Global Economic Monitor (30 Nov — 4 Dec) 2009

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday December 9, 2009 11:04 —กระทรวงการคลัง

Executive Summary Economic Calendar
  • สถานการณ์ Dubai World ได้คลี่คลายลง ภายหลังจากที่ธนาคารกลาง UAE ประกาศให้วงเงินกู้แก่ธนาคารพาณิชย์ที่ได้รับผลกระทบ
  • ตัวเลขการลงทุนภาคเอกชนของญี่ปุ่นที่ออกมาไม่ดี ทำให้คาดว่าญี่ปุ่นจะปรับลด GDP Q3/52 ลงในสัปดาห์หน้าจากร้อยละ 1.2 เป็นร้อยละ 0.6
  • จับตามองแผนการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมมูลค่า 4 ล้านล้านเยนของญี่ปุ่นที่คาดว่าจะประกาศในสัปดาห์หน้า

Countries Monitor:

United States: จับตามองตัวเลขการจ้างงานคืนนี้และตัวเลขค้าปลีกในสัปดาห์หน้า

This Week

  • ตัวเลขการจ้างงาน (ADP Employment) เดือน พ.ย. 52 ลดลง 169,000 จากเดือนก่อนหน้า สะท้อนถึงตลาดแรงงานสหรัฐที่ยังไม่ฟื้นตัว แม้ว่ายอด Initial jobless claims ในสัปดาห์นี้จะลดลงจากสัปดาห์ก่อนมาอยู่ที่ 481.2 ซึ่งลดลงต่อเนื่องตั้งแต่ Q1/2009

Next Week

  • ตัวเลขส่งออก-นำเข้าและดุลการค้าในเดือน ต.ค. 52
  • ยอดค้าปลีกเดือน พ.ย. 52 เพื่อจับตาดูทิศทางของอุปสงค์ภายในประเทศในไตรมาสสุดทายของปี
Eurozone: การจ้างงานยังคงไม่ฟื้นตัว แต่อัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น

This Week

  • การบริโภคภาคเอกชนหดตัวในอัตราที่ชะลอลง จากยอดค้าปลีกเบื้องต้นในเดือนต.ค. 52 ที่หดตัวเพียงร้อยละ 1.9 ต่อปี ดีขึ้นจากเดือนก่อนที่หดตัวร้อยละ 2.8 ต่อปี
  • ตลาดแรงงานยังไม่ฟื้นตัว โดยอัตราการว่างงานในเดือน ต.ค 52 อยู่ที่ร้อยละ 9.8
  • ธนาคารกลางยุโรปประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ 1.0 อย่างไรก็ตามได้ประกาศแผนที่จะหยุดการปล่อยสภาพคล่องระยะยาวในเดือน มี.ค. 53

Next Week

  • จับตาดัชนีความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจ (Economic Sentiment Index) เดือน ธ.ค.52 เพื่อพิจารณาทิศทางเศรษฐกิจของยูโรโซน
Japan: จับตามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจญึ่ปุ่นสัปดาห์หน้า

This Week

  • รายจ่ายลงทุนภาคเอกชน (ไม่รวม software) ในไตรมาส 3/52 หดตัวร้อยละ 25.7 ต่อปี หดตัวมากที่สุดตั้งแต่ปี 2498 สะท้อนภาคการลงทุนที่ยังไม่ฟื้นตัว
  • Morgan Stanley คาดว่าค่าเงินเยนจะแข็งค่าที่สุดที่ 80 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐ หลังจากรัฐบาลญี่ปุ่นเริ่มส่งสัญญาณว่าจะเข้ามาแทรกแซงค่าเงินเยน

Next Week

  • จับตาดู GDP Q3/2009 (ปรับปรุง) ที่ตลาดคาดว่าจะปรับลดลงจากร้อยละ 1.2 เป็นร้อยละ 0.6 (%qoq) จากตัวเลขรายจ่ายการลงทุนภาคเอกชนที่ลดลง
  • คำสั่งซื้อเครื่องจักรเดือน พ.ย. 52
  • แผนการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมมูลค่า 4 ล้านล้านเยนของญี่ปุ่น เพื่อกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศและเพื่อสนับสนุนธุรกิจขนาดย่อยประมาณ 1 ล้านล้านเยน
China: จับตามอง ปัญหา asset bubble และหนี้เสีย

This Week

  • ดัชนีคำสั่งซื้อผู้จัดการโรงงาน (NBS PMI) เดือน พ.ย. 52 ทรงตัวที่ระดับ 55.2 เพิ่มขึ้นเหนือระดับ 50.0 ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 9
  • ในช่วงสามไตรมาสแรกของปี 2552 ยอดหนี้บัตรเครดิตที่ค้างชำระอย่างน้อย 6 เดือน เพิ่มขึ้นร้อยละ 126.5 ต่อปี

Next Week

  • จับตาผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของเดือน พ.ย. 52 ที่คาดว่าจะขยายตัวในเกณฑ์ดีต่อเนื่อง สอดคล้องกับตัวเลข PMI เดือน พ.ย. 52 ที่ทรงตัวสูงกว่าระดับ 50.0
Around the World:

Australia

  • ยอดค้าปลีกออสเตรเลีย (Retail Sales) ในเดือน ต.ค. 52 ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 จากเดือนก่อนหน้า ทั้งนี้ ออสเตรเลียได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 3 ครั้งในรอบ 3 เดือน โดยล่าสุดอยู่ที่ระดับร้อยละ 3.75 สะท้อนความกังวลต่ออัตราเงินเฟ้อที่มีแนวโน้มสูงขึ้น

Hong Kong

  • ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ฮ่องกงในเดือนพ.ค. 52 ปรับตัวเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 4 มาอยู่ที่ระดับ 55.9 จากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 54.59 ขณะที่ยอดค้าปลีก (Retail Sales) ฮ่องกงในเดือนตุลาคมขยายตัวที่ร้อยละ 9.9 ต่อปี ขยายตัวในอัตราที่เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 2.6 ต่อปี ส่งสัญญาณว่าเศรษฐกิจฮ่องกงน่าจะฟื้นตัวต่อเนื่องในไตรมาสสุดท้ายของปี

India

  • GDP ไตรมาส 3 ของปี 52 ขยายตัวที่ร้อยละ 7.9 ต่อปี เร่งขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 6.1 ต่อปี โดยเป็นการขยายตัวที่เร่งขึ้นของภาคการผลิตสาขาหลักโดยเฉพาะสาขาอุตสาหกรรม และสาขาเหมืองแร่ ที่ขยายตัวที่ร้อยละ 9.2 และร้อยละ 9.5 ต่อปี ขณะที่การบริโภคในประเทศขยายตัวที่ร้อยละ 5.6 ต่อปี

Indonesia

  • การส่งออกสินค้าของอินโดนีเซียเดือนต.ค. 52 ขยายตัวร้อยละ 10.1 ต่อปี จากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -19.9 ต่อปี เป็นการขยายตัวครั้งแรกหลังจากเกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ สำหรับมูลค่าการนำเข้าสินค้าหดตัวร้อยละ -11.7 ต่อปี หดตัวใกล้เคียงกับเดือนก่อนที่ร้อยละ -24.2 ต่อปี ส่วนดุลการค้าเกินดุล 2.41 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ

Korea

  • การส่งออกเดือนพ.ย. 52 กลับมาขยายตัวที่ร้อยละ 18.8 ต่อปี จากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -8.5 ต่อปี ในขณะที่การนำเข้าสินค้ากลับมาขยายตัวเช่นกันที่ร้อยละ 4.7 ต่อปี จากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ 16 ต่อปี ซึ่งนับเป็นการกลับมาขยายตัวเป็นบวกครั้งแรกของทั้ง 2 ภาคในรอบ 1 ปี

Singapore

  • ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ของประเทศสิงคโปร์ในเดือน พ.ย. 52 ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 52 จากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 50.2 โดยในหมวดสินค้าอิเล็กโทรนิคปรับเพิ่มมาอยู่ที่ระดับ 51.3 จาก 49.6 ในเดือนก่อนหน้า

Economic Stability Analysis Division | Macroeconomic Policy Bureau

Dr. Soraphol Tulayasathien, CFA, FRM and Dr. Sirikamon Udompol,

Tel. (02) 273 9020 Ext. 3253 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ