Global Economic Monitor (21 — 25 Dec) 2009

ข่าวเศรษฐกิจ Monday December 28, 2009 11:22 —กระทรวงการคลัง

Global Summary

"เศรษฐกิจโลกฟนตัวต่อเนื่อง โดยเฉพาะการบริโภคภาคเอกชนและการส่งออก"

สหรัฐฯ: การบริโภคภาคเอกชนมีสัญญาณฟื้นตัวจากยอดขายบ้านมือสองและการใช้จ่ายภาคครัวเรือน
  • ภาคอสังหาริมทรัพย์ของสหรัฐฯ ซึ่งเป็นต้นเหตุของวิกฤตเศรษฐกิจในครั้งนี้ ฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง โดยยอดจำหน่ายบ้านมือสอง (Existing home sales) ในเดือน พ.ย. 52 ขยายตัวสูงสุดในรอบ 32 เดือน ที่ร้อยละ 7.4 จากเดือนก่อนหน้า จากราคาบ้านที่ลดลงและดอกเบี้ยสินเชื่อบ้านที่อยู่ในระดับต่ำ อย่างไรก็ตาม ยอดจำหน่ายบ้านใหม่ในเดือน พ.ย. 52 หดตัวสูงที่สุดในรอบ 10 เดือนที่ร้อยละ -11.3 จากเดือนก่อนหน้า จากการประกาศขยายมาตรการลดหย่อนภาษี (tax credit) สำหรับการซื้อบ้านออกไปจนถึงสิ้นเดือน เม.ย. 53 ส่งผลให้ยอดซื้อบ้านใหม่ชะลอลง
  • การบริโภคภาคเอกชนมีสัญญาณการฟื้นตัว โดยการใช้จ่ายภาคครัวเรือนที่แท้จริง (Real Personal Consumption Expenditure)ในเดือน พ.ย. 52 ขยายตัวที่ร้อยละ 0.2 จากเดือนก่อนหน้า จากการใช้จ่ายทรัพย์สินไม่ถาวรเป็นสำคัญ เนื่องจากการปรับลดราคาในช่วงที่ผ่านมา แม้ว่ารายได้ส่วนบุคคลที่แท้จริง (Real Personal Income) จะไม่ขยายตัวเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า
สหภาพยุโรป: ภาคส่งออกฟื้นตัวต่อเนื่องโดยเฉพาะในเยอรมัน ขณะที่บางประเทศเริ่มประสบปัญหาหนี้สาธารณะที่อยู่ในระดับสูง
  • การส่งออกของยูโรโซนเดือน ต.ค. 52 มีมูลค่าสูงที่สุดในรอบ 11 เดือน ที่ 117.3 พันล้านยูโร หรือหดตัวที่ร้อยละ -16.8 ต่อปี ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -18.5 ต่อปี โดยมีสาเหตุหลักจากการส่งออกของเยอรมันที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 3.5 ขณะที่ การนำเข้า มีมูลค่าสูงที่สุดในรอบ 7 เดือนที่ 108.6 พันล้านยูโรหรือหดตัวที่ร้อยละ -23.6 ต่อปี ส่งผลให้ดุลการค้าเกินดุลที่ 8.8 พันล้านยูโร สูงที่สุดในรอบ 3 เดือน
  • รัฐบาลกรีซปรับลดงบประมาณรายจ่ายสำหรับปีงบประมาณ 2553 เพื่อแก้ปัญหาหนี้สาธารณะ โดยจะให้อยู่ที่ร้อยละ 9.1 ของ GDP จากปี 2552 ที่คาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 12.7 ของ GDP เพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สาธารณะที่คาดว่าจะสูงถึงร้อยละ 115.3 ของ GDP ภายในสิ้นปี 2552 โดยครอบคลุมการลดรายจ่ายด้านสังคมลงร้อยละ 10 การจัดเก็บภาษีจากโบนัสของผู้บริหารธนาคารในอัตราร้อยละ 90 การไม่เพิ่มเงินเดือนข้าราชการและไม่รับข้าราชการใหม่
ญี่ปุ่น: ภาคส่งออกได้รับอานิสงค์จากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของทั่วโลก ขณะที่ธนาคารกลางส่งสัญญาณคงอัตราดอกเบี้ยในระดับต่ำและใช้นโยบาย credit easing ต่อเนื่อง เพื่อสนับสนุนการบริโภคและการลงทุนที่ยังไม่มีสัญญาณฟื้นตัวชัดเจน
  • การส่งออกของญี่ปุ่นในเดือน พ.ย. 52 ดีที่สุดในรอบ 14 เดือน โดยหดตัวที่ร้อยละ -6.2 ต่อปี หรือขยายตัวที่ร้อยละ 4.9 จากเดือนก่อนหน้า โดยเฉพาะในหมวดยานยนต์และอิเล็กทรอนิกส์เครื่องใช้ไฟฟ้าตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกและมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศต่างๆ ประกอบกับฐานที่ต่ำในปีก่อนหน้า ขณะที่ มูลค่าการนำเข้าหดตัวที่ร้อยละ -16.3 ต่อปี ซึ่งเป็นการหดตัวที่ชะลอลงมากที่สุดในรอบ 12 เดือน ส่งผลให้ดุลการค้าของญี่ปุ่นเกินดุลติดต่อกันเป็นเดือนที่ 10 ที่ 373.9 พันล้านเยนหรือ 4.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
  • ผลการประชุมเมื่อวันที่ 19-20 พ.ย. 52 (แถลงข่าว ณ 24 ธ.ค. 52) ธนาคารกลางญี่ปุ่นส่งสัญญาณว่าอาจคงอัตราดอกเบี้ยในระดับต่ำ และดำเนินนโยบาย credit easing ต่อเนื่อง เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจให้ออกจากภาวะถดถอย ภายหลังจากที่อัตราเงินเฟ้อยังคงหดตัวต่อเนื่อง โดยในเดือน พ.ย. 52 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ร้อยละ -1.9 ต่อปี ติดลบต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 9 ประกอบอัตราการว่างงานเดือน พ.ย. 52 ที่เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า โดยอยู่ที่ร้อยละ 5.2 ของกำลังแรงงาน สะท้อนเศรษฐกิจภายในประเทศ ที่ยังไม่ฟื้นตัว
Next week indicators
             Date           Economic                   Indicator Forecast*       Previous
          28-Dec-09 JP    Nov Retail sales (%mom)             -1.2                  -0.9
          28-Dec-09 JP    Nov Industrial output prelim         2.4                   0.5
          28-Dec-09 HK    Nov Export/Import (%yoy)                              -13.1/-10.7
          29-Dec-09 HK    Nov Retail sales (%mom)                                    9.8
          29-Dec-09 US    Dec Consumer confidence index       52.3                  49.5
          29-Dec-09 US    Oct Case-Shiller home price index   -7.2                  -9.4
          30-Dec-09 JP    Dec Manufacturing PMI                                     52.3
          30-Dec-09 KR    Nov Industrial output (%yoy)                               0.2
          01-Jan-10 CN    Dec NBS PMI                                               55.2

Note: * forecast by Reuters

Countries Monitor:

United States: improving economic trend

GDP Q3 ปี 2552 (Final GDP) ขยายตัวที่ร้อยละ 0.6 จากไตรมาสก่อนหน้า (%qoq) หรือหดตัวที่ร้อยละ -2.6 ต่อปี จากอุปสงค์ในประเทศ การส่งออก และการเพิ่มขึ้นของสินค้าคงคลัง ยอดจำหน่ายบ้านมือสอง เดือน พ.ย. 52 ขยายตัวสูงสุดในรอบ 32 เดือนที่ร้อยละ 7.4 จากเดือนก่อนหน้า จากราคาบ้านที่ลดลงและดอกเบี้ยสินเชื่อบ้านที่อยู่ในระดับต่ำ ยอดจำหน่ายบ้านใหม่เดือน พ.ย. 52 หดตัวสูงที่สุดในรอบ 10 เดือนที่ร้อยละ -11.3 จากเดือนก่อนหน้าจากการขยายเวลาของมาตรการลดหย่อนภาษีซื้อบ้านออกไปจนถึง เม.ย. 53

Next week: Dec Consumer confidence index,

Nov Case-Shiller home price index

Japan: mixed signal

ส่งออกเดือน พ.ย. 52 หดตัวชะลอลงมากที่สุดในรอบ 14 เดือนที่ร้อยละ -6.2 ต่อปีหรือขยายตัวที่ร้อยละ 4.9 จากเดือนก่อนหน้า ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกและมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศต่างๆ ประกอบกับฐานที่ต่ำในปีก่อนหน้า อย่างไรก็ตาม อัตราการว่างงานเดือน พ.ย. 52 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า มาอยู่ที่ร้อยละ 5.2 ของกำลังแรงงาน

Next week: Nov Retail sales, Nov Industrial output, Dec Manufacturing PMI

Eurozone: mixed signal

ส่งออกเดือน ต.ค. 52 มีมูลค่าสูงที่สุดในรอบ 11 เดือนที่ 117.3 พันล้านยูโร หรือหดตัวที่ร้อยละ -16.8 ต่อปี ขณะที่การนำเข้า มีมูลค่าสูงที่สุดในรอบ 7 เดือนที่ 108.6 พันล้านยูโรหรือหดตัวที่ร้อยละ -23.6 ต่อปี

Next Week: Oct Industrial new order

China: improving economic trend

ผลผลิตอุตสาหกรรมเดือน พ.ย. 52 ขยายตัวร้อยละ 19.2 ต่อปี สูงสุดในรอบ 27 เดือน การส่งออกเดือน พ.ย. 52 หดตัวในระดับต่ำที่สุดในรอบ 13 เดือนที่ร้อยละ -1.2 ต่อปี ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก การลงทุนในสินทรัพย์ถาวรในเขตเมืองเดือน ม.ค. - พ.ย. 52 ชะลอตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 โดยขยายตัวที่ร้อยละ 32.1 ต่อปี จากมาตรการของรัฐบาลเป็นสำคัญ อัตราเงินเฟ้อเดือน พ.ย. 52 เป็นบวกครั้งแรกในรอบ 10 เดือนที่ร้อยละ 0.6 ต่อปี ส่งสัญญาณความกังวลด้านเงินเฟ้อ

Next Week: -

Australia: improving economic trend

GDP Q3/2009 ขยายตัวที่ร้อยละ 0.5 ต่อปีหรือขยายตัวที่ร้อยละ 0.2 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน จากการใช้จ่ายภาครัฐ การบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน ที่ขยายตัวจากไตรมาสก่อนหน้าที่ร้อยละ 0.7 ร้อยละ 0.7 และร้อยละ 0.4 ตามลำดับ สำหรับการส่งออกยังคงหดตัวจากไตรมาสก่อนหน้าที่ร้อยละ -2.3

Next Week: -

Hong Kong: mixed signal

อัตราเงินเฟ้อเดือนพ.ย. 52 ปรับตัวลดลงมาอยู่ระดับร้อยละ 0.6 ต่อปีปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ระดับร้อยละ 2.2 ต่อปี สะท้อนการที่ผู้บริโภคระมัดระวังในการใช้จ่าย ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจฮ่องกงที่เป็นไปอย่างค่อยเป็นค่อยไป

Next week: Nov Export Import, Nov Retail sales

Philippine: mixed signal

มูลค่าการส่งออกสินค้าของฟิลิปปินส์เดือนต.ค. 52 หดตัวต่ำสุดในรอบ 13 เดือนที่ร้อยละ -8.3 ต่อปี ลดลงจากเดือนก่อนที่ร้อยละ -18.2 ต่อปี สำหรับมูลค่าการนำเข้าสินค้าหดตัวร้อยละ -16.8 ต่อปี หดตัวชะลอลงจากเดือนก่อนที่ร้อยละ -25.0 ต่อปี โดยดุลการค้าขาดดุล 138 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ คาดว่าการส่งออกของฟิลิปปินส์จะหดตัวเล็กน้อยในเดือนพ.ย. 52 และจะกลับมาขยายตัวได้ในเดือนธ.ค. 52

Next Week: -

Singapore: mixed signal

อัตราเงินเฟ้อเดือน พ.ย. 52 หดตัวชะลอลงที่ร้อยละ -0.2 ต่อปี หรือขยายตัวร้อยละ 0.5 จากเดือนก่อนหน้า สะท้อนการบริโภคภายในประเทศสิงคโปร์ที่เริ่มมีแนวโน้มขยายตัว ขณะที่ ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือน พ.ย. 52 ดีขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 โดยหดตัวที่ร้อยละ -3.6 จากเดือนก่อนหน้า

Next Week: -

Taiwan: improving economic trend

คำสั่งซื้อภาคส่งออก (Export Orders) เดือน พ.ย. 52 ขยายตัวร้อยละ 37.1 ต่อปี โดยอุปกรณ์สื่อสารและอุปกรณ์อิเล็คโทรนิกส์ ขยายตัวร้อยละ 33.9 ต่อปี และร้อยละ 43.2 ต่อปี ขยายตัว โดยจีนและสหรัฐฯ ซึ่งเป็นผู้ซื้อรายใหญ่อันดับที่ 1 และ 2 เพิ่มคำสั่งซื้อร้อยละ 73.32 ต่อปีและร้อยละ 28.27 ต่อปี ตามลำดับ ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม (Industrial Output) เดือน พ.ย. 52 ขยายตัวร้อยละ 31.5 ต่อปีสอดคล้องกับตัวเลขคำสั่งซื้อภาคส่งออกที่ขยายตัวอย่างมากเช่นกัน

Next Week: -

Vietnam: mixed signal

อัตราเงินเฟ้อในเดือนพ.ย.52 ขยายตัวที่ร้อยละ 4.35 ต่อปี เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 3.0 ต่อปี จากการขยายตัวของราคาอาหาร โดยเฉพาะเครื่องดื่มที่ขยายตัวร้อยละ 9.0 ต่อปี ทั้งนี้ คาดว่าอัตราเงินเฟ้อของเวียดนามจะมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตามราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น และการขยายตัวของเศรษฐกิจในประเทศ แม้ว่า ทางการเวียดนามาจะใช้วิธีสกัดอัตราเงินเฟ้อ ด้วยการขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย จากร้อยละ 7.0 เป็นร้อยละ 8.0 เมื่อวันที่ 1 ธ.ค. 52 แล้วก็ตาม

Next Week: -

Economic Stability Analysis Division | Macroeconomic Policy Bureau

Dr. Soraphol Tulayasathien, CFA, FRM and Dr. Sirikamon Udompol,

Tel. (02) 273 9020 Ext. 3253 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ