งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 ได้จัดสรรเงินอุดหนุนให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ดังนี้
(1) ส่งเสริมและสนับสนุนการกระจายอำนาจการปกครอง
(อบจ./ เทศบาล / อบต.) 134,584,420,000 บาท (2) กรุงเทพมหานคร 14,420,840,000 บาท (3) เมืองพัทยา 1,494,740,000 บาท (4) งบประมาณจังหวัด 75 จังหวัด 18,000,000,000 บาท (ความเชื่อมโยงยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณและแผนงาน) 2. การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2552 เงินอุดหนุนทั่วไปเพื่อสนับสนุนการกระจายอำนาจให้แก่ อปท.ของกรมส่งเสริมการ ปกครองท้องถิ่นกระทรวงมหาดไทย
พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี งบประมาณ พ.ศ. 2552 ได้จัดสรรงบประมาณในส่วนของเงินอุดหนุนให้แก่ อปท. ปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 (อบจ. /เทศบาล / อบต.) จำนวน 134,584.42 ล้านบาท โดยแบ่งเป็นเงินอุดหนุนทั่วไป จำนวน 104,099.78 ล้านบาท และเงินอุดหนุนเฉพาะกิจ จำนวน 30,484.64 ล้านบาท
ปัจจุบันในการประชุมคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (กกถ.) เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2552 ได้มีมติเห็นชอบหลักเกณฑ์การจัดสรรเงินอุดหนุนทั่วไป ซึ่งประธานคณะกรรมการการกระจายอำนาจฯ จะได้ลงนามในออกประกาศหลักเกณฑ์การจัดสรรเงินอุดหนุนทั่วไปให้แก่ อปท. พ.ศ. 2552 จำนวน 104,099.78 ล้านบาท ซึ่งมีรายการต่อไปนี้
1. ตามอำนาจหน้าที่ 57,233,600,000 บาท 2. บริการสาธารณสุข 1,155,040,000 บาท 3. ศูนย์เด็กเล็ก 4,223,910,000 บาท 4. ส่งเสริมชายแดนภาคใต้ 273,100,000 บาท 5. ชดเชยรายได้ชายแดนภาคใต้ 949,770,000 บาท 6. ชดเชยค่าโดยสารรถไฟ 2,500,000 บาท 7. อาหารกลางวัน 10,133,300,000 บาท 8. อาหารเสริม (นม) 7,938,900,000 บาท 9. เบี้ยยังชีพคนชรา 10,970,740,000 บาท 10. เบี้ยยังชีพคนพิการ 1,532,860,000 บาท 11. เบี้ยยังชีพผู้ป่วยเอดส์ 171,400,000 บาท 12. การศึกษาปฐมวัย 732,380,000 บาท 13. การศีกษาภาคบังคับ 8,180,220,000 บาท 14. การศีกษาภาคมัธยมปลาย 235,740,000 บาท 15. ฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด 75,000,000 บาท 16. พัฒนานักจัดการชุมชน 73,750,000 บาท 17. การบริหารสนามกีฬา 126,990,000 บาท 18. ศูนย์บริการทางสังคม 6,940,000 บาท 19. สถานสงเคราะห์คนชรา 83,650,000 บาท
สำหรับในส่วนของเงินอุดหนุนเฉพาะกิจ มีรายการ
1. รางวัลจูงใจเพิ่มประสิทธิภาพ 500,000,000 บาท 2. ครุภัณฑ์การศึกษาถ่ายโอน 164,280,000 บาท 3. สิ่งก่อสร้างการศึกษา 1,517,770,000 บาท 4. ครุภัณฑ์ศูนย์เด็กเล็ก 450,000,000 บาท 5. สิ่งก่อสร้างศูนย์เด็กเล็ก 1,237,000,000 บาท 6. ซ่อมแซมสาธารณสุข 23,440,000 บาท 7. ถ่ายโอนบุคลากร 3,765,370,000 บาท 8. บำรุงรักษาสิ่งแวดล้อม 99,890,000 บาท 9. ค่ารักษาพยาบาลครู 500,000,000 บาท 10. ค่าเช่าบ้านครู 80,000,000 บาท 11. บำเหน็จ บำนาญครู 1,743,610,000 บาท 12. ศูนย์เด็กกรมการศาสนา 1,919,800,000 บาท 13. สูบน้ำด้วยไฟฟ้า 809,050,000 บาท 14. ประปาหมู่บ้าน 373,800,000 บาท 15. การจัดทำผังเมืองรวม 65,380,000 บาท 16. แผนปฏิบัติการสิ่งแวดล้อม 1,709,370,000 บาท 17. แก้ปัญหาน้ำนครราชสีมา 526,020,000 บาท 18. พัฒนา อปท. กรณีเร่งด่วน 12,000,000,000 บาท 19. ยุทธศาสตร์ อปท. 2,999,950,000 บาท 3. โครงการระบบบัญชีคอมพิวเตอร์กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นกระทรวงมหาดไทย
คณะกรรมการพิจารณากลั่นกรองโครงการใช้เงินกู้เพื่อปรับโครงการสร้างทางเศรษฐกิจได้จัดสรรเงินกู้ SAL ให้แก่กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น (สถ.)เพื่อดำเนินการโครงการระบบบัญชีคอมพิวเตอร์ของ อปท.จำนวน 91,496,000 บาท โดยเป็นค่าใช้จ่ายด้าน Hardware และด้าน Software ระบบบัญชี ดังนี้
(1) งาน Software ระบบบัญชี ได้ว่าจ้างสถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นที่ปรึกษา เพื่อพัฒนาโปรแกรม Software ระบบบัญชีจำนวนเงิน 50,000,000 บาท
(2) งาน Hardware ระบบบัญชี ได้จัดซื้อครุภัณฑ์คอมพิวเตอร์ เครื่องแม่ข่ายคอมพิวเตอร์ เครื่องลูกข่ายระบบคอมพิวเตอร์ ระบบเครือข่าย และระบบ Call Center จำนวนเงิน 40,550,000 บาท
สถ. จัดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการการบันทึกบัญชีและจัดทำรายงานการเงินด้วยระบบบัญชีคอมพิวเตอร์ของ อปท. ( e — LAAS ) ให้กับเจ้าหน้าที่ของ อปท. ประกอบด้วยหัวหน้าหน่วยงานคลัง และเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องในหน่วยงานของ อปท.หัวหน้ากลุ่มงานการเงินและบัญชีและการตรวจสอบ และท้องถิ่นอำเภอ เริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคม 2550 เสร็จสิ้นทุกแห่งในเดือนกันยายน 2551
นอกจากนี้ ได้กำหนดให้ อปท. ซึ่งเข้ารับการฝึกอบรมแล้วดำเนินการนำฐานข้อมูลแต่ละระบบเข้าสู่ระบบบัญชีคอมพิวเตอร์ภายใน 2 สัปดาห์ นับตั้งแต่วันที่เดินทางกลับจากการฝึกอบรม
ขณะนี้กรมบัญชีกลางมีนโยบายพัฒนาระบบ GFMIS เพื่อรองรับการเบิกจ่ายเงินของอปท. (GFMIS — GL) และรองรับงบประมาณจังหวัดโดย การเชื่อมโยงระบบ GFMIS — GL กับ e — LAAS
สำหรับในดำเนินการจัดสรรเงินอุดหนุนทั่วไปให้ อปท. มีดังนี้
1. สถ. แจ้งยอดการจัดสรรเงินอุดหนุนให้แต่ละ อปท.
2. อปท. จะต้องดำเนินการจัดซื้อ / จัดจ้าง และเบิกจ่ายเงินในระบบ e — LAAS ตามวงเงินที่ได้จัดสรร และเบิกเงินจนกว่าจะหมดยอดเงินจัดสรร
3. สถ. จะแจ้งเลขที่บัญชีเงินฝากของธนาคารกรุงไทยที่ อปท. รับโอนเงินภาษีจัดสรรจาก สถ.ให้กรมบัญชีกลาง และกรมบัญชีกลางจะโอนเข้าบัญชีเงินฝากดังกล่าว
4. ในระยะเริ่มแรกจะดำเนินการใน 3 จังหวัดนำร่อง คือ จังหวัดพิษณุโลก ฉะเชิงเทราและสมุทรสาคร และจะดำเนินการให้ครบทุกจังหวัดในปี 2553
ตามเจตนารมณ์ของกฎหมายรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ต้องการให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีความเป็นอิสระและสามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนในท้องถิ่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ และให้มีกฎหมายกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจ เพื่อกำหนดการแบ่งอำนาจหน้าที่และการจัดสรรรายได้ระหว่างราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาคกับ อปท. และระหว่าง อปท. ด้วยกันเองโดยคำนึงถึงการกระจายอำนาจที่เพิ่มขึ้นตามระดับความสามารถของ อปท. แต่ละรูปแบบรวมทั้งกำหนดระบบการตรวจสอบประเมินผล โดยมีคณะกรรมการซึ่งประกอบด้วยผู้แทนหน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง ผู้แทน อปท. และผู้ทรงคุณวุฒิ โดยมีจำนวนเท่ากัน เป็นผู้ดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย
ดังนั้น คณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้มีคำสั่งที่ 13/2550 ลงวันที่ 19 ธันวาคม 2550 และมีคำสั่งที่ 4/2551 เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2551 แต่งตั้งคณะอนุกรรมการอำนวยการปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีรองศาสตราจารย์นรนิติ เศรษฐบุตร เป็นประธานทำหน้าที่ศึกษารูปแบบของการกระจายอำนาจให้แก่ อปท. ให้สอดคล้องกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และนำเสนอรูปแบบของกฎหมายแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่ อปท. กฎหมายรายได้ท้องถิ่น กฎหมายจัดตั้ง กฎหมายเกี่ยวกับราชการส่วนท้องถิ่น และกฎหมายอื่น เป็นต้น และแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจฯ 4 คณะ ได้แก่
1. คณะอนุกรรมการเฉพาะกิจเพื่อศึกษารูปแบบและแนวทางการกระจายอำนาจให้แก่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีศาสตราจารย์ชาติชาย ณ เชียงใหม่ เป็นประธาน ทำหน้าที่ศึกษาและนำเสนอแนวทางในการกำหนดความสัมพันธ์ในการแบ่งอำนาจหน้าที่
2. คณะอนุกรรมการเฉพาะกิจศึกษาและพัฒนาระบบรายได้ท้องถิ่น มีศาสตราจารย์พิเศษสมชัย ฤชุพันธุ์ เป็นประธาน ทำหน้าที่ศึกษาวิเคราะห์รูปแบบรายได้ที่เหมาะสมของอปท. แนวทางปรับปรุงรายได้ของ อปท. และโครงสร้างของกฎหมายรายได้ท้องถิ่น
3. คณะอนุกรรมการเฉพาะกิจศึกษาและพัฒนาระบบบริหารงานบุคคลของข้าราชการส่วนท้องถิ่น มีศาสตราจารย์สมคิด เลิศไพฑูรย์ เป็นประธาน ทำหน้าที่ศึกษารูปแบบของระบบการบริหารงานบุคคลที่สอดคล้องกับรูปแบบโครงสร้างของการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของไทย และเสนอโครงสร้างของกฎหมายเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของข้าราชการส่วนท้องถิ่น
4. คณะอนุกรรมการเฉพาะกิจศึกษารูปแบบองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีรองศาสตราจารย์วุฒิสาร ตันไชย เป็นประธาน ทำหน้าที่ ศึกษารูปแบบ โครงสร้าง อำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และเสนอแนวทางการมีส่วนร่วมของประชาชนตามแนวทางที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยกำหนด
4.1 การปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
เนื่องจากตามกฎหมายรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ให้จัดทำกฎหมายว่าด้วยการกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กฎหมายรายได้ท้องถิ่น กฎหมายจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กฎหมายเกี่ยวกับข้าราชการส่วนท้องถิ่น และกฎหมายอื่นตามหมวด 14 การปกครองส่วนท้องถิ่นให้แล้วเสร็จภายในสองปีนับแต่วันที่แถลงนโยบายต่อรัฐสภา
คณะอนุกรรมการอำนวยการปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยรองศาสตราจารย์นรนิติ เศรษฐบุตร เป็นประธานซึ่งมีหน้าที่คอยกำกับดูแลเนื้อหารูปแบบและความสัมพันธ์ของกฎหมายให้มีความเชื่อมโยงกับกฏหมายกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจ จึงได้มีนโยบายให้คณะอนุกรรมการเฉพาะกิจฯ ทั้ง 4 คณะ เร่งดำเนินการจัดทำร่างกฎหมายตามที่ได้มอบหมายให้แล้วเสร็จกำหนดภายใน 1 ปี นับแต่วันที่รัฐบาลแถลงนโยบาย เพื่อจะได้นำเสนอต่อคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อพิจารณาดำเนินการต่อไปซึ่งในการดำเนินการจัดทำร่างกฎหมายดังกล่าว ขณะนี้คณะอนุกรรมการเฉพาะกิจฯ ทั้ง 4 คณะได้ยกร่างกฎหมายเสร็จเรียบร้อย และอยู่ระหว่างการพิจารณาในรายละเอียดเรียงตามแต่ละมาตราของร่างกฎหมายของคณะอนุกรรมการอำนวยการฯ ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จก่อนวันที่ครบกำหนด ในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2552
4.2 ร่างกฎหมายรายได้ท้องถิ่น
คณะอนุกรรมการเฉพาะกิจศึกษาและพัฒนาระบบรายได้ท้องถิ่นในคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดย ศ. พิเศษ สมชัย ฤชุพันธุ์ หนึ่งในสี่ของคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจฯ ซึ่งได้รับมอบหมายให้ศึกษาวิเคราะห์รูปแบบรายได้และโครงสร้างของกฎหมายรายได้ท้องถิ่น เพื่อการยกร่างกฎหมายรายได้ท้องถิ่นให้เป็นไปตามข้อกำหนด ของกฎหมายรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ซึ่งมีสาระสำคัญของโครงสร้างของกฎหมายแบ่งเป็น 5 หมวด ประกอบด้วย หมวด 1 โครงสร้างรายได้ของ อปท. หมวด 2 อำนาจหน้าที่ในการจัดเก็บรายได้ หมวด 3 คณะกรรมการรายได้ อปท. หมวด 4 การจัดสรรรายได้ให้แก่ อปท. และหมวด 5 การคำนวณสัดส่วนรายได้ของ อปท.
ขณะนี้ได้นำเสนอร่างกฎหมายรายได้ท้องถิ่น เพื่อคณะอนุกรรมการอำนวยการปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นพิจารณาในเบื้องต้นในคราวประชุมคณะอนุกรรมการอำนวยการปรับปรุงกฎหมายฯ ครั้งที่1/2551 เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2551 และจะได้มีการพิจารณาทบทวนอีกครั้งในวันที่ 23 มกราคม 2552
ซึ่งล่าสุด คณะอนุกรรมการอำนวยการฯ คณะอนุกรรมการเฉพาะกิจศึกษาและพัฒนาระบบรายได้ท้องถิ่น ได้ทำการแก้ไขในรายละเอียดของร่างกฎหมายว่าด้วยรายได้ท้องถิ่นตามข้อสังเกตของคณะอนุกรรมการอำนวยการปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และจะได้นำเสนอร่างกฎหมายที่ปรับปรุงแล้วตามข้อเสนอแนะในการประชุมครั้งต่อไป
จัดทำโดย : ส่วนนโยบายการคลังท้องถิ่น สำนักนโยบายการคลัง สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
เดือนมกราคม 2552
ที่มา : Macroeconomic Analysis Group : Fiscal Policy Office
Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th