ภาวะเศรษฐกิจสหภาพยุโรป สิงหาคม 2552

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday September 9, 2009 16:17 —กระทรวงการคลัง

บทสรุป

ภาวะเศรษฐกิจของสหภาพยุโรป ประจำเดือนสิงหาคม 2009 พบว่าเสถียรภาพภายใน (internal stability) ในช่วงไตรมาสที่สองของปียังคงอ่อนแอต่อเนื่องจากไตรมาสแรก โดยดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมประจำเดือนมิถุนายนกลับทรุดตัวลงอีกครั้งหลังจากปรับตัวดีขึ้นเป็นครั้งแรกในเดือนที่แล้ว อย่างไรก็ดี ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจประจำเดือนสิงหาคมเพิ่มขึ้นอย่างแข็งแกร่งและนับเป็นเดือนที่ห้าที่ความเชื่อมั่นปรับตัวดีขึ้น แต่ดัชนีทั้งสองก็ยังอยู่ในระดับที่ต่ำมากเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยระยะยาว ขณะที่เงินเฟ้อและการจ้างงานก็ยังคงย่ำแย่ทำสถิติต่อไป โดยอัตราเงินเฟ้อเดือนกรกฎาคมติดลบร้อยละ 0.7 โดยติดลบเป็นเดือนที่สองและต่ำสุดนับจากมีการจัดทำสถิติในปี 1991 ขณะที่จำนวนผู้ว่างงานและอัตราการว่างงานในเดือนกรกฎาคมยังทำสถิติสูงสุดต่อไปโดยมีผู้ว่างงานทั้งสิ้น 15.09 ล้านคนหรือเท่ากับอัตราการว่างงานร้อยละ 9.5 สูงสุดในรอบ 10 ปี สำหรับภาคการเงินในเดือนสิงหาคม ธนาคารกลางสหภาพยุโรป (ECB) คงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย(Refinancing rate) ไว้ที่ระดับร้อยละ 1.0 เป็นเดือนที่ 4 ทำให้อัตราผลตอบแทนในตลาดเงินอยู่ในระดับใกล้เคียงกับเดือนที่แล้วซึ่งเป็นเดือนที่อัตราผลตอบแทนปรับลดลงมากเมื่อมีการอัดฉีดสภาพ คล่องเข้าระบบตามโครงการรับซื้อ covered bond purchase programme วงเงิน 60 พันล้านยูโร กระนั้นก็ดี ผลของอัตราดอกเบี้ยที่ลดลงยังไม่ทำให้สถาบันการเงินเพิ่มการปล่อยสินเชื่อ โดยในเดือนกรกฎาคมอัตราการเพิ่มของปริมาณเงินและสินเชื่อชะลอตัวลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 15 ติดต่อกันตามแนวโน้มภาวะการหดตัวของเศรษฐกิจและความเข้มงวดในการปล่อยกู้ของสถาบันการเงิน สำหรับเสถียรภาพภายนอก (external stability) ปรับตัวดีขึ้นโดยในเดือนมิถุนายนฐานะดุลบัญชีเดินสะพัดของ Euro area ขาดดุล 5.3 พันล้านยูโร ลดลงจากปีที่แล้วร้อยละ 22.6 นับเป็นการขาดดุลเดือนที่ 16 ติดต่อกัน ขณะที่สถานะการเคลื่อนย้ายเงินทุนมีฐานะไหลออกสุทธิเล็กน้อย ขณะที่ค่าเงินยูโรในเดือนสิงหาคมแข็งค่ากับเงินทุกสกุล

ภาพรวมเศรษฐกิจ (สิงหาคม 2552)

ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรม : เดือนมิถุนายนกลับทรุดตัวลงอีกครั้ง ขณะที่ความเชื่อมั่นปรับตัวดีขึ้นอย่างแข็งแกร่งเป็นเดือนที่ห้า

ดัชนีชี้วัดผลผลลิตภาคอุตสาหกรรม (Industrial Production Index: IPI) ที่ปรับตามฤดูกาลแล้วประจำเดือนมิถุนายนของกลุ่ม EU16 กลับหดตัวลงสู่ระดับต่ำสุดอีกครั้งหลังจากที่ปรับตวดีขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อเดือนที่แล้ว โดยอยู่ที่ระดับ 88.7 ลดลงร้อยละ 0.6 จากเดือนที่แล้ว โดยในเดือนนี้ดัชนีการผลิตในเดือนนี้ปรับตัวลงเกือบทุกหมวด โดยหมวดสินค้าบริโภคชนิดคงทนและสินค้าหมวดพลังงาน สินค้าขั้นกลาง และหมวดสินค้าทุนหดตัวรร้อยละ 4.2 1.1 0.5 และ 0.3 ตามลำดับยกเว้นหมวดสินค้าบริโภคชนิดไม่คงทนที่ขยายตัวเล็กน้อยร้อยละ 0.2 การที่ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมกลับหดตัวลงอีกครั้งทำให้ยังไม่ชัดเจนว่าภาคการผลิตของพื้นที่ยูโรผ่านจุดต่ำสุดหรือยัง

ขณะที่ดัชนีชี้วัดทางด้านอุปสงค์ของกลุ่ม EU16 ในเดือนสิงหาคมฟื้นตัวดีขึ้นเป็นเดือนที่ห้าติดต่อกัน โดยดัชนีผลสำรวจความเชื่อมั่นทางธุรกิจ (Economic Sentiment Index: ESI) ขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 80.6 เพิ่มขึ้นถึง 4.6 จุดจากเดือนที่แล้ว โดยก่อนหน้านี้ดัชนีความเชื่อมั่นลงไปต่ำสุดที่ระดับ 64.6 จุด เมื่อเดือนมีนาคม โดยดัชนีความแชื่อมั่นในภาค industry และภาค servvices ปรับตัวดีขึ้นอย่างชัดเจน ขณะที่ภาค construction และ consumer ปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อยยกเว้นภาค retail trade ที่ปรับลดลงเล็กน้อยในเดือนนี้

อัตราเงินเฟ้อ : เดือนกรกฎาคมติดลบร้อยละ 0.7 ต่ำสุดนับจากปี 1991

ดัชนีราคาผู้บริโภค (Harmonised Index of Consumer Prices: HICP) ของพื้นที่ยุโรป (Euro Area: 16 ประเทศ) ประจำเดือนกรกฎาคมติดลบร้อยละ 0.7 เทียบกับที่ติดลบร้อยละ 0.1 ในเดือนที่แล้วนับเป็นเดือนที่สองที่อัตราเงินเฟ้อติดลบนับจากเริ่มมีการจัดทำสถิติของพื้นที่ยูโรในปี 1991 โดยหมวดราคาสินค้าที่ส่งผลต่อการเพิ่มของเงินเฟ้อเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่แล้วมาจากหมวดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และยาสูบที่ยังเร่งตัวขึ้น (+4.4%) หมวดสินค้าและบริการอื่นๆ (+2.1%) หมวดเครื่องใช้ในครัวเรือน (+1.7%) และหมวดโรงแรมและภัตตาคาร (+1.6%) ขณะที่หมวดรายจ่ายที่ส่งผลต่อการชะลอตัวของเงินเฟ้อยังคงมาจากหมวดคมนาคมขนส่ง (-5.5%) หมวดรายจ่ายเพื่อที่อยู่อาศัย (-1.8%) หมวดอาหาร (-1.0%) และหมวดสื่อสารโทรคมนาคม (-0.8%) สำหรับประเทศที่มีอัตราเงินเฟ้อสูงสุด 4 อันดับแรกในเดือนนี้ ได้แก่ Finland Malta Greece และ Slovakia และ ที่มีอัตราเงินเฟ้อร้อยละ 1.2, 0.8, 0.7 และ 0.6 ตามลำดับขณะที่ประเทศที่มีอัตราเงินเฟ้อต่ำสุด ได้แก่ Ireland Belgium Luxembourg Portugal และ Spain ที่อัตราเงินเฟ้อติดลบต่อเนื่องจากเดือนที่แล้วร้อยละ -2.6, -1.7, -1.5 -1.4 และ -1.4 ตามลำดับ

ในส่วนของดัชนีราคาผู้บริโภคของประเทศสหภาพยุโรทั้งหมด 27 ประเทศ (EU 27) ยังชะลอตัวลงต่อเนื่องเหลือร้อยละ 0.2 จากร้อยละ 0.6 ในเดือนก่อนหน้า โดยประเทศที่มีอัตราเงินเฟ้อสูงสุดในกลุ่ม EU27 ได้แก่ ประเทศ Romania Hungary และ Poland ที่มีอัตราเงินเฟ้อสูงถึงร้อยละ 5.0 4.9 และ 4.5 ตามลำดับ

อัตราการว่างงาน : เดือนกรกฎาคมพุ่งแตะร้อยละ 9.5 ทำสถิติสูงสุดในรอบ 10 ปี

ในเดือนกรกฎาคม Euro area 16 ประเทศ มียอดผู้ว่างงานที่ปรับตามฤดูกาลแล้วรวมกันทั้งสิ้น 15.090 ล้านคน (เพิ่มขึ้น 167,000 คนจากเดือนที่แล้ว) และเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่แล้วจำนวนผู้ว่างงานเพิ่มขึ้น 3.2 ล้านคน ส่งผลให้อัตราการว่างงานในเดือนนี้เพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากเดือนที่แล้วขึ้นมาอยู่ที่ระดับร้อยละ 9.5 เทียบกับร้อยละ 9.4 ในเดือนที่แล้ว นับเป็นอัตราการว่างงานที่สูงที่สุดตั้งแต่เดือนเมษายน 1999 ทั้งนี้ อัตราการว่างงานของ Euro area เพิ่มขึ้นต่อเนื่องหลังจากที่เคยลงไปอยู่ในระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ที่ระดับร้อยละ 7.2 เมื่อเดือนมีนาคม 2008 อย่างไรก็ดี อัตราการว่างงานของเดือนพฤษภาคมและมิถุนายนแม้จะยังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่องแต่ก็เพิ่มในอัตราที่ชะลอลงจากเมื่อช่วงต้นปี โดยประเทศสมาชิก Euro area ที่มีอัตราการว่างงานสูงสุด ได้แก่ Spain, Latvia และ Lithuania ที่มีอัตราการว่างงานร้อยละ 18.5, 17.4 และ 16.7 ตามลำดับ

ขณะที่ยอดผู้ว่างงานของ EU 27 ประเทศก็เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 21.794 ล้านคน หรือคิดเป็นอัตราการว่างงานร้อยละ 9.0 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 8.9 เมื่อเดือนที่แล้ว

อัตราดอกเบี้ยและอัตราแลกเปลี่ยน

ECB คงอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 1.0 เป็นแดือนที่ 4 ขณะที่ปริมาณเงินและสินเชื่อชะลอตัวลงต่อเนื่องเป็นเดือนนที่ 15

เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม คณะกรรมการธนาคารกลางสหภาพยุโรป มีมติคงอัตราดอกเบี้ย Refinancing Operations (MRO) ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยนโยบายขออง ECB ไว้ตามเดิมที่ระดับร้อยละ 1.0 เป็นเดือนที่ 4 โดย ECB ได้ให้เหตุผลประกอบการตัดสินใจลดอัตราดอกเบี้ยในครั้งนี้ว่าอัตราดอกเบี้ยในปัจจุบันมีความเหหมาะสมกับสสถานการณ์นับจากการประชุมครั้งที่แล้ว ทั้งนี้ การที่อัตราเงินเฟ้อลงมาติดลบก็อยู่ในความคาดหมายและเชื่อว่าหลังจจากอัตราเงินเฟ้อกลับขึ้นมาเป็นบวกแต่ก็จะยังคงอ่อนแอ โดยข้อมูลล่าสุดและผลสำรวจเชื่อว่าเศรษฐกิจในช่วงที่เหลือของปีจะยังคงอ่อนแอแต่จะไม่ตกต่ำลึกเท่ากับที่เกิดขึ้นในไตรมาสแรกของปีและเชื่อว่าเศรษฐกิจจะฟื้นตัวเป็นบวกได้นับจากกลางปี 2010 เป็นต้นไป โดยในการประเมินได้คำนึงถึงผลกระทบของอัตราการว่างงานที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในอนาคตอันใกล้ไว้ด้วยแล้ว ซึ่งผลการวิเคราะห์พบว่าอัตราการเพิ่มของปริมาณเงินและสินนเชื่อยังคงชะลอตัวลงต่อเนื่อง จึงเชื่อว่าจะสามารถรักษาอัตราเงินเฟ้อในระยะปานกลางให้อยู่ต่ำกว่าแต่ใกล้เคียงระดัดับอัตราเงินเฟ้อเป้าหมายร้อยละ 2.0 ได้ โดยการประชุมครั้งต่อไปจะมีขึ้นในวันนที่ 3 กันยายน 2552

ในเดือนกรกฎาคม สภาพคล่องในระบบเศรษฐกิจของ Euro Araa ยังคงชะลอตัวลงต่อเนื่องตามการชะลอตัวลงขของภาวะเศรษษฐกิจ โดยยอดคงค้างของปริมาณเงินตามความหมายกว้างหรือ M3 อยู่ที่ระดับ 9.45 ล้านล้านยูโร เพิ่มขึ้น 20 พันล้านยูโรจากเดือนที่แล้ว ทำให้ยอดคงค้างปริมาณเงินขยายตัวเพียงร้อยละ 3.0 จากปีที่แล้ว (เดือนที่แล้วขยายตัว ร้อยละ 3.6) ซึ่งเป็นอัตราการขยายตัวที่ต่ำที่สุดนับจากปี 1995 ขณะที่ยอดคงค้างสินเชื่อที่สถาบันการเงิน (MFI) ให้กู้กับภาคเอกชน (loan to private sector) มียอดคงค้าง ณ สิ้นเดือนมิถุนายนที่ระดับ 10.796 ล้านล้านยูโร ลดลงจากเดือนก่อนหน้า 32 พันล้านยูโร โดยยอดคงค้างสินเชื่อมีการขยายตัวจากปีที่แล้วเพียงร้อยละ 0.6 (เดือนที่แล้วขยายตัวร้อยละ 1.5) ซึ่งเป็นอัตราที่ต่ำที่สุดนับจากเริ่มมีการจัดทำสถิตติในปี 1998 สะท้อนถึงความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงินและความต้องการสินเชื่อที่ชะลอตัวลง

สำหรับค่าเฉลี่ยของอัตราดอกเบี้ยในตลาดเงิน (Money market interest rates) ในเดือนสิงหาคมลดลงต่อเนื่องจากเดือนที่แล้วเล็กน้อย โดยอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นอายุไม่เกิน 1 ปีลดลงระหว่าง 1 - 11 basis points ขณะที่ออัตราผลตอบแทนระยะยาวอายุ 5 ปีและ 10 ปี ลดลง 5 และ 20 basis points ตามลำดับ หลังจากที่เดือนที่แล้วอัตราผลตอบแทนลดลงค่อนข้างมากจากผลของมาตรการเพิ่มสภาพคล่องของ ECB ตามโครงการรับซื้อ covered bond purchase programe วงเงิน 60 พันล้านยูโร ที่เริ่มดำเนินการเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบกับโครงสร้างอัตราผลตอบแทนในเดือนเดียวกันของปีที่แล้วพบว่าอัตราผลตอบแทนในเดือนนี้อยู่ในระดับต่ำกว่าปีที่แล้วระหว่าง 395 - 410 basis points ตามการทยอยปรับลดอัตราดอกเบี้ยของ ECB นับจากช่วงต้นไตรมาสที่ 3 ของปีที่แล้วเป็นต้นมา ขณะที่อัตราดอกเบี้ยระยะยาวก็ต่ำกว่าปีที่แล้วระหว่าง 61 - 147 basis points ส่งผลให้เส้นโครงสร้างอัตราผลตอบแทนมีลักษษณะชันกว่าเมื่อปีที่แล้ว

อัตราแลกเปลี่ยน : ยูโรแข็งค่าเล็กน้อยกักับทุกสกุลตต่อเนื่องจากเดือนก่อน

ค่าเงินยูโรเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ สรอ.ในเดือนสิงหาคมแข็งค่าเล็กน้อยซึ่งเป็นการแข็งค่าต่อเนื่องเป็นเดือนที่หกโดยเงินยูโรปิดตลาดวันแรกของเดือนที่ระดับ 1.4303 $/ยูโร และขึ้นไปทำระดับปิดสูงสุดของเดือนที่ระดับ 1.441 $/ยูโร หลังงจากนั้น 2 วันซึ่งเป็นผลจากการที่ตลาดลดความสำคัญของการถือครองเงินนดอลลาร์ สรอ. เมื่อความเชื่อมั่นในการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกเริ่มดีขึ้นเป็นลำดับ อย่างไรก็ดีเงินยูโรไม่สามารถรักษาระดับเหนือ 1.440 $/ยูโร ไว้ได้จึงมีแรงขายออกมาทำให้เงินยูโรอ่อนค่าลงจนลงมาปิดต่ำสุดขอองเดือนที่ระดดับ 1.4072 $/ยูโร ในช่วงกลางเดือนจากนั้นเงินยูโรก็เริ่มมีทิศทางที่ดีขึ้นอีกครั้งจากตัวเลขการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 2 ของเยอรมันและฝรั่งเศสออกมาดีกว่าที่ตลาดคาด จึงทำให้เงินยูโรสามารถกลับขึ้นไไปแข็งค่าเหนือระดับ 1.43 $/ยูโร ได้ในช่วงสั้นๆ ก่อนที่จะเคลื่อนไหวขึ้นลงใกล้ระดับดังกล่าวจนนกระทั่งปิดตลาดวันสุดท้ายของเดือนที่ระดับ 1.42772 $/ยูโร ส่งผลให้โดยรวมแล้วค่าเฉลี่ยของเงินยูโรเมื่อเทียบกับดอลลาร์สรอ.ในเดือนนี้แข็งค่าขึ้นร้อยละ 1.3 แต่ถ้าเทียบกับค่าเฉลี่ยของปีที่แล้วเงินยูโรยังอ่อนค่าอยู่ร้อยละ 4.7

เงินยูโรเมื่อเทียบกับเงินปอนด์ในเดือนนี้แข็งค่าขึ้นเป็นเดือนที่สอง โดยเงินยูโรปิดตลาดวันแรกของเดือนที่รระดับ 0.8492 ปอนด์/ยูโร จากนั้นก็อ่อนค่าลงไปสู่ระดับต่ำสุดของเดือนที่ระดับ 0.84695 ปอนด์ /ยูโร ในช่วงสัปดาห์แรกหลังจากนั้นเงินยูโรก็มีทิศทางที่แข็งค่าขึ้นตลอดช่วง 3 สัปดาห์ที่เหลือของเดือนโดยสามารถปรับตัวขึ้นต่อเนื่องจนสามารถผ่านระดับ 0.88 ปอนด์/ยูโร ได้ในช่วงปลายเดือนก่อนที่จะขึ้นไไปมีระดับปิดสูงสุดของเดือนในวันสุดท้ายที่ระดับ 0.88135 ปอนด์/ยูโร โดยเหตุผลที่ทำให้เงินยูโรแข็งค่าขึ้นโดยตลอดในช่วงครึ่งหลังของเดือนมาจากข่าวการเพิ่มวงเงินตามมาตรการ Quantitative Easing ของ Bank of England ที่อยู่เหนือความคาดหมายของตลาด ประกอบกับข้อมูลเศรษฐกิจไตรมาสที่ 2 ของประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่ของยูโรออกมาดีกว่าที่คคาดจึงเป็นแรงหนุนเงินยูโรโดยค่าเฉลี่ยของเงินยูโรในเดือนนี้แข็งค่าขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 0.2 และแข็งค่าอยู่ร้อยละ 8.8 ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา

เมื่อเทียบกับเงินเยนแล้ว ค่าเฉลี่ยของเงินยูโรในเดือนนี้แข็งค่าขึ้นอีกครั้ง โดยเงินยูโรมีระดับปิดวันแรกของเดือนที่ระดับ 135.86 เยน/ยูโร จากนั้นก็แข็งค่าขึ้นต่อเนื่องจนขึ้นไปปิดสูงสุดของเดือนที่ระดับ 138.01 เยน/ยูโร จากนั้นยูโรก็กลับอ่อนค่าลงเมื่อไม่สามารถยืนเหนือระดับดังกกล่าวได้โดยทยอยอ่อนค่าลงต่อเนื่องจนลงมามีระดับปิดต่ำสุดของเดือนที่ระดับ 132.55 เยน/ยูโร ในช่วงกลางของเดือน ก่ออนที่เงินยูโรจะเริ่มเคลื่อนไหวผันผวนขึ้นลงในกรอบ 133 - 135 เยน/ยูโร และปิดตลาดวันสุดท้ายของเดือนที่ระดับ 133.10 เยน/ยูโร ซึ่งเป็นระดับใกล้เคียงกับระดับปิดของเดือนที่แล้ว ส่งผลให้เงินยูโรในเดือนนี้แข็งค่าขึ้นร้อยละ 1.7 อย่างไรก็ดี เงินยูยูโรยังอ่อนค่าอยู่ร้อยละ 17.3 ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา

ค่าเฉลี่ยของเงินยูโรในเดือนนนี้แข็งค่าเล็กกน้อยเมื่อเทียบกับเงินบาทนับเป็นเดือนที่ 6 ติดตต่อกัน โดยเงินยูโรมีระดับปิดตลาดวันแรกของเดือนที่ 48.652 ฿/ยูโร จากนั้นก็แข็งค่าขึ้นไปปิดสูงงสุดของเดือนนที่ระดับ 48.98 ฿/ยูโร ก่อนนที่จะอ่อนตัววลงมาเคลื่อนนไหวในกรอบบ 48 - 49 ฿/ยูโร ตลอดช่วง 3 สัปดาห์ที่เหลือของเดือนและปิดตลาดวันสุดท้ายของเดือนที่ระดับที่ระดับ 48.532 ฿/ยูโร ส่งผลให้ค่าเฉลี่ยของเงินยูโรในเดือนนี้แข็งค่าขึ้นร้อยละ 1.2 อย่างไรก็ดี เงินยูโรยังอ่อนค่าอยู่ร้อยละ 4.2 ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา

ดุลบัญชีเดินสะพัดและดุลการชำระเงิน

เดือนมิถุนายน: Euro Area ขาดดุลบัญชีเดินสะพัดเล็กน้อย ขณะที่เงินทุนไหลเข้าสุทธิเล็กน้อยเช่นกัน

ณ สิ้นเดือนมิถุนายน Euro area มีฐานะดุลบัญชีเดินนสะพัดที่ปรับบตามฤดูกาลแล้ว (seasonally adjusted current account balance) ขาดดุลจำนวน 5.3 พันล้านยูโร ลดลงจากปีที่แล้วร้อยละ 22.6 โดยในเดือนนี้ Euro area มีการเกินดุลการค้า (goods trade) และดุลบริการ (services) เล็กน้อยจำนวน 2.2 แลละ 0.5 พันล้านยูโร ตามลำดับ แต่ขาดดุลรายได้ (income) และดุลเงินโอน (current transfer) จำนวนน 2.8 และ 5.2 พันล้านยูโร ตามลำดับ จึงทำให้โดยรวมแล้ว Euro area มีฐานะดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุลดังกล่าว และนับเป็นการขาดดุลติดต่อกันเป็นเดือนที่สิบหก

ทั้งนี้ ในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมา ดุลบัญชีเดินสะพัดของ Euro area มีฐานะขาดดุลบัญชีเดินสะพัดรวม 122.6 พันล้านยูโร หรือเท่ากับร้อยละ 1.3 ของ Euro GDP ขณะที่รอบ 12 เดือนก่อนหน้ามีการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดแพียง 34.5 พพันล้านยูโร หรือเท่ากับขาดดุลเพิ่มขึ้นถึง 3.6 เท่าซึ่งเป็นผลมาจากการที่ Euro area กลับสถานะจากที่เคยเกินดุลการค้าสะสม 24.7 พันล้านยูโร มาเป็นขาดดุลการค้าสะสม 9.6 พันล้านยูโร ขณะเดียวกัน การเกินดุลบริการก็ลดลงร้อยละ 43.8 นอกจากนี้ การขาดดุลรายสะสมก็เพิ่มมากกว่าปีที่แล้ว

ทางด้านดุลบัญชีเงินทุนเคลื่อนย้าย (financial account) ที่ยังไม่ปรับตามฤดูกาล (non-seasonal adjusted) ประจำเดือนมิถุนายน พบว่า Euro area มีฐานะบัญชีเงินทุนไหลออกสุทธิ 7.4 พันล้านยูโร (เทียบกับที่ไหลเข้าสุทธิ 26.6 พันล้านยูโรในเดือนก่อนหน้า) เนื่องจากมีการไหลออกสุทธิของเงินลงทุนทางตรง (direct investment) ขณะที่เงินลงทุนในหลักททรัพย์ (portfolio investment) ที่มีสถานะไหลเข้าสุทธิลดลงเหลือ 45.2 พันล้านยูโร

สำหรับยอดสะสมในรอบ 12 เดือน Euro area มีฐานะดุลบัญชีเงินทุนเคลื่อนย้าย (accumulated financial account) ไหลเข้าสุทธิถึง 352.6 พันล้านยูโร (เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 2.6 เท่า) เหตุผลหลักมาจากมีการไหลเข้าสุทธิของเงินลงทุนในหลักทรัพย์ (net portfolio nvestments) เพิ่มขึ้นถึง 6.7 เท่า ขณะที่เงินลงทุนทางตรง (net direct investments) ไหลออกสุทธิเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากปีที่แล้ว

ประเด็นข่าวสำคัญ ๆ ในรอบเดือนที่ผ่านมา
  • นาง Angela Merkel นายกรัฐมนตรีของเยอรมันสนับสนุนข้อเรียกร้องของประธานาธิบดี Nicolas ที่ผ่านมา (26 สิงหาคม 2009)
  • ชมรมนักบริหารเงินภาคธุรกิจ (Association of Corporate Treasurers) ซึ่งประกอบด้วยบริษัทข้าม ชาติขนาดใหญ่หลายแห่งของยุโรปได้ยื่นข้อเสนอคัดค้านแนวคิดที่จะให้การซื้อขายตราสารอนุพันธ์นอกตลาด (over-the-counter derivatives) จะต้องดำเนินการผ่านตัวกลางในการชำระบัญชี (clearing house) ตามที่ European Commission ได้เสนอไว้เป็นหนึ่งในแนวทางปฏิรูปตลาดอนุพันธ์เพื่อลดความเสี่ยงการซื้อขายในตลาด OTC ลง โดยภาคเอกชนเห็นว่าข้อเสนอดังกล่าวจะทำให้ต้นทุนในการบริหารความเสี่ยงจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนและอัตราดอกเบี้ยของบริษัทเอกชนสูงขึ้นเนื่องจากต้องดำรงเงินสดไว้จำนวนมากเพื่อสำรองไว้สำหรับการชำระบัญชีตามสัญญาซื้อขายอนุพันธ์ซึ่งในอดีตการทำสัญญาซื้อขายอนุพันธ์เพื่อคุ้มครองความเสี่ยงกับธนาคารพาณิชย์ไม่จำเป็นต้องสำรองเงินไว้แต่อย่างใด โดยบริษัทที่ได้รับผลกระทบมาก ได้แก่ Caterpillar, ng, 3M รวมถึง Rolls-Royce เป็นต้น (28 สิงหาคม 2009)
  • นาย Sebastien Proto ปลัดกระทรวงงบประมาณของฝรั่งเศสกล่าวเตือนบรรดาเศรษฐีชาวฝรั่งเศสที่มีเงินฝากกับธนาคารในประเทศ Switzerland แต่ไม่แจ้งให้ทางการทราบว่าการกระทำดังกล่าวเป็นการหลีกเลี่ยงภาษีและจะถูกติดตามอย่างไม่ลดละเนื่องจากขณะนี้ได้รับข้อมูลรายชื่อชาวฝรั่งเศสที่มีบัญชีเงินฝากกับธนาคารในสวิตเซอร์แลนด์รวม 3,000 คน โดยให้รีบดำเนินการแจ้งข้อมูลให้ทางการทราบก่อนที่กฎหมายนิรโทษกรรมเกี่ยวกับการเลี่ยงภาษีจะหมดอายุลงในสิ้นปีนี้ ทั้งนี้ เป็นความพยายามของฝรั่งเศสที่จะจัดการกับเศรษฐีผู้เลี่ยงภาษีโดยแอบมีบัญชีเงินฝากตามประเทศที่เป็นแหล่งหลบเลี่ยงภาษี (Tax haven) เช่นเดียวกับที่ประเทศเยอรมันเคยดำเนินการเมื่อปีที่แล้ว (30 สิงหาคม 2009)
  • ประมาณการเบื้องต้นของอัตราเงินเฟ้อ (flash estimated inflation) ประจำเดือนสิงหาคมของ Euro area คาดว่าจะติดลบร้อยละ 0.2 เทียบกับที่ติดลบร้อยละ 0.6 ในเดือนกรกฎาคม ซึ่งหากเป็นไปตามที่ประมาณการก็จะเป็นเดือนที่สามที่อัตราเงินเฟ้อของพื้นที่ยูโรติดลบ (31 สิงหาคม 2009)

ที่มา : Macroeconomic Analysis Group : Fiscal Policy Office

Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ