รายงานภาวะเศรษฐกิจรายสัปดาห์ 24-28 พฤศจิกายน 2551

ข่าวเศรษฐกิจ Monday December 1, 2008 16:16 —กระทรวงการคลัง

Economic Indicators: This Week

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือน ต.ค. 51 หดตัวร้อยละ -0.9 ต่อปี เนื่องจากการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมที่เน้นการส่งออกมีแนวโน้มชะลอตัวลงมาก ทั้งเครื่องอิเล็กทรอนิกส์และยานยนต์ ขณะที่เครื่องใช้ไฟฟ้าหดตัวลงมาก ตามความต้องการของตลาดต่างประเทศที่ชะลอตัวลงมาก (Global Slowdown) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สหรัฐ ยุโรป ญี่ปุ่น จีน และสิงคโปร์ขณะเดียวกันสินค้าอุตสาหกรรมที่เน้นตลาดภายในประเทศ เช่น อุตสาหกรรมอาหาร การปั่น การทอ ก็มีแนวโน้มชะลอตัวลงตามการชะลอตัวของเศรษฐกิจไทยโดยรวมเช่นกัน ทั้งนี้ MPI ที่ลดลงดังกล่าว เป็นไปในทิศทางที่สอดคล้องกับการการลดลงของดัชนีอัตราการใช้กำลังการผลิต (Capacity utilization ; CapU) ในเดือน ต.ค 51.ที่อยูที่รอ้ ยละ 60.6ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่รอ้ ยละ 61.1สะท้อนระดับการใชก้ ลังผลิตที่ลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับกำลังการผลิตที่มีอยู่ทั้งหมด (Full Capacity)

สินเชื่อให้แก่ภาคเอกชนของธนาคารพาณิชย์เดือน ต.ค. 2551 ขยายตัวสูงต่อเนื่องในอัตราร้อยละ 23.9 ต่อปี สูงกว่าเดือนก่อนหน้าที่ ขยายตัวร้อยละ 13.1 โดยสินเชื่อคงค้างอยู่ที่ระดับ 6,731.4 พันล้านบาทสูงขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 6,128.2 พันล้านบาท หรือคิดเป็นการ ขยายตัวที่ร้อยละ 9.8 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน

เงินฝากรวมของธนาคารพาณิชย์เดือน ต.ค. 2551 เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้า โดยเงินฝากรวมในเดือนต.ค.อยู่ที่ระดับ 6,786.0 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 6,731.4 พันล้านบาท แต่คิดเป็นการหดตัวลงเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันที่อัตราร้อยละ -0.5 ต่อปีอย่างไรก็ตาม เงินฝากภาคเอกชนที่แท้จริงหดตัวลงต่อเนื่องในเดือน ก.ย.2551 เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่แท้จริงยังคงติบลบต่อเนื่องอยู่

ดุลบัญชีเดินสะพัดในเดือนต.ค.51 ขาดดุล -1.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เนื่องจากดุลบริการขาดดุล -0.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ตามการหดตัวลงของจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่กังวลเรื่องสถานการณ์ทางการเมืองโดยหดตัวลงที่ร้อยละ -6.9 ต่อปี ขณะที่ดุลการค้าขาดดุลที่ -1.0 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ตามมูลค่าการส่งออกที่ชะลอตัวลงจากวิกฤตเศรษฐกิจโลกโดยเฉพาะประเทศกลุ่ม G3 ซึ่งเป็นประเทศคู่ค้าหลักของไทยมีสัดส่วนการส่งออกรวม 34.2 ของการส่งออกทั้งหดของไทย

Economic Indicators: Next Week

อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือน พ.ย. 51 คาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 2.7 ต่อปีชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่รอ้ ยละ 3 .9 ต่อป เนื่องจาก 1)การลดลงของราคาน้ำมันดิบโลก ส่งผลให้ราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศลดลงตามไปด้วย โดยราคาน้ำมันดีเซล และเบนซีน 95 ในเดือน พ.ย. (ณ 22 พ.ย. 51)ลดลงกว่าร้อยละ -13.4 และ -14.0 ตามลำดับเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า2) ราคาข้าวสารในเดือน พ.ย .ที่ลดลงมากกว่ารอ้ ยละ 10.0 เนื่องจากราคาข้าวในตลาดโลกมีการปรับตัวลดลงมาก ประกอบกับผลผลิตข้าวนาปีที่เริ่มออกมาสู่ตลาดมากขึ้น

ยอดขายปูนซีเมนต์เดือน ก.ย. 51 คาดว่าจะหดตัวที่ร้อยละ -17.0ต่อปี ต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -17.3 ต่อปี สาเหตุที่ สศค.คาดว่า ยอดขายปูนซีเมนต์จะหดตัวต่อเนื่อง เนื่องจากผู้ประกอบการต่างเร่งระบายสต๊อกปูนซีเมนต์ที่สำรองไว้ในช่วงที่ผ่านมาจึงชะลอการซื้อปูนซีเมนต์ลงในระยะนี้ ประกอบกับความไม่แน่นอนทางการเมืองที่อาจส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนด้านการก่อสร้าง ทำให้มีแนวโน้มอาจจะเลื่อนการดำเนินโครงการก่อสร้างออกไปได้ในอนาคต

Foreign Exchange Review

ค่าเงินสกุลคู่ค้าหลักของไทยเทียบกับดอลลาร์สหรัฐในสัปดาห์ที่ผ่านมาแข็งค่าขึ้นในเกือบทุกสกุล ยกเว้นดอลลาร์ฮ่องกง และค่าเงินบาท

ค่าเงินของประเทศคู่ค้าหลักของไทยแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับค่าเงินดอลลาร์สหรัฐหลังจากที่ธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) ออกมาตรการใหม่มูลค่า 8 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อสนับสนุนภาคการเงิน ซึ่งช่วยลดความวิตกเกี่ยวกับวิกฤตการเงิน โดยเป็นการเปิดโครงการขนาด 6 แสนล้านดอลลาร์ในการซื้อหลักทรัพย์และตราสารหนี้ที่เกี่ยวข้องกับสัญญาจำนอง และเปิดวงเงิน 2 แสนล้านดอลลาร์ในการเพิ่มสภาพคล่องให้กับสถาบันการเงินที่มีสินทรัพย์ค้ำประกันในรูปแบบของสินเชื่อรถและบัตรเครดิต ประกอบกับทางการสหรัฐตกลงให้ความช่วยเหลือ Citigroup โดยกระทรวงการคลังและสถาบันประกันเงินฝาก(FDIC) จะรับประกันความสูญเสียจากตราสารหนี้ที่อิงกับภาคอสังหาริมทรัพย์(Mortgage-back Securities: MBS) และ Citigroup จะได้รับการเพิ่มทุนอีก 20 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งมาตรการทั้ง 2 ได้ส่งผลให้ความเชื่อมั่นของตลาดการเงินทั่วโลกปรับดีขึ้นต่อเนื่อง จึงทำให้ค่าเงินสกุลคู่ค้าหลักของไทยส่วนใหญ่ปรับตัวแข็งค่าขึ้นจากเนื่องจากนักลงทุนคลายความกังวล และลดความต้องการถือเงินดอลลาร์สหรัฐฯในฐานะ safe haven

ในขณะที่ค่าเงินปอนด์สเตอลิงค์ได้ปรับตัวแข็งค่าขึ้นมากเมื่อเทียบกับค่าเงินดอลลาร์สหรัฐหลังจากที่ทางการสหราชอานาจักรประกาศปรับอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มลดลงชั่วคราวรอ้ ยละ 2.5 จากรอ้ ยละ 17.5 เป็นรอ้ ยละ 15.0จากเดือนธ.ค. 51 ถึงสิ้นเดือนธ.ค. 52 และการที่สหราชอนาจักรประกาศให้ความร่วมมือกับคณะกรรมาธิการสหภาพยุโรปในการใช้เครื่องมือทางการคลังรวมมูลค่า 2 แสนล้านยูโร (ประมาณ 2.56 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ) ในการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศในยุโรป ซึ่งทำให้นักลงทุนมีความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจสหราชอนาจักรเพิ่มมากขึ้น

ในขณะที่ค่าเงินวอนเกาหลีแข็งค่าขึ้นจากตัวเลขดุลบัญชีเดินสะพัดเดือน ต.ค .ที่เกินดุลเป็นครั้งแรกในรอบ 4 เดือน ประกอบกับทางการเกาหลีใต้กล่าวว่าจะอัดฉีดสภาพคล่องจำนวน 4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐที่ได้จากวงเงินกู้สกุลดอลลาร์สหรัฐ (swap line) จาก Fed เข้าไปในระบบธนาคารพาณิชย์โดยวิธีการประมูล

ค่าเงินบาทอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับค่าเงินของคู่ค้าหลักในทุกสกุล

สาเหตุที่ค่าเงินบาทอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับคู่ค้าหลักในภูมิภาคมาจากการที่นักลงทุนกังวลต่อสถานการณ์ความไม่สงบภายในประเทศในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ประกอบกับภาวการณ์แข็งค่าขึ้นของสกุลเงินคู่ค้าหลักของไทย โดยค่าเงินบาทเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ โดยมีแรงซื้อบาทจากผู้ส่งออก ขณะที่มีแรงขายบาทจากผู้ผลิตและผู้นำเข้า ประกอบกับการที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เข้าดูแลเสถียรภาพค่าเงินต่อเนื่อง ทำให้เงินบาทเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเล็กน้อย แต่อ่อนค่าลงมากเมื่อเทียบกับสกุลอื่น ๆ ที่แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ

ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) เมื่อเทียบกับคู่ค้าหลัก 12 สกุลเงิน (ดอลลาร์สหรัฐ ยูโร เยน หยวน ดอลลาร์ฮ่องกง ดอลลาร์ไต้หวัน วอนเกาหลี
ดอลลาร์สิงคโปร์ รูเปียห์อินโดนีเซีย ริงกิตมาเลเซีย ปอนด์เสเตอลิงค์และเปโซฟิลิปปินส์) ณ วันที่ 28 พ.ย. 51 แข็งค่าขึ้นจากค่าเฉลี่ยปี 49
ร้อยละ 3.95 แต่อ่อนค่าลงจากสัปดาห์ที่แล้วที่อยู่ที่ร้อยละ 5.32

เงินบาทแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับวอนเกาหลี (ร้อยละ 63.4) รูเปียห์อินโดนิเซีย (ร้อยละ 40.2) ปอนด์สเตอลิงค์ (ร้อยละ 28.5) ดอลลาร์ไต้หวัน (ร้อยละ 9.6) ดอลลาร์สหรัฐ (ร้อยละ 7.2) ดอลลาร์ฮ่องกง (ร้อยละ 7.0) ริงกิตมาเลเซีย (ร้อยละ 5.6) ยูโร (ร้อยละ 4.5) เปโซฟิลิปปินส์ (ร้อยละ 1.9) และดอลลาร์สิงคโปร์ (ร้อยละ 1.7) แต่อ่อนค่าเมื่อเทียบกับหยวน (ร้อยละ 8.2) และเงินเยน (ร้อยละ 12.0)

Foreign Exchange and Reserves

ในสัปดาห์ก่อน ณ วันที่ 21 พ.ย.51 ทุนสำรองระหว่างประเทศ (Net Reserve) เพิ่มขึ้นสุทธิ 0.48 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ จากสัปดาห์ก่อนหน้ามาอยู่ที่ระดับ 111.82 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยเป็นการเพิ่มขึ้นของGross Reserve จำนวน 1.31 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ แต่เป็นการลดลงของForward Obligation จำนวน 0.83 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่ค่าเงินบาทอ่อนค่าลง สะท้อนว่า ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) ไม่ได้เข้าดูแลเสถียรภาพค่าเงินบาทในสัปดาห์นี้มากนัก จึงทำให้ค่าเงินบาทในสัปดาห์ที่ผ่านมาอ่อนค่าลงจากสัปดาห์ก่อนหน้า (วันที่ 14 พ.ย.51) ร้อยละ 0.71 จาก 34.93 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐเป็น 35.18 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ณ วันที่ 21 พ.ย.51

Major Trading Partners’ Economies: This Week

ตัวเลข GDP ของฟิลิปปินส์ไตรมาสที่ 3 ปี 51 ขยายตัวที่ร้อยละ 4.6 ต่อปี เพิ่มขี้นจากไตรมาส 2 ที่ขยายตัวรอ้ ยละ 4.4 ต่อปี (Q2 มีการปรับตัวเลขใหมจ่ กเดิมขยายตัวรอ้ ยละ 4. 6ต่อป)? และเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้าจะมีการขยายตัวที่ร้อยละ 0.9 โดยการบริโภคภาคเอกชนที่แข็งแกร่งและการใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นของภาครัฐ มีส่วนช่วยบรรเทาผลกระทบที่เกิดขึ้นจากภาวะเศรษฐกิจโลกที่กดดันภาคการส่งออก ทั้งนี้รัฐบาลได้คาดการณ์ตัวเลข GDP ในปี 51 ว่าจะขยายตัวชะลอลงในกรอบรอ้ ยละ 4.8-4.1 ตอ่ ปี

สหรัฐประกาศปรับตัวเลข GDP ไตรมาสที่ 3 ปี 51 หดตัวจากไตรมาสก่อนหน้าร้อยละ -0.5 (qoq) ซึ่งเป็นการหดตัวมากที่สุดในรอบ 7 ปี และหดตัวลงกว่าการประกาศคราวที่แล้วที่หดตัวร้อยละ -0.3 (qoq) ในขณะที่เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี 50 GDP ขยายตัวร้อยละ 0.7 ต่อปี น้อยกว่าการประกาศครั้งที่แล้วที่ขยายตัวร้อยละ 0.8 ต่อปี ชี้ว่าเศรษฐกิจสหรัฐอาจะเข้าสู่ภาวะถดถอย (technical recession) ได้ในไตรมาสสุดท้ายของปีนี้

ดุลการค้าฟิลิปปนิส์เดือน ก.ย.51 ขาดดุลที่ - 425 ล้านดอลลาร์สหรัฐขาดดุลลดลงจากเดือน ส.ค .ที่ขาดดุล - 649 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็นผลจากการนำเข้าที่ชะลอตัวลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า โดยมูลค่านำเข้าขยายตัวที่รอ้ ยละ 2.5 ตอ่ ปี สาเหตุหลักจากการนำเข้าชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งส่วนใหญจ่ นำไปประกอบเพื่อเป็นสินค้าส่งออกลดลงกว่าร้อยละ 26.1 ต่อปีขณะที่มูลค่าการส่งออกขยายตัวรอ้ ยละ 1.1 ต่อป

อัตราดอกเบี้ยนโยบายมาเลเซีย (Overnight Policy Rate) เดือนพ.ย. 51 ปรับลดลงร้อยละ 0.25 มาอยูที่ร้อยละ 3.25 นับเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งแรกในรอบ 2 ปีครึ่ง พร อ้ มกันนี้ยังไดป้ รับลดการสำรองเงินสด (Reserve Requirement) ของธนาคารพาณิชยล์ งเหลือรอ้ ยละ 3.5 จากเดิมที่รอ้ ยละ 4.0 โดยจะมีผลตั้งแตวั่นที่ 1 ธ.ค .นี้ เพื่อเป็นการเพิ่มสภาพคล่องให้ระบบการเงิน

มูลค่าการส่งออกสินค้าและนำเข้าสินค้าของฮ่องกงเดือนต.ค 51. ขยายตัวร้อยละ 9.4 และร้อยละ 11.3 ต่อปี ตามลำดับ เรง่ ขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่รอ้ ยละ 3.6 และรอ้ ยละ 3.9 ตอ่ ปี ตามลำดับ โดยเป็นผลจากการขยายตัวของ re-export ที่ขยายตัวเร่งขึ้นที่รอ้ ยละ 10.9 ตอ่ ปีโดยในแง่มิติคู่ค้า การส่งออกไปยัง จีน ญี่ปุ่น และเยอรมนีขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 14.0 ร้อยละ 17.1 และรอ้ ยละ 18.1 ตอ่ ปี ตามลำดับ เปน็ ผลจากยอดสั่งซื้อสินค้าล่วงหน้าที่เกิดขึ้นก่อนวิกฤตเศรษฐกิจโลก ทำให้ดุลการค้าฮ่องกงเดือน ต.ค. 51 ขาดดุลที่ -14.3 พันล้านดอลลาร์ฮ่องกงหรือ -1.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยขาดดุลลดลงจาก -16.0 พันล้านดอลลาร์ฮ่องกงในเดือนก่อนหน้า

ดุลบัญชีเดินสะพัดของกลุ่มประเทศยูโรโซนเดือนก.ย. 51 ขาดดุลที่-10.6 พันล้านยูโร เนื่องจากดุลการค้าขาดดุลที่ -5.6 พันล้านยูโร ตามการชะลอตัวลงของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าที่ส่งผลให้การส่งออกสินค้าชะลอลงขณะที่ดุลบริการเกินดุลที่ 2.1 พันล้านยูโร

สิงคโปร์ประกาศตัวเลขเงินเฟ้อที่ตัดปัจจัยฤดูกาล (SA) ณ ต.ค. 51ที่ร้อยละ 6.4 ต่อปี ลดลงจากร้อยละ 6.7 ในเดือนก่อนหน้า เป็นผลจากราคาน้ำมันที่ลดลง และปัจจัยฐานสูงในปี 50 อันเนื่องจากราคาน้ำมันแพงบวกกับการขึ้นภาษีขาย (Sales Tax) ในช่วงกลางปีก่อน

Major Trading Partners’ Economies: Next Week

อัตราการว่างงานของกลุ่มประเทศยูโรโซนดือน ต.ค .51 คาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 7.6 ของกำลังแรงงานรวม เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากร้อยละ 7.5 ของกำลังแรงงานรวม โดยคาดว่าภาวะเศรษฐกิจถดถอยของบางประเทศสมาชิกยูโรโซน เช่น ฝรั่งเศส อิตาลี และไอร์แลนด์ จะส่งผลให้การจ้างงานโดยเฉพาะในภาคก่อสร้างและภาคค้าปลีกลดลง ทั้งนี้ ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมในกลุ่มประเทศยูโรโซน เช่น ArcelorMittal ผู้ผลิตเหล็กรายใหญ่ของโลก มีแผนจะปลดคนงาน 9,000 คน และ PSA Peugeot Citroen ผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ของโลก มีแผนจะปลดคนงาน 3,550 คน

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office

Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ