ภาวะเศรษฐกิจสหราชอาณาจักร สิงหาคม 2552

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday September 10, 2009 14:42 —กระทรวงการคลัง

บทสรุป

ภาวะเศรษฐกิจของสหราชอาณาจักร ประจำเดือนสิงหาคม 2009 พบว่าเสถียรภาพภายใน (internal stability) ยังคงเปราะบางโดย GDP ประจำไตรมาสที่ 2 ติดลบลงลึกกว่าไตรมาสแรก ขณะที่หากพิจารณาไตรมาสต่อไตรมาสการหดตัวเริ่มน้อยลง โดยที่ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมประจำเดือนมิถุนายนเริ่มปรับตัวดีขึ้นชัดเจนเป็นครั้งแรก รวมถึงราคาที่อยู่อาศัยประจำเดือนกรกฎาคมก็ปรับตัวดีขึ้นอย่างชัดเจนเช่นกันโดยราคาที่อยู่อาศัยเฉลี่ยลดลงจากปีที่แล้วเหลือร้อยละ 12.1 จากปีที่แล้ว สำหรับอัตราเงินเฟ้อในเดือนกรกฎาคมกลับทรงตัวที่ระดับร้อยละ 1.8 หลังจากลดลงแรงในเดือนที่แล้วดีกว่าที่ตลาดคาดไว้ว่าจะลดลงอีก ในส่วนของการว่างงานก็ยังคงเป็นปัญหาสำคัญในการบั่นทอนเสถียรภาพเศรษฐกิจเมื่อจำนวนผู้ว่างงานเดือนมิถุนายนเพิ่มขึ้นเป็น 2.44 ล้านคนส่งผลให้อัตราการว่างงานเพิ่มเป็นร้อยละ 7.8 ถือเป็นจำนวนผู้ว่างงานที่สูงที่สุดนับจากปี 1995 ในส่วนของนโยบายการเงินในเดือนสิงหาคม Bank of England ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย (Bank rate) ไว้ที่ร้อยละ 0.5 ต่อไปเป็นเดือนที่ห้า ขณะเดียวกัน ก็เพิ่มวงเงินรับซื้อตราสารหนี้ภาครัฐและเอกชน (Asset Purchased Facility) เพื่อขยายฐานเงิน(Quantitative easing) ขึ้นอีก 50 พันล้านปอนด์รวมเป็นจำนวน 175 พันล้านปอนด์ เนื่องจากยังมีความเสี่ยงที่เศรษฐกิจอาจจะทรุดตัวลงอีกได้ ซึ่งส่งผลดีต่อการลดลงของอัตราผลตอบแทนระยะสั้นอย่างต่อเนื่ง แต่ยังไม่สามารถส่งผ่านไปยังระบบเศรษฐกิจได้อย่างแท้จริง เมื่อยอดคงค้างสินเชื่อภาคธุรกิจและภาคครัวเรือนยังหดตัวลงต่อเนื่อง ขณะที่เสถียรภาพภายนอก (external stability) ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจทำให้การขาดดุลการค้าและบริการในเดือนมิถุนายนลดลงจากปีที่แล้วร้อยละ 42 เนื่องจากการหดตัวของการนำเข้าเร็วกว่าการส่งออก สำหรับค่าเงินปอนด์ในเดือนนี้มีความผันผวนเมื่อเงินปอนด์อ่อนค่าลงนับจากช่วงสัปดาห์ที่สองของเดือนเมื่อเงินปอนด์ไม่สามารถผ่านจุดต้านไปได้ ประกอบกับนัยของนโยบายการเงินและความกังวลเกี่ยวกับฐานะหนี้ภาครัฐ

สำหรับฐานะการคลังในเดือนกรกฎาคมยังคงย่ำแย่ต่อไปด้วยสาเหตุเดิมๆ คือ การจัดเก็บรายได้ลดลงแต่รายจ่ายสูงขึ้นทำให้ขาดดุลงบประมาณสูงกว่าปีที่แล้วกว่า 2.5 เท่า ส่งผลให้ยอดหนี้สาธารณะต่อ GDP ปรับขึ้นมาอยู่ที่ระดับร้อยละ 56.8

ภาพรวมเศรษฐกิจ

GDP ไตรมาสที่สสอง หดตัวจจากไตรมาสที่แล้วร้อยลละ 0.7 แต่ยัยังหดตัวแรงงร้อยละ 5.5 เมมื่อเทียบกับปีปีที่แล้ว

ประมาณการเบื้องต้น (Preeliminary esttimate) ของผลผลิตมวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของประจจำไตรมาสที่ 2 ของปี 2009 พบว่าเศรรษฐกิจขยายตัวติดลบชะลอลงเหลือร้อยละ 0.7 เมื่อเทียบกับไตรมาสแรก (QooQ) (ไตรมาสที่แล้วขยายตัวติดลบร้อยละ 2.4) นับเป็นไตรมาสที่ 5 ติดต่อกันที่ GDPP หดตัวจากไตรมาสก่อนหน้า และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันนของปีที่แล้ว (YoY) GDPP ขยายตัวติดลบร้อยละ 5.5 (ไตรมาสที่แล้วขยายตัวติดลบร้อยละ 4.9) นับเป็นไตรมาสที่ 3 ติดต่อกันที่เศรษฐกิจหดตัวเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนหน้า และถือเป็นสถิติการติดลบที่สูงที่สุดนับจากเริ่มมีการจัดทำสถิติ โดยเศรษฐกิจในไตรมาสนี้หดตัวจากไตรมาสก่อนหน้าในทุกภาคการผลิตแต่โดยรวมแล้วมีอัตราการหดตัวที่ชะลอลง

  • ภาคบริการขขยายตัวติดลบร้อยละ 0.6 จากไตรมาสก่อนหน้า (ติดลบร้อยละ 3.8 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว) ซึ่งงเป็นอัตราการติดลบที่ชะลอลงในทุกสาขายกเว้นบริการภาครัฐ โดยภาคที่มีอัตราการหดตัวมากที่สุดมาจากภาคการคมนาคมขนส่ง สื่อสาร และการเก็บรักษาสินค้าที่หดตัวลงร้อยละ 1.6 รองลงมาได้แก่หมวดบริการธุรกิจและการเงินที่หดตัวลงรร้อยละ 0.6 บริการภาครัฐและบริการอื่นหดตัวร้อยละ 0.3 และธุรกิจหมวดการค้าส่ง โรงแรม และภัตตาคารไม่เปลี่ยนแปลงจากไตรมาสก่อนหน้า (ภาคบริการมีสัดส่วนต่อ GDP ร้อยละ 76)
  • ภาคอุตสาหกรรมและการผลิตหดตัวร้อยละ 0.6 จากไตรมาสก่อนหน้า (แต่หดตัวร้อยละ 11.8 เมื่ออเทียบกับไตรมาสเดียวกันนของปีที่แล้ว) ซึ่งเป็นอัตราที่ชะลอลงเช่นกัน การผลิตสินค้าอุตสาหกรรมปรับตัวดีขึ้นมากจากไตรมาสก่อนหน้าโดยหดตัวลงเพียงร้อยละ 0.2 ภาคเหมืองแร่และพลังงานธรรมชาติหดตัวร้อยละ 0.7 ขณะที่หมวดบริการสาธารณูปโภคไฟฟ้า ก๊าส และน้ำประปายังคงหดตัวใกล้เคียยงไตรมาสที่แล้วโดยหดตัวลงร้อยละ 3.7 (ภาคอุตสาหกรรมและการผลิตมีสัดส่วนต่อ GDP ร้อยละ 17)
  • ภาคการก่อสสร้างหดตัวร้อยละ 2.2 ซึ่งงเป็นอัตราที่ชะลอลง (หดตัวลงร้อยละ 14.7 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว) (ภาคการก่อสร้างมีสัดส่วนต่อ GDP ประมาณร้อยละ 6)
  • ภาคการเกษตรหดตัวลงรร้อยละ 2.8 จจากไตรมาสก่อนหน้า (หดดตัวร้อยละ 3.6 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว) (ภาคการเกษตรมีสัดส่วนต่อ GDP ประมาณร้อยละ 0.7)

โดยหากพิจารณาเศรษฐกิจทางด้านรายจ่าย (Expenditure side) แล้วพบว่าเกิดจากการหดตัวในทุกเกือบทุกด้านไม่ว่าจะเป็นการบริโภคเอกชน (household consumption) การลงทุน (investments) และการส่งออก (exports) ยกเว้นการใช้จ่ายภาครัฐ (general government consumption) ดังนี้

  • การบริโภคภาคเอกชน (Household consumption) หดตัวลงร้อยละ 0.7 จากไตรมาสก่อนหน้า และหดตัวร้อยละ 3.4 จากไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว (มีสัดส่วนร้อยละ 67.1 ของ GDP)
  • การใช้จ่ายภาครัฐ (Government consumption) เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าร้อยละ 0.8 และขยายตัวร้อยละ 2.5 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว (มีสัดส่วนร้อยละ21.3 ของ GDP)
  • การลงทุน (Gross fixed capital formation) หดตัวลงร้อยละ 4.5 จากไตรมาสที่แล้วและหดตัวลงร้อยละ 15.2 จากไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว (มีสัดส่วนร้อยละ 17.5 ของ GDP)
  • การส่งออก (Exports) ขยายตัวติดลบร้อยละ 2.7 จากไตรมาสก่อนหน้า และติดลบร้อยละ 13.5 จากไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว (มีสัดส่วนร้อยละ 27.1 ของ GDP) ขณะที่การนำเข้ามีการหดตัวเร็วกว่าโดยติดลบร้อยละ 3.2 จากไตรมาสก่อนหน้า และติดลบร้อยละ 15.2 จากไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว (มีสัดส่วนร้อยละ 30.1 ของ GDP)

อนึ่ง ในการแถลงงบประมาณปี 2009 เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2009 กระทรวงการคลังประมาณการว่าเศรษฐกิจในปี 2009 จะหดตัวร้อยละ 3.5 ขณะที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ได้ปรับประมาณการล่าสุดว่าจะติดลบร้อยละ 4.1

ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนมิถุนายนเริ่มกระเตื้องขึ้น 0.4 จุด

ดัชนีชี้วัดการผลิตภาคอุตสาหกรรม (Industrial Production Index: IPI) ในเดือนมิถุนายนอยู่ที่ระดับ 87.4 จุด เพิ่มขึ้น 0.4 จุดจากเดือนที่แล้ว นับเป็นครั้งแรกหลังจากที่ดัชนีลงไปทำสถิติต่ำที่สุดในเดือนที่ผ่านนมา โดยหากกพิจารณาจากค่าเฉลี่ยของดัชนีช่วง 3 เดือน (เมษายน-มิถุนายน) พบว่าดัชนีลดลงจากค่าเฉลี่ยของช่วง 3 เดือนก่อนหน้า (มกราคม-มีนาคม) ร้อยละ 0.6 ซึ่งเป็นอัตราการลดที่ชะลอลงเป็นเดือนที่สี่ การที่ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมในเดือนนี้เริ่มกระเตื้องขึ้นถือเป็นแนวโน้มที่ดีขึ้นที่ช่วยบ่งชี้ว่าอัตราการขยายตัวของ GDP ในไตรมาสที่สองน่าจะหดตัวจากไตรมาสแรกในอัตราที่ชะลอตัวลง โดยในเดือนนี้ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกกรรมในสาขาสินค้าอุตสาหหกรรม (Manufacturing)) ซึ่งมีน้ำหนักกร้อยละ 77 หดตัวในอัตรราที่ชะลอลงต่อเนื่องเหลือเพียงร้อยละ 0.2 จากช่วง 3 เดือนก่อนหน้าเทียบกับที่ลดลงร้อยละ 1.2 ในเดือนที่แล้ว ขณะที่ดัชนีผลผลิตด้านพลังงานไฟฟ้า น้ำ และ ก๊าซ ซึ่งมีน้ำหนักร้อยละ 9 ลดลงต่อเนื่องร้อยละ 3.7 เทียบกับเดือนก่อนหน้าที่ลดลงร้อยละ 5.5 ส่วนดัชนีผลผลิตภาคเหมืองแรร่ ทรัพยากร ธรรมชาติ และน้ำมัน ซึ่งมีน้ำหนักร้อยละ 14 ลดลงเพียงร้อยละ 0.7 เทียบกับร้อยละ 2.9 ในเดือนที่แล้ว

ทั้งนี้ หากพิจารณาดัชนีการผลิตตามระดับขั้นของผลผลิตพบว่าดัชนีเริ่มปรับตัวดีขึ้นในทุกหมวด โดยยดัชนีผลผลิตตสินค้าขั้นกลางและพลังงาน(Intermediate gods and energy) ซึ่งมีน้ำหนักร้อยละ 449 ลดลงจากรอบ 3 เดือนก่อนหน้าร้อยละ 1.1 จากร้อยละ 3.2 ในเดือนที่แล้ว สินค้าทุน (Capital goods) ซึ่งมีน้ำหนักร้อยละ 21 ลดลงร้อยยละ 1.0 เทียบกับเดือนที่แล้วที่หดตัวร้อยละ 3.5 ขณะที่ดัชนีสินค้าบริโภคชนิดคงทน (Consumer durables) ซึ่งมีน้ำหนักร้อยละ 3.4 ขยายตัวเป็นบวกเป็นเดือนที่สองโดยขยายตัวร้อยละ 1.8 จากร้อยละ 0.9 เมื่อเดือนที่แล้ว และดัชนีผลผลิตสินค้าบริโภคชนิดไม่คงทน (Consumer non-durables) ซึ่งมีน้ำหนักร้อยละ 26 ในเดือนนี้เพิ่มขึ้นเป็นเดือนที่สามแต่ในอัตราที่ชะลอลงเหลือร้อยละ 0.3 เทียบกับเดือนที่แล้วที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6

อัตราเงินเฟ้อ : CPI ทรงตัวทีที่ระดับร้อยลละ 1.8 โดยย RPI ติดลบบเหลือร้อยลละ 1.4

ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนกรกฎาคมทรงตัวที่รระดับร้อยละ 1.8 เท่ากับเดืดือนที่แล้ว นับเป็นเดือนนที่สองที่อยู่ตต่ำกว่าอัตราแงินเฟ้อเป้าหหมายร้อยละ 2.0 หลังจากที่ก่อนหน้านี้อัตราเงินเฟ้ออยู่สูงกว่าเป้าหมายตลอด 20 เดือนที่ผ่านมา โดยการที่อัตราเงินเฟ้อในเดือนนี้ทรงตัวเท่ากับเดือนที่แล้วซึ่งเหนือความคาดหมายเนื่องจากตลาดคาดว่าอัตราเงินเฟ้อน่าจะปรับตัวลงอีกในเดือนนี้ ซึ่งสวนทางกับอัตราเงินเฟ้อของสหภาพยุโรปและสหรัฐฯ ที่ต่างก็ยังปรับตัวลดลง โดยหมวดรายจ่ายที่ทำให้อัตราเงินเฟ้อในเดือนนี้ยังคงเพิ่มขึ้นมาจากหมวดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮออล์และบุหรี่ที่เร่งตัวขึ้นเป็นร้อยละ 4.1 จากร้อยละ 3.3 ในเดืออนที่แล้ว หมวดรายจ่ายค่าสาธารณูปโภภคที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.2 หมวดอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกกอฮอล์ที่เพิ่มในอัตราที่ชะลอลงเหลือร้อยละ 4.1 จากร้อยละ 5.4 ในเดือนทีที่แล้ว หมวดสันธนาการและบันเทิงที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0 และหมวดเฟอร์นิเจออร์และอุปกรณ์ตกแต่งบ้บ้านที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.4 สำหรับหมวดสินค้าที่มีระดับราคาลดลงเมื่อเทียบกับปีที่แล้วยังคงได้แก่หมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้าที่มีระดับราคาลดลงร้อยละ 8.1 และหมวดขนส่งคมนาคมมีราคาลดลงร้อยละ 1.4

ทางด้านดัชนี Retail Price Index (RPI) ในเดือนนี้ตติดลบชะลอลงเหลือร้อยละ 1.4 เทียบกับที่ติดลบบร้อยละ 1.6 ในเดือนที่แล้ว นับเป็นเดืออนที่ 5 ติดต่อกันที่ RPI เพิ่มในอัตราที่ติดลบ โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อการชะลอลงของเงินเฟ้อในเดือนนี้นี้มาจากหมวดที่อยู่อาศัยและรายจ่ายในครัวเรือนที่หดตัววลงร้อยละ 5.1 เนื่องจากรรายจ่ายการผ่อนชำระเงินกู้เพื่อที่อยู่อาศัยลดลงตามนโยบายลดอัตราดอกเบี้ย รวมถึงค่าเช่าที่ลดลงด้วยเช่นกัน หมวดรรายจ่ายส่วนบุคคที่ลดลงร้อยละ 1.0 และหมวดท่องเที่ยวและกการหย่อนใจลดลงจากปีที่แล้วร้อยละ 0.3 สำหรับหมวดสินค้าที่ส่งผลต่อการเพิ่มของระดับราคามาจากหมวดหมวดอาหารและภัตตาคารที่เพิ่มขึ้นในอัตราที่ชะลอลงเหลือร้อยละ 3.5 จากร้อยละ 4.5 ในนเดือนที่แล้ว และหมวดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์และยาสูบที่เร่งตัวขึ้นจากร้อยละ 3.2 เป็นร้อยละ 3.5 ในเดือนนี้

อัตราการว่างงานพุ่งแตะร้อยละ 7.6 โดยยอดผู้ว่างงานสูงถึง 2.44 ล้านคน สูงสุดในรอบ 14 ปี

ในรอบ 3 เดือนนสิ้นสุดเดือนนมิถุนายน(เมษษายน-มิถุนายน) ทั้งจำนวนผู้มีงานทำและอัตราการมีงานทำยังคงลดลลงต่อเนื่อง โดยจำนวนผู้มีงานทำ(employment leevel) มีจำนวนน 28.933 ล้านคน ลดลง 271,000 คนจากกรอบ 3 เดือนนก่อนหน้า (มมกราคม-มีนาคม) และลดลง 573,000 คน จากไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว ทำใหห้อัตราการมีงานทำในเดือนนี้ลดลงเหลือร้อยละ 72.7 ของผู้ที่อยู่ในวัยทำงานทั้งหมด (working age employment rate) เทียบกับไตรมาสก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับร้อยละ 73.6

ทางด้านจำนวนนผู้ว่างงานและอัตราการว่างงานในรอบสามเดือนจนถึงเดือนมิถุนายนยังคงเพิ่มขึ้นต่อแนื่อง โดยมียอดผู้ว่างงานเฉลี่ย 2.435 ล้านคน เพิ่มขึ้น 220,000 คนจากไตรรมาสก่อนหน้า และเพิ่มขึ้นถึง 7500,000 คนจากไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 44.5 ส่งผลให้ห้อัตราการว่างงานนเฉลี่ยในไตรมาสนี้พุ่งขึ้นสู่ระดับร้อยละ 7.8 เทียบกับร้อยละ 7.1 ในรอบไตรมาสก่อนหน้า นับเป็นเดือนนที่หกติดต่อกันที่จำนวนผู้ว่างงานอยู่เหนือระดับ 2 ล้านคน โดยครั้งสุดท้ายที่จำนวนผู้ว่างงานนอยู่ในระดับ 2.4 ล้านคนคือเดือนกันยายน 1995

สำหรับดัชนีชี้วัดรายได้ค่าจจ้างแรงงานเฉลี่ยของทั้งประเทศมีแนวโน้มดีขึ้นต่อเนื่องหลังจากที่ชะลอลงต่อเนื่องนับจากสิ้นไตรมาสแรกของปี 2008 เป็นต้นมา จนต่ำสุดเมื่อดัชนีขยายตัวติดลบเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านนมา โดยดัชนีที่ไม่รวมเงินโบนัส (GB average earnings index: AEI) ในรอบไตรมาสนี้เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 จากปีที่แล้ว (เทียบกับร้อยละ 3.0 ในไตรมาสก่อนหน้า) ขณะที่ดัชนนีที่รวมรายได้ด้จากโบนัสเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 จากปีที่แล้วเช่นกัน (เทียบกับที่หดตัวลงร้อยละ 0.3 ในไตรมาสก่อนหน้า) นับเป็นเดือนที่สามที่ดัชนีค่าจ้างแรงงานปรับตัวดีขึ้น

อัตราดอกเบี้ยและอัตราแลกเปลี่ยน

Bank of Englandd คงอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0.5 เป็นเดือนที่ห้า แต่เพิ่มเป้าการขยายฐานเงินด้วยการรับซื้อพันธบัตรภาครัฐและเอกชน

เมื่อวันที่ 6 สิงหหาคม คณะกรรมการนโยบายการเงิน (MPC) ของงธนาคารกลางอังกฤษ มีมติเอกกฉันท์ 9:0 ให้คงอัตราดอกเบี้ย Bank rate ไว้ตามเดิมที่ระดับร้อยละ 0.50 ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำที่สุดนับจากก่อตั้ง Bank of England ในปี 1694 และนับเป็นเดือนที่ 5 ที่มีการคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับดังกล่าว อย่างไรก็ดี ประเด็นสำคัญในการพิจารณาอยู่ที่คววามจำเป็นในนการปรับเพิ่มปริมาณการรรับซื้อตราสารหนี้ภาครัฐและเอกชน (Asset Purchased Facility) จากเป้าหมายเดิมจำนวน 125 พันล้านปอนด์ เนื่องจากเห็นว่ามีความจำเปป็นต้องเพิ่มปริมาณการรับซื้ออีกอย่างงน้อย 50 พันนล้านปอนด์ควบคู่ไปกับการรักษาอัตราดอกเบี้ยไว้ในระดับต่ำเพื่อให้สามารถรักษาอัตราเงินเฟ้อไว้ให้อยู่ในระดับใกล้เคียงแต่ต่ำกว่าร้อยละ 2.0 ในระยะปานกลางได้ แม้สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจจะปรับตัวดีขึ้นและผลสำรวจจะบ่งชี้ว่าความเสี่ยงที่เศรษฐกิจจะหดตัวลงไปอีกมีน้อยลง แต่ยังงไม่แน่ชัดว่าการฟื้นตัวที่ดีดีขึ้นจะมีความยั่งยืนไปในระยะปานกลางได้หรือไม่ จึงมีมติให้คงอัตราดอกเบี้ยไว้ตามเดิมและเห็นควรเพิ่มวงเงินตามมาตรการรับซื้อตราสารหนี้ภาครัฐและเอกกชน (Asset Purchased Facility) อีก 50 พันล้านปอนด์ให้เสร็จสิ้นภายใน 3 เดือน ส่งผลให้วงเงินรับซื้อรวมเป็นจำนวน 175 พันล้านปอนด์ แม้จะมีสมาชิก 3 รายเห็นควรให้ปรับเพิ่มวงเงินรวมเป็น 200 พันล้านปอนด์ โดยการประชุมครั้งต่อไปจะมีขึ้นในวันที่ 10 กันยายน 2009

ในเดือนกรกฏาคมค่าเฉลี่ยของอัตราดอกเบี้ยเงินกู้เพื่อที่อยู่อาศัยปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนที่แล้วโดยอัตราดอกเบี้ยเงินกู้เพื่อที่อยู่อาศัยชนิดลอยตัว(flexible rate) ขึ้นมาอยู่ที่ระดับร้ออยละ 4.11 นับแป็นเดือนที่ 3 ที่อัตราดอกกเบี้ยปรับเพิ่มขึ้น ขณะที่อัตราดอกเบี้ยเงินกู้เพื่อที่อยู่อาศัยชนิดที่อิงอัตราดอกเบี้ยพื้นฐาน (base rate tracker mortgage) อยู่ที่ระดับร้อยละ 3.84 เพิ่มขึ้นเล็กน้อย 3 basis points ทำให้ส่วนต่างระหว่างอัตราดอกเบี้ยเงินกู้เพื่อที่อยู่อาศัยเมื่อเทียบกับอัตราดอกเบี้ยนโยบายกว้างมากขึ้นโดยประเภท flexible rate มีส่วนต่าง 361 bassis points ขณะที่ส่วนต่างของ tracker rate อยู่ที่ระดับ 334 basis points

สำหรับโครงสร้างอัตราผลตอบแทนเฉลี่ย (average yield curve) ในตลาดเงินประจำเดือนสิงหาคมพบว่าอัตตราผลตอบแทนระยะสั้นอายุต่ำกว่า 1 ปีอยู่ในระดับใกล้เคียงกับเดือนที่แล้วเป็นส่วนใหญ่โดยมีความแตกต่างเพียงเล็กน้อยยระหว่าง -3 ถึง +1 bassis point จากเดือนที่แล้ว ขณะที่อัตราผลตอบแทนระยะยาวอายุ 5 ปี 10 ปี และ 20 ปี ในเดือนนี้ปรับตัวลดลงค่อนข้างมาก -17, -11 และ -24 basiss points ตามลำดับ โดยผลตอบแทนในตลาดเงินระยะสั้นต่ำอายุกว่า1 ปีมีการปรับลดลงโดยตลอดครบ 2 ปีเต็มในเดือนนี้ หลังจากที่อัตราผลตอบแทนปรับขึ้นสูงสุดเมื่อเดือนสิงหาคม 2007 ซึ่งในช่วง 2 ปีที่ผ่านมามีการปรับลดลงกว่าร้อยละ 5.0 ขณะที่อัตราผลตอบแทนระยะยาวในเดือนนี้ปรับลดลงลงหลังจากช่วง 4 เดือนก่อนหน้านี้เพิ่มขึ้นตลอดโดยตลอด

ปริมาณเงินและสินเชื่อ : M4 ชะลอลงใกล้เคียงกับเดือนก่อน ขณะที่สินเชื่อสู่ภาคเศรษฐกิจยังคงหดตัวต่อเนื่อง

ปริมาณเงินตามความหมายกว้าง (M4) ในเดือนกรกฎาคมเพิ่มขึ้น 20.6 พันล้านปอนด์ ส่งผลให้ยอดคงค้าง MM4 เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.6 จากเดือนเดียวกันของปีที่แล้ว เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.3 ในเดือนก่อนหน้า ขณะที่ปริมาณสินเชื่อตามความหมายกว้าง (M4 lending) ในเดือนนี้เพิ่มขึ้นเล็กน้อยเพียง 0.5 พันล้านปปอนด์ ส่งผลลให้ยอดคงค้างของ M4 leending เพิ่มขขึ้นในอัตรราที่ชะลอลงเชช่นกันเหลือรร้อยละ 9.6 เทียบกับร้อยลละ 10.9 ในเดือนที่แล้ว โดดย M4 และ M4 lending ในเดือนนนี้ค่อนข้างอยยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกับเดือนที่แล้ว หลังจากที่ในเดือนที่แล้วมีกการลดลง ค่อนข้างแรง

อย่างไรก็ดี หากวิเคราะห์ลงงในรายละเอียดของการปล่อยสินเชื่อของสถาบันกการเงินไปสู่ภาคเศรษฐกิจ (sectoral analysis) พบว่ายังคงมีการชะลอตัวลงต่อเนื่อง โดยสินเชื่อที่ให้แก่ภาคธุรกิจ (M4 lending to private non-financial corporation) มียอดคงค้าง 484,020 ล้านปอนด์ ลดลงจากปีที่แล้วร้ร้อยละ 3.3 นับเป็นเดือนที่สามที่ยอดคงค้างสินเชื่ออภาคธุรกิจขยายตัวติดลบนับจากเริ่มชะลอตัวลงตั้งแต่เดือนมิถถุนายนปีที่แล้ว ขณะที่สินแชื่อที่ให้แก่ภาคครัวแรือน (M4 lending to household sector) มียอดคงค้าง 1,040,282 ล้านปอนด์ หดตัวลงร้อยละ 3.9 จากปีที่แล้ว ซึ่งมีอัตราการหดตัวน้อยกว่าเดือนที่แล้วที่หดตัวร้อยละ 5.4 อย่างไรก็ดี นับเป็นเดือนที่ 10 ติดต่อกันที่ยอดคงค้างสินเชื่อภาคครัวเรือนขยายตัวติดลบ

อัตราแลกเปลี่ยน : ปอนด์ค่อนข้างผันผวนโดยแข็งค่าช่วงสั้นตอนต้นเดือน แต่จากนั้นก็อ่อนค่าลงแรงในช่วงที่เหลือของเดือน

เงินปอนด์เมื่อเทียบกับเงินดดอลลาร์ สรอ. ในเดือนสิงหาคมมีค่าเฉลี่ยแข็งค่าขึ้นเล็กน้อยจากเดือนกรกฎาคม โดยเงินปอนด์ปิดตลาดวันแรกของเดือนที่ 1.6928 $/ปอนด์ เป็นการแข็งค่าต่อเนื่องจากปลายเดือนก่อนหหน้าและขึ้นไปทำระดับปิดดสูงสุดของเดืดือนที่ระดับ 1.6964 $/ปอนด์ ในช่วงต้นเดือนโดยไม่สามารถผ่านรระดับ 1.70 $/ปอนด์ ไปได้หลังจากนั้นเงินปปอนด์ก็ทยอยอ่อนค่าลงตลลอดช่วงที่เหลือของเดือนโดดยมีเหตุผลหหลักมาจากการที่ตลาดได้ซึมซัซับข่าวในเชิงงบวกเกี่ยวกับบการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกไปมากแล้ว ปประกอบกับการที่ Bank of England ตัดสิสินใจเพิ่มวงเงิงินรับซื้อพันธธบัตรและตราสารการเงินภาคเอกชนตามมาตรการขยายฐานเงิน (Quantitative Easing) ขึ้นอีก 50 พันล้านปอนด์รวมเป็นน 175 พันล้านปอนด์อย่างเหนือความคาดหมาย รวมถึงการที่ Standard & Poor's ประเมินว่าภาระหนี้ภาครัฐของอังกฤษอาจจะสูงถึงร้อยละ 100 ต่อ GDP ก็เป็นแรงกดดันค่าเงินปอนด์ให้อ่อนค่าลงโดยเงินปอนด์ลงมาปิดต่ำสุดของเดือนที่ระดับ 1.6175 $/ปอนด์ ในช่วงท้ายเดือน ก่อนจะฟื้นขึ้นเล็กน้อยมาปิดตลาดวันสุดท้ายของเดือนที่ระดับบ 1.6311 $/ปอนด์ ส่งผลให้ค่าเฉลี่ยของเงินปอนด์ในเดือนนี้อยู่ที่ระดับ 1.6539 $/ปอนด์ แข็งค่าเล็กน้อยร้อยละ 1.1 จากเดือนที่แล้ว อย่างไรก็ดีหากเทียบกับบช่วง 12 เดืออนที่ผ่านมาเงินปอนด์ยังอ่อนค่าอยู่ร้อยละ 12.4

เงินปอนด์เมื่อเทียบกับยูโรในเดือนนี้อ่อนค่าลงเล็กน้อยจากเดือนที่แล้ว โดยเงินปอนด์ปิดตลาดวันแรกที่ระดับ 1.1742 ยูโร/ปอนด์ เป็นการแข็งค่าขึ้นต่อเนื่องจากช่วงสิ้นเดือนที่แล้วและขึ้นไปปิดสูงสุดของเดือนที่ระดับ 1.1792 ยูโร/ปอนด์ เมื่อไม่สามารถแข็งค่าผ่านระดับ 1.18 ยูโร/ปอนด์ ไปได้ หลังจากนั้นเงินปอนด์เริ่มอ่อนค่าโดยตลอดในช่วงที่เหลือขอองเดือนในทิศทางเดียวกับที่อ่ออนค่ากับเงินดอลลาร์ สรออ. โดยลงมามีระดับปิดต่ำสุดในวันสุดท้ายของเดือนที่ระดับ 1.1348 ยูโร/ปอนด์ ส่งผลให้ค่าเฉลี่ยของเงินปอนด์ในเดือนนี้อยู่ที่ระดับ 1.1597 ยูโร/ปอนด์ อ่อนค่าลงจากเดือนที่แล้วเล็กน้อยร้อยละ 0.2 แต่ยังอ่อนค่าอยู่ร้อยละ 8.1 ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา

เมื่อเทียบกับเงินบาทแล้ว เงินปอนด์ในแดือนนี้แข็งค่าขึ้นเล็กน้อยย โดยหลังจากกปิดตลาดวันแรกของงเดือนที่ระดับบ 57.5721 Baht/ปอนด์ และขึ้นไปปิดสูงสุดดของเดือนที่รระดับ 57.6522 Baht/ปอนด์ ในช่วง 3 วันแรกของเดือนซึ่งเป็นการแข็งค่าต่อเนื่องจากปลายเดือนที่แล้ว เงินปอนนด์ก็เริ่มอ่อนนค่าลงแรงตลลอดช่วงที่เหลลือของเดือนโโดยลงมาปิดตต่ำสุดของเดือนที่ระดับบ 55.0354 Baht/ปอนด์ ในช่วงงปลายเดือน ก่อนที่จะกระเตื้องขึ้นเล็ล็กน้อยมาปิดดตลาดวันสุดทท้ายของเดือนนที่ระดับ 55.4819 Baht/ปอนด์ ส่งผลลให้ค่าเฉลี่ยขของเงินปอนด์ด์ในเดือนนนี้อยู่ที่ระดับบ 56.2828 Baht/ปอนด์ แข็งค่าเล็กน้อยร้อยละ 1.0 แต่กก็ยังอ่อนค่าออยู่ร้อยละ 12.0 ในชช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา

เดือนกรกฎาคมรัฐบาลขาดดุล 8.0 พันล้านปอนด์ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนกว่า 2.5 เท่า ส่งผลให้ Deebt/GDP พุ่งเป็นร้อยละ 56.8

ณ สิ้นเดือนกรกฎาคมซึ่งเป็นเดือนที่สี่ของปีงบประมาณปัจจุบัน (2009/10) รัฐบาลมีดุลงบรายจ่ายประจำ (current budget) ขาดดุลจำนวนน 5.1 พันล้านปอนด์ (เทียบกับที่เกินดุล 7.8 พันล้านปอนด์ในเดือนกรกฎาคมปีที่แล้ว) และเมื่อรวมกับในเดือนนี้รัฐบาลมียอดลงทุนสุทธิจำนวน 2.9 พันล้านปอนด์ จึงทำให้ฐานะดุลงบประมาณโดยรวมในเดือนนี้มีมียอดขาดดุลสุทธิ 8.0 พันล้านปอนนด์ (เทียบกับที่เกินดุล 5.2 พันล้านปอนด์เมื่อปีที่แล้ว) หรือเท่ากับขาดดุลเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 253.8 โดยในส่วนของรัฐบาลกลาง (central government account) สามารถจัดเก็บรายได้ในเดือนนนี้จำนวน 44.1 พันล้านปอนด์ (ลดลงร้อยละ 15.2 จากปีที่แล้ว) ขขณะที่งบรายจ่ายประจำและงบลงทุนของรัฐบาลกลางมียอดรวม 50.1 พันล้านปอนด์ (เพิ่มขึ้นรร้อยละ 9.9 จากปีที่แล้ว) ทำให้รัฐบาลกลางมีฐานะขาดดุล 6.6 พันล้านปอนด์ (ขาดดุลเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วร้อยละ 213.8) ผลของการที่สามารถจัดเก็บรายได้ลดลง ขณะที่รายจ่ายของรัฐบาลกลางและรัฐบาลท้องถิ่นเพิ่มขึ้นจึงทำให้รัฐบาลต้องกู้ยืมเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณส่งผลให้ยอดหนี้สาธารณะขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 800.8 พันล้านปอนด์ หรือเท่ากับร้อยละ 56.8 ของ GDP (เทียบกับร้อยละ 43.5 ในเดือนกรกฎาคมปีที่แล้ว)

สำหรับยอดสะสม 4 เดือนแรกของปีงบประมาณ รัฐบบาลมีรายรับ 148.7 พันล้านปอนด์ (ลดลงจากกช่วงเดียวกันของปีที่แล้ววร้อยละ 11.9) ขณะที่รายจ่ายประจำมีมีจำนวน 201.2 พันล้านปอนด์ (เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.8) และเมื่อรวมกับงบลงทุนและงบของรัฐบาลท้องถิ่นแล้ว ทำให้รัฐบาลมีงบประมาณขาดดุลสะสม 49.8 พันล้านปอนด์ เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วถึงร้อยละ 313.5 หรือขาดดุลเท่ากับร้อยละ 28.4 ของประมาณการขาดดุลทั้งปี

ทั้งนี้ ในการแถลงงบประมาณปี 2009/10 กระทวงการคลังประมาณการว่าในปีงบบประมาณปัจจจุบัน รัฐบาลจะจัดเก็บรายได้จำนวน 496 พันล้านปอนด์ แต่มีรายจ่ายประจำและลงทุนรวมจำนนวน 671 พันล้านปอนด์ โดยจะขาดดุลจำนวน 175 พันล้านปอนด์ หรือเท่ากับร้อยละ 12.4 ขออง GDP และจะทำให้ยอดหนี้สาธารณะสุทธิเพิ่มเป็น 792 พันล้านปอนด์ หรือเท่ากับร้อยละ 55.4 ของ GDP

ดุลบัญชีเดินสะพัดและดุลการชำระเงิน

ดุลการค้าและบริการ: มิถุนายนขาดดุลลดดลงเหลือ 2.2 พันล้านปอนด์ตามการหดตัวของภาวะเศรษฐกิจ

เดือนมิถุนายน อังกฤษมียออดส่งออกสินนค้าและบริการรวม 32.2 พพันล้านปอนด์ (ลดลงร้อยละ 10.4 จากปีที่แล้ว) แต่มีการนำเข้ารวม 34.4 พันล้านปอนด์ (ลดลงร้อยลละ 13.2) ทำให้มียอดขาดดดุลการค้าแลละบริการรวม 2.2 พันล้านนปอนด์ (ขาดดุลลดลงจากกปีที่แล้วร้อยละ 41.6) แยกเป็นการขาดดุลการค้าจำนวน 6.5 พันล้านปอนด์ (ขาดุลลดลงจากปีที่แล้วร้ออยละ 19.6) แต่มีการเกินดุลบริการจจำนวน 4.3 พันล้านปอนด์(เกินดุลลดลงร้ออยละ 0.7) โดยการขาดดุลในเดือนนี้แยกเป็นการขาดดุลกการค้าสินค้ากับประเทศในกลุ่มม EU (27 ปรระเทศ) จำนวน 2.8 พันล้านปอนด์ (ขาดดุลลดลงร้อยละ 14.2 จากเดือนเดียวกันขออปีที่แล้ว) ขณะที่มีการขาดดุลกับประเทศนอกกลุ่ม EU จำนวน 3.6 พันล้านปอนด์ (ขาดดุลลดลงร้อยละ 23.4 จากเดือนเดียวกันของปีที่แล้ว)

ทั้งนี้ ในรอบ 6 เดือนแรกของปีอังกฤษษมียอดส่งออกรวมทั้งสิ้น 194.4 พันล้านปอนด์ (ลดลลงร้อยละ 6.7) มีการนำเข้ารวม 209.7 พันล้านปอนด์ (ลดลงร้อยละ 8.7) ทำให้มีการขาดดุลการค้าและบริการรวมทั้งสิ้น 15.3 พันล้านปอนด์ (ลดลงร้อยละ 28.1)

สำหรับการค้ากับประเทศไทยในเดือนมิถุนายน อังกกฤษส่งออกสิสนค้าไปประเททศไทยจำนนวน 68 ล้านปอนด์ (ลดลงร้อยละ 9.3 จากปีที่แล้ว) ขณะที่มีการนำเข้าจำนวน 198 ล้านนปอนด์ (ลดลงร้อยละ 1.5) ทำให้ขาดดุลการค้ากับประเทศไทยจำนวน 130 ล้านปอนด์ (เพิ่มขึ้นจากปปีที่แล้วร้อยละ 3.2) ส่งผลให้ยอดสะสมการค้าในช่วง 6 เดือนแรกของปีนีนี้อังกฤษมีการส่งออกสินค้าไปประเทศไทยรวม 339 ล้านปออนด์ (ลดลงจากปีที่แล้วร้อยละ 9.4) แต่มีการนำแข้าจากประเทศไทยรวม 1,153 ล้านปอนด์ (ลดลงร้อยละ 2.9) ทำให้มียอดดขาดดุลการค้ากับประเทศไทยทั้งสิ้น 814 ล้านปอนนด์ (ขาดดุลแพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1)

ประเด็นข่าวสำคัญ ๆ ในรอบเดือนที่ผ่านมา
  • ผลสำรวจราคาที่อยู่อาศัยของ Halifax ประจำเดือนกรกฎาคมพบว่าราคาเฉลี่ยของที่อยู่อาศัยทั่วประเทศปรับตัวดีขึ้นจากจากเดือนที่แล้วร้อยละ 1.1 แต่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่แล้ว ค่าเฉลี่ยของราคาที่อยู่อาศัยโดยรวมยังคงลดลงอยู่ร้อยละ 12.1 ชะลอลงจากที่หดตัวร้อยละ 15.0 ในเดือนที่แล้ว นับเป็นเดือนที่ 16 ติดต่อกันที่ราคาที่อยู่อาศัยยังคงลดลงเมื่อเทียบปีต่อปี (5 สิงหาคม 2009)
  • Financial Services Authority (FSA) ประกาศใช้บังคับ Remuneration Code of Practice กับธนาคาร Building Society และสถาบันการเงินที่ทำธุรกิจเป็นนายหน้าหรือเป็นผู้ค้าธุรกรรมทางการเงิน โดยมีเป้าหมายเพื่อให้คณะกรรมการสถาบันการเงินให้ความสำคัญอย่างใกล้ชิดกับการดูแลเพื่อให้การจ่ายผลประโยชน์ของกิจการจะต้องสอดคล้องกับหลักการบริหารความเสี่ยงที่ดีและมีความยั่งยืน ขณะเดียวกัน การให้แรงจูงใจในการปฏิบัติหน้าที่ของบุคลากร
จะต้องเป็นไปอย่างถูกต้องโดยไม่นำมาซึ่งการกระตุ้นให้เกิดความเสี่ยงต่อธุรกิจ เช่น ไม่ควรทำสัญญาเพื่อค้ำประกันเงินโบนัสให้แก่พนักงานคนใดคนหนึ่งเกินกว่า 1 ปี เป็นต้น (12 สิงหาคม 2009)
  • Office for National Statistics ทบทวนอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจ (GDP) ประจำไตรมาสที่ 2 ของปี 2009 ว่าหดตัวจากไตรมาสแรกร้อยละ 0.7 และหดตัวร้อยละ 5.5 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งการทบทวนดังกล่าวดีขึ้นกว่าประมาณการเดิมเมื่อเดือนที่แล้วที่ประมาณการว่าเศรษฐกิจหดตัวร้อยละ 0.8 และ 5.6 ตามลำดับ ซึ่งมาจากการปรับเพิ่มในภาคการผลิตอุตสาหกรรมที่หดตัวน้อยกว่าที่ประมาณไว้เดิม อย่างไรก็ดี อัตราการหดตัวของเศรษฐกิจร้อยละ 5.5 จากปีที่แล้วก็ยังเป็นสถิติการหดตัวรายไตรมาสที่สูงที่สุด (28 สิงหาคม 2009)
  • Lord Adair Turner ประธานของ Financial Services Authority (FSA) เสนอแนวคิดในการลดขนาดของภาคการเงินที่ใหญ่เกินจำเป็นต่อระบบเศรษฐกิจลงด้วยการเสนอให้ทุกประเทศจัดเก็บภาษีจากธุรกรรมการเงินประเภทที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ลง (Tobin tax) โดยเขาเชื่อว่าการใช้มาตรการทางภาษีควบคู่ไปกับความเข้มงวดในเรื่องของเงินกองทุนของสถาบันการเงินจะช่วยลดการโป่งพองของภาคการเงินลงซึ่งเป็นที่มาของการสูงเกินจริงของค่าจ้างและผลประโยชน์ตอบแทน รวมทั้งผลกำไรของสถาบันการเงิน ซึ่งเป็นแนวคิดเดียวกับที่นาย Jacques Chirac อดีตประธานาธิบดีของฝรั่งเศสเคยเสนอเมื่อปี 2005 แต่ไม่ได้รับการสนองตอบ โดยข้อเสนอของ Lord Turner ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักจากนายธนาคารและผู้ที่อยู่ในแวดวงการเงินเนื่องจากเกรงว่าข้อเสนอดังกล่าวจะทำลายความสามารถในการแข่งขันของลอนดอนในฐานะศูนย์กลางทางการเงินลง (26 สิงหาคม 2009)

ที่มา : Macroeconomic Analysis Group : Fiscal Policy Office

Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ