รายงานสถานการณ์ด้านเศรษฐกิจ การคลัง และการเงินของสหราชอาณาจักรและยุโรป มีนาคม 2552 ฉบับที่ 1/มี.ค.2552

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday March 10, 2009 17:41 —กระทรวงการคลัง

หัวข้อการเจรจาด้านเศรษฐกิจการเงินและการคลัง การประชุมกลุ่ม G20 การประชุมสุดยอดผู้นำกลุ่มประเทศพัฒนา

การประชุมสุดยอดผู้นำกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วและกำลังพัฒนา 20 ประเทศ รวมทั้งประธานกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจ และผู้บริหารของสถาบันการเงินระหว่างประเทศ หรือที่เรียกว่า G20 ที่จะมีขึ้นในวันที่ 2 เมษายน 2009 ที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ โดยการประชุมมมีวัตถุประสงคค์เพื่อบรรลุคววามตกลงระหว่างประเทศศ (international agreement) ในเรื่องที่เกี่ยวกับ

  • ร่วมมือกันดำเนินการเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจโลก (cordinated actions to revive the global economy) เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและการจ้างงาน
  • ปฎิรูปและปรับปรุงความเข้มแข็งให้กับภาคการเงินและระบบการเงิน (reformiing and improvinng financial sectors andd systems) เพื่อให้มีความคืบหน้าในการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการวอชิงตัน (Washington Action Plan) เพื่อสร้างระบบการเงินที่ดีขึ้น
  • หลักการในการปฏิรูปสถาบันการเงินระหว่างประเทศศ (principles for reform oof international financial institutions (IFIs) เช่น กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) Financial Stability Forum (FSF) และธนาคารโลก (World Bank)

ในการดำเนินการตามแผนการฟื้นฟูเสถียรภาพของเศรษฐกิจโลกจะต้องไม่ส่งผลกระทบด้านลบกับสิ่งแวดล้อมและประเทศยากจน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายข้างต้น ประเทศเจ้าภาพจึงได้กำหนดหัวข้อกการประชุมในเบื้องต้นประกอบด้วย

  • Washington Summit follow-up เป็นการติดตามความคืบหน้าการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการ (Action Plan) ตามที่ที่ประชุมเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2008 ที่กรุงวอชิงตัน ดีซี ได้ให้ความเห็นชอบถึงหลักการร่วมกันในการปฏิรูปตลาดการเงิน (Common Principles for Reform of Financial Markets) ใน 5 ด้านหลัก ได้แก่
  • การเสริมสร้างความเข้มแข็งในด้านความโปร่งใสและความน่าเชื่อถือของตลาดการเงิน (strengthening Transparency and Accountability) ไม่ว่าจะเป็นการยกระดับการเปิดเผยข้อมูลของผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่มีความซับซ้อน (complex financial products) หรือการดำเนินการเพื่อให้การเปิดเผยข้อมูลฐานะการเงินของสถาบันการเงินมีความครบถ้วนมีความถูกต้องของข้อมูล เป็นต้น
  • ยกระดับการกำกับดูแลให้มีความเหมาะสม (Enhancing Sound Regulation) โดยจะมีการปรับปรุงการกำกับ การตรวสอบ และการบริหารจัดการความเสี่ยง เพื่อให้มั่นใจได้ว่าบรรดาตลาดการเงิน ผลิตภัณฑ์ทางการเงิน และผู้มีส่วนร่วมในตลาดการเงินจะได้รับการกำกับหรือตรวจสอบอย่างเหมาะสมกับสถานการณ์ (as appropriate to their circumstances)
  • ส่งเสริมความน่าเชื่อถือศรัทธาของตลาดการเงินโลก (Promoting Integrity in Financial Markets) โดยการให้ความคุ้มครองแก่นักลงทุนและผู้บริโภค การดำเนินการเพื่อหลีกเลี่ยงความขัดกันของผลประโยชน์ การป้องกันการชักนำตลาดอย่างผิดกฎหมาย (preventing illegal market manipulation) หรือการฉ้อโกง เป็นต้น
  • กระชับความร่วมมือระหว่างประเทศ (Reinforcing International Cooperation) โดยเรียกร้องให้หน่วยงานกำกับดูแลสถาบันการเงินใน
ระดับประเทศและระดับภูมิภาคจัดทำหลักเกณฑ์การกำกับและมาตรการต่างๆ ในทิศทางที่สอดคล้องกัน (in a consistent manners) หน่วยงานกำกับยังควรยกระดับการประสานและความร่วมมือให้ครอบคลุมทุกภาคส่วนของตลาดการเงินซึ่งก็รวมถึงในส่วนที่เกี่ยวกับการเคลื่อนย้ายเงินทุนข้ามพรมแดน (cross-border capital flows) และการเพิ่มความร่วมมือระหว่างกันในการป้องกัน การจัดการ และการแก้ปัญหาวิกฤต
  • การปฎิรูปองค์กรการเงินระหว่างประเทศ (Reforming International Financial Institutions) โดยผูกพันที่จะมีการปฏิรูปองค์กรการเงินที่เกิดขึ้นตามข้อตกลง Bretton Woods เพื่อให้สะท้อนถึงการเปลี่ยนแปลงขั้วอำนาจของเศรษฐกิจโลกอย่างพอเพียง (economic weights) ในการเพิ่มความชอบธรรมและความมีประสิทธิผล (to increase their legitimacy and effectiveness) โดยประเทศดาวรุ่งและประเทศกำลังพัฒนาควรมีสิทธิมีเสียงและมีตัวแทนมากขึ้น การเพิ่มประเทศสมาชิกของเวที Financial Stability Forum (FSF) และ IMF ควรร่วมมือกับ FSF และองค์กรที่เกี่ยวข้องในการชี้ถึงจุดอ่อน การคาดการณ์ล่วงหน้าถึงความน่าจะเป็นของปัญหา และการดำเนินการอย่างทันทีเพื่อให้สามารถเล่นบทบาทหลักในการสนองตอบต่อวิกฤต
  • Global economic challenges ความท้าทายจากวิกฤตเศรษฐกิจครั้งนี้มีความรุนแรงเกินกว่าความสามารถของแต่ละประเทศในการดำเนินมาตรการเพื่อแก้ปัญหาเนื่องจากขนาดและขอบเขตของวิกฤต (scale and scope) การแก้ปัญหาจึงต้องดำเนินการร่วมกันและอยู่บนพื้นฐานของกรอบแนวทางเดียวกัน (common framework) ซึ่งการประชุม London Summit จะเป็นช่วงเวลาที่สำคัญที่สุดในการดำเดินการร่วมมือกันระหว่างประเทศเพื่อ
  • รักษาเสถียรภาพของระบบการเงินโลก (stabilise the world's financial system)
  • บริหารจัดการให้เศรษฐกิจฟื้นตัวอย่างยั่งยืน (manage a sustainable recovery)
  • วางโครงสร้างฟื้นฐานสำหรับรองรับการเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบบเศรษฐกิจที่ก่อมลพิษทางอากาศต่ำ (low carbon economy)
  • บริหารจัดการเพื่อให้โลกาภิวัตน์เป็นเสมือนแรงผลักดันไปสู่สิ่งที่ดีขึ้นในยุคโลกาภิวัตน์ (global age)
  • Financial stability เนื่องจากวิกฤตการเงินโลกในครั้งนี้ส่งผลกระทบไปทุกประเทศและทุกครอบครัวทั่วโลก รัฐบาลของแต่ละประเทศก็ได้ดำเนินมาตรการเพื่อฟื้นความเชื่อมั่น (confidence) ในภาคการเงินไม่ว่าจะเป็นการค้ำประกันการกู้ยืมเงินของสถาบันการเงิน (guarantees of bank borrowing) การอัดฉีดสภาพคล่องให้กับระบบสถาบันการเงิน (provision of liquidity to banks) และการให้ความช่วยเหลือเพิ่มเงินกองทุนให้กับสถาบันการเงิน (capital injections) เป็นต้น ซึ่งมาตรการเหล่านี้กำลังทยอยเห็นผล

อย่างไรก็ดี การฟื้นความศรัทธาและความเชื่อมั่น (restore trust and confidence) ของตลาดการเงินและการหลีกเลี่ยงวิกฤตในอนาคต จำเป็นที่ตลาดการเงินจะต้องมีความโปร่งใสมากกว่านี้ (greater transparency) และความร่วมมือระหว่างประเทศในการกำกับดูแลภาคการเงินต้องได้รับการยกระดับขึ้น (enhance cross-border cooperation) ซึ่งในการประชุม Washington Summit ก็ได้จัดทำแผนปฏิบัติการเพื่อฟื้นฟูภาคการเงิน (Action Plan on financial sector reform) ในระยะสั้นและระยะกลางครอบคลุมใน 5 ประเด็นหลัก ได้แก่

  • ความโปร่งใส (transparency)
  • ความซื่อตรงของระบบการเงิน (integrity)
  • ความรับผิดชอบในการบริหารจัดการความเสี่ยง (responsibility of management for risk)
  • แนวปฏิบัติที่เหมาะสมในการกำกับดูแลสถาบันการเงิน (sound practices in banking cooperation)
  • ความร่วมมือระหว่างประเทศในการกำกับดูแล (good cross-border cooperation)

ในการประชุม London Summit ไม่เพียงถือเป็นโอกาสสำคัญที่จะได้ทบทวนการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการ (implementation) ที่ได้มีการตกลงกันไว้แล้ว แต่ยังเป็นโอกาสในการเสนอแนวทางเพิ่มเติมขึ้นอีก

  • Growth and jobs ในการแก้ไขปัญหาภาวะเศรษฐกิจตกต่ำที่รุนแรงที่สุดนับจากสงครามโลกครั้งที่ 2 รวมถึงการรักษาเสถียรภาพของเศรษฐกิจโลก ประเทศต่างๆ ต้องร่วมมือกันในการ
  • รักษาการจ้างงานไว้
  • ฟื้นฟูความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจและการเงิน
  • รักษาระบบเศรษฐกิจแบบเปิด
  • กระตุ้นเพื่อให้เศรษฐกิจกลับไปเติบโตอย่างเข้มแข็งและยั่งยืน

ในการแก้ปัญหาในระยะสั้นจะต้องไม่ละเลยถึงความยั่งยืนในระยะยาว โดยการดำเนินการต่างๆ ควรเป็นการส่งเสริมการพัฒนาและการเติบโตอย่างยั่งยืนในอนาคต รวมถึงสอดคล้องกับเป้าหมายระยะยาว (long term objectives) เช่น การเร่งรัดเพื่อการเปลี่ยนผ่านไปสู่การมีระบบเศรษฐกิจที่ก่ออากาศเสียต่ำ (low carbon economy) การดำรงไว้และปรับปรุงการมีส่วนร่วมของตลาดแรงงาน (labour market participation) และการเพิ่มศักยภาพของผลิตภาพของการผลิตของเศรษฐกิจ (productive potential of the economy) ด้วยการลงทุนในด้านทักษะ นวัตกรรม และโครงสร้างพื้นฐาน เป็นต้น

  • Reform international financial institutions เนื่องจากทั้ง IMF และ World Bank ถูกออกแบบและสถาปนาขึ้นตั้งแต่ปี 1945 จึงจำเป็นต้องได้รับการปฏิรูปและได้รับทรัพยากรเพิ่มเติม (need further reform and additional resources) เพื่อให้สามารถรองรับกับปัญหาในโลกปัจจุบัน ซึ่งใน
การประชุม Washington Summit ได้มีความตกลงในสาระสำคัญๆ ไปแล้วไม่ว่าจะเป็นการขยายสมาชิกใน FSF ให้กว้างขึ้น การดำเนินการเพื่อให้ความร่วมมือระหว่างกันของ FSF และ IMF มีมากขึ้น และการให้ความเห็นชอบถึงความจำเป็นที่ต้องมีการปฏิรูป IFIs เป็นต้น

ในการประชุมครั้งนี้จะมีการต่อยอดจากการประชุมครั้งที่แล้วในประเด็นที่เกี่ยวกับการทบทวนระบบการกำกับดูแลการเงินของโลก (revised system of global financial governance) เพื่อให้สถาบันการเงินเหล่านี้สามารถดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายดังต่อไปนี้

  • การมีระบบเตือนภัยการเงินโลก (global early warning system) เพื่อให้สามารถทราบถึงความเสี่ยงที่จะเกิดในอนาคตและแนวทางบรรเทาปัญหาจากความเสี่ยงดังกล่าว
  • การมีมาตรฐานในการกำกับและควบคุมที่เป็นที่ยอมรับของทุกประเทศทั่วโลก (globally accepted standards of supervision and regulation)
  • การมีระบบที่จะกำกับดูแลข้ามประเทศอย่างแท้จริงสำหรับสถาบันการเงินที่ดำเนินธุรกิจในระดับสากล (effective cross-border supervision of
global firms)
  • การมีกลไกเพื่อความร่วมมือและดำเนินการอย่างพร้อมเพรียงกันในยามวิกฤติ (mechanisms for cooperation and concerted action in a crisis)

นอกจากนี้ สถาบันการเงินระหว่างประเทศไม่ว่าจะเป็น IMF World Bank และ Regional Development Banks (RDBs) ยังต้องสามารถดำเนินการอย่างฉับพลันและอย่างมีประสิทธิภาพในการกระตุ้นการเติบโตของเศรษฐกิจและการคุ้มครองประเทศยากจนและประเทศที่เสี่ยงต่อการได้รับผลกระทบที่รุนแรงจากวิกฤตเศรษฐกิจ (to protect vulnerable economies)

ความเห็น

การประชุมกลุ่ม G20 ที่กรุงลอนดอนสาระส่วนใหญ่จะเป็นการติดตามและรายงานความก้าวหน้าของการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการเพื่อการปฏิรูปตลาดการเงินที่ที่ประชุมได้ให้ความเห็นชอบไปแล้วในการประชุม G20 ที่กรุงวอชิงตัน ดีซี เมื่อเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว หรือ Washington Summit ที่ที่ประชุมได้มอบหมายให้คณะทำงาน (working group) แต่ละด้านไปดำเนินการ อย่างไรก็ดี ในเบื้องต้นคาดว่าสหภาพยุโรปจะผลักดันนโยบายบางประการให้ที่ประชุมพิจารณา เช่น

  • การเสนอให้มีการพัฒนากลไกเพื่อลงโทษ (sanction mechanism) ประเทศที่ทำตัวเป็นแหล่งหลบภัยทางภาษี (tax havens) หรือเป็นแหล่งสำหรับดำเนินธุรกรรมที่ไม่โปร่งใส (non transparent deals) หากประเทศเหล่านั้นไม่ให้ความร่วมมือ
  • ประเด็นเกี่ยวกับการจำกัดเพดานการจ่ายเงินโบนัสของผู้บริหารสถาบันการเงิน (caps for managers' bonus payments)
  • ประเด็นเรื่องวงเงินที่จะเพิ่มให้กับองค์กรการเงินระหว่างประเทศ (IFIs) ที่สหภาพยุโรปเห็นว่าจำเป็นต้องเพิ่มทรัพยากรทางการเงินให้กับสถาบันเหล่านี้ไม่น้อยกว่า 400 พันล้านยูโร (500 พันล้านดอลลาร์ สรอ.) เพื่อให้องค์กรเหล่านี้ไม่เพียงทำหน้าที่ในการแก้ไขปัญหาวิกฤตในขณะนี้เท่านั้น แต่เพื่อให้สามารถทำหน้าที่ในการป้องกันวิกฤตในอนาคตด้วย และเห็นว่ากองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) จำเป็นต้องได้รับการจัดสรรเงินทุนเพิ่มเติมเป็น 2 เท่า

สำหรับประเด็นที่ยังไม่ชัดเจนว่าจะได้รับการผลักดันหรือไม่คงเป็นประเด็นการที่ประเทศเยอรมันเสนอให้นำธุรกรรมในตลาดการเงินและผลิตภัณฑ์ทางการเงินทั้งหมดที่มีอยู่ในโลกเข้ามาอยู่ภายใต้การกำกับดูแล หรือที่เรียกว่า "charter of sustainable economic activity" ซึ่งก็ครอบคลุมถึงธุรกิจ hedge funds และ credit rating agency โดยมีฝรั่งเศสสนับสนุนให้มีความเข้มงวดกับการกำกับดูแลภาคการเงิน รวมถึงประเด็นเกี่ยวกับการเสนอให้มีระบบการกำกับดูแลระหว่างประเทศในด้านการเงิน (cross-border regulation) เนื่องจากเยอรมันต้องการให้มีลักษณะที่เป็นองค์กรที่ทำหน้าที่อย่างเป็นรูปธรรม ขณะที่อังกฤษเสนอเพียงให้มีความร่วมมือในการกำกับดูแลสถาบันการเงินขนาดใหญ่ที่มีเครือข่ายการให้บริการทางการเงินระหว่างประเทศกว้างขวาง (multinational banks) โดยคาดว่าข้อเสนอของสหภาพยุโรปจะชัดเจนขึ้นอยู่กับการประชุม European Council ที่จะมีขึ้นในวันที่ 19-20 มีนาคมนี้ จากนั้นข้อเสนอร่วมกันของ EU ถึงจะถูกนำไปเสนอในการประชุม G-20 ที่กรุงลอนดอนต่อไป

นอกจากนี้ คาดว่าในการประชุมจะมีการเสนอให้มีการเพิ่มความร่วมมือระหว่างกันอย่างเป็นรูปธรรมในการดำเนินมาตรการฟื้นฟูเศรษฐกิจ หลังจากที่ก่อนหน้านี้มีการเรียกร้องมาโดยตลอดแต่ในทางปฏิบัติแต่ละประเทศก็ดำเนินนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจเป็นเอกเทศภายใต้กรอบกว้างๆ ที่เคยเห็นชอบร่วมกันไม่ได้มีลักษณะของการร่วมกันดำเนินการอย่างแท้จริง

ที่มา : Macroeconomic Analysis Group : Fiscal Policy Office

Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ