ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา มีความเคลื่อนไหวทางเศรษฐกิจที่น่าสนใจ ดังนี้
1. แนวโน้มนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลใหม่
2. การเกินดุลการค้าประจำเดือน ก.ค.52 เพิ่มขึ้นติดต่อกัน 2 เดือนแล้ว
3. ญีปุ่นจะจัดตั้งกองทุนโครงการสาธารณูปโภคสำหรับลงทุนในประเทศภูมิภาคเอเชีย
--------------------------------------
การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรญี่ปุ่นที่จะมีขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 30 ส.ค.52 ศกนี้ กำลังเป็นที่จับตามองของทั่วโลก เพราะผลการเมินของทุกโพลปรากฎว่า พรรค Democratic Party of Japan: DPJ ฝ่ายค้านจะชนะการเลือกตั้งอย่างแน่นอน แทนรัฐบาลจากพรรค Liberal Democratic Party: LDP จึงเป็นที่สนใจของทุกฝ่ายว่านโยบายเศรษฐกิจของ DPJ ที่จะได้จัดตั้งรัฐบาลเป็นอย่างไร ในการำนเศรษฐกิจญี่ปุ่นซึ่งมีขนาดเป็นอันดับ 2 ของโลกให้ขับเคลื่อนต่อไปได้ ท่ามกลางความผันผวนของเศรษฐกิจโลก
เปรียบเทียบยุทธศาสตร์การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจญี่ปุ่นของพรรค LDP และ พรรค DPJ พรรค LDP รัฐบาลปัจจุบัน คาดว่าจะพ่ายแพ้การเลือกตั้งครั้งนี้
นาย Taro Aso หัวหน้าพรรค LDP ได้อภิปรายว่าการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจที่ผ่านมา ได้ดำเนินมาถูกทางแล้ว ที่เน้นการฟื้นฟูบริษัทต่างๆ และการตั้งเป้าหมายเพิ่มการขยายตัวทางเศรษฐกิจในอนาคต สรุปได้ดังนี้
1) เน้นรักษาสถานะการจ้างงานและคุณภาพชีวิต โดยความสำคัญกับการฟื้นฟูสถานะทางเศรษฐกิจของประเทศเป็นอย่างแรก
2) เน้นการสนับสนุนบริษัทและอุตสาหกรมต่างๆ โดยตรงเพื่อเพิ่มการใช้จ่ายภายในประเทศ (โดยได้แสดงผลงานว่าตัวเลข GDP ในไตรมาสที่ 2 ของปีน้ได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.7 เพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 1 ปี 3 เดือน โดยอ้างว่าเป็นผลมาจากการใช้นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจภายหลังจากวิกฤตเศรษฐกิจของรัฐบาลปัจจุบัน)
3) เสริมสร้างขีดความสามารถทางการแข่งขันของประเทศ โดยใช้จุดแข็งด้านความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี่ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม โดยมีเป้าหมายที่กลุ่มประเทศในเอเชีย
4) จะดำเนินนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องและตั้งเป้าว่าหลังจากปี 2553 ญี่ปุ่นจะเติบโตร้อยละ 2 ต่อปี โดยปี 2554 เศรษฐกิจจะฟื้นตัวขึ้นอย่างเต็มที่จากอุปสงค์ภายในและนอกประเทศ
5) มีเป้าหมายจะเพิ่มรายได้สุทธิต่อครัวเรือนให้ถึง 1 ล้านเยน และจะทำให้ญี่ปุ่นกลับมาเป็นประเทศที่มีรายได้ต่อหัวสูงอยู่ในกลุ่มประเทศรายได้ต่อหัวสูงชั้นำนอีกครั้งหนึ่ง
(ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาจนถึงปี 2551 ญี่ปุ่นมีอัตราการเจริญเติบโตต่อปีโดยรวมประมาณร้อยละ 1.09 และเมื่อปี 2544 ได้มีการจัดอันดับประเทศที่มีรายได้ต่อบุคคลในกลุ่ม OECD ญี่ปุ่นได้ตกลงจากอันดับ 5 มาเป็นอันดับที่ 19)
6) ขึ้นภาษีบริโภค (Consumption Tax) หรือภาษีมูลค่าเพิ่มหลังปี 2554 เพื่อปรับปรุงฐานะการคลัง
นาย Yukio Hatoyaman หัวหน้าพรรค DPJ ได้กล่าวว่าจะดำเนินแผนการฟื้นฟูเศรษฐกิจโดยเริ่มจากการสนับสนุนภาคครัวเรือนเป็นอันดันแรก เน้นการเพิ่มราไยด้ต่อครัวเรือน โดยให้การช่วยเหลือโดยตรง เช่น ให้เงินช่วยเหลือครัวเรือนในการเลี้ยงบุตร ปรัปปรุงระบบประกันสังคมให้ผู้สูงอายุได้บำนาญคนละ 70,000 เยนต่อเดือนเป็นอย่างต่ำ เพิ่มค่าจ้างขั้นต่ำแก่คนงานเป็นชั่วโมงละ 1,000 เยน และยกเว้นค่าใช้ทางด่วน เป็นต้น เพื่อที่จะกระตุ้นให้เกิดการใช้จ่ายภายในประเทศมากขึ้น ดังนี้
(แต่จากผลการวิจัยของสถาบันวิจัยเศรษฐกิจภายใต้บริษัทประกันชีวิต Daiichi นโยบายให้เงินสนับสนุนโดยตรงต่อครัวเรือน การลดภาษีน้ำมันและการยกเว้นทางด่วนเป็นต้นนั้นจะสามารถเพิ่มการใช้จ่ายได้เพียงร้อยละ 0.4 ต่อปีในปีหน้า รวมทั้งยังเป็นที่กังวลว่ารัฐบาลจะนำเงินมาจากไหน ท่ามกลางปัญหาหนี้ภาครัฐที่ท่วมท้นในปัจจุบัน)
2) จะเสริมสร้างขีดความสามารถทางการแข่งขันแก่อุตสาหกรรมเกษตร พัฒนาทรัพยากรธรรมชาติทางทะเล อากาศยาน (Aerospace Development) ให้เป็นอุตสาหกกรมชั้นนำระดับโลก
3) รักษาระดับการเก็บภาษีบริโภค (Consuomption Tax) ที่ปัจจุบันเก็บที่อัตราร้อยละ 5 เป็นเวลา 4 ปีนับแต่จากนี้ (ถึงปี 2556) โดยจะเน้นลดการใช้จ่ายที่ไม่เป็นประโยชน์แทน ในการปรับปรุงฐานะการคลัง
4) จะจัดตั้งคณะกรรมการปรับปรุงระบบภาษีทั้งระบบแทน Government Tax Commission เดิม โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นประธาน และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นรองประธานและผู้เกี่ยวข้องทางด้านภาษีจากกระทรวงต่างๆ จำนวน 20 คนมาร่วมเป็นคณะกรรมการ และจะยกเลิก Tax System Research Commission) ปัจจุบัน โดยคำขอปรับปรุงภาษีของแต่ละกระทรวงจะถูกส่งไปรวบรวมที่เลขานุการรัฐสภาที่รับผิดชอบด้านภาษี ก่อนส่งไปให้คณะกรรมการปรับปรุงภาษีที่จัดตั้งใหม่พิจารณา
อย่างไรก็ตาม ยุทธศาสตร์การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของพรรค LDP ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางว่าเป็นนโยบายที่ยากในการปฏิบัติในความเป็นจริง แต่เนื่องจากประชาชนเกิดความเบื่อหน่ายการบริหารงานของพรรครัฐบาล จึงจะเลือกพรรคฝ่ายค้านเพื่อต้องการเปลี่ยนแปลง
กระทรวงการคลังญี่ปุ่นเปิดเผยว่า การเกินดุลการค้าเดือน ก.ค.52 เพิ่มขึ้น 4.6 เท่าเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนหน้า อยู่ที่ 380.2 พันล้านเยน เพิ่มขึ้นติดต่อกัน 2 เดือนแล้ว
ยอดการส่งออกลดลงร้อยละ 36.5 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนหน้า โดยการส่งออกไปยังสหรัฐฯ สหภาพยุโรปและเอเชีย ลดลงร้อยละ 39.5, 45.8 และ 29.9 ตามลำดับ เป็นผลมาจากการส่งออกรถยนต์ขนาดเกิน 3,000 ซีซีขึ้นไป และชิ้นส่วนรถยนต์ไปยังสหรัฐฯ ลดลงและการส่งออกเหล็กกล้าไปยังมาเลเซียและเกาหลีใต้ลดลง ในขณะเดียวกันยอดการนำเข้าก็ลดลงอย่างมาก เนื่องจากราคาน้ำมันดิบลดลงและค่าเงินเยนแข็งตัวขึ้นร้อยละ 12.4 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนหน้า การส่งออกมากกว่านำเข้า ทำให้เกินดุลการค้าเพิ่มขึ้น
? ดุลการค้าประจำเดือนกรกฎาคม 2552
หน่วย: พันล้านเยน
ยอดส่งออก (ร้อยละ) ยอดนำเข้า (ร้อยละ) ดุลการค้า (ร้อยละ) สหรัฐฯ 772.5 (-39.5) 439.5 (-35.0) 333.0 (-44.5) สหภาพยุโรป 558.8 (-45.8) 454.8 (-31.0) 104.0 (-72.1) เอเชีย (รวมจีน) 2,700.8 (-29.9) 1,999.9 (-31.7) 700.9 (-24.1) สาธารณรัฐประชาชนจีน 943.2 (-26.5) 997.2 (-26.5) -54.0 (-27.2) รวม 4,844.7 (-36.5) 4,464.4 (-40.8) 380.2 (364.2) ที่มา กระทรวงการคลังญี่ปุ่น 3. ญี่ปุ่นจะจัดตั้งกองทุนโครงการสาธารณูปโภคสำหรับลงทุนในประเทศภูมิภาคเอเชีย
METI จะจัดตั้งกองทุนโครงการสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน (Infrastructure Fund) ขึ้นมาเพื่อลงทุนปรับปรุงระบบการไฟฟ้า การรถไฟ ระบบบำบัดน้ำเสียของประเทศในภูมิภาคเอเชีย
รัฐบาลญี่ปุ่นมีความหวังว่ากองทุนบำนาญ นักลงทุนรายใหญ่และสถาบันการเงินของรัฐ รวมทั้งกองทุนต่างประเทศจะนำเงินลงทุนในกองทุนดังกล่าวนี้ด้วย โดยจะเริ่มดำเนินการตั้งแต่ปีงบประมาณ 2553 ต้นไป วงเงินเริ่มต้น 133 พันล้านเยน และจะจัดตั้งกลุ่มผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องศึกษาโครงการนี้ในเดือน ก.ย.ศกนี้ เพื่อดำเนินการต่อไปอย่างรวดเร็ว
ปัจจุบัน ญี่ปุ่นใช้เงิน ODA รวมทั้ง JICA ซึ่งเป็นเงินงบประมาณในการดำเนินการช่วยเหลือโครงการด้านสาธารณูปโภคให้กับประเทศกำลังพัฒนา และหวังว่าต่อไปกองทุนนี้นำเงินทุนเอกชนมาสนับสนุนแทน
กองทุนสาธารณูปโภคนี้จะนำไปสนับสนุนการลงทุนในกรุงฮานอย จาร์กาต้า และภาคใต้ของประเทศอินเดีย หากสามารถจัดตั้งกองทุนนี้ได้ บริษัทญี่ปุ่นจะมีโอกาสลงทุนในภูมิภาคนี้มากขึ้นและเป็นการสร้างโอกาสทางธุรกิจใหม่แก่บริษัทญี่ปุ่นด้วย
สำนักงานที่ปรึกษาเศรษฐกิจและการคลัง ณ กรุงโตเกียว
ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office
Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th