Economic Indicators: This Week
รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ (หลังหักจัดสรรให้ อปท.) ในเดือน ต.ค.52 ได้ 111.05 พันล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 15,484 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 16.2 และสูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 21.5 ซึ่งผลการจัดเก็บรายได้ที่สูงกว่าเป้าในเดือน ต.ค. 52 มีสาเหตุสำ คัญจากภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีสรรพสามิตน้ำ มันที่จัดเก็บได้สูงกว่าเป้าหมายจำนวน 4.7 และ 3.6 พันล้านบาท ตามลำดับ สะท้อนถึงภาวะเศรษฐกิจที่ปรับตัวดีขึ้น
หนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือน ก.ย. 52 มีจำนวนทั้งสิ้น 4,001.9 พันล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อนหน้า -16.2 พันล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 45.5 ของ GDP จากการชำระคืนต้นพันธบัตรออมทรัพย์ที่ออกภายใต้ พรก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินระยะที่ 2 พ.ศ. 2545 (FIDF3) ที่ครบกำหนด 54.2 พันล้านบาท เป็นสำคัญ
ปริมาณจำหน่ายจักรยานยนต์ เดือน ต.ค. 52 หดตัวที่ร้อยละ -13.6 ต่อปี ต่อเนื่องจากเดือนก่อนที่หดตัวร้อยละ -11.5 ต่อปี เนื่องจาก 1.) ปัจจัยฐานสูงในช่วงเดียวกันของปีก่อน รายได้เกษตรกรขยายตัวในระดับสูง ตามราคาสินค้าเกษตรที่ปรับตัวสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ 2.) ปัจจัยทางฤดูกาลที่ยอดขายรถจักยานยนต์จะลดลงในช่วงฤดูฝนซึ่งปีนี้ฝนตกกินพื้นที่มากกว่าปีที่ผ่านมา และ 3.) แรงส่งของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐที่ออกมาช่วงต้นปี โดยเฉพาะโครงการเช็คช่วยชาติเริ่มอ่อนกำลังลงเมื่อเทียบกับครึ่งปีแรก ที่ส่งผลให้ยอดขายดัวกล่าวปรับตัวสูงขึ้นในเดือนพ.ค.และมิ.ย.ที่ผ่านมา
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโดยรวม เดือน ต.ค.52 อยู่ที่ระดับ 68.0 ลดลงเล็กจากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 68.4 และถือว่าปรับตัวลดลงเป็นครั้งแรกหลังจากที่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วง 4 เดือนที่ผ่านมา โดยมีสาเหตุหลักมาจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับราคาน้ำมันที่ยังคงมีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ความไม่แน่นอนทางการเมือง และความไม่มั่นใจเกี่ยวกับกฎระเบียบด้านสิ่งแวดล้อมในอุตสาหกรรมแถบมาบตาพุด
ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาที่ ในเดือน ต.ค. 52 หดตัวที่ร้อยละ -7.4 ต่อปีชะลอลงจากเดือนก่อนที่หดตัวที่ร้อยละ -9.6 ต่อปี เนื่องจากได้รับปัจจัยบวกจากมาตรการภาครัฐที่ออกมากระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับการบริโภคภาคเอกชนเริ่มปรับตัวดีขึ้น ตามทิศทางเศรษฐกิจที่เริ่มมีสัญญาณการฟื้นตัว ส่งผลประชาชนมีการจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น
ภาษีจากการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ เดือน ต.ค. 52 หดตัวลงที่ร้อยละ -4.6 ต่อปี ซึ่งหดตัวชะลอลงลงจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -5.1 ต่อปี สะท้อนถึงภาคอสังหาริมทรัพย์ที่ปรับตัวดีขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างในเดือน ต.ค. 52 ที่เริ่มหดตัวชะลอลงมาอยู่ที่ร้อยละ -5.6 ต่อปี รวมถึงปริมาณจำหน่ายปูนซีเมนต์และเหล็กที่ขยายตัวร้อยละ 4.2 และ 28.4 ต่อปี ตามลำดับ
ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตร เดือน ต.ค. 52 ขยายตัวที่ร้อยละ 1.5 ต่อปีจากเดือนก่อนที่หดตัวร้อยละ -5.3 ต่อปี ตามการเพิ่มขึ้นของผลผลิตสำคัญ โดยเฉพาะข้าวนาปี ข้าวนาปรัง และอ้อย เนื่องจากสภาพภูมิอากาศเอื้ออำนวยต่อการผลิตและเก็บเกี่ยว ประกอบกับราคาที่เริ่มปรับตัวสูงขึ้นจูงใจให้เกษตรกรทำการเก็บเกี่ยวเพิ่มขึ้น ในขณะที่ผลผลิตยางพาราปรับตัวลดลงเนื่องจากฝนตกชุกหนาแน่นในเกือบทุกพื้นที่การผลิต ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการเพาะปลูกและเก็บเกี่ยวผลผลิต
Economic Indicators: Next Week
ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (TISI) เดือน ต.ค. 52 คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 92.0 ปรับตัวลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 95.9 ผลจากราคาน้ำมันที่ยังคงผันผวนและปัจจัยทางการเมือง
Major Trading Partners’ Economies: This Week
การส่งออกของจีน เดือน ต.ค. 52 หดตัวร้อยละ -13.8 ต่อปี ดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -15.2 ต่อปี ขณะที่การนำเข้าสินค้าหดตัวร้อยละ -6.4ต่อปี เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -3.5 ต่อปี ส่งผลให้ดุลการค้าเกินดุลที่ 24.0 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และเมื่อพิจารณามิติประเทศคู่ค้าพบว่า การส่งออกไปยังสหภาพยุโรปและสหรัฐฯ หดตัวในอัตราที่ชะลอลง ในขณะที่การส่งออกไปญี่ปุ่นหดตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า
ยอดค้าปลีกของจีน เดือน ต.ค. 52 ขยายตัวร้อยละ 16.2 ต่อปี ดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 15.5 ต่อปี เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของยอดค้าปลีกในเกือบทุกหมวดสินค้า เช่น ธัญพืช สิ่งทอ เครื่องประดับ เครื่องใช้ภายในบ้านและเฟอร์นิเจอร์ อย่างไรก็ตามพบว่ายอดค้าปลีกรถยนต์และอุปกรณ์ก่อสร้างขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้า
คำสั่งซื้อเครื่องจักรภาคเอกชน (Core Machinery Orders) ของญี่ปุ่นเดือน ก.ย. 52 ขยายตัวร้อยละ 10.5 จากเดือนก่อนหน้า (%mom) ส่งสัญญาณว่าการลงทุนของญี่ปุ่นเริ่มฟื้นตัว ทั้งนี้ Cabinet Office ของญี่ปุ่นคาดว่าในไตรมาสที่ 4/2552 คำสั่งซื้อเครื่องจักรภาคเอกชนจะขยายตัวที่ร้อยละ 1.0 จากไตรมาสก่อนหน้า
GDP อินโดนีเซียไตรมาสที่ 3 ปี 52 ขยายตัวร้อยละ 4.2 ต่อปี ขยายตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากร้อยละ 4.0 ต่อปี ในไตรมาสก่อนหน้า ทั้งนี้ การบริโภคภาคเอกชนและการใช้จ่ายภาครัฐขยายตัวชะลอลง โดยขยายตัวที่ร้อยละ 4.7 และ 10.2 ต่อปี จากไตรมาสก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 4.8 และ17.0 ต่อปี ตามลำดับสำหรับการลงทุนภาคเอกชนขยายตัวที่ร้อยละ 3.9 ต่อปี เร่งขึ้นจากไตรมาสก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 2.7 ต่อปี ตามภาคการก่อสร้าง ด้านการส่งออกและการนำเข้าสินค้าและบริการ หดตัวชะลอลงที่ร้อยละ -8.2 และ -18.3 ต่อปี จากไตรมาสก่อนที่หดตัวร้อยละ -15.7 และ -23.9 ต่อปี ตามลำดับ
ผลผลิตอุตสาหกรรมของประเทศมาเลเซีย เดือนส.ค. 52 หดตัวที่ร้อยละ-6.0 ต่อปี ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -7.0 ต่อปี โดยภาคการผลิตซึ่งคิดเป็นสัดส่วน 2 ใน 3 ของผลผลิตอุตสาหกรรมทั้งหมด มีการหดตัวที่ร้อยละ -7.9 ต่อปี เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อนที่หดตัวร้อยละ -7.6 ต่อปี
ยอดขายสินค้าอุตสาหกรรมของมาเลเซียเดือนก.ย.52 หดตัวร้อยละ -20.4ต่อปี หดตัวชะลอลงจากเดือนก่อนที่ร้อยละ -20.1 ต่อปี ขณะที่จำนวนผู้ที่ทำงานในภาคอุตสาหกรรมหดตัวร้อยละ -5.4 ต่อปี ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนที่หดตัวร้อยละ -6.7 ต่อปี บ่งชี้ถึงภาคอุตสาหกรรมของมาเลเซียที่ยังมีสัญญาณการฟื้นตัวไม่ชัดเจน
มูลค่าการส่งออกสินค้าของฟิลิปปินส์ เดือนก.ย. 52 หดตัวที่ร้อยละ -18.3ต่อปี ดีขึ้นจากเดือนก่อนที่หดตัวร้อยละ -21.0 ต่อปี โดยกลุ่มสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งเป็นสินค้าส่งออกหลักหดตัวร้อยละ -13.2 ต่อปี ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนที่หดตัวร้อยละ -18.7 ต่อปี ทั้งนี้ การส่งออกไปยังสหรัฐฯ หดตัวที่ร้อยละ -19.7 ต่อปี เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนที่หดตัวร้อยละ -3.9 ต่อปี ส่วนการส่งออกไปญี่ปุ่น หดตัวที่ร้อยละ -5.4 ต่อปี ชะลอลงจากเดือนก่อนที่หดตัวร้อยละ -21.3 ต่อปี
การค้าระหว่างประเทศของไต้หวัน เดือนต.ค. 52 ปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยการส่งออกหดตัวร้อยละ -4.7 ต่อปี ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -12.7 ต่อปี โดยการส่งออกไปจีนขยายตัวที่ร้อยละ 9.8 ต่อปี เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 2.1 ต่อปี นอกจากนี้ การนำเข้าสินค้าปรับตัวดีขึ้นเช่นเดียวกัน โดยหดตัวที่ร้อยละ -6.7 ต่อปี จากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ-21.1 ต่อปี ทั้งนี้ มูลค่าการส่งออกที่มากกว่ามูลค่าการนำเข้าส่งผลให้ดุลการค้าเกินดุลที่ 3.23 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่เกินดุล 2.55 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
อัตราการว่างงานของเกาหลีใต้ เดือนต.ค. 52 ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ3.4 ของกำลังแรงงานรวม จากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 3.6 ของกำลังแรงงานรวม สะท้อนถึงภาวการณ์จ้างงานที่เพิ่มขึ้นในฝั่งอุปทาน ซึ่งสอดคล้องกับตัวเลขผลผลิตภาคอุตสาหกรรม (Industrial Output) ของเกาหลีใต้ที่ขยายตัวร้อยละ 5.4 ต่อปีในเดือนก.ย. 52
ตัวเลขตำแหน่งงานออสเตรเลียเดือนต.ค. 52 ปรับตัวเพิ่มขึ้น 24,500 ตำแหน่ง เพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 จากเดือนก่อนหน้าที่เพิ่มขึ้น 40,000 ตำแหน่ง อย่างไรก็ตาม อัตราการว่างงานในเดือน ต.ค. 52 อยู่ที่ระดับร้อยละ 5.8 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ระดับ 5.7 ของกำลังแรงงานรวม
ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office
Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th