รายงานภาวะเศรษฐกิจรายสัปดาห์ระหว่างวันที่ 16 - 20 พฤศจิกายน 2552

ข่าวเศรษฐกิจ Monday November 23, 2009 11:13 —กระทรวงการคลัง

Executive Summary: Indicators this week

มูลค่าส่งออกสินค้าเดือน ต.ค. 52 หดตัวร้อยละ -3.0 ต่อปี ดีขึ้นจากเดือนก่อนที่หดตัวร้อยละ -8.5 ต่อปี ขณะที่ มูลค่านำเข้าสินค้าหดตัวร้อยละ -17.5 ต่อปี ใกล้เคียงกับเดือนก่อนที่หดตัวร้อยละ -17.9 ต่อปี สำหรับดุลการค้าเกินดุล 1.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

จำนวนผู้ว่างงานเดือนกันยายนอยู่ที่ 4.6 แสนคน หรือคิดเป็นอัตราการว่างงานที่ร้อยละ 1.2 ของกำลังแรงงานรวม ทรงตัวจากเดือนก่อน

ยอดขายรถยนต์นั่งและรถยนต์เชิงพาณิชย์เดือนตุลาคมขยายตัวร้อยละ 23.4 และ 0.03 ต่อปี ตามลำดับดีขึ้นมากจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 14.7 และหดตัวร้อยละ -6.8 ต่อปี ตามลำดับ

Economic Indicators: This Week

อัตราการว่างงานเดือน ก.ย. 52 อยู่ที่ร้อยละ 1.2 ของกำลังแรงงานรวม ทรงตัวจากเดือนก่อนหน้า คิดเป็นจำนวนผู้ว่างงาน 4.6 แสนคน นับเป็นสัญญาณที่ดีของการฟื้นตัวของเศรษฐกิจอย่างค่อยเป็นค่อยไป

การจ้างงานเดือน ก.ย. 52 อยู่ที่ 37.8 ล้านคน เพิ่มขึ้น 6.1 แสนคนจากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือร้อยละ 1.6 ต่อปี ส่งผลให้การจ้างงานในไตรมาส 3 ขยายตัวที่เฉลี่ยร้อยละ 1.4 ต่อปี เมื่อปรับค่าการเปลี่ยนแปลงทางฤดูกาลแล้วพบว่า การจ้างงานเพิ่มขึ้นจากเดือนที่แล้ว 2.7 แสนคนหรือร้อยละ 0.7 หากพิจารณาตามสาขาพบว่ามีการจ้างงานเพิ่มขึ้นในสาขาการผลิตอุตสาหกรรม ภาคค้าส่งค้าปลีก ภาคก่อสร้าง และภาคบริหารราชการแผ่นดินซึ่งเป็นไปตามภาพรวมทางเศรษฐกิจที่เริ่มปรับตัวดีขึ้น

ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่งเดือน ต.ค. 52 ขยายตัวที่ร้อยละ 23.4 ต่อปี เร่งขึ้นมากจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 14.7 ต่อปี เนื่องจาก 1.) ในช่วงปลายปีบรรดาค่ายรถยนต์ต่างออก Model รถใหม่ๆ พร้อมทั้งมีเทคนิคในมีการส่งเสริมการขายเพื่อจูงใจลูกค้ามากขึ้น 2.) มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลที่ออกมาอย่างต่อเนื่องส่งผลให้การบริโภคภาคเอกชนเริ่มส่งสัญญาณฟื้นตัวชัดเจนมากขึ้น และ 3.) ผู้บริโภคมีการเปลี่ยนแปลงความนิยมจากรถที่มีขนาดใหญ่ มาเป็นรถที่มีขนาดกลางและเล็กมากขึ้น

ปริมาณจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์เดือน ต.ค. 52 ขยายตัวที่ร้อยละ 0.03 ต่อปี จากเดือนก่อนที่หดตัวร้อยละ -6.8 ต่อปี อันเป็นผลจากการขยายตัวของปริมาณการจำหน่ายรถปิคอัพที่ร้อยละ 1.7 ต่อปี เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนที่หดตัวร้อยละ -7.1 ต่อปี ขณะที่ปริมาณการจำหน่ายรถบรรทุกขนาด 2 ตัน ยังคงขยายตัวเป็นบวกที่ร้อยละ 0.4 ต่อปี จากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 7.5 ต่อปี สะท้อนการฟื้นตัวของอุปสงค์ในประเทศที่เริ่มชัดเจนมากขึ้น ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก และความต่อเนื่องของนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล

มูลค่าการส่งออกสินค้ารวมในรูปดอลลาร์สหรัฐเดือน ต.ค. 52 หดตัวร้อยละ -3.0 ต่อปี หดตัวในอัตราที่ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -8.5 ต่อปี โดยเป็นผลมาจากการส่งออกสินค้าสำคัญที่ปรับตัวดีขึ้น ได้แก่ ยานยนต์ที่หดตัวร้อยละ -4.4 ต่อปี และเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ขยายตัวร้อยละ 5.7 ต่อปี จากเดือนก่อนที่หดตัวร้อยละ -24.1 และ -10.9 ต่อปี ตามลำ ดับนอกจากนี้ การส่งออกข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าว น้ำตาลทราย ทองคำ และโครงก่อสร้างที่ทำ ด้วยเหล็กได้ขยายตัวเพิ่มขึ้นด้วย สำ หรับราคาสินค้าส่งออกขยายตัวร้อยละ 4.2 ต่อปี ส่งผลให้ปริมาณการส่งออกสินค้าหดตัวร้อยละ -6.9 ต่อปี ในส่วนของมูลค่านำเข้าสินค้ารวมในรูปดอลลาร์สหรัฐเดือนต.ค. 52 หดตัวร้อยละ -17.5 ต่อปี ใกล้เคียงกับเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ -17.9 ต่อปี โดยการนำเข้าสินค้าทุนหดตัวเพียงร้อยละ -6.6 ต่อปีและสินค้ายานยนต์ขยายตัวที่ร้อยละ 5.9 ต่อปี ขณะที่การนำ เข้าสินค้าเชื้อเพลิงและสินค้าอุปโภคบริโภคหดตัวที่ร้อยละ -19.2 และ -5.4 ต่อปีทั้งนี้ ดุลการค้าเดือน ต.ค. 52 เกินดุล 1.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

Economic Indicators: Next Week

ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรม (MPI) ในเดือน ต.ค. 52 คาดว่าจะขยายตัวที่ร้อยละ 4.0 ต่อปี จากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 1.0 ต่อปีเนื่องจากปัจจัยบวกจากการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมเพื่อส่งออกที่คาดว่าจะปรับตัวสูงขึ้น ตามมูลค่าการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมเดือน ต.ค. 52 ที่หดตัวเพียงร้อยละ -1.5 ต่อปี ชะลอลงมากจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -5.7 ต่อปี

จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติในเดือน ต.ค. 52 คาดว่าจะมีจำนวน1.23 ล้านคน คิดเป็นการขยายตัวที่ร้อยละ 12.5 ต่อปี เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่มีจำ นวน 1.0 ล้านคน ส่วนหนึ่งเป็นเพราะเริ่มเข้าสู่ฤดูกาลท่องเที่ยวของไทย นอกจากนี้ การขยายตัวสูงในระดับร้อยละ 12.5 ต่อปีส่วนหนึ่งมาจากฐานการคำนวณที่ต่ำในปีก่อนจากปัจจัยความไม่สงบทางงการเมืองภายในประเทศ

Major Trading Partners’ Economies: This Week

เศรษฐกิจของกลุ่มประเทศยูโรโซนในไตรมาสที่ 3 ปี 2552 ขยายตัวเป็นครั้งแรกของปีที่ร้อยละ 0.4 จากไตรมาสก่อนหน้า (%q-o-q) หรือร้อยละ -4.1 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน จากการขยายตัวของเศรษฐกิจหลักคือ เยอรมนีและฝรั่งเศสที่ขยายตัวต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 2 จากไตรมาสก่อนหน้าที่ร้อยละ 0.7 และ 0.3 ตามลำดับ ประกอบกับเศรษฐกิจอิตาลีที่ขยายตัวร้อยละ 0.6 จากไตรมาสก่อนหน้าโดยเป็นการขยายตัวครั้งแรกในรอบปีด้วยเช่นเดียวกัน

เศรษฐกิจญี่ปุ่นในไตรมาสที่ 3 ปี 2552 ขยายตัวในอัตราที่เร็วที่สุดในรอบ 2 ปี ที่ร้อยละ 1.2 จากไตรมาสก่อนหน้า (%q-o-q) หรือร้อยละ -4.5 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีสาเหตุสำคัญจากการขยายตัวของอุปสงค์ ภายในประเทศ จากการบริโภคภาคเอกชนที่ขยายตัวร้อยละ 0.7 จากไตรมาสก่อนหน้า ขณะที่การลงทุนภาคเอกชนขยายตัวที่ร้อยละ 1.6 จากไตรมาสก่อนหน้า สำหรับการบริโภคและการลงทุนของภาครัฐขยายตัวที่ร้อยละ 0.4 และหดตัวที่ร้อยละ -1.2 จากไตรมาสก่อนหน้า ตามลำดับ นอกจากนี้ ภาคการส่งออกยังคงได้รับอานิสงส์จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีนและยุโรป ทำให้ขยายตัวที่ร้อยละ 6.4 จากไตรมาสก่อนหน้าด้วยเช่นกัน

เศรษฐกิจของฮ่องกงในไตรมาสที่ 3 ปี 52 หดตัวร้อยละ -2.4 ต่อปี หดตัวลดลงจากไตรมาสก่อนหน้าที่ร้อยละ -3.6 (ตัวเลขปรับปรุง) เนื่องจากการใช้ จ่ายภาครัฐและภาคการลงทุนขยายตัวเพิ่มขึ้นที่ร้อยละ 3.3 และ 1.4 ต่อปี จากไตรมาสก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 1.7 และหดตัวร้อยละ -13.6 ต่อปี ตามลำดับ ทั้งนี้การขยายตัวของการลงทุนส่วนใหญ่มาจากการลงทุนของภาครัฐที่ขยายตัวร้อยละ 34.4 ต่อปี ด้านการส่งออกและการนำเข้าสินค้าหดตัวเพิ่มขึ้นที่ร้อยละ -13.2 และ -8.3 ต่อปี ตามลำดับ ในขณะที่การส่งออกและการนำเข้าบริการ หดตัวร้อยละ -0.9 และ -3.8 จากไตรมาสก่อนที่หดตัวร้อยละ -5.2 และ -5.6 ต่อปี ตามลำดับ

ยอดค้าปลีกของสหรัฐฯ เดือน ต.ค. 52 ขยายตัวที่ร้อยละ 1.4 จากเดือนก่อนหน้า และขยายตัวเพิ่มขึ้นจากเดือน ก.ย. 52 ที่หดตัวที่ร้อยละ -2.4 (ตัวเลขปรับปรุง) โดยมีสาเหตุสำคัญจากยอดขายรถยนต์และชิ้นส่วนที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าถึงร้อยละ 7.4 ทั้งนี้ยอดค้าปลีกที่ไม่รวมยอดขายรถยนต์ขยายตัวจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 0.2 ซึ่งนับเป็นการขยายตัวในแดนบวกบวกติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 อย่างไรก็ตาม จากยอดค้าปลีกที่ไม่รวมรถยนต์ที่ขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง ทำให้คาดว่าในระยะต่อไปการบริโภคภาคเอกชนของสหรัฐฯ จะทิศทางการฟื้นตัวที่ชะลอลงด้วยเช่นกัน

ยอดบ้านใหม่เริ่มสร้าง (Housing Starts) ของสหรัฐฯ เดือน ต.ค.52 อยู่ที่ 529,000 หลัง หรือคิดเป็นร้อยละ -10.6 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหดตัวจากเดือน ก.ย.ที่ขยายตัวร้อยละ 1.9 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า (ตัวเลขปรับปรุง) โดยปัจจัยหลักมาจากการหดตัวของการก่อสร้างที่อยู่อาศัยสำหรับครอบครัว ในขณะที่ใบขออนุญาตก่อสร้าง (Building Permits) ของสหรัฐฯ เดือน ต.ค.52 อยู่ที่ 552,000 หลัง หดตัวที่ร้อยละ -4.0 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า ซึ่งหดตัวเพิ่มขึ้นจากเดือน ก.ย. 52 ที่หดตัวร้อยละ -0.9 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าสะท้อนว่าสัญญาณการฟื้นตัวในภาคอสังหาริมทรัพย์ของสหรัฐฯ ยังไม่ชัดเจนและยังต้องการการกระตุ้นอุปสงค์จากมาตรการของภาครัฐ

ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของสหรัฐ (Industrial Production) ในเดือนต.ค. 52 ขยายตัวที่ร้อยละ 0.1 จากเดือนก่อนหน้า (% m-o-m) ชะลอลงจากเดือน ก.ย. 52 ที่ขยายตัวที่ร้อยละ 0.6 โดยมีสาเหตุสำคัญจากผลผลิตยานยนต์ที่ชะลอลงจากการสิ้นสุดของมาตรการกระตุ้นอุปสงค์รถยนต์ของรัฐบาลหรือCash for Clunkers ในเดือน ส.ค. 2552

การส่งออกของกลุ่มประเทศยูโรโซนเดือน ก.ย. 2552 มีมูลค่า 137.1 พันล้านยูโร หรือหดตัวที่ร้อยละ -18 ต่อปี ขณะที่การนำเข้ามีมูลค่า 143.1พันล้านยูโร หรือหดตัวที่ร้อยละ -24 ต่อปี ส่งผลให้ดุลการค้าเกินดุลที่ 3.7 พันล้านยูโร และเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้าพบว่า การส่งออกขยายตัวที่ร้อยละ 5.5 (% m-o-m) จากเดือน ส.ค. 52 ที่หดตัวร้อยละ -4.1 (% m-o-m) ส่งสัญญาณการฟื้นตัวในภาคการส่งออกของยูโรโซน โดยระหว่าง ม.ค. — ส.ค.52 ประเทศจีน สวิสเซอร์แลนด์ และญี่ปุ่น เป็นประเทศที่การส่งออกของยูโรโซนหดตัวน้อยที่สุด ตามลำดับ

การส่งออกของประเทศสิงคโปร์ (ไม่รวมน้ำมัน) เดือน ต.ค. 52 หดตัวชะลอลงที่ร้อยละ -6.1 ต่อปี ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -7.2 ต่อปี และเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้าหดตัวที่ร้อยละ -12.6 (%m-o-m) จากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 3.0 อย่างไรก็ตามสาเหตุที่ทำให้การขยายตัวแบบเทียบกับเดือนก่อนหน้าหดตัวอย่างรุนแรงนั้นมาจากการหดตัวที่เร่งขึ้นของสินค้าประเภทเครื่องจักรและอะไหล่ยานพาหนะที่หดตัวร้อยละ -3.16 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office

Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ