินเชื่อนโยบายรัฐจะร่วมดำเนินการจัดทีมลงพื้นที่ และเชิญลูกหนี้มาเจรจาเพื่อแก้ไขหนี้ค้างชำระดังกล่าว

5. ธนาคารได้จ้างบริษัทติดตามหนี้ภายนอกเพื่อมาดำเนินการติดตามและแก้ไขหนี้สำหรับหนี้ที่ค้างชำระตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป ภายใต้เงื่อนไขและหลักเกณฑ์ที่ธนาคารกำหนด โดยฝ่ายสินเชื่อนโยบายรัฐได้ประเมินผลและติดตามการดำเนินงานของบริษัทอย่างใกล้ชิด เพื่อไม่ทำให้เสียภาพลักษณ์ของธนาคาร

6. ได้มีการประสานความร่วมมือระหว่างธนาคารออมสินกับสำนักระงับข้อพิพาท กระทรวงยุติธรรม เพื่อจัดกระบวนการไกล่เกลี่ยการชำระหนี้

7. มาตรการพิเศษสำหรับลูกค้าโครงการธนาคารประชาชน เพื่อสนับสนุนนโยบายของรัฐบาลในการกระตุ้นเศรษฐกิจฐานราก ได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยโครงการธนาคารประชาชนร้อยละ 0.25 ต่อเดือน สำหรับลูกค้าที่มีประวัติการชำระหนี้ดี โดยในรอบระยะเวลา 12 เดือน ไม่มีหนี้ค้างชำระนับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2551 เป็นต้นไป ทั้งลูกค้ารายเก่าและรายใหม่แบบชั้นบันได เพื่อเป็นการช่วยลดภาระให้กับลูกค้าที่มีประวัติการชำระหนี้ดีมี 3 กรณีคือ

(1) อายุสัญญากู้ 1 ปี ลดอัตราดอกเบี้ยให้ร้อยละ 0.25 ต่อเดือน เมื่อชำระครบตามกำหนดสัญญา

(2) สัญญากู้ 2 ปี ปีที่ 1 คิดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 1 ต่อเดือน ปีที่ 2 คิดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0.75 ต่อเดือน โดยจะจ่ายเงินคืนให้ลูกค้า เมื่อชำระครบตามกำหนดสัญญาอีกร้อยละ 0.25 ต่อเดือน

(3) อายุสัญญากู้ 3 ปี ปีที่ 1 คิดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 1 ต่อเดือน ปีที่ 2 คิดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0.75 ต่อเดือน ปีที่ 3 คิดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0.50 ต่อเดือน

2. กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง

ผลการดำเนินงาน ณ สิ้นเดือนกันยายน 2551

  • กองทุนที่ได้รับจัดสรรและโอนเงินแล้ว 78,920 กองทุน
  • จัดสรรเงินให้สมาชิก 432,963 ล้านบาท
  • สมาชิกชำระคืนเงินต้น 278,187 ล้านบาท ดอกเบี้ย 21,729 ล้านบาท

โครงการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองเป็นโครงการที่จัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นแหล่งเงินทุนหมุนเวียนให้แก่หมู่บ้านหรือชุมชนเมืองกองทุนละ 1 ล้านบาททั่วประเทศ ในการลงทุนสร้างอาชีพเสริม และสร้างรายได้ให้แก่ประชาชนในชุมชนและวิสาหกิจขนาดเล็กในครัวเรือน โดยมุ่งเน้นในการลดรายจ่ายของประชาชน และให้โอกาสแก่ประชาชนโดยเฉพาะคนจนได้เข้าถึงแหล่งเงินทุน รวมทั้งได้เรียนรู้สั่งสมประสบการณ์ในการร่วมคิด ร่วมทำ บริหารจัดการองค์กรและเงินทุน เพื่อสร้างพลังชุมชนให้เข้มแข็ง มุ่งเสริมสร้างกระบวนการพึ่งพาตนเองของหมู่บ้านและชุมชนเมือง เพื่อสร้างสำนึกความเป็นชุมชนท้องถิ่น จัดการเรียนรู้เพื่อสร้างการพัฒนาความคิดริเริ่ม ให้ชุมชนเป็นผู้กำหนดอนาคตด้วยคุณค่าและภูมิปัญญาของตนเอง ซึ่งเป็นการแก้ไขปัญหาและเสริมสร้างศักยภาพทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคมของประชาชนในหมู่บ้านและชุมชนเมืองทั้งหมดนี้ ได้ดำเนินการผลักดันโดยรัฐบาล

การดำเนินงาน ณ สิ้นเดือนกันยายน 2551
  • กองทุนที่ได้รับจัดสรรและโอนเงินแล้ว 78,920 กองทุน โดยผ่านธนาคารออมสิน 62,506 กองทุนและ ธ.ก.ส. 16,414 กองทุน
  • จ่ายเงินกู้แก่สมาชิกกองทุน (สะสม) 432,963 ล้านบาท โดยผ่านธนาคารออมสิน 332,845 ล้านบาทและ ธ.ก.ส. 100,118 ล้านบาท
  • สมาชิกชำระคืนเงินต้นและดอกเบี้ย โดยชำระเงินต้นกู้ผ่านธนาคารออมสิน 233,708 ล้านบาทและ ธ.ก.ส. 44,479 ล้านบาท และดอกเบี้ยผ่านธนาคารออมสิน 18,195 ล้านบาท และ ธ.ก.ส. 3,534 ล้านบาท
ความก้าวหน้าการดำเนินงานของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองที่สำคัญ

จากการจัดตั้งกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองนับตั้งแต่ที่รัฐบาลได้จัดสรร เมื่อวันที่ 25 กรกฏาคม 2544 ถึงปัจจุบันมีจำนวนกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง รวมทั้งสิ้น 78,920 กองทุน ทั่วประเทศ โดยจำแนกเป็น

  • กองทุนหมู่บ้าน จำนวน 74,728 กองทุน
  • กองทุนชุมชนเมือง จำนวน 3,454 กองทุน
  • กองทุนชุมชนทหาร จำนวน 738 กองทุน

ทั้งนี้ เป็นกองทุนหมู่บ้านที่จัดตั้งใหม่ จำนวน 907 กองทุน

ปัจจุบันมียอดเงินทุนในกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง รวมทั้งสิ้น 132,440.48 ล้านบาท โดยจำแนกเป็น

  • เงินกองทุนจากภาครัฐ จำนวน 81,245.6 ล้านบาท
  • เงินจากภาคประชาชน เงินออม หุ้นเงินฝาก จำนวน 30,120.50 ล้านบาท
  • เงินจากการขยายวงเงินกู้จากสถาบันการเงิน จำนวน 21,074.38 ล้านบาท

สำหรับการชำระคืนเงินกู้ และหนี้ค้างชำระพบว่ามีการชำระคืนเงินกู้ที่ตรงต่อเวลาอยู่ระหว่างร้อยละ 94.0 — 96.0 ในแต่ละปี หนี้ค้างชำระหรือชำระไม่ตรงตามสัญญา อยู่ระหว่างร้อยละ 4.0 — 6.0ในแต่ละปีเท่านั้นการใช้เงินกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองมียอดการกู้ยืมหมุนเวียนสะสม จำนวน 6-7 รอบต่อกองทุน สมาชิกที่กู้ยืมรวมสะสมมีจำนวน 10.28 ล้านราย (คิดเป็นร้อยละ 87 ของสมาชิกทั้งหมด)

การใช้เงินกู้ของครัวเรือนสมาชิกส่วนใหญ่ร้อยละ 74.30 นำไปลงทุนด้านการเกษตร รองลงมาได้แก่การค้าขาย ร้อยละ 16.28 ด้านอุตสาหกรรมร้อยละ 3.64 การบริการ ร้อยละ 2.84 บรรเทาเหตุฉุกเฉิน ร้อยละ 1.74 และกิจกรรมกลุ่มร้อยละ 1.20 ตามลำดับ

ปัจจุบันมีกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลตามพระราชบัญญัติแล้วจำนวน 69,345 กองทุน หรือคิดเป็นร้อยละ 87.87 ของกองทุนทั้งหมด (ณ วันที่ 3 ต.ค. 51) สำหรับกองทุนที่ยังไม่สามารถจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลนั้นก็ได้จัดตั้งคณะอนุกรรมการศึกษา สาเหตุเพื่อพัฒนา ยกระดับให้สามารถจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล

นอกจากนี้ รัฐบาลยังได้ดำเนินการพัฒนาศักยภาพของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองที่มีการบริหารจัดการดี และมีความพร้อมให้ยกระดับเป็นสถาบันการเงินชุมชนถึงปัจจุบัน

ได้เกิดสถาบันการเงินชุมชนนำร่อง ด้วยการสนับสนุนการเรียนรู้โดยธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และ ธนาคารกรุงไทย จำนวน 449 แห่ง เพื่อศึกษารูปแบบและกระบวนการเรียนรู้พัฒนากองทุนหมู่บ้านขึ้นเป็นสถาบันการเงินชุมชน

3. โครงการบ้านเอื้ออาทร

รัฐบาลมอบหมายให้กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โดยการเคหะแห่งชาติดำเนินการจัดสร้างที่อยู่อาศัยที่ได้มาตรฐานสำหรับประชาชนผู้ด้อยโอกาส ผู้มีรายได้น้อย ข้าราชการและพนักงานหน่วยงานของรัฐชั้นผู้น้อย จำนวน 600,000 หน่วย ภายในเวลา 5 ปี (พ.ศ. 2546-2550) วงเงินลงทุนรวมทั้งสิ้นประมาณ 273,209 ล้านบาท

เป้าหมายดำเนินงาน

มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2550 อนุมัติตามกรอบใหม่ให้ดำเนินการระยะที่ 1-5 รวม 300,504 หน่วย

  • คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติโครงการบ้านเอื้ออาทรรวม 5 ระยะ จำนวน 601,727 หน่วย วงเงินลงทุนรวมทั้งสิ้นประมาณ 273,209 ล้านบาท ซึ่งการเคหะแห่งชาติได้นำเสนอกระทรวงการพัฒนาสังคมฯ และคณะรัฐมนตรีเพื่อขอทบทวนกรอบเป้าหมายจำนวนหน่วยของโครงการบ้านเอื้ออาทรใหม่ให้สอดคล้องกับสภาวการณ์
ความคืบหน้าการดำเนินงาน

ณ สิ้นเดือนกันยายน 2551 ได้ดำเนินการก่อสร้างเสร็จแล้ว จำนวน 154,584 หน่วย

  • โครงการที่ก่อสร้างเสร็จแล้ว 154,584 หน่วย
  • โครงการที่อยู่ระหว่างก่อสร้าง 126,972 หน่วย
การจัดสรรและการเบิกจ่ายเงินอุดหนุน
  • ณ วันที่ 30 กันยายน 2551 สำนักงบประมาณได้จัดสรรเงินให้แล้วจำนวน 29,673.9 ล้านบาท และมีการเบิกจ่ายเงินอุดหนุนไปแล้วรวมทั้งสิ้น 27,918.4 ล้านบาทคิดเป็นร้อยละ 94.08 ของงบฯ ที่ได้รับ ทั้งนี้เงินอุดหนุนนี้จะเป็นเงินที่นำไปใช้ในการก่อสร้างระบบสาธารณูปโภคของโครงการเช่น ระบบถนน ท่อประปา ศูนย์ชุมชน เป็นต้นซึ่งจะต้องดำเนินการก่อนการก่อสร้างตัวอาคาร

การจัดสรรและการเบิกจ่ายเงินอุดหนุนระยะที่ 1-5

  • ระยะที่ 1-3 (82,531 หน่วย)

การเคหะแห่งชาติได้รับการจัดสรรเงินอุดหนุนประจำปีจากรัฐบาลรวมทั้งสิ้น 9,631.0 ล้านบาทและมีการเบิกจ่ายไปแล้วจนถึงวันที่ 30 กันยายน 2551จำนวน 8,895.5 ล้านบาท ประกอบด้วยงบปกติ จำนวน 6,256.6 ล้านบาท ณ วันที่ 30 กันยายน 2551 มีการเบิกจ่ายแล้วรวม 5,741.6 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 91.8 งบกลาง จากศูนย์อำนวยการต่อสู้เพื่อเอาชนะความยากจนแห่งชาติ (ศตจ.) จำนวน 3,374.4 ล้านบาท มีการเบิกจ่ายแล้ว ณ วันที่ 30 กันยายน 2551 จำนวน 3,153.9 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 93.5

  • ระยะที่ 4 ได้รับการจัดสรรทั้งโครงการรวม

12,211.3 ล้านบาท เพื่ออุดหนุนที่อยู่อาศัย จำนวน 118,661 หน่วย มีการเบิกจ่ายแล้ว ณ วันที่ 30 กันยายน2551 จำนวน 11,191.3 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 91.7

  • ระยะที่ 5 ได้รับการจัดสรรทั้งโครงการรวม 7,831.6 ล้านบาท เพื่ออุดหนุนที่อยู่อาศัย จำนวน99,312 หน่วย มีการเบิกจ่ายแล้ว ณ วันที่ 30 กันยายน 2551 จำนวน 7,831.6 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 100
ผลการวิเคราะห์โครงการ

จากการที่โครงการได้ดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จจำนวนเพียง 154,584 หน่วย หรือคิดเป็นเพียงร้อยละ 51.4 ของเป้าหมายที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี ซึ่งการดำเนินงานที่ล่าช้านั้นมีสาเหตุหรือปัญหาที่ทำให้โครงการล่าช้า ดังนี้

  • ผู้รับจ้างขาดสภาพคล่องด้านการเงิน
  • ความล่าช้าที่เกิดจากการดำเนินโครงการ
  • งานล่าช้าเนื่องจากขาดแคลนแรงงาน
  • ผู้รับจ้างขาดการบริหารจัดการงานที่ดีทำให้งานล่าช้าสะสมและไม่สามารถเสร็จได้ตามกำหนด
  • กฎระเบียบบางอย่างไม่สอดคล้องกับสภาพผู้อยู่อาศัยและการอยู่อาศัยเช่า
การเบิกจ่ายเงินอุดหนุนโครงการบ้านเอื้ออาทร
หน่วย : ล้านบาท

คณะรัฐมนตรีอนุมัติจัดสร้าง การเบิกจ่ายเงินอุดหนุน ณ 30 มิ.ย. 51

                              (หน่วย)                   ได้รับจัดสรร       เบิกจ่าย
ระยะที่ 1                        4,131                     327.1          316.1
ระยะที่ 2                        7,100                     617.1          597.8
ระยะที่ 3                       71,300                   8,686.8        7,981.6
ระยะที่ 4                      118,661                  12,211.3       11,191.3
ระยะที่ 5                       99,312                   7,831.6        7,831.6
รวม                          300,504                  29,673.9       27,918.4
หมายเหตุ (1) ระยะที่ 1 ปรับลดลง 44 หน่วย จากโครงการเชียงใหม่เดิม 640 หน่วย เหลือ 596 หน่วย
(2) ระยะที่ 2, 3, 4 และ 5 มีการปรับหน่วยดำเนินการใหม่ (คณะรัฐมนตรีอนุมัติให้ปรับลดหน่วยจากเดิม 601,727
หน่วย เหลือ 300,504 หน่วย เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2550)
(3) ระยะที่ 3 ได้รับอนุมัติจาก ครม. จำนวน 140,000 หน่วย กคช. ได้รับอนุมัติงบอุดหนุนเพียง 100,519 หน่วย
ส่วนที่เหลืออีก 39,481 หน่วย โอนไปใช้งบเอื้ออาทรระยะที่ 5
(4) ระยะที่ 5 ได้รับอนุมัติจาก ครม. เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2548 จำนวน 339,481 หน่วย โดยเป็นจำนวนหน่วย
ของระยะที่ 5 จำนวน 300,000 หน่วย และโอนมาจากระยะที่ 3 จำนวน 39,481 หน่วย
(5) หน่วยที่ดำเนินการ ไม่นับรวมอาคารคงเหลือ กคช.ที่นำมาเข้าโครงการบ้านเอื้ออาทร จำนวน 14 โครงการ
4,400 หน่วย และอยู่ระหว่างเจรจาขอปรับลดหน่วยกับผู้รับจ้าง จำนวน 378 หน่วย
(6) จำนวนหน่วยที่ก่อสร้างแล้วเสร็จไม่นับรวมอาคารคงเหลือฯ จำนวน 14 โครงการ 4,400 หน่วย

4. โครงการพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านและชุมชน (SML) ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

โครงการพัฒนาศักยภาพหมู่บ้าน/ชุมชน (SML) ให้ความสำคัญต่อการพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้าน/ชุมชนซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาประชาธิปไตย คือ จัดงบประมาณโดยตรง เพื่อประชาชนในหมู่บ้าน/ชุมชนนำไปแก้ไขปัญหาส่วนรวมในการดำรงชีวิตประจำวัน และการประกอบอาชีพ โดยประชาชนเป็นผู้บริหารจัดการเอง ยังผลให้หมู่บ้าน/ชุมชนได้มีโอกาสคิด วิเคราะห์ปัญหา ส่วนใดเป็นส่วนรวม ส่วนใดเป็นส่วนบุคคล และจัดลำดับความสำคัญก่อนหลัง จากนั้นร่วมกันกำหนดการใช้งบประมาณอย่างเหมาะสมและพอเพียง

  • เป้าหมาย

1. เพื่อส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วม(ร่วมคิด - ร่วมทำ) ตามระบอบประชาธิปไตย

2. เพื่อกระจายงบประมาณและอำนาจในการบริหารงบประมาณสู่ท้องถิ่น (หมู่บ้าน/ชุมชน) เพื่อให้สามารถดำเนินการแก้ไขปัญหาและสร้างประโยชน์ของส่วนรวมของตนเองได้อย่างตรงจุดและมีประสิทธิภาพแบบบูรณาการ

3. เพื่อการพลิกฟื้นหมู่บ้านให้มีพลังขับเคลื่อนสู่การแก้ไขปัญหาความยากจน

4. เพื่อสร้างโอกาสให้ประชาชนและชุมชนมีส่วนร่วมในกระบวนการสร้างสรรค์ความคิดและนำไปสู่การปฏิบัติในการสร้างปัจจัยสนับสนุน ต่างๆ เพื่อการดำรงชีพและการมีอาชีพของประชาชนโดยส่วนรวมตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง

5. เพื่อพัฒนารูปแบบและระบบในการเตรียมความพร้อมของประชาชนและชุมชนเพื่อรองรับการกระจายอำนาจการปกครองสู่ท้องถิ่นที่เต็มรูปแบบในอนาคตอย่างมีประสิทธิภาพ

  • วัตถุประสงค์

1. เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมคิด-ร่วมทำในการแก้ไขปัญหาของส่วนร่วมกันที่ทุกส่วน/ฝ่ายในระดับหมู่บ้าน/ชุมชนต่างยอมรับและร่วมมือ กันอย่างฉันทานุมัติ

2. เพื่อนำผลของการดำเนินการในระยะแรกเริ่มไปประยุกต์ใช้กับการวิเคราะห์ ทดสอบ การจัดทำคู่มือ การจัดทำร่างระเบียบ และการกำหนดแนวทางในการดำเนินการที่ถูกต้องสมบูรณ์แบบมากยิ่งขึ้นก่อนการนำไปใช้จริงกับหมู่บ้านต้นแบบอื่น ๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตต่อไป

3. เพื่อเสริมสร้างและส่งเสริมความพร้อมและพัฒนาศักยภาพของประชาชนเพื่อการพลิกฟื้นหมู่บ้าน/ชุมชนให้มีพลังขับเคลื่อนสู่การแก้ไข ปัญหาความยากจน

4. สร้างโอกาสและส่งเสริมภาวการณ์เป็นผู้นำให้ประชาชนในระดับหมู่บ้าน/ชุมชน

5. เพื่อเสริมสร้างและส่งเสริมประชาธิปไตยระดับหมู่บ้าน/ชุมชน

6. ส่งเสริมกระบวนการร่วมคิด-ร่วมทำ เพื่อการมีส่วนร่วมในกระบวนการสร้างสรรค์ความคิดและการร่วมแรงร่วมใจกันปฏิบัติที่นำไปสู่การสร้างปัจจัยสนับสนุนต่าง ๆ เพื่อการดำรงชีพและการมีอาชีพของประชาชนโดยส่วนรวมตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง

7. เพื่อเสร้างสร้างและปลูกจิตสำนึกในการบริหารงบประมาณ/ดำเนินการกิจกรรมร่วมกันที่ยึดหลักการบริหารแบบตรงไปตรงมา โปร่งใสสามารถตรวจสอบได้ และความมีอยู่จริงของเอกสารหลักฐานต่างๆ ที่ใช้ประกอบในการบริหารงบประมาณที่ได้รับการจัดสรรจากรัฐบาล

8. เพื่อเตรียมความพร้อมของประชาชนและชุมชนในการรองรับการกระจายอำนาจการปกครองสู่ท้องถิ่นที่เต็มรูปแบบในอนาคตอย่างมี ประสิทธิภาพ

  • ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1. แก้ปัญหาของประชาชนได้อย่างตรงจุดแบบบูรณาการ

2. ประชาชนทุกหมู่บ้าน/ชุมชนในประเทศไทยได้รับการจัดสรรงบประมาณโดยตรงจากรัฐบาล

3. ประชาชนทุกหมู่บ้าน/ชุมชนรู้จักการบริหารจัดการงบประมาณที่ได้รับอย่างจำกัดให้เกิดสัมฤทธิ์ผลสูงสุด

4. ประชาชนเป็นผู้บริหารจัดการเอง (ร่วมคิด-ร่วมทำ) และถือเป็นอีกขั้นตอนของการพัฒนาประชาธิปไตย

5. ก่อให้เกิดพลังในการขับเคลื่อนสู่การแก้ไขปัญหาความยากจนและการสร้างโอกาสให้แก่ประชาชนอย่างยั่งยืน

6. สร้างและส่งเสริมให้เกิดชุมชนเข้มแข็ง

7. สร้างและส่งเสริมให้เกิดผู้นำท้องถิ่นที่มาจากภาคประชาชนโดยแท้จริง

8. ลดปัญหาและภาระของสังคมในหลายด้านอาทิ ปัญหาการว่างงาน ปัญหาแหล่งเสื่อมโทรมในชุมชน เป็นต้น

9. รองรับการกระจายอำนาจการปกครองสู่ท้องถิ่นในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ

10. หน่วยงานภาครัฐสามารถนำผลที่ได้จากการดำเนินโครงการของราษฎรในท้องถิ่นไปประยุกต์และปรับปรุงใช้กับแผนพัฒนาท้องถิ่นหรือองค์กรของตนเองได้ เพื่อให้เหมาะสมกับการจัดทำงบประมาณและการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ

11. ประชาชนให้ความสนใจและมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาของท้องถิ่น เกิดความรู้สึกรับผิดชอบร่วมเป็นเจ้าของ และร่วมแรงร่วมใจ อย่างเต็มกำลังความสามารถในการพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง

12. ก่อให้เกิดกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นสถาบันการศึกษา หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และหมู่บ้าน/ชุมชน และก่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันความคืบหน้าผลดำเนินโครงการ SML รัฐบาลได้โอนเงินโครงการ ฯ ให้กับหมู่บ้านและชุมชนทั่วประเทศอย่างเป็นทางการดังผลการดำเนินงาน ดังนี้

ครั้งที่       วัน/เดือน/ปี        จำนวน       รวมเป็นเงิน

หมู่บ้าน/ชุมชน (ล้านบาท)

1         29เม.ย.51        1,725          403.9
2         26 มิ.ย.51        2,319          543.7
3          7 ก.ค.51        3,817          891.9
4/1       11 ก.ค.51        5,717        1,378.9
4/2       16 ก.ค.51        1,692          426.6
5         30 ก.ค.51        3,379          802.9
6          8 ก.ย.51       21,357        4,949.3
รวม                       40,006        9,397.2

การดำเนินโครงการพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านและชุมชน(SML) ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงหลักเกณฑ์ในการจัดสรรงบประมาณ

1. นายกรัฐมนตรีชี้แจงให้หมู่บ้านเข้าใจวัตถุประสงค์

2. จัดตั้งคณะทำงานหมู่บ้าน โดยการเสนอเพื่อโหวต / เพื่อขอความเห็นชอบ

3. คณะทำงานหมู่บ้าน พิจารณากำหนดหลักเกณฑ์ ระเบียบในการบริหารจัดการ

4. ที่ประชุมเสนอความต้องการ/ปัญหา

5. คณะทำงานหมู่บ้าน และ/หรือที่ประชุม พิจารณาปัญหา/ความต้องการ โดยประเด็นสำคัญ คือ

5.1 ชี้แจงงบประมาณที่มีอยู่ของหมู่บ้าน และการเปิดบัญชีของหมู่บ้านโดยตรง

5.2 จัดกลุ่มปัญหา/ความต้องการ ( เศรษฐกิจ - การประกอบอาชีพ การค้า การเกษตร การผลิต,สังคม - สาธารณูปโภค เบี้ยเลี้ยงคนชรา )

5.3 จัดลำดับความสำคัญของปัญหา/ความต้องการ

5.4 พิจารณาแนวทางการดำเนินงาน ( การดำเนินกิจกรรมเกือบทุกขั้นตอนจะต้องมีเจ้าหน้าที่ของรัฐได้แก่ นายอำเภอ/ปลัดอำเภอ/ปลัดตำบล เป็นผู้คอยช่วยเหลือ และให้คำปรึกษาในการดำเนินกิจกรรม )

โดยสรุป

บทบาทเชิงรุกของส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง นอกจากจะมีธนาคารออมสินเป็นแกนหลัก ในการดำเนินจัดทำบัญชีของแต่ละหมู่บ้าน/ ชุมชนทั่วประเทศ ร่วมกับสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีแล้ว เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพตามกรอบระยะเวลาที่กำหนด คณะทำงานจึงประสานกับกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย เพื่อจัดการอบรมเบื้องต้นแก่นายอำเภอและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เพื่อให้ทุกฝ่ายทราบถึงบทบาท หน้าที่ในเชิงรุกที่ปรับเปลี่ยนไป รวมทั้งเพื่อเตรียมความพร้อมของบุคลากรในพื้นที่ สำหรับการช่วยอำนวยความสะดวกในการจัดการประชุม/ประชาคม รับรองผลการคัดเลือกโครงการเพื่อยื่นขอเบิกจ่ายจากธนาคารออมสิน ให้ความช่วยเหลือแก่ประชาชนในหมู่บ้าน/ ชุมชนในกรณีที่รับการร้องขอ และให้คำปรึกษา/แนะนำแก่ประชาชนในพื้นที่ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นมาตรฐานเดียวกัน และเพื่อให้เกิดความโปร่งใส ตรวจสอบได้ คณะทำงานได้ขอความร่วมมือจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ให้สถาบันอุดมศึกษาในแต่ละพื้นที่เข้าศึกษาตรวจสอบ รายงานผลการดำเนินงานโครงการ SML ตรวจทานความถูกต้อง และเพื่อนำข้อมูลที่ได้มาวางแผน ออกแบบระบบ

วงเงินงบประมาณที่ขอรับการจัดสรรในปีงบประมาณ พ.ศ. 2551 และ 2552

งบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2551 ได้รับการจัดสรรงบประมาณจำนวน 8,000 ล้านบาท โดยเบิกจ่ายจากงบประมาณตามโครงการยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุขที่เหลือในระบบ GFMIS ทั้งจำนวน สำหรับงบประมาณส่วนที่ขาดสำนักงบประมาณจะจัดสรรเพิ่มเติมให้ต่อไป

งบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 ได้รับการจัดสรร 15,000 ล้านบาท การรายงาน ตรวจสอบ ติดตามผลการดำเนินงานต่อไปในอนาคต

มาตรการใหม่
1. มาตรการรองรับวิกฤตการเงินโลก (มติคณะรัฐมนตรีวันที่ 14 ตุลาคม 2551)

ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอมาตรการ 6 ข้อ ประกอบด้วย

1. มาตรการตลาดทุน เนื่องจากปัจจุบันในตลาดทุน มีหุ้นที่ถือโดยต่างชาติ จำนวน 110,000ล้านบาท (3,500 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) ดังนั้นจึงเห็นควรให้มีการจัดตั้งกองทุนโดยเอกชนร่วมมือกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และเป็นการจัดตั้งMatching Fund ระหว่างบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์กับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และ MatchingFund ระหว่างตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกับสถาบันการเงิน รวมทั้งสนับสนุนให้มีมาตรการการคลัง โดยขยายวงเงิน RMF/LTF จาก 500,000 บาทเป็น 700,000 บาท (ประมาณ 10,000 ล้านบาท)

2. มาตรการดูแลสภาพคล่องทางการเงินโดยให้ธนาคารพาณิชย์ดูแลการปล่อยสินเชื่อเพื่อให้ธุรกิจมีสภาพคล่องที่เพียงพอ ทั้งนี้กำหนด เป้าหมายให้ธนาคารพาณิชย์โดยรวมขยายสินเชื่อได้ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 5 (หรือคิดเป็นเงินประมาณ400,000 ล้านบาท) และสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ของรัฐขยายสินเชื่ออีก 50,000 ล้านบาท (จาก 1.1ล้านล้านบาท เป็น 1.15 ล้านล้านบาท) รวมเป็น450,000 ล้านบาท

3. มาตรการเร่งรัดการส่งออกและการท่องเที่ยวเพื่อสร้างรายได้เข้าประเทศ โดยเพิ่มปริมาณการส่งออกและท่องเที่ยวอย่างน้อยร้อยละ 5 คิดเป็นรายได้ส่งออกสินค้าประมาณ 300,000 ล้านบาท และรายได้จากการท่องเที่ยว 60,000 ล้านบาท รวมเป็น360,000 ล้านบาท โดยเน้นความร่วมมือเพื่อนำไปสู่การขยายตลาดในเอเชีย ตะวันออกกลางออสเตรเลีย แอฟริกา และลาตินอเมริกา โดยใช้ทีมประเทศไทย (Team Thailand) รวมทั้งการขยายสินเชื่อเพื่อการส่งออก การรับซื้อพืชผล หลัก ๆ เช่นข้าว ยาง มันสำปะหลัง อ้อย รวมทั้งธุรกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม (SME) ทั้งที่เป็นธุรกิจเพื่อการส่งออกและผลิตเพื่อใช้ภายในประเทศ สำหรับด้านการท่องเที่ยวนั้น ให้มีการสนับสนุนคนไทยท่องเที่ยว ไทย โดยเฉพาะกลุ่มผู้เกษียณอายุ และการท่องเที่ยวเชิงความรู้ของนักเรียนนักศึกษา

4. มาตรการสร้างเศรษฐกิจในประเทศให้ประชาชน โดยเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2552 ให้เข้าสู่ระบบ เศรษฐกิจโดยเร็วที่สุด ทั้งนี้ให้กระทรวงการคลังสำนักงบประมาณ กรมบัญชีกลาง เร่งรัดการเบิกจ่ายให้มากที่สุดภายในครึ่งแรกของปีงบประมาณให้ เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 180,000 ล้านบาท

5. มาตรการเร่งรัดโครงการลงทุนขนาดใหญ่โดยเป็นการเพิ่มขึ้นของงบลงทุน จำนวน 100,000 ล้านบาท โดยเป็นการลงทุนของโครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนประมาณ 60,000 ล้านบาทโครงการระบบขนส่งทั่วประเทศ 10,000 ล้านบาทและโครงการลงทุนด้านพลังงานของ ปตท. 30,000 ล้านบาท

6. มาตรการสร้างประชาคมการเงินเอเซียโดยสร้างความร่วมมือทางการเงินเพื่อสร้างสภาพคล่องทางการเงินภายในภูมิภาคร่วมกัน รวมถึงการสร้างความร่วมมือเพื่อผลักดันการค้าภายในภูมิภาคโดยญี่ปุ่นและจีนจะต้องมีบทบาทนำระบบการเงิน โลกในระยะต่อไป

*** การกระจายอำนาจทางการคลังให้แก่องค์กรปกครองส่วงท้องถิ่น ***

ความคืบหน้าการยกร่างกฎหมายรายได้ท้องถิ่นของคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจศึกษาและพัฒนาระบบรายได้ท้องถิ่นในคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

คณะอนุกรรมการเฉพาะกิจศึกษาและพัฒนาระบบรายได้ท้องถิ่น ได้มีการประชุม เมื่อวันที่ 1 และ 20 ตุลาคม2551 เพื่อพิจารณายกร่างกฎหมายรายได้ท้องถิ่น โดยได้ข้อสรุปดังนี้

1. ความเป็นมา สืบเนื่องจากคณะอนุกรรมการฯ ซึ่งได้รับมอบหมายให้ศึกษาวิเคราะห์รูปแบบรายได้และโครงสร้างของกฎหมายรายได้ท้องถิ่นเพื่อให้เป็นไปตามข้อกำหนดของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพ.ศ. 2550

โดยการประชุมที่ผ่านมาจำนวน 11 ครั้ง ได้มีการพิจารณากรอบแนวคิดและรับทราบข้อมูลโครงสร้างรายได้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ประเทศต่าง ๆ และรับทราบประเด็นปัญหาและข้อพิจารณาเกี่ยวกับการปรับปรุงโครงสร้างภาษีที่ อปท. จัดเก็บเองและภาษีที่รัฐจัดเก็บและโอนให้ รวมทั้งการพิจารณาการกำหนดหลักการความเชื่อมโยงระหว่างกฎหมายที่เกี่ยวข้อง สภาพบังคับของกฎหมายและโครงสร้างรายได้ของ อปท. เป็นต้น

นอกจากนี้ได้มีการพิจารณายกร่างกฎหมายรายได้ท้องถิ่นในเบื้องต้น โดยได้ข้อสรุปโครงสร้างของกฎหมายแบ่งเป็น 5 หมวด ประกอบด้วย หมวด 1 โครงสร้างรายได้ของ อปท. หมวด 2 อำนาจหน้าที่ในการจัดเก็บรายได้หมวด 3 คณะกรรมการรายได้ อปท. หมวด 4 การจัดสรร รายได้ให้แก่ อปท. และหมวด 5 การคำนวณสัดส่วนรายได้ของ อปท. (ได้มีการพิจารณาในรายละเอียดหมวด 1-3)

2. ผลการพิจารณา การพิจารณายกร่างกฎหมายในรายละเอียดของหมวดต่างๆ ได้ข้อสรุปดังนี้

(1) หมวด 1 โครงสร้างรายได้ของ อปท. รายได้ของอปท. ประกอบด้วย

(1.1) รายได้ประเภทภาษีอากร ได้แก่

(ก) ภาษีท้องถิ่น ได้แก่ ภาษีโรงเรือนและที่ดินภาษีบำรุงท้องที่ ภาษีรถยนต์ ภาษีป้าย ภาษีการโอนอสังหาริมทรัพย์ ภาษีค้าปลีกน้ำมันเบนซิน น้ำมันดีเซลและน้ำมันที่คล้ายกัน และก๊าซปิโตรเลียมที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับรถยนต์ ภาษีค้าปลีกยาสูบ ภาษีการเข้าพักโรงแรมเป็นต้น

(ข) ภาษีที่ใช้ฐานร่วมระหว่างรัฐบาลกับ อปท. ได้แก่

  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยมีการเปลี่ยนแปลงจากแนวทางในปัจจุบัน ซึ่งภาษีมูลค่าเพิ่ม อปท. ประกอบด้วย 3 ส่วนได้แก่ ส่วนที่ 1 จัดเก็บเพิ่มให้ อปท. 1 ใน 9 ของที่จัดเก็บตามประมวลรัษฎากร ส่วนที่ 2 จัดสรรให้ อบจ. ร้อยละ 5 ของที่จัดเก็บตามประมวลรัษฎากร และส่วนที่ 3 ซึ่งเป็นการจัดสรรให้ อปท. ตาม พรบ. กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจฯ ซึ่งกำหนดให้ไม่เกินร้อยละ 30 ของภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บได้หลังจากหักส่วนที่ต้องจ่ายคืนแล้วเปลี่ยนแปลงเป็น ภาษีมูลค่าเพิ่มของ อปท. มีเพียงส่วนเดียวคือ ส่วนที่จัดเก็บเพิ่มให้กับ อปท. 3 ใน 7 ส่วนของอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มที่เรียกเก็บตามประมวลรัษฎากร (ภาษีที่จัดเก็บทั้งหมดรัฐบาลได้รับร้อยละ 70 และ อปท. ได้รับร้อยละ 30)
  • ภาษีธุรกิจเฉพาะ ภาษีสุรา และภาษีสรรพสามิตซึ่งภาษีทั้ง 3 รายการดังกล่าว ปัจจุบันจัดเก็บเพิ่มให้ อปท.ในอัตราร้อยละ 10 ของภาษีที่รัฐบาลจัดเก็บ โดยยังคงจัดเก็บในอัตราร้อยละ 10 และสามารถขยายเพดานจัดเก็บได้ถึงร้อยละ 30
  • ภาษียาสูบ (ปัจจุบันยังไม่จัดเก็บให้ อปท.) ให้จัดเก็บเพิ่มให้ อปท. ร้อยละ 10 ของภาษีที่รัฐบาลจัดเก็บและสามารถขยายเพดานการจัดเก็บได้ถึง ร้อยละ 30
  • ค่าภาคหลวงปิโตรเลียมและค่าภาคหลวงแร่ ให้แบ่งรายได้ระหว่างรัฐบาลกับ อปท. ในสัดส่วนเดิม คือ 40:60

(ค) ภาษีของรัฐบาลที่จัดสรรให้ อปท. กรณีที่รัฐบาลเห็นสมควร รัฐบาลจะจัดสรรภาษีของรัฐบาลให้ อปท.ก็ได้ ทั้งนี้ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไขและวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด

(ง) ภาษีอื่นตามที่มีกฎหมายบัญญัติ

(1.2) รายได้ที่ไม่ใช่ภาษีอากร ได้แก่ เงินอุดหนุนจากรัฐบาล ค่าธรรมเนียม ค่าใบอนุญาต ค่าปรับ รายได้จากทรัพย์สิน รายได้จากการพาณิชย์หรือวิสาหกิจของ อปท.ค่าตอบแทน ค่าบริการ เงินและทรัพย์สินที่มีผู้บริจาคให้และเงินช่วยเหลือจากต่างประเทศ องค์การต่างประเทศ หรือองค์การระหว่างประเทศ เป็นต้น

(2) หมวด 2 อำนาจหน้าที่ในการจัดเก็บรายได้สาระสำคัญที่บัญญัติไว้ได้แก่ อปท. ย่อมมีอำนาจหน้าที่ในการจัดเก็บภาษีอากรและรายได้ที่ไม่ใช่ภาษีอากรตามที่กฎหมายบัญญัติ และในกรณีที่ อปท. เห็นว่า ประชาชนจะได้รับประโยชน์มากขึ้นและการจัดเก็บรายได้นั้นมีประสิทธิภาพมากขึ้น อปท. อาจมอบอำนาจให้ส่วนราชการหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ อปท. อื่น องค์กรเอกชนหรือองค์กรรวมใด จัดเก็บแทนได้

สำหรับประเด็นการคิดค่าใช้จ่ายตอบแทนให้แก่กรมจัดเก็บภาษีซึ่งจัดเก็บภาษีประเภทต่างๆ แทน อปท.ได้แก่ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีสุราและภาษีสรรพสามิต เป็นต้นที่ประชุมเห็นด้วยในหลักการที่ต้องกำหนดไว้ในกฎหมายให้ชัดเจน ซึ่งจะต้องมีการพิจารณากำหนดขอบเขตการคิดค่าตอบแทนที่เหมาะสมต่อไป

(3) หมวด 3 คณะกรรมการรายได้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์ประกอบได้แก่

(ก) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังหรือรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังที่ได้รับมอบหมาย เป็นประธาน

(ข) ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ อธิบดีกรมสรรพากร อธิบดีกรมสรรพาสามิต อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น และผู้อำนวยการสำนักงาน

(ค) ผู้แทน อปท. จำนวน 5 คน จาก อปท. 5 ประเภทๆ ละ 1 คน

(ง) ผู้ทรงคุณวุฒิด้านภาษีอากร ด้านการคลัง ด้านการเงิน ด้านการงบประมาณและด้านเศรษฐศาสตร์ ด้านละ 1 คน

โดยมีผู้อำนวยการ สศค. เป็นกรรมการและเลขานุการ และมีผู้แทนจากกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นและสำนักงานคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่ อปท.เป็นผู้ช่วยเลขานุการสำหรับอำนาจหน้าที่ของ คณะกรรมการฯ ได้แก่

(ก) จัดทำแผนพัฒนารายได้ อปท. เพื่อให้ อปท.ม มีรายได้เพิ่มขึ้นตามเป้าหมายที่กฎหมายกำหนด

(ข) เสนอแนะหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขการจัดสรรเงินอุดหนุนให้แก่ อปท.

(ค) เสนอแนะการกำหนดสัดส่วนรายได้ระหว่างรัฐบาลกับ อปท. ต่อ กกถ.

(ง) พิจารณารายได้ประเภทใหม่ๆ ของ อปท.

(จ) พัฒนาศักยภาพและเสนอแนะการบริหารจัดเก็บจัดหาและพัฒนารายได้ของ อปท.

(ฉ) ประเมินผลและรายงานผลการจัดเก็บรายได้ของอปท. ต่อ กกถ.

(ช) พิจารณาและเสนอแนะการพัฒนาหลักเกณฑ์การจัดสรรรายได้ให้แก่ อปท. ให้เหมาะสมตามสภาวะเงื่อนไขทางเศรษฐกิจ และสังคม

(ซ) ศึกษา วิเคราะห์และรายงานข้อมูลการเงินการคลังของ อปท.

(4) หมวด 4 การจัดสรรรายได้ให้แก่ อปท. โดยแบ่งรายได้เป็น 2 ประเภท คือ

(4.1) ภาษีที่จะจัดสรรได้แก่

(ก) ภาษีมูลค่าเพิ่ม การจัดสรรในภาพรวม

ส่วนที่ 1 ให้แก่ องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.)

สำหรับการจัดสรรภายในระหว่าง อบจ. ด้วยกันเองใช้เกณฑ์แบ่งเท่ากัน สัดส่วนการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มของกรมสรรรพากร สัดส่วนขนาดพื้นที่และสัดส่วนประชากรในสัดส่วนร้อยละ 50:20:20:10 ตามลำดับ

ส่วนที่ 2 สัดส่วนร้อยละ 72.3 เป็นของเทศบาลและองค์การบริหารตำบล (อบต.) ซึ่งจัดสรรตามกรมจัดเก็บภาษีดังนี้

  • ส่วนที่กรมสรรพากรจัดเก็บ จัดสรรให้แต่ละจังหวัดตามแหล่งที่เกิดของรายได้ ส่วนการจัดสรรในระดับจังหวัดให้แก่ เทศบาล
และ อบต. ใช้เกณฑ์ประชากร
  • ส่วนที่กรมสรรพสามิตและกรมศุลกากรจัดเก็บ ให้จัดสรรให้กับแต่ละเทศบาลและ อบต. ทั่วประเทศตามเกณฑ์ประชากร

ทั้งนี้ การกำหนดหลักเกณฑ์การจัดสรรภาษีมูลค่าเพิ่มระหว่าง อปท. ดังกล่าว ได้เปลี่ยนแปลงสาระสำคัญของหลักเกณฑ์การจัดสรรจากปัจจุบันไปเป็นอันมาก ซึ่งที่ประชุมได้รับทราบผลการศึกษาของผู้แทน สศค. (สนค.) ถึงผลกระทบต่อรายได้ของ อปท.ในรายแห่งไม่ต่ำกว่า 4,000 แห่ง โดยที่ประชุมได้แสดงความคิดเห็นและข้อสังเกตเกี่ยวกับแนวทางการแก้ไขซึ่งอาจกำหนดหลักเกณฑ์ให้มีการกันเงินภาษีมูลค่าเพิ่มหรือเงินอุดหนุนทั่วไปไว้ส่วนหนึ่ง เพื่อชดเชยรายได้แก่อปท. ที่ได้รับผลกระทบ เป็นต้น ซึ่งที่ประชุมจะได้มีการพิจารณารายละเอียดในคราวต่อไป

(ข) ภาษีธุรกิจเฉพาะ จัดเก็บได้ในจังหวัดใด(รวมถึง กทม.) ให้เป็นของจังหวัดนั้น

ส่วนการจัดสรรภายในของแต่ละจังหวัดให้แต่ละอบต. และเทศบาลเป็นไปตามแหล่งกำเนิดของภาษีได้แก่ภาษีที่เก็บจากธุรกิจธนาคารแบ่งให้ เทศบาลหรือ อบต.ตามแหล่งที่ธนาคารนั้นตั้งอยู่ เป็นต้น

(ค) ภาษีสรรพสามิต จัดสรรให้แก่ เทศบาล อบต.กทม. และเมืองพัทยา ดังนี้

  • ส่วนที่จัดเก็บจากสินค้าน้ำมัน รถยนต์และรถจักรยานยนต์ เครื่องดื่มและเครื่องใช้ไฟฟ้า ตามเกณฑ์ประชากร
  • ส่วนที่จัดเก็บจากบริการสนามกอล์ฟสนามม้า อาบอบนวดและบริการอื่น จัดสรรตามแหล่งที่เกิดภาษีนั้น

(ง) ภาษีสุราและภาษียาสูบ จัดสรรให้แก่ เทศบาลอบต. กทม. และเมืองพัทยา ตามเกณฑ์ประชากร

ที่มา : Macroeconomic Analysis Group : Fiscal Policy Office

Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ