รายงานภาวะเศรษฐกิจรายวันประจำวันที่ 24 พฤศจิกายน 2551

ข่าวเศรษฐกิจ Monday November 24, 2008 11:45 —กระทรวงการคลัง

Macro Morning Focus ประจำวันที่ 24 พ.ย. 2551

SUMMARY:
  • ผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ประเมินผลกระทบของวิกฤติเศรษฐกิจต่อการจ้างงาน
  • ธปท.เผยสินเชื่อในระบบชะลอตัว
  • เศรษฐกิจยุโรปส่งสัญญาณตกต่ำต่อเนื่อง
HIGHLIGHT:
1. ผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ประเมินผลกระทบของวิกฤติเศรษฐกิจต่อการจ้างงาน
  • ในวันนี้ (24 พ.ย.) สมาชิกของกลุ่มอุตสาหกรรมชิ้นส่วนและอะไหล่ยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) จะได้หารือร่วมกันเพื่อประเมินสถานการณ์ปัญหาที่เกิดขึ้นกับแรงงานในภาคการยานยนต์ พร้อมทั้งจะมีการเสนอมาตรการต่อรัฐบาลเพื่อช่วยเหลือแรงงานที่คาดว่าจะมีรายได้ลดลงจากชั่วโมงโอทีที่ลดลง อาธิ การขอให้ขยายเวลาของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลออกไป การงดเก็บเงินเข้ากองทุนประกันสังคมเป็นการชั่วคราว และการขยายเพดานภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เป็นต้น
  • สศค. วิเคราะห์ว่า ผลกระทบจากการชะลอตัวของอุตสาหกรรมรถยนต์ทั่วโลก จะส่งผลให้ยอดการส่งออกของรถยนต์และชิ้นส่วนรถยนต์ของประเทศไทยในไตรมาสสุดท้ายของปีนี้และปีหน้าชะลอตัวลง ทั้งนี้ มูลค่าการส่งออกยานยนต์ล่าสุดในเดือนต.ค. 51 ขยายตัวเพียงร้อย 10.5 ต่อปี ซึ่งถือเป็นการชะลอตัวลงมากเมื่อเทียบกับในช่วง 10 เ ดือนแรกของปี 51 ที่ขยายตัวร้อยละ 23.9 ต่อปี
2. ธปท.เผยสินเชื่อในระบบชะลอตัว
  • ผู้ช่วยผู้ว่าการสายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) กล่าวถึงผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจต่อการปล่อยสินเชื่อว่า จากข้อมูลการให้สินเชื่อล่าสุดพบว่า การปล่อยสินเชื่อมีการขยายตัวลงบ้างแต่ไม่สามารถระบุได้ว่าการขยายตัวสินเชื่อในระบบที่ชะลอลงจะถูกทดแทนด้วยสินเชื่อนอกระบบหรือไม่ เนื่องจากธปท.ไม่มีข้อมูลการกู้ยืมเงินนอกระบบ
  • สศค. วิเคราะห์ว่า ความเสี่ยงจากแนวโน้มเศรษฐกิจชะลอตัวในปี 52 จะเป็นปัจจัยสำคัญในการปล่อยสินเชื่อของระบบ ทั้งนี้ ในไตรมาส 3 ปี 51 อัตราการขยายตัวของสินเชื่อในระบบอยู่ในระดับสูงที่ร้อยละ 13.2 ต่อปี โดยขับเคลื่อนจากสินเชื่อบริษัท (Corporate Loan) mขยายตัวร้อยละ 16.1 ต่อปี จากความต้องการทุนดำเนินการ (Working Capital) ที่สูงขึ้น อย่างไรก็ตาม ทางการจำเป็นต้องดูแลสภาพคล่องในระบบการเงินให้เพียงพอต่อความต้องการของภาคธุรกิจในปี 52 ต่อปี
3. เศรษฐกิจยุโรปส่งสัญญาณตกต่ำต่อเนื่อง
  • ดัชนีความเชื่อมั่นผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (Purchasing Manager Index: PMI) อันเป็นดัชนีชี้วัดเศรษฐกิจในอนาคตของยุโรปในเดือน พ.ย. อยู่ที่ 39.7 จุด ต่ำกว่าระดับมาตรฐานที่ 50.0 จุดและตกต่ำสุดในรอบ 10 ปี โดยเป็นการตกต่ำทั้งภาคการผลิตเพื่อจำหน่ายภายในประเทศและเพื่อส่งออก ขณะที่อัตราการว่างงานในเดือน ก.ย. คงที่ที่ร้อยละ 7.5 ของกำลังแรงงานรวม ขณะที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะปรับขึ้นถึงร้อยละ 10 ในปี 52
  • สศค. วิเคราะห์ว่านอกจาก PMI แล้วเครื่องชี้ต่าง ๆ บ่งชี้ว่าเศรษฐกิจยุโรปจะตกต่ำอย่างรุนแรงในปี 52 ทั้งสิ้น เช่น คำสั่งซื้อสินค้าทุน (Capital Goods) ที่เป็นสินค้าส่งออกหลักของยุโรป ขณะที่สภาพคล่องภาคการเงินที่ตึงตัวทำให้สถาบันการเงินไม่ปล่อยสินเชื่อแก่ผู้บริโภคและภาคธุรกิจ ทำให้การบริโภคและลงทุนในยุโรปน่าจะหดตัวเช่นเดียวกับภาคส่งออก ซึ่ง IMF คาดว่าเศรษฐกิจยุโรปจะหดตัวร้อยละ -0.5 ในปี 52 ทั้งนี้ เป็นไปได้ว่าธนาคารกลางยุโรป (ECB) จะลดดอกเบี้ยจากร้อยละ 3.25 เหลือร้อยละ 1 ในต้นปี 52 เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ขณะที่รัฐบาลในยุโรปอาจทำนโยบายการคลังขาดดุลเพิ่มขึ้น ทั้งในประเทศที่มีงบประมาณเกินดุล เช่น เยอรมันและกลุ่มสแกนดิเนเวีย และประเทศ

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office

Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ