ช่วงนี้มีข่าวทางหน้าหนังสือพิมพ์อย่างต่อเนื่องว่า ภาคเอกชนได้เรียกร้องให้รัฐบาลปรับลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลลง เพื่อช่วยลดภาระให้แก่ภาคธุรกิจและให้สามารถแข่งขันกับคู่แข่งของต่างประเทศได้ภายใต้วิกฤตเศรษฐกิจโลกในปัจจุบัน
โอกาสนี้จะขอนำวิวัฒนาการของการปรับปรุงโครงสร้างอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลของไทยตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน เพื่อเป็นข้อมูลในการพิจารณาศึกษาการปรับลดอัตราภาษีต่อไป
ในอดีตอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลของไทยมีลักษณะก้าวหน้า (progressive rate) ต่อมาได้ปรับเป็นอัตราเดียว (flat rate) โดยแยกเป็นอัตราภาษีสำหรับนิติบุคคล 2 ประเภท ได้แก่นิติบุคคลทั่วไปกับนิติบุคคลที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เพื่อส่งเสริมกิจการของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยที่เพิ่งมีการจัดตั้งขึ้นในขณะนั้น
จนกระทั่งปี 2535 ได้ปรับปรุงให้อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลที่คำนวณจากฐานกำไรสุทธิ มีอัตราเดียวคือ ร้อยละ 30 ซึ่งเป็นอัตราภาษีที่ใช้บังคับมาจนถึงปัจจุบัน
อย่างไรก็ตาม ระหว่างปี 2535 จนถึงปัจจุบัน ได้มีการปรับลดอัตราภาษีเงินได้ให้กับ นิติบุคคลบางประเภท คือ ลดอัตราภาษีให้กับบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย 2 ช่วง ในปี 2544 และปี 2551 และมีการลดอัตราภาษีให้แก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในปี 2545 2547 และ 2551
ปี อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล 2494 — 2501 ไม่เกิน 500,000 บาท ร้อยละ 10
500,001 — 1,000,000 บาท ร้อยละ 15
1,000,001 บาทขึ้นไป ร้อยละ 20 2502 — 2514 ไม่เกิน 500,000 บาท ร้อยละ 10
500,001 — 1,000,000 บาท ร้อยละ 15
1,000,001 บาทขึ้นไป ร้อยละ 25 2515 — 2519 ไม่เกิน 500,000 บาท ร้อยละ 20
500,001 — 1,000,000 บาท ร้อยละ 25
1,000,001 บาทขึ้นไป ร้อยละ 30 2520 — 2522 ร้อยละ 30 สำหรับบริษัทจดทะเบียน และร้อยละ 35 สำหรับอื่น ๆ 2523 ร้อยละ 35 สำหรับบริษัทจดทะเบียน และร้อยละ 45 สำหรับอื่น ๆ 2524 — 2528 ร้อยละ 30 สำหรับบริษัทจดทะเบียน และร้อยละ 40 สำหรับอื่น ๆ 2529 — 2534 ร้อยละ 30 สำหรับบริษัทจดทะเบียน และร้อยละ 35 สำหรับอื่น ๆ 2535 - ปัจจุบัน ร้อยละ 30 สำหรับนิติบุคคลทั่วไป มาตรการส่งเสริมตลาดหลักทรัพย์ฯ 2544 : บริษัทจดทะเบียนอยู่แล้ว
- ร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิ เฉพาะส่วนที่มีกำไรสุทธิไม่เกิน 300 ล้านบาท เป็นเวลา 5 รอบระยะเวลาบัญชี สำหรับบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
- ร้อยละ 20 ของกำไรสุทธิ เป็นเวลา 5 รอบระยะเวลาบัญชี สำหรับบริษัทที่จดทะเบียนเข้าใหม่ในตลาดหลักทรัพย์ใหม่ (ตลาด MAI) ตั้งแต่ 6 กันยายน 2544 ถึง 31 ธันวาคม 2548
- ร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิ เป็นเวลา 5 รอบระยะเวลาบัญชี สำหรับบริษัทที่จดทะเบียนเข้าใหม่ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ตั้งแต่ 6 กันยายน 2544 ถึง 31 ธันวาคม 2548
- ร้อยละ 20 ของกำไรสุทธิ เป็นเวลา 3 รอบระยะเวลาบัญชี สำหรับบริษัทที่จดทะเบียนเข้าใหม่ในตลาดหลักทรัพย์ใหม่ (ตลาด MAI)
- ร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิ เป็นเวลา 3 รอบระยะเวลาบัญชี สำหรับบริษัทที่จดทะเบียนเข้าใหม่ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
- ร้อยละ 20 ของกำไรสุทธิ เฉพาะกำไรสุทธิในส่วนที่ไม่เกิน 20 ล้านบาท เป็นเวลา 3 รอบระยะเวลาบัญชี (เริ่มในหรือหลัง 1 มกราคม 2551) สำหรับบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ใหม่ (ตลาด MAI)
- ร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิ เฉพาะกำไรสุทธิในส่วนที่ไม่เกิน 300 ล้านบาท เป็นเวลา 3 รอบระยะเวลาบัญชี (เริ่มในหรือหลัง 1 มกราคม 2551) สำหรับบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
- ร้อยละ 20 ของกำไรสุทธิ เฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 1 ล้านบาท
- ร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิ เฉพาะส่วนที่เกิน 1 ล้านบาท แต่ไม่เกิน 3 ล้านบาท
- ร้อยละ 30 ของกำไรสุทธิ เฉพาะส่วนที่เกิน 3 ล้านบาท
- ร้อยละ 15 ของกำไรสุทธิ เฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 1 ล้านบาท
- ร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิ เฉพาะส่วนที่เกิน 1 ล้านบาท แต่ไม่เกิน 3 ล้านบาท
- ร้อยละ 30 ของกำไรสุทธิ เฉพาะส่วนที่เกิน 3 ล้านบาท
- ยกเว้นภาษี สำหรับกำไรสุทธิส่วนที่ไม่เกิน 150,000 บาท
- ร้อยละ 15 ของกำไรสุทธิ เฉพาะส่วนที่เกิน 150,000 บาท แต่ไม่เกิน 1 ล้านบาท
- ร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิ เฉพาะส่วนที่เกิน 1 ล้านบาท แต่ไม่เกิน 3 ล้านบาท
- ร้อยละ 30 ของกำไรสุทธิ เฉพาะส่วนที่เกิน 3 ล้านบาท
โอกาสต่อไปจะได้กล่าวถึงอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลของไทยโดยเปรียบเทียบกับของประเทศต่าง ๆ และเหตุผลที่ว่า ทำไมรัฐบาลต้องจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคล
ที่มา : โดย นายชนะชัย ประยูรสิน เศรษฐกร ระดับชำนาญการพิเศษ
รักษาการในตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านนโยบายภาษี สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
ที่มา : Macroeconomic Analysis Group : Fiscal Policy Office
Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th