ผลการประชุมรัฐมนตรีว?การกระทรวงการคลังเอเปค ครั้งที่ 15

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday November 12, 2008 13:56 —กระทรวงการคลัง

นายอรรคศิริ บุรณศิริ รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะผู?แทนไทยในการประชุมรัฐมนตรีว?การกระทรวงการคลังเอเปค ครั้งที่ 15 (The 15th APEC Finance Ministers’ Meeting) เป?ดเผยถึงผลการประชุม ระหว?งวันที่ 5-6 พฤศจิกายน 2551 ณ เมือง Trujillo สาธารณรัฐเปรู โดยมีนาย Luis Miguel Valdivieso Montano รัฐมนตรีว?การกระทรวงเศรษฐกิจและการคลัง สาธารณรัฐเปรูเป?นประธาน โดยมีผลการประชุมสรุปได้ดังนี้

ที่ประชุมได้หารือเกี่ยวกับประเด็นด้านเศรษฐกิจที่สำคัญในปัจจุบัน อันได้แก่ วิกฤตการเงินโลก โดยที่ประชุมได้หารือถึงแนวทางการแก้ปัญหาวิกฤตการเงิน เน้นถึงปัญหาของกรอบของกฎระเบียบและการกำกับดูแล และการให้ความสำคัญแก่ความร่วมมือทางด้านการเงินในภูมิภาค (Regional Financial Arrangement) โดยหลายประเทศได้ยกตัวอย่างความร่วมมือในกรอบ ASEAN+3 ซึ่งได้แก่ มาตรการริเริ่มเชียงใหม่ (Chiang Mai Initiative: CMI) และ มาตรการริเริ่มพัฒนาตลาดพันธบัตรเอเชีย (Asian Bond Markets Initiative: ABMI) ซึ่งจะมีส่วนเสริมความช่วยเหลือด้านการเงินที่ได้รับจากองค์กรระหว่างประเทศ และที่ประชุมยืนยันในการที่จะร่วมมือและดำเนินการอย่างสอดคล้องในแนวทางเดียวกัน นอกจากนั้น ยังมีประเด็นเรื่องปัญหาราคาอาหารและสินค้า ที่ประชุมได้หารือถึงปัญหาราคาสินค้าที่มีความผันผวน และสนับสนุนการดำเนินการเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวของ UN ธนาคารโลก และธนาคารพัฒนาเอเชีย

สำหรับหัวข?อหลักของการประชุม ในป?นี้ ประกอบด?วย 2 หัวข?อ ได?แก?

(1) การพัฒนาคุณภาพของการใช้จ่ายภาครัฐ (Improving the quality of public expenditure) ที่ประชุมได้หารือถึงการจัดการเกี่ยวกับปัญหาความเสี่ยงด้านการคลัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจปัจจุบัน และเน้นให้ความสำคัญต่อในประเด็นการจัดทำงบประมาณโดยมุ่งผลสัมฤทธิ์ (Result-Based Budgeting: RBB) ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการพัฒนาประสิทธิภาพการใช้จ่ายภาครัฐ โดยให้มีการเชื่อมโยงกันระหว่างงบประมาณจากรัฐบาลส่วนกลางและผลลัพธ์ที่เกิดจากการลงทุนดังกล่าว ในการนี้ ที่ประชุมได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์เกี่ยวกับการจัดทำงบประมาณโดยมุ่งผลสัมฤทธิ์ และการนำเกณฑ์มาตรฐานของผลงานมาใช้ในกระบวนการจัดทำงบประมาณ นอกจากนี้ ที่ประชุมได้หารือถึงการมีเป้าหมายต่อการใช้จ่ายภาครัฐที่ชัดเจน ซึ่งเป็นประเด็นสำคัญในการนำไปสู่การกระจายและจัดสรรงบประมาณที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น

(2) การปรับโครงสร้างตลาดทุน (Reforming capital markets) ที่ประชุมได้หารือว่าการปรับโครงสร้างตลาดทุน ต้องคำนึงถึงสถานการณ์วิกฤตการเงินในปัจจุบันด้วย ซึ่งต้องมีส่วนประกอบสำคัญที่ต้องมีประสิทธิภาพ เช่น นโยบายเศรษฐกิจมหภาคและนโยบายภาษี กรอบกฎหมายและกฎระเบียบ โครงสร้างพื้นฐานของตลาด ตลอดจนสนับสนุนการขยายและกระจายฐานนักลงทุน นอกจากนี้ การสนับสนุนด้านการเงินจากภาคเอกชนก็สามารถมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาตลาดทุนและเพิ่มประสิทธิภาพของตลาดการเงิน โดยการเพิ่มปริมาณสินทรัพย์ระยะยาวให้แก่นักลงทุนสถาบันและนักลงทุนรายย่อย ซึ่งที่ประชุมเห็นว่าการนำระบบ Public-private partnerships (PPPs) มาใช้ ก็จะเป็นประโยชน์ต่อเขตเศรษฐกิจที่มีความต้องการการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ โดยจะช่วยลดภาระการคลังภาครัฐและช่วยพัฒนาตลาดทุน

สำนักนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง

โทร. (02) 273-9020 ต่อ 3623

--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 83/2551 12 พฤศจิกายน 51--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ