จากเหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมือง ทำให้กลุ่มผู้ประท้วงปิดสนามบินสุวรรณภูมิ ส่งผลต่อ 1) จิตวิทยาของนักท่องเที่ยวด้านความเชื่อมั่น ทำให้คาดว่าจะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติลดลงในช่วงดังกล่าวทันทีประมาณร้อยละ 30 - 40 จากกรณีฐาน 2) กระทบต่อการส่งออก เนื่องจาก สินค้าที่ขนส่งทางอากาศอาจตกค้างอยู่ที่สนามบิน
สศค. ได้ทำการประเมินผลกระทบต่อเศรษฐกิจมหภาค โดยใช้แบบจำลองเศรษฐกิจมหภาค พบว่าหากเหตุการณ์ปกติ ในกรณีฐานจะทำให้มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้าประเทศ 14.5 ล้านคน ใกล้เคียงกับปี2550 ต่อปี ซึ่งจะนำรายได้เข้าสู่ประเทศประมาณ ประมาณ 610 พันล้านบาท ขณะที่ในกรณีปิดสนามบินสุวรรณภูมิ จะทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ หายไปจากกรณีฐานประมาณ -0.3 ล้านคน สูญเสียรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติ -15.3 พันล้านบาท ซึ่งจะทำให้ดุลบัญชีเดินสะพัดลดลงคิดเป็นร้อยละ -0.08 ต่อ GDP
อย่างไรก็ตาม สศค.ทำการวิเคราะห์ภาวะการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวต่างชาติในปี 2552 ใน 3 กรณี 1) กรณีต่ำ (กรณีที่การท่องเที่ยวมีการฟื้นตัวไม่เต็มที่) จะมีนักท่องเที่ยวจากต่างชาติเข้ามา 11.8 ล้านคน คิดเป็นอัตราการหดตัวที่ร้อยละ -15.9 ต่อปี โดยจะนำรายได้เข้าสู่ประเทศทั้งสิ้น 463.3 พันล้านบาท 2) กรณีกลาง (กรณีที่การท่องเที่ยวมีการฟื้นตัวเกือบเต็มที่) จะมีนักท่องเที่ยวจากต่างชาติเข้ามา 12.8 ล้านคน คิดเป็นอัตราการหดตัวที่ร้อยละ -8.8 ต่อปี โดยจะนำรายได้เข้าสู่ประเทศทั้งสิ้น 503.5 พันล้านบาท และ 3) กรณีสูง (กรณีที่การท่องเที่ยวมีการฟื้นตัวอย่างเต็มที่) จะมีนักท่องเที่ยวจากต่างชาติเข้ามา 13.8 ล้านคน คิดเป็นอัตราการหดตัวที่ร้อยละ -2.0 ต่อปี โดยจะนำรายได้เข้าสู่ประเทศทั้งสิ้น 542.3 พันล้าน
ช่วงระหว่างปี 2549 — 2550 เศรษฐกิจไทยประสบภาวการณ์ชะลอตัวของการใช้จ่ายภายในประเทศ ในขณะที่ได้รับแรงขับเคลื่อนจากภาคการส่งออกที่สามารถขยายตัวได้ดี ขณะที่ภาคการท่องเที่ยวต่างชาติถือเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจ โดยในปี 2550 รายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติตามระบบการคำนวณของ ททท. (TAT basis) อยู่ที่ 547 พันล้านบาท ขยายตัวที่ร้อยละ 13.6 ต่อปี ถือเป็นสัดส่วนกว่าร้อยละ 50 ของการส่งออกบริการ(Export of service) ของประเทศไทย และคิดเป็นสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 6.0 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ(GDP) ขณะที่สศม.คาดการณ์ก่อนปิดสนามบินสุวรรณภูมิว่าในปี 2551 จะสามารถนำรายได้เข้าสู่ประเทศได้ประมาณ 610 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 11.4 ต่อปี ด้วยจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ 14.5 ล้านคน คิดเป็นอัตราการขยายตัวร้อยละ 0.4 ต่อปี2
- ด้านอุปทาน
ภาคการท่องเที่ยวมีความเชื่อมโยงการผลิตสาขาคมนาคมขนส่ง และสาขาโรงแรมและภัตตาคาร ซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ10.1 และ 3.7 ของ GDP ตามลำดับ โดยมีอัตราการเติบโตร้อยละ 3.5 และ 5.1 ต่อปี ในช่วง 3 ไตรมาสแรกของปี 2551 และเป็นส่วนสนับสนุนสำคัญที่ทำให้เศรษฐกิจไทยใน 3 ไตรมาสแรกขยายตัวได้ร้อยละ 5.1 ต่อปี
- ด้านอุปสงค์
ภาคการท่องเที่ยวจากต่างประเทศหรือการส่งออกบริการ เป็นองค์ประกอบสำคัญใน GDP คือมีสัดส่วนร้อยละ 6.5 ในGDP โดยมีอัตราการเติบโตถึงร้อยละ 7.3 ต่อปี ใน 3 ไตรมาสแรกปี 2551 สอดคล้องกับจำนวนนักท่องเที่ยวจากต่างชาติที่เข้ามามากเป็นประวัติการณ์ในช่วง 10 เดือนแรกของปีถึง 12.4 ล้านคน หรือขยายตัวร้อยละ 6.9 ต่อปี ส่วนหนึ่งน่าจะเป็นความนิยมจากการที่กรุงเทพมหานครซึ่งเป็นเมืองหลวงของประเทศได้รับเลือกให้เป็นเมืองท่องเที่ยวที่ดีที่สุดในโลกในปี 2551จากการสำรวจความเห็นผู้อ่านเกี่ยวกับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวประจำปี 2551 ของนิตยสาร Travel and Leisure
เดือนตุลาคมมีนักท่องเที่ยวเข้ามา 1.1 ล้านคน คิดเป็นอัตราการหดตัว -6.4 ต่อปี จากเดือนก่อนหน้าที่มีนักท่องเที่ยวเข้ามา 0.9 ล้านคน หดตัวร้อยละ -15.9 ต่อปี ซึ่งทั้ง 2 เดือน ดังกล่าว เป็นการหดตัวในระดับที่ดีกว่าที่คาดการณ์ไว้ว่าจะหดตัวประมาณร้อยละ -20 ต่อปี ช่วง 10 เดือนแรก มีจำนวนนักท่องเที่ยวรวม 12.4 ล้านคน ขยายตัวร้อยละ 6.9 ต่อปี
สศค.ทำการวิเคราะห์ผลกระทบจากการปิดสนามบินสุวรรณภูมิ ณ วันที่ 25 พฤศจิกายน 2551 ต่อการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวต่างชาติ ในช่วง 2 เดือนที่เหลือของปี 2551 ในด้านผลกระทบต่อจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติและผลกระทบต่อรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติ ดังนี้
3.1 กรณีฐาน
ในช่วง 2 เดือนสุดท้ายของปี สศค. คาดการณ์ว่า จะมีนักท่องเที่ยวจากต่างชาติเดินทางเข้าประเทศไทย 2.2 ล้านคนคิดเป็นอัตราการหดตัวร้อยละ -25.5 ต่อปี เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากเหตุการณ์ความวุ่นวายทางการเมืองที่เกิดขึ้นตั้งแต่เดือน ส.ค. จนถึง ต.ค. ทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวเริ่มลดลงอย่างเห็นได้ชัด และในช่วง 2 เดือนสุดท้ายถือเป็นช่วงฤดูท่องเที่ยวของไทย รวมทั้งปี 2551 จะมีนักท่องเที่ยวทั้งสิ้น 14.5 ล้านคน คิดเป็นอัตราการขยายตัวร้อยละ 0.4 ต่อปี และคาดว่าจะมีรายได้เป็นเงินบาทเข้าประเทศประมาณ 610 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 11.4 ต่อปี(ตามระบบการคำนวณของ ททท. TAT basis) จากปีก่อน หรือคิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 6.1 ต่อปี(ตามระบบการคำนวณแบบดุลการชำระเงิน BOP Basis)
3.2 กรณีปิดสุวรรณภูมิ
ในกรณีนี้ สศค. ตั้งข้อสมมติฐานว่า ตั้งแต่เดือน พ.ย. จนถึง ธ.ค. จะมีนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศที่ยกเลิกการเดินทางมาเที่ยวประเทศไทยเดือนละประมาณ 30-40% ของกรณีปกติผลกระทบทางจำนวน: ส่งผลให้ในช่วง 2 เดือนสุดท้ายปี 2551 จะมีนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศเข้ามา 1.8 ล้านคนน้อยกว่ากรณีฐาน -0.3 ล้านคน รวมทั้งปี 2551 จะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติทั้งสิ้น 14.2 ล้านคน คิดเป็นอัตราการขยายตัวร้อยละ -1.8 ต่อปี เทียบกับปีก่อนที่มีนักท่องเที่ยวเกือบ 14.5 ล้านคน ขยายตัวร้อยละ 4.7 ต่อปี
สศค. ได้ทำการประเมินผลกระทบต่อเศรษฐกิจมหภาค โดยใช้แบบจำลองเศรษฐกิจมหภาค พบว่าหากไม่เกิดเหตุการณ์ความไม่สงบขึ้นอีก ในกรณีฐานจะทำให้มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้าประเทศ 14.5 ล้านคน คิดเป็นอัตราการขยายตัวร้อยละ 0.4 ต่อปี ซึ่งจะนำรายได้เข้าสู่ประเทศประมาณ 610 พันล้านบาท หรือ 17,429 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่ในกรณีปิดสุวรรณภูมิ จะทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ หายไปจากกรณีฐาน —0.3 ล้านคน GDP ลดลงจากกรณีฐานร้อยละ -0.4 ต่อปี สูญเสียรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติ -429 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งจะทำให้ดุลบัญชีเดินสะพัดลดลงคิดเป็นร้อยละ -0.08 ต่อ GDP
อนึ่ง ผลกระทบในกรณีข้างต้นเป็นการประเมิน 12 เดือนข้างหน้าหากเหตุการณ์ยังไม่ปกติ แต่ในสถานการณ์จริงนั้นใกล้จะจบปี 2551 แล้ว ดังนั้นผลกระทบต่อปี 2551 มีน้อยมาก
สศค.ทำการวิเคราะห์ภาวะการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวต่างชาติในปี 2552 ด้านผลกระทบต่อจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติและผลกระทบต่อรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติ ดังนี้
2552 ทั้งปี 2552 Q1 Q2 Q3 Q4 กรณีต่ำ 2.60 2.87 3.01 3.34 11.83 % yoy -40.0 -20.0 -10.0 20.0 -15.88 กรณีกลาง 3.04 3.05 3.11 3.62 12.82 % yoy -30.0 -15.0 -7.0 30.0 -8.82 กรณีสูง 3.47 3.23 3.18 3.89 13.78 % yoy -20.0 -10.0 -5.0 40.0 -5.00 สมมติฐานจำนวนรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติ รายไตรมาส ปี 2552 (หน่วย: พันล้านบาท) 2552 ทั้งปี 2552 Q1 Q2 Q3 Q4 กรณีต่ำ 114.15 103.56 116.27 129.35 463.33 % yoy -40.0 -20.0 -10.0 20.1 -16.76 กรณีกลาง 133.18 110.04 120.14 140.13 503.48 % yoy -30.0 -15.0 -7.0 30.1 -9.54 กรณีสูง 152.20 116.51 122.73 150.10 542.34 % yoy -20.0 -10.0 -5.0 40.1 -2.56 หมายเหตุ: 1. คำนวณตามระบบดุลการชำระเงิน BOP Basis 2. คำนวณอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นจากปี 2551 เพียงเล็กน้อย 5.1 กรณีต่ำ (กรณีที่การท่องเที่ยวมีการฟื้นตัวไม่เต็มที่)
ในกรณีนี้ สศค. ตั้งข้อสมมติฐานว่า ในไตรมาสที่ 1 ไตรมาสที่ 2 และไตรมาสที่ 3 จะมีอัตราการขยายตัวของจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติหดตัวลงร้อยละ -40.0 ต่อปี ร้อยละ -20.0 ต่อปี และร้อยละ -10.0 ต่อปี ตามลำดับ ต่อมาสถานการณ์ปรับตัวดีขึ้นแต่ยังฟื้นตัวไม่เต็มที่ ทำให้ในไตรมาสสุดท้ายของปี 2552 จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติมีอัตราการขยายตัวร้อยละ 20.0 ต่อปี ส่งผลทำให้ทั้งปี 2552 จะมีนักท่องเที่ยวจากต่างชาติเข้ามา 11.8 ล้านคน คิดเป็นอัตราการหดตัวที่ร้อยละ -15.9 ต่อปี โดยจะนำรายได้เข้าสู่ประเทศทั้งสิ้น 463.3 พันล้านบาท คิดเป็นอัตราการหดตัวร้อยละ -16.8 ต่อปี
ในกรณีนี้ สศค. ตั้งข้อสมมติฐานว่า ในไตรมาสที่ 1 ไตรมาสที่ 2 และไตรมาสที่ 3 จะมีอัตราการขยายตัวของจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติหดตัวลงร้อยละ -30.0 ต่อปี ร้อยละ -15.0 ต่อปี และร้อยละ -7.0 ต่อปี ตามลำดับ ต่อมาสถานการณ์ปรับตัวดีขึ้นโดยมีการฟื้นตัวเกือบเต็มที่ ทำให้ในไตรมาสสุดท้ายของปี 2552 จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติมีอัตราการขยายตัวร้อยละ 30.0 ต่อปี ส่งผลทำให้ทั้งปี 2552 จะมีนักท่องเที่ยวจากต่างชาติเข้ามา 12.8 ล้านคน คิดเป็นอัตราการหดตัวที่ร้อยละ -8.8 ต่อปี โดยจะนำรายได้เข้าสู่ประเทศทั้งสิ้น 503.5 พันล้านบาท คิดเป็นอัตราการหดตัวร้อยละ -9.5 ต่อปี
ในกรณีนี้ สศค. ตั้งข้อสมมติฐานว่า ในไตรมาสที่ 1 ไตรมาสที่ 2 และไตรมาสที่ 3 จะมีอัตราการขยายตัวของจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติหดตัวลงร้อยละ -20.0 ต่อปี ร้อยละ -10.0 ต่อปี และร้อยละ -5.0 ต่อปี ตามลำดับ ต่อมาสถานการณ์ปรับตัวดีขึ้นโดยมีการฟื้นตัวอย่างเต็มที่ ทำให้ในไตรมาสสุดท้ายของปี 2552 จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติมีอัตราการขยายตัวร้อยละ40.0 ต่อปี ส่งผลทำให้ทั้งปี 2552 จะมีนักท่องเที่ยวจากต่างชาติเข้ามา 13.8 ล้านคน คิดเป็นอัตราการหดตัวที่ร้อยละ -5.0 ต่อปี โดยจะนำรายได้เข้าสู่ประเทศทั้งสิ้น 542.3 พันล้านบาท คิดเป็นอัตราการหดตัวร้อยละ -2.6 ต่อปี
ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office
Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th