Executive Summary:
ปริมาณจำ หน่ายปูนซีเมนต์และเหล็ก เดือนตุลาคม 52 ขยายตัวร้อยละ 6.4 และ 52.1 ต่อปีขยายตัวเป็นบวกเป็นเดือนที่ 5 และ 3 ติดต่อกัน
ดุลบัญชีเดินสะพัดเดือนตุลาคม 52 เกินดุลที่ 2.0 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ 1.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนพฤศจิกายน 52 ขยายตัวร้อยละ 1.9 ต่อปี ขยายตัวเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกัน หลังจากหดตัวติดต่อกันมาโดยตลอดตั้งแต่ต้นปี
ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างในเดือนพฤศจิกายน 52 หดตัวร้อยละ -2.5 ต่อปี ซึ่งลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 12 ติดต่อกัน
Indicators Forecast Previous Nov : Gov. Revenue (mn ฿) ขึ้น 111.1 Nov : Real VAT (%yoy) ขี้น -7.4 Nov : Real Estate Tax (% yoy) ขี้น -4.6
- เนื่องจากคาดว่าการฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่เป็นไปอย่างต่อเนื่อง จะส่งผลให้การจัดเก็บรายได้ของรัฐเพิ่มขึ้นตาม
Nov : API (%yoy) 0.5 1.5
- เนื่องจากคาดว่าผลผลิตยางพาราจะได้รับผลกระทบจากฝนตกชุก และผลผลิตมันสำปะหลังจะได้รับความเสียหายจากการระบาดของเพลี้ยแป้ง
Nov : Motorcycle Sales (%yoy) -5.0 -13.6
- เนื่องจากคาดว่ามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลประกอบกับรายได้เกษตรกรที่เพิ่มขึ้นตามราคาสินค้าเกษตรในตลาดโลกจะช่วยกระตุ้นให้การบริโภคฟื้นตัวขึ้น
Economic Indicators: This Week
สินเชื่อภาคเอกชนของสถาบันรับฝากเงินในเดือนต.ค. 52 ขยายตัวลดลง ที่ร้อยละ 0.2 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ชะลอลงตามการลดลงของสินเชื่อธนาคารพาณิชย์ แม้ว่าสินเชื่อสถาบันการเงินเฉพาะกิจและสหกรณ์ออมทรัพย์ยังคงขยายตัวต่อเนื่อง
เงินฝากของสถาบันรับฝากเงินในเดือน ต.ค. 52 ขยายตัวลดลง เงินฝากของสถาบันรับฝากเงินขยายตัวร้อยละ 6.7 ชะลอลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 7.3 ยอดคงค้างเงินฝาก เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ส่วนหนึ่งจากสถาบันการเงินเฉพาะกิจระดมเงินฝากเพื่อขยายสินเชื่อตามโครงการภาครัฐ ส่งผลให้ สภาพคล่องของสถาบันรับฝากเงินในเดือน ต.ค. 52 ขยายตัวเพิ่มขึ้น
ปริมาณจำหน่ายปูนซีเมนต์และเหล็กภายในประเทศ เดือนต.ค. 52 ขยายตัวร้อยละ 6.4 และ 52.1 ต่อปี โดยขยายตัวเป็นบวกเป็นเดือนที่ 5 และ 3 ติดต่อกัน ตามลำดับ โดยเฉพาะปริมาณจำหน่ายเหล็กที่ขยายตัวในระดับที่สูง จากเหล็กที่ใช้สำหรับภาคการก่อสร้างเป็นหลัก เช่น ท่อเหล็กเหล็กลวด ลวดเหล็กสำหรับงานคอนกรีตอันแรง และเหล็กเส้น ขยายตัวร้อยละ 99.8 73.6 82.5 และ 40.2 ต่อปี ตามลำดับ ซึ่งการขยายตัวดังกล่าวสะท้อนถึงการลงทุนภายในประเทศเริ่มมีสัญญาณการฟื้นตัวในหมวดก่อสร้างที่มีแนวโน้มดีขึ้น และสอดคล้องกับพื้นที่รับอนุญาตก่อสร้างในเขตเทศบาลที่หดตัวร้อยละ -12.9 ต่อปี ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ -21.3 ต่อปี
ดุลบัญชีเดินสะพัด เดือนต.ค. 52 เกินดุลเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ 2.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ จากดุลการค้าที่เกินดุล 1.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ตามมูลค่านำเข้าที่ลดลงมากกว่ามูลค่าส่งออก ในขณะที่ดุลบริการ เงินโอน และบริจาคเกินดุลที่ 0.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นการเกินดุลครั้งแรกในรอบ 6 เดือน ตามรายได้จากการท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้นตามจำ นวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาในประเทศในเดือนต.ค.52 ที่จำนวน 1.2 ล้านคน
อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือน พ.ย. 52 ขยายตัวร้อยละ 1.9 ต่อปี ซึ่งเป็นการขยายตัวเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกัน หลังจากหดตัวติดต่อกันมาโดยตลอดตั้งแต่ช่วงต้นปี สาเหตุสำ คัญจาก 1) ดัชนีหมวดยานพาหนะและน้ำมันเชื้อเพลิงปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.6 ต่อปี ตามราคาน้ำมันดิบโลกที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง 2) ดัชนีค่าไฟฟ้า น้ำประปาฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.5 ต่อปีจากการปรับเกณฑ์ลดการช่วยเหลือตามนโยบาย 5มาตรการ 6 เดือน 3) ดัชนียาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.6 ต่อปี เนื่องจากมีการปรับภาษีสรรพษามิตเพิ่มขึ้น แต่หากพิจารณาเทียบกับเดือนก่อนหน้า พบว่าดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปในเดือนนี้ยังคงขยายตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 4 ที่ ร้อยละ 0.3 (%mom) ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเดือน พ.ย. 52 ขยายตัวเป็นครั้งแรกในรอบ 6 เดือนที่ร้อยละ 0.1 ต่อปี
ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างในเดือน พ.ย. 52 หดตัวร้อยละ -2.5 ต่อปี ซึ่งลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 12 ติดต่อกัน แต่เป็นการลดลงในอัตราที่ชะลอลงโดยดัชนีในหมวดผลิตภัณฑ์คอนกรีตหดตัวลงร้อยละ -4.9 ต่อปี จากวัสดุประเภทเสาเข็มคอนกรีต พื้นคอนกรีตสำเร็จรูป และคอนกรีตบล็อก เป็นต้นและหมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กหดตัวลงร้อยละ -4.7 ต่อปี จากเหล็กฉาก ลวดเหล็กเสริมคอนกรีตอัดแรง
Economic Indicators: Next Week
ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรในเดือน พ.ย. 52 คาดว่าจะขยายตัวที่ร้อยละ 0.5 ต่อปี ชะลอลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนที่ร้อยละ 1.5 ต่อปี ตามการลดลงของผลผลิตสำคัญ โดยเฉพาะยางพารา ผลจากฝนที่ตกชุกหนาแน่นซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการกรีดยาง และผลผลิตมันสำ ปะหลังที่ได้รับความเสียหายจากการระบาดของเพลี้ยแป้ง
ปริมาณจำหน่ายรถจักรยานยนต์ในเดือน พ.ย. 52 คาดว่าจะหดตัวในอัตราที่ชะลอลงที่ร้อยละ -5.0 ต่อปี จากเดือนก่อนที่หดตัวร้อยละ -13.6 ต่อปี ตามการบริโภคที่เริ่มฟื้นตัวมากขึ้น จากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลที่ออกมาอย่างต่อเนื่อง และรายได้เกษตรกรที่เพิ่มขึ้นตามราคาสินค้าเกษตรที่ปรับตัวสูงขึ้น
Major Trading Partners’ Economies: This Week
GDP อินเดียในไตรมาส 3 ของปี 52 ขยายตัวที่ร้อยละ 7.9 ต่อปี เร่งขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 6.1 ต่อปี โดยเป็นการขยายตัวที่เร่งขึ้นของภาคการผลิตสาขาหลักโดยเฉพาะสาขาอุตสาหกรรมและสาขาเหมืองแร่ ที่ขยายตัวที่ร้อยละ 9.2 และร้อยละ 9.5 ต่อปี ตามลำดับจากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 5.1 และ 3.7 ต่อปี ตามลำดับ ในขณะที่การบริโภคในประเทศขยายตัวที่ร้อยละ 5.6 ต่อปี จากไตรมาสก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 1.6 ต่อปี เนื่องจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลอินเดียที่ออกมาในช่วงต้นปี 52 เพื่อบรรเทาผลกระทบจากปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจโลก
ยอดค้าปลีกของกลุ่มประเทศยูโรโซนเบื้องต้นเดือน ต.ค. 52 หดตัวที่ร้อยละ -1.9 ต่อปี แต่เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้าจะอยู่ในระดับคงที่ โดยสินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่มหดตัวที่ร้อยละ -1.6 ต่อปีหรือคิดเป็นการหดตัวที่ร้อยละ -0.3 จากเดือนก่อนหน้า (%mom) สะท้อนว่าการบริโภคในกลุ่มยูโรโซนยังคงไม่ฟื้นตัว
ตัวเลขว่างงานของยูโรโซนในเดือน ต.ค. 52 อยู่ที่ร้อยละ 9.8 ของจำนวนแรงงานทั้งหมด คงที่จากเดือนก่อนหน้า แต่ยังคงอยู่ในระดับที่สูงที่สุดในรอบปี โดยการว่างงานในฝรั่งเศสอยู่ที่ร้อยละ 10.1 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 10.0 ในขณะที่การว่างงานของเยอรมันและอิตาลีปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 7.5 และ 8.0 ตามลำดับ
ดัชนีคำสั่งซื้อภาคอุตสาหกรรมของสหรัฐ (ISM Mfg PMI) ในเดือนพ.ย. 52 อยู่ที่ระดับ 53.6 อยู่ในระดับมากกว่า 50.0 ติดต่อกันเป็นเดือนที่ 4 ทั้งนี้ ดัชนีดังกล่าวปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 55.7 เนื่องจากการปรับตัวลดลงของดัชนีองค์ประกอบในหมวดผลผลิต การจ้างงานสินค้าคงคลังและระดับราคา เป็นสำคัญ อย่างไรก็ตาม ดัชนีคำสั่งซื้อใหม่ปรับตัวดีขึ้น
ดัชนีคำสั่งซื้อภาคอุตสาหกรรมของจีน (NBS PMI) เดือน พ.ย. 52 อยู่ที่ระดับ 55.2 คงที่จากเดือนก่อนหน้าและอยู่เหนือระดับ 50.0 ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 9 โดยดัชนีองค์ประกอบที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น อาทิ ผลผลิต สินค้าคงคลัง และราคาวัตถุดิบ ขณะที่ คำสั่งซื้อใหม่และการจ้างงานปรับตัวลดลง
ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ของประเทศสิงคโปร์ในเดือน พ.ย. 52 ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 52 จากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 50.2 โดยในหมวดสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ปรับเพิ่มมาอยู่ที่ระดับ 51.3 จาก 49.6 ในเดือนก่อนหน้า อย่างไรก็ตามเศรษฐกิจสิงคโปร์มีแนวโน้มอาจจะขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงในไตรมาสที่ 4 เนื่องจากภาคการส่งออกที่ปรับตัวแย่ลง
มูลค่าการส่งออกสินค้าของอินโดนีเซียเดือนต.ค. 52 ขยายตัวร้อยละ 10.1 ต่อปี จากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -19.9 ต่อปี เป็นการขยายตัวครั้งแรกหลังจากเกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ สำหรับมูลค่าการนำเข้าสินค้าหดตัวร้อยละ -11.7 ต่อปี หดตัวใกล้เคียงกับเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ -24.2 ต่อปี ส่วนดุลการค้าเกินดุล 2.41 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
มูลค่าการส่งออกและนำ เข้าสินค้าของเกาหลีใต้ในเดือนพ.ย. 52ปรับตัวดีขึ้นอย่างมาก โดยมูลค่าการส่งออกกลับมาขยายตัวถึงร้อยละ18.8 ต่อปีจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -8.5 ต่อปี ในขณะที่มูลค่าการนำเข้าสินค้ากลับมาขยายตัวเช่นกันที่ร้อยละ 4.7 ต่อปี จากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ 16 ต่อปี ซึ่งนับเป็นการกลับมาขยายตัวเป็นบวกครั้งแรกของทั้ง 2 ภาคในรอบ 1 ปี โดยสาเหตุหลักมาจากปัจจัยฐานต่ำในปีที่แล้วอย่างไรก็ตามเศรษฐกิจเกาหลีใต้มีแนวโน้มที่จะขยายตัวอย่างต่อเนื่อง
ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ฮ่องกงในเดือนพ.ค. 52 ปรับตัวเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 4 มาอยู่ที่ระดับ 55.9 จากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 54.59 สาเหตุหลักของการปรับตัวเพิ่มขึ้นนั้นมาจากคำสั่งซื้อใหม่จากประเทศจีนเป็นสำคัญ
ยอดค้าปลีกออสเตรเลีย (Retail Sales) ในเดือน ต.ค. 52 ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า จากเดือนก.ย. 52 ที่หดตัวร้อยละ -0.2 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า แต่หากเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว จะขยายตัวที่ร้อยละ 5.6 ต่อปี สะท้อนถึงทิศทางการฟื้นตัวที่ดีของภาคการบริโภคเอกชนของออสเตรเลีย
ยอดค้าปลีก (Retail Sales) ฮ่องกงในเดือน ต.ค. 52 ขยายตัวที่ร้อยละ 9.9 ต่อปี ขยายตัวในอัตราที่เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 2.6 ต่อปี โดยการขยายตัวที่เพิ่มขึ้นดังกล่าว มาจากการขยายตัวของยอดขายเครื่องประดับที่ขยายตัวร้อยละ 17.9 ต่อปี จากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 7.3 ต่อปี และเสื่อผ้าและรองเท้าที่ขยายตัวร้อยละ 13.6 ต่อปี จากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 1.8 ต่อปี
ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office
Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th