สรุปการดำเนินมาตรการของทางการสหรัฐฯ ภายใต้กฎหมายสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจฉบับฉุกเฉิน 2551

ข่าวเศรษฐกิจ Monday January 19, 2009 15:52 —กระทรวงการคลัง

รัฐบาลสหรัฐฯ ภายใต้การนำของประธานาธิบดี จอร์จ ดับเบิล ยู บุช ได้ผ่านกฎหมายสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจฉบับฉุกเฉิน 2551 (Emergency Economic Stabilization Act 2008) หรือ EESA ด้วยงบประมาณรวม 700,000 ล้านเหรียญสรอ. เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2551 โดยในเบื้องต้น สภาครองเกรสได้อนุมัติให้กระทรวงการคลังสหรัฐฯ ภายใต้การนำของนายเฮนรี่ พอลสัน ใช้งบประมาณครึ่งแรกรวม 300,000 ล้านเหรียญสรอ. และหากมีความจำเป็นต้องใช้งบประมาณส่วนที่เหลือเพิ่มเติมจะต้องได้รับการเห็นชอบจากสภาครองเกรสอีกครั้ง

ทั้งนี้ กระทรวงการคลังสหรัฐฯ ร่วมกับสภาครองเกรสได้วางแนวทาง 2 ประการหลักในการดำเนินงานภายใต้กฎหมายฉบับดังกล่าว ประกอบไปด้วย

(1) ให้ใช้งบประมาณดังกล่าวในการเข้าซื้อสินทรัพย์ที่หมุนด้วยสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ที่ขาดสภาพคล่อง (Illiquid Mortgage Assets) ภายใต้โครงการที่เรียกว่า Trouble Asset Relief Program (TARP) เป็นหลัก เพื่อดึงดูดให้นักลงทุนจากภาคเอกชนเพิ่มเม็ดเงินลงทุนในตลาดการเงินมากขึ้น

(2) ให้มีความยืดหยุ่นในการปรับเปลี่ยนมาตรการเพื่อรับมือกับเหตุการณ์ทีเกิดขึ้นเป็นกรณีไป

อย่างไรก็ตาม กระทรวงการคลังสหรัฐฯ มีความเห็นว่ากาเข้าซื้อหลักทรัพย์ของธนาคารที่มีความมั่นคงทางการเงินนั้นเป็นมาตรการที่สามารถอัดฉีดเม็ดเงินให้บระบบการเงินได้โดยตรงเห็ฯผลรวดเร็วกว่า และสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุนได้มากกว่ามากเข้าซื้อสินทรัรพย์ที่ขาดสภาพคล่องภายใต้โครงการ TARP นอกจากนี้ การดำเนินการภายใต้โครงการ TART ให้เห็นผลสำเร็จนั้น จะต้อวงซื้อสินทรัพย์ในปริมาณสูงมาก และยังเป็นมาตรการที่เพิ่มความเสี่ยงให้แก่ผู้เสียภาษีของสหรัฐฯ ซึ่งนับเป็นข้อจำกัดที่สคำญอ่ยางหนึ่ง กระทรวงการคลังสหรัฐฯ ได้จัดทำโครงการ Capital Purechase program หรือ CPP ขึ้น ด้วยงบประมารณภายใต้กฎหมาย EESA รวม 250,000 ล้านเหรียญสรอ. เพื่อเข้าซื้อหลักทรัพย์ของธนาคารและสถาบันเงินฝากที่มีความมั่นคงทางการเงินสูงทุกขนาด รวมทั้งได้ออกมาตรการให้บรรษัทประกันเงินฝาก (Federal Deposit Insurance Corp - EDIC) เพิ่มขอบเขตการค้ำประกันให้กับหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ (Senior Dabt) อีกด้วย

ทั้งนี้ กระทรวงการคลังสหรัฐฯ ได้ตั้งเงื่อนไขให้กับสถาบันการเงินที่เข้าร่วมโครงการ CPP ดังนี้ (1) ไม่สามารถปรับเพิ่มระดับเงินปันผล และไม่สามารถประกอบธุรกรรมซื้อหุ้นคืนในนามบริษัท (Share Repurchase) (2) เพิ่มความเข้มงวดในการจัดการผลตอบแทนแกผู้บริหาร (Excutiove Compensation) เพื่อป้องกันไม่ให้สถาบันการเงินใช้เงินทุนจากการขายหลักทรัพยืภาคใต้โครงการ CPP ในการเพิ่มผลตอบแทนสให้แก่ผู้บริหารอย่างไม่เหมาะสมอย่างไรก็ตาม ไม่ได้มีเงื่อนไขควบคุมการควบรวมและเข้าซื้อกิจการ (Mergers and Acquistitions) เนื่องจากกระทรวงการคลังสหรัฐฯ เห็นว่าการควบรวมและเข้าซื้อกิจการที่มีการพิจารณาอย่างละเอียดรอบคอบนั้น นับเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งที่สามารถเสริมสร้างเสถียรภาพให้กับระบบการเงิน ซึ่งจะเป็นการปกป้องผู้เสียภาษีในเวลาเดียวกัน เนื่องจากการเข้าซื้อกิจการของสถาบันการเงินที่ประสบปัญหาโดยสถาบันการเงินอื่นซึ่งมีสถานะทางการเงินมั่นคงก่อน ย่อมส่งผลดีระบบเศรษฐกิจโดยรวม มากกว่าปล่อยให้สถาบันการเงินที่ประสบปัญหาต้องปิดกิจการ ภายใต้โครงการ CPP กระทรวงการคลังสหรัฐฯ ได้จัดสรรงบประมาณรวมทั้งสิ้น 192,000 ล้านเหรียญสรอ. ให้กับสถาบันการเงิน 257 แห่ง ใน 42 มลรัฐ รวมทั้งในประเทศเปอโตริโก เป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยจัดสรรงบประมาณลงทุนในสถาบันการเงินแตกต่างกันไป ตั้งแต่ 1 ล้านเหรียญสรอ. ถึง 25,000 ล้านเหรียญสรอ. รายละเอียดปรากฎดังเอกสารแนบ นอกจากนี้กระทรวงการคลังสหรัฐฯ กำลังดำเนินการขยายเวลาการช่วยเหลือให้กับบริษัท ประเภท S Corporation ซึ่งเป็นบริษัทขนาดเล็กที่จดทะเบียนในโครงสร้างบริษัทที่ส่งผลให้การจ่ายภาษีเป็นในรูปแบบเดียวกันกับของห้างหุ้นส่วนจำกัด อีกด้วย

นอกจากนี้ ในส่วนของธุรกิจอื่นๆ ที่ไม่ใช่สถาบันการเงินนั้น ธนาคารกลางสหรัฐฯ ได้จัดตั้งโครงการที่เรียกว่า Term Asset-Backed Securities Loan Facility (TALF) เพื่อเพิ่มขีดความสามารถให้ประชากรสหรัฐฯ กู้ยืมสินเชื่อรถยนต์ สินเชื่อเพื่อการศึกษา สินเชื่อส่วนบุคคล และสินเชื่อเพื่อธุรกิจขนาดเล็กได้มากขึ้น ด้วยงบประมาณทั้งสิ้น 200,000 ล้านเหรียญสรอ. โดยใช้งบประมาณส่วนหนึ่งรวม 20,000 ล้านเหรียญสรอ. จากงบประมาณครึ่งแรกภายใต้กฎหมาย EESA ที่สภาคองเกรสอนุมัติเบื้องต้น ทั้งนี้ งบประมาณส่วนที่เหลือใน 350,000 ล้านเหรียญสรอ. แรกนอกจากจะได้จัดสรรภายใต้โครงการ 3 โครงการหลัก ตามที่กล่าวข้างต้นแล้ว กระทรวงการคลังสหรัฐฯ ยังได้จัดสรรเพื่อช่วยเหลือบริษัทขนาดใหญ่ที่ประสบปัญหา ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ โดยรวม อาทิ เช่น ซิตี้กรุ๊ป บริษัทเอไอจี และบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ในประเทศ

อนึ่ง เกี่ยวกับงบประมาณส่วนที่เหลือ 350,000 ล้านเหรียญสรอ. นั้น สำนักงานฯ มีความเห็นว่า สภาคองเกรสน่าจะมีมติผ่านข้อเสนอของว่าประธานาธิบดีสหรัฐฯ นายบารัค โอบามา ในการนำงบประมาณดังกล่าวมาใช้ดำเนินมาตรการฟื้นฟูเศรษฐกิจต่อไป จากแรงกดดันจากทั้งนายโอบามาเอง ในการแสดงปาฐกถา ณ มหาวิทยาลัย George Mason เมื่อวันที่ 8 มกราคม 2552 และการกระตุ้นจากประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุช ในการแสดงปาฐกถา เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2552 รวมทั้งเสียงสนับสนุนจากนายเบน เบอร์นันเก้ ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ ตามที่ได้กล่าวในปาฐกถา ณ London School of Economics กรุงลอน ประเทศอังกฤษ ที่เห็นว่าการช่วยเหลือสถาบันการเงินนับเป็นมาตรการสำคัญในการฟื้นฟูเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ เมื่อวันที่ 13 มกราคม 2552 อีกด้วย

ที่มา : Macroeconomic Analysis Group : Fiscal Policy Office

Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ