รายงานสถานการณ์ด้านเศรษฐกิจ การคลัง และการเงินของสหราชอาณาจักรและยุโรป มีนาคม 2552 ฉบับที่ 2/มี.ค.2552

ข่าวเศรษฐกิจ Monday March 16, 2009 11:18 —กระทรวงการคลัง

ผลการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางกลุ่มประเทศ G-20

การประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางของกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วและกำลังพัฒนา 20 ประเทศ หรือ G-20 ระหว่างวันที่ 13-14 มีนาคม 2009 ที่เมือง Horsham ทางตอนใต้ของประเทศอังกฤษ ซึ่งเป็นการประชุมเพื่อเป็นการเตรียมการสำหรับการประชุมของผู้นำกลุ่มประเทศ G-20 ที่จะมีขึ้นในวันที่ 2 เมษายน 2009 โดยที่ประชุมได้เห็นพ้องร่วมกันที่จะต้องดำเนินการเพิ่มเติมในการฟื้นฟูเศรษฐกิจโลก สนับสนุนการปล่อยสินเชื่อ และการปฏิรูปเพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้กับระบบการเงินโลก สำหรับสาระของแถลงการณ์ร่วม (communique) มีดังนี้

1) กการฟื้นฟูเศรรษฐกิจโลก (Restoring GGlobal Growwth)
  • ที่ผ่านมาได้มีการดำเนินมาตรการที่มมีความจริงจัง ครบวงจร และร่วมมือกันนในการกระตุ้นอุอุปสงค์และการจ้างงาน แลละพร้อมที่จะดำเนินทุกวิถถีทางหากมีคความจำเป็นจนกว่าเศรษฐฐกิจโลกจะฟื้นตัวว นอกจากนี้ ยังผูกพันที่จจะต่อต้านการรกีดกันทางกการค้าในทุกรูปแบบและคงไว้ซึ่งการค้าและการลงทุนระบบเปิด (maaintain open trade and innvestment)
  • การฟื้นฟูการปล่อยสินเชชื่อถือเป็นความจำเป็นในลลำดับต้น โดยยจะมีการจัดกการกับปัญหาในนระบบการเงงินต่อไปไม่ว่าจะเป็นการสสนับสนุนสภาพคล่องอย่างต่อเนื่อง การเพิ่มทุน แลละการแก้ปัญหหาเกี่ยวกับการด้อยค่าของงสินทรัพย์ภายใต้กรอบแนนวทางเดียวกกัน (commonn frameworkk)
  • การดำเนินมมาตรการทางงการคลังแบบบขยายตัว (fiscal expanssion) ถือเป็นนหัวใจของการฟื้นฟูเศรษฐกกิจและการจ้างงาน ซึ่งการดำเนินการรร่วมกัน (acting togetherr) จะช่วยในกการขยายผลของมาตรการ และจะต้องมีการดำเนินการตามนโยบายชนิดที่ไม่เคยดำเนินการมาก่อน (exceptional policy action) ตามที่ได้ประกาศไว้โดยไม่ชักช้า พร้อมทั้งผูกพันที่จะดำเนินมาตรการที่มีความยั่งยืนในขนาดที่มากพอสำหรับการฟื้นเศรษฐกิจ โดยเรียกร้องให้กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ทำหน้าที่ในการประเมินเกี่ยวกับมาตรการที่ได้ดำเนินการไปและมาตรการที่จำเป็นต้องดำเนินการ (action required) โดยสมาชิกทั้งหมดจะดำเนินการเพื่อให้มั่นใจว่าเศรษฐกิจจะมีการฟื้นตัว ขณะที่ฐานะการคลังมีความยั่งยืนในระยะยาว
  • ที่ผ่านมาอัตราดอกเบี้ยในหลายประเทศถูกปรับลดอย่างรวดเร็ว โดยธนาคารกลางของประเทศสมาชิกจะคงนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายต่อไปตราบเท่าที่จำเป็น จะมีการใช้เครื่องมือของนโยบายการเงินทั้งหมดที่มี (full range of monetary policy instruments) ซี่งก็รวมถึงเครื่องมือที่ไม่เคยถูกนำมาใช้ (unconventional policy instruments) โดยให้สอดคล้องกับเสถียรภาพของระดับราคา
  • ประเทศสมาชิกผูกพันที่จะช่วยเหลือแก่ประเทศที่เศรษฐกิจเติบโตเร็วและประเทศกำลังพัฒนา (emerging and developing economies) ให้สามารถรองรับปัญหาจากการที่เงินทุนเคลื่อนย้ายไหลย้อนกลับ (reversal in international capital flows) ประเทศสมาชิกยังรับทราบถึงความจำเป็นเร่งด่วนในการเพิ่มทรัพยากรและสภาพคล่องทางการเงินให้แก่สถาบันการเงินระหว่างประเทศ (IFI) เพื่อแก้ปัญหาการหดตัวของการใช้จ่าย (to finance countercyclical spending) เพื่อเพิ่มทุนให้กับสถาบันการเงิน เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อรักษาสินเชื่อทางการค้า เพื่อแก้ปัญหาความเสี่ยงจากการไม่ได้รับต่ออายุสินเชื่อ (rollover risk) และเพื่อการสนับสนุนทางสังคม โดยเห็นด้วยอย่างยิ่งที่จะมีการเพิ่มทรัพยากรทางการเงินอย่างมากพอ (substantial) ให้กับ IMF ซึ่งก็รวมไปถึงการเพิ่มความช่วยเหลือแบบทวิภาคี (bilateral support) การขยายและเพิ่มวงเงินของ New Arrangements to Borrow (NAB) และการร่นเวลาการทบทวนโควต้าของสมาชิกให้เร็วขึ้น (accelerated quota review) นอกจากนี้ ยังเห็นพ้องว่าควรจะดำเนินการเพื่อให้สถาบันการเงินเพื่อการพัฒนา(Multilateral Development Banks) ได้รับการเพิ่มเงินทุนตามที่ต้องการโดยเริ่มจากการเพิ่มทุนเป็นจำนวนมากให้กับ Asian Development Bank (ADB) ในการแก้ปัญหาให้กับประเทศที่ยากจนที่สุด ขณะเดียวกัน สมาชิกยินดีที่ทั้ง IMF และ World Bank ที่มีความคืบหน้าในการนำเครื่องมือใหม่ๆ รวมถึงการยกระดับ

เครื่องมือที่มีอยู่มาใช้

2) การเพิ่มความแข็งแกร่งให้กับระบบการเงิน (Strengthening the Financial System)
  • ที่ผ่านมาได้มีการดำเนินการในระยะเร่งด่วนภายใต้แผนปฏิบัติการวอชิงตัน (Washington Action Plan) เสร็จเรียบร้อยแล้ว พร้อมทั้งยินดีกับการขยายสมาชิก Financial Stability Forum (FSF) โดยครอบคลุมสมาชิกทั้งหมดของกลุ่ม G20 สิ่งที่จะต้องดำเนินการต่อไปคือการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการในระยะปานกลาง และการจัดทำข้อเสนอแนะเพิ่มเติมสำหรับการประชุม London Summit เพื่อให้มั่นใจว่า
  • สถาบันการเงิน ตลาดการเงิน และเครื่องมือทางการเงินทั้งหมดที่มีความสำคัญเชิงระบบ (systemically important) ต้องอยู่ภายใต้การกำกับและดูแลในระดับที่เหมาะสมและบรรดากองทุนประกันความเสี่ยง (hedge funds) หรือผู้จัดการกองทุนดังกล่าวต้องมีการจดทะเบียน (registered) และเปิดเผยข้อมูลที่เพียงพอ (appropriate information) ต่อการประเมินถึงสถานะความเสี่ยงที่กองทุนเผชิญอยู่
  • การกำกับดูแลที่เข้มงวดขึ้น (stronger regulation) จะได้รับการสนับสนุนด้วยระบบการดูแลความมั่นคงในภาพรวม (macro-prudential oversight) ที่เข้มแข็ง เพื่อป้องกันการก่อตัวขึ้นจนกลายเป็นความเสี่ยงของทั้งระบบ (build-up of systemic risk)
  • การกำกับทางการเงิน (financial regulation) จะช่วยลดมากกว่าที่จะขยายผลของวัฎจักรเศรษฐกิจ (economic cycles) ซึ่งก็รวมถึงการสะสมทรัพยากรในยามที่เศรษฐกิจดีเพื่อใช้เป็นกันชน (buffers of resources) และมาตรการในการจำกัดการขยายตัวของสินเชื่อ (measures to constrain leverage) แต่ทั้งนี้เกณฑ์การดำรงเงินกองทุน (capital requirements) จะต้องไม่เปลี่ยนแปลงจนกว่าเศรษฐกิจจะฟื้นตัวแล้วเท่านั้น
  • กระชับความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อป้องกันและแก้ปัญหาวิกฤต ซึ่งก็รวมถึงการดำเนินการผ่าน supervisory colleges การเพิ่มความเข้มแข็งของ FSF (institutional reinforcement of FSF) และการเริ่มระบบเตือนภัยล่วงหน้าโดยร่วมกันระหว่าง IMF/FSF (IMF/FSF Early Warning Exercise)
  • สมาชิกเห็นพ้องกันที่จะมีการกำกับดูแลและจดทะเบียนบริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือทั้งหมด (credit rating agencies) การเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับสถานะความเสี่ยงของสถาบันการเงินที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจนอกงบดุล (full transparency of exposure to off-balance sheet vehicles) การปรับปรุงมาตรฐานการบัญชีรวมทั้งปัญหาความไม่แน่นอนในการกันสำรองและการประเมินมูลค่าของทรัพย์สิน (provision and valuation uncertainty) การดำเนินการเพื่อให้ตลาดรองสำหรับอนุพันธ์เพื่อลดความเสี่ยงด้านเครดิต (credit derivatives markets) มีมาตรฐานและความทนทานสูงขึ้นกว่าปัจจุบัน การจัดทำหลักปฏิบัติที่เหมาะสมเกี่ยวกับการจ่ายผลตอบแทน (practice principles for compensation) และการให้มีองค์กรระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง (relevant international bodies) ทำหน้าที่วินิจฉัยว่าประเทศใดไม่ให้ความร่วมมือ (non-cooperative jurisdictions) และพัฒนาให้มีเครื่องมือเพื่อใช้ในการตอบโต้อย่างมีประสิทธิผล(effective counter measures)
  • เห็นควรให้มีการยกระดับธรรมาภิบาลของ IFIs เพื่อให้องค์กรเหล่านี้สามารถสะท้อนการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจโลกได้อย่างเต็มที่ ประเทศเกิดใหม่และประเทศกำลังพัฒนาควรมีเสียงและผู้แทนเพิ่มขึ้น และผลการทบทวนโควต้าของสมาชิกของ IMF ในครั้งต่อไปควรดำเนินการให้เสร็จภายในเดือนมกราคม 2011 สำหรับการทบทวนโควต้าที่เห็นชอบไปแล้วเมื่อเดือนเมษายน 2008 ควรเริ่มดำเนินการทันที ในส่วนของการปฏิรูปธนาคารโลกก็ควรดำเนินการให้เสร็จภายใน Spring Meetings 2010 นอกจากนี้ การแต่งตั้งผู้บริหารสูงสุดของ IFIs ควรดำเนินการผ่านกระบวนการคัดเลือกที่มีความเปิดเผยและอยู่บนฐานของความรู้ความสามารถ (merit based selection process)
ความเห็น

แถลงการร่วมของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางกลุ่มประเทศ G20 ในครั้งนี้ส่วนใหญ่เป็นการดำเนินการต่อเนื่องตามแผนปฏิบัติการวอชิงตัน ขณะเดียวกัน สหภาพยุโรปสามารถผลักดันข้อเสนอที่ได้มีการหารือไว้ในการประชุมผู้นำสหภาพยุโรปเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ได้เกือบทั้งหมดโดยเฉพาะประเด็นที่เยอรมันและฝรั่งเศสเป็นหัวหอกในการเสนอไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเสนอให้มีการพัฒนากลไกเพื่อลงโทษ (sanction mechanism) ประเทศที่ทำตัวเป็นแหล่งหลบ ภัยทางภาษี (tax havens) การเสนอให้นำธุรกรรมในตลาดการเงินและผลิตภัณฑ์ทางการเงินทั้งหมดที่มีอยู่ในโลกเข้ามาอยู่ภายใต้การกำกับดูแลซึ่งก็ครอบคลุมถึงธุรกิจ hedge funds และ credit rating agencies และประเด็นเกี่ยวกับการจำกัดเพดานการจ่ายเงินโบนัสของผู้บริหารสถาบันการเงิน (caps for managers' bonus payments) เป็นต้น

อย่างไรก็ดี แม้จะได้รับการบรรจุเป็นข้อตกลงร่วม แต่ก็มีการลดความเข้มข้นของข้อเสนอลง เช่น กรณีการนำสถาบันการเงิน ตลาดการเงิน และผลิตภัณฑ์ทางการเงินทั้งหมดเข้ามาอยู่ในกำกับก็มีการกำหนดเพิ่มเติมว่าต้องมีธุรกรรมที่มีความสำคัญเชิงระบบ (systemically important) รวมทั้งการกำกับดูแลจะต้องอยู่ในระดับที่เหมาะสม เป็นต้น ประเด็นการกำกับดูแลระหว่างประเทศ (cross-border regulation) ที่ประเทศเยอรมันเสนอไว้ก็ถูกลดความเข้มข้นลงเหลือเพียงการกระชับความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อป้องกันและแก้ปัญหาวิกฤตผ่าน supervisory colleges ซึ่งไม่มีอำนาจหน้าที่ในการสั่งการแต่อย่างใด รวมถึงประเด็นเรื่องการเพิ่มเงินทุนให้กับ IMF ที่แม้จะได้รับการบรรจุแต่ก็ไม่ได้มีการกำหนดวงเงินที่ชัดเจนอย่างที่สหภาพยุโรปเคยเสนอไว้

สำหรับประเด็นด้านความร่วมมือในการดำเนินนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจก็ไม่มีการเสนอประเด็นใหม่เป็นเพียงการเรียบเรียงเพื่อบอกกล่าวถึงสิ่งที่ได้ดำเนินการไปแล้วและผูกพันที่จะดำเนินการเพิ่มเติมหากจำเป็น ซึ่งขัดแย้งกับข้อเรียกร้องก่อนหน้านี้ของสหรัฐฯ และอังกฤษที่ต้องการเห็นการดำเนินการร่วมกันอย่างจริงจังในนโยบายการคลัง โดยเฉพาะสหรัฐฯ ที่เรียกร้องให้สหภาพยุโรปดำเนินนโยบายการคลังด้วยการลดภาษีและเพิ่มรายจ่ายขึ้นอีก ขณะที่สหภาพยุโรปไม่เห็นด้วยกับข้อเรียกร้องของสหรัฐฯ ดังนั้น คำแถลงจึงออกมาในลักษณะของการประนีประนอม ซึ่งโดยภาพรวมแล้วการประชุม London Summit ที่กำลังจะมาถึงอาจจะไม่ใช่การประชุมที่หวังผลที่เป็นรูปธรรม แต่น่าจะมีลักษณะของการดำเนินการไปตามแผนปฏิบัติการเป็นหลัก

ที่มา : Macroeconomic Analysis Group : Fiscal Policy Office

Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ