ฐานะการคลังภาครัฐบาล (รัฐบาล และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น) ตามระบบ สศค. ในช่วง 11 เดือนแรก (ตุลาคม 2551 — สิงหาคม 2552) ปีงบประมาณ 2552

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday October 1, 2009 09:18 —กระทรวงการคลัง

นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านเศรษฐกิจมหภาค ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบ สศค.1 (ระบบ Government Finance Statistics : GFS) ในช่วง 11

เดือนแรก (ตุลาคม 2551-สิงหาคม 2552) ของปีงบประมาณ 2552 ภาครัฐบาล (รัฐบาล และองค์กรปกครองส่วน

ท้องถิ่น2) ได้อัดฉีดเงินสุทธิเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจหรือขาดดุลการคลังทั้งสิ้น 243,384 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 2.8

ของ GDP 3 ซึ่งสะท้อนถึงบทบาทของรัฐบาลในการดำเนินนโยบายการคลังเพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ

และเป็นไปตามเป้าหมายการดำเนินนโยบายการคลังของรัฐบาลในการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างเต็มที่ โดยรายละเอียด

สรุปได้ดังนี้

ฐานะการคลังตามระบบ สศค. ในช่วง 11 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2552

1. รายได้ภาครัฐบาล มีจำนวนทั้งสิ้น 2,007,461 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 22.7 ของ GDP (ปีที่แล้วคิดเป็น

ร้อยละ 22.9 ของ GDP) และลดลงเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีที่แล้ว 79,685ล้านบาท หรือร้อยละ 3.8 โดยเป็นผล

มาจากการลดลงทั้งในส่วนของรายได้รัฐบาล และ อปท. ส่วนบัญชีเงินนอกงบประมาณสูงกว่าระยะเดียวกันปีที่แล้ว ดังนี้

1.1 รัฐบาลมีรายได้ 1,363,315 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 15.4 ของ GDP (ปีที่แล้วคิดเป็นร้อยละ 16.0 ของ GDP) และลดลงเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีที่แล้ว 97,780 ล้านบาท หรือร้อยละ 6.7 ทั้งนี้ เนื่องจากการจัดเก็บรายได้ 3 กรมหลัก (กรมสรรพากร กรมสรรพสามิต และกรมศุลกากร) ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีก่อนโดยเฉพาะอย่างยิ่งการ

จัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีสรรพสามิตรถยนต์ และอากรขาเข้า นอกจากนี้การนำส่งรายได้ของรัฐวิสาหกิจก็ลดลงเช่นกัน

1.2 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีรายได้ 300,500 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 3.4 ของ GDP (ปีที่แล้วคิดเป็นร้อยละ 3.3 ของ GDP) และลดลงเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีที่แล้ว 3,840 ล้านบาท หรือร้อยละ 1.3 ทั้งนี้ เนื่องจากเงินอุดหนุนและเงินที่รัฐบาลเก็บให้ อปท. ลดลง

1 ระบบ สศค. : ระบบสถิติเพื่อการศึกษาและวิเคราะห์นโยบายการคลัง หรือ Government Finance Statistics (GFS) เป็นระบบสถิติที่รวบรวมกิจกรรมทางเศรษฐกิจของรัฐบาลทั้งหมด โดยครอบคลุมการใช้จ่ายตามระบบงบประมาณ เงินฝากนอกงบประมาณ กองทุนหมุนเวียนนอกงบประมาณ เงินกู้ต่างประเทศและเงินช่วยเหลือต่างประเทศ

2 เป็นการประมาณการดุลการคลังโดยใช้ข้อมูลสิทธิเรียกร้องจาก อปท. ในระบบธนาคาร (Net Claims of Banking System on Local Government)

3 คาดการณ์ GDP ปีงบประมาณ 2552 และ GDP ปีงบประมาณ 2551 เท่ากับ 8,786.29 และ 9,104.96 พันล้านบาท ตามลำดับ

1.3 บัญชีเงินนอกงบประมาณ (ประกอบด้วยกองทุนนอกงบประมาณและเงินฝากนอกงบประมาณ)

มีรายได้รวม 343,646 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 3.9 ของ GDP (ปีที่แล้วคิดเป็นร้อยละ3.5 ของ GDP) และสูงกว่า

ระยะเดียวกันปีที่แล้ว 21,935 ล้านบาท หรือร้อยละ 6.8 เนื่องจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงมีรายได้จากการนำส่ง

รายได้เข้ากองทุนจากภาษีน้ำมันเพิ่มขึ้น และกองทุนอ้อยและน้ำตาลมีรายได้จากการจำหน่ายน้ำตาลเพิ่มขึ้น

2. รายจ่ายของภาครัฐบาล (รวมการให้กู้หักชำระคืนตามนโยบายรัฐบาล) มีจำนวนทั้งสิ้น 2,250,846

ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีที่แล้ว 198,680 ล้านบาท หรือร้อยละ 9.7 ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นของรายจ่าย

รัฐบาลเป็นสาเหตุหลักก และรายจ่ายเงินกู้ต่างประเทศที่เพิ่มขึ้น ดังนี้

2.1 รัฐบาลมีการเบิกจ่ายงบประมาณรวมทั้งสิ้น 1,697,843 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ19.2 ของ GDP

(ปีที่แล้วคิดเป็นร้อยละ 16.2 ของ GDP) และสูงกว่าระยะเดียวกันปีที่แล้ว 222,482 ล้านบาท หรือร้อยละ 15.1

2.2 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นคาดว่าจะมีจำนวนทั้งสิ้น 281,449 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 3.2 ของ

GDP (ปีที่แล้วคิดเป็นร้อยละ 3.5 ของ GDP) และต่ำกว่าระยะเดียวกันปีที่แล้ว 33,128 ล้านบาท หรือร้อยละ 10.5

2.3 เงินกู้ต่างประเทศ มีการเบิกจ่ายทั้งสิ้น 6,862 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 0.1 ของ GDP สูงกว่าระยะเดียวกันปีที่แล้ว 5,871 ล้านบาท เนื่องจากมีการเร่งการเบิกจ่ายเงินกู้ (SAL) ให้แล้วเสร็จในปีงบประมาณ 2552

2.4 บัญชีเงินนอกงบประมาณ (รวมรายจ่ายและเงินให้กู้หักชำระคืนตามนโยบายรัฐบาล) จำนวน

264,691 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 3.0 ของ GDP (ปีที่แล้วคิดเป็นร้อยละ 2.9 ของ GDP) และเบิกจ่ายสูงกว่า

ระยะเดียวกันปีที่แล้ว 3,455 ล้านบาท หรือร้อยละ 1.3

3. ดุลการคลังภาครัฐบาล ขาดดุลการคลังจำนวน 243,384 ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 2.8 ของ GDP)

ขณะที่ระยะเดียวกันปีที่แล้วที่เกินดุลจำนวน 31,688 ล้านบาท สำหรับดุลการคลังเบื้องต้น(ไม่รวมรายได้

และรายจ่ายดอกเบี้ย และการชำระคืนต้นเงินกู้) ของรัฐบาล (Primary Balance) ในช่วง11 เดือนแรกของ

ปีงบประมาณ 2552 ได้สะท้อนถึงทิศทางนโยบายการคลังของรัฐบาลโดยขาดดุลรวมทั้งสิ้น167,169 ล้านบาท

(คิดเป็นร้อยละ 1.9 ของ GDP) ในขณะที่ช่วงเดียวกันปีที่แล้วเกินดุล 127,167 ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 1.4

ของ GDP)

--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 136/2552 30 กันยายน 52--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ