ภาพรวมเศรษฐกิจ ( พฤศจิกายน 2551 )
ดัชนีชี้วัดการผลิตภาคอุตสาหกรรม (Industrial Production Index: IPI) ในเดือนกันยายนยังปรับตัวลดลงอีก 0.2 จุดจากเดือนที่แล้วมาอยู่ที่ระดับ 98.6 และหากพิจารณาจากค่าเฉลี่ยของดัชนีช่วง 3 เดือน (กรกฎาคม-กันยายน) พบว่าลดลงจากค่าเฉลี่ยของช่วง 3 เดือนก่อนหน้า (เมษายน-มิถุนายน) ร้อยละ 1.1 เท่ากับเดือนที่แล้ว ถือเป็นเดือนที่ 8 ติดต่อกันที่ดัชนีปรับตัวลดลงโดยดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมยังคงลดลงในทุกสาขาการผลิต ไม่ว่าจะเป็นการผลิตสินค้าอุตสาหกรรม (Manufacturing) ซึ่งมีน้ำหนักร้อยละ 79 ลดลงถึงร้อยละ 1.3 จากช่วง 3 เดือนก่อนหน้า ขณะที่ดัชนีผลผลิตภาคเหมืองแร่ ทรัพยากร ธรรมชาติ และน้ำมันซึ่งมีน้ำหนักร้อยละ 12 ลดลงร้อยละ 0.6 ขณะที่ดัชนีผลผลิตด้านพลังงานไฟฟ้า น้ำ และ ก๊าซ ซึ่งมีน้ำหนัก ร้อยละ 9 ลดลงร้อยละ 0.3
ทั้งนี้ หากพิจารณาดัชนีการผลิตตามระดับขั้นของผลผลิตพบว่าค่าเฉลี่ย 3 เดือนของดัชนีผลผลิตสินค้าขั้นกลางและพลังงาน (Intermediate goods and energy) ซึ่งงมีน้ำหนักร้อยละ 48 ลดลงจากรอบ 3 เดือนก่อนหน้าร้อยละ 0.9 เท่ากับเดือนที่แล้ว ดัชนีผลผลิตสินค้าเพื่อการบริโภคที่ไม่คงทน (Consumer non-durable) ซึ่งมีน้ำหนักร้อยละ 27 ลดลงร้อยละ 0.5 สินค้าเพื่อการบริโภคที่คงทน (Consumer durable) ซึ่งมีน้ำหนักร้อยละ 3.6 ลดลงถึงร้อยละ 3.4 ขณะที่สินค้าทุน (Capital goods) ซึ่งมีน้ำหนักร้อยละ 21 ในเดือนนี้ลดลงค่อนข้างมากถึงร้อยละ 1.8 จากรอบ 3 เดือนก่อนหน้า ทั้งนี้การที่ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมลดลงค่อนข้างแรงในอัตราเฉลี่ยร้อยละ 1.0 ต่อเนื่องในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา สอดคล้องกับการที่เศรษฐกิจในไตรมาสที่ 3 ขยายตัวติดลบเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2
ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ในเดือนตุลาคมปรับตัวลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 15 เดือน เหลือร้อยละ 4.5 หลังจากที่ขึ้นไปทำสถิติสสูงสุดที่ระดับร้อยละ 5.2 เมื่อเดือนที่แลล้ว และยังทำสถิติลดลงในเดือนเดียวมากที่สุดถึงร้อยละ 0.7 นับจากเริ่มมีการจัดทำข้อมูล CPI เมื่อปี 1997 โดยสาเหตุหลักที่ทำให้อัตราเงินเฟ้อในเดือนนี้เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีที่แล้วยังคงมาจากการเพิ่มขึ้นของหมวดค่าใช้จ่ายประจำในครัวเรือน โดยเฉพาะค่าแก๊สและไฟฟ้าที่ยังเพิ่มขึ้นต่อเนื่องอีกร้อยละ 15.2 เทียบกับร้อยละ 15.0 ในเดือนที่แล้ว หมวดอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่ใช่แอลกอฮอล์ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.1 แม้จะชะลอลงจากเดือนที่แล้วแต่ก็ยังเพิ่มในระดับสูง และหมวดขนส่งคมนาคมที่เพิ่มขึ้นในอัตราที่ชะลอตัวลงเหลือร้อยละ 4.3 เทียบกับร้อยละ 7.6 ในเดือนที่แล้ว สำหรับหมวดสินค้าที่มีระดับราคาลดลงเมื่อเทียบกับปีที่แล้วยังคงได้แก่หมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้าที่มีระดับราคาลดลงร้อยละ 6.7 หมวดสื่อสารที่ลดลงร้อยละ 2.2 และหมวดสันธนาการและวัฒนธรมลดลงร้อยละ 0.2
ทางด้านดัชนี (Retail Price Index: RPI) ในเดือนนี้ก็ชะลอลงเช่นกันโดยอยู่ที่ระดับร้อยละ 4.5 หลังจจากที่ขึ้นไปทำสถิติสูงสุดถึงร้อยละ 5.0 เมื่อเดือนที่แล้ว โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อการเร่งตัวขึ้นของเงินเฟ้อในเดือนนี้มาจากราคาสินค้าหมวดที่อยู่อาศัยและรายจ่ายในครัวเรือนที่ยังคงอยู่ในระดับสูงร้อยละ 4.9 แม้จะชะลอลงจากร้อยละ 5.2 ในเดือนที่แล้วเนื่องจากค่าใช้จ่ายในครัวเรือนพลังงานไฟฟ้า น้ำมันและก๊าสที่ยังสูงถึงร้อยละ 39.0 ราคาสินค้าหมวดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์และยาสูบที่ปรับเพิ่มร้อยละ 4.7 รวมถึงราคาสินค้าหมวดอาหารและภัตตาคารที่แม้จะชะลอลงเล็กน้อยแต่ก็ถือว่ายังอยู่ในระดับสูงร้อยละ 8.4 เทียบกับร้อยละ 9.2 ในเดือนที่แล้ว
ในรอบ 3 เดือนสิ้นสุดเดือนกันยายน (กรกฎาคม-กันยายน) ทั้งจำนวนผู้มีงานทำและอัตราการจ้างงานต่างก็ลดลง กล่าวคือ จำนวนผู้มีงานทำ (employment level) มีจำนวน 29.407 ล้านคน ลดลงถึง 99,000 คนจากรอบ 3 เดือนก่อนหน้า (เมษายน-มิถุนายน) หรือลดลงร้อยละ 0.3 แต่ถ้าเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้วยังคงเพิ่มขึ้น 134,000 คน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 โดยในเดือนนี้อัตราการจ้างงานลดลงเหลือร้อยละ 74.4 ของผู้ที่อยู่ในวัยทำงานทั้งหมด (working age employment rate) ลดลงจากไตรมาสก่อนหน้า 0.4 จุด
ทางด้านจำนวนผู้ว่างงานและอัตราการว่างงานในรอบสามเดือนจนถึงเดือนกันยายนต่างก็เพิ่มขึ้น โดยมียอดผู้ว่างงานเฉลี่ย 1.825 ล้านคน เพิ่มขึ้น 140,000 คนจากรอบไตรมาสก่อนหน้า หรือเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 8.3 และเพิ่มขึ้น 182,000 คนจากไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.1 ส่งผลให้อัตราการว่างงานเฉลี่ยในรอบไตรมาสนี้เพิ่มขึ้นสู่ระดับร้อยละ 5.8 เทียบกับร้อยละ 5.4 ในไตรมาสก่อนหน้า ถือเป็นครั้งแรกที่จำนวนผู้ว่างงานขึ้นแตะระดับ 1.8 ล้านคนเป็นครั้งแรกในรอบ 11 ปีนับจากปี 1997 และนักเศรษฐศาสตร์ประมาณว่าจำนวนผู้ว่างงานอาจจะพุ่งสูงสุดถึงระดับ 2.7 ล้านคนในปี 2010
สำหรับดัชนีชี้วัดรายได้เฉลี่ยของแรงงานไม่รวมเงินโบนัส (GB average earnings index: AEI) ในรอบไตรมาสสิ้นสุดเดือนกันยายนเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.6 จากปีที่แล้ว (ไม่เปลี่ยนแปลงจากไตรมาสก่อนหน้า) ขณะที่ดัชนีที่รวมรายได้จากโบนัสเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.3 จากปีที่แล้ว (ลดลงจากรอบไตรมาสก่อนหน้าร้อยละ 0.1)
อัตราดอกเบี้ยและอัตราแลกเปลี่ยน
เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน คณะกรรมการนโยบายการเงิน (MPC) ของธนาคารกลางอังกฤษ มีมติเอกฉันท์ 9:0 ให้ลดอัตราดอกเบี้ย Bank rate ลงถึงร้อยละ 1.50 เหลือร้อยละ 3.0 ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ในระดับที่ต่ำที่สุดนับจากปี 1955 และเป็นการตัดสินใจที่อยู่นอกเหนือความคาดหมายของตลาดที่ไม่คิดว่าธนาคารกลางอังกฤษจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงมากถึงขนาดนี้ โดยคณะกรรมการได้ให้เหตุผลของการลดอัตราดอกเบี้ยลงแรงในครั้งนี้ว่ามาจาก 3 ปัจจจัย ได้แก่ วิกฤตการเงินโลกที่กำลังส่งผลต่อเศรษฐกิจหลังจากสถาบันการเงินเริ่มมีความเข้มงวดการปล่อยสินเชื่อ ความต้องการภายในประเทศและภายนอกประเทศที่ชะลอตัวลงจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก และราคาน้ำมันและสินค้าโภคภัณฑ์ที่ปรับลดลงค่อนข้างมากในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งทั้ง 3 ปัจจัยจะส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อในระยะปานกลางอาจจะลดลงต่ำกว่าเป้าหมายร้อยละ 2.0 ได้ ประกอบกับปัญหาในระบบธนาคารในขณะนี้ก็บั่นทอนประสิทธิภาพของนโยบายการเงินดังนั้น จึงต้องดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายที่เข้มข้นมากขึ้น และจากการประมาณการเศรษฐกิจไปข้างหน้าพบว่าอาจต้องลดอัตราดอกเบี้ยถึงร้อยละ 2.0 เพื่อป้องกันมิให้อัตราเงินเฟ้อในระยะปานกลางลดลงไปต่ำกว่าเป้าหมาย จึงเห็นควรให้ลดอัตราดอกเบี้ยลงร้อยละ 1.50 ดังกล่าว โดยการประชุมครั้งต่อไปจะมีขึ้นในวันที่ 4 ธันวาคม
ในเดือนตุลาคมอัตราดอกเบี้ยเงินกู้เพื่อที่อยู่อาศัยชนิดลอยตัว (flexible rate) อยู่ที่ระดับร้อยละ 6.91 ลดลงเล็กน้อย 4 basis points จากเดือนกันยายน แต่อัตราดอกเบี้ยเงินกู้เพื่อที่อยู่อาศัยชนิดที่อิงอัตราดอกเบี้ยพื้นฐาน (base rate tracker mortgage) ในเดือนตุลาคมกลับพุ่งสูงขึ้นแตะระดับร้อยละ 7.04 เทียบกับเดือนที่แล้วที่อยู่ที่ระดับร้อยละ 6.12 หรือเพิ่มขึ้นถึง 92 basis points ส่งผลให้ส่วนต่างระหว่างอัตราดอกเบี้ยประเภทลอยตัว (flexible rate) และอัตราดอกเบี้ยชนิดคงที่ที่อ้างอิงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย (tracker mortgage rate) เมื่อเทียบกับ bank rate ของธนาคารกลางอังกฤษกว้างขึ้นเป็น 230 และ 243 basis points ตามลำดับ การที่อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่อยู่อาศัยปรับตัวสูงขึ้นสวนทางกับอัตราดอกเบี้ยนโยบายเนื่องจากความเสี่ยงของสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยยังคงมีสูง ประกอบกับต้นทุนเงินทุนของธนาคารไม่ใช่ bank rate แต่เป็นอัตราเงินกู้ยืมระหว่างธนาคาร (interbank rate) ซึ่งมีการปรับตัวสูงขึ้นในเดือนตุลาคมจึงส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้เพื่อที่อยู่อาศัยปรับตัวเพิ่มขึ้นตามดังกล่าว แม้อัตราดอกเบี้ยนโยบายจะลดลงในช่วงเวลาเดียวกันก็ตาม
สำหรับโครงสร้างอัตราผลตตอบแทนเฉลี่ย (average yield curve) ประจำเดือนพฤศจิกายนพบว่าอัตราผลตอบแทนระยะสั้นอายุต่ำกว่า 1 ปีมีการปรับลดลงต่อเนื่องจากเดือนที่แล้วตามการลดลงของอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางอังกฤษที่ในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมามีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงถึงร้อยละ 2.0 ขณะที่อัตราผลตอบแทนระยะยาวอายุ 5 และ 10 ปีก็มีการปรับลดลงเช่นกัน ซึ่งการปรับลดลงของอัตราดอกเบี้ยในตลาดเงินสะท้อนถึงสถานการณ์ในตลาดเงินที่เริ่มกลับเข้าสู่ภาวะปกติโดยลำดับหลังจากที่ทางการอังกฤษดำเนินมาตรการเสริมสภาพคล่องให้กับระบบการเงินเพื่อแก้ไขปัญหาการตึงตัวในตลาดเงิน รวมถึงการประกาศลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางอังกฤษ โดยอัตราผลตอบแทนระยะสั้นต่ำกว่า 1 ปีมีการปรับตัวลดลงระหว่าง 157-187 basis points ส่วนอัตราผลตอบแทนระยะยาว 5 ปี 10 และ 20 ปีปรับลดลง 62, 32 และ 7 basis points ตามลำดับ
เงินปอนด์เมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ สรอ.ในเดือนนี้อ่อนค่าลงรุนแรงที่สุดในรอบ 4 เดือนที่ผ่านมา โดยนอกเหนือจากการที่เงินดอลลาร์ สรอ. ได้รับผลดีจากการเป็นแหล่งหลบภัยของนักลงทุน (safe haven) แล้วการที่นักลงทุนยังคงกังวลถึงอนาคตเศรษฐกิจของอังกฤษได้ส่งผลให้มีเงินทุนไหลออกเป็นจำนวนมากนับจากกลางเดือนกันยายนเป็นต้นมาโดยเฉพาะการลงทุนในตราสารหนี้ ประกอบกับการที่นาย Mervyn King ผู้ว่าการธนาคารกลางอังกฤษได้ประเมินทิศทางเศรษฐกิจในปีหน้าว่ามีแนวโน้มจะถดถอยตลอดทั้งปีซึ่งการชะลอตัวของเศรษฐกิจอาจกดดันให้อัตราเงินเฟ้อลดลงต่ำกว่าร้อยละ 1.0 ได้ และว่า Bank of England พร้อมจะลดดอกเบี้ยลงอีกถ้าจำเป็นก็ยิ่งส่งผลกดดันค่าเงินปอนด์จนลงไปทำสถิตติต่ำสุดอีกกับดอลลาร์ สรอ.อีกครั้งที่ระดับ 1.4556 $/ปอนด์ ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับจากปี 1992 อย่างไรก็ดี เงินปอนด์กระเตื้องขึ้นเล็กน้อยในช่วงปลายเดือนเมื่อตลาดเริ่มวิตกถึงมาตรการแก้ไขปัญหาวิกฤตสินเชื่อของรัฐบาลสหรัฐฯ ไม่ว่าจะเป็นการดำเนินการเพื่อจะซื้อสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยเป็นวงเงินถึง600 พันล้านดอลลาร์ สรอ.รวมถึงการจัดสรรวงเงิน 200 พันล้านดอลลาร์ สรอ. เพื่อสนับสนุนสินเชื่อรายย่อยและสินเชื่อเพื่อธุรกิจขนาดเล็ก อาจจะส่งผลให้การขาดดุลงบประมาณของสหรัฐฯ สูงเกินไปและบั่นทอนความเป็น safe haven ของพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ จึงส่งผลดีต่อค่าเงินปอนด์โดยเงินปอนด์ปิดตลาดวันสุดท้ายของเดือนที่ระดับ 1.5345 $/ปอนด์ ส่งผลให้ค่าเฉลี่ยของเงินปอนด์ในเดือนนี้อ่อนค่าลงจากเดือนที่แล้วถึงร้อยละ 9.2 และทำให้เงินปอนด์อ่อนค่าลงถึงร้อยละ 25.9 ในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมา
เงินปอนด์เมื่อเทียบกับยูโรในเดือนนี้กลับบอ่อนค่าลงไปปอีกหลังจากที่กระเตื้องขึ้นนเล็กน้อยในเดดือนที่แล้ว โดดยเงินปอนด์ปิดตลาดวันแรกที่ระดับ 1.2425 ยูโร/ปอนด์ จากนั้นก็ออ่อนค่าลงโดยยตลอดจนกกระทั่งมีระดับบปิดต่ำสุดขอองเดือนที่ระดับ 1.1693 ยูโร/ปอนด์ ในช่วงกลางเดือนซึ่งถือเปป็นระดับที่สุดดนับจากมีการใช้เงินสกุลยูโรในปี 1999 เมื่อตลาดเชื่อว่าธนาคารกลางอังกฤษอาจต้องลดอัตราดอกเบี้ยลงอีกเพื่อแก้ปัญหาเศรษฐกิจถดถอยที่อาจจะนำมาซึ่งภาวะเงินฝืด (deflation) หลังจากนั้นเงินปอนด์ก็เริ่มเคลื่อนไหวสลับขึ้นลงใกล้เคียงระดับ 1.18 ยูโร/ปอนด์ อย่างไรก็ดีเงินปอนด์กลับแข็งค่าขึ้นอีกครั้งในช่วงท้ายเดือนโดยขึ้นมาปิดตลาดวันสุดท้ายของเดือนที่ระดับ 1.2095 ยูโร/ปอนด์ ส่งผลให้ค่าเฉลี่ยของเงินปอนด์ในเดือนนี้อ่อนค่าลงร้อยละ 5.3 และอ่อนค่าลงร้อยละ 14.6 ในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมา
เมื่อเทียบกับเงินบาทแล้ว เงินปอนด์ในเดือนนี้ยังคงอ่อนค่ากับเงินบาทต่อเนื่องเป็นเดือนที่สี่ โดยเงินปอนด์มีระดับปิดตตลาดวันแรกของเดือนที่ระดับ 55.3967 Baht/ปอนด์ จากนนั้นเงินปอนด์ก็อ่อนค่าลงโดยตลอดจนถึงชช่วงสัปดาห์สสุดท้ายของเดดือนโดยเงินปปอนด์อ่อนตัวลงมามีระดับบปิดที่ต่ำที่สุดของเดือนที่ระดับ 51.8461 Baht/ปอนด์ อย่างไรก็ดี เงินปอนด์เริ่มฟื้นตัวขึ้นบ้างในช่วงสิ้นเดือนโดยขึ้นมาปิดวันสุดท้ายของเดือนที่ระดับ 54.4978 Baht/ปอนด์ ทั้งนี้ ทิศทางการอ่อนค่าลงของเงินปอนด์เป็นไปในลักษณะเดียวกับการอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์ สรอ.เนื่องจากในรอบเดือนนี้เงินบาทค่อนข้างมีเสถียรภาพเมื่อเทียบกับดอลลาร์ สรอ.โดยค่าเฉลี่ยของเงินปอนด์ในเดือนนี้อ่อนค่าลงเป็นเดือนที่สี่อีกร้อยละ 7.5 แต่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่แล้วเงินปอนด์อ่อนค่าอยู่ร้อยละ 17.5
ณ สิ้นเดือนตุลาคมซึ่งเป็นเดือนที่เจ็ดของปีงบประมาณปัจจุบัน (2008/09) รัฐบาลเกินดุลงบรายจ่ายประจำจำนวน 1.0 พันล้านปอนด์ (เทียบกับที่เกินนดุล 4.0 พันนล้านปอนด์ในนเดือนตุลาคมของปีที่แล้ว) และเมื่อรรวมกับในเดืออนนี้รัฐบาลมีการลงทุทุนสุทธิจำนวนน 2.4 พันล้านปอนด์ จึงทำให้ฐานะดุลงบประมาณโดยรวมในเดือนนี้มียอดขาดดุลสุทธิเป็นจำนวนทั้งสิ้นน 1.4 พันล้านปอนด์ (เทียบกับที่เกินดุล 1.8 พันล้านปอนด์เมื่อปีที่แล้ว) โดยในส่วนของรัฐบาลกลาง (central government account) สามารถจัดเก็บรายได้ในเดือนนี้จำนวน 45.9 พันล้านปอนด์ (เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.3 จากปีที่แล้ว) ขณะที่งบรายจ่ายประจำและงบลงทุนขอองรัฐบาลกลางมียอดรวม 46.9 พันล้านปอนด์ (เพิ่มขึ้นถึงร้อยลละ 8.2 จากปีที่แล้ว) ทำให้รัฐบาลกลางมีฐานะขาดดดุลงบปประมาณเป็นจำนวน 1.6 พันล้านปอนดด์ (เทียบกับปีที่แล้วที่มีฐานะเกินดุล 1.9 พันล้านปอนด์)
ทั้งนี้ ในช่วง 7 เดือนแรกของปีงบประมาณ รัฐบาลมียอดขาดดุลงบประมาณสะสมเป็นนจำนวน 37.0 พันล้านปอนด์ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้วถึงร้อยละ 84.4 หรือคิดเป็นการขาดดุลร้อยละ 86.0 ของประมาณการขาดดุลทั้งสิ้นในปีงบประมาณปัจจุบันที่คาดว่าจะมีจำนวน 43 พันล้านปอนด์ ล่าสุดในการแถลง Pre-Buddget Report 2008 เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายนที่ผ่านมา กระทรวงการคลังได้ทบทวนประมาณการขาดดุลในปีงบประมาณปัจจุบันว่าจะมียอดสูงถึง 77.6 พันล้านปอนด์ หรือเท่ากับร้อยละ 5.3 ของ GDP
ณ สิ้นเดือนตุลาคม ยอดคงค้างหนี้สาธารณะอยู่ที่ระดับ 640.9 พันล้านปอนด์ หรือเท่ากับร้อยละ 42.9 ของ GDP (เทียบกับร้อยละ 43.4 ในเดือนที่แล้ว) เนื่องจากในเดือนนี้รัฐบาลสามารถจัดเก็บรายได้เพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ขณะที่รายจ่ายมีการขยายตัวถึงร้อยละ 8.2 ทำให้ยังคงมีฐานะขาดดุลงบประมาณในเดือนนี้ 1.4 พันล้านปอนด์ เทียบกับในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาที่รัฐบาลมักจะมีฐานะงบประมาณเกินดุลในเดือนตุลาคม อนึ่ง ภายใต้กรอบความยั่งยืนทางกการคลัง (sustainable investment rule) กำหนดเพดานหนี้สาธารณะต่อ GDP ไว้ไม่เกินร้อยละ 40 ทั้งนี้ ในการแถลง Pre-Budget Report 2008 กระทรวงการคลังทบทวนประมาณการยออดหนี้สาธารณะ ณ สิ้นปีงบประมาณ 2008/09 ว่าจะอยู่ที่ระดับ 602 พันล้านปอนด์ หรือเท่ากับร้อยละ 41.2 ของ GDP เพิ่มขึ้นจากที่ประมาณการไว้เดิมเมื่อคราวเสนองบประมาณรายจ่ายเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมาว่าจะมียอดหนี้สาธารณะจำนวน 581 พันล้านปอนด์ หรือเท่ากับร้อยละ 38.5 ของ GDP
ดุลบัญชีเดินสะพัดและดุลการชำระเงิน
เดือนกันยายน อังกฤษมียออดส่งออกสินนค้าและบริการรวม 34.8 พันล้านปอนดด์ แต่มีการนำเข้ารวม 38.7 พันล้านปอนด์ส่งผลให้มียอดขาดดุลการค้าและบริการรวม 3.9 พันล้านปอนด์ (ขาดดุลลดลงจากปีที่แล้วร้อยละ 13.3) แยกเป็นการขาดดุลการค้าสินค้าจำนวน 7.5 พันล้านปอนด์ แต่มีการเกินดุลการค้าบริการจำนวน 3.6 พันล้านปอนด์ สำหรับฐานนะดุลการค้าและบริการสะสมในช่วง 9 เดือนแรกของปีพบว่าอังกฤษมียอดขาดดุลการค้าและบริการรวม 37.2 พันล้านปอนด์ (ขาดดุลเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ7.4) แยกเป็นการขาดดุลการค้า 70.1 พันล้านปอนด์ แต่เกินดุลบริการ 32.9 พันล้านปอนด์
ทั้งนี้ ในเดือนนี้นีอังกฤษมียออดขาดดุลการรค้าสินค้ากับบประเทศในกกลุ่ม EU (27 ประเทศ) จำนวนน 3.0 พันล้านนปอนด์ ขาดดุลลดลงจากกเดือนเดียวกกันของปีที่แล้ว้วร้อยละ 16.9 แต่ขาดดดุลกับประเททศนอกกลุ่ม EU จำนวน 4.5 พันล้านปปอนด์ ลดลงแล็กน้อยร้อยลละ 1.3 จากเดือนเดียววกันของปีที่แล้ว
สำหรับการค้ากับประเทศไทยในเดือนกันยายน อังกฤษมียอดส่งออกสินค้าไปยังประเทศไทยจำนวน 64 ล้านปอนด์ แต่มีการนำเข้าจำนวน 199 ล้านปอนด์ ทำให้ขาดดุลการค้ากับประเทศไทยจำนวน 135 ล้านปอนด์ ขาดดุลเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของงปีที่แล้วร้อยละ 13.4 ทำให้ในช่วง 9 เดือนแรกของปีอังกฤษมียอดขาดดุลการค้าสะสมกับประเทศไทยรวม 1,186 ล้านปอนด์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.5 หรือเฉลี่ยแล้วอังกฤษขาดดุลการค้ากับประเทศไทยเดือนละ 131 ล้านปอนด์
- ผลสำรวจราคาที่อยู่อาศัยของ Halifax ประจำเดือนตุลาคมพบว่าราคาที่อยู่อาศัยทั่วประเทศลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 2.2 และลดลงร้อยละ 13.7 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่แล้ว นับเป็นเดือนที่ 7 ติดต่อกันที่ราคาที่อยู่อาศัยลดลง และในเดือนนี้ถือเป็นเดือนที่มีอัตราการลดลงที่สูงที่สุด (6 พฤศจิกายน 2008)
- นาย Mervyn King ผู้ว่าการ Bank of England แถลงผลการประเมินเศรษฐกิจล่าสุดว่าในปี 2009 เศรษฐกิจจะอยู่ในภาวะถดถอยตลอดทั้งปี และอัตราเงินเฟ้ออาจจะลดลงมาต่ำกว่าระดับร้อยละ 1.0 ซึ่งเป็นอัตราเงินเฟ้อเป้าหมายขั้นต่ำได้ อันเป็นผลมาความเชื่อมั่นของภาคเศรษฐกิจที่ลดลงมาก ขณะเดียวกัน วิกฤตการเงินได้ส่งผลต่อการชะลอการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงินซึ่งจะกระทบต่อกิจกรรมในระบบเศรษฐกิจจริงต่อไป ขณะที่อัตราเงินเฟ้อแม้จะได้รับผลดีจากการลดลงของราคาน้ำมันและสินค้าโภคภัณฑ์ แต่การที่เศรษฐกิจมีแนวโน้มชะลอตัวลงอาจส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อลดลงต่ำกว่าอัตราเงินเฟ้อเป้าหมายได้ โดยธนาคารกลางพร้อมที่จะลดดอกเบี้ยลงอีกหากมีความจำเป็นเพื่อป้องกันมิให้อัตราเงินเฟ้อลดลงไปติดลบ โดยสัปดาห์ที่แล้วธนาคารกลางเพิ่งประกาศลดอัตราดอกเบี้ยไปแล้วร้อยละ 1.5 (12 พฤศจิกายน 2008)
ที่มา : Macroeconomic Analysis Group : Fiscal Policy Office
Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th