บทสรุปผู้บริหาร: บทวิเคราะห์เรื่อง อาการป่วยของเศรษฐกิจไทยจากไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday July 2, 2009 12:20 —กระทรวงการคลัง

บทสรุปผู้บริหาร

ผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 (H1N1) ยังคงมีจำนวนเพิ่มสูงขึ้นทุกวัน จนมีผู้เสียชีวิตในประเทศไทย แล้ว 3 คน แต่คิดเป็นอัตราการเสียชีวิตเพียงร้อยละ 0.15 เท่านั้น จึงไม่น่าจะรุนแรงเหมือนโรค SARs

ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ส่งผลต่อเศรษฐกิจไทยได้หลายช่องทาง ทั้งด้านการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจ ครอบคลุมด้านอุปสงค์คิดเป็นร้อยละ 15.4 ของ GDP และครอบคลุมด้านอุปทานคิดเป็นร้อยละ 27.3 ของ GDP นอกจากนี้ ยังส่งผลด้านลบต่อดุลบริการ ดุลบัญชีเดินสะพัด และการจ้างงาน ในภาพรวมอีกด้วย

จากการประเมินผลกระทบต่อจำนวนนักท่องเที่ยวและรายได้จากนักท่องเที่ยว พบว่า โอกาสเป็นไปได้มากที่สุด คือกรณีกระทบมากแต่ฟื้นตัวเร็ว โดยนักท่องเที่ยวจะหายไปราว 1.8 ล้านคน จากกรณีฐานหรือก่อนที่เกิดการแพร่ระบาดแล้ว คิดเป็นรายได้สูญเสียราว 146 พันล้านบาท จากกรณีฐาน (โดยมีช่วงคาดการณ์ว่าจะมีจำนวนนักท่องเที่ยวหายไปประมาณ 1.0 — 4.7 ล้านคน รายได้สูญเสียประมาณ 118 — 268 พันล้านบาท)

จากการใช้แบบจำลองเศรษฐกิจมหภาคประเมินผลกระทบจากไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 พบว่าเมื่อเทียบกับ กรณีก่อนที่เกิดการแพร่ระบาดแล้ว กรณีที่น่าจะเกิดมากที่สุด คือ กรณีกระทบมากแต่ฟ้นื ตัวเร็วจะส่งผลให้เศรษฐกิจเติบโตลดลง จากกรณีฐานร้อยละ -0.85 ต่อปี (โดยมีช่วงคาดการณ์อยู่ระหว่างร้อยละ -0.51 ถึง -2.27 ต่อปี)

ความเป็นมาของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009

ตั้งแต่ช่วงเดือนเมษายน 2552 ที่ผ่านมา มีการเริ่มแพร่ระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ที่เริ่มต้นจาก ประเทศเม็กซิโกและแพร่ระบาดไปยังหลายประเทศทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทย และสถานการณ์ของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ได้ มีความรุนแรงต่อเนื่อง จนทำให้เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2552 องค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) ได้ประกาศยกระดับความรุนแรงของการแพร่ระบาดเป็นระดับ 6 ซึ่งเป็นระดับสูงสุด ทั้งนี้ ณ วันที่ 29 มิถุนายน 2552 พบว่า ประเทศไทยมีผู้ติดเชื้อจากโรคนี้กว่า 1,330 คน โดยมีผู้เสียชีวิตรวม 3 คน และยังมีแนวโน้มของผู้ติดเชื้อที่จะเพิ่มขึ้นอย่าง ต่อเนื่อง ดังนั้น ผลกระทบจากโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่จึงเป็นประเด็นสำคัญที่จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยอย่างน้อยใน ปี 2552 ที่เศรษฐกิจไทยกำลังต้องเผชิญกับปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นวิกฤติเศรษฐกิจโลก ความไม่แน่นอนทางการเมือง บทความนี้จะได้วิเคราะห์ถึง(1) ช่องทางการส่งผ่านผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการเกิดโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ (2) การวิเคราะห์ความรุนแรงของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ และกรณีศึกษาผลกระทบจากการท่องเที่ยวของประเทศไทย (3) การประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจของไทยจากโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่

1. ช่องทางการส่งผ่านผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการเกิดโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่

โรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่สามารถส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยผ่านหลายช่องทาง ซึ่งจะพบว่า การแพร่ระบาด ของโรคจะทำให้เกิดผลกระทบผ่านทั้งในช่องทางของเศรษฐกิจด้านอุปสงค์ (Demand-side) และอุปทาน (Supply side) นอกจากนี้ ยังมีผลกระทบต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจทั้งภายใน (Internal stability) และภายนอก (External stability) สามารถสรุปได้ดังนี้

  • ช่องทางเศรษฐกิจด้านอุปสงค์ จะได้รับผลกระทบในสัดส่วนร้อยละ 15.4 ของ GDP

ช่องทางที่ 1 กระทบต่อการส่งออกบริการ ซึ่งโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ส่งผลกระทบต่อภาคการ ท่องเที่ยวจากนักท่องเที่ยวต่างชาติและค่าโดยสารเดินทาง เนื่องจากนักท่องเที่ยวต่างชาติเกิดความไม่มั่นใจในการเดินทาง ระหว่างประเทศ อันจะส่งผลให้มีจำนวนนักท่องเที่ยวและมูลค่าเพิ่มจากค่าโดยสารเดินทางลดลง พบว่าทั้ง 2 ส่วน (ท่องเที่ยว และค่าโดยสารเดินทาง) มีสัดส่วนรวมกันคิดเป็นร้อยละ 8.1 ของ GDP (ตารางที่ 1)

ตารางที่ 1 สัดส่วนการส่งออกบริการต่อ Real GDP

สัดส่วนใน Real GDP

          ส่งออกบริการ ณ ราคาคงที่         13.5
          1. ท่องเที่ยว                   6.4
          2. ขนส่ง                      2.9
             -ค่าโดยสารเดินทาง           1.7
             -ค่าขนสง่อื่น                 1.2
          3. บริการอื่น                   4.2
ที่มา: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

ช่องทางที่ 2 กระทบต่อการบริโภคภาคเอกชน จากการที่คนไทยปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยระมัดระวังการใช้จ่าย ในเดินทางและการท่องเที่ยวมากขึ้น ทำให้มีการใช้จ่ายลดลงโดยเฉพาะค่าใช้จ่ายในการใช้บริการโรงแรมและภัตตาคารรวมถึง ค่าโดยสารเดินทาง ซึ่งค่าใช้จ่ายทั้ง 2 ส่วนนี้มีสัดส่วนรวมกันคิดเป็นร้อยละ 7.3 ของ GDP (ตารางที่ 2)

ตารางที่ 2 สัดส่วนการบริโภคภาคเอกชน ต่อ Real GDP

สัดส่วนใน Real GDP

          การบริโภคภาคเอกชน ณ ราคาคงที่             51.8
          1. อาหาร                               17.4
          2. สินค้าไม่คงทน                           9.7
          3. สินค้าคงทน                             4.7
          4. โรงแรมและภัตตาคาร                     4.6
          5. การเดินทาง                            2.7
          อื่นๆ                                    12.7

ทีมา: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

  • ช่องทางเศรษฐกิจด้านอุปทาน จะได้รับผลกระทบประมาณร้อยละ 27.3 ของ GDP

ช่องทางที่ 3 กระทบต่อบริการโรงแรมและภัตตาคาร ซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 3.7 ของ GDP ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ จะทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวลดลงทั้งนักท่องเที่ยวต่างชาติและชาวไทย ย่อมส่งผลให้มูลค่าเพิ่มจากการให้บริการของโรงแรมและ ภัตตาคารลดลงตามไปด้วย

ช่องทางที่ 4 กระทบต่อบริการคมนาคมขนส่ง ซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 9.8 ของ GDP เมื่อจำนวนนักท่องเที่ยวลดลง การขนส่งทางอากาศจะลดลงตามจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ การขนส่งทางบกจะลดลงตามการท่องเที่ยวที่ซบเซา

ช่องทางที่ 5 กระทบต่อบริการขายส่ง ขายปลีก ซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 13.8 ของ GDP เมื่อการท่องเที่ยวของ ประเทศไทยชะลอตัว จะทำให้กิจกรรมการขายปลีกขายส่งของธุรกิจห้างร้านชะลอตัวตามไปด้วย

  • ช่องทางเศรษฐกิจด้านเสถียรภาพภายนอกประเทศ

ช่องทางที่ 6 กระทบต่อดุลบัญชีเดินสะพัด2 ผ่านรายได้จากดุลบริการที่เกิดจากรายได้การท่องเที่ยวและค่าโดยสาร การเดินทางของชาวต่างชาติ โดยที่รายได้การท่องเที่ยวและค่าโดยสารการเดินทางของชาวต่างชาติมีสัดส่วนรวมกันร้อยละ 65.1 ของรายได้จากการส่งออกบริการ ซึ่งการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ จะส่งผลให้นักท่องเที่ยวเดินทางมาเที่ยว และใช้จ่ายน้อยลง มีผลให้ดุลบริการอาจเกินดุลลดลงหรือขาดดุลได้ และส่งผลต่อดุลบัญชีเดินสะพัด (ตารางที่ 3)

ตารางที่ 3 สัดส่วนรายได้จากการท่องเที่ยวต่อรายได้จากการส่งออกบริการ

2551

                                       ล้านบาท        สัดส่วนต่อรายได้จากการ       สัดส่วนต่อบริการรับ(%)

ส่งออกสินค้าและบริการ(%)

รายได้จากการส่งออกสินค้าและบริการ      6,954,931.57             100.0
ส่งออกสินค้า                         5,833,339.07              83.9
บริการรับ                           1,121,592.50              16.1                    100.0
1. ค่าขนส่ง                           242,141.86               3.5                     21.6
    ค่าระวาง                          72,393.52               1.0                      6.5
    ค่าโดยสาร                        144,178.42               2.1                     12.9
    ขนส่งอื่นๆ                          25,569.91               0.4                      2.3
2. ค่าท่องเที่ยว                        585,869.68               8.4                     52.2
3. ค่าบริการอื่นๆ                       293,580.96               4.2                     26.2
ทีมา: ธนาคารแห่งประเทศไทย
  • ช่องทางเศรษฐกิจด้านเสถียรภาพภายในประเทศ

ช่องทางที่ 7 กระทบต่อภาวะการจ้างงาน ผลกระทบที่เกิดขึ้นในภาคการผลิตจากโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ อาจทำให้การจ้างงานลดลง ซึ่งหากพิจารณาโครงสร้างการจ้างงานของประเทศไทยจะพบว่า การจ้างงานที่อาจจะได้รับผล กระทบจากโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ได้แก่ การจ้างงานในหมวดโรงแรมและภัตตาคาร การคมนาคมขนส่ง และการค้าส่ง ค้าปลีกสัดส่วนโดยรวมของสาขาการจ้างงานที่อยู่ในข่ายที่จะได้รับผลกระทบทางลบจากไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่อยู่ที่ร้อยละ 25.3 ของการจ้างงานรวมทั้งประเทศ หรือคิดเป็นคนทำงานจำนวน 9.25 ล้านคน จากคนที่มีงานทำทั้งสิ้น 36.5 ล้านคน ทั้งนี้หาก เหตุการณ์รุนแรง ทำให้เกิดการว่างงานที่เพิ่มขึ้นจะทำให้กระทบต่ออุปสงค์ในของระบบเศรษฐกิจ และจะกระทบต่อเนื่องในภาค การผลิต เป็นวงจรของเศรษฐกิจหดตัว (Vicious cycle) ได้ต่อไป นอกจากนี้ หากการจ้างงานในสาขาที่เกี่ยวข้องกับการ ท่องเที่ยว ซึ่งอยู่ในภาคบริการลดลง จะส่งผลให้เกิดการไหลเข้าของแรงงานไปยังภาคอุตสาหกรรมที่กำลังประสบภาวะชะลอ ตัวจากวิกฤติเศรษฐกิจโลก และบางส่วนอาจไหลกลับไปภาคเกษตรกรรม แต่ภาคเกษตรกรรมอาจไม่ได้เป็นแหล่งรองรับการไหล ออกจากภาคบริการและอุตสาหกรรมได้ดีเหมือนเช่นในอดีต เนื่องจากราคาสินค้าเกษตรได้มีการปรับตัวลดลงตามราคาสินค้า เกษตรในตลาดโลก ทำให้การผลิตสินค้าเกษตรและรายได้เกษตรกรชะลอตัว เมื่อเป็นเช่นนี้แนวโน้มอัตราการว่างงานอาจจะ เพิ่มขึ้นได้ในระยะอันใกล้ ส่วนหนึ่งมาจากผลกระทบของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่

2. การวิเคราะห์ความรุนแรงของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่

การวิเคราะห์ความรุนแรงของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่จำเป็นต้องเปรียบเทียบกับเหตุการณ์โรคติดต่อทาง เดินหายใจที่เกิดขึ้นในอดีต เช่น โรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง (SARS) เกิดขึ้นในเดือนมีนาคม 2546 โรคไข้หวัดนก (Avian Flu)เกิดขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ 2547 ซึ่งได้เปรียบเทียบเหตุการณ์ทั้ง 3 มีลักษณะสำคัญ ดังนี้

ตารางที่ 4 ข้อมูลเปรียบเทียบความรุนแรงของโรคติดต่อทางเดินหายใจ
                                  SARS                      Avian Flu                     H1N1
ปีที่เกิด                     พ.ศ.2546 หรือ ค.ศ.2003       พ.ศ.2547 หรือ ค.ศ.2004        พ.ศ.2552 หรือ ค.ศ.2009
จุดกำเนิด                     สาธารณรัฐประชาชนจีน                ฮ่องกง                       เม็กซิโก
ลักษณะการแพร่เชื้อ              ติดต่อจากคนสู่คน                ติดต่อจากสัตว์ปีกสู่คน               ติดต่อจากคนสู่คน
อัตราคนเสียชีวิต                     10-15%                     50-60%                       0.44%
ยารักษาโรค                          -                  ยาต้านไวรัส Tamifluแต่ไม่       ยาต้านไวรัส โอเซลทามิเวียร์
                                                        มีข้อมูลยืนยันผลการรักษา        (Oseltamivir) หรือ ทามิฟลู

(Tamiflu) มีผลยืนยันการรักษา ที่มา: wikipedia

ตามข้อมูลที่ปรากฏในตารางจะพบว่า อัตราการเสียชีวิตของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่อยู่ในระดับต่ำจากที่ ประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคนี้กว่า 1,330 คน แต่มีผู้เสียชีวิต 3 คน ซึ่งคิดเป็นอัตราการเสียชีวิตเพียงร้อยละ 0.15 เท่านั้น และจากข้อมูลเบื้องต้นจาก WHO พบว่า อัตราการเสียชีวิต (Mortality Rate) มีเพียงร้อยละ 0.44 ของผู้ติดเชื้อเท่านั้น ซึ่งถือว่าต่ำกว่าโรคติดต่อทางเดินหายใจอื่นๆ ในช่วงที่ผ่านมา นอกจากนี้ การแพร่ระบาดโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่น่าจะ เป็นไปอย่างจำกัด เนื่องจากเชื้อไวรัส H1N1 หรือไวรัสของไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่นี้สามารถใช้ยาต้านไวรัส โอเซลทามิเวียร์ (Oseltamivir) หรือ ทามิฟลู (Tamiflu) ในการรักษาได้ ดังนั้น แม้ว่าความรุนแรงของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่คาด ว่าจะน้อยกว่าโรคติดต่อทางการหายใจอื่นๆ ที่เกิดขึ้นก่อนหน้า แต่ก็ยังจะส่งผลกระทบในเชิงเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการท่องเที่ยว ของประเทศไทย

กรณีศึกษา: ผลกระทบจากการท่องเที่ยวของประเทศไทย

ในช่วงที่ผ่านมา ประเทศไทยต้องประสบภาวะการเกิดการแพร่ระบาดในโรคติดต่อทางการหายใจต่างๆ เช่น โรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง (SARs) ในเดือนมีนาคม 2546 ไข้หวัดนก (Avian flu) ในเดือนกุมภาพันธ์ 2547 พบว่า ผลกระทบมีระยะเวลาค่อนข้างสั้นเฉลี่ยประมาณ 2-5 เดือน โดยในโรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง (SARs) ที่ เริ่มในเดือนมีนาคม 2546 มีผลทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวหดตัวลงอย่างรวดเร็ว และกลับมาฟื้นตัวจากการที่อัตราการขยายตัวเริ่ม เป็นบวกในเดือนที่ 5 คือเดือนสิงหาคม 2546 ในขณะที่โรคไข้หวัดนก (Avian flu) เริ่มในเดือนกุมภาพันธ์ 2547 มีผล ทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวหดตัวในทันที ณ เดือนที่เกิดเหตุการณ์ แต่สามารถกลับมาฟื้นตัวได้ในเดือนที่ 2 ถัดมา คือเดือนมีนาคม 2548

จากข้อมูลจำนวนนักท่องเที่ยวในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2552 พบว่ามีจำนวน 5.7 ล้านคน ซึ่งเป็นการหดตัวลง ถึงร้อยละ-15.6 ต่อปี โดยเฉพาะในเดือนพฤษภาคม 2552 จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติหดตัวลงถึง -19.5 ต่อปี นอกจากนี้ ในช่วงปีที่ผ่านมา ได้มีเหตุการณ์ที่มีผลเชิงลบต่อการท่องเที่ยวเกิดขึ้นในอีก 3เหตุการณ์ ได้แก่ (1) วิกฤติเศรษฐกิจโลกที่กระทบ ต่อรายได้ของนักท่องเที่ยวต่างชาติ (2) การปิดสนามบินสุวรรณภูมิในช่วงปลายปี 2551 ที่สร้างความไม่เชื่อมั่นกับนักท่องเที่ยว ต่างชาติต่อเนื่องในปี 2552 (3) การประท้วงในช่วงการประชุม ASEAN +6 ที่พัทยา และต่อเนื่องเป็นความไม่สงบทางการเมือง ช่วงสงกรานต์ในกรุงเทพฯ ซึ่งทำให้การแยกประเมินผลกระทบของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่มีความยุ่งยากขึ้นว่ามีผลต่อการ ท่องเที่ยงรุนแรงเพียงใด อย่างไรก็ตาม หากการแพร่ระบาดมีอยู่อย่างจำกัดคาดว่า ผลกระทบต่อจำนวนนักท่องเที่ยวที่เกิดขึ้น จากโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่น่าจะจำกัดอยู่ในช่วง 2-5 เดือน

3. การประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจของไทยจากโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่

หากจะพิจารณาว่าไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยอย่างไร ต้องเริ่มจากการวิเคราะห์รูปแบบ ของการฟื้นตัวของจำนวนนักท่องเที่ยวและรายได้จากการท่องเที่ยว โดยสมมติว่าเหตุการณ์ในช่วงที่เหลือของปี 2552 ปราศจาก เหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมือง ดังนี้

  • กรณีที่ก่อนเกิดไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ในปี 2552 การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ตั้งเป้าว่า
จะมีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเดินทางเข้าประเทศไทย 14.0 ล้าน เทียบกับปีก่อนที่มีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ 14.5 ล้านคน
หรือหดตัวร้อยละ -3.4 ต่อปี ซึ่งเป็นกรณีที่ได้ฐานที่ได้รวมผลของความไม่สงบทางการเมืองและเศรษฐกิจโลกที่หดตัวรุนแรงกว่า
ที่คาดการณ์ และคาดว่าจะมีรายได้จากการท่องเที่ยวเป็นเงินบาทเข้าประเทศประมาณ 504 พันล้านบาท เทียบกับปีก่อนที่มีรายได้
ถึง 586 พันล้านบาท หรือหดตัวที่ร้อยละ -14.0 ต่อปี หรือคิดเป็นความสูญเสียรอบแรกในกรณีฐาน 82 พันล้านบาท
  • กรณีไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 กระทบน้อย ในกรณีนี้ สศค. ตั้งข้อสมมติฐานว่า ช่วงไตรมาสที่ 2 จำนวน
นักท่องเที่ยวจากต่างประเทศจะหดตัวลงร้อยละ -19.4 ต่อปี และหดตัวน้อยลงในไตรมาส 3 ที่ร้อยละ -9.1 ต่อปี โดยในไตรมาส
ที่ 4 ปี 2552 จะเริ่มกลับสู่สถานการณ์ปกติคือมีการเดินทางเข้าเท่ากับช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 2551 ด้วยจำนวน 3.3 ล้านคน
ขยายตัวร้อยละ 0.0 ต่อปี ทำให้ทั้งปี 2552 มีจำนวนนักท่องเที่ยวลดลงจากกรณีฐาน 1 ล้านคน ส่วนรายได้จากการท่องเที่ยวจะ
ลดลงจากกรณีฐาน 36 พันล้านบาท เมื่อรวมกับความสูญเสียในกรณีฐานจะกลายเป็นรายได้สูญเสียทั้งสิ้น 118 พันล้านบาท
  • กรณีไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 กระทบมากแต่ฟื้นตัวเร็ว ในกรณีนี้ สศค. ตั้งข้อสมมติฐานว่า ช่วงไตรมาสที่ 2
จำนวนนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศจะหดตัวลงร้อยละ -25.0 ต่อปี และหดตัวมากขึ้นในไตรมาส 3 ที่ร้อยละ -27.3 ต่อปี
โดยในไตรมาสที่ 4 ปี 2552 จะเริ่มกลับสู่สถานการณ์ปกติคือมีการเดินทางเข้าเท่ากับช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 2551 ด้วยจำนวน
3.3 ล้านคน ขยายตัวร้อยละ 0.0 ต่อปี ทำให้ทั้งปี 2552 มีจำนวนนักท่องเที่ยวลดลงจากกรณีฐาน 1.8 ล้านคน ส่วนรายได้
จากการท่องเที่ยวจะลดลงจากกรณีฐาน 64.8 พันล้านบาท เมื่อรวมกับความสูญเสียในกรณีฐานจะกลายเป็นรายได้สูญเสียทั้งสิ้น
146.8 พันล้านบาท
  • กรณีไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 กระทบมากแต่ฟื้นตัวช้า ในกรณีนี้ สศค. คาดว่ามีโอกาสเกิดขึ้นมากที่สุด โดย
ตั้งข้อสมมติฐานว่า ช่วงไตรมาสที่ 2 จำนวนนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศจะหดตัวลงร้อยละ -33.3 ต่อปี และหดตัวมากขึ้นใน
ไตรมาส 3 ที่ร้อยละ -36.4 ต่อปี โดยในไตรมาสที่ 4 จะเริ่มหดตัวน้อยลงที่ร้อยละ -18.2 ต่อปี ทำให้ทั้งปี 2552 มีจำนวน
นักท่องเที่ยวลดลงจากกรณีฐาน 3 ล้านคน ส่วนรายได้จากการท่องเที่ยวจะลดลงจากกรณีฐาน 108 พันล้านบาท เมื่อรวมกับความ
สูญเสียในกรณีฐานจะกลายเป็นรายได้สูญเสียทั้งสิ้น 190 พันล้านบาท
  • กรณีไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 กระทบรุนแรงและฟื้นตัวช้ามาก ในกรณีนี้ สศค. ตั้งข้อสมมติฐานว่าช่วง

ไตรมาสที่ 2 จำนวนนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศจะหดตัวลงร้อยละ -38.9 ต่อปี และหดตัวมากขึ้นในไตรมาส 3 ที่ร้อยละ

-54.5 ต่อปี โดยในไตรมาสที่ 4 จะเริ่มหดตัวน้อยลงที่ร้อยละ -45.5 ต่อปี ทำให้ทั้งปี 2552 มีจำนวนนักท่องเที่ยวลดลงจาก

กรณีฐาน 4.7 ล้านคน ส่วนรายได้จากการท่องเที่ยวจะลดลงจากกรณีฐาน 185.7 พันล้านบาท เมื่อรวมกับความสูญเสียในกรณี

ฐานจะกลายเป็นรายได้สูญเสียทั้งสิ้น 267.7 พันล้านบาท

จากการใช้แบบจำลองเศรษฐกิจมหภาคประเมินผลกระทบจากไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 พบว่า เมื่อเทียบกับ กรณีที่ยังไม่เกิดไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 พบว่าผลกระทบต่ออัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจลดลงอยู่ระหว่างร้อยละ -0.5 ถึง -2.3

  • กรณีก่อนเกิดไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ในกรณีนี้ คาดว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2552 จะหดตัวที่ร้อยละ -2.2
ต่อปี เทียบกับปีก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 2.6 ต่อปี เนื่องจากเศรษฐกิจโลกหดตัวลงอย่างรุนแรงกว่าที่คาด สะท้อนได้จากการ
ส่งออกสินค้าและบริการที่หดตัวสูงมาก สอดคล้องกับการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมที่หดตัวลงมากเช่นกัน
  • กรณีไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 กระทบน้อย ในกรณีนี้ คาดว่าเศรษฐกิจจะหดตัวลงจากกรณีที่ก่อนเกิดไข้หวัดใหญ่
สายพันธุ์ใหม่ 2009 ร้อยละ -0.5 ต่อปี การบริโภคลดลงร้อยละ -0.1 ต่อปี เกินดุลบริการลดลง2.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
และมีคนทำงานลดลงประมาณ 1.8 แสนคน
  • กรณีไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 กระทบมากแต่ฟื้นตัวเร็ว ในกรณีนี้ เป็นกรณีที่สอดคล้องกับการประมาณการ
เศรษฐกิจไทย ปี 2552 ณ เดือนมิถุนายน 2552 ของ สศค. โดยคาดว่าเศรษฐกิจจะหดตัวลงจากกรณีที่ก่อนเกิดไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์
ใหม่ 2009 ร้อยละ -0.8 ต่อปี การบริโภคลดลงร้อยละ -0.2 ต่อปี เกินดุลบริการลดลง 3.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และมีคน
ทำงานลดลงประมาณ 3 แสนคน
  • กรณีไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 กระทบมากแต่ฟื้นตัวช้า ในกรณีนี้ คาดว่าเศรษฐกิจจะหดตัวลงจากกรณีที่ก่อน
เกิดไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ร้อยละ -1.5 ต่อปี การบริโภคลดลงร้อยละ -0.3 ต่อปี และดุลบริการที่เกินดุลจะกลาย
เป็นขาดดุลประมาณ -3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และมีคนทำงานลดลงประมาณ 5.5 แสนคน
  • กรณีไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 กระทบรุนแรงและฟื้นตัวช้ามาก ในกรณีนี้ คาดว่าเศรษฐกิจจะหดตัวลงจาก

กรณีที่ก่อนเกิดไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 รุนแรงถึงร้อยละ -2.3 ต่อปี การบริโภคลดลงร้อยละ -0.6 ต่อปี บริการจะขาดดุล

ประมาณ -6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และมีคนทำงานลดลงอย่างมากถึงประมาณ 8 แสนคน

ตารางที่ 5 ประเมินผลกระทบต่อเศรษฐกิจมหภาคในปี 2552 จากแบบจำลองเศรษฐกิจมหภาค

ผลกระทบเทียบกับกรณีฐาน

                                  กรณีก่อนเกิด      กรณีกระทบ     กรณีกระทบ    กรณีกระทบ     กรณีกระทบ
                                  โรคไข้หวัด          น้อย        มากแต่ฟื้น    มากและฟื้น    รุนแรงและฟื้น
                                  สายพันธ์ใหม่                    ตัวเร็ว*       ตัวช้า       ตัวช้ามาก

สมมติฐานสำคัญ

จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ (ล้านคน)          14.0          13.0         12.2        11.0         9.3

ประเมินผลการกระทบเมื่อเทียบกับกรณีฐาน

อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจ (%yoy)      -2.1770         -0.51        -0.85       -1.56        -2.27
การบริโภคภาคเอกชน (%yoy)            -0.0789         -0.14        -0.24       -0.43        -0.63
ปริมาณการส่งออกบริการ (%yoy)          -2.1825         -7.18       -12.36      -22.95       -33.60
ดุลบริการ (ล้าน $)                      4,611        -2,279       -3,973      -7,383      -10,793
ดุลบัญชีเดินสะพัด (ล้าน $)                23,974          -231         -392        -722       -1,053
% ของ GDP                           9.1275       -0.0678      -0.1174     -0.2173      -0.3171
การจ้างงาน (คน)                  37,611,166      -179,423     -297,710    -546,840     -795,970
หมายเหตุ:*กรณีกระทบมากแต่ฟื้นตัวเร็วเป็นกรณีที่สอดคล้องกับการแถลงข่าวประมาณการเศรษฐกิจปี 2552 ณ เดือนมิถุนายน 2552


ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office

Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ