ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดประจำเดือนตุลาคม 2551

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday November 18, 2008 09:18 —กระทรวงการคลัง

นายสมชัย สัจจพงษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลังในฐานะโฆษกกระทรวงการคลังได้แถลงฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสด ในเดือนตุลาคม 2551 รัฐบาลขาดดุลเงินสดจำนวน 59,416 ล้านบาท โดยเป็นการเกินดุลเงินงบประมาณจำนวน 1,277

ล้านบาท เนื่องจากพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2552 เริ่มมีผลบังคับใช้ในวันที่ 14 ตุลาคม 2551 และการขาดดุลเงินนอกงบประมาณ 60,693 ล้านบาท สอดคล้องกับนโยบายการคลัง

แบบขาดดุลของรัฐบาลที่ตั้งเป้าหมายการขาดดุลตลอดปีงบประมาณ 2552 ไว้ที่ระดับ 249,500 ล้านบาท โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1. รัฐบาลมีรายได้นำส่งคลัง 94,995 ล้านบาท ต่ำกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้ว 21,116ล้านบาท หรือร้อยละ 18.2 ทั้งนี้ เนื่องจากการปรับลดอัตราภาษีน้ำมันตาม 6 มาตรการ 6 เดือน

ฝ่าวิกฤติเพื่อคนไทย อย่างไรก็ดียังมีรายได้จากภาษีที่จัดเก็บเพิ่มขึ้นในอัตราที่สูงที่สำคัญ ได้แก่

ภาษียาสูบ ภาษีสุรา และภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันกับปีก่อนร้อยละ 19.0 13.2 และ 9.2 ตามลำดับ

2. การเบิกจ่ายเงินงบประมาณของรัฐบาลมีจำนวนทั้งสิ้น 93,718 ล้านบาท

ต่ำกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้ว 61,671 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 39.7 เนื่องจากพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2552 มีผลบังคับใช้ล่าช้า 2 สัปดาห์ ทำให้ช่วงเวลาดังกล่าวไม่สามารถเบิกจ่ายรายจ่ายลงทุนใหม่ได้ โดยการเบิกจ่ายเงินงบประมาณแบ่งออกเป็นรายจ่ายปีปัจจุบัน 85,193 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 4.6 ของวงเงินงบประมาณ (1,835,000 ล้านบาท) ในขณะที่เดือนเดียวกันปีที่แล้วเบิกจ่ายได้ร้อยละ 8.9 ของวงเงินงบประมาณ (1,660,000 ล้านบาท) โดยมีการเบิกจ่ายที่สำคัญ ๆ ได้แก่ รายจ่ายให้กับกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และรายจ่ายประเภทเบี้ยหวัด บำเหน็จ บำนาญดำรงชีพ และมีรายจ่ายจากงบประมาณปีก่อน 563 ล้านบาท ต่ำกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 97.9

ตารางที่ 1 การเบิกจ่ายเงินงบประมาณในเดือนตุลาคม 2551

หน่วย: ล้านบาท

                                            เดือนตุลาคม                 เปรียบเทียบ
                                    2551         2550         จำนวน       ร้อยละ
          1. รายจ่ายปีปัจจุบัน                         85,193    147,936        -62,743     -42.4
    1.1 รายจ่ายประจำ                     84,630    121,123        -36,493     -30.1
    1.2 รายจ่ายลงทุน                         563     26,813        -26,250     -97.9
          2. รายจ่ายจากงบประมาณปีก่อน                 8,525      7,453          1,072      14.4
          3. รายจ่ายรวม (1+2)                      93,718    155,389        -61,671     -39.7

ที่มา: กรมบัญชีกลาง

3. จากรายได้นำส่งคลังและการเบิกจ่ายเงินงบประมาณของรัฐบาลข้างต้น

ส่งผลให้ดุลเงินงบประมาณในเดือนตุลาคม 2551 เกินดุล 1,277 ล้านบาท เมื่อรวมกับดุลเงิน

นอกงบประมาณที่ขาดดุล 60,693 ล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผลจากการไถ่ถอนตั๋วเงินคลังสุทธิจำนวน 46,000 ล้านบาท และรายจ่ายเหลื่อมจ่ายจากปีงบประมาณที่แล้วจำนวน 15,819 ล้านบาท ทำให้ดุลเงินสดขาดดุลจำนวน 59,416 ล้านบาท โดยรัฐบาลได้กู้เงินด้วยการออกพันธบัตรจำนวน 10,000 ล้านบาทเพื่อชดเชยการขาดดุลดังกล่าว (ตารางที่ 2)

ตารางที่ 2 ฐานะการคลังตามระบบกระแสเงินสดเดือนตุลาคม 2551

หน่วย: ล้านบาท

                                    เดือนตุลาคม                 เปรียบเทียบ
                                      2551         2550         จำนวน       ร้อยละ
          1. รายได้                                  94,995    116,111        -21,116     -18.2
          2. รายจ่าย                                 93,718    155,389        -61,671     -39.7
          3. ดุลเงินงบประมาณ                           1,277    -39,278         40,555    -103.3
          4. ดุลเงินนอกงบประมาณ                      -60,693    -20,517        -40,176     195.8
          5. ดุลเงินสดก่อนกู้ (3+4)                     -59,416    -59,795            379      -0.6
          6. เงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุล                   10,000     11,500         -1,500       -13
          7. ดุลเงินสดหลังกู้ (5+6)                     -49,416    -48,295         -1,121       2.3

ที่มา: กรมบัญชีกลาง และสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง

สำนักนโยบายการคลัง สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง

โทร 0 2273 9021 ต่อ 3558 หรือ 3555

--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 86/2551 17 พฤศจิกายน 51--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ