Executive Summary
- ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมในเดือน พ.ย. 52 กลับมาขยายตัวที่ร้อยละ 7.5 ต่อปี หลังจากที่เดือนก่อนหน้าหดตัวร้อยละ -0.4 ต่อปี
- สินเชื่อภาคเอกชนของสถาบันรับฝากเงินในเดือนพ.ย. 52 ขยายตัวที่ร้อยละ 1.8 ต่อปี
- ดุลบัญชีเดินสะพัดเดือนพ.ย. 52 เกินดุลที่ 1.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ จากเดือนก่อนหน้าที่เกินดุล 2.2พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
- อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือน ธ.ค.52 ขยายตัวร้อยละ3.5 ต่อปี ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเดือน ธ.ค.52 ขยายตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 ที่ร้อยละ 0.2 ต่อปี
- ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างในเดือน ธ.ค. 52 หดตัวร้อยละ -1.2 ต่อปี ซึ่งเป็นการหดตัวลดลงในอัตราที่ชะลอลง
Indicators next week
Indicators Forecast Previous Nov: Unemployment rate 1.1 1.1 Nov: Employment (mn persons) 37.7 37.7
- ทรงตัวจากเดือนก่อนหน้า โดยคาดว่าการจ้างงานในภาคบริการ โดยเฉพาะภาคโรงแรมและภัตตาคารจะเร่งตัวขึ้นตามแนวโน้มการท่องเที่ยวที่ขยายตัวในระดับสูง
Dec: API (%yoy) 1.0 -1.4
- เนื่องจากผลผลิตยางพาราและปาล์มน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นตามราคาสินค้าเกษตรที่ขยายตัวในระดับสูง จูงใจให้เกษตรกรทำการเก็บเกี่ยวเพิ่มขึ้น
Economic Indicators: This Week
ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมในเดือน พ.ย. 52 กลับมาขยายตัวที่ร้อยละ 7.5 ต่อปี หลังจากที่เดือนก่อนหน้าหดตัวร้อยละ -0.4 ต่อปี (ตัวเลขปรับปรุง) โดยการขยายตัวนี้เกิดจากการขยายตัวของอุตสาหกรรมทั้งที่เน้นการส่งออก อาทิเช่นอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า เฟอร์นิเจอร์และเครื่องประดับ และโลหะ และเน้นการบริโภคภายในประเทศ เช่น อาหาร และอุตสาหกรรมกระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ สะท้อนให้เห็นถึงอุปสงค์ของทั้งภายในและภายนอกที่ฟื้นตัวขึ้น ในขณะที่อัตราการใช้กำลังการผลิต เดือนพ.ย. 52 อยู่ที่ร้อยละ 60.3 ของกำลังการผลิต ใกล้เคียงกับเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 60.9 ของกำลังการผลิตสะท้อนระดับการใช้กำลังการผลิตที่ปรับตัวเข้าสู่สภาวะปกติ
สินเชื่อภาคเอกชนของสถาบันรับฝากเงินในเดือน พ.ย. 52 ขยายตัวที่ร้อยละ 1.8 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เร่งขึ้นตามการขยายตัวเพิ่มขึ้นของสินเชื่อภาคครัวเรือนและสินเชื่อภาคธุรกิจ ในขณะที่เงินฝากของสถาบันรับฝากเงินในเดือน พ.ย. 52 ขยายตัวชะลอลง โดยเงินฝากของสถาบันรับฝากเงินขยายตัวร้อยละ 6.4 ชะลอลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 6.7 ยอดคงค้างเงินฝากเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ส่วนหนึ่งจากสถาบันการเงินเฉพาะกิจระดมเงินฝากเพื่อขยายสินเชื่อตามโครงการภาครัฐ ธนาคารพาณิชย์ออกผลิตภัณฑ์เงินฝากพิเศษมากขึ้น และการครบกำหนดของพันธบัตรออมทรัพย์ของ ธปท. และรัฐบาล มูลค่า 2.5 และ 4.5 หมื่นล้านบาท ตามลำดับ ส่งผลให้สภาพคล่องของสถาบันรับฝากเงินในเดือน พ.ย. 52 ขยายตัวเพิ่มขึ้น
ปริมาณจำหน่ายปูนซีเมนต์และเหล็กภายในประเทศ ในเดือนพ.ย. 52 ขยายตัวร้อยละ 16.7 และ 6.9 ต่อปี ซึ่งขยายตัวต่อเนื่องติดต่อกันเป็นเดือนที่6 และ 4 ตามลำดับ โดยเฉพาะปริมาณจำหน่ายปูนซีเมนต์ที่ขยายตัวในระดับสูงซึ่งการขยายตัวดังกล่าวสะท้อนว่าการลงทุนในหมวดการก่อสร้างภายในประเทศเริ่มมีสัญญาณการฟื้นตัวและสอดคล้องกับพื้นที่รับอนุญาตก่อสร้างในเขตเทศบาลที่หดตัวร้อยละ -8.0 ต่อปี ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ -12.9 ต่อปี
ดุลบัญชีเดินสะพัดเดือนพ.ย. 52 เกินดุลที่ 1.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ จากเดือนก่อนหน้าที่เกินดุล 2.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ จากดุลการค้าที่เกินดุล1.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และดุลบริการ เงินโอน และบริจาคเกินดุลที่ 0.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นการเกินดุลติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 ตามรายได้จากการท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้นตามจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เพิ่มขึ้น แต่เป็นการเกินดุลลดลงจากเดือนก่อนหน้าเนื่องจากมีการส่งกลับกำไรเงินปันผลของบริษัทต่างชาติ
อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือน ธ.ค. 52 ขยายตัวร้อยละ 3.5 ต่อปี ซึ่งนับเป็นการขยายตัวเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกัน สาเหตุสำคัญจาก 1) ดัชนีหมวดยานพาหนะและน้ำมันเชื้อเพลิงปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.1 เนื่องจากราคาน้ำมันดิบโลกซึ่งถูกนำเข้ามากลั่นเป็นน้ำมันสำเร็จรูปในประเทศได้ปรับตัวสูงขึ้นกว่าช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา 2) ดัชนีค่าไฟฟ้า น้ำประปาฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.7เนื่องจากนโยบาย 5 มาตรการ 6 เดือน มีการปรับเกณฑ์การช่วยเหลือลดลง 3) ดัชนียาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.6เนื่องจากมีการปรับภาษีสรรพสามิตเพิ่มขึ้น แต่หากพิจารณาเทียบกับเดือนก่อนหน้า พบว่าดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปในเดือนนี้หดตัวเป็นครั้งแรกในรอบ 4 เดือนที่ร้อยละ -0.1 (%mom) ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเดือน ธ.ค. 52 ขยายตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 ที่ร้อยละ 0.2 ต่อปี
ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างในเดือน ธ.ค. 52 หดตัวร้อยละ -1.2 ต่อปี ซึ่งเป็นการหดตัวลดลงในอัตราที่ชะลอลง โดยดัชนีหลักที่ลดลงได้แก่ 1)หมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กหดตัวร้อยละ -3.1 ต่อปี มาจากเหล็กรูปพรรณ ลวดเหล็กเสริมคอนกรีตอัดแรง ท่อเหล็ก และ2)หมวดซีเมนต์หดตัวร้อยละ -1.6 ต่อปี มาจากปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนต์ ปูนซีเมนต์ผสม ปูนฉาบสำเร็จรูป ทั้งนี้ ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างทั้งปี 52 หดตัวร้อยละ -13.1 ต่อปี หดตัวลดลงจากปีก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 17.1 ต่อปี เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่หดตัวในปี 52 ส่งผลให้ธุรกิจการก่อสร้างหดตัวลง แต่ในช่วงไตรมาส 3-4 ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างเริ่มปรับตัวดีขึ้นจากแผนกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล
Economic Indicators: Next Week
อัตราการว่างงานเดือน พ.ย. 52 คาดว่าอยู่ที่ร้อยละ 1.1 ของกำลังแรงงานรวม ทรงตัวจากเดือนก่อนหน้า และคาดว่าจะมีผู้ว่างงานจำนวนทั้งสิ้นประมาณ 4.0 แสนคน โดยคาดว่าการจ้างงานในภาคบริการ โดยเฉพาะภาคโรงแรมและภัตตาคารจะเร่งตัวขึ้นตามแนวโน้มการท่องเที่ยวที่ขยายตัวในระดับสูงต่อเนื่อง ขณะที่การจ้างงานในภาคเกษตรจะปรับตัวลงตามผลผลิตภาคเกษตรที่หดตัวลงเล็กน้อย
ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office
Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th