กระทรวงการคลังรายงานผลการเบิกจ่ายงบประมาณ ปี 2552

ข่าวเศรษฐกิจ Monday October 12, 2009 09:28 —กระทรวงการคลัง

กระทรวงการคลังรายงานผลการเบิกจ่ายเงินงบประมาณปีพ.ศ. 2552 ภาพรวมใกล้เคียงเป้าหมาย งบรายจ่ายประจำเบิก ได้ร้อยละ 92.42 ต่ำกว่าเป้าหมายเล็กน้อย งบรายจ่ายลงทุนเบิกได้ร้อยละ 75.78 สูงกว่าเป้าหมาย

นายพฤฒิชัย ดำรงรัตน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง รายงานผลการเบิกจ่ายเงินงบประมาณประจำปี พ.ศ. 2552 จำนวนทั้งสิ้น 1,951,700.00 ล้านบาท ซึ่งประกอบด้วยงบประมาณ พ.ศ. 2552 จำนวน 1,835,000.00 ล้านบาท เงินงบประมาณ รายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 จำนวน 116,700.00 ล้านบาท รวมทั้งเงินกันไว้เบิกเหลื่อมปีจากปีก่อน ๆ จากการ เร่งรัดให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจเบิกจ่ายเงินงบประมาณให้เป็นไปตามแผนเพื่อให้เงินเข้าสู่ระบบโดยเร็วและเป็นจำนวนมากที่สุด จนถึงสิ้นเดือนกันยายน 2552 สามารถเบิกจ่ายได้ ดังนี้

1. งบประมาณรายจ่ายประจำปี เบิกจ่ายได้ จำนวน 1,696,085.58 ล้านบาท หรือร้อยละ 92.42 ต่ำกว่าเป้าหมาย (ร้อยละ 94.00) อยู่ร้อยละ 1.58 แต่สูงกว่าปีงบประมาณ พ.ศ. 2551 ร้อยละ 0.10 โดยประกอบด้วยรายจ่ายประจำ จำนวน 1,424,050.98 ล้านบาท หรือร้อยละ 96.47 และรายจ่ายลงทุน จำนวน 272,034.60 ล้านบาท หรือร้อยละ 75.78 สูงกว่า เป้าหมาย (ร้อยละ 74.00) อยู่ร้อยละ 1.78 แต่ต่ำกว่าปีงบประมาณ พ.ศ. 2551 ร้อยละ 2.86 โดยกระทรวงที่มีผลการเบิกจ่าย ภาพรวมต่ำสุด ได้แก่ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงพลังงาน และกระทรวงวัฒนธรรม โดยมีอัตราการเบิกจ่าย ร้อยละ 66.77 68.97 และ 72.83 ตามลำดับ นอกจากนี้ งบกลางรายการที่ควรให้ความสำคัญ ได้แก่ เงินสวัสดิการ เงินช่วยเหลือ บำเหน็จบำนาญ มีการเบิกจ่ายแล้ว จำนวน 195,587.61 ล้านบาท และรายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เบิกจ่ายแล้ว จำนวน 38,048.29 ล้านบาท

ที่ผ่านมาได้ให้ความสำคัญต่อการเร่งรัดการใช้จ่ายงบประมาณโดยเฉพาะรายจ่ายลงทุนซึ่งเป็นกลไกสำคัญในการอัดฉีดเม็ดเงิน เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจและเพิ่มการจ้างงาน รวมทั้งเพิ่มอุปสงค์ในประเทศ และช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยสามารถเร่งรัดการเบิกจ่ายงบ ประมาณรายจ่ายลงทุนได้ถึงร้อยละ 75.78 ซึ่งสูงกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ ร้อยละ 74 ซึ่งเป็นรายจ่ายลงทุนที่เกินกว่า 1,000 ล้านบาท เป็นเงินงบประมาณ 270,116 ล้านบาท สามารถเบิกจ่ายได้ถึง ร้อยละ79.10 ซึ่งสาเหตุที่ทำให้การเบิกจ่ายล่าช้า ส่วนใหญ่จะเป็น โครงการที่เป็นงบผูกพันข้ามปีจึงต้องเบิกจ่ายจากเงินที่กันไว้ก่อนแล้วจึงเบิกเงินปีปัจจุบัน ซึ่งหากดำเนินการได้เร็วขึ้นก็จะทำให้เบิกจ่ายได้ เพิ่มมากยิ่งขึ้นในปี 2553 ในส่วนของรายจ่ายลงทุนที่ต่ำกว่า 1,000 ล้านบาท ปัญหาการเบิกจ่ายล่าช้าจะเป็นเรื่องของการกำหนดคุณลักษณะ เฉพาะของครุภัณฑ์ไม่ชัดเจน หรือบางครั้งประกวดราคาแล้วเป็นเงินสูงกว่างบที่ได้รับจัดสรร ก็ต้องมา

ดำเนินหาเงินงบประมาณเพิ่มเติมจึงทำให้ล่าช้าออกไป มีการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ดำเนินการในกรณีงบจังหวัด หรือการใช้จ่าย จากแหล่งเงินอื่นๆ ได้ก่อนกรณีรัฐวิสาหกิจ เป็นต้น

2. งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม ตั้งแต่วันที่ 9 มีนาคม 2552-30 กันยายน 2552 เบิกจ่ายได้ จำนวน 94,776.66 ล้านบาท หรือร้อยละ 81.30 โดยโครงการที่มีการเบิกจ่ายสูงสุด 3 ลำดับแรก ได้แก่ โครงการส่งเสริมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) โครงการ 5 มาตรการ 6 เดือน เพื่อลดค่าครองชีพของประชาชน และโครงการสร้างหลักประกันด้านรายได้แก่ผู้สูงอายุ โดยมีอัตราการ เบิกจ่ายแล้วร้อยละ 100.00 99.99 และ 99.97 ของวงเงินงบประมาณที่ได้รับจัดสรรตามลำดับ และโครงการ ที่เบิกจ่ายต่ำสุด 3 ลำดับ ได้แก่ โครงการฟื้นฟูความเชื่อมั่นและเสริมสร้างภาพลักษณ์ของประเทศ โครงการเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อยกระดับชุมชน และโครงการเพิ่ม ศักยภาพผู้ว่างงานเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจและสังคมในชุมชน โดยมีอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 19.76 32.89 และ 39.21 ตามลำดับ

สาเหตุที่ทำให้รายงานผลการเบิกจ่ายต่ำของ 3 โครงการนั้น เนื่องจาก เป็นการจัดประชุมในต่างประเทศจึงต้องใช้เวลาการ ติดต่อประสานงาน หน่วยงานได้ใช้เงินทดรองราชการของหน่วยงานเบิกจ่ายไปพลางก่อน จึงอยู่ในขั้นตอนที่ต้องทยอยนำหลักฐานมา เบิกเงินงบประมาณเพื่อชดใช้เงินทดรองราชการ และมีการเบิกจ่ายจากเงินงบประมาณประจำปีไปก่อนบ้างแล้ว ตามลำดับ

3. งบประมาณที่กันไว้เบิกเหลื่อมปีจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2545 - 2551 เบิกจ่ายได้ จำนวน 126,266.48 ล้านบาท หรือร้อยละ 65.92 ของวงเงินงบประมาณเหลื่อมปี จำนวน 191,551.66 ล้านบาท

“สำหรับในปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 นั้น รัฐบาลได้กำหนดเป้าหมายการเบิกจ่ายไว้แล้ว และได้มีมาตรการเร่งรัดการเบิกจ่าย แล้วทั้งเงินงบประมาณปกติ และงบไทยเข้มแข้ง โดยความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีแล้ว หากเร่งรัดกันอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปี ผลการเบิก จ่ายปลายปีน่าจะเป็นไปตามเป้าหมาย และที่สำคัญจะเกิดการลงทุนจากภาครัฐมากขึ้น ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญของการกระตุ้นเศรษฐกิจ เพื่อสร้าง ความมั่นคงทางเศรษฐกิจได้อย่างยั่งยืน” นายพฤฒิชัย กล่าว

ตารางที่ 1 แสดงผลการเบิกจ่ายงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2552

หน่วย : ล้านบาท

            รายการ                งบประมาณหลัง         เบิกจ่าย        ร้อยละเบิกจ่าย
                                  โอนเปลี่ยนแปลง                       ต่องบประมาณ
    1. งบประจำรายจ่ายประจำปี        1,835,121.60     1,696,085.58        92.42
          รายจ่ายประจำ             1,476,124.38     1,424,050.98        96.47
          รายจ่ายลงทุน               358,997.22       272,034.60         75.78
    2. งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม        116,578.40       94,776.66           81.3
          รายจ่ายประจำ              93,553.21        83,842.66          89.62
          รายจ่ายลงทุน               23,025.19        10,934.00          47.49
          รวม (1 + 2)             1,951,700.00     1,790,862.24        91.76
      3. เงินกันไว้เบิกเหลื่อมปี          191,551.66       126,266.48         65.92
และขยายเวลาเบิกจ่ายเงิน
      รวมทั้งสิ้น (1 + 2 + 3)         2,143,251.66     1,917,128.72        89.45

ที่มา : ระบบการบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ (GFMIS)

ตารางที่ 2 แสดงผลการเบิกจ่ายรายจ่ายลงทุน จำแนกตามกลุ่มหน่วยงานหลักที่ได้รับรายจ่ายลงทุน

                         รายการ                             จำนวน       รายจ่ายลงทุน       ร้อยละต่อ        เบิกจ่ายไปแล้ว        ร้อยละเบิกจ่าย
                                                           หน่วยงาน       (ล้านบาท)       รายจ่ายลงทุน        (ล้านบาท)        ต่อรายจ่ายลงทุน
         1.  หน่วยงานที่มีรายจ่ายลงทุนเกิน 1,000 ล้านบาท              25        270,116.76        75.24          213,651.60           79.1
        2.  หน่วยงานที่มีรายจ่ายลงทุนต่ำกว่า 1,000 ล้านบาท            191        32,735.39          9.12          17,081.66            52.18
                 3.  รัฐวิสาหกิจ (22 หน่วย)                       17        13,741.54          3.83           8,265.32            60.15
                        4.  จังหวัด                             75        10,452.15          2.91           7,092.43            67.86
     5.  กองทุนและเงินทุนหมุนเวียน             (36 กองทุน)          5         12,912.00          3.6           12,912.00             100
                 6.  งบกลาง (12 รายการ)                       4         19,039.38          5.3           13,031.59            68.45
                         รวมทั้งสิ้น                             317        358,997.22         100           272,034.60           75.78

ที่มา : ระบบการบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ (GFMIS)

รวบรวม : กรมบัญชีกลาง ข้อมูล ณ วันที่ 30 กันยายน 2552

สำนักบริหารการรับ-จ่ายเงินภาครัฐ กรมบัญชีกลาง

โทร. (02) 271-3123

--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 144/2552 9 ตุลาคม 52--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ