รายงานภาวะเศรษฐกิจรายสัปดาห์ระหว่างวันที่ 9-13 มีนาคม 2552

ข่าวเศรษฐกิจ Monday March 16, 2009 11:07 —กระทรวงการคลัง

Economic Indicators: This Week

รัฐบาลจัดเก็บได้สุทธิ (หลังหักจัดสรรให้ อปท.) ในเดือน ก.พ.52 ได้ 82.43 พันล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 23.48 ล้านบาทหรือร้อยละ 22.2 และต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 29.1 ส่งผลให้รายได้จัดเก็บสุทธิของรัฐบาลในช่วง 5 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2552 เท่ากับ 451.53 พันล้านบาท ต่ำกว่าเป้าหมาย 88.59 พันล้านบาท ซึ่งผลการจัดเก็บรายได้ที่ต่ำกว่าเป้าหมายในเดือน ก.พ. 52 มีสาเหตุสำคัญจากภาษีมูลค่าเพิ่ม อากรขาเข้า และภาษีสรรพสามิตรถยนต์ที่จัดเก็บได้ต่ำกว่าเป้าหมายจำนวน 14.23 พันล้านบาท 2.63 พันล้านบาท และ 2.43 พันล้านบาท ตามลำดับ สะท้อนภาวะเศรษฐกิจภายในประเทศที่หดตัวมาก โดยภาษีฐานรายได้และภาษีฐานการบริโภค หดตัวที่ร้อยละ -1.8 ต่อปี และร้อยละ -25.2 ต่อปี ตามลำดับ

ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ ในเดือน ก.พ. 52 หดตัวลดลงที่ร้อยละ -24.2 ต่อปี จากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -16.2 ต่อปี ตามภาวะวิกฤตเศรษฐกิจโลกที่ส่งผลให้รายได้จากการส่งออกหดตัวลงมาก และทำให้รายได้ประชาชนโดยรวมลดลง ผู้บริโภคจึงชะลอการใช้จ่ายลง โดยเฉพาะสินค้าฟุ่มเฟือย ทั้งนี้ 2 เดือนแรกปี 52 ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่หดตัวที่ร้อยละ -20.0 ต่อปี

ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโดยรวมเดือน ก.พ. 52 อยู่ที่ระดับ 67.2 ลดลงจากระดับ 68.3 ในเดือน ม.ค. 52 เนื่องจากประชาชนมีความกังวลต่อเศรษฐกิจโดยรวมที่ชะลอตัวลง ราคาน้ำมันในประเทศที่ปรับตัวสูงขึ้น รวมถึงการจ้างงานที่ลดลง แต่อย่างไรก็ตาม ประชาชนยังคาดหวังว่านโยบายภาครัฐที่ออกมาจะช่วยให้เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวได้ในอนาคต

ยอดจำหน่ายรถจักรยานยนต์ ในเดือน ก.พ. 52 หดตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ -16.7 ต่อปี จากเดือนก่อนที่หดตัวลงร้อยละ -21.6 ต่อปี โดยมีสาเหตุหลักมาจาก 1) เกษตรกรมีรายได้ลดลงตามราคาพืชผล 2) รายได้แรงงานอาจลดลงตามการลดชั่วโมงการทำงานหรือถูกลดเงินเดือนหรือถูกเลิกจ้าง 3) ภาวะวิกฤตเศรษฐกิจโดยรวมทำให้ผู้บริโภคชะลอการซื้อออกไป และ 4) ปัจจัยฐานสูงในปีก่อน ทั้งนี้ การหดตัวของยอดขายรถจักรยานยนต์ สะท้อนการชะลอตัวของการบริโภคภายในประเทศ โดยเฉพาะสินค้าคงทนของคนมีรายได้น้อย

ภาษีจากการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์รวมในเดือน ก.พ. 52 หดตัว ร้อยละ -13.2 ต่อปี หดตัวลงมากจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 0.8 ต่อปี โดยเป็นผลจากภาวะวิกฤติเศรษฐกิจโลกทำให้การส่งออกของไทยหดตัวลงอย่างมาก กระทบต่อภาวการณ์จ้างงาน และภาวะเศรษฐกิจภายในประเทศให้ชะลอลงตัว โดยเฉพาะการลงทุนภาคอสังหาริมทรัพย์ ส่งผลทำให้ปริมาณธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ลดลง อย่างไรก็ตาม การขยายระยะเวลามาตรการกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์ออกไปอีก 1 ปี จนถึงเดือนมี.ค. 53 อาจช่วยพยุงให้ยอดการจัดเก็บภาษีจากการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ขยายตัวดีขึ้นในระยะต่อไปได้

Economic Indicators: Next Week

มูลค่าการส่งออกสินค้าเดือน ก.พ. 52 คาดว่าจะหดตัวที่ร้อยละ -11.0 ต่อปี หดตัวลงต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -26.5 ต่อปี โดยคาดว่าสาเหตุหลักน่าจะมาจากเทศกาลตรุษจีน ซึ่งทำให้มีการส่งออกทองคำมากขึ้นบวกกับราคาทองคำที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้คาดว่ามูลค่าการส่งออกจะหดตัวไม่มากนัก ในขณะที่สินค้าส่งออกหลักอื่นๆ เช่น ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ และยานยนต์ น่าจะหดตัวใกล้เคียงกับเดือนก่อน ด้านมูลค่าการนำเข้าสินค้าเดือน ก.พ. 52 คาดว่าจะหดตัวที่ร้อยละ -40.0 ต่อปี หดตัวมากขึ้นจากที่หดตัวร้อยละ -37.6 ต่อปีในเดือนก่อนหน้า โดยเป็นผลจากอุปสงค์ในประเทศและราคาสินค้านำเข้าที่หดตัวลงมาก ทำให้ดุลการค้าเดือน ก.พ. 52 คาดว่าจะเกินดุลประมาณ 3.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

Foreign Exchange Review

ค่าเงินสกุลคู่ค้าหลักของไทยเทียบกับดอลลาร์สหรัฐในสัปดาห์ที่ผ่านมาแข็งค่าขึ้นแทบทุกสกุลยกเว้นค่าเงินปอนด์สเตอลิงค์

ค่าเงินของประเทศคู่ค้าหลักของไทยแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับค่าเงินดอลลาร์สหรัฐเนื่องจากตลาดเริ่มผ่อนคลายความกังวลต่อวิกฤติการณ์สถาบันการเงินสหรัฐหลังจากที่ธนาคาร Citigroup และ JP Morgan ประกาศผลประกอบการที่ดีขึ้นและมีแนวโน้มที่จะกำไรในช่วงไตรมาสแรกของปี 52 นักลงทุนจึงลดความต้องการถือครองเงินดอลลาร์สหรัฐในฐานะสินทรัพย์ที่ปลอดภัย (safe haven) ลง นอกจากนั้นการที่ผู้ว่าการของธนาคารกลางยุโรป (ECB) ประกาศว่ามาตรการต่าง ๆ ที่ธนาคารกลางและรัฐบาลในยุโรปจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้ ได้เสริมสร้างความมั่นใจให้นักลงทุน และทำย้ายไปลงทุนในสินทรัพย์สกุลอื่น ๆ เช่น ยูโร และสินทรัพย์สกุลเอเชียแทน

ในขณะเดียวกัน ดอลลาร์สหรัฐยังเผชิญปัจจัยลบจากตัวเลขเศรษฐกิจของสหรัฐที่ยังคงหดตัวต่อเนื่อง โดยตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตร (Non-farm payro ll) ของสหรัฐประจำเดือน ก.พ. ปรับลดลงกว่า 651,000 ตำแหน่ง ขณะที่อัตราว่างงานของสหรัฐที่ร้อยละ 8.1 ของกำลังแรงงานรวม เป็นการเพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 26 ปี

อย่างไรก็ตาม ค่าเงินปอนด์สเตอลิงค์อ่อนค่าลงสู่ระดับที่ต่ำที่สุดในรอบ 6 ปีที่ 1.39 ดอลลาร์สหรัฐต่อปอนด์สเตอลิงค์ เนื่องจากนักลงทุนวิตกว่าวิกฤตภาคการเงินในอังกฤษจะรุนแรงขึ้น หลังจากที่ธนาคาร Lloyds TSB เปิดเผยว่ารัฐบาลอังกฤษจะเข้าถือหุ้นของ Lloyds ประมาณร้อยละ 77 หลังจากการตกลงรับประกันการจำหน่ายสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยง 2.60 แสนล้านปอนด์สเตอลิงค์ ประกอบกับบริษัทการจัดอันดับ Moody’s ประกาศให้ธนาคารพาณิชย์ HSBC เป็น negative watch ซึ่งอาจจะถูกปรับลดความน่าเชื่อถือลงได้ นอกจากนั้นตัวเลขผลผลิตภาคอุตสาหกรรม(Industrial production) ของอังกฤษประจำเดือน ม.ค. ที่ปรับลดลงมามากที่สุดในรอบ 27 ปีก็เป็นปัจจัยลบต่อค่าเงินปอนด์สเตอลิงค์เช่นกัน

ด้านสกุลเงินในภูมิภาคและค่าเงินเยนแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับค่าเงินดอลลาร์สหรัฐจากปัจจัยการลดการถือดอลลาร์สหรัฐในฐานะสินทรัพย์ที่ปลอดภัยเพื่อ มาลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ในภูมิภาคมากขึ้น โดยเฉพาะค่าเงินวอนที่แข็งค่าขึ้นจากสัปดาห์ก่อนหน้านี้ถึงร้อยละ 4.6 นอกจากนั้น สถานการณ์ภาคการเงินในเกาหลีใต้ที่ ปรับตัวดีขึ้น โดยธนาคารกลางเกาหลีและธนาคารส่งออกนำเข้าเกาหลีใต้ (KEXIM)สามารถระดมทุนจากนอกประเทศ (Oversea funding condition) ได้มากขึ้นก็เป็นปัจจัยบวกต่อค่าเงินวอนเช่นกัน

ในขณะที่ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับค่าเงินดอลลาร์สหรัฐมาอยู่ที่ระดับต่ำกว่า 36 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับค่าเงิน สกุลอื่นในภูมิภาค อย่างไรก็ตาม การที่ค่าเงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าในระดับต่ำกว่าค่าเงินภูมิภาคส่วนหนึ่งเป็นผลจากการที่นักลงทุนต่างประเทศยังคงเป็นผู้ขายสุทธิในตลาดหลักทรัพย์ เนื่องจากแนวโน้มเศรษฐกิจไทยที่อาจจะชะลอตัวต่อเนื่องหลังจากตัวเลขเศรษฐกิจในเดือน ก.พ. 52 หดตัวรุนแรงขึ้น

ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) เมื่อเทียบกับคู่ค้าหลัก 12 สกุลเงิน (ดอลลาร์สหรัฐยูโร เยน หยวน ดอลลาร์ฮ่องกง ดอลลาร์ไต้หวัน วอนเกาหลี ดอลลาร์สิงคโปร์รูเปียห์อินโดนีเซีย ริงกิตมาเลเซีย และเปโซฟิลิปปินส์) ณ วันที่ 13 มี.ค. 52แข็งค่าขึ้นจากค่าเงิน ณ วันที่ 1 ม.ค. 52 ที่ร้อยละ 1.89 และอ่อนลงจากสัปดาห์ที่แล้วเล็กน้อยที่อยู่ที่ร้อยละ 2.12

เงินบาทแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับวอนเกาหลี (ร้อยละ 12.9) รูเปียห์อินโดนิเซีย (ร้อยละ 6.8) ยูโร (ร้อยละ 4.7) เงินเยน (ร้อยละ 3.6) ริงกิตมาเลเซีย (ร้อยละ3.0) ดอลลาร์สิงคโปร์ (ร้อยละ 2.8) ดอลลาร์ไต้หวัน (ร้อยละ 2.0) แต่อ่อนค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ (ร้อยละ 3.3) ดอลลาร์ฮ่องกง (ร้อยละ 3.2) หยวน (ร้อยละ3.1) เปโซฟิลิปปินส์ (ร้อยละ 1.4) และปอนด์สเตอลิงค์ (ร้อยละ 1.4) ตามลำดับ

Foreign Exchange and Reserves

ในสัปดาห์ก่อน ณ วันที่ 6 มี.ค. 52 ทุนสำรองระหว่างประเทศ (Net Reserve)ลดลงสุทธิ -0.37 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ จากสัปดาห์ก่อนหน้ามาอยู่ที่ระดับ116.80 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยเป็นการลดลงของ Gross Reserve จำนวน-0.42 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ แต่เป็นการเพิ่มขึ้นของ Forward Obligation จำนวน0.05 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยสาเหตุที่ทำให้ทุนสำรองลงลดส่วนหนึ่งน่าจะมาจากการตีค่ามูลค่าทุนสำรองในรูปดอลลาร์สหรัฐลดลง(Valuation Loss) จากการที่ค่าเงินEU และ JPY ซึ่งคาดว่ามีสัดส่วนในการถือครองประมาณร้อยละ 40 และ 10 อ่อนค่าลงในช่วงสัปดาห์ดังกล่าว ร้อยละ 0.22 และ 0.87 ตามลำดับ ประกอบกับคาดว่าธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) น่าจะเข้าบริหารค่าเงินบาทเพื่อให้มีเสถียรภาพในสภาวะสถานการณ์เศรษฐกิจโลกมีความผันผวน จึงทำให้ค่าเงินบาทในสัปดาห์ที่ผ่านมาอ่อนค่าลงจากสัปดาห์ก่อนหน้า (27 ก.พ. 51) 0.11 บาท จาก 36.00 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ เป็น 36.11 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ณ วันที่ 6 มี.ค. 52 หรือ อ่อนค่าลงคิดเป็นร้อยละ 0.31

Major Trading Partners’ Economies: This Week

ญี่ปุ่นประกาศตัวเลข GDP ปรับปรุง ไตรมาส 4 ปี 51 เป็นหดตัวร้อยละ-3.2 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า ทั้งนี้ เมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 50 แล้วGDP ญี่ปุ่นจะหดตัวร้อยละ -4.3 ต่อปี

ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐเดือนก.พ. 52 ลดลง 651,000 ตำแหน่ง ซึ่งเป็นการลดลงเป็นเดือนที่ 14 ติดต่อกัน (อีกทั้งยังแก้ไขตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรในเดือนธ.ค.51 และ ม.ค.52 เป็นลดลง 681,000 และ 655,000 ตำ แหน่งอีกด้วย) โดยการจ้างงานภาคอุตสาหกรรมลดลงถึง 76,000 ตำแหน่ง ส่งผลให้อัตราการว่างงานพุ่งสูงขึ้นที่ร้อยละ 8.1 สูงสุดในรอบ 26 ปี

ยอดค้าปลีกของสหรัฐฯเดือนก.พ.52 หดตัวเล็กน้อยที่ร้อยละ -0.1 จากเดือนก่อนหน้า เปรียบเทียบกับเดือนม.ค.52 (ตัวเลขปรับปรุง) ที่ขยายตัวร้อยละ 1.8 จากเดือนก่อนหน้า โดยยอดขายน้ำมันเชื้อเพลิงขยายตัวถึงร้อยละ 3.4 จากเดือนก่อนหน้า ในขณะที่ยอดขายสินค้ายานยนต์หดตัวถึงร้อยละ -4.3 จากเดือนก่อนหน้าแสดงให้เห็นถึงความซบเซาของภาคอุตสาหกรรมยานยนต์ที่ต้องขอความช่วยเหลือสภาพคล่องจากทางการ

ผลผลิตอุตสาหกรรมของมาเลเซียเดือนม.ค. 52 หดตัวเป็นเดือนที่ 5 ติดต่อกันที่ร้อยละ -20.2 ต่อปี หดตัวเร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ -15.9 ต่อปี (ตัวเลขปรับปรุง) ต่ำสุดในรอบ 15 ปี โดยภาคการผลิตซึ่งมีสัดส่วน 2 ใน 3 ของผลผลิตอุตสาหกรรมรวมหดตัวถึงที่ร้อยละ -26.7 ต่อปีเนื่องจากอุปสงค์จากทั่วโลกที่มีต่อสินค้าอุตสาหกรรมได้หดตัวลง

อัตราการว่างงานของออสเตรเลียเดือนก.พ. 52 อยู่ที่ร้อยละ 5.2 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 4.8 สูงสุดในรอบ 4 ปี โดยการจ้างงานเต็มเวลาลดลงถึง 53,800 ตำแหน่ง ขณที่การจ้างงาน part-time เพิ่มขึ้น 55,600 ตำแหน่ง สะท้อนถึงการที่ผู้ประกอบการเริ่มลดต้นทุน โดยลดการจ้างงานเต็มเวลาลง และหันไปจ้างงาน part-time ซึ่งมีต้นทุนต่ำกว่าแทน

มูลค่าการส่งออกและนำเข้าสินค้าของจีนเดือนก.พ.52 หดตัวลงเป็นประวัติการณ์ติดต่อกันเป็นเดือนที่ 4 ที่ร้อยละ -25.7 และ -24.1 ต่อปีตามลำดับ จากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ -17.5 และ-43.1 ต่อปี ตามลำดับโดยในแง่มิติคู่ค้า การส่งออกไปยังสหรัฐฯและสหภาพยุโรปหดตัวถึงร้อยละ-31.9 และ -51.0 ต่อปี ตามลำดับ อย่างไรก็ดี ดุลการค้าจีนเดือน ม.ค. 52ยังคงเกินดุลที่ 4.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงมากจากเดือนก่อนหน้าที่เกินดุลที่ 39.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

มูลค่าการส่งออกสินค้าและนำเข้าสินค้าของไต้หวันเดือนก.พ.52 หดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 6 ที่ร้อยละ -28.6 และร้อยละ -31.6 ต่อปีตามลำดับ ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวที่ร้อยละ -44.1 และร้อยละ-56.5 ต่อปี ตามลำดับ ผลจากเทศกาลตรุษจีน โดยในแง่มิติสินค้า การส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์หดตัวถึงร้อยละ -30.1 อปี ในแง่มิติคู่ค้า การส่งออกไปยังจีน (รวมฮ่องกง) และสหรัฐฯ หดตัวที่ร้อยละ -25.2 และ -24.7ต่อปี ตามลำดับ ทำให้ดุลการค้าไต้หวันเดือนก.พ. 52 เกินดุลที่ 1.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่เกินดุล 3.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

มูลค่าการส่งออกสินค้าของเวียดนาม ในเดือนก.พ. 52 ขยายตัวที่ร้อยละ 29.7 ต่อปี เร่งขึ้นจากเดือนก่อนที่หดร้อยละ -25.8 ต่อปี โดยสินค้าส่งออกที่เร่งตัวขึ้นมากคือเสื้อผ้าสำเร็จรูปและผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำที่ขยายตัวร้อยละ 23.0 และ31.6 ต่อปี ตามลำดับ (เสื้อผ้าสำเร็จรูปและผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำมีสัดส่วนรวมกันร้อยละ 22 ของการส่งออกรวมของเวียดนาม) ในขณะที่มูลค่าการนำเข้าสินค้าในเดือนก.พ. 52 หดตัวร้อยละ -26.2 ต่อปีต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ -55.2 ต่อปี ทำให้ดุลการค้ากินดุล 290ล้านดอลลาร์สหรัฐ

มูลค่าการส่งออกสินค้าของมาเลเซียเดือน ม.ค. 52 หดตัวร้อยละ-27.8 ต่อปี ต่ำสุดในรอบเกือบ 30 ปี หดตัวเร่งขึ้นจากเดือนก่อนที่ร้อยละ-14.9 ต่อปี โดยการส่งออกไปยังอาเซียน ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และยุโรป ที่มีสัดส่วนรวมกันถึงร้อยละ 60.8 ของการส่งออกทั้งหมด มีการหดตัวร้อยละ-38.1 -3.8 -31.4 และ -29.2 ต่อปี ตามลำดับ ในขณะที่มูลค่าการนำเข้าสินค้าในเดือนม.ค. 52 หดตัวร้อยละ -32.0 ต่อปี เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ -23.1 ต่อปี ทำให้ดุลการค้าเกินดุล 2.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

มูลค่าการส่งออกสินค้าของฟิลิปปินส์เดือนม.ค. 52 หดตัวร้อยละ-41.0 ต่อปี ต่อเนื่องจากเดือนก่อนที่ร้อยละ -40.3 ต่อปี ผลจากการหดตัวอย่างรุนแรงของกลุ่มสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่ร้อยละ -48.4 ต่อปี โดยในแง่มิติคู่ค้า การส่งออกไปยังสหรัฐฯและญี่ปุ่น มีแนวโน้มหดตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ-33.6 และ-39.7 ต่อปี จากเดือนก่อนที่หดตัวร้อยละ -20.8 และ-28.5 ต่อปี

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office

Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ