รายงานสถานการณ์ด้านการคลัง ประจำเดือนเมษายน 2552

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday June 3, 2009 15:01 —กระทรวงการคลัง

ด้านรายได้

เดือนเมษายน 2552 รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ 81,681 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 34,389 ล้านบาท หรือร้อยละ 29.6 (ต่ำกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 34.8) เป็นผลจากการนำส่งรายได้ของรัฐวิสาหกิจที่ต่ำกว่าประมาณการ รวมทั้งการจัดเก็บภาษีที่ต่ำกว่าประมาณการที่สำคัญ ได้แก่ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล อากรขาเข้าและภาษีรถยนต์

7 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2552 (ตุลาคม 2551 - เมษายน 2552) รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ 644,651 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 128,933 ล้านบาท หรือร้อยละ 16.7 และต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 15.0 โดยมีสาเหตุหลักมาจากการจัดเก็บภาษีของ 3 กรมหลักและการนำส่งรายได้ของรัฐวิสาหกิจที่ต่ำกว่าประมาณการประกอบกับการคืนภาษีของกรมสูง

ด้านรายจ่าย

เดือนเมษายน 2552 รัฐบาลได้เบิกจ่ายงบประมาณทั้งสิ้น 146,090 ล้านบาท โดยเป็นการเบิกจ่ายจากงบประมาณปี 2552 จำนวน 140,465 ล้านบาท (ต่ำกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 6.4) ซึ่งแยกเป็นรายจ่ายประจำ 108,502 ล้านบาท และรายจ่ายลงทุน 20,965 ล้านบาท และเป็นการเบิกจ่าย จากงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ 2552 อีกจำนวน 10,998 ล้านบาท ซึ่งเป็นรายจ่ายประจำ 10,976 ล้านบาท และรายจ่ายลงทุน 22 ล้านบาท นอกจากนี้มีการเบิกจ่ายจากงบประมาณปีก่อน 5,625 ล้านบาท

7 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2552 (ตุลาคม 2551 - เมษายน 2552) รัฐบาลได้เบิกจ่ายงบประมาณรวมทั้งสิ้น 1,113,463 ล้านบาท โดยเป็นการเบิกจ่ายจากงบประมาณปีปัจจุบัน 1,022,556 ล้านบาท (คิดเป็นอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 52.4 ของวงเงินงบประมาณ) ซึ่งสูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 16.6 และมีการเบิกจ่ายของงบประมาณปีก่อน 90,907 ล้านบาท

หน่วยงานที่เบิกจ่ายสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ หน่วยงานอิสระตามรัฐธรรมนูญ กระทรวงแรงงาน และกองทุนและเงินทุนหมุนเวียน ในขณะที่หน่วยงานที่เบิกจ่ายต่ำสุด 3 อันดับสุดท้าย ได้แก่ จังหวัด กระทรวงพลังงาน และกระทรวงคมนาคม

ดุลการคลังรัฐบาล

ดุลการคลังตามระบบในช่วง 7 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2552 (ตุลาคม 2551 - เมษายน กระแสเงินสด 2552) รัฐบาลมีรายได้ 1 สำนักนโยบายการคลัง นำส่งคลัง 654,963 ล้านบาท และมีรายจ่ายปีปัจจุบันและปีก่อนรวม 1,113,463 ล้านบาท ส่งผลให้ดุลเงินงบประมาณขาดดุลจำนวน 458,500 ล้านบาท และเมื่อรวมกับดุลเงินนอก งบประมาณที่เกินดุลจำนวน 25,112 ล้านบาท ทำให้ดุลเงินสดขาดดุลทั้งสิ้น 433,388 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 4.9 ของ GDP

ดุลการคลังของรัฐบาลตามระบบ สศค.ในช่วง 7 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2552 (ตุลาคม 2551 - เมษายน 2552) รัฐบาลมีรายได้ทั้งสิ้น 661,891 ล้านบาท และมีรายจ่ายทั้งสิ้น 1,093,956 ล้านบาท ส่งผลให้ดุลเงินงบประมาณขาดดุล 432,064 ล้านบาท แต่ดุลบัญชีเงินนอกงบประมาณเกินดุล 100,642 ล้านบาท โดยเมื่อหักรายจ่ายจากเงินกู้ต่างประเทศจำนวน 5,427 ล้านบาทแล้ว ทำให้ดุลการคลังของรัฐบาลขาดดุลทั้งสิ้น 336,670 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 3.8 ของ GDP

สถานะหนี้สาธารณะ

หนี้สาธารณะคงค้างของรัฐบาล ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2552 มีจำนวน 3,692.7 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 41.0 ของ GDP โดยร้อยละ 89.6 ของหนี้สาธารณะคงค้างเป็นหนี้ในประเทศ และส่วนที่เหลือร้อยละ 10.4 เป็นหนี้ต่างประเทศ

หนี้ระยะยาวมีจำนวน 3,333.9 พันล้านบาท ส่วนหนี้ระยะสั้นมีจำนวน 358.8 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 90.3 และ 9.7 ของหนี้สาธารณะคงค้าง ตามลำดับ

กรอบความยั่งยืนทางการคลัง
  • กระทรวงการคลังได้กำหนดกรอบความยั่งยืนทางการคลังไว้ดังนี้ สัดส่วนหนี้สาธารณะคงค้างต่อ GDP ไม่เกินร้อยละ 50 ภาระหนี้ต่องบประมาณไม่เกินร้อยละ 15 จัดทำงบประมาณสมดุล และสัดส่วนงบลงทุนต่องบประมาณอยู่ที่ร้อยละ 25
  • ในปีงบประมาณ 2552 รัฐบาลสามารถรักษากรอบยั่งยืนทางการคลังไว้ได้ 2 กรอบ คือ มีสัดส่วนหนี้สาธารณะคงค้างต่อ GDP ไม่เกินร้อยละ 50 และภาระหนี้ต่องบประมาณไม่เกินร้อยละ 15 เนื่องจากในปีนี้รัฐบาลยังต้องคงการใช้งบประมาณขาดดุลเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศต่อไป
  • กรอบความยั่งยืนในระยะปานกลาง (ปีงบประมาณ 2553 - 2556)
  • รัฐบาลไม่สามารถรักษาสัดส่วนหนี้สาธารณะคงค้างต่อ GDP ให้ไม่เกินร้อยละ 50 ไว้ได้ในช่วงปี 2553 - 2555 เนื่องจากรัฐบาลจำเป็นต้องมีการกู้ยืมเพิ่มสูงขึ้นเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในภาวะที่เศรษฐกิจชะลอตัว แต่คาดว่าจะกลับมารักษาตัวชี้วัดนี้ได้ในปี 2556
  • รัฐบาลสามารถรักษาสัดส่วนภาระหนี้ต่องบประมาณให้ไม่เกินร้อยละ 15 ได้ในช่วงปี 2553 - 2556
  • รัฐบาลไม่สามารถจัดทำงบประมาณสมดุลระหว่างปีงบประมาณ 2553 - 2556 ได้เนื่องจากต้องจัดทำงบประมาณแบบขาดดุล เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศที่อยู่ในช่วงขาลง
  • รัฐบาลไม่สามารถรักษาสัดส่วนงบลงทุนต่องบประมาณรายจ่ายให้ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 25 ในปีงบประมาณ 2552 และ 2553 แต่คาดว่าในปีงบประมาณ 2554 จะมีสัดส่วนงบลงทุนที่สูงกว่าร้อยละ 25
ความคืบหน้ามาตรการสำคัญของรัฐบาล
1. โครงการธนาคารประชาชน
  • ณ สิ้นเดือนเมษายน 2552 สมาชิกได้ยื่นกู้รวมทั้งสิ้น 21,383,224 ราย โดยได้รับสินเชื่อแล้ว 1,731,462 ราย เป็นเงิน 43,973.5 ล้านบาท โดยในเดือนเมษายน 2552 มีสมาชิกขอกู้จำนวน 628,718 ราย แต่มีสมาชิกที่ได้รับสินเชื่อ 86,896 ราย
  • หนี้ค้างชำระเกิน 6 เดือน มีจำนวน 77,805 ราย เป็นเงิน 1,288.1 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 18.2 ของสินเชื่อโดยเพิ่มขึ้นจากเดือนที่แล้ว 1,194 ราย แต่จำนวนหนี้ค้างชำระเพิ่มขึ้น 24.4 ล้านบาท
2. กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง
  • ณ สิ้นเดือนเมษายน 2552 ได้มีการจัดสรรและโอนเงินให้กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง รวม 78,920 กองทุน และได้จัดสรรเงินให้สมาชิกจำนวน 471,819 ล้านบาท โดยสมาชิกได้ชำระคืนเงินต้นพร้อมดอกเบี้ยแล้ว 316,571 ล้านบาท (เงินต้น 293,698 ล้านบาท และดอกเบี้ย 22,873 ล้านบาท)
3. โครงการบ้านเอื้ออาทร
  • ณ สิ้นเดือนเมษายน 2552 มีบ้านเอื้ออาทรที่ได้ดำเนินการก่อสร้างเสร็จแล้ว จำนวน 190,920 หน่วย โครงการที่อยู่ระหว่างก่อสร้าง จำนวน 90,636 หน่วย โดยสำนักงบประมาณได้จัดสรรเงินอุดหนุนให้แล้วจำนวน 31,289.7 ล้านบาท และมีการเบิกจ่ายเงินอุดหนุนแล้วจำนวน 28,597.0 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 91.4 ของงบประมาณที่ได้รับอุดหนุน
4. โครงการเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อยกระดับชุมชน (ศพช.) หรือโครงการชุมชนพอเพียง

โครงการชุมชนพอเพียง เป็นโครงการที่มุ่งจัดสรรงบประมาณโดยตรงไปยังชุมชนทั่วประเทศให้ทุกชุมชนได้มีโอกาสในการเข้าถึงแหล่งงบประมาณของภาครัฐรวดเร็วครอบคลุมทั่วถึง ณ สิ้นเดือนเมษายน 2552 รัฐบาลได้โอนเงินโครงการฯ ให้กับหมู่บ้านและชุมชนทั่วประเทศรวม 1,033 แห่ง เป็นเงิน 289 ล้านบาท

การกระจายอำนาจการคลังให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.)

*ความคืบหน้าการพิจารณาจัดทำกฎหมายท้องถิ่นตามข้อกำหนดของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550

ในการประชุมคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (กกถ.) เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2552 ได้มีการพิจารณาร่างกฎหมายท้องถิ่นตามข้อกำหนดของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 จำนวน 4 ฉบับ ซึ่งในจำนวนนี้มีร่างพระราชบัญญัติรายได้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. .... ซึ่งที่มีความเกี่ยวข้องกับอำนาจหน้าที่ของกระทรวงการคลังโดยตรงโดยได้พิจารณาโครงสร้างของกฎหมายทั้ง 5 หมวด ได้แก่ หมวด 1 โครงสร้างรายได้ขององค์กร

ปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) หมวด 2 อำนาจหน้าที่ในการจัดเก็บรายได้ หมวด 3 คณะกรรมการรายได้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หมวด 4 การจัดสรรรายได้ให้แก่ อปท. และหมวด 5 การคำนวณสัดส่วนรายได้ของ อปท.ทั้งนี้ ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบร่างกฎหมายท้องถิ่น จำนวน 4 ฉบับและมอบหมายให้ฝ่ายเลขานุการฯปรับปรุงร่างกฎหมายท้องถิ่นในบางประเด็นพร้อมทั้งตรวจสอบความถูกต้องรายละเอียดของร่างกฎหมายก่อนดำเนินการเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาตามขั้นตอนต่อไป

มติคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับภาคการคลังที่สำคัญ (ระหว่างวันที่ 6 พฤษภาคม - 26 พฤษภาคม 2552)
1. กรอบการเจรจากู้เงินจากต่างประเทศ

คณะรัฐมนตรีเมื่อการประชุมวันที่ 6 พฤษภาคม 2552 มีมติอนุมัติและเห็นชอบกรอบการเจรจากู้เงินจากต่างประเทศสำหรับโครงการ 3 โครงการ ได้แก่ โครงการก่อสร้างทางสายหลักให้เป็น 4 ช่องจราจร โครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณถนนนนทบุรี 1 และโครงการปรับปรุงกิจการประปา แผนหลักครั้งที่ 8 โดยคิดเป็นวงเงินประมาณ 311.43 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือเทียบเท่า 10,277.20 ล้านบาท

2. การจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2553

คณะรัฐมนตรีเมื่อการประชุมวันที่ 6 พฤษภาคม 2552 มีมติเห็นชอบการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 ซึ่งประกอบด้วย โครงสร้างงบประมาณรายจ่าย การจัดสรรงบประมาณ

รายจ่ายตามยุทธศาสตร์ และการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

3. รายงานผลการพิจารณากลั่นกรองโครงการภายใต้แผนฟื้นฟูเศรษฐกิจ ระยะที่ 2

คณะรัฐมนตรี เมื่อการประชุมวันที่ 6 พฤษภาคม 2552 ได้มีมติรับทราบแผนการลงทุนสำหรับภายใต้แผนฟื้นฟูเศรษฐกิจ ระยะที่ 2 (Stimulus Package 2 : SP2) "โครงการ SP2" ในช่วงปีงบประมาณ 2553-2555 วงเงินลงทุนรวม 1,431,330 ล้านบาท โดยได้อนุมัติให้ดำเนินโครงการ SP2 ประเภทที่ 1 ที่มีความพร้อมที่ จะดำเนินการได้ในปีงบประมาณ 2553 วงเงินลงทุนรวม 1,063,673 ล้านบาท และอนุมัติแผนการระดมทุน และกลยุทธ์การระดมทุนสำหรับโครงการ SP2 ที่รัฐบาลเป็นผู้รับภาระในการลงทุน นอกจากนี้ได้เห็นชอบ แนวทางการดำเนินโครงการ SP2 และมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งรัดดำเนินการให้เรียบร้อยโดยเร็ว

รวมทั้ง เห็นชอบแนวทางการพิจารณากลั่นกรองโครงการที่เสนอขอบรรจุเข้าโครงการ SP2 เพิ่มเติม

4. มาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของสถาบันคุ้มครองเงินฝาก

คณะรัฐมนตรีเมื่อการประชุมวันที่ 13 พฤษภาคม 2552 มีมติอนุมัติหลักการกฎหมายรวม 3 ฉบับ เพื่อยกเว้นการเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ให้แก่สถาบันคุ้มครองเงินฝาก

5. เงินกู้ Public Sector Reform Development Policy Loan (PSRDPL) จากธนาคารโลก

คณะรัฐมนตรีเมื่อการประชุมวันที่ 13 พฤษภาคม 2552 มีมติอนุมัติเรื่องเงินกู้ Public Sector Reform Development Policy Loan (PSRDPL) จากธนาคารโลก วงเงิน 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐ และได้รับหลักการของร่างสัญญาเงินกู้ Public Sector Reform Development Policy Loan (PSRDPL)จากธนาคารโลกโดย มอบหมายให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังหรือผู้ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังมอบหมายเป็น ผู้ลงนามในสัญญากู้เงิน

6. การจ่ายเงินชดเชยการดำเนินการตามมาตรการลดภาระค่าครองชีพของประชาชนกรณีองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ

คณะรัฐมนตรีเมื่อการประชุมวันที่ 19 พฤษภาคม 2552 มีมติเห็นชอบให้องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) กู้เงินและกระทรวงการคลังเป็นผู้ค้ำประกันเงินกู้เพื่อชดเชยค่าใช้จ่ายในการให้บริการตามมาตรการลดภาระค่าครองชีพของประชาชนแก่ ขสมก.ในกรอบวงเงิน 639.13 ล้านบาท

7. ของบกลางช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบภัยธรรมชาติ ปี 2551

คณะรัฐมนตรีเมื่อการประชุมวันที่ 26 พฤษภาคม 2552 มีมติอนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวน 62,625,712 บาท เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบภัยธรรมชาติปี 2551 ในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ ตาก อุบลราชธานี ระยอง ชุมพร และจังหวัดสุราษฎร์ธานี รวม 6 จังหวัด

8. มาตรการให้ความช่วยเหลือ ฟื้นฟู และพัฒนาเศรษฐกิจในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ

คณะรัฐมนตรีเมื่อการประชุมวันที่ 26 พฤษภาคม 2552 มีมติเห็นชอบการขยายเวลามาตรการให้ ความช่วยเหลือ ฟื้นฟูและพัฒนาเศรษฐกิจในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจออกไปอีก 2 ปี จนถึงวันที่ 22 พฤษภาคม 2554 เฉพาะในส่วนของมาตรการที่กำหนดให้ส่วนราชการในภูมิภาคหรือส่วนราชการในส่วนกลางที่มีหน่วยงานตั้งอยู่ในส่วนภูมิภาค ซึ่งอยู่ในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจที่จะทำการจัดซื้อหรือจัดจ้างโดยวิธีพิเศษ (จัดซื้อในวงเงินเกิน 100,000 บาท แต่ไม่เกิน 15,000,000 บาท และจัดจ้างในวงเงินเกิน 100,000 บาท แต่ไม่เกิน 30,000,000 บาท)

9. การรายงานผลการจ่าย "เช็คช่วยชาติ" ต่อคณะรัฐมนตรี

คณะรัฐมนตรีเมื่อการประชุมวันที่ 26 พฤษภาคม 2552 รับทราบรายงานผลการจ่าย "เช็คช่วยชาติ" ในช่วงวันที่ 26 มีนาคม - 23 พฤษภาคม 2552 โดยได้จ่าย "เช็คช่วยชาติ" ให้แก่ผู้ประกันตนที่มีสิทธิได้รับ "เช็คช่วยชาติ" รวม 7,233,781 คน

เดือนเมษายน 2552
รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ 81,681 ล้านบาทต่ำกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ 34,389 ล้านบาท หรือร้อยละ  29.6 (ต่ำกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 34.8)
          เดือนเมษายน 2552 รัฐบาลจัดเก็บ รายได้สุทธิ 81,681 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 34,389 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 29.6 (ต่ำกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 34.8)  สาเหตุสำคัญเนื่องจาก
           - การนำส่งรายได้ของรัฐวิสาหกิจต่ำกว่าประมาณการ 14,014 ล้านบาท หรือร้อยละ 54.2 ทั้งนี้ เป็นเพราะ บมจ. ปตท. จ่ายเงินปันผลต่ำกว่าประมาณการ  เนื่องจากผลประกอบการในรอบ ครึ่งหลังของปี 2551 ของบริษัทในเครือกลุ่มธุรกิจการกลั่นที่มีค่าการกลั่นลดลง  และมีขาดทุน จากสินค้าคงเหลือ (Stock Loss) ที่ค่อนข้างสูง  เนื่องจากราคาตลาดของน้ำมันดิบและผลิตภัณฑ์ปรับตัวลดลงอย่างมีนัยสำคัญ  นอกจากนี้  การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยและการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคได้นำส่งรายได้ต่ำกว่าเป้าหมาย ที่ตั้งไว้ด้วย เนื่องจากมีปัญหาเรื่องสภาพคล่องจึงขอทยอยนำส่งรายได้
          - การจัดเก็บภาษีของ 3 กรมต่ำกว่าประมาณการที่สำคัญ ได้แก่ ภาษีมูลค่าเพิ่มจัดเก็บได้ต่ำกว่าประมาณการ 11,120 ล้านบาทหรือร้อยละ 23.7 เนื่องจากภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บจากการนำเข้าสินค้าต่ำกว่าประมาณการถึงร้อยละ 39.9 เป็นไปในทิศทางเดียวกับอากรขาเข้าที่จัดเก็บได้ต่ำกว่าประมาณการ 1,785ล้านบาท หรือร้อยละ 23.4 ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจัดเก็บได้ต่ำกว่าประมาณการ 2,270 ล้านบาท หรือร้อยละ 11.9 และภาษีรถยนต์จัดเก็บได้ต่ำกว่าประมาณการ 1,809 ล้านบาทหรือร้อยละ 36.3
          อย่างไรก็ดี การจัดเก็บภาษียาสูบสูงกว่าประมาณการ 1,198 ล้านบาท หรือร้อยละ 31.4 เนื่องจากข่าวการปรับเพิ่มอัตราภาษียาสูบ

ในช่วง 7 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2552 (ตุลาคม 2551 — เมษายน 2552)
          รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ 644,651 ล้านบาทต่ำกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 128,933 ล้านบาท หรือร้อยละ 16.7 (ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 15.0) เป็นผลจากการจัดเก็บภาษีของ 3 กรมหลัก และการนำส่งรายได้ของรัฐวิสาหกิจที่ต่ำกว่าประมาณการ ประกอบกับการคืนภาษีของกรมสรรพากรที่สูงในช่วงไตรมาสแรกของปีงบประมาณ
          ผลการจัดเก็บรายได้แยกตามหน่วยงานจัดเก็บสรุปได้ ดังนี้
          กรมสรรพากร จัดเก็บได้รวม 518,693 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการตามเอกสาร
          งบประมาณ 61,934 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 10.7 (ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 8.5) ภาษีที่จัดเก็บได้ต่ำกว่าประมาณการที่สำคัญได้แก่ ภาษีมูลค่าเพิ่มจัดเก็บได้ต่ำกว่าประมาณการ 57,042 ล้านบาท หรือร้อยละ 18.6 สาเหตุสำคัญมาจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากการนำเข้าและการบริโภคในประเทศที่ต่ำกว่าประมาณการร้อยละ 31.1 และ 7.5 ตามลำดับ (ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 23.4 และ 3.4 ตามลำดับ)
          นอกจากนี้ การจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดายังต่ำกว่าประมาณการจำนวน 10,263 ล้านบาทหรือร้อยละ 7.6 เป็นผลจากภาษีที่จัดเก็บจากฐานเงินเดือน ค่าจ้าง ดอกเบี้ย และการขายอสังหาริมทรัพย์ที่ต่ำกว่าประมาณการ ซึ่งมีสาเหตุจากภาวะเศรษฐกิจที่หดตัวและมาตรการลดหย่อนภาษีต่างๆ อย่างไรก็ดี ภาษีเงินได้ปิโตรเลียมจัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ 4,608 ล้านบาท
          กรมสรรพสามิต จัดเก็บได้รวม 153,037 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 31,563 ล้านบาท หรือร้อยละ 17.1 (ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 11.3)โดยสาเหตุสำคัญมาจากการจัดเก็บภาษีน้ำมัน ที่ต่ำกว่าประมาณการถึง 21,551 ล้านบาท หรือร้อยละ 40.3 เนื่องจากได้รับผลกระทบจากมาตรการลดอัตราภาษีน้ำมันดีเซลและแก๊สโซฮอล์ในช่วง 4 เดือนแรกของปีงบประมาณรวมทั้งปริมาณการใช้น้ำมันที่ชะลอตัวลงตามภาวะเศรษฐกิจ และภาษีรถยนต์ที่จัดเก็บได้ต่ำกว่าประมาณการ 11,417 ล้านบาท หรือร้อยละ 30.4 เนื่องจากประชาชนชะลอการซื้อสินค้าคงทนประกอบกับสถาบันการเงินระมัดระวังในการให้สินเชื่อมากขึ้น
          กรมศุลกากร จัดเก็บได้รวม 47,426 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 10,504 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 18.1 (ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 17.0)เนื่องจากอากรขาเข้าจัดเก็บได้ต่ำกว่า ประมาณการ 10,536 ล้านบาท หรือร้อยละ 18.6 เป็นผลจากการหดตัวของมูลค่าการนำเข้าสินค้าเป็นสำคัญ โดยในช่วง 6 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2552 (ตุลาคม 2551 - มีนาคม2552) มูลค่าการนำเข้าในรูปเงินดอลลาร์ สรอ.และเงินบาทต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 17.2 และ 14.6 ตามลำดับ
          รัฐวิสาหกิจนำส่งรายได้ 41,814 ฐรัฐวิสาหกิจ ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการ 19,340 ล้านบาท หรือร้อยละ 31.6 (ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว ร้อยละ 36.6) โดยมีสาเหตุสำคัญมาจากการที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยเปลี่ยนแปลงการนำส่งรายได้ จากเดิมที่จะนำส่ง  2 งวด คือในเดือนตุลาคม 2551 และเดือนเมษายน 2552 เป็นการนำส่ง 4 งวด โดยเริ่มนำส่งในเดือนเมษายนเป็นงวดแรก  และ บมจ. ปตท. จ่ายเงิน ปันผลต่ำกว่าประมาณการเนื่องจากผลประกอบการในช่วงครึ่งหลังของปี 2551 ลดลง รวมทั้ง บมจ.  ทีโอที ยังไม่สามารถนำส่งเงินปันผลได้ ทั้งนี้ บมจ.ทีโอทีจะจ่ายเงินปันผลได้ภายในเดือนพฤษภาคมนี้ อย่างไรก็ดี บมจ.ท่าอากาศยานไทย และโรงงานยาสูบสามารถนำส่งรายได้ได้สูงกว่าประมาณการที่ตั้งไว้
          หน่วยงานอื่น นำส่งรายได้รวม 48,018 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 4,332 ล้านบาท หรือร้อยละ 9.9 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 20.4)  เนื่องจากในช่วงต้นปีงบประมาณ การจัดเก็บค่าภาคหลวงปิโตรเลียมยังได้รับประโยชน์จากราคาน้ำมันดิบที่ยังอยู่ในระดับสูง รวมทั้ง มีรายได้เบ็ดเตล็ดอื่นๆ ที่จัดเก็บได้สูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้
          การคืนภาษีของกรมสรรพากร 136,857 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 11,918 ล้านบาท หรือร้อยละ 9.5 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 23.8) ประกอบด้วยการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มที่สูงกว่าประมาณการ 4,702 ล้านบาท หรือร้อยละ 4.6 และการคืนภาษีอื่นๆ สูงกว่าประมาณการ 7,216 ล้านบาท หรือร้อยละ 30.5

สรุป
          จากผลการจัดเก็บรายได้รัฐบาลในช่วง 7 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2552 ซึ่งต่ำกว่าประมาณการ 128,933 ล้านบาท และแม้ว่าคณะรัฐมนตรีจะมีมติให้ปรับเพิ่มอัตราภาษีเบียร์ สุรา ยาสูบ และน้ำมัน ซึ่งจะช่วยเพิ่มรายได้ของรัฐบาลได้อีกทางหนึ่งก็ตาม แต่ก็คาดว่าผลกระทบจากภาวะวิกฤตเศรษฐกิจจะทำให้การจัดเก็บรายได้ตลอดทั้งปีงบประมาณ 2552 จะยังคงต่ำกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ (1,604,640 ล้านบาท) ในระดับที่ไม่น้อยกว่า 200,000 ล้านบาท

          *ปีงบประมาณ 2552 รัฐบาลอนุมัติวงเงินงบประมาณรายจ่ายจำนวน 1,835,000 ล้านบาท สูงกว่าปีงบประมาณ 2551 (1,660,000 ล้านบาท) ร้อยละ 10.5 โดยแบ่งเป็นรายจ่ายประจำ 1,336,269.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.8  เมื่อเทียบกับปีก่อนรายจ่ายลงทุน  407,514.5  ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.8 เมื่อเทียบกับปีก่อน รายจ่ายเพื่อชดใช้เงินคงคลัง 27,540.2 ล้านบาท และรายจ่ายชำระคืนต้นเงินกู้ 63,676.1 ล้านบาท ซึ่งได้ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 125 ตอนที่ 109ก เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2551
          *คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2551 เห็นชอบการกำหนดเป้าหมายการเบิกจ่ายงบประมาณจากเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2552  ที่อัตราร้อยละ 94.0 และกำหนดเป้าหมายการเบิกจ่ายงบลงทุนไว้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 74.0 ของวงเงินงบประมาณรายจ่ายลงทุน โดยได้กำหนดเป้าหมายการเบิกจ่ายรายไตรมาส ดังนี้

ไตรมาสที่     เป้าหมายการเบิกจ่าย      เป้าหมายการเบิกจ่าย   เป้าหมายอัตราการเบิกจ่าย    เบิกจ่าย       อัตรา%
           แต่ละไตรมาส (ล้านบาท)       (ล้านบาท)         สะสม ณ สิ้นไตรมาส (%)   (ล้านบาท)*
   1          412,875                 412,875              22.5              362,321       19.7
   2          431,225                 844,100              46.0              845,362       46.1
   3          440,400               1,284,500              70.0
   4          440,400               1,724,900              94.0
 *ไม่รวมการเบิกจ่ายจากงบประมาณจ่ายเพิ่มเติม 116,700 ล้านบาท

          *รัฐบาลอนุมัติวงเงินงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 จำนวน 116,700 ล้านบาท ซึ่งได้ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 126 ตอนที่ 14ก เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2552

เดือนเมษายน 2552
          รัฐบาลมีการเบิกจ่ายเงินงบประมาณทั้งสิ้น จำนวน 140,465 ล้านบาท ต่ำกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้ว 9,564 ล้านบาท หรือร้อยละ 6.4 และมีการเบิกจ่าย เงินกันไว้เบิกเหลื่อมปี 5,625 ล้านบาททำให้มียอดรวมการเบิกจ่ายทั้งสิ้น 146,090 ล้านบาท
          -  การเบิกจ่ายงบประมาณ จำนวน 140,465 ล้านบาท เป็นการเบิกจ่ายจาก
          1) งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2552 จำนวน 129,467 ล้านบาท แบ่งเป็นรายจ่ายประจำ 1 จำนวน 108,502 ล้านบาท และรายจ่ายลงทุน จำนวน 20,965  ล้านบาท
          2) การเบิกจ่ายจากงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ 2552 จำนวน 10,998 ล้านบาท เป็นการเบิกจ่ายรายจ่ายประจำ จำนวน  10,976 ล้านบาท และรายจ่ายลงทุนจำนวน 22 ล้านบาท
          -  การเบิกจ่ายเงินกันไว้เบิกเหลื่อมปีมีจำนวน 5,625 ล้านบาท

* ในช่วง 7 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2552 (ตุลาคม 2551 - เมษายน 2552)
              ปีงบประมาณ  2552 รัฐบาลได้เบิกจ่ายเงินแล้ว จำนวน 1,022,556  ล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 145,549 ล้านบาท หรือร้อยละ  16.6 ทั้งนี้ มีการเบิกจ่ายเงินกันไว้เบิกเหลื่อมปี 90,907 ล้านบาท ทำให้มียอดรวมการเบิกจ่าย ทั้งสิ้น 1,113,463 ล้านบาท
           -  การเบิกจ่ายงบประมาณประจำปีงบประมาณ 2552 จำนวน 1,022,556 ล้านบาท คิดเป็นอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 52.4 ของวงเงินงบประมาณ 1,951,700 ล้านบาท  ประกอบด้วย
          1)  การเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2552 จำนวน 974,829  ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 53.1 ของวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ  2552 (1,835,000  ล้านบาท) แบ่งเป็นรายจ่ายประจำจำนวน  826,750 ล้านบาท  คิดเป็นร้อยละ 55.7 ของวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำหลังโอนเปลี่ยนแปลง (1,484,983  ล้านบาท) รายจ่ายลงทุนจำนวน 148,079  ล้านบาท  คิดเป็น ร้อยละ  42.3 ของวงเงินงบประมาณรายจ่ายลงทุนหลังโอนเปลี่ยนแปลง (350,017  ล้านบาท)
          - การเบิกจ่ายงบกลาง มีจำนวน 142,030ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 59.0 ของงบประมาณงบกลาง (240,941 ล้านบาท)
          - สำหรับการเบิกจ่ายงบประมาณตามลักษณะเศรษฐกิจและกระทรวงนั้น หน่วยงานที่มีการเบิกจ่ายสูงที่สุด 3 อันดับแรก คือ หน่วยงานอิสระตามรัฐธรรมนูญ มีการเบิกจ่าย 14,639 ล้านบาท คิดเป็น ร้อยละ 85.4 กระทรวงแรงงาน 19,768 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 71.9 และกองทุนและเงินทุนหมุนเวียน 84,493 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 66.7
          - ในขณะที่หน่วยงานที่มีการเบิกจ่ายต่ำสุด 3 อันดับสุดท้าย คือ จังหวัด มีการเบิกจ่าย จำนวน 3,984 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 21.8 กระทรวงพลังงาน 681 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 29.4 และกระทรวงคมนาคม 23,350 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 33.0
          2) การเบิกจ่ายจากงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ 2552 จำนวน 47,727 ล้านบาทคิดเป็นร้อยละ 40.9 ของวงเงินงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ 2552 (116,700 ล้านบาท) เป็นการเบิกจ่ายรายจ่ายประจำ จำนวน 47,705 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 50.9 ของวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำ (93,672 ล้านบาท) และรายจ่ายลงทุน จำนวน 22 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 0.1 ของวงเงินงบประมาณรายจ่ายลงทุน (23,028 ล้านบาท)
          3) การเบิกจ่ายเงินกันไว้เบิกเหลื่อมปี มีจำนวน 90,907 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 47.5 ของเงินกันไว้เบิกเหลื่อมปี (191,523 ล้านบาท)

การเบิกจ่ายเงินกู้ต่างประเทศ
ผลการเบิกจ่าย
          - เดือนเมษายน 2552 มีการเบิกจ่ายเงินกู้ต่างประเทศ ประมาณ 784.4 ล้านบาท เปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันปีที่แล้วเพิ่มขึ้น 681.1 ล้านบาท หรือร้อยละ 659.3
          - 7 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2552 (ต.ค.2551 - เม.ย. 2552) มีการเบิกจ่ายเงินกู้ต่างประเทศ 5,246.7 ล้านบาท เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่แล้วเพิ่มขึ้น 4,881.5 ล้านบาท หรือร้อยละ 1,336.7

          สรุปการเบิกจ่ายเงินกู้ต่างประเทศ
เดือนเมษายน 2552 และ 7 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2552
หน่วย : ล้านบาท
          รายการ                                    เมษายน                  ตุลาคม - เมษายน
                                            2552     2551   อัตราเพิ่ม     2552     2551    อัตราเพิ่ม
                                                            (ร้อยละ)                      (ร้อยละ)
1. Project Loans                            44.4      5.8    665.5      69.4    124.4      -44.2
2. Structural Adjustment Loans (SAL)*      740.0     97.5    659.0   5,177.3    240.8    2,050.0
          รวม                              784.4    103.3    659.3   5,246.7    365.2    1,336.7
ที่มา : สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ
* ตัวเลขเดือนเมษายน ประมาณการโดย สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง

การเบิกจ่ายของกองทุนนอกงบประมาณตามระบบ สศค.
เดือนเมษายน 2552
          การเบิกจ่ายเงินของกองทุนนอกงบประมาณสูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 3.6 เป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของรายจ่ายกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง และกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา

          ในช่วง 7 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2552 (ตุลาคม 2551 - เมษายน 2552)
          การเบิกจ่ายเงินของกองทุนฯ ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 0.5 โดยมีสาเหตุหลักมาจากการเบิกจ่ายที่ลดลงของกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง และกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา

          1. เดือนเมษายน 2552 มีการเบิกจ่ายรวม 11,042.6 ล้านบาท สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้ว 381.9 ล้านบาท หรือร้อยละ 3.6 ประกอบด้วยรายจ่ายดำเนินงาน 9,863.3 ล้านบาท สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้ว 27.5 ล้านบาท หรือร้อยละ 0.3 ในขณะที่มีการให้กู้สุทธิ 1,179.3 ล้านบาท สูงกว่าเดือน
เดียวกันปีที่แล้ว 354.4 ล้านบาท หรือร้อยละ 43
          2. ในช่วง 7 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2552 มีการเบิกจ่ายรวม 102,744.1 ล้านบาท ต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว 497 ล้านบาท หรือร้อยละ 0.5 ประกอบด้วย
          1) รายจ่ายดำเนินงาน 83,040 ล้านบาท ต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว 1,705.8 ล้านบาท หรือร้อยละ 2.0 โดยเป็นผลจากการเบิกรายจ่ายดำเนินงานที่ลดลงของกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
          2) รายจ่ายเงินให้กู้ยืมสุทธิ 19,704.1 ล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว 1,208.8 ล้านบาทหรือร้อยละ 6.5 เป็นผลมาจากการให้กู้ยืมที่เพิ่มสูงขึ้นของกองทุนอ้อยและน้ำตาลทราย

    สรุปการเบิกจ่ายของกองทุนนอกงบประมาณตามระบบ สศค. ในช่วง 7 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2552
                              (ตุลาคม 2551 - เมษายน 2552)
                                                                                      หน่วย : ล้านบาท   รายการ                                       เมษายน                         7 เดือนแรกของปีงบประมาณ
                                     2552*      2551       อัตราเพิ่ม     2552*        2551     อัตราเพิ่ม
การเบิกจ่ายของกองทุนนอกงบประมาณ    1 1,042.6   10,660.7         3.6    102,744.1   103,241.1       -0.5
1. รายจ่ายดำเนินงาน                9 ,863.3    9,835.8         0.3     83,040.0    84,745.8       -2.0
2. รายจ่ายเงินให้กู้ยืมสุทธิ             1 ,179.3      824.9        43.0     19,704.1    18,495.3        6.5
ที่มา : กองทุนประกันสังคม กองทุนเงินทดแทน กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง กองทุนหมุนเวียนการผลิตเหรียญกษาปณ์และการทำของกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา กองทุนเงินทุนค่าธรรมเนียมผ่านทาง กองทุนส่งเสริมวิสาหกิจ กองทุนอ้อยและน้ำตาล กองทุนหลักประกันสุขภาพ กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง กองทุนส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน กองทุนเพื่อการพัฒนาวิทยาศาสตร์กองทุนช่วยเหลือเกษตรกร กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ กองทุนสนับสนุนการวิจัย
หมายเหตุ : * ตัวเลขประมาณการ โดยสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง

ฐานะการคลัง

ดุลการคลังตามระบบกระแสเงินสด1 เดือนตุลาคม 2551 - เมษายน 2552 ปีงบประมาณ พ.ศ. 2552

*เดือนตุลาคม 2551 - เมษายน 2552
          ดุลการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดขาดดุล 433,388 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 4.9 ของ GDP
          เดือนตุลาคม 2551 — เมษายน 2552 รัฐบาลมีรายได้นำส่งคลัง 654,963 ล้านบาท และมีการเบิกจ่ายงบประมาณจากงบประมาณปีปัจจุบันและปีก่อนรวม 1,113,463 ล้านบาท ส่งผลให้ดุลเงินงบประมาณขาดดุลจำนวน 458,500 ล้านบาท เมื่อรวมกับดุลเงินนอกงบประมาณที่เกินดุลจำนวน 25,112 ล้านบาททำให้ดุลเงินสดขาดดุลทั้งสิ้น 433,388 ล้านบาทโดยรัฐบาลชดเชยการขาดดุลโดยการออกพันธบัตรตั๋วสัญญาใช้เงิน และตั๋วเงินคลัง จำนวน 302,218ล้านบาท ส่งผลให้ดุลเงินสดหลังการกู้เงินขาดดุลทั้งสิ้น 131,170 ล้านบาท

ดุลการคลังของรัฐบาลตามระบบ สศค.3 (ตุลาคม 2551 — เมษายน 2552) ปีงบประมาณ พ.ศ. 2552
          ในช่วง 7 เดือนแรกปีงบประมาณ 2552 รัฐบาลมีรายได้ทั้งสิ้น 661,891 ล้านบาทและมีรายจ่ายทั้งสิ้น 1,093,956 ล้านบาทคิดเป็นร้อยละ 7.5 และ 12.4 ของ GDP ตามลำดับ
          ด้านรายได้ รัฐบาลมีรายได้ทั้งสิ้น 661,891 ล้านบาทลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 15.9 โดยประกอบด้วยรายได้ในงบประมาณ 660,906ล้านบาท (ก่อนจัดสรรภาษีมูลค่าเพิ่มให้ อปท.) และเงินช่วยเหลือจาก ตปท. 985 ล้านบาทด้านรายจ่าย รัฐบาลมีรายจ่ายทั้งสิ้น 1,093,956 ล้านบาทเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 12.9 ประกอบด้วยรายจ่ายจากงบประมาณปีปัจจุบันและปีก่อน (ไม่รวมรายจ่ายชำระคืนต้นเงินกู้) 1,092,971 ล้านบาท รายจ่ายเงินช่วยเหลือจาก ตปท. 985 ล้านบาท

          ดุลเงินงบประมาณเดือนตุลาคม 2551 —เมษายน 2552 ขาดดุลทั้งสิ้น 432,064 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 4.9 ของ GDP
          ดุลเงินงบประมาณเดือนตุลาคม 2551 — เมษายน 2552 ขาดดุลทั้งสิ้น 432,064 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 4.9 ของ GDP ในขณะเดียวกันปีที่แล้วขาดดุล 182,082 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 2.0 ของ GDP

          ดุลบัญชีเงินนอกงบประมาณเดือนตุลาคม 2551 — เมษายน 2552 เกินดุล 100,642 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 1.1 ของ GDP
          บัญชีนอกงบประมาณ ประกอบด้วยเงินฝากนอกงบประมาณ และกองทุนนอกงบประมาณ มีรายได้รวมทั้งสิ้น 227,405 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 28.3 และมีรายจ่ายที่ไม่รวมเงินให้กู้หักชำระคืนสุทธิจำนวน 104,167 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 3.6 ทำให้ดุลบัญชีเงินนอกงบประมาณเกินดุลทั้งสิ้น 100,642 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 1.1 ของ GDP

          ดุลการคลังของรัฐบาลเดือนตุลาคม 2551— เมษายน 2552 ขาดดุลทั้งสิ้น 335,118 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 3.8 ของ GDP
          ดุลเงินงบประมาณที่ขาดดุลรวมกับดุลบัญชีนอกงบประมาณที่เกินดุล และเมื่อหักรายจ่ายจากเงินกู้ต่างประเทศแล้วจำนวน 5,247 ล้านบาท ทำให้ดุลการคลังของรัฐบาลประจำเดือนตุลาคม 2551 — เมษายน 2552 ขาดดุลจำนว น 336,670 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 3.8 ของ GDP ในขณะที่ช่วงเดียวกันปีที่แล้วขาดดุล
132,304 ล้านบาท

ดุลการคลังของรัฐบาลตามระบบ สศค.4 (ตุลาคม 2551 — กุมภาพันธ์ 2552) ปีงบประมาณ พ.ศ. 2552
          * ในช่วง 5 เดือนแรกปีงบประมาณ 2552 รัฐบาลมีรายได้ทั้งสิ้น 466,751 ล้านบาทและมีรายจ่ายทั้งสิ้น 766,051 ล้านบาทคิดเป็นร้อยละ 5.0 และ 8.3 ของ GDP5 ตามลำดับ
          ด้านรายได้ รัฐบาลมีรายได้ทั้งสิ้น 466,751 ล้านบาท ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 15.7 โดยประกอบด้วยรายได้ในงบประมาณ 466,047 ล้านบาท (ก่อนจัดสรรภาษีมูลค่าเพิ่มให้ อปท.) และเงินช่วยเหลือจาก ตปท. 704 ล้านบาทด้านรายจ่าย รัฐบาลมีรายจ่ายทั้งสิ้น 766,051 ล้านบาท
เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยะ 13.0 ประกอบด้วยรายจ่ายจากงบประมาณปีปัจจุบันและปีก่อน (ไม่รวมรายจ่ายชำระคืนต้นเงินกู้) 765,347 ล้านบาท รายจ่ายเงินช่วยเหลือจาก ตปท. 704 ล้านบาท

          * ดุลเงินงบประมาณเดือนตุลาคม 2551 —กุมภาพันธ์ 2552 ขาดดุลทั้งสิ้น 299,300 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 3.2 ของ GDP
          ดุลเงินงบประมาณเดือนตุลาคม 2551 — กุมภาพันธ์ 2552 ขาดดุลทั้งสิ้น 299,300 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 3.2 ของ GDP ในขณะเดียวกันปีที่แล้วขาดดุล 124,197 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 1.4 ของ GDP
          ดุลบัญชีเงินนอกงบประมาณเดือนตุลาคม 2551 — กุมภาพันธ์ 2552 เกินดุล 59,983 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 0.6 ของ GDP
          บัญชีนอกงบประมาณ ประกอบด้วยเงินฝากนอกงบประมาณ และกองทุนนอกงบประมาณ มีรายได้รวมทั้งสิ้น 157,647 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 1.7 และมีรายจ่ายที่รวมเงินให้กู้หักชำระคืนสุทธิจำนวน 97,665 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 1.0 ทำให้ดุลบัญชีเงินนอกงบประมาณเกินดุลทั้งสิ้น 59,983 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 0.6 ของ GDP
          ดุลการคลังของรัฐบาลเดือนตุลาคม 2551 —กุมภาพันธ์ 2552 ขาดดุลทั้งสิ้น 243,464 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 2.6 ของ GDP
          ดุลเงินงบประมาณที่ขาดดุลรวมกับดุลบัญชีนอกงบประมาณที่ขาดดุล และเมื่อหักรายจ่ายจากเงินกู้ต่างประเทศแล้วจำนวน 4,147 ล้านบาท ทำให้ดุลการคลังของรัฐบาลประจำเดือนตุลาคม 2551 — กุมภาพันธ์ 2552 ขาดดุลจำนวน 243,464 ล้านบาทคิดเป็นร้อยละ 2.6 ของ GDP ในขณะที่ช่วงเดียวกันปีที่แล้วขาดดุล 81,416 ล้านบาท

กรอบความยั่งยืนทางการคลัง
          กระทรวงการคลังได้กำหนดกรอบความยั่งยืนทางการคลัง เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินนโยบายทางการคลังที่สอดคล้องกับสถานะเศรษฐกิจการเงินและการคลังของประเทศ โดยมีเป้าหมายเพื่อรักษาเสถียรภาพด้านการคลังในระยะปานกลางและระยะยาว ซึ่งกรอบความยั่งยืนทางการคลังประกอบด้วยตัวชี้วัดและเป้าหมาย (50-15-0-25) ดังนี้
          o ยอดหนี้สาธารณะคงค้างต่อ GDP ไม่เกินร้อยละ 50
          o ภาระหนี้ต่องบประมาณไม่เกินร้อยละ 15
          o การจัดทำงบประมาณสมดุล
          o สัดส่วนงบลงทุนต่องบประมาณรายจ่ายไม่ต่ำกว่าร้อยละ 25
          สำนักงานเศรษฐกิจการคลังได้จัดทำการวิเคราะห์ความยั่งยืนทางการคลังในระยะปานกลางเพื่อใช้เป็นแนวทางในการประเมินและรักษาความยั่งยืนทางการคลัง โดยมีผลการวิเคราะห์ระหว่างปีงบประมาณ 2552-2556 (รายละเอียดดังปรากฏในตารางสรุป) ซึ่งสรุปได้ดังนี้
          o ไม่สามารถรักษาสัดส่วนหนี้สาธารณะคงค้างต่อ GDP ให้ไม่เกินร้อยละ 50 ในระหว่างปีงบประมาณ 2553 — 2555 เนื่องจากรัฐบาลจำเป็นต้องมีการกู้ยืมเพิ่มสูงขึ้น เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในภาวะที่เศรษฐกิจชะลอตัว แต่อย่างไรก็ดี คาดว่าจะสามารถกลับมารักษาตัวชี้วัดนี้ได้ในปีงบประมาณ 2556
          o จะสามารถรักษาสัดส่วนภาระหนี้ต่องบประมาณไม่ให้เกินร้อยละ 15 ได้ แต่มีแนวโน้มว่าสัดส่วนดังกล่าวจะเพิ่มสูงขึ้น จากมูลหนี้ที่เพิ่มขึ้น
          o ไม่สามารถจัดทำงบประมาณสมดุลในปีงบประมาณ 2553 เนื่องจากต้องจัดทำงบประมาณแบบขาดดุล เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศที่อยู่ในช่วงขาลง ทั้งนี้ จากสภาวการณ์ในปัจจุบันคาดว่าจะมีการจัดทำงบประมาณแบบขาดดุลอย่างต่อเนื่องระหว่างปีงบประมาณ 2553 — 2556
          o ไม่สามารถรักษาสัดส่วนงบลงทุนต่องบประมาณรายจ่ายให้ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 25 ในปีงบประมาณ 2552 และ 2553 อย่างไรก็ดีจะยังคงเป้าหมายที่จะรักษาตัวชี้วัดดังกล่าวตั้งแต่ปี 2554 เพื่อการพัฒนาและการขยายตัวของเศรษฐกิจที่ยั่งยืน

ความคืบหน้ามาตรการสำคัญของรัฐบาล
มาตรการเดิม

1. โครงการธนาคารประชาชน
          ผลการดำเนินการ ณ สิ้นเดือนเมษายน 2552
          - สมาชิกยื่นกู้ มีจำนวน 21,383,224 รายจำนวนสมาชิกที่ได้รับสินเชื่อ 1,731,462 รายเป็นเงิน 43,973.5 ล้านบาท
          - หนี้ค้างชำระเกิน 6 เดือน มีจำนวน 77,805 ราย เป็นเงิน 1,288.1 ล้านบาท จากจำนวนสินเชื่อคงเหลือ 335,033 ราย เป็นเงินทั้งหมด 7,094.8 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 18.2 ของยอดสินเชื่อได้เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม 2549 เกือบ 2 เท่า
          โครงการธนาคารประชาชนเริ่มดำเนินการเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2545 เพื่อช่วยเหลือประชาชนที่ขาดโอกาสในการเข้าถึงแหล่งเงิน ส่งเสริมให้เกิดการออมทรัพย์อย่างเป็นระบบในหมู่สมาชิกและพัฒนาอาชีพ ตลอดจนส่งเสริมให้สมาชิกมีพัฒนาการด้านคุณภาพชีวิตการทำงานให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น

       ยอด NPL คิดเป็น % ต่อสินเชื่อคงเหลือ
                   ราย       จำนวนเงิน     NPL/สินเชื่อ
                             (ล้านบาท)      (ร้อยละ)
ม.ค.49           58,378        868.2        12.48
ธ.ค.49           78,857      1,240.6        17.35
ม.ค.50           80,341      1,263.9        17.95
ธ.ค.50           76,394      1,227.6        18.21
มี.ค.51           76,226      1,220.9        18.71
มิ.ย.51           79,402      1,274.0        19.73
ก.ย.51           80,700      1,309.5        20.22
ธ.ค.51           75,661      1,246.7        17.57
ม.ค.52           76,192      1,254.7        17.94
ก.พ.52           76,632      1,262.8        18.16
มี.ค.52           76,611      1,263.7        18.00
เม.ย.52          77,805      1,288.1        18.16

ธนาคารออมสินได้มีมาตรการแก้ไขปัญหาหนี้
          1.  ธนาคารออมสินสาขาออกบริการรับฝากเงินนอกสถานที่ ตามวัน เวลา และสถานที่ ที่กำหนด
          2.  ธนาคารได้เพิ่มหน่วยให้บริการเพื่อให้ลูกหนี้สามารถชำระหนี้ได้ด้วยความสะดวกอย่างทั่วถึง
          3.  จำนวนหนี้ค้างชำระไม่เกิน 3 เดือน ธนาคารเร่งออกติดตามอย่างต่อเนื่องทั้งทางโทรศัพท์ หนังสือเตือนให้ชำระหนี้ และการเข้าพบ
          4.  จำนวนหนี้ค้างชำระตั้งแต่ 3 เดือน ขึ้นไปธนาคารออมสินภาค / เขต / สาขา และพนักงาน จากฝ่ายสินเชื่อนโยบายรัฐจะร่วม ดำเนินการจัดทีมลงพื้นที่ และเชิญลูกหนี้มาเจรจา เพื่อแก้ไขหนี้ค้างชำระดังกล่าว
          5.  ธนาคารได้จ้างบริษัทติดตามหนี้ภายนอก เพื่อมาดำเนินการติดตามและแก้ไขหนี้สำหรับหนี้ที่ค้างชำระตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป ภายใต้เงื่อนไขและหลักเกณฑ์ที่ธนาคารกำหนด โดยฝ่ายสินเชื่อนโยบายรัฐได้ประเมินผลและติดตามการดำเนินงานของบริษัทอย่างใกล้ชิดเพื่อไม่ทำให้เสียภาพลักษณ์ของธนาคาร
          6.  ได้มีการประสานความร่วมมือระหว่างธนาคารออมสินกับสำนักระงับข้อพิพาท กระทรวงยุติธรรม เพื่อจัดกระบวนการไกล่เกลี่ยการชำระหนี้
          7.  มาตรการพิเศษสำหรับลูกค้าโครงการธนาคารประชาชน เพื่อสนับสนุนนโยบายของรัฐบาลในการกระตุ้นเศรษฐกิจฐานราก ได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยโครงการธนาคารประชาชนร้อยละ 0.25 ต่อเดือน สำหรับลูกค้าที่มีประวัติการชำระหนี้ดี โดยในรอบระยะเวลา 12 เดือน  ไม่มีหนี้ค้างชำระ นับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2551 เป็นต้นไป ทั้งลูกค้ารายเก่าและรายใหม่แบบชั้นบันได เพื่อเป็นการช่วยลดภาระให้กับลูกค้าที่มีประวัติการชำระหนี้ดีมี 3 กรณีคือ
          (1)  อายุสัญญากู้ 1 ปี ลดอัตราดอกเบี้ยให้ร้อยละ 0.25 ต่อเดือน เมื่อชำระครบตามกำหนดสัญญา
          (2)  สัญญากู้ 2 ปี ปีที่ 1 คิดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 1 ต่อเดือน ปีที่ 2 คิดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0.75 ต่อเดือน โดยจะจ่ายเงินคืนให้ลูกค้า เมื่อชำระครบตามกำหนดสัญญาอีกร้อยละ 0.25 ต่อเดือน
          (3)  อายุสัญญากู้ 3 ปี ปีที่ 1 คิดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 1 ต่อเดือน ปีที่ 2 คิดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0.75 ต่อเดือน ปีที่ 3 คิดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0.50 ต่อเดือน

2.  กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง
          *  ผลการดำเนินงาน ณ สิ้นเดือนเมษายน 2552
             -  กองทุนที่ได้รับจัดสรรและโอนเงินแล้ว 78,920 กองทุน
             -  จัดสรรเงินให้สมาชิก471,819 ล้านบาท
             -  สมาชิกชำระคืนเงินต้น  293,698  ล้านบาท
          โครงการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองเป็นโครงการที่จัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นแหล่งเงินทุนหมุนเวียนให้แก่หมู่บ้านหรือชุมชนเมืองกองทุนละ 1 ล้านบาททั่วประเทศ ในการลงทุนสร้างอาชีพเสริม และสร้างรายได้ให้แก่ประชาชนในชุมชนและวิสาหกิจขนาดเล็กในครัวเรือน โดยมุ่งเน้นในการลดรายจ่ายของประชาชน และให้โอกาสแก่ประชาชนโดยเฉพาะคนจนได้เข้าถึงแหล่งเงินทุน รวมทั้งได้เรียนรู้สั่งสมประสบการณ์ในการร่วมคิด ร่วมทำบริหารจัดการองค์กรและเงินทุน เพื่อสร้างพลังชุมชนให้เข้มแข็ง มุ่งเสริมสร้างกระบวนการพึ่งพาตนเองของหมู่บ้านและชุมชนเมือง เพื่อสร้างสำนึกความเป็นชุมชนท้องถิ่น จัดการเรียนรู้เพื่อสร้างการพัฒนาความคิดริเริ่ม ให้ชุมชนเป็นผู้กำหนดอนาคตด้วยคุณค่าและภูมิปัญญาของตนเอง ซึ่งเป็นการแก้ไขปัญหาและเสริมสร้างศักยภาพทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคมของประชาชนในหมู่บ้านและชุมชนเมืองทั้งหมดนี้ ได้ดำเนินการผลักดันโดยรัฐบาล

การดำเนินงาน ณ สิ้นเดือนเมษายน 2552
          - กองทุนที่ได้รับจัดสรรและโอนเงินแล้ว 78,920 กองทุน โดยผ่านธนาคารออมสิน 62,506 กองทุน และ ธ.ก.ส. 16,414 กองทุน
          - จ่ายเงินกู้แก่สมาชิกกองทุน (สะสม) 471,819 ล้านบาท โดยผ่านธนาคารออมสิน 348,794 ล้านบาท และ ธ.ก.ส. 123,025 ล้านบาท
          - สมาชิกชำระคืนเงินต้นและดอกเบี้ย โดยชำระเงินต้นกู้ผ่านธนาคารออมสิน 245,482 ล้านบาท และ ธ.ก.ส. 48,216 ล้านบาท และดอกเบี้ยผ่าน

ความก้าวหน้าการดำเนินงานของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองที่สำคัญ
          จากการจัดตั้งกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองนับตั้งแต่ที่รัฐบาลได้จัดสรร เมื่อวันที่ 25 กรกฏาคม 2544 ถึงปัจจุบันมีจำนวนกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง รวมทั้งสิ้น 78,920 กองทุน ทั่วประเทศ โดยจำแนกเป็น
          - กองทุนหมู่บ้าน จำนวน 74,728 กองทุน
          - กองทุนชุมชนเมือง จำนวน 3,454 กองทุน
          - กองทุนชุมชนทหาร จำนวน 738 กองทุน
ทั้งนี้ เป็นกองทุนหมู่บ้านที่จัดตั้งใหม่ จำนวน 907 กองทุน
          ปัจจุบันมียอดเงินทุนในกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง รวมทั้งสิ้น 132,440.48 ล้านบาท โดยจำแนกเป็น
          เงินกองทุนจากภาครัฐ จำนวน 81,245.6 ล้านบาท
          - เงินจากภาคประชาชน เงินออม หุ้น เงินฝาก จำนวน 30,120.50 ล้านบาท
          - เงินจากการขยายวงเงินกู้จากสถาบันการเงิน จำนวน 21,074.38 ล้านบาท
          สำหรับการชำระคืนเงินกู้ และหนี้ค้างชำระพบว่ามีการชำระคืนเงินกู้ที่ตรงต่อเวลาอยู่ระหว่างร้อยละ 94.0 — 96.0 ในแต่ละปี หนี้ค้างชำระหรือชำระไม่ตรงตามสัญญา อยู่ระหว่างร้อยละ 4.0 — 6.0 ในแต่ละปีเท่านั้น
          การใช้เงินกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองมียอดการกู้ยืมหมุนเวียนสะสม จำนวน 6-7 รอบต่อกองทุน สมาชิกที่กู้ยืมรวมสะสมมีจำนวน 10.28 ล้านราย (คิดเป็นร้อยละ 87 ของสมาชิกทั้งหมด) การใช้เงินกู้ของครัวเรือนสมาชิกส่วนใหญ่ร้อยละ 74.30 นำไปลงทุนด้านการเกษตร รองลงมาได้แก่การค้าขาย ร้อยละ 16.28 ด้านอุตสาหกรรมร้อยละ 3.64 การบริการ ร้อยละ 2.84 บรรเทาเหตุฉุกเฉิน ร้อยละ 1.74 และกิจกรรมกลุ่มร้อยละ 1.20 ตามลำดับ
          ปัจจุบันมีกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลตามพระราชบัญญัติแล้วจำนวน 69,345 กองทุน หรือคิดเป็นร้อยละ 87.87 ของกองทุนทั้งหมด (ณ วันที่ 3 ต.ค. 51) สำหรับกองทุนที่ยังไม่สามารถจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลนั้นก็ได้จัดตั้งคณะอนุกรรมการศึกษา สาเหตุเพื่อพัฒนายกระดับให้สามารถจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล
          นอกจากนี้ รัฐบาลยังได้ดำเนินการพัฒนาศักยภาพของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองที่มีการบริหารจัดการดี และมีความพร้อมให้ยกระดับเป็นสถาบันการเงินชุมชนถึงปัจจุบัน
          ได้เกิดสถาบันการเงินชุมชนนำร่อง ด้วยการสนับสนุนการเรียนรู้โดยธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และธนาคารกรุงไทย จำนวน 449 แห่ง เพื่อศึกษารูปแบบ และกระบวนการเรียนรู้พัฒนากองทุนหมู่บ้านขึ้นเป็นสถาบันการเงินชุมชน

3. โครงการบ้านเอื้ออาทร
          รัฐบาลมอบหมายให้กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โดยการเคหะแห่งชาติดำเนินการจัดสร้างที่อยู่อาศัยที่ได้มาตรฐานสำหรับประชาชนผู้ด้อยโอกาส ผู้มีรายได้น้อย ข้าราชการและพนักงานหน่วยงานของรัฐชั้นผู้น้อย จำนวน 600,000 หน่วย ภายในเวลา 5 ปี (พ.ศ. 2546-2550) วงเงินลงทุนรวมทั้งสิ้นประมาณ 273,209 ล้านบาท

เป้าหมายดำเนินงาน
          มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2550 อนุมัติตามกรอบใหม่ให้ดำเนินการระยะที่ 1-5 รวม 300,504 หน่วย
          คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติโครงการบ้านเอื้ออาทรรวม 5 ระยะ จำนวน 601,727 หน่วย วงเงินลงทุนรวมทั้งสิ้นประมาณ 273,209 ล้านบาท ซึ่งการเคหะแห่งชาติได้นำเสนอกระทรวงการพัฒนาสังคมฯ และคณะรัฐมนตรี

ความคืบหน้าการดำเนินงาน
          ณ สิ้นเดือนเมษายน 2552 ได้ดำเนินการก่อสร้างเสร็จแล้ว จำนวน 190,920 หน่วย
          โครงการที่ก่อสร้างเสร็จแล้ว 190,920 หน่วย
          โครงการที่อยู่ระหว่างก่อสร้าง 90,636 หน่วย รวมโครงการบ้านเอื้ออาทร ระยะ 1 — 5 จำนวน 281,556 หน่วย

การจัดสรรและการเบิกจ่ายเงินอุดหนุน
          - ณ วันที่ 30 เมษายน 2552 สำนักงบประมาณได้จัดสรรเงินให้แล้วจำนวน 31,289.7 ล้านบาท และมีการเบิกจ่ายเงินอุดหนุนไปแล้วรวมทั้งสิ้น 28,597.0 ล้านบาทคิดเป็นร้อยละ 91.4 ของงบฯ ที่ได้รับ ทั้งนี้เงินอุดหนุนนี้จะเป็นเงินที่นำไปใช้ในการก่อสร้างระบบสาธารณูปโภคของโครงการเช่น ระบบถนน ท่อประปา ศูนย์ชุมชน เป็นต้นซึ่งจะต้องดำเนินการก่อนการก่อสร้างตัวอาคาร

การจัดสรรและการเบิกจ่ายเงินอุดหนุนระยะที่ 1-5
          - ระยะที่ 1-2 การเคหะแห่งชาติได้รับการจัดสรรเงินอุดหนุนประจำปีจากรัฐบาลรวม 934.9 ล้านบาทเพื่ออุดหนุนที่อยู่อาศัย จำนวน (11,231 หน่วย) และมีการเบิกจ่ายไปแล้วจนถึงวันที่ 30 เมษายน 2552 จำนวน 916.9 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 98.1
          - ระยะที่ 3 ได้รับการจัดสรรทั้งโครงการรวม 8,707.5 ล้านบาท เพื่ออุดหนุนที่อยู่อาศัย จำนวน 71,300 หน่วย มีการเบิกจ่ายแล้ว ณ วันที่ 30 เมษายน 2552 จำนวน 7,979.6 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 91.6
          - ระยะที่ 4 ได้รับการจัดสรรทั้งโครงการรวม 12,210.1 ล้านบาท เพื่ออุดหนุนที่อยู่อาศัย จำนวน 118,661 หน่วย มีการเบิกจ่ายแล้ว ณ วันที่ 30 เมษายน 2552 จำนวน 11,269.2 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 92.3
          - ระยะที่ 5 ได้รับการจัดสรรทั้งโครงการรวม 9,437.2 ล้านบาท เพื่ออุดหนุนที่อยู่อาศัย จำนวน 99,312 หน่วย มีการเบิกจ่ายแล้ว ณ วันที่ 30 เมษายน 2552 จำนวน 8,431.3 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 89.3

ผลการวิเคราะห์โครงการ
          จากการที่โครงการได้ดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จจำนวนเพียง 190,920 หน่วย หรือคิดเป็นเพียงร้อยละ 63.5 ของเป้าหมายที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี ซึ่งการดำเนินงานที่ล่าช้านั้นมีสาเหตุหรือปัญหาที่ทำให้โครงการล่าช้า ดังนี้
          - ผู้รับจ้างขาดสภาพคล่องด้านการเงิน
          - ความล่าช้าที่เกิดจากการดำเนินโครงการ
          - งานล่าช้าเนื่องจากขาดแคลนแรงงาน
          - ผู้รับจ้างขาดการบริหารจัดการงานที่ดีทำให้งานล่าช้าสะสมและไม่สามารถเสร็จได้ตามกำหนด
          - กฎระเบียบบางอย่างไม่สอดคล้องกับสภาพผู้อยู่อาศัยและการอยู่อาศัยเช่า

                  การเบิกจ่ายเงินอุดหนุนโครงการบ้านเอื้ออาทร
หน่วย : ล้านบาท
              คณะรัฐมนตรีอนุมัติจัดสร้าง          การเบิกจ่ายเงินอุดหนุน
                    (หน่วย)                  ณ 30 เม.ย. 52
                                         ได้รับจัดสรร     เบิกจ่าย
ระยะที่ 1-2           11,231                  934.9       916.9
ระยะที่ 3             71,300 1/             8,707.5     7,979.6
ระยะที่ 4            118,661               12,210.1    11,269.2
ระยะที่ 5             99,312 2/             9,437.2     8,431.3
  รวม              300,504               31,289.7    28,597.0
หมายเหตุ   (1) ระยะที่ 1 ปรับลดลง 44 หน่วย จากโครงการเชียงใหม่เดิม 640 หน่วย เหลือ 596 หน่วย
          (2) ระยะที่ 2, 3, 4 และ 5 มีการปรับหน่วยดำเนินการใหม่ (คณะรัฐมนตรีอนุมัติให้ปรับลดหน่วยจากเดิม 601,727 หน่วย เหลือ 300,504 หน่วย เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2550)
          (3) ระยะที่ 3 ได้รับอนุมัติจาก ครม. จำนวน 140,000 หน่วย กคช. ได้รับอนุมัติงบอุดหนุนเพียง 100,519 หน่วยส่วนที่เหลืออีก 39,481 หน่วย โอนไปใช้งบเอื้ออาทรระยะที่ 5
          (4) ระยะที่ 5 ได้รับอนุมัติจาก ครม. เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2548 จำนวน 339,481 หน่วย โดยเป็นจำนวนหน่วยของระยะที่ 5 จำนวน 300,000 หน่วย และโอนมาจากระยะที่ 3 จำนวน 39,481 หน่วย
          (5) หน่วยที่ดำเนินการ ไม่นับรวมอาคารคงเหลือ กคช.ที่นำมาเข้าโครงการบ้านเอื้ออาทร จำนวน 14 โครงการ 4,400 หน่วย และอยู่ระหว่างเจรจาขอปรับลดหน่วยกับผู้รับจ้าง จำนวน 378 หน่วย
          (6) จำนวนหน่วยที่ก่อสร้างแล้วเสร็จไม่นับรวมอาคารคงเหลือฯ จำนวน 14 โครงการ 4,400 หน่วย

4. โครงการเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อยกระดับชุมชน (ศพช.) หรือ โครงการชุมชนพอเพียง
          โครงการชุมชนพอเพียง เป็นโครงการที่มีความยั่งยืนของการดำเนินโครงการ โดยมีผลต่อเนื่องไม่สิ้นสุดในครั้งเดียว โดยมุ่งจัดสรรงบประมาณโดยตรงไปยังชุมชนทั่วประเทศ ให้ทุกชุมชนได้มีโอกาสในการเข้าถึงแหล่งงบประมาณของภาครัฐอย่างรวดเร็ว ครอบคลุมทั่วถึง และมุ่งให้ทุกภาคส่วนในชุมชนร่วมกันบริหารจัดการและพัฒนาศักยภาพของตนเองที่มีอยู่ให้มีศักยภาพเพิ่มมากขึ้น เพื่อสร้างงาน สร้างรายได้ การลดต้นทุน และปัจจัยการผลิตทางการเกษตร พัฒนาทรัพยากรธรรมชาติระดับชุมชนให้มีมูลค่าเพิ่ม และสร้างโอกาสในการพัฒนาหรือเพิ่มขีดความสามารถในการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากให้กับชุมชน

การแบ่งขนาดของชุมชน
          ชุมชนที่จะได้รับเงินโครงการชุมชนพอเพียง ต้องจัดตั้งก่อนวันที่ 1 มกราคม 2552 และมีความรู้ความเข้าใจในหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ชุมชนแบ่งออกเป็น 7 ขนาด ดังนี้
          1. ชุมชนขนาดที่ 1 ชุมชนที่มีชื่อชาวบ้านตามระเบียนบ้าน 1-50 คน ได้เงิน 100,000 บาท
          2. ชุมชนขนาดที่ 2 ชุมชนที่มีชื่อชาวบ้านตามระเบียนบ้าน 51-150 คน ได้เงิน 200,000 บาท
          3. ชุมชนขนาดที่ 3 ชุมชนที่มีชื่อชาวบ้านตามระเบียนบ้าน 151-250 คน ได้เงิน 300,000 บาท
          4. ชุมชนขนาดที่ 4 ชุมชนที่มีชื่อชาวบ้านตามระเบียนบ้าน 251-500 คน ได้เงิน 400,000 บาท
          5. ชุมชนขนาดที่ 5 ชุมชนที่มีชื่อชาวบ้านตามระเบียนบ้าน 501-1,000 คน ได้เงิน 500,000 บาท
          6. ชุมชนขนาดที่ 6 ชุมชนที่มีชื่อชาวบ้านตามระเบียนบ้าน 1,001- 1,500 คน ได้เงิน 600,000 บาท
          7. ชุมชนขนาดที่ 7 ชุมชนที่มีชื่อชาวบ้านตามระเบียนบ้าน 1,500 คน ขึ้นไป ได้เงิน 700,000 บาท
          ทั้งนี้ สำหรับชุมชนที่ไม่ได้รับเงินโครงการ SML ปี 2551 จะได้เงินตามขนาด ส่วนชุมชนที่ได้รับเงินโครงการ SML ปี 2551 แล้ว จะได้เงินครึ่งหนึ่งของขนาด

การคัดเลือกโครงการ
          โครงการต้องมีความยั่งยืนของการดำเนินโครงการ โดยมีผลต่อเนื่องไม่สิ้นสุดในครั้งเดียว และเข้าหลักเกณฑ์ข้อใดข้อหนึ่ง ดังนี้
          1. เป็นโครงการที่สามารถรองรับผู้ด้อยโอกาสและผู้ว่างงานในชุมชน ให้สามารถพัฒนาไปสู่ความอยู่พอกิน พอใช้ ซึ่งเป็นเป้าหมายขั้นต้นของหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
          2. เป็นโครงการที่สนับสนุนและส่งเสริมการลดต้นทุนและปัจจัยในการผลิตด้านต่างๆ อาทิ ด้านการเกษตร ทั้งนี้ เพื่อเพิ่มศักยภาพในการประกอบอาชีพ เพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย สร้างโอกาสในอาชีพ และเพิ่มความสามารถในการพัฒนาเศรษฐกิจระดับฐานราก
          3. เป็นโครงการที่สนับสนุนและส่งเสริมการใช้และอนุรักษ์พลังงาน หรือพลังงานทดแทน หรือพลังงานทางเลือก
          4. เป็นโครงการที่สนับสนุนและส่งเสริมการอนุรักษ์และรักษาทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมศิลปวัฒนธรรม และการท่องเที่ยว
          ทั้งนี้ ชุมชนสามารถลงทุนร่วมดำเนินโครงการกับชุมชนอื่นได้



          ที่มา : Macroeconomic Analysis Group : Fiscal Policy Office
          Tel 02-273-9020 Ext 3665 :  www.fpo.go.th

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ