ภาวะเศรษฐกิจสหภาพยุโรป พฤศจิกายน 2551

ข่าวเศรษฐกิจ Monday December 8, 2008 16:33 —กระทรวงการคลัง

ภาพรวมเศรษฐกิจ ( พฤศจิกายน 2551 )

ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรม : เดือนกันยายนทรุดลงอีกครั้งเหลือ 110.3 จุด

ดัชนีชี้วัดผลผลลิตภาคอุตสาหกรรม (Industrial Production Index: IPI) ที่ปรับบตามฤดูกาลแล้วประจำเดือนกันยายนของกลุ่ม EU15 กลับทรุดตัวลงอีกครั้งเหลือ 110.3 จุดหลังจากที่กกระเตื้องขึ้นสู่ระดับ 112.8 จุดเมื่อเดือนที่แล้ว ถือเป็นการลดลงแรงถึงร้อยละ 1.6 จากเดือนที่แล้ว และลดลงร้อยละ 2.4 จากเดือนเดียวกันของปีที่แล้ว ถือเป็นดัชนีที่ต่ำที่สุดในรอบ 6 เดือนหลังจากที่ดัชนีขึ้นไปทำสถิติสูงสุดที่ระดับ 113.9 จุดเมื่อเดือนเมษายน โดยในเดือนนี้ดัชนีการผลิตสินค้าลดลงในทุกประเภทโดยสินนค้าบริโภคชนิดคงทน สินค้าขั้นกลางและสินค้าบริโภคชนิดไม่คงทน ยังคงชะลอตัวลงแรงต่อเนื่องอีกร้อยละ 6.7 3.5 และ 2.1 ขณะที่การผลิตสินค้าทุน และสินค้าหมวดพลังงงาน ก็ลดลงร้อยละ 0.9 และ 0.6

ขณะที่ดัชนีชี้วัดทางด้านอุปสงค์ของกลุ่ม EU15 ล่าสุดของเดือนพฤศจิกายนยังคงลดลงต่อเนื่องและต่ำกว่าระดับ 90 จุดเป็นเดือนที่หก และเป็นเดือนแรกที่ดัชนีลดลงต่ำกว่าระดับ 80 จุด ซึ่งสะท้อนถึงความเชื่อมั่นของพื้นที่ยูโรที่ยังคงย่ำแย่ต่อไปเนื่องจากไม่มั่นใจภาวะเศรษฐกิจในอนาคตจากผลกระทบของวิกฤตการเงินที่มีต่อภาคเศรษฐกิจของยุโรปโดยดัชนีผลสำรวจความเชื่อมั่นทางธุรกิจ (Economic Sentiment Index: ESI) ประจำเดือนพฤศจิกายนลดลงสู่ระดับ 74.9 จุด ลดลงถึง 5.1 จุดจากเดือนตุลาคม โดยดัชนีเคยขึ้นไปสู่ระดับสูงสุดที่ระดับ 111.6 จุดเมื่อเดือนพฤษภาคมปีที่แล้ว

อัตราเงินเฟ้อ : เดือนตุลาคมชะลอลงเป็นเดือนที่สามเหลือร้อยละ 3.2

ดัชนีราคาผู้บริโภค (Harmonised Index of Consumer Prices: HICP) ของพื้นที่ยุโรป (Eurro Area: 15 ประเทศ) ประจำเดือนตุลาคมชะลอตัวลงต่อเนื่องจากเป็นเดือนที่สามเหลือร้อยละ 3.2 หลังจากที่ชะลอลงเหลือร้อยละ 3.8 และ 3.6 ในเดือนสิงหาคมและกันยายน หลังจากที่อัตราเงินเฟ้อขึ้นไปทำสถิติสูงสุดร้อยละ 4.0 เมื่อเดือนมิถุนายนและกรกฎาคม อย่างไรก็ดี แม้จะชะลอลงแต่ก็ยังถือเป็นอัตราที่สูงกว่าระดับอัตราเงินเฟ้อเป้าหมายร้อยละ 2.0 เป็นเดือนที่สิบสี่ติดต่อกัน โดยปัจจัยที่ทำให้อัตราเงินเฟ้อในเดือนนี้นีเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีที่แล้วมาจากหมวดที่อยู่อาศัย (5.9%) หมวดอาหาร (4.7%) และหมวดคมนาคม (3.7%) ซึ่งต่างก็มีอัตราการเพิ่มที่ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าทั้งสิ้น ขณะที่หมวดที่มีระดับราคาเพิ่มขึ้นต่ำเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ได้แก่ หมวดสื่อสาร (-2.2%) และหมวดสันธนาการและวัฒนธรรรม (0.2%) โดยในเดือนนี้ประเทศที่มีอัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ Malta Slovenia Cyprus Belgium และ Finland ที่มีอัตราเงินเฟ้อร้อยละ 5.8, 4.8, 4.8, 4.8 และ 4.4 ตามลำดดับ ขณะที่ประเทศ Netherlands German Ireland และ Portugal มีอัตราเงินเฟ้อต่ำสุดร้อยละ 2.5 เท่ากัน

สำหรับดัชนีราคาผู้บริโภคของประเทศยูโร 27 ประเทศ (EU 27) ก็ชะลอลงเหลือร้อยละ 3.7 ลดลงจากร้อยละ 4.2 เมื่อเดือนที่แล้ว โดยประเทศที่มีอัตราเงินเฟ้อสูงสุดในกลุ่มยูโร ได้แก่ Latvia Bulgaria และ Lithuania ที่มีอัตราเงินเฟ้อสูงถึงร้อยละ 13.7 11.2 และ 10.7 ตามลำดับ

อัตราการว่างงาน : เดือนตุลาคมเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 7.7

ในเดือนตุลาคมม Euro area 15 ประเทศมียอดผู้ว่างงานที่ปรับตามฤดูกาลแล้วรวมกันทั้งสิ้น 12.003 ล้านคน (เพิ่มขึ้นถึง 225,000 คนจากเดือนที่แล้ว) ส่งผลให้อัตราการว่างงานเพิ่มขึ้นสู่ระดับร้อยละ 7.7 ของจำนวนแรงงานทั้งหมด เพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากเดือนที่แล้วที่อยู่ที่ระดับร้อยละ 7.6 โดยก่อนหน้านี้อัตราการว่างงานอยู่ในระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ที่ระดับร้อยละ 7.2 ในช่วงไตรมาสแรกของปี การที่ทั้งจำนวนผู้ว่างงานและอัตราการผู้ว่างงานปรับสูงขึ้นโดยลำดับสะท้อนถึงผลกระทบของวิกฤตการเงินโลกที่กำลังส่งผลต่อภาคเศรษฐกิจและการจ้างงานของยุโรป ทั้งนี้เมื่อเทียบกับเดือนตุลาคมของปีที่แล้วปรากฎว่าจำนวนผู้ว่างงานเพิ่มขึ้นถึง 810,000 คน

ขณะที่ยอดผู้ว่างงานของ EU 27 ประเทศ ณ เดือนตุลาคม ก็เพิ่มขึ้นเช่นกันโดยมีจำนวนทั้งสิ้น 17.183 ล้านคน คิดเป็นอัตราการว่างงานร้อยละ 7.1 เพิ่มขึ้นนร้อยละ 0.1 จากเดือนที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 จากเดือนเดียวกันของปีที่แล้ว

อัตราดอกเบี้ยและอัตราแลกเปลี่ยน

อัตราดอกเบี้ย : ECB ลดอัตราดอกเบี้ยลงร้อยละ 0.50 เหลือร้อยละ 3.25

เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน คณะกรรมการธนาคารกลางสหภาพยุโรป มีมติลดอัตราดอกเบี้ย Refinancing Operations (MRO) ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของ ECB ลงอีกร้อยละ 0.50 เหลือร้อยละ 3.25 หลังจากกที่มีการลดลลงไปแล้วร้อยละ 0.50 ในแดือนก่อน ซึ่งงเป็นความร่วมมือกันระหว่างธนาคารกลางของประเทศพัฒนาแล้วเพื่อที่จะบรรเทาปัญหาวิกฤตระบบการเงินโลก ทั้งนี้ ECB ได้ให้เหตุผลประกอบการตัดสินใจลดอัตราดอกเบี้ยในครั้งนี้ว่าแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อจะลดลงต่อเนื่องและเข้าสู่อัตราเงินเฟ้อเป้าหมายภายในปี 2009 ขณะที่วิกฤตภาคการเงินมีแนวโน้มส่งผลกระทบต่ออุปสงค์โดยรวมของเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจของ Euro area ยาวนานกว่าที่คิด และเมื่อพิจารณาจากการลดลงอย่างรวดเร็วของราคาสินค้าและโภคภัณฑ์แล้วเห็นว่าแรงกดดันต่อภาวะเงินเฟ้อ ต้นทุน และค่าแรงอยู่ในระดับปานกลาง ขณะที่ระดับความเสี่ยงจากความไม่แน่นอนของตลาดการเงินโลกยังคงมีอยู่สูงกว่าปกติ ดังนั้น เพื่อเป็นการรักษาเสถียรภาพของระดับราคาในระยะปานนกลาง ขณะเดียวกันก็รักษาเสถียรภาพของการขยายตัวของเศรษฐกิจและการจ้างงานรวมถึงเสถียรภาพของระบบการเงิน ECB จึงตัดสินใจลดอัตราดอกเบี้ยลงดังกล่าว โดยการประชุมครั้งต่อไปจะมีขึ้นในวันที่ 4 ธันวาคม

ทั้งนี้ ณ สิ้นเดือนตุลาคม สภาพคล่องในระบบเศรษฐกิจของ Euro Area ยังคงมีอัตราการเพิ่มที่ชะลอลงต่อเนื่องต่อไป โดยยอดคงค้างของปริมาณเงินตามความหมายกว้าง หรือ M3 อยู่ที่ระดับบ 9.374 ล้านล้านยูโร เพิ่มขึ้น 122 พันนล้านยูโรจากเดือนที่แล้ว และคิดเป็นอัตราการเพิ่มร้อยละ 8.7 จากปีที่แล้ว (ขยายตัวเท่ากับแดือนกันยายนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.7) ขณะที่ยอดคงค้างสินเชื่อที่สถถาบันการเงินน (MFI) ให้กู้กกับภาคเอกชน (loan to private sector) มียอดคงค้าง ณ สิ้นเดือนตุลาคมอยู่ที่ระดับ 10.878 ล้านล้านยูโร เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าเพียง 0.019 ล้านล้านยูโร โดยคิดเป็นอัตราการเพิ่มจากปีที่แล้วร้อยละ 7.8 (ลดลงจากเดือนกันยายนที่ขยายตัวร้อยละ 8.5) ซึ่งสะท้อนการชะลอตัวของการปล่อยสินเชื่อที่ชัดเจนขึ้น

สำหรับค่าเฉลี่ยของอัตราดอกเบี้ยในตลาดเงิน (Money market interest rates) ในเดือนพฤศจิกายนลดลงจากเดือนที่แล้วในทุกอายุโดยอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นอายุไม่เกิน 1 ปี ลดลงระหว่าง 67 - 99 basis points ซึ่งเป็นผลจากการประกาศลดอัตราดอกเบี้ยของ ECB ในการประชุม 2 ครั้งที่ผ่านมารวมร้อยละ 1.0 ขณะที่อัตราผลตอบแทนระยะยาวอายุ 5 และ 10 ปีก็ลดลง 21 และ 42 basis points ตามลำดับบ โดยโครงสร้างอัตราผลตอบแทนในเดือนนี้อยู่ในระดับต่ำกว่าเดือนเดียวกันของปีที่แล้วอยู่ระหว่าง 0-87 basis points

อัตราแลกเปลี่ยน : ยูโรอ่อนค่าลงต่อเนื่องกับทุกสกุล ยกเว้นปอนด์

ค่าเงินยูโรเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ สรอ. ในเดือนพฤศจิกายนอ่อนค่าลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่สี่ โดยปัจจัยหลักยังคงมาจากแนวโน้มการชะลอตัวของเศรษฐกิจของสหภาพยุโรปและอังกฤษที่ยังเปราะบางและเสี่ยงต่อการเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย และการคาดการของตลาดว่าอัตราดอกเบี้ยของยุโรปจะมีการปรับลดลงอีกและอาจจะลดลงค่อนข้างมากเพื่อแก้ปัญหาภาวะเศรษฐกิจถดถอยทำให้นักลงทุนยังคงให้ความสำคัญกับการลงทุนในตลาดพันธบัตรสหรัฐฯ แทนในฐานะที่เป็นแหล่งหลบภัยของการลงทุน (safe haven) จึงส่งผลใให้เงินดอลลาร์ สรอ. ยังคงแข็งค่าขึ้นต่อเนื่องจากเดือนก่อนแม้จะมีอัตราที่น้อยลงก็ตาม โดยเงินดอลลาร์ สรอ. มีระดับปิดตลาดวันแรกของเดือนที่ระดับ 1.2822 $/ยูโร ซึ่งเป็นระดับใกล้เคียงกับระดับปิดของเดือนที่แล้ว และเคลื่อนไหวใกล้เคียงระดับดังกล่าวตลอดสัปดาห์แรก จากนั้นเงินยูโรก็เริ่มอ่อนค่าลงอีกครั้งโดยลงมาปิดตลาดที่ต่ำที่สุดของเดือนที่ระดับ 1.2525 $/ยูโร ซึ่งใกล้เคียงกับระดับต่ำสุดของเดือนที่แล้ว และก็เคลื่ออนไหวเหนืออระดับ 1.25 $/ยูโร เล็กน้อยจนในช่วงสุดดท้ายของเดือนเงินยูโรเริ่มกลับแข็งค่าขึ้นเมื่อตลาดเริ่มกังวลถึงมาตรการแก้ไขปัญหาวิกฤตสินเชื่อของรัฐบาลสหรัฐฯ ไม่ว่าจะเป็นการดำเนินการเพื่อจะซื้อสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยเป็นวงเงินถึง 600 พันล้านดอลลลาร์ สรอ.รวมถึงการจัดสรรวงเงิน 200 พันล้านดอลลลาร์ สรอ. เพื่อสนับสนุนสินเชื่อรายย่อยและสินเชื่ออเพื่อธุรกิจขนาดเล็ก อาจจะส่งผลให้การขาดดุลงบประมาณของสหรัฐฯ สูงเกินไปและบั่นทอนความเป็น safe haven ของพันธบัตรรัฐบาลสสหรัฐฯ ทำให้เงินยยูโรกระเตื้องขึ้นในช่วงท้ายของเดือนโดยขึ้นมาแตะระดับปิดสูงสุดของเดือนที่ระดับ 1.2935 $/ยูโร เล็กน้อยในช่วงสุดท้ายของเดือนเมื่อธนาคารกลางสหรัฐฯ ประกาศลดอัตราดอกเบี้ยลงร้อยลละ 0.5 เหลือร้อยละ 1.0 เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2008 โดยเงินยูและปิดตลาดวันสุดท้ายของเดือนที่ระดับ 1.2727 $/ยูโร ส่งผลให้โดยรวมแล้วค่าเฉลี่ยของเงินยูโรเมื่อเทียบกับดอลลาร์ สรอ.ในเดือนนี้อ่อนค่าลงจากค่าเฉลี่ยของเดือนก่อนหน้าอีกร้อยละ 4.4 หลังจากที่อ่อนค่าไปแล้วร้อยละ 7.3 ในเดือนที่แล้ว และเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยของเดือนเดียวกันปีที่แล้วเงินยูโรอ่อนค่าลงอยู่ร้อยละ 13.3

เงินยูโรเมื่อเทียยบกับเงินปออนด์ในเดือนนี้กลับมาแข็งค่าขึ้นอีกครั้งและแข็งค่าคค่อนข้างมากหลังจากที่อ่อนค่าลงในเดือนที่แล้ว อันเป็นผลมาจากปปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจของอังกฤษที่ค่อนข้างเปราะบางเมื่อธนาคารกลางอังกฤษออกมาเตือนว่าเศรษฐกิจในปีหน้าจะขยายตัวติดลบต่อเนื่องจากปลายปีนี้ รวมถึงการประกาศตัวเลขเศรษฐกิจที่ทยอยออกมาค่อนข้างเลวร้าย ไม่ว่าจะยอดขายปลีกของห้างสรรพสินค้า และราคาที่อยู่อาศัยที่ยังคงลดลงต่อเนื่อง เป็นต้น โดยเงินยูโรมีระดับปิดตลาดวันแรกของเดือนที่ระดับ 0.7969 ปอนด์ /ยูโร จากนั้นเงินยูโรก็ปรับตัวสูงขึ้นค่อนข้างเร็วและต่อเนื่องโดยขึ้นไปปิดสูงสุดของเดือนที่ระดับ 0.8598 ปอนด์ /ยูโร ก่อนที่เงินยูโรจะอ่อนตัวลงเล็กน้อยในช่วงท้ายของเดือนโดยสามารถยืนเหนือระดับ 0.80 ปอนด์/ยูโร ได้ และปิดตลาดวันสุดท้ายของเดือนที่ระดับ 0.8299 ปอนด์ /ยูโร การแข็งค่าขึ้นเกือบตลอดทั้งเดือนส่งผลให้เงินยูโรแข็งค่าขึ้นจากเดือนที่แล้วถึงร้อยละ 5.6 และเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยของเดือนเดียวกันปีที่แล้วเงินยูโรยังแข็งค่าอยู่ถึงร้อยละ 17.2

เมื่อเทียบกับเงินเยนแล้ว ค่าเงินยูโรในเดือนนี้ยังคงออ่อนค่าแรงต่ออเนื่องจากเดือนที่แล้ว โดยเงินยูโรมีระดดับปิดวันแรกกของเดือนที่รระดับ 126.38 เยน/ยูโร จากนั้นนก็เคลื่อนไหวใกล้เคียงระดับดังกล่าวในช่วงสัปดาห์แรรกของเดือน หลังจากนั้นแงินยูโรก็อ่อนนค่าลงอีกครั้งงจนลงมามีระดับปิดที่ต่ำทที่สุดของเดือนที่ระดับ 119.3 เยน/ยูโร ก่อนที่จะกกระเตื้องขึ้นบบ้างในช่วงท้ายของเดือนโดยกลับขึ้นมาเคลื่อนไหวเหนือระดับ 123 เยน /ยูโร ก่อนที่จจะปิดตลาดวันนสุดท้ายของงเดือนที่ระดับบ 121.46 เยน/ยูโร โดยค่าเฉลี่ยของเงินยูโรในเดือนนี้อ่อนค่าลงจากเดือนที่แล้วอีกร้อยละ 7.7 และเมื่อเปรียบเทียบกับปีที่แล้วเงินยูโรอ่อนค่าเมื่อเทียบกับเงินเยนถึงร้อยละ 24.3

เดือนนี้นับเป็นนเดือนที่สี่ที่เงินยูโรอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินบาทหลังจากที่อ่อนค่าลงค่อนข้างแรงถึงร้อยละ 6.9 ในเดือนที่แล้ว โดยเงินยูโรมีระดับปิดตลาดวันแรกของเดือนที่ระดับ 44.813 ฿/ยูโร จากนั้นก็เคลลื่อนไหวลงมาอยู่ต่ำกว่าระดับ 44 ฿/ยูโร ในช่วงสั้น ๆ ก่อนจะกลับขึ้นมาแข็งค่าเหนือระดับ 44 ฿/ยูโร เล็กน้อย อย่างไรก็ดี ใในช่วงครึ่งหลังของเดือนแงินยูโรเริ่มกลับมาแข็งค่าขึ้นอีกครั้งโดดยมีระดับปิดสูงสสุดของเดือนที่ระดับ 45.679 ฿/ยูโร ก่อนทที่จะปิดตลาดวันสุดท้ายขของเดือนที่ระดับ 44.20 ฿/ยูโร ส่งผลให้ค่าเฉฉลี่ยของเงินยยูโรเมื่อเทียบบกับเงินบาทในเดือนนี้อ่อนค่าลงอีกร้อยละ 2.6 นับเป็นเดือนที่สี่ตติดต่อกันที่ยูโรอ่อนค่ากับเงินบาท และในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมาเงินยูโรอ่อนค่าเมื่อเทียบกับเงินบาทร้อยละ 3.1

ดุลบัญชีเดินสะพัดและดุลการชำระเงิน

เดือนกันยายนน: Euro Area ขาดดุลบัญชีเดินสะพัด 10.6 พันล้านยูโร แต่เกินดุลเงินทุนเคลื่อนย้าย 10.5 พันล้านปอนด์

ณ สิ้นเดือนกันยายน Euro area มีฐานะดุลบัญชีเดินสะพัดที่ปรับตามฤดูกาลแล้วขาดดุลจำนวน 10.6 พันล้านยูโร (หรือเท่ากับขาดดุล 6.0 พันล้านยูโร กรณีเป็นข้อมูลที่ยังไม่ได้ปรับตามฤดูกาล) โดย Euro area มีการขาดดุลการค้า(goods trade) 5.6 พันล้านยูโรแต่เกินดุลบริการ (services) 2.1 พันล้านยูโร ขณะที่ดุลรายได้ (incoome) และดุลเงินโอน (current transfer) ขาดดุล 0.4 และ 6.6 พันล้านยูโร ตามลำดับ นับเป็นเดือนที่ห้าติดต่อกันที่ Euro area มีฐานะดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุล

หากพิจารณาฐานะดุลบัญชีเดินสะพัดสะสมในรอบ 12 เดือนสิ้นสุดเดือนกันยายน พบว่า Euro area มีฐานะขาดดุลบัญชีเดินสะพัดสะสมเป็นจำนวนถึง 35.8 พันล้านยูโร ต่างจากเดือนกันยายนของปีที่แล้วที่มีฐานะดุลบัญชีเดินสะพัดสะสมเกินดุลเป็นจำนวนถึง 48.7 พันล้านยูโร การที่ฐานะดุลบัญชีเดินสะพัดสะสมกลับมาขาดดุลในปีนี้เป็นผลมาจากการเกินดุลการค้าที่ลดลงค่อนข้างมาก ขณะที่ดุลรายได้และดุลเงินโอนกลับก็มีการขาดดุลเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว แม้ดุลบริการจะมีการเกินดุลเพิ่มขึ้นเล็กน้อยก็ตาม

ทางด้านดุลบัญชีเงินทุนเคลื่อนย้าย (financial account) ที่ยังไม่ปรับตามฤดูกกาล (non-seasonal adjusted) ประจำเดือนกันยายน พบว่า Euro area มีฐานะบัญชีเงินทุนเข้าสุทธิ 10.5 พันล้านยูโร (เทียบกับเดือนที่แล้วที่มีฐานะเงินทุนไหลออก 29.6 พันล้านยูโร) แยกเป็น 1) เงินลงทุนทางตรง (direct investment) มียอดไหลออกสุทธิ 18.5 พันล้านยูโร 2) เงินลงทุนในหลักทรัพย์ (portfolio investment) มียอดไหลเข้าสุทธิ 57.1 พันล้านยูโร 3) อนุพันธ์ทางการเงิน มีฐานะไหลเข้าสุทธิ 5.4 พันล้านยูโร และ 4) เงินลงทุนประเภทอื่น (other investment) มีฐานะไหลออกสุทธิ 35.0 พันล้านยูโร

ทั้งนี้ ในรอบ 12 เดือนสิ้นสุดเดือนกันยายน Euro area มีฐานะดุลบัญชีเงินทุนเคลื่อนย้ายสะสม (accumulated financial account) ไหลออกสุทธิ 15.2 พันล้านยูโร (เทียบกับระยะเดียวกันของปีที่แล้วที่มีฐานะเงินทุนสะสมไหลเข้าสุทธิสูงถึง 72.4 พันล้านยูโร) สาเหตุที่ดุลบัญชีเงินทุนเคลื่อนย้ายสะสมกลับมาขาดดุลในปีนี้ เป็นผลมาจากมีการเกินดุลเงินลงทุนในหลักทรัพย์ (portfolio investment) สะสมลดลงค่อนข้างมาก แม้ว่าดุลการกู้ยืมจะเกินดุลเพิ่มขึ้นมากเช่นกันก็ตาม

ประเด็นข่าวสำคัญ ๆ ในรอบเดือนที่ผ่านมา
  • อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจ (GDP) ไตรมาสที่ 3 ของปีนี้หดตัวลงจากไตรมาสก่อนหน้าร้อยละ 0.5 เทียบกับไตรมาสที่ 2 ที่หดตัวลงร้อยละ 0.4 ส่งผลให้เศรษฐกิจของเยอรมันเข้าสู่ภาวะถดถอย หลังจากที่เศรษฐกิจหดตัว 2 ไตรมาสติดต่อกัน (13 พฤศจิกายน 2008)
  • ประมาณการเบื้องต้น (Flash estimates) ของอัตราขยายตัวเศรษฐกิจของพื้นที่ยูโรประจำไตรมาสที่ 3 ของปี 2008 พบว่าเศรษฐกิจของ Euro area ขยายตัวติดลบจากไตรมาสก่อนหน้าร้อยละ 0.2 นับเป็นไตรมาสที่สองติดต่อกันที่เศรษฐกิจขยายตัวติดลบจากไตรมาสก่อนหน้า หลังจากที่เศรษฐกิจในไตรมาสที่ 2 ก็ขยายตัวติดลบร้อยละ 0.2 เช่นกัน ซึ่งในทางเทคนิคแล้วถือว่าเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอย (recession) อย่างไรก็ดี หากเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว (year-on-year) GDP ของ Euro area ยังขยายตัวร้อยละ 0.7 ชะลอลงจากร้อยละ 1.4 ในไตรมาสที่ 2 โดยประเทศที่มีเศรษฐกิจขนาดใหญเช่นเยอรมัน สเปน และอิตาลี ต่างก็มีเศรษฐกิจขยายตัวติดลบ ขณะที่ฝรั่งเศสขยายตัวเพียงร้อยละ 0.1 (14 พฤศจิกายน 2008)
  • มีรายงานว่า Basel Committee on Banking Supervision กำลังทบทวนเกณฑ์กำกับสถาบันการเงินภายใต้ Basel 2 หลังจากที่ถูกรัฐบาลในหลายประเทศตำหนิว่าเป็นส่วนหนึ่งที่ก่อให้เกิดวิกฤตการเงินในปัจจุบันเนื่องจากเกณฑ์ดังกล่าวมีลักษณะเป็น pro-cyclical regulation โดยเชื่อว่า BCBS อาจจะเสนอข้อกำหนดให้สถาบันการเงินต้องกันสำรองเผื่อหนี้เสีย (bad debt) ในลักษณะที่ครอบคลุมตลอดช่วงอายุของวัฎจักรเศรษฐกิจ (economic cycle) ซึ่งจะช่วยกระตุ้นให้สถาบันการเงินต้องดำรงเงินกองทุน ณ ขณะใดขณะหนึ่งสูงขึ้น ขณะเดียวกันก็จะช่วยชะลอการเร่งปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงินลง นอกจากนี้ ยังอาจมีการกำหนดเพดานสูงสุดที่สถาบันการเงินอาจกู้ยืมได้โดยให้ผูกกับขนาดของเงินกองทุน คาดว่าอาจจะมีการเปิดเผยผลการศึกษาในปีหน้า แต่จะไม่นำมาใช้จนกว่าวิกฤตการเงินจะคลี่คลายแล้ว (21 พฤศจิกายน 2008)
  • ประมาณการเบื้องต้นของอัตราเงินเฟ้อ (flash estimated inflation) ประจำเดือนพฤศจิกายนของ Euro area คาดว่าจะลดลงอย่างรวดเร็วเหลือเพียงร้อยละ 2.1 เมื่อเทียบกับเดือนตุลาคมที่อยู่ที่ระดับร้อยละ 3.2 ก่อนหน้านี้เงินเฟ้อทำสถิติสูงสุดร้อยละ 4.0 เมื่อเดือนมิถุนายนและกรกฎาคม ซึ่งสูงที่สุดเริ่มจัดตั้ง Euro area เมื่อปี 1999 หากอัตราเงินเฟ้อเป็นไปตามที่ประมาณการก็จะส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อกลับเข้าใกล้เคียงระดับอัตราเงินเฟ้อเป้าหมาย (inflation target) ที่ร้อยละ 2.0 หลังจากที่อัตราเงินเฟ้อสูงกว่าอัตราเป้าหมายนับตั้งแต่เดือนกันยายนปีที่แล้ว (28 พฤศจิกายน 2008)

ที่มา : Macroeconomic Analysis Group : Fiscal Policy Office

Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ