Global Economic Monitor (4 — 8 January) 2010

ข่าวเศรษฐกิจ Friday January 8, 2010 15:57 —กระทรวงการคลัง

Global Summary

“อุตสาหกรรมทั่วโลกส่งสัญญาณฟื้นตัวชัดเจนจากยอดคำสั่งซื้อที่ดีขึ้น ส่งผลดีกับการส่งออกของเอเชีย”

ภาคอุตสาหกรรมทั่วโลกมีสัญญาณฟื้นตัวต่อเนื่องในไตรมาสสุดท้ายของปี 2552 และไตรมาสแรกของปีนี้
  • ยอดคำสั่งซื้อภาคอุตสาหกรรม (Manufacturing Purchasing Manager Index: Mfg PMI) ของสหรัฐฯ จีน ยุโรปและญี่ปุ่นในเดือนธ.ค. 52 ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง บ่งชี้ว่าการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมของประเทศดังกล่าวมีแนวโน้มดีขึ้นในไตรมาสที่ 4 ปี 2552 และไตรมาสแรกของปี 2553 โดยดัชนีคำสั่งซื้อภาคอุตสาหกรรมของสหรัฐฯ (ISM Mfg PMI) ในเดือนธ.ค. 52 อยู่ในระดับที่สูงที่สุดนับตั้งแต่เดือน เม.ย. 2549 ที่ระดับ 55.9 สอดคล้องกับดัชนีคำสั่งซื้อภาคอุตสาหกรรมของจีน ยุโรปและญี่ปุ่นประจำเดือน ธ.ค. 52 ที่ปรับตัวดีขึ้นด้วยเช่นกัน โดย NBS PMI ของจีน เพิ่มสูงที่สุดในรอบ 20 เดือนมาอยู่ที่ระดับ 56.6 ขณะที่ Mfg PMI ของยุโรป เพิ่มสูงที่สุดในรอบ 21 เดือนมาอยู่ที่ระดับ 51.6 และ Mfg PMI ของญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 3 เดือนมาอยู่ที่ระดับ 53.8 สะท้อนภาคอุตสาหกรรมของเศรษฐกิจสำคัญของโลกที่ยังคงขยายตัวต่อเนื่องจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ ซึ่งคาดว่าจะเป็นแรงขับเคลื่อนให้เศรษฐกิจโลกกลับมาฟื้นตัวอย่างยั่งยืนอีกครั้ง ทั้งนี้ การเพิ่มขึ้นของดัชนีคำสั่งซื้อภาคอุตสาหกรรมของสหรัฐฯ จีน ยุโรปและญี่ปุ่น เป็นสัญญาณว่าภาคการผลิตของประเทศดังกล่าวจะยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่องและคาดว่าจะส่งผลให้รายได้และการบริโภคภาคเอกชนปรับตัวดีขึ้น อันส่งผลดีต่อการส่งออกของเอเชียด้วย
  • อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ต้องจับตามองในระยะต่อไป คือภาคการจ้างงานทั้งในสหรัฐฯ ยุโรป และญี่ปุ่น ที่ยังคงฟื้นตัวอย่างเปราะบางประกอบกับหากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ โดยเฉพาะสหรัฐฯ หมดลงจะทำให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจหยุดชะงักหรือไม่ นอกจากนี้ นโยบายการเงินแบบผ่อนคลายในช่วงที่ผ่านมา อาจจะทำให้เกิดความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อได้ในอนาคต
เอเชีย: เศรษฐกิจสิงคโปร์และเวียดนามในไตรมาสสุดท้ายของปีขยายตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อน
  • เศรษฐกิจสิงคโปร์ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2552 ขยายตัวที่ร้อยละ 3.5 ต่อปี (ตัวเลขเบื้องต้น) เนื่องจากฐานที่ต่ำในปี 2551 อย่างไรก็ตามเมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสก่อนหน้าหดตัวที่ร้อยละ -6.8 (%qoq annualized ) ทั้งนี้ การที่เศรษฐกิจสิงคโปร์ชะลอตัวลงในไตรมาสที่ 4 เนื่องมาจากภาคการผลิตซึ่งมีขนาดประมาณร้อยละ 40 ของเศรษฐกิจหดตัวในระดับสูงที่ร้อยละ -38.4 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า(%qoq annualized) อย่างไรก็ตาม ภาคบริการของสิงคโปร์ซึ่งมีขนาดประมาณร้อยละ 60 ยังสามารถขยายตัวได้ที่ร้อยละ 7.2 (%qoq annualized)
  • เศรษฐกิจเวียดนามในไตรมาสที่ 4 ของปี 2552 ขยายตัวที่ร้อยละ 7.7 ต่อปี (ตัวเลขเบื้องต้น) เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 5.2 ต่อปี เนื่องจากการขยายตัวในภาคอุตสาหกรรม ซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 30 ของเศรษฐกิจ ที่ขยายตัวถึงร้อยละ 8.8 ต่อปี จากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวเพียงร้อยละ 2.8 ต่อปี สอดคล้องกับภาคการส่งออกเดือน ธ.ค. 52 ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 ที่ร้อยละ 7.1 ต่อปี จากการส่งออกคอมพิวเตอร์และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์
Next week indicators
             Date           Economic Indicator             Forecast*      Previous
          12-Jan-10    US Nov Trade Balance                 -34.3          -32.9
          12-Jan-10    IN Nov Industrial Output (%yoy)                      10.3
          12-Jan-10    PH Dec Export Value (%yoy)                           -8.3
          13-Jan-10    EZ Nov Industrial Output (%yoy)                     -11.1
          13-Jan-10    JP Nov Machinery Orders                              -4.5
          14-Jan-10    AU Dec Unemployment                                   5.7
          14-Jan-10    US Dec Retail Sales                    0.2            1.3
          15-Jan-10    US Dec Consumer Price Index (%yoy)     2.8            1.8
          15-Jan-10    US Dec Industrial Output (%mom)        0.4            0.8

Note: * forecast by Reuters

Countries Monitor:

United States: mixed signal

ดัชนีคำสั่งซื้อภาคอุตสาหกรรมของสหรัฐฯ (ISM Mfg PMI) ในเดือนธ.ค. 52 อยู่ในระดับสูงที่สุดนับตั้งแต่เดือน เม.ย. 2549 ที่ระดับ 55.9 บ่งชี้การฟื้นตัวในภาคการผลิต ทำให้คาดว่าภาวะการจ้างงานน่าจะดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ขณะที่การฟื้นตัวของการบริโภคภาคเอกชนยังคงไม่ชัดเจน กล่าวคือ แม้ว่าความเชื่อมั่นผู้บริโภคและยอดจำหน่ายรถยนต์ที่ผลิตในประเทศในเดือน ธ.ค. 52 จะดีขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 แต่ยอดขายบ้าน Pending home sales เดือน พ.ย. 52 กลับหดตัวเป็นครั้งแรกในรอบปี

Next week - Nov Trade balance

Dec Retail sales

Dec Industrial output

Eurozone: mixed signal

ดัชนีคำสั่งซื้อภาคอุตสาหกรรมของยูโรโซน (Markit Mfg PMI) ในเดือนธ.ค. 52 สูงที่สุดในรอบ 26 เดือนที่ระดับ 51.6 เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของคำสั่งซื้อภาคอุตสาหกรรมของเยอรมันและฝรั่งเศส และคำสั่งซื้อภาคบริการ (Markit service PMI) สุดในรอบ 25 เดือนที่ระดับ 53.6 บ่งชี้ว่าเศรษฐกิจยูโรโซนจะฟื้นตัวต่อเนื่องในไตรมาสสุดท้ายของปี ขณะที่อัตราเงินเฟ้อเดือน ธ.ค. 52 เป็นบวกเป็นเดือนที่ 2 ที่ร้อยละ 0.9 ต่อปี จากราคาน้ำมันที่อยู่ในระดับสูงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน อย่างไรก็ตาม แนวโน้มการบริโภคภายในภูมิภาคยังคงไม่ฟื้นตัว จากตัวเลขความเชื่อมั่นผู้บริโภคในเดือน ธ.ค. 52 ที่ลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 9

Next Week - Nov Industrial output

Japan: mixed signal

คำสั่งซื้อภาคอุตสาหกรรมเดือน ธ.ค. 52 (Mfg PMI) เพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 3 เดือนมาอยู่ที่ระดับ 53.8 เนื่องจากความต้องการสินค้าที่เพิ่มขึ้นโดยเฉพาะจากภูมิภาคเอเชีย ส่งสัญญาณว่าภาคการส่งออกจะยังคงเป็นกลไกขับเคลื่อนหลักของเศรษฐกิจญี่ปุ่นในไตรมาสสุดท้ายของปี 52 ขณะที่ยอดค้าปลีกในประเทศในเดือน พ.ย. 52 หดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 15 ที่ร้อยละ -1.0 ต่อปี

Next week - Nov Machinery order

China: improving economic trend

คำสั่งซื้อภาคอุตสาหกรรมเดือน ธ.ค. 52 (NBS PMI) เพิ่มสูงที่สุดในรอบ 20 เดือนมาอยู่ที่ระดับ 56.6 ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจลกและมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของจีน ส่งสัญญาณว่าเศรษฐกิจของจีนในไตรมาสสุดท้ายของปี 2552 อาจขยายตัวมากกว่าไตรมาสก่อนหน้า สำหรับภาคการส่งออก พบว่าจีนกลายเป็นผู้ส่งออกอันดับหนึ่งของโลก โดยในช่วง 10 เดือนแรกของปี 52 การส่งออกสินค้าและบริการของจีน มีมูลค่ามากกว่าเยอรมัน ซึ่งเคยเป็นผู้ส่งออกอันดับหนึ่งของโลก ทำให้ล่าสุดเงินสำรองของจีน ณ สิ้น ต.ค. 52 มีมูลค่ากว่า 2.27 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 19.3 ต่อปี

Next Week -

Vietnam: mixed signal

GDP ไตรมาสที๋ 4 ปี 2552 ขยายตัวร้อยละ 7.7 ต่อปี ชะลอลงจากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 5.2 ต่อปี เนื่องจากการขยายตัวในภาคอุตสาหกรรม ซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 30 ของเศรษฐกิจ ที่ขยายตัวถึงร้อยละ 8.8 ต่อปี จากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวเพียงร้อยละ 2.8 ต่อปี ขณะที่การส่งออกเดือน ธ.ค. 52 ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 ที่ร้อยละ 7.1 ต่อปีจากการส่งออกคอมพิวเตอร์และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ อย่างไรก็ตาม ยังคงมีปัญหาขาดดุลบัญชีเดินสะพัดและอัตราเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับสูง

Next Week -

Singapore: improving economic trend

GDP เบื้องต้น (Advanced GDP) ในไตรมาสที่ 4 ปี 2552 ขยายตัวร้อยละ 3.5 ต่อปี และเมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสก่อนหน้าหดตัวที่ร้อยละ -6.8 (%qoq annualized) เนื่องจากภาคการผลิตซึ่งมีขนาดประมาณร้อยละ 40 ของเศรษฐกิจหดตัวในระดับสูงที่ร้อยละ -38.4 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (%qoq annualized) อย่างไรก็ตาม ภาคบริการของสิงคโปร์ซึ่งมีขนาดประมาณร้อยละ 60 ยังสามารถขยายตัวได้ที่ร้อยละ 7.2 (%qoq annualized)

Next Week - Dec Retail sales

Taiwan: improving economic trend

การส่งออกในเดือน ธ.ค. 52 ขยายตัวร้อยละ 46.9 ต่อปี จากฐานที่ต่ำในช่วงเดียวกันของปีก่อน และเมื่อพิจารณาเทียบกับเดือนก่อนหน้าการส่งออกหดตัวร้อยละ -1.2 (%mom) ขณะที่การนำเข้าขยายตัวร้อยละ56.2 ต่อปี หรือหดตัวร้อยละ -0.2 จากเดือนก่อน บ่งชี้การชะลอตัวของภาคการส่งออกซึ่งมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 70 ของขนาดเศรษฐกิจในไตรมาสสุดท้ายของปี 2552

Next Week -

Korea: improving economic trend

การส่งออกในเดือน ธ.ค. 52 ปรับตัวดีขึ้นอย่างมากโดยขยายตัวร้อยละ 33.7 ต่อปี ส่วนหนึ่งจากฐานที่ต่ำในช่วงเดียวกันของปีก่อนขณะที่การนำเข้าขยายตัวร้อยละ 24.0 ต่อปี ส่งผลให้ ดุลบัญชีการค้าที่ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ 3,302 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 4,618 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

Next Week -

Hong Kong: improving economic trend

ดัชนีคำสั่งซื้อภาคอุตสาหกรรม (Mfg PMI) ขยายตัวสูงกว่าระดับ 50 ติดต่อกันเป็นเดือนที่ 5 ที่ระดับ 55.2 จากการขยายตัวของคำสั่งซื้อสินค้าจากประเทศจีนเป็นหลัก

Next week -

Australia: improving economic trend

การส่งออกเดือน พ.ค. 52 ดีขึ้นจากเดือนก่อน โดยหดตัวชะลอลงที่ร้อยละ -27.5 ต่อปี เนื่องจากการขยายของการส่งออกเหล็กและผลผลิตเกษตรเป็นสำคัญ ขณะที่สถานการณ์การลงทุนในประเทศพบว่า ใบอนุญาตก่อสร้าง (Building Approvals) ขยายตัวร้อยละ5.9 จากเดือนก่อนหน้า โดยกลับมาขยายตัวอีกครั้งหลังจากเดือนก่อนหน้าหดตัวร้อยละ -1.8 จากเดือนก่อนหน้า

Next Week - Nov Unemployment

Dec Consumer Sentiment

Economic Stability Analysis Division | Macroeconomic Policy Bureau

Dr. Soraphol Tulayasathien, CFA, FRM and Dr. Sirikamon Udompol,

Tel. (02) 273 9020 Ext. 3253 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ