Asian Development Outlook 2009

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday April 22, 2009 15:05 —กระทรวงการคลัง

บทสรุปผู้บริหาร

จากรายงาน Asian Development Outlook 2009 โดย ADB รายงานว่า วิกฤตเศรษฐกิจโลก ทำให้เศรษฐกิจในภูมิภาคเอเซียชะลอตัวโดยทั่วกัน ขึ้นอยู่กับสัดส่วนการพึ่งพาภาคการส่งออกและความสามารถในการปรับตัวของแต่ละประเทศ แต่คาดว่าปี 2553 เศรษฐกิจเอเซียจะฟื้นตัวโดยเริ่มจากไตรมาสที่4 ของปีนี้ การเกินดุลบัญชีเดินสะพัดในปี 2552 ปรับตัวลดลงจากการซบเซาของการส่งออกและราคาน้ำมันลดลงอัตราเงินเฟ้อชะลอตัวลงจนมีความกังวลเรื่องภาวะเงินฝืดมาแทนโดยเฉพาะในญี่ปุ่น นอกจากนี้ภาวะเศรษฐกิจถดถอยทำให้รายได้จากการเก็บภาษีลดลง ในขณะที่รัฐบาลประเทศต่างๆ ต้องใช้งบประมาณเพิ่มขึ้นเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจทำให้หลายประเทศมีแนวโน้มการจัดทำ งบประมาณขาดดุลมากขึ้น

ภาคการเงินในเอเซียโดยรวมยังแข็งแกร่งโดย NPLs ในระบบธนาคารพาณิชย์นั้นยังคงอยู่ในเกณฑ์ต่ำเมื่อเทียบกับวิกฤตเศรษฐกิจปี 2542 แต่ราคาดัชนีหลักทรัพย์ที่ลดลงอย่างมากทำให้ฐานะทางการเงินของเอกชนแย่ลง โดยเฉพาะในภาคอุตสาหกรรมการส่งออกซึ่งได้รับผลกระทบอย่างมากทั่วทั้งภูมิภาคจากดีมานด์ต่างประเทศลดลง และทำให้อุตสาหกรรมต่อเนื่องกับการส่งออกมีฐานะการเงินแย่ลงไปด้วย หลายรายต้องปลดคนงาน ทำให้แนวโน้มการว่างงานเพิ่มขึ้นอย่างมากโดยเฉพาะในภูมิภาคเอเซียตะวันออกที่พึ่งพาการส่งออกเป็นหลัก

รัฐบาลต่างๆ ได้มีนโยบายตอบสนองต่อวิกฤตเศรษฐกิจโลก ได้แก่ การใช้นโยบายการเงินที่ผ่อนคลาย โดยการลดอัตราดอกเบี้ยและลดเงินทุนสำรองของธนาคารเพื่อเพิ่มสภาพคล่อง การเร่งการเบิกจ่ายงบประมาณ มาตรการลดและอุดหนุนภาษี มาตรการแจกเงินสดเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ การเพิ่มการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน การจัดสรรวงเงินกู้พิเศษช่วยเหลือเอกชนที่ประสบปัญหาด้านเงินทุนและมาตรการช่วยเหลือคนตกงาน เป็นต้น

จากการที่ ปัจจุบันเอเซียมีบทบาทสำคัญในเวทีเศรษฐกิจโลกเพิ่มขึ้น และไม่สามารถพึ่งพาการส่งออกได้อีกต่อไป ในอนาคตควรมุ่งการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่สมดุล เน้นสวัสดิการสังคม ใช้เงินงบประมาณที่มีอยู่อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล และลดการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ภูมิภาคเอเซียควรเน้นการสร้างความแข็งแกร่งของดีมานด์ภายในประเทศและกระจายทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งในระยะกลางและระยะยาว ดังนี้ 1) ใช้นโยบายเพิ่มการบริโภคภายในประเทศ 2) ปรับปรุงบรรยากาศการลงทุนเพื่อรับการลงทุนที่มีประสิทธิภาพมากกว่าการขยายการลงทุน 3) เร่งพัฒนาภาคการเงิน เพื่อเป็นช่องทางที่จะช่วยเกลี่ยการออมและการลงทุนในภูมิภาคให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น 4) เสริมสร้างความแข็งแกร่งด้านความร่วมมือและการรวมตัวใน ภูมิภาค (Regional Integration and Cooperation) นอกจากนี้ เอเซียต้องสร้างความแข็งแกร่งและร่วมมือกันกำกับดูแลความร่วมมือทางการเงินในภูมิภาคอย่างใกล้ชิด และสร้างระบบสอดส่องดูแลเพื่อระวังภัยทางเศรษฐกิจ การเพิ่งวงเงินภายใต้พหุภาคี CMI

1. ภาพรวมอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ

ผลจากวิกฤตเศรษฐกิจโลกคาดว่า การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในเอเซียปี 2009 จะถดถอยโดยทั่วกัน เนื่องจากไม่สามารถ Counter กับการส่งออกที่ลดลง อย่างไรก็ตาม จีน อินเดีย เวียตนาม ลาว ยังมีอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ดี และคาดว่าในปี 2010 เศรษฐกิจเอเซียจะฟื้นตัว

2. ดุลบัญชีเดินสะพัด

สัดส่วนการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดต่อ GDP ในหลายประเทศมีแนวโน้มลดลง เป็นผลจากรายได้จากการส่งออกที่ลดลง ทั้งในจีน ญี่ปุ่น สิงคโปร์ มาเลเซีย เป็นต้น

3. ดุลงบประมาณ

รายได้จากการส่งออกที่ลดลง ทำให้รายได้จากการเก็บภาษีลดลงด้วย ในขณะที่รัฐบาลต้องใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพื่อเพิ่มอุปสงค์ภายในประเทศ ทำให้แนวโน้มการขาดดุลงบประมาณของรัฐบาลกลางในหลายประเทศเพิ่มมากขึ้น

4. ภาวะเงินเฟ้อ — แนวโน้มเงินเฟ้อลดลง เนื่องจากราคาสินค่าและน้ำมันลดลงในขณะที่ในญี่ปุ่นมีความกังวลเรื่องเงินฝืดมาแทน

5. ทุนสำรองระหว่างประเทศ

6. ภาคการเงินในเอเซียโดยรวมยังแข็งแกร่ง - NPLs ในระบบธนาคารพาณิชย์ยังอยู่ในเกณฑ์ต่ำเมื่อเทียบกับวิกฤตเศรษฐกิจปี 1999

7. ดัชนีราคาหลักทรัพย์ลดลง - มีผลทำให้สินทรัพย์ที่ถือโดยสถาบันการเงินและบริษัทเอกชนเสื่อมค่าส่งผลให้ฐานะทางการเงินของเอกชนแย่ลงด้วย อย่างไรก็ตาม ดัชนีหลักทรัพย์ได้กระเตื้องขึ้นในต้นเดือนเม.ย.ที่ผ่านมา

8. การส่งออกลดลงอย่างมาก — ทั่วทั้งภูมิภาค จากดีมานด์สินค้าในต่างประเทศลดลง

9. การนำเข้าลดลงอย่างมากเช่นเดียวกับการส่งออก - เนื่องจากนำเข้าวัตถุดิบมาผลิตเพื่อการส่งออก

10 แนวโน้มการว่างงานเพิ่มขึ้น — โดยเฉพาะในภูมิภาคเอเซียตะวันออกที่เศรษฐกิจขึ้นอยู่กับภาคการส่งออกอย่างมาก ส่วนในภูมิภาคอาเซียนยังไม่รุนแรงมาก เนื่องจากยังมีแรงงานส่วนหนึ่งทำงานในภาคเกษตร

11. นโยบายของรัฐบาลต่างๆ ที่สนองตอบต่อวิกฤตเศรษฐกิจโลก

  • ใช้นโยบายการเงินที่ผ่อนคลาย ลดอัตราดอกเบี้ยและลดเงินทุนสำรองของธนาคารเพื่อเพิ่มสภาพคล่อง

-เพิ่มวงเงินการทำสัญญาแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศสำรองเตรียมไว้ใช้กรณีฉุกเฉิน เช่นใน สิงคโปร์และเกาหลีใต้ (ทำกับ Federal Reserve Bank)

  • เพิ่มวงเงินการประกันเงินฝากในธนาคารพาณิชย์ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในระบบสถาบันการเงินเช่นในสิงคโปร์ เกาหลีใต้
  • ลดภาษี/อุดหนุนภาษี

อินโดนีเซีย ใช้Package การลดภาษีต่างๆ เช่นลดภาษีนำเข้าและภาษีมูลค่าเพิ่มน้ำมันลดหย่อนภาษีทั้งรายได้ส่วนบุคคล

ฟิลิปปินส์ ลดหย่อนการเก็บภาษีรายได้บุคคลธรรมดา และลดภาษีรายได้นิติบุคคลจากร้อยละ 35 เหลือร้อยละ 30

ลาว เลื่อนประกาศใช้ภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ 10 ซึ่งเดิมกำหนดจะบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.52 ที่ผ่านมาออกไปโดยไม่มีกำหนด

เวียตนาม ลดภาษีรายได้นิติบุคคลจากร้อยละ 28 เหลือร้อยละ 25 ลดภาษีรายได้นิติ

บุคคลสำหรับ SMEs ลงร้อยละ 30 ในปี 2008 และ 2009 ลดภาษีมูลค่าเพิ่มครึ่งหนึ่งสำหรับสินค้าบางประเภทจนถึงสิ้นปี 2009

สิงคโปร์ ลดภาษีรายได้นิติบุคคลจากร้อยละ 18 เหลือร้อยละ 17 เพิ่มการลดหย่อนภาษีรายได้บุคคลธรรมดา

  • แจกเงินสด เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจโดยเร็ว เช่นในญี่ปุ่น ไทย ไต้หวัน เวียตนาม
  • มาตรการช่วยคนตกงาน อุดหนุนการสร้างงานในต่างจังหวัดมากขึ้น อุดหนุนโดยตรงแก่นายจ้างเพื่อไม่ให้ปลดคนงาน ฝึกอบรมคนงานที่ถูกเลิกจ้าง เป็นต้น ในสิงคโปร์ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ จีนไทย
  • เร่งการเบิกจ่ายงบประมาณเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ
  • จัดสรรวงเงินกู้พิเศษสำหรับช่วยเหลือบริษัทเอกชนที่ประสบปัญหาขาดเงินทุนหมุนเวียน เช่น ในญี่ปุ่น สิงคโปร์ เวียตนาม
  • จัดระบบประกันสินเชื่อเพื่อการส่งออกพิเศษช่วยเหลือบริษัทส่งออก ได้แก่ ในไทย เกาหลีใต้ญี่ปุ่น
  • ปรับแผนลงทุนมุ่งอุตสาหกรรม/เทคโนโลยี่ รวมทั้งโครงการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้นในญี่ปุ่น จีนและเกาหลีใต้

12. วงเงินงบประมาณที่รัฐบาลต่างๆ ใช้กระตุ้นเศรษฐกิจ

13.ข้อเสนอแนะ

ภายหลังวิกฤตเศรษฐกิจ 1997-98 ภูมิภาคเอเซียมุ่งพัฒนาการส่งออกเพื่อเป็นกลไกหลักผลักดันเศรษฐกิจให้เจริญเติบโต ซึ่งนำไปสู่การไม่สมดุลทางเศรษฐกิจของโลก จากการเป็นผู้กู้ (net borrower)กลายเป็นผู้ออมเงินเพื่อให้กู้ (net saver) ประกอบกับภูมิภาคเอเซียได้เปิดรับกับโลกภิวัฒน์อย่างกลมกลืนเกิดความเสี่ยงเพิ่มขึ้นจากการพึ่งพาการส่งออกและเป็นแหล่งเงินกู้จากภายนอก ปัจจุบันเอเซียมีบทบาทสำคัญในเศรษฐกิจโลกเพิ่มขึ้น และไม่สามารถพึ่งพาการส่งออกได้อีกต่อไป ในอนาคตควรมุ่งการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่สมดุล เน้นสวัสดิการสังคม ใช้เงินออมที่มีอยู่เป็นจำนวนมากในภูมิภาคอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล และลดการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดที่มีอยู่เป็นจำนวนมากเอเซียยังมีความแตกต่างกันมาก การสร้างความสมดุลทางเศรษฐกิจต้องดำเนินการในระดับประเทศทั่วภูมิภาคเอเซีย เน้นนโยบายสร้างความแข็งแกร่งของดีมานด์ภายในประเทศและกระจายทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งในระยะกลางและระยะยาว ดังนี้

1) ใช้นโยบายเพิ่มการบริโภคภายในประเทศ ในหลายประเทศที่มีการออมมากซึ่งส่วนหนึ่งเกิดจากบริษัทใหญ่ที่มีผลกำไรมาก จึงควรเน้นบรรษัทภิบาลที่ดี จ่ายเงินปันผลและจ่ายภาษีที่ถูกต้องจะช่วยเพิ่มกระจายอำนาจซื้อแก่ครัวเรือน ขยายผลประโยชน์ด้านการศึกษา สุขภาพ บำเหน็จบำนาญ ซึ่งจะช่วยลดการออมภาคครัวเรือนได้

2) ปรับปรุงบรรยากาศการลงทุนเพื่อรับการลงทุนที่มีประสิทธิภาพ มากกว่าการขยายการลงทุน นอกจากนี้ ควรรัฐบาลควรลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้าน Logisticให้ รวมทั้งลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานทางสังคม (social infrastructure) เช่นการศึกษาให้มากขึ้น เพื่อสร้างประสิทธิภาพทางการผลิต (Productivity) การลงทุนของเอกชน และเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันของประเทศในระยะยาว

3) เร่งพัฒนาภาคการเงิน ระบบการเงินที่ดีเป็นช่องทางที่จะช่วยเกลี่ยการออมและการลงทุนในภูมิภาคให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และช่วย SMEs ในภูมิภาคเข้าถึงแหล่งเงินทุนมากขึ้น

4) เสริมสร้างความแข็งแกร่งด้านความร่วมมือและการรวมตัว (regional integration and cooperation) ถึงแม้ว่าการค้าภายในภูมิภาคจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่ส่วนใหญ่เป็นการส่งออกสินค้าไปที่จีน เพื่อผลิตสินค้าขั้นสุดท้ายเพื่อส่งออกไปนอกภูมิภาคเอเซีย ดังนั้นการค้าในภูมิภาคเอเซียยังขึ้นอยู่กับดีมานด์สินค้าจากภายนอก เอเซียจึงควรสร้างระบบการค้าที่เป็นประโยชน์ของภูมิภาคอย่างแท้จริง

นอกจากนี้ เอเซียต้องสร้างความความแข็งแกร่งและกำกับดูแลความร่วมมือทางการเงินในภูมิภาคอย่างใกล้ชิด ระบบการสอดส่องดูแลเพื่อระวังภัยทางเศรษฐกิจ (surveillance system) การเพิ่มวงเงินภายใต้ความร่วมมือพหุภาคี CMI เพื่อรองรับความผันผวนจากภายนอกอย่างฉับพลัน

เอกสารอ้างอิง รายงาน Asian Economic Outlook 2009 โดย ADB

จัดทำโดย สำนักงานที่ปรึกษาเศรษฐกิจการคลังประจำกรุงโตเกียว

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office

Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ